วันอังคารที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ท่องเที่ยวทั่วไทย ไปแล้วต้องรักษาอิหม่าน

มิมบัรออนไลน์
คุตบะห์วันศุกร์ 15 มุฮัรรอม 1431 (วันศุกร์ที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2553 )

ท่องเที่ยวทั่วไทย ไปแล้วต้องรักษาอิหม่าน

มวลการสรรเสริญเป็นสิทธิ์ของอัลลอฮ์ ผู้ทรงอภิบาลโลกทั้งหลาย
ท่านพี่น้องผู้ศรัทธาแล้วทั้งหลาย
กระผมขอเตือนตนเองและท่านทั้งหลาย จงยึดมั่น ศรัทธา และยึดเหนี่ยวรั้งการอีหม่านศรัทธาต่อพระองค์อัลลอฮ์ (ซ.บ.) และปฏิบัติในสิ่งที่พระองค์ทรงใช้ ละทิ้งในสิ่งที่พระองค์ทรงห้าม อยู่ในแนวทางแห่งอัลอีหม่าน ตามกิตาบุ้ลลอฮ์และซุนนะห์ของท่านศาสดา ซึ่งหากการปฏิบัติตนของเราอยู่ในแนวทาง ด้วยจิตใจที่บริสุทธิ์ (อัลอิคลาส) แล้ว แน่นอนบั้นปลายของพวกเรา จะได้ใกล้ชิดกับพระองค์ในโลกอาคิเราะห์ที่ทุกคนจะประสบกับมันด้วยกันทั้งสิ้น
ท่านพี่น้องผู้ศรัทธาทั้งหลาย
หากเราพิจารณาถึงการเดินทางไม่ว่าจะโดยตัวศัพท์ของมัน หรือพิจารณาถึงสภาพแห่งการเคลื่อนที่ นั้น เราจะมองเห็นสิ่งต่างๆในภูมิประเทศรอบๆ ข้างขณะการเดินทาง โดยที่สิ่งที่ผ่านสายตาของเรา ตลอดเส้นทาง เป็นสิ่งที่ถูกสร้าง การดำเนินชีวิตประจำวันของมัน อาจคงสภาพอย่างที่เราเห็น หรือมีการเปลี่ยนสภาพไปจากสิ่งที่เราเห็น โดยใช้เวลาสักระยะหนึ่ง ซึ่งเป็นคุณสมบัติของสิ่งที่ถูกสร้าง มนุษย์เอง เมื่อเวลาผ่านไป มนุษย์ใช้ทรัพยากรเป็นจำนวนมากเพื่อการดำรงชีพในแต่ละวัน การแสวงหาปัจจัยต่างๆ เพื่อการดำรงชีวิตประจำวัน เป็นหน้าที่ที่สำคัญของมนุษย์ การแสวงหาปัจจัยดังกล่าว แน่นอนว่ามนุษย์จะต้องใช้กำลัง ทั้งสติปัญญา กำลังกาย เพื่อให้ได้ปัจจัยดังกล่าวมาเพื่อการดำรงชีวิตทั้งสิ้น การเดินทางไปในที่ต่างๆ หากเราตั้งข้อสังเกตกับสิ่งที่เราเห็น จะพบว่า สภาพต่างๆ ที่เราเห็นนั้น มันจะมีความเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลาซึ่งบางสิ่งใช้เวลาในการเปลี่ยนแปลงที่เร็วมาก แต่อีกบางสิ่งก็ใช้เวลาค่อนข้างนาน หากพิจารณาถึงความต้องการตามหลักอุปสงค์และอุปทานแล้ว อาจกล่าวได้ว่ามนุษย์ มีความต้องการที่ไม่มีขีดจำกัด ขณะที่ทรัพยากรมีอย่างจำกัด นั่นคือจุดที่เหมาะสมแล้ว ต้องจำกัดความต้องการของมนุษย์ เพื่อรักษาสภาพความสมดุลแห่งทรัพยากรธรรมชาติ ด้วยการบริหารและการจัดการความพอเพียง เพื่อให้สังคมมีความสุข หากพิจารณาถึงโองการในซูเราะห์ อาลิอิมรอน อายะห์ที่ 3 ความว่า
اللَّهُ لا إِلَهَ إِلا هُوَ الْحَيُّ الْقَيُّومُ
[3.2] อัลลอฮ์นั้นคือ ไม่มีผู้ที่เป็นที่เคารพสักการะใดๆนอกจากพระองค์เท่านั้น ผู้ทรงมีชีวิตอยู่เสมอ (ไม่มีกาล
อวสาน) ผู้ทรงบริหารกิจการทั้งหลายเป็นเนืองนิจ (ในสิ่งที่พระองค์ทรงสร้างและทรงบังเกิด)
ดังนั้น การเดินทางเพื่อเยี่ยมชมสถานที่ต่างๆ เราจึงควรเก็บแง่คิดที่ดีไว้ เพราะทุกๆ สิ่งนั้น ย่อมมีจุดกำเนิดของมัน และแน่นอนว่า พระองค์อัลลอฮ์ (ซ.บ.) คือผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย เป็นผู้บริหารกิจการต่างๆ โดยตลอด และพระองค์ คือ ผู้ที่จะตอบแทนการกระทำของสรรพสิ่งทั้งหลายเช่นกัน

การดำเนินชีวิตของมนุษย์ จะต้องมีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจน หลายๆ คนอาจมีมุมมองที่แตกต่างกัน หากเปรียบเทียบถึงการเดินทางเพื่อไปท่องเที่ยวสักแห่งหนึ่ง เราคงจะมีคำตอบได้ว่า จุดมุ่งหมายของการเดินทางอยู่ที่ใด การเตรียมการเพื่อที่จะเดินทางไปถึง ขั้นตอนแรก ต้องมีการวางแผนการเดินทาง การวางแผนการดำเนินชีวิตในระหว่างการเดินทาง คนขับรถ ก็ต้องพิจารณาว่า จะหยุดพักระหว่างทางที่ใด จะแวะซื้อของ หรือพักรับประทานอาหารที่ใด ต้องเตรียมแผนที่สำหรับการเดินทาง หากเขาเหล่านั้น เป็นกลุ่มยะมาอะห์มุสลิมที่ร่วมเดินทางกัน ในระหว่างทาง อาจต้องมองหาร้านอาหารฮาล้าล ที่หยุดพักที่มีสถานที่ที่สามารถทำการละหมาดรวม-ย่อ สำหรับผู้เดินทาง แต่หลายๆ กลุ่ม อาจมองข้ามแนวทางแห่งอัลอิหม่าน ไม่ได้มองถึงสิ่งนี้เลย เมื่อถึงจุดหมาย การดำเนินชีวิต ณ ที่แห่งนั้น การเลือกที่อยู่ ที่กิน ที่สำหรับการท่องเที่ยว จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพิจารณาถึงความสุขที่เราจะได้รับ ขณะที่หลายๆ กลุ่ม หลายๆ คน ต่างก็แย่งชิงกัน เพื่อให้ได้รับอรรถรสแห่งการท่องเที่ยว ในแง่ของการดำเนินชีวิตก็เช่นเดียวกัน การปล่อยปละละเลยแง่คิดที่ดีของการดำรงตนให้อยู่ในร่องรอยของศาสนา เราต้องมีทิศทางในการดำเนินชีวิต เช่นเดียวกับการที่นักท่องเที่ยวแสวงหาหนทางในการเดินทางด้วยการใช้แผนที่ในการเดินทาง ทิศทางของผู้ศรัทธา แตกต่างจากทิศทางของคนที่ศรัทธาน้อย หรือคนที่ไม่ศรัทธา ดังนั้น หากพิจารณาจากโองการจากอัลกุรอ่าน ซูเราะห์ อัลอิสรออ์ ความว่า

017.018 مَنْ كَانَ يُرِيدُ الْعَاجِلَةَ عَجَّلْنَا لَهُ فِيهَا مَا نَشَاءُ لِمَنْ نُرِيدُ ثُمَّ جَعَلْنَا لَهُ جَهَنَّمَ يَصْلاهَا مَذْمُومًا مَدْحُورًا
[17.18] ผู้ใดปรารถนาชีวิตชั่วคราว (ในโลกนี้) เราก็จะเร่งให้เขาได้รับมันตามที่เราประสงค์แก่ผู้ที่เราปรารถนา
แล้วเราได้เตรียมนรกไว้สำหรับเขา เขาจะเข้าไปอย่างถูกเหยียดหยามถูกขับไส

017.019 وَمَنْ أَرَادَ الآخِرَةَ وَسَعَى لَهَا سَعْيَهَا وَهُوَ مُؤْمِنٌ فَأُولَئِكَ كَانَ سَعْيُهُمْ مَشْكُورًا
[17.19] และผู้ใดปรารถนาปรโลก และขวนขวายเพื่อมันอย่างจริงจัง โดยที่เขาเป็นผู้ศรัทธาชนเหล่านั้น การ
ขวนขวายของพวกเขาจะได้รับการชมเชย

017.020 كُلا نُمِدُّ هَؤُلاءِ وَهَؤُلاءِ مِنْ عَطَاءِ رَبِّكَ وَمَا كَانَ عَطَاءُ رَبِّكَ مَحْظُورًا
[17.20] ทั้งหมด เราช่วยเขาเหล่านี้และเขาเหล่าโน้น จากการประทานให้ของพระเจ้าของเจ้า และการประทานให้ของพระเจ้าของเจ้านั้นมิถูกห้าม (แก่ผู้ใด)

017.021 انْظُرْ كَيْفَ فَضَّلْنَا بَعْضَهُمْ عَلَى بَعْضٍ وَلَلآخِرَةُ أَكْبَرُ دَرَجَاتٍ وَأَكْبَرُ تَفْضِيلا
[17.21] จงดูเถิด! เราได้ทำให้บางคนในหมู่พวกเขาดีเด่นกว่าอีกบางคนอย่างไร? และแน่นอนปรโลกนั้นมี
ฐานะยิ่งใหญ่กว่าหลายชั้น และยิ่งใหญ่กว่าในทางดีเด่น

การแสวงหาของมนุษย์ เพื่อที่เขาเหล่านั้นจะได้พบกับความสุขที่เขาจะได้รับ เป็นความสุขที่ทุกๆ คนมุ่งหวังอยากได้ อยากเป็น เป็นสิ่งที่ทุกๆ คน ตั้งใจหวังเอาไว้ สิ่งต่างๆ เหล่านี้ หาใช่เป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงความสำเร็จหรือหลักชัยแห่งพระองค์ไม่ การเดินทางเพียงเพื่อที่เราจะได้รับความสุขความสมหวัง เมื่อหนทางแห่งการเดินทางเราพบความสุขด้วยความปลอดภัย ตลอดการเดินทาง เป็นการพักผ่อนจากอิริยาบถแห่งการทำงาน เพื่อที่จะได้เริ่มต้นกับงานที่เคร่งเครียดในรอบปีถัดไป บางครั้งอาจมีมุมมองเพิ่มเติมว่า การที่ได้ไปเที่ยวในทริปนี้ อาจเป็นครั้งเดียวในชีวิตที่จะได้ไปสถานที่แห่งนั้น ในปีต่อๆ ไป ทริปแห่งการเดินทาง เป็นการทดสอบจิตใจ ความเข้มแข็ง สุขภาพ ความแข็งแรงของร่างกาย ความอดทนต่อสภาพอากาศ ความหิว ความกระหาย ความยุ่งยากต่างๆ นา หากเป็นกลุ่มยะมาอะห์แห่งอัลอิหม่าน ก็ต้องทดสอบการรักษาอะมานะห์แห่งการละหมาด และอื่นๆ อีกด้วย ดังนั้น อาจต้องแสวงหาสถานที่แห่งใหม่ ที่จะได้พบกับความสุข ความรื่นรมย์ และธรรมชาติที่สวยสง่า เพื่อให้การพักผ่อนหย่อนใจมีชีวิตชีวา มากยิ่งขึ้น แต่การเดินทางจากโลกดุนยาไปสู่อาคิเราะห์ เราต้องประสบกับการทดสอบต่างๆ จากพระองค์ ทดสอบด้วยอีหม่าน ทดสอบด้วยข้อสอบในทุกๆ สภาพ เพื่อที่เราจะได้มีความแข็งแกร่งต่อการดำเนินชีวิตของเรา บางครอบครัวอาจถูกทดสอบด้วยทรัพย์สิน บางครอบครัวอาจถูกทดสอบด้วยลูกหลาน และบางครอบครัวอาจถูกทดสอบด้วยฟิตนะห์ อย่างไรก็ตาม ความอดทน (ขันติ – ซอบัร) คือแนวทางการยอมรับการทอสอบต่างๆ เหล่านั้น เพื่อที่เราจะรักษาอิหม่านของเรา ให้อยู่ในแนวทางที่พระองค์ให้การรับรอง บางครั้ง การทดสอบจากพระองค์ อาจเป็นการทดสอบอิหม่าน เพื่อที่จะให้เราได้มองเห็นสภาพต่างๆ ทางสังคม แต่นั่นคือสิ่งที่พระองค์จะทรงนี้แนะให้เราได้เห็นได้ประจักษ์ จากการรับรู้ด้วยสติปัญญาของเราเอง ที่จะได้เห็นเพื่อที่เราจะมีคำตอบสุดท้ายได้ว่า สิ่งที่ดีที่สุดแห่งชีวิตของผู้ศรัทธา นั่นคือ การที่เราได้เกิดมาเป็นมุสลิม และมีศรัทธาต่อพระองค์อัลลอฮ์ (ซ.บ.) และสุดท้ายแห่งชีวิตนั่นคือ การพักผ่อนและการพักผ่อนที่ดีที่สุด คือชีวิตในหลุมฝังศพ จากโองการในซูเราะห์อาลิอิมรอน อายะห์ที่ 185 ความว่า

003.185 كُلُّ نَفْسٍ ذَائِقَةُ الْمَوْتِ وَإِنَّمَا تُوَفَّوْنَ أُجُورَكُمْ يَوْمَ الْقِيَامَةِ فَمَنْ زُحْزِحَ عَنِ النَّارِ وَأُدْخِلَ الْجَنَّةَ فَقَدْ فَازَ وَمَا الْحَيَاةُ الدُّنْيَا إِلا مَتَاعُ الْغُرُورِ
[3.185] แต่ละชีวิตนั้น จะได้ลิ้มรสแห่งความตาย และแท้จริงที่พวกเจ้าจะได้รับรางวัลของพวกเจ้าโดยครบถ้วน
นั้น คือวันปรโลก แล้วผู้ใดที่ถูกให้ห่างไกลจากไฟนรก และถูกให้เข้าสวรรค์แล้วไซร้ แน่นอน เขาก็ชนะแล้ว
และชีวิตความเป็นอยู่แห่งโลกนี้นั้นมิใช่อะไรอื่นนอกจากสิ่งอำนวยประโยชน์แห่งการหลอกลวงเท่านั้น
โดยแน่แท้ของผู้ศรัทธา เราจึงต้องหันมามองถึงบทบาทของเราในปัจจุบันได้ว่า เรามีวิธีคิดเพื่อที่จะรักษาอัลอิหม่านของเราไว้ได้อย่างไร การเดินทางเพื่อไปท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจนั้น เราอาจมีการตระเตรียมการต่างๆ ให้พร้อม มีแผนการที่ชัดเจน แผนฉุกเฉินสำรอง เพื่อที่จะเป็นทางออกสำหรับการเดินทาง เพื่อที่เราจะได้รับประโยชน์สูงสุดแห่งการเดินทาง เป็นการแสวงหาความสุข ในระยะเวลาหนึ่ง เพื่อให้มีความพร้อมที่จะดำเนินชีวิตต่อในอีกช่วงระยะเวลาหนึ่ง แต่แผนการสำหรับชีวิตเราจึงต้องมุ่งมั่นที่จะให้ได้สิ่งที่ดีที่สุด แม้พระองค์จะทรงรับรองว่า ผู้ที่ดีที่สุดในบรรดาประชาชาติทั้งหลายคือมุสลิม หากแต่เมื่อเราเกิดมาเป็นมุสลิม เราจึงควรเป็นมุสลิมที่ดีที่สุด เราจึงควรเตรียมแผนของชีวิตไว้ในทุกๆ วัน การรักษาอัลอีหม่าน ของตัวเราเอง ครอบครัวของเรา และเตรียมแผนสำหรับการการพักผ่อน ที่จะมีมาถึงของแต่ละคน บางคนก็ได้ไปพักผ่อนในสถานที่ของพวกเขา เร็ว แต่บางคนก็ไปถึงช้า และบางคนไปถึงจุดนั้น อย่างกะทันหัน จึงควรเตรียมการสำหรับสิ่งนี้ ด้วยความพร้อมของเรา ซึ่งการดำเนินชีวิตของเรา จะต้องมีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจนเราต้องมีคำตอบสำหรับคำถามเหล่านี้ ก่อนจากกันในคุตบะห์นี้ ขอให้ท่านทั้งหลายในที่นี้จงพิจารณา ฮาดีสของท่านศาสดา ดังนี้

Allah's Messenger (peace be upon him) said: The most excellent fast after Ramadan is God's month, al-Muharram, and the most excellent prayer after what is prescribed is prayer during the night.

เรื่องเวลา เป็นสิ่งที่ต้องต้องนำมาพิจารณา ถึงช่วงเวลาที่ดีที่สุด ในแต่ละวัน และในแต่ละเดือน ช่วงเวลาอย่างนี้เป็นช่วงที่มีคุณค่า เป็นช่วงเวลาที่พระองค์จะทรงรับการขอดุอาร์ของเรา สำหรับคนทั่วๆ ไป นั่น คือ ช่วงที่ผู้ที่ถือศีลอด ละศีลอดในเดือนร่อมาดอล และในเดือนมุฮัรรอม และในช่วงท้ายๆ ของแต่ละคืนหลังจากการละหมาดในยามค่ำคืน อีกประการหนึ่งสำหรับคนที่เดินทาง ขณะที่เขาเดินทาง พระองค์จะทรงรับดุอาร์ของผู้เดินทาง ดังนั้น หากเราเป็นผู้เดินทาง เช่น การเดินทางไปพักผ่อนท่องเที่ยว สิ่งที่ดีที่สุด คือ การรักษาช่วงเวลาของการละหมาด ย่อ – รวม การขอดุอาร์ การรักษาการละหมาดในยามค่ำคืน เพราะไม่มีช่วงเวลาที่ดีกว่านี้อีกแล้ว หากเราไม่ได้มีการเดินทาง จึงขอให้เราทั้งหลายจงไตร่ตรองและนำไปพิจารณา เพื่อรักษาอิหม่านของเรา เพื่อพระองค์อัลลอฮ์ (ซ.บ.)

ร้อบบ่านา อาตินา ฟิรดุนยา หะซะนะ ว่าฟิ้ลอาคิเราะติ หะซะนะ ว่ากิ้นาอ้าซาบันนาร
ว่าบิ้ลลาฮิเตาฟีก วั้ลฮิดายะห์
วัสสลาม
มูฮำหมัด สันประเสริฐ
อ้างอิง
Text Copied from DivineIslam's Qur'an Viewer software v2.9
อัลกุรอ่านฉบับภาษาไทย สมาคมนักเรียนเก่าอาหรับ ดำเนินการจัดพิมพ์โดยกระทรวงกิจการฮัจย์ แห่งราชอาณาจักรซาอุดิอาเบีย : ออนไลน์ โดยคุณลาภลอย วานิชอังกูร
อัลฮาดีซ : Hadith of The Day V 1.0 Freeware by FaridAnasri avater@muslimonline.com (http://www.beconvinced.com/)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น