วันพฤหัสบดีที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

สุขใจผู้ให้ ซึ้งใจผู้รับ น้อมรับด้วยความยำเกรง

มิมบัรออนไลน์


คุตบะห์วันศุกร์ 28 ชะห์บาน 1432 (วันศุกร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2554)


สุขใจผู้ให้ ซึ้งใจผู้รับ น้อมรับด้วยความยำเกรง



الْحَمْدُ لِلَّهِ رَبِّ الْعَالَمِينَ


يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا كُتِبَ عَلَيْكُمُ الصِّيَامُ كَمَا كُتِبَ عَلَى الَّذِينَ مِنْ قَبْلِكُمْ لَعَلَّكُمْ تَتَّقُونَ


أَيَّامًا مَعْدُودَاتٍ فَمَنْ كَانَ مِنْكُمْ مَرِيضًا أَوْ عَلَى سَفَرٍ فَعِدَّةٌ مِنْ أَيَّامٍ أُخَرَ وَعَلَى الَّذِينَ يُطِيقُونَهُ فِدْيَةٌ طَعَامُ مِسْكِينٍ فَمَنْ تَطَوَّعَ خَيْرًا فَهُوَ خَيْرٌ لَهُ وَأَنْ تَصُومُوا خَيْرٌ لَكُمْ إِنْ كُنْتُمْ تَعْلَمُونَ



ท่านพี่น้องผู้ศรัทธาทั้งหลาย


ขอเตือนตนเองและท่านทั้งหลาย ณ ที่นี้ จงประพฤติและปฏิบัติตนให้อยู่ในแนวทางแห่งผู้ยำเกรงต่อพระองค์ เพราะผู้ที่มุ่งมั่นปฏิบัติตนตามแนวทางที่พระองค์ทรงรับรอง จะได้รับชัยชนะทั้งในโลกนี้และโลกหน้า ซึ่งเป็นการประกาศชัยชนะเหนือบรรดาผู้ที่ปฏิเสธและบรรดาผู้ที่หลงผิด ลืมแนวทางที่พระองค์ทรงตอบรับและให้เกียรติสูงส่ง แต่เขากลับหันหลังและไม่ใยดีในแนวทางของพระองค์ หลงใหลได้ปลื้มไปกับการปฏิบัติตนตามอารมณ์และความใหลหลงไปกับการเชิญชวน และสิ่งที่ชวนเชื่อให้กระทำไปในแนวทางที่สนองความต้องการที่มองกันว่าเป็นความสุขแม้เพียงชั่วครั้ง ชั่วยาม ก็ตาม


ท่านทั้งหลาย


การปฏิบัติศาสนกิจของมุสลิม เป็นการปฏิบัติตนเพื่อมุ่งมั่นการตอบรับพระบัญชาของพระองค์ ดังนั้น การปฏิบัติศาสนกิจจึงมุ่งเน้นทั้งการปฏิบัติ ทั้งกาย วาจา และจิตใจไปในขณะเดียวกัน ด้วยความสำรวมและรำลึกถึงพระองค์ด้วยความยำเกรง จะเห็นว่า ทุกๆ ศาสนกิจ นั้น การแสดงออกถึงความตั้งใจที่บริสุทธิ์เพื่อให้ภาคผลแห่งการกระทำมุ่งตรงต่อพระองค์ ดังนั้น ทุกๆ อามั้ลของเราจึงถูกถ่ายทอดออกมาในการแสดงออกทั้งการกระทำด้วยการ วาจา และจิตใจ ที่มุ่งตรงต่อพระองค์ หาใช่การกระทำนั้นจะทำให้ผู้ปฏิบัติตนได้รับเกียตริยศสรรเสริญเยินยอจากคนอื่นๆ ได้ไม่ แต่เกีรติยศที่ผู้ปฏิบัติตนนั้นจะได้มาก็ด้วยพระประสงค์ของพระองค์ มิใช่จากภาคผลในอามั้ลที่เขามุ่งมั่นปฏิบัติอยู่ ดังนั้น ในการปฏิบัติตนของมุสลิมในรุ่ก่นอิสลาม นั่นคือ การปฏิญาณตนเป็นมุสลิมที่ศรัทธาต่อพระองค์และปฏิบัติตามแนวทางของท่านศาสดา (ซ.ล.) การกระทำการละหมาดวันละ 5 เวลา การถือศีลอดในเดือนรอมฎอน การบริจาคซะกาตเมื่อครอบครองทรัพย์ได้ตามพิกัดและครบรอบปี และการเดินทางไปชุมนุมเพื่อประกอบพิธีหัจญ์ในเดือนซุ้ลหิจญะห์ที่มักกะห์ ประเทศซาอุดิอารเบีย ทุกๆ ภารกิจนั้น มุ่งมั่นและมุ่งตรงต่อพระองค์ด้วยความยำเกรง หาใช่เราตรวจสอบการกระทำของเราเพียงเพื่อให้การสรรเสริญเยินยอจากผู้คนทั้งหลาย และศาสนกิจของเราหาใช่ว่าเป็นการกระทำที่มุ่งมั่นโอ้อวดต่อผู้คน แต่ทุกศาสนกิจของเรา ต้องเชิญชวนให้ทุกๆ คนมาปฏิบัติในแนวทางอันเที่ยงตรงของพระองค์ และน้อมรับการกระทำนั้นๆ ด้วยความยำเกรง


จะเห็นว่า การปฏิบัติศาสนกิจตามแนวทางที่พระองค์กำหนดนั้น มีวัตถุประสงค์และเป้าหมายอันแยบคายมากมาย ซึ่งหากเรานำมาฉุกคิดแล้ว ประโยชน์ที่เราได้รับนั้นจะมีมากมาย ทั้งประโยชน์ต่อตัวผู้ปฏิบัติเอง และประโยชน์ต่อสังคมและชุมชน ตลอดจนเครือข่ายมุสลิมที่โยงใยไปอย่างกว้างขวาง การปฏิบัติต่างๆ การขอพรต่อพระองค์ในแต่ละศาสนกิจ ที่มุ่งตรงต่อพระองค์แล้ว สิ่งที่เรามุ่งมั่นกระทำจะส่งภาคผลไปยังมวลมุสลิมที่ศรัทธาและยำเกรงต่อพระองค์ ทุกคน เฉกเช่นเดียวกับการถือศีลอดในเดือนรอมฎอนที่กำลังจะเวียนมาบรรจบในอีกไม่กี่วันข้างหน้านี้ เป้าหมายและแนวทางการปฏิบัติศาสนกิจในเดือนรอมฎอน มุ่งมั่นตรงต่อพระองค์ ด้วยความยำเกรงต่อพระองค์ ซึ่งภาคผลในเดือนรอมฏอน จะทำให้ผู้ปฏิบัติศาสนกิจ ไม่ได้มองเฉพาะตนเอง หากแต่สังคมจะก้าวไปข้างหน้านั้น ก็ด้วยทุกๆ คนในสังคมจะได้ขับเคลื่อนสังคมไปพร้อมๆ กัน ขอให้พิจารณาโองการจากซูเราะห์ Al-Qur'an, 002.183-184 (Al-Baqara [The Cow]) ความว่า


002.183 يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا كُتِبَ عَلَيْكُمُ الصِّيَامُ كَمَا كُتِبَ عَلَى الَّذِينَ مِنْ قَبْلِكُمْ لَعَلَّكُمْ تَتَّقُونَ


002.183 O ye who believe! Fasting is prescribed to you as it was prescribed to those before you, that ye may (learn) self-restraint,-


[2.183] บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย! การถือศีลอด นั้นได้ถูกกำหนดแก่พวกเจ้าแล้ว เช่นเดียวกับที่ได้ ถูกกำหนดแก่


บรรดาผู้ก่อนหน้าพวกเจ้ามาแล้ว เพื่อว่าพวกเจ้าจะได้ยำเกรง


002.184 أَيَّامًا مَعْدُودَاتٍ فَمَنْ كَانَ مِنْكُمْ مَرِيضًا أَوْ عَلَى سَفَرٍ فَعِدَّةٌ مِنْ أَيَّامٍ أُخَرَ وَعَلَى الَّذِينَ يُطِيقُونَهُ فِدْيَةٌ طَعَامُ مِسْكِينٍ فَمَنْ تَطَوَّعَ خَيْرًا فَهُوَ خَيْرٌ لَهُ وَأَنْ تَصُومُوا خَيْرٌ لَكُمْ إِنْ كُنْتُمْ تَعْلَمُونَ


002.184 (Fasting) for a fixed number of days; but if any of you is ill, or on a journey, the prescribed number (Should be made up) from days later. For those who can do it (With hardship), is a ransom, the feeding of one that is indigent. But he that will give more, of his own free will,- it is better for him. And it is better for you that ye fast, if ye only knew.


[2.184] (คือถูกกำหนดให้ถือ) ในบรรดาวันที่ถูก นับไว้ แล้วผู้ใดในพวกเจ้าป่วยหรืออยู่ในการเดิน ทางก็ให้ถือใช้ในวันอื่น และหน้าที่ของบรรดาผู้ที่ถือศีลอดด้วยความลำบากยิ่าง (โดยที่เขาได้งดเว้น การถือ) นั้น คือการชดเชยอันได้แก่การให้อาหาร (มื้อหนึ่ง) แก่คนมิสกีนคนหนึ่ง (ต่อการงดเว้น จากการถือหนึ่งวัน) แต่ผู้ใดกระทำความดีโดยสมัครใจ มันก็เป็นความดีแก่เขา และการที่พวกเจ้าจะถือศีลอดนั้น ย่อมเป็นสิ่งที่ดียิ่งกว่าแก่พวกเจ้า หากพวกเจ้ารู้


ท่านทั้งหลาย


เดือนรอมฎอน เป็นเดือนอันยิ่งใหญ่ของมวลมุสลิมทั้งโลก เพราะทำให้ทุกๆ คนรู้สำนึกในความเท่าเทียมกัน เป็นการเท่าเทียมกันในเชิงแห่งความรู้สึก เป้นความเท่าเทียมกันที่คนที่มีมากกว่าจะต้องรู้จักแบ่งปัน รู้ซึ้งในความลำบากยากเข็ญของผู้ที่ขัดสน ยากจน ความรู้สึกโหยหิวในขณะที่เขาไม่สามารถปลดหนี้สินและทุกทรมานเพื่อที่จะหาได้มาซึ่งอาหารที่จะประทังชีวิตของเราเหล่านั้น ความรู้สึกเช่นนี้จะหมดไป เมื่ออาหารมื้อแรกที่เขาได้รับภายหลังจากการรอคอยมาตลอดวัน เช่นเดียวกับบรรดาผู้ถือศีลอดรอเวลาที่จะละศีลอด เช่นนี้แล้ว คนที่ไม่ได้มีความรู้สึกอย่างนี้ หรือมีสภาพเช่นเดียวกับเขาเหล่านั้น หรือเขาจะมีความยำเกรงต่อพระองค์แล้วเขาจะสนองตอบและปฏิบัติต่อคนที่มีสภาพอดอยากหิวโหยได้เลย เขาอาจมองข้ามเลยไป และละเลยที่จะดูแลเอาใจใส่เขาด้วยความรู้สึกแห่งการเกื้อกูลเสมือนหนึ่งเขาเหล่านั้น คือพี่น้องของเรา ใช่คนอื่น และไม่ทอดทิ้งหรือปล่อยปละละเลยกับเขาเหล่านั้นทำให้กลายสภาพเป็นผู้ที่ด้อยโอกาสทางสังคม ซึ่งหากผู้ที่สนองตอบต่อพระองค์ด้วยความยำเกรงแล้วทุกภาคส่วนในสังคมมุสลิมจะเชื่อมโยงกันด้วยมิตรภาพในความเป็นพี่น้องกัน เอื้ออาทรต่อกัน โดยมุ่งหวังความยำเกรงต่อพระองค์ด้วยความบริสุทธิ์ใจ หาใช่มีเป้าหมายอื่นใดแอบแฝง ดังนั้น เป้าหมายของการดำเนินชีวิตตลอดช่วงเดือนรอมฎอน จึงเป็นภารกิจที่เราทั้งหลายจะต้องปฏิบัติตน ให้อยู่ในแนวทางด้วยความสำรวม ทั้งกาย วาจาและใจ และเคารพตนเอง เข้าใจความรู้สึกของคนอื่น รู้จักที่จะแบ่งปัน แม้เพียงสักเล็กน้อย ก็เป็นเรื่องที่น่ายินดี จะด้วยการแบ่งปันด้วยจิตใจ หรือเพียงคำพูดที่มุ่งเน้นให้เห็นถึงการให้ด้วยใจ หรือการให้ด้วยทรัพย์สิน อาหาร หรือปัจจัยสี่ ด้วยความบริสุทธิ์ใจ สิ่งต่างๆ เหล่านี้ เป็นการแสดงออกด้วยจิตใจที่น้อมรับความยำเกรงต่อพระองค์


ท่านทั้งหลาย


การถือศีลอด เป็นสิ่งที่ทดสอบเราในหลายๆ ประเด็น ทั้งในเรื่องของการดำเนินชีวิตที่แตกต่างจากการปฏิบัติตนในเดือนอื่นๆ 11 เดือนที่ผ่านมา สิ่งที่เห็นได้อย่างชัดเจน ก็คือการปฏิบัติตนในเดือนรอมฎอน จะสัมพันธ์กับการใช้เวลามากที่สุด จะเห็นว่า ในเดือนอื่นๆ เราก็อดในขณะที่เราหลับในตอนกลางคืน โดยเฉลี่ยประมาณ 8 ชั่วโมง เพื่อให้การพักผ่อนอิริยาบถในช่วงที่หลับนั้น ให้กระเพาะอาหารได้พักผ่อนไปด้วยในขณะเดียวกัน แต่สำหรับการดำเนินชีวิตในเดือนรอมฎอน ช่วงกลางวันเป็นอีกช่วงหนึ่งที่เราให้กระเพาะอาหารได้พักการทำงานแม้ว่าขณะนั้น กระเพาะอาหารได้ทำงานของมัน แต่เป็นการทำหน้าที่ย่อยอาหารที่มีอยู่ในกระบวนการไม่มีการเติมอาหารเข้าไปอีกในขณะที่เราอดอาหาร เป็นการพักอิริยาบถ เพื่อให้เกิดการผ่อนคลายหลักจากที่ทำงานหนักๆ มาในระยะหนึ่ง เพื่อให้เกิดการยืดหยุ่น ปรับปรุง ประสิทธิภาพในการทำงานที่จะทำงานหนักมากขึ้นในอนาคต ซึ่ง การที่กระเพาะอาหารได้พักผ่อนการทำงานในระยะหนึ่ง จะทำให้ผู้ปฏิบัติตนมีสุขภาพที่ดี และทำให้เกิดความกระชุ่มกระชวย สดชื่น เมื่อผ่านพ้นการปฏิบัติตนในเดือนรอมฎอนไปดำเนินชีวิตในเดือนต่อไป นั่นคือภาคผลที่เกิดขึ้นกับผู้ที่ถือศีลอดได้รับกับตนเอง หาใช่เป็นการทรมานร่างกายไม่ เพราะส่วนหนึ่งนั้นเป็นการฝึกตนเอง ให้รู้จักที่จะแบ่งปัน แม้ในการบริโภคอาหาร แบ่งปันการใช้เวลา การแบ่งปันอย่างสม่ำเสมอไม่สุดโต่งไปทางใดทางหนึ่ง ซึ่งหากนำมาปฏิบัติและประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตในแต่ละวันแล้ว เขาจะได้รับสิ่งที่ดีๆ ในการดำเนินชีวิตของเขาต่อไปได้และเกิดประโยชน์ต่อผู้อื่นที่เขาเชื่อมสัมพันธ์ได้ ขอให้พิจารณาอัลฮาดีส ความว่า


Allah's Apostle said, "When honesty is lost, then wait for the Hour." It was asked, "How will honesty be lost, O Allah's Apostle?" He said, "When authority is given to those who do not deserve it, then wait for the Hour."


Narrated by: Abu Huraira Source: Sahih Bukhari


การแบ่งปัน การปรับปรุงตนเอง แม้เพียงการใช้เวลา เรารู้จักใช้เวลาได้อย่างเหมาะสม รู้จักที่จะแบ่งปัน ให้ด้วยความรู้สึกที่ดี จะทำให้สุขใจทั้งผู้ให้และซึ้งใจแก่ผู้รับ ซึ่งทั้งหมดนี้ เกิดจากการปฏิบัติตนด้วยความยำเกรงต่อพระองค์ ขอดุอาร์ต่อประองค์ ทรงคุ้มครองการปฏิบัติศาสนกิจของเราทั้งหลายในภารกิจที่สำคัญแห่งการเวียนมาอีกครั้งของเดือนรอมฎอน เดือนแห่งการแสวงหาความโปรดปราณจากพระองค์ เดือนที่เราทั้งหลายรอคอยที่จะปฏิบัติศาสนกิจอันสำคัญ เดือนที่เราทั้งหลายต่างมุ่งมั่นที่จะศึกษาอัลกุรอ่านทั้งอักขระการอ่าน และความหมาย เป็นเดือนสำคัญที่เรามุ่งมั่นที่จะทำการละหมาดยามค่ำคืนโดยที่ไม่รู้สึกเกียจคร้านที่จะกระทำ แต่มุ่งมั่นและมุ่งหวังที่จะกระทำทุกๆ คืน เพราะหนึ่งในหลายๆ คืน เป็นช่วงเวลาสำคัญที่พระองค์ทรงทวีคูณภาคผลให้สำหรับทุกคน ขอให้ทุกคนจงมุ่งมั่นและแสวงหาความโปรดปราณจากพระองค์ด้วยความยำเกรง



إِنَّ اللَّهَ وَمَلائِكَتَهُ يُصَلُّونَ عَلَى النَّبِيِّ يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا صَلُّوا عَلَيْهِ وَسَلِّمُوا تَسْلِيمًا


رَبَّنَا آتِنَا فِي الدُّنْيَا حَسَنَةً وَفِي الآخِرَةِ حَسَنَةً وَقِنَا عَذَابَ النَّارِ


إِنَّ اللَّهَ يَأْمُرُ بِالْعَدْلِ وَالإحْسَانِ وَإِيتَاءِ ذِي الْقُرْبَى وَيَنْهَى عَنِ الْفَحْشَاءِ وَالْمُنْكَرِ وَالْبَغْيِ يَعِظُكُمْ لَعَلَّكُمْ تَذَكَّرُونَ


سُبْحَانَ رَبِّكَ رَبِّ الْعِزَّةِ عَمَّا يَصِفُونَ


وَسَلامٌ عَلَى الْمُرْسَلِينَ


وَالْحَمْدُ لِلَّهِ رَبِّ الْعَالَمِينَ


ว่าบิ้ลลาฮิเตาฟีก วั้ลฮิดายะห์


วัสสลาม


มูฮำหมัด สันประเสริฐ


อ้างอิง


อัลกุรอ่านฉบับภาษาไทย สมาคมนักเรียนเก่าอาหรับ ดำเนินการจัดพิมพ์โดยกระทรวงกิจการฮัจย์ แห่งราชอาณาจักรซาอุดิอาเบีย http://www.alquran-thai.com/ShowSurah.asp , www.DivineIslam.com


อัลฮาดีซ : Hadith of The Day V 1.0 Freeware by FaridAnasri avater@muslimonline.com www.beconvinced.com

วันพฤหัสบดีที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

รับรองคุณสมบัติ

มิมบัรออนไลน์


คุตบะห์วันศุกร์ 21 ชะห์บาน 1432 (วันศุกร์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2554)


รับรองคุณสมบัติ



الْحَمْدُ لِلَّهِ رَبِّ الْعَالَمِينَ


يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا اتَّقُوا اللَّهَ حَقَّ تُقَاتِهِ وَلا تَمُوتُنَّ إِلا وَأَنْتُمْ مُسْلِمُونَ



ท่านพี่น้องผู้ศรัทธาทั้งหลาย


การรอคอยด้วยใจจรดใจจ่อในแต่ละสถานการณ์ เป็นการย้ำเตือนให้เราได้เห็นถึงคุณค่าแห่งการรอคอย แต่ละวินาทีที่หมดไป มันช่างเป็นการบีบคั้นหัวใจ ความรู้สึกตื่นเต้นในช่วงเสี้ยววินาทีที่มีการตัดสิน การแสดงออกถึงความดีใจ ภายหลังการรับรองผล หรือการแสดงออกให้เห็นถึงความเสียใจ เมื่อไม่ได้การรับรอง ส่งผลให้ภารกิจที่เรากำลังรอคอยอยู่นั้นต้องวนกลับมาเริ่มต้นกระบวนการใหม่ หรือหากถูกตัดสินด้วยการตัดสิทธิ์ นั่นเป็นผลให้เราไม่สามารถแก้ตัว แก้มือในวาระโอกาสใหม่ได้อีกเลย จึงของย้ำเตือนตนเองและท่านทั้งหลาย ถึงการรอคอยการตอบแทนในทุกๆ ภารกิจของเรา ด้วยความยำเกรงต่อพระผู้ทรงอภิบาล ด้วยความนอบน้อมและพินิจพิจารณาตนเองอยู่เรื่อยๆ อย่างสม่ำเสมอ ทบทวนการกระทำ ขอลุแก่โทษกับบุคคลที่เราไปละเมิดต่อพวกเขาเหล่านั้น ขออภัยโทษในการกระทำที่ล่วงเกินต่อเขาเหล่านั้น รวมถึงการเตาบัรกลับตัวในการกระทำที่พลาดพลั้งผิดไป เพราะในระหว่างการรอคอยการรับรองคุณสมบัติ นั้น ไม่ว่าผลลัพธ์จะออกมาอย่างไร แน่นอนว่าผลที่ได้นั้น จะเป็นไปในแต่ละแนวทางที่เป็นไปได้ทั้งนั้น การแก้สถานการณ์ที่ดี คือการยอมรับความจริง ยอมรับผลที่ได้จากการกระทำทั้งปวงของเรา หากการกระทำของเราไปผิดหลักการ แน่นอนว่าเราต้องยอมรับผลดังกล่าวนั้น


ท่านทั้งหลาย


การรับรองคุณสมบัติ เป็นกระบวนการตรวจสอบขั้นสุดท้าย ก่อนที่เหล่าบรรดานักเลือกตั้งทั้งหลายจะได้เข้าไปทำหน้าที่ในรัฐสภาอย่างเป็นทางการ เป็นกระบวนการหรือเป็นขั้นตอนสำคัญในการกลั่นกรองก่อนที่เขาเหล่านั้นจะไปทำหน้าที่เป็นนักการเมืองเป็นผู้แทนราษฎรอย่างสมเกียรติ กับทุกๆ คะแนนเสียงที่เลือกตั้งให้เขาไปเป็นปากเสียงแทนเรา การทำหน้าที่รับรองผล จะรวมกระบวนการต่างๆไว้เพื่อพิจารณาว่าเขาคนนั้นเหมาะที่จะไปทำหน้าที่หรือไม่ ทำความผิดตามกฎหมายที่ระบุโทษ และมีบทลงโทษไว้หรือไม่ ทำทุจริตต่อกระบวนการเลือกตั้ง ซึ่งจะมีต่อคะแนนเสียงของตนเองหรือผู้สมัครคนอื่นๆ หรือไม่ หรือทำความผิดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งนั้นหรือไม่ ซึ่งจะรวมถึงความผิดขององค์กรหรือพรรคการเมืองอันเป็นเหตุให้ต้องยุบพรรคหรือไม่ กระบวนการตรวจสอบอาจละเอียดอ่อน และทำให้บางฝ่ายอาจขุ่นข้องหมองใจได้รับผลกระทบกระเทือนบ้าง แต่นั่นเพื่อเป็นการป้องกัน ป้องปราม คนที่ไม่สุจริตที่จะเข้าไปถอนทุนคืน หรือปกป้องผลประโยชน์เฉพาะกลุ่มและบรรดาพวกพ้องของตนเอง ผลการรับรองคุณสมบัติ จึงเป็นกระบวนการที่จะปกป้องผลประโยชน์ของทุกๆ คนที่ทำหน้าที่ใช้สิทธิเลือกตั้ง ปกป้องการทำหน้าที่ผู้แทนของปวงชนให้ได้การยอมรับว่าผู้ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมมากที่สุด ทุกคะแนนเสียงที่มีคนเลือกตั้งเขาเป็นคะแนนที่ได้รับความไว้วางใจให้เข้าไปเป็นผู้แทนด้วยความเป็นธรรม เช่นกันผู้ที่ไม่ได้รับความไว้วางใจซึ่งเป็นคะแนนเสียงส่วนน้อยที่เขาไม่ได้รับฉันทานุมัติให้เข้าไปทำหน้าที่ก็ตาม นั่นคือกระบวนการตามระบอบประชาธิปไตยที่ต้องสรรหาตัวแทนอย่างแท้จริงจากการเลือกของคนส่วนใหญ่ เพื่อสะท้อนปัญหาและสิ่งที่ต้องการตามนโยบายที่แต่ละฝ่ายใช้ในการรณรงค์หาคะแนนเสียงสนับสนุน มิใช่ใช้กำลังทรัพย์ทุ่มเทเพื่อซื้อเสียงหาคะแนนในแต่ละเขตเลือกตั้ง


ท่านทั้งหลาย


การตรวจสอบและการรับรองผล มีในหลายๆ ภาคส่วน เพื่อให้ได้รับสิ่งที่มีความชัดเจน เหมาะสม มีมาตรฐาน เพื่อให้เกิดการใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ในการรับรองผลการตรวจสินค้า “ฮาล้าล” จะมีกระบวนการที่ชัดเจน มีมาตรฐานตามหลักการของศาสนาในเรื่องของความสะอาดตามหลักต้อฮาเราะฮ์ การชะล้างต่างๆ หรือในการผลิตอาหาร การเชือดต้องดำเนินการตามหลักการของศาสนาอิสลามอย่างเคร่งครัดชัดเจน สิ่งเหล่านี้ หากพิจารณาว่าทุกๆ สายตาต้องเห็นถึงกระบวนการก็ไม่ใช่ เพียงแต่สายตาของกรรมการที่บ่งบอกและให้คำรับรองผล รับรองคุณสมบัติ แน่นอนว่าความน่าเชื่อถือ และความไว้วางใจจะเป็นประโยชน์ต่อสังคมโดยรวม ดังนั้น ประโยชน์อย่างชัดเจนจากคำรับรองผลคำรับรองคุณสมบัติ นั้นๆ จะทำให้เกิดความไว้เนื้อเชื่อใจและสามารถบริโภคได้ตามหลักการศาสนา ซึ่งเป็นแนวทางและหลักการที่เราทั้งหลายยอมรับและถือปฏิบัติ ด้วยความยำเกรง ซึ่งการดำเนินการในรูปแบบของกรรมการ มติของกรรมการอย่างเป็นเอกฉันท์ หรือเป็นเสียงส่วนใหญ่ จะเป็นตัววัดที่ทรงพลังและเพิ่มความไว้เนื้อเชื่อใจต่อการทำหน้าที่เพื่อให้สังคมโดยรวมสามารถดำเนินภารกิจในชีวิตประจำวันได้โดยสะดวกสบายและเกิดความมั่นใจ แต่ถ้าเราพิจารณาในแต่ละปัจเฉกบุคคลแล้ว โดยเฉพาะในตัวบุคคลแต่ละคนการให้การรองรับความเป็นมุสลิม การเป็นศาสนิกชนที่ดีแล้ว แม้ว่าในสำมโนครัวหรือทะเบียนราษฎร์และในบัตรประจำตัวประชาชน ที่ระบุศาสนาหรือความเชื่อถือศรัทธาที่ระบุตัวบุคคลว่า “นับถือศาสนาอิสลาม” จะเป็นการรับรองตนเองโดยมีหลักฐานของหนังสือของทางราชการ เป็นการรับรองอย่างหนึ่ง แต่เป็นเพียงการรับรองตัวตนใน ความเชื่อเบื้องต้น แต่ไม่สามารถรับรองความประพฤติและแนวทางปฏิบัติของเขาเหล่านั้นได้ว่า เขาได้ปฏิบัติตามคำรับรองความเป็นศาสนิกชนด้วยความจริงใจแค่ไหนอย่างไรบ้าง เพราะในบางคนแล้วทางทะเบียนราษฎร์ ทะเบียนสัปบุรุษของมัสยิด ระบุว่า เป็นมุสลิม เป็นสมาชิกของมัสยิด แต่พฤติกรรมของเขาแตกต่างจากความเป็นมุสลิมอย่างสิ้นเชิง แม้มีเอกลักษณ์ในการกินเพียงอย่างหนึ่งคือไม่กินหมู เท่านั้น นอกนั้นแล้วไม่มีความแตกต่างจากคนอื่นๆ เลย การดำเนินชีวิตของเขา หากเขาไม่บอกใครว่าเขาเป็นมุสลิมคนหนึ่ง หรือมีความเชื่อถือเลื่อมใสศรัทธาในหลักการของศาสนาอิสลาม แน่นอนว่าคนโดยทั่วๆ ไป จะไม่ทราบได้เลยว่าเขาเป็นสมาชิกภาพในความเป็นมุสลิม เขามีหลักการศรัทธาและปฏิบัติตามหลักการแห่งโอการของอัลกุรอ่านและปฏิบัติในแนวทางและแบบฉบับของท่านศาสดาแต่สิ่งเขาเหล่านั้นกระทำ เพียงแค่การปฏิบัติเพียงบางอย่างและละทิ้งอุดมการณ์ใหญ่ๆ ทางศาสนา เช่น ในหลักปฏิบัติเขากระทำขาดตกบกพร่องทุกอย่าง ทั้งการละหมาด การถือศีลอด และการบริจาคซ่ากาตตามแนวศาสนบัญญัติ แต่ในบางพิธีกรรมเช่น เมื่อจะแต่งงาน ก็ดำเนินการไปตามแฟชั่น ไม่รู้แนวทางที่ถูกต้อง รู้อย่างเดียวว่า “ความรักไม่มีศาสนา” เมื่อถึงคราวแต่งงาน ก็เพียงชัดพิธีกรรรมโดยให้อิหม่ามดำเนินการให้เสร็จไปเป็นพิธี โดยไม่มองถึงหลักการที่กำหนดในศาสนา ทำเพียงให้ผ่านพ้นไปเพื่อให้ญาติสบายใจเท่านั้น บางคนต้องกระทำพิธีหลายศาสนาตามความเชื่อถือของแต่ละฝ่าย ไม่ใยดีว่าหลักการที่ถูกต้องเป็นอย่างไร ละเลยมองข้ามเพียงให้คนโดยทั่วไปมองว่า ถือหลักประชาธิปไตยในครอบครัว ไม่ต้องถือตามกัน ซึ่งผิดหลักผิดแนวทางของอิสลาม ขอให้เราพิจารณาโองการจาก ซูเราะห์ Al-Qur'an, 003.102 (Aal-E-Imran [The Family of Imran]) ความว่า


003.102 يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا اتَّقُوا اللَّهَ حَقَّ تُقَاتِهِ وَلا تَمُوتُنَّ إِلا وَأَنْتُمْ مُسْلِمُونَ


003.102 O ye who believe! Fear Allah as He should be feared, and die not except in a state of Islam.


102. โอ้ผู้ศรัทธาทั้งหลาย! จงยำเกรงอัลลอฮ์อย่างแท้จริงเถิด และพวกเจ้าจงอย่าตาย (คือให้เรามีชีวิตอยู่ในวิถีทางของอัลลอฮ์อยุ่เสมอ เพื่อว่าเมื่อได้ตายลง จะได้ตายในฐานะผู้นอบน้อมต่ออัลลอฮ์ถ้ามิเช่นนั้นแล้วก็ไม่อาจแน่ใจได้ว่าเราจะตายในฐานะใด) เป็นอันขาดนอกจากในฐานะที่พวกเจ้าเป็นผู้นอบน้อมเท่านั้น (คือเป็นผู้ที่ดำเนินชีวิตอยู่ในฐานะเป็นผู้จงรักภักดีต่ออัลลอฮ์)


พระองค์อัลลอฮ์ (ซ.บ.) ทรงรับรองมวลมุสลิมทุกๆ คนในความเมตตาแก่บรรดาประชาชาติทั้งหลายเพียงแต่เสี้ยวหนึ่งของชีวิตของเขารับรู้และรู้ซึ้งในความศรัทธาต่อพระองค์ น้อมรับความเมตตาจากพระองค์ เพียงเท่านั้น เขาก็จะได้รับโอกาสจากพระองค์ในการได้รับแนวทางอันเที่ยงตรงและผลลัพธ์ในสิ่งอันมีค่ามหาศาลจากพระองค์ ดังโองการข้างต้นที่บ่งบอกได้ว่า เราทั้งหลาย “ต้องตายในอีหม่าน” หรือตายในแบบฉบับของผู้ศรัทธาและน้อมนอบมอบหมายต่อพระองค์ นั่นคือ พระองค์ทรงรับรองความเป็นมุสลิมให้กับทุกคนที่เขามีความน้อมรับในพระเมตตาของพระองค์ แม้เพียงนิดเดียวเพียงเสี้ยวหนึ่งของชีวิตหรือแม้เพียงเสี้ยวหนึ่งของลมหายใจของเขาเหล่านั้นในการกลับตัวกลับใจตอบรับด้วยความยำเกรงก่อนหมดลมหายใจของเขา


ท่านทั้งหลาย


ในเมื่อการรับรองคุณสมบัติในเชิงคุณภาพจองแต่ละปัจเฉกบุคคล เราไม่สามารถบอกได้ว่า เราเป็นคนเช่นไร การยอมรับจากคนอื่นๆ คือสิ่งที่สังคมใช้เป็นสิ่งสะท้อนเพื่อการตรวจสอบจากคนอื่น เสมือนหนึ่งว่าเราส่องกระจกเพื่อมองดูตนเอง เพื่อเราจะได้ล่วงรู้ถึงสิ่งเป็นในตัวเรา ดังนั้นการที่คนอื่นมองเราจึงมีมุมมองที่แตกต่างจากความคิดของเรา เช่น การรับรองว่าใครเป็นคนดี ใครเป็นที่ยอบรับของคนอื่นๆ ในสังคม นั้น คนๆ นั้น จะบอกว่าตนเองเป็นคนดี เป็นที่ยอมรับของทุกๆ คนไม่ได้ ต้องให้คนอื่นมองเรา หากทุกๆ คนมองแล้วเห็นไปในทางเดียวกัน แน่นอนว่าสามารถตอบได้เขาคนนั้นเป็นคนดี เป็นที่ยอมรับของคนโดยทั่วๆ ไป เช่นกันหากเขาถูกมองด้วยสายตาแสดงความน่ารังเกียจไปในทางเดียวกัน แม้คนๆ นั้นจะบอกว่าเขาเป็นคนดี ก็ไม่สามารถจำแนกได้ว่าเขาเป็นคนดีหรือเป็นที่ยอมรับน่าเชื่อถือของสังคมได้ ดังนั้น การที่เราอยู่ร่วมกับคนอื่นๆ ในสังคม การยอมรับ การรับรองของเราเองยังไม่เพียงพอหากแต่ต้องให้คนอื่นๆ ยอมรับในคุณค่าและความสำคัญในเรื่องหนึ่งๆ ของเราด้วย เพื่อที่เราจะได้ใช้โอกาสนี้ในการทำงานเพื่อสังคม และความประพฤติและพฤติกรรมของเราก็ต้องเป็นที่น่าเชื่อถือกับคนอื่นๆ ด้วยในขณะเดียวกัน เพราะการรับรองถือว่าเป็นความสำคัญอันหนึ่งที่เราต้องนำมาพิจารณา เพื่อที่จะทำให้ทุกๆ คนในสังคมไม่ระแวงหรือสงสัยในตัวเราในการทำงานร่วมกันกับเขาเหล่านั้น


ท่านทั้งหลาย


การับรอง จึงเป็นสิ่งหนึ่งที่ทุกๆ ฝ่ายในสังคมในเป็นมาตรการในการยอมรับที่บ่งบอกได้ว่า คนๆ นั้น มีคุณสมบัติเพียบพร้อมที่จะทำหน้าที่ตามกฎเกณฑ์ กติกาที่ได้ถูกกำหนดไว้ โดยเฉพาะในการทำหน้าที่ หรือในเรื่องความสำคัญของการทำหน้าที่ที่ต้องกระทำในภาพรวมของสังคม ซึ่งคนที่จะทำหน้าที่อันยิ่งใหญ่นี้ จะถูกตรวจสอบในหลายๆ ทิศทาง จากองค์กรที่เกี่ยวข้อง ซึ่งคนที่ขาดคุณสมบัติหากการกลั่นกรองในเบื้องต้นถูกมองข้ามเลยไป เช่นนี้ สังคมจึงวางกรอบไว้ให้ครอบคลุมเพื่อกลั่นกรองเป้นกระบวนการตรวจสอบหนึ่งที่จะสกัดกั้นคนที่ทุจริตแล้วจับไม่ได้ไล่ไม่ทัน เพื่อคุ้มครองสิทธิ์ของผู้มีส่วนได้เสียที่ถูกรอนสิทธ์ ให้ได้รับสิทธ์อันชอบธรรมของเขาเหล่านั้น เช่นเดียวกับสิทธ์ของคนยากจน ขัดสน ยากไร้ นั้น เมื่อคุณสมบัติของเขาเหล่านั้นถูกต้องครบถ้วนว่าเขามีสิทธ์ที่จะได้รับ “ซ่ากาต” แล้ว แน่นอนว่าบรรดาทรัพย์สินต่างๆ ที่มีพิกัดครบกำหนดตามเงื่อนไขของพิกัดที่ต้องออกซ่ากาตและครบรอบปี(เดือนอิสลาม นับทางจันทรคติ) ทรัพย์สืนเหล่านั้น ย่อมเป็นสินทรัพย์ที่ชอบธรรมของคนที่มีสิทธ์รับซ่ากาตโดยชอบธรรม การที่คนที่มีทรัพย์สินแล้วหวงทรัพย์นั้นไว้ แน่นอนว่าเขากำลังละเมิดสิทธ์ของเขาเหล่านั้นโดยที่เขาขาดความยำเกรงในพระเมตตาของพระองค์ ขอให้พิจารณาอัลฮาดีส ความว่า


he Prophet said, "(On the Day of Resurrection) camels will come to their owner in the best state of health they have ever had (in the world), and if he had not paid their Zakat (in the world) then they would tread him with their feet; and similarly, sheep will come to their owner in the best state of health they have ever had in the world, and if he had not paid their Zakat, then they would tread him with their hooves and would butt him with their horns." The Prophet added, "One of their rights is that they should be milked while water is kept in front of them." The Prophet added, "I do not want anyone of you to come to me on the Day of Resurrection, carrying over his neck a sheep that will be bleating. Such a person will (then) say, 'O Muhammad! (please intercede for me.)' I will say to him. 'I can't help you, for I conveyed Allah's Message to you.' Similarly, I do not want anyone of you to come to me carrying over his neck a camel that will be grunting. Such a person (then) will say 'O Muhammad! (please intercede for me).' I will say to him, 'I can't help you for I conveyed Allah's message to you.' " Narrated by: Abu Huraira Source: Sahih Al-Bukhari



ในช่วงเดือนรอมฎอนที่กำลังจะเวียนมาถึง ซึ่งในปีนี้ (ฮ.ศ. 1432) วันที่ 1 รอมฎอน 1432 จะตรงกับวันที่ 1 สิงหาคม 2554 อินชาอัลลอฮ์ เราทุกคนในประเทศไทย คงจะได้เริ่มต้นถือศีลอดโดยพร้อมเพรียงกันไม่แตกต่างและไม่ลักลั่น เช่นกันในแต่ละปีรอมฎอนที่จะเข้ามาถึง หลายๆ คนเตรียมกายเตรียมใจต้อนรับ ขอให้ทุกท่านประสบผลสำเร็จในการอิบาดัรมุ่งตรงต่อพระองค์ แต่ขอให้เราทุกๆ คน จงมุ่งมั่นให้ถึงเป้าหมายของการถือ ศีลอด งดเว้นการกระทำที่บั่นทอนอิบาดัร อันยิ่งใหญ่นี้ ลด ละ เลิกกิจกรรมที่ไร้สาระ ของสายตา รวมถึงประสาทสัมผัสอื่นๆ เช่น หู กาย และใจ และงด เพื่อให้ได้คะแนนเต็มทุกๆ ด้าน และสิ่งหนึ่งที่จะฝากไว้ก็คือ การเรียนรู้ ทบทวนอัลกุรอ่าน ทั้ง อักขระ และความหมาย และอีกสิ่งหนึ่ง คือ การให้ “ซ่ากาต” กับคนที่มีสิทธ์ที่จะได้รับ ขอเราอย่าได้เพิกเฉยหรือละเลยเขาเหล่านั้น เพราะภาคผลและเป้าหมายของการถือศีลอด นั้น จุดประสงค์หลักก็เพื่อที่เราจะไม่ลืมความทุกข์ยากเวทนาต่อเขาเหล่านั้น เมื่อเราต้องการได้สิทธิแห่งการรับรองคุณสมบัติของเราแล้ว เราก็อย่าบั่นทอนสิทธิของผู้ที่มีสิทธิด้วยเช่นกัน




إِنَّ اللَّهَ وَمَلائِكَتَهُ يُصَلُّونَ عَلَى النَّبِيِّ يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا صَلُّوا عَلَيْهِ وَسَلِّمُوا تَسْلِيمًا


رَبَّنَا آتِنَا فِي الدُّنْيَا حَسَنَةً وَفِي الآخِرَةِ حَسَنَةً وَقِنَا عَذَابَ النَّارِ


إِنَّ اللَّهَ يَأْمُرُ بِالْعَدْلِ وَالإحْسَانِ وَإِيتَاءِ ذِي الْقُرْبَى وَيَنْهَى عَنِ الْفَحْشَاءِ وَالْمُنْكَرِ وَالْبَغْيِ يَعِظُكُمْ لَعَلَّكُمْ تَذَكَّرُونَ


سُبْحَانَ رَبِّكَ رَبِّ الْعِزَّةِ عَمَّا يَصِفُونَ


وَسَلامٌ عَلَى الْمُرْسَلِينَ


وَالْحَمْدُ لِلَّهِ رَبِّ الْعَالَمِينَ


ว่าบิ้ลลาฮิเตาฟีก วั้ลฮิดายะห์


วัสสลาม


มูฮำหมัด สันประเสริฐ


อ้างอิง


อัลกุรอ่านฉบับภาษาไทย สมาคมนักเรียนเก่าอาหรับ ดำเนินการจัดพิมพ์โดยกระทรวงกิจการฮัจย์ แห่งราชอาณาจักรซาอุดิอาเบีย http://www.alquran-thai.com/ShowSurah.asp , www.DivineIslam.com


อัลฮาดีซ : Hadith of The Day V 1.0 Freeware by FaridAnasri avater@muslimonline.com www.beconvinced.com

วันพฤหัสบดีที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

วันภาษาไทย : ภาษาวิบัติหรือสังคมวิกฤติ

มิมบัรออนไลน์


คุตบะห์วันศุกร์ 14 ชะห์บาน 1432 (วันศุกร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2554)


วันภาษาไทย : ภาษาวิบัติ หรือสังคมวิกฤติ



الْحَمْدُ لِلَّهِ رَبِّ الْعَالَمِينَ


الَّذِي جَعَلَ لَكُمُ الأرْضَ فِرَاشًا وَالسَّمَاءَ بِنَاءً وَأَنْزَلَ مِنَ السَّمَاءِ مَاءً فَأَخْرَجَ بِهِ مِنَ الثَّمَرَاتِ رِزْقًا لَكُمْ فَلا تَجْعَلُوا لِلَّهِ أَنْدَادًا وَأَنْتُمْ تَعْلَمُونَ


وَإِنْ كُنْتُمْ فِي رَيْبٍ مِمَّا نَزَّلْنَا عَلَى عَبْدِنَا فَأْتُوا بِسُورَةٍ مِنْ مِثْلِهِ وَادْعُوا شُهَدَاءَكُمْ مِنْ دُونِ اللَّهِ إِنْ كُنْتُمْ صَادِقِينَ



ท่านพี่น้องผู้ศรัทธาทั้งหลาย


ขอย้ำเตือนตนเองและท่านทั้งหลาย จงกวดขัน พินิจพิจารณาตนเองถึงช่วงเวลาที่ผ่านมา การกระทำของเรา ความคิดของเรา อยู่ในแนวทางใด เรายอมรับหรือปฏิเสธ ในสิ่งที่เราได้กระทำไปนั้น เป็นความตั้งใจ หรือเป็นความประมาท เลินเล่อ ขาดความยับยั้งชั่งใจ ในกิจกรรมนั้น ๆ หรือว่าเราตีความ เข้าข้างอารมณ์ ความรู้สึกของตนเอง เพียงเพราะว่า การปฏิบัติตนของเราเช่นนั้น เป็นคณาประการที่เราได้รับประโยชน์ ได้รับสิทธิในสิ่งที่เราต้องการ หรือที่เรามุ่งหวัง ทั้งๆ ที่การกระทำของเราในเรื่องราวเหล่านั้น เป็นการออกนอกแนวทาง ออกนอกหนทางอันเที่ยงตรงและมีวัตถุประสงค์แอบแฝง ด้วยการเย้ยหยัน ถากถาง ไม่เกิดความยำเกรงในความกรุณาเมตตาปราณีจากพระองค์ผู้ทรงอภิบาลแห่งสากลโลก ดังนั้น ขอให้เราจงหันกลับมา กลับตัวกลับใจ แล้วย้อนคิดถึงเรื่องราวต่างๆ ที้เราได้กระทำมาตลอดช่วงเวลาที่ผ่านพ้นนั้น เราต้องแก้ไขหรือปรับปรุงแนวปฏิบัติตน หรือมีเรื่องใดบ้างที่เราบกพร่องต้องเติมเต็มการปฏิบัติตนให้ตรงกับแนวทางอันเที่ยงตรงได้ เพราะนั่นคือเครื่องหมายของผู้ที่ได้รับชัยชนะ และได้รับความภาคภูมิใจในวันแห่งการตัดสิน ขอดุอาร์ จากพระองค์อัลลอฮ์ (ซ.บ.) ทรงตอบรับการกลับตัวของเราทุกคน เพราะหน้าต่างแห่งความปราณีของพระองค์ นั้น ทรงเปิดรับบรรดาผู้ที่ยำเกรงต่อพระองค์ และเปิดรับผู้ที่เดินหน้าก้าวไปยังพระองค์ หรือแม้แต่ผู้ปฏิเสธ หากวันหนึ่งเขาหันหลังกลับมาหาพระองค์ หน้าต่างบานนี้ก็ยอมรับเขาเหล่านั้น ด้วยความยินดี




ท่านทั้งหลาย


หัวข้อของวันนี้ จะเกี่ยวข้องกับการใช้ภาษา เพราะอีกไม่กี่วัน ก็จะมีการรำลึกถึงวันแห่งการใช้ภาษาไทย ซึ่งเป็นภาษาที่เราทุกคนที่เป็นคนไทยไม่ว่าจะอยู่ในพื้นที่ใดในราชอาณาจักรนี้ ต้องใช้ภาษาไทย เป็นภาษาที่เอกลักษณ์เป็นของตนเอง เป็นภาษาที่ใช้ในราชการ เป็นภาษาที่ใช้ในการสื่อสาร ถึงแม้ว่าในภาคต่างๆ จะนิยมใช้ภาษาท้องถิ่น แต่หากจะใช้ในการติดต่อสื่อสารระหว่างกันแล้ว ทุกๆ คนจะต้องใช้ภาษาพูดและเขียนที่เป็นภาษาทางราชการ เป็นภาษาทางการที่ทุกๆ คน สามารถติดต่อสื่อสารกันได้ การใช้ภาษาไทยในปัจจุบัน นักปราชญ์ ส่วนใหญ่มองว่า การที่คนไทยเร่งรีบ ต้องการความฉับไวในการสื่อสาร จึงเกิดคำพูด ศัพท์สะแลงต่างๆ มากมาย เป็นคำพูดใหม่ๆ บางคำเป็นคำพูดในวงแคบๆ แต่เมื่อใช้กันบ่อยๆ เป็นที่นิยม ของคนส่วนใหญ่ ที่ในตอนแรกคนเหล่านั้นมองว่า คำๆ นั้น หรือศัพท์สะแลงเหล่านั้น เป็นเรื่องแปลก น่ารังเกียจที่จะไปใช้คำกล่าวอย่างนั้น บ้างก็มองว่าทำให้ภาษาวิบัติ บ้างก็มองว่า เมื่อคนทั้งหลายหันมาใส่ใจในเรื่องคำศัพท์สะแลงกันมากๆ จนมีบางท่าน จัดทำพจนานุกรมศัพท์สะแลงขึ้น และมีขั้นตอนในการปรับปรุงคำศัพท์เหล่านั้นเป็นระยะๆ ทุกๆ ปี จะเห็นว่า การขับเคลื่อนการใช้ภาษาไทย ทำให้มองว่าภาษาไทยเป็นภาษาที่มีความสละสลวย แม้ว่า คำศัพท์เหล่านั้น จะเป็นคำที่พูดกันทั้งบ้านทั้งเมือง แต่หากในที่สุดคนไทยมองว่าคำเหล่านั้นไม่ทันยุคทันสมัย ก็จะเลิกใช้คำต่างๆ เหล่านั้น แล้วประดิษฐ์คิดศัพท์ใหม่ๆ ที่ทันยุคทันสมัยกันต่อไปอาจกล่าวได้ว่า ภาษาไทยเป็นภาษาที่ไม่ตาย เพราะมีการเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา ภาษาไทยถูกเรียงร้อยถ้อยคำ มีการขับเคลื่อนกันไปไม่มีวันจบ แต่ในขณะเดียวกัน บางครั้งการใช้ภาษาไทยให้ถูกหลัก ถูกฉันทลักษณ์ หรือถูกต้องตามกฎการใช้ภาษาไทย ในยุคสมัยปัจจุบันที่เป็นสังคมแห่งการสื่อสาร คำพูดบางคำพูด ที่สามารถพูดเพียงคำสั้นๆ ซึ่งอาจผิดหลักไวยากรณ์ทางภาษา แต่ใช้เรียกจุดเด่นของบุคคลสาธารณะ หรือใช้ในการอธิบายเรื่องราวต่างๆ ได้ดี เป็น “สโลแกน” ประจำตัว อาจตั้งอยู่ในเชิงที่ผิดหลักไวยากรณ์ แต่การใช้ภาษาดังกล่าวโดนใจ กินใจ ได้ความหมายที่ตรงกับตัวตนของบุคคลหรือสถาบันที่ถูกกล่าวอ้าง หรือในบางเรื่องการกล่าวถึงภาษาไทยในวาระต่างๆ อาจใช้คำทับศัพท์ หรือเรียกว่า “พูดไทยคำฝรั่งคำ” เหล่านี้ จึงเป็นสิ่งที่น่าเป็นห่วงอย่างมากในเรื่องของการใช้ภาษา เด็กไทยในปัจจุบัน ถูกกระตุ้นด้วยค่านิยมที่ต้องตักตวงแสวงหาความรู้ในสรรพวิทยาการต่างๆ มากมาย ทั้งในชั้นเด็กเล็ก เด็กโต วัยรุ่น และวัยหนุ่มสาวในมหาวิทยาลัย เด็กของเราเหล่านั้น ถูกกำหนดให้เรียนวิทยาการต่างๆ มากมาย เพื่อเป็นพื้นฐานในการประกอบวิชาชีพในอนาคต โดยเฉพาะวิชาแกนหลักเช่น คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ภาษาต่างประเทศ จำนวนชั่วโมงเรียนของเด็กๆ จึงวนเวียนอยู่กับสาระวิชาการเหล่านี้ โดยมองข้ามวิชาทักษะและการใช้ภาษาไทยไป ทั้งๆ เราทุกๆ คนในแผ่นดินนี้ ต่างใช้ภาษาไทยมาตั้งแต่เริ่มหัดพูดหัดเดิน เราใช้ภาษาไทยโดยที่เรายังไม่เริ่มเรียนภาษาไทยกันเลย แต่การใช้ภาษาไทยส่วนใหญ่ใช้กันตามแฟชั่น ตามสื่อสารมวลชน เด็กไทยในปัจจุบัน เรียนรู้เรื่องราวไทยๆ และการใช้ภาษาไทยจากสื่อสารมวลชน ซึ่งเป็นการชี้นำที่ได้ผลในระดับหนึ่ง เพราะเด็กเหล่านั้นมองว่า วิชาภาษาไทยสามารถเรียนรู้ได้จากแหล่งต่างๆ จากนอกห้องเรียน ไม่เห็นถึงความสำคัญ สถิติการวิจัยเกี่ยวกับการใช้ภาษาไทยพบว่า เด็กไทยให้ความสำคัญกับการเรียนวิชาภาษาไทยน้อยมาก และการเสริมสร้างทักษะในวิชาการอื่นๆ อันสืบเนื่องมาจากการใช้ภาษาไทยในการเขียนตอบวิชาแกนหลักอื่นๆ นั้น ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานอย่างน่าเป็นห่วง นั่นแสดงว่า คนไทยยุคใหม่มองข้ามเอกลัษณ์ของตนเองไปอย่างน่าเป็นห่วง


ท่านทั้งหลาย


ในเวลานี้ หลายๆ ฝ่าย ต่างลุ้นระทึกกับข่าวคราวทางด้านการบ้านการเมืองของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่คณะกรรมการการเลือกตั้งจะให้การรับรองผลการเลือกตั้งภายหลังจากที่ได้มีการลงคะแนนของประชาชนชาวไทยไปแล้ว ซึ่งผลการเลือกตั้งได้สะท้อนให้เห็นถึงความต้องการของประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศที่อยากได้รัฐบาลที่เข้ามาแก้ไขปัญหาเร่งด่วนของสังคมโดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ แต่สิ่งหนึ่งที่หลายๆ ฝ่ายมองข้ามเลยไป นั่นคือ ปัญหาสังคม และวัยรุ่น ซึ่งเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นจากความเปลี่ยนแปลงทางสังคม จะเห็นได้จากการใช้ภาษาไทยของเด็กๆ เหล่านั้น แม้ว่าจะเป็นเรื่องราวที่ต่างกัน แต่ผลจากการใช้ภาษา ส่วนหนึ่งจะสะท้อนมาจากเบื้องหลังของคนในสังคม จากสุภาษิตที่ว่า “สำเนียงส่อภาษา กิริยาส่อสกุล” นั้น ทำให้เราสามารถวิเคราะห์ได้ว่า ภาษาที่ผิดเพี้ยนไปในสังคมนั้น เกิดขึ้นจากปัญหาวิกฤตทางสังคมที่ถูกรุมเร้าจากพิษภัยรอบตัว ทั้งปัญหาทางด้านการเมืองที่มีความขัดแย้งอย่างรุนแรงมีการแบ่งฝักแบ่งฝ่าย ปัญหาทางเศรษฐกิจที่ประชาชนผู้บริโภคถูกเอารัดเอาเปรียบจากพ่อค้าผู้ผลิตที่มุ่งแต่จะเอากำไรแล้วผลักภาระต่างๆ ไปยังประชาชน โดยมองเพียงกำไรสูงสุด ขณะที่ปัญหาสังคมที่หลายๆ ส่วนมองข้าม หรือแก้กันไม่หมดสิ้นไป อาชญากรรมเกิดขึ้นมากมาย บางครั้งคนที่คุ้นเคยกัน เคยติดต่อสัมพันธ์กัน แต่เพียงอารมณ์ชั่ววูบหนึ่งของความบาดหมางทำให้ทำร้ายกันโดยขาดความยั้งคิด สิ่งเหล่านี้นับวันมีมากขึ้น และเป็นอุปสรรคที่สำคัญที่ทุกๆ ต้องมุ่งมั่นและระมัดระวังตนเอง ลูกหลาน ให้ปลอดภัยจากพิษภัยเหล่านี้ ด้วยการปกป้องตนเอง หาหนทางในการป้องกัน บางครั้งและบางคนอาจซื้อสังคมด้วยต้นทุนที่สูงลิบ แต่ในที่สุดก็ไม่สามารถหลีกเลี่ยงให้พ้นไปจากสิ่งต่างๆ เหล่านี้ ทั้งหมดจึงส่งผ่านข้อมูลออกมาด้วยการใช้ภาษาของทุกภาคส่วนในสังคม จึงทำให้เราสามารถมองผลลัพท์ที่ได้จากการใช้ภาษาไทยในปัจจุบันได้จากสภาพทางสังคมที่เปลี่ยนไป ภาษาวิบัติที่เกิดขึ้นจึงเป็นผลลัพท์อันเนื่องมาจากสังคมที่วิกฤติ นั่นเอง


ท่านทั้งหลาย


ภาษาที่ผิดเพี้ยนเกิดจากการใช้ภาษาที่พาดพิงวุฒิภาวะของคนที่สื่อสารออกมา บางภาษาเป็นภาษาที่ตายไปแล้ว เพราะเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก ขัดความรู้สึกไม่มีการเปลี่ยนแปลง คนจึงมองข้ามความสำคัญในการใช้ภาษาเหล่านั้น เช่นเดียวกับภาษาอาหรับในพระมหาคัมภีร์อัลกุรอ่าน ที่มุสลิมใช้กันอยู่ในปัจจุบัน จะเห็นว่า มุสลิมหลายๆ ครอบครัวมองข้ามความสำคัญของการเรียนรู้อัลกุรอ่าน อย่างนี้เป็นมานานหลายช่วงอายุคน สังคมมุสลิมไทย ต่างตระหนักที่จะส่งบุตรหลานให้เรียนรู้วิชาฟัรดูอีนในช่วงขณะที่เด็กๆ เหล่านั้นยังเยาว์วัย โดยการให้เด็กๆ เหล่านั้น เรียนรู้อักขระภาษาอาหรับ การอ่าน การเขียน รวมไปถึงการเรียนรู้ความหมายบางซูเราะห์ของ อัลกุรอ่าน แต่เพียงเมื่อเด็กๆ เหล่านั้นอ่านอัลกุรอ่านได้บ้าง จนจบเล่ม และมีการเรียนฟัรดูอีนจนจบชั้นภาคบังคับ ก็จะมีการเฉลิมฉลองกันยิ่งใหญ่ เป็นเกียรติกับเด็กๆ เหล่านั้น แต่พอไม่นานจากนั้น ทุกสิ่งที่เรียนมากลับถูกลืมไป เราให้เวลาใส่ใจกับการเรียนสาระวิทยาการที่ต้องใช้ในการประกอบวิชาชีพ การเรียนรู้ที่ผ่านมา ใช้น้อยลง ๆ จนกระทั่งมองข้ามความสำคัญออกไป เด็กๆ เหล่านั้น ออกนอกลู่นอกทาง ใช้ชีวิตไม่แตกต่างจากเพื่อนๆ นอกศาสนา พอเขาโตขึ้นมา ก็ไม่สามารถแยกแยะความแตกต่าง แต่ใช้ชีวิตกลมกลืนกับสังคมไม่ยอมแตกต่างเพราะกลัวแตกแยกไม่ยำเกรงต่ออัลลอฮ์ (ซ.บ.) หนทางภายภาคหน้าของเด็กๆ เหล่านั้น ไม่ว่าจะเป็นการใช้ชีวิตครอบครัว การดูแลเอาใจใส่ในเรื่องราวของศาสนา จนในที่สุดแล้ว เขากลับกลายสภาพออกนอกแนวทางอันเที่ยงตรงออกไปโดยขาดความยำเกรง เพียงเพราะวันนี้ เราปลูกฝังค่านิยมผิดๆ ให้กับเขา เราขาดความใส่ใจในเรื่องราวเล็กๆ น้อยๆ เสมือนหนึ่งว่าเราเป็นคนไทยมองข้ามการเรียนรู้วิชาภาษาไทย เพราะเราเป็นมุสลิมเรามองข้ามระเบียบกฎเกณฑ์การใช้ชีวิตเฉกเช่นมุสลิมที่มีความยำเกรงต่อพระผู้สร้างผู้เมตตาซึ่งเปิดหน้าต่างรอรับการกลับตัวของเราทั้งหลายอยู่เสมอ วันนี้เราอาจดีใจที่เด็กๆ ของเราเรียนรู้วิชาภาษาต่างประเทศหรือภาษาไทยในการแต่งประโยคสักหนึ่งประโยค ที่มีประธาน กิริยาและกรรมได้ ในความหลากหลายเหล่านั้น แต่การท้าทายของพระองค์ จากโองการอัลกุรอ่าน Al-Qur'an, 002.022 – 002.23 (Al-Baqara [The Cow]) ความว่า


002.022 الَّذِي جَعَلَ لَكُمُ الأرْضَ فِرَاشًا وَالسَّمَاءَ بِنَاءً وَأَنْزَلَ مِنَ السَّمَاءِ مَاءً فَأَخْرَجَ بِهِ مِنَ الثَّمَرَاتِ رِزْقًا لَكُمْ فَلا تَجْعَلُوا لِلَّهِ أَنْدَادًا وَأَنْتُمْ تَعْلَمُونَ


002.022 Who has made the earth your couch, and the heavens your canopy; and sent down rain from the heavens; and brought forth therewith Fruits for your sustenance; then set not up rivals unto Allah when ye know (the truth).


22. คือผู้ทรงให้แผ่นดินเป็นที่นอน (ให้แผ่นดินเป็นผืนราบเหมือนที่นอน) และฟ้าเป็นอาคาร (ให้ฟากฟ้าที่มองเห็นเป็นรูปโดมนั้น เป็นเสมือนอาคารที่มนุษย์พักอาศัย) แก่พวกเจ้า และทรงให้น้ำหลั่งลงมาจากฟากฟ้า แล้วได้ทรงให้บรรดาผลไม้ออกมา เนื่องด้วยน้ำนั้น ทั้งนี้เพื่อเป็นปัจจัยยังชีพแก่พวกเจ้า ดังนั้นพวกเจ้าจงอย่าให้มีผู้เท่าเทียมใด ๆ ขึ้น สำหรับอัลลอฮฺ (อย่าให้มีผู้หนึ่งผู้ใด หรือสิ่งหนึ่งสิ่งใด เท่าเทียมกับพระองค์ ทั้งในความรัก ความกลัวเกรง และในการจงรักภักดี ตลอดจนในสิ่งอื่นใดทั้งสิ้น กล่าวคือ เราจะต้องให้พระองค์อยู่เหนือกว่าสิ่งใดทั้งมวล เฉพาะอย่างยิ่งในการอิบาดะฮฺต่อพระองค์ทุกประเภท จะต้องให้เป็นไปเพื่อความโปรดปรานของพระองค์ แต่เพียงองค์เดียวเท่านั้น) โดยที่พวกเจ้าก็รู้กันอยู่


002.023 وَإِنْ كُنْتُمْ فِي رَيْبٍ مِمَّا نَزَّلْنَا عَلَى عَبْدِنَا فَأْتُوا بِسُورَةٍ مِنْ مِثْلِهِ وَادْعُوا شُهَدَاءَكُمْ مِنْ دُونِ اللَّهِ إِنْ كُنْتُمْ صَادِقِينَ


002.023 And if ye are in doubt as to what We have revealed from time to time to Our servant, then produce a Sura like thereunto; and call your witnesses or helpers (If there are any) besides Allah, if your (doubts) are true.


23. และหากปรากฏว่าพวกเจ้าอยู่ในความแคลงใจใด ๆ จากสิ่ง (จากอัล-กรุอาน) ที่เราได้ลงมาแก่บ่าวของเราแล้ว(แก่ท่านนะบีมูฮัมมัด) ก็จงนำมาสักซูเราะฮฺหนึ่งเยี่ยงสิ่งนั้น (คือจงประพันธ์มาสักซูเราะฮฺหนึ่ง เช่นเดียวกับอัล-กรุอาน) และจงเชิญชวนผู้ที่อยู่ในหมู่พวกเจ้าอื่นนอกจากอัลลอฮฺหากพวกเจ้าเป็นผู้พูดจริง (อัลลอฮฺทรงใช้ให้พวกเขาชักชวนบรรดาผู้เชี่ยวชาญที่ร่วมอยู่ในหมู่พวกเขาให้ช่วยเหลือในการประพันธ์อีกด้วย ยกเว้นอัลลอฮฺองค์เดียวเท่านั้น หากพวกเขาพูดจริงตามที่อ้างไว้ และการที่ต้องยกเว้นอัลลอฮฺนั้นก็เพราะว่าพระองค์อยู่ในสภาพที่ร่วมอยู่กับพวกเขาด้วยและสามารถประพันธ์ได้ พราะอัล-กรุอานเป็นดำรัสของพระองค์)


จะเห็นว่า ความยิ่งใหญ่ของพระองค์ ที่มีในสากลโลกนี้ เด่นชัดกว่าเรื่องราวใดๆ ทั้งสิ้น แน่แท้ว่า วันนี้เราอาจมองข้ามความสำคัญในเรื่องราวบางเรื่องในชีวิตประจำวันของเรา แต่ขอให้เราทั้งหลายฉุกคิดเพียงสักนิดหนึ่งว่า เราให้ความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตในแต่ละวันของเราในเรื่องราวใดมากที่สุด และเรื่องราวเหล่านั้น ทำให้เราย้อนคิดถึงความยิ่งใหญ่ ความสำคัญ และความยำเกรงต่อพระเจ้า ผู้เมตตาต่อเราทั้งหลาย มากน้อยเพียงใด แค่ไหน และอย่างไร เพื่อที่เราจะได้เล็งเห็นถึงความสำคัญ ตระหนักถึงปัญหา และคุณค่าในสิ่งต่างๆ มากมายเหล่านั้น




ท่านทั้งหลาย


การอบรมสั่งสอนเด็กๆ ให้รู้ถึงคุณค่าและความสำคัญในเรื่องราวของสังคม ตระหนักถึงสาเหตุแห่งพิษภัยรอบด้านนั้น จะทำให้เราใช้ชีวิตด้วยความระมัดระวัง สังคมไทยในปัจจุบัน เกิดวิกฤติเพราะหลายๆ ภาคส่วนมุ่งมั่นที่จะให้ค่านิยมทางวัตถุ ซึ่งจะสะท้อนให้เห็นถึงความหยาบทางอารมณ์ การบริบทแห่งความขัดแย้ง บริบทแห่งการแสวงหาผลประโยชน์ ท้ายที่สุดเป็นการแข่งขันที่มุ่งเน้นการแพ้ชนะอย่างเอาเป็นเอาตายโดยขาดหลักแห่งความมีน้ำใจนักกีฬา ค่านิยมผิดเหล่านี้ สะท้อนออกมาด้วยการใช้ภาษา วัฒนธรรมที่ผิดเพี้ยนไปจากสังคมที่เอื้ออาทรต่อกัน กลายมาสู่สังคมที่มุ่งเน้นช่วงชิงความได้เปรียบอยู่ตลอดเวลา การอบรมสั่งสอนเด็กในปัจจุบันของเรา จึงต้องมอบมรดกทางวัฒนธรรมโดยเฉพาะมรดกทางวัฒนธรรมอิสลามที่มุ่งเน้นสันติสุข ความยำเกรงศิโรราบต่อผู้อภิบาลแห่งสากลโลก ขอให้พิจารณาอัลฮาดีส ความว่า


The Prophet mentioned a man from the previous generation or from the people preceding your age whom Allah had given both wealth and children. The Prophet said, "When the time of his death approached, he asked his children, 'What type of father have I been to you?' They replied: 'You have been a good father.' He said, 'But he (i.e. your father) has not stored any good deeds with Allah (for the Hereafter): if he should face Allah, Allah will punish him. So listen, (O my children), when I die, burn my body till I become mere coal and then grind it into powder, and when there is a stormy wind, throw me (my ashes) in it.' So he took a firm promise from his children (to follow his instructions). And by Allah they (his sons) did accordingly (fulfilled their promise). Then Allah said, 'Be!' and behold! That man was standing there! Allah then said, 'O my slave! What made you do what you did?' That man said, 'Fear of You.' So Allah forgave him."


Narrated by: Abu Said Soure: Sahih Bukhari 8.488


เพราะพระองค์เท่านั้น ที่รับฟังเราอยู่ตลอดเวลา เพราะพระองค์เท่านั้น ที่ให้ในสิ่งที่เราต้องการ แต่ในวันนี้ เราตอบรับพระองค์ แค่ไหน เรายำเกรงต่อพระองค์เพียงใด และเราปลูกฝังค่านิยมที่ดีให้กับคนรุ่นใหม่ให้เห็นถึงคุณค่าและความสำคัญในบริบทแห่งความรักความผูกพันเชิงครอบครัวอย่างไร วันนี้การใช้ภาษาที่ผิดเพี้ยนเป็น สิ่งสะท้อนให้เห็นถึงจิตวิญญาณเบื้องหลังทางสังคมที่มุ่งมั่นแย่งชิงเอารัดเอาเปรียบระหว่างกัน แต่ในครอบครัวของมุสลิมแล้ว เราต้องแสวงหาจิตวิญญาณแห่งผู้ยำเกรงต่อพระองค์ เพียงเพราะเรารับฟังเรื่องราวระหว่างกันหยิบยื่นความปรารถนาดีให้แก่กันในครอบครัวของเราแล้ว ความรักความผูกพันที่มีให้ต่อกัน จะทำให้การสื่อสารที่ออกมาเป็นภาษาที่สละสลวย เป็นภาษาที่สะท้อนให้เห็นถึงมิตรภาพที่ดีระหว่างกัน และแสดงออกถึงภาษาที่ไม่ผิดเพี้ยนหรือวิบัติ เช่นกัน ในความเป็นมุสลิม กิจวัตรประจำวันของเรามีกฎเกณฑ์ อละมาตรการในการแสดงออก ขอให้เราอย่าละเลยหรือมองข้ามความสำคัญต่อเรื่องราวเหล่านี้ และอีกไม่กี่วันที่จะถึงนี้ จะเป้นเดือนที่เราทั้งหลายรอคอย ซึ่งเป็นเดือนแห่งการเฉลิมฉลองถึงความยิ่งใหญ่แห่งโองการของพระองค์ ขอให้เราทุกครอบครัว อย่างน้อยเรียนรู้คุณค่าและความหมายความสำคัญแห่งโองการของพระองค์ การเฉลิมฉลองในรูปแบบแห่งอิสลาม จะด้วยการอ่าน การศึกษา รวมถึงการให้ความสำคัญในฐานะแห่ง “กาลามุ้ลลอฮ์” ทั้งการอ่าน การฟัง หรือในการละหมาด ทั้งหมดคือความภาคภูมิใจในความเป็นมุสลิม ให้สมกับการที่เราได้ในชีวิตในความเป็นมุสลิมในเดือนอันยิ่งใหญ่ที่จะมีมาถึงนี้ เช่นเดียวกับการที่เราเป็นคนไทยภาคภูมใจในความเป็นไทย ขอให้เราอย่าได้บกพร่องต่อหน้าที่ของเรา เพราะเมื่อเรามีสิทธิที่จะทำอย่างไร แล้ว หน้าที่ที่ตามมาของเรานั้นก็ต้องไม่บกพร่องไปด้วยเช่นกัน



إِنَّ اللَّهَ وَمَلائِكَتَهُ يُصَلُّونَ عَلَى النَّبِيِّ يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا صَلُّوا عَلَيْهِ وَسَلِّمُوا تَسْلِيمًا


رَبَّنَا آتِنَا فِي الدُّنْيَا حَسَنَةً وَفِي الآخِرَةِ حَسَنَةً وَقِنَا عَذَابَ النَّارِ


إِنَّ اللَّهَ يَأْمُرُ بِالْعَدْلِ وَالإحْسَانِ وَإِيتَاءِ ذِي الْقُرْبَى وَيَنْهَى عَنِ الْفَحْشَاءِ وَالْمُنْكَرِ وَالْبَغْيِ يَعِظُكُمْ لَعَلَّكُمْ تَذَكَّرُونَ


سُبْحَانَ رَبِّكَ رَبِّ الْعِزَّةِ عَمَّا يَصِفُونَ


وَسَلامٌ عَلَى الْمُرْسَلِينَ


وَالْحَمْدُ لِلَّهِ رَبِّ الْعَالَمِينَ


ว่าบิ้ลลาฮิเตาฟีก วั้ลฮิดายะห์


วัสสลาม


มูฮำหมัด สันประเสริฐ


อ้างอิง


อัลกุรอ่านฉบับภาษาไทย สมาคมนักเรียนเก่าอาหรับ ดำเนินการจัดพิมพ์โดยกระทรวงกิจการฮัจย์ แห่งราชอาณาจักรซาอุดิอาเบีย http://www.alquran-thai.com/ShowSurah.asp , www.DivineIslam.com


อัลฮาดีซ : Hadith of The Day V 1.0 Freeware by FaridAnasri avater@muslimonline.com www.beconvinced.com