วันพฤหัสบดีที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2554

เกื้อกูลกัน แบ่งปันกัน ด้วยสันติสุข

มิมบัรออนไลน์


คุตบะห์วันอีดิ้ลฟิตริ 1 เซาวาล 1432 (วันพุธที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2554)


เกื้อกูลกัน แบ่งปันกัน ด้วยสันติสุข



الْحَمْدُ لِلَّهِ رَبِّ الْعَالَمِينَ


هُوَ الَّذِي أَرْسَلَ رَسُولَهُ بِالْهُدَى وَدِينِ الْحَقِّ لِيُظْهِرَهُ عَلَى الدِّينِ كُلِّهِ وَكَفَى بِاللَّهِ شَهِيدًا



الله اكبر الله اكبر الله اكبر الله اكبر الله اكبر الله اكبر الله اكبر الله اكبر الله اكبر


ท่านพี่น้องผู้ศรัทธาทั้งหลาย


“ตะกับบั้ลลอฮุมินนาว่ามิงกุ้ม”


ภารกิจแห่งการถือศีลอดได้จบสิ้นลงแล้ว ขณะที่สัญญาณเริ่มต้นของวันอีดได้เริ่มต้นขึ้นเมื่อฮิล้าลแรกของเดือนใหม่ปรากฏขึ้น เสียงตักบีรวันอีดได้เริ่มขึ้น ภารกิจหนึ่งภายหลังการสิ้นสุดของเดือนรอมฎอน คือ การบริจาคซากาตตุ้ลฟิตร์ ซึ่งเป็นภารกิจหนึ่งที่จะส่งเสริมการถือศีลอดตลอดช่วงเดือนรอมฎอนให้มีความบริสุทธิ์ซึ่งผลลัพธ์แห่งการกระทำอิบาดัรตลอดช่วงเดือนรอมฎอนนั้นมุ่งมั่นตรงต่อพระองค์ ซากาตุ้ลฟิตร์ มีกำหนดเวลา มีหลักเกณฑ์ ข้อกำหนด ตลอดจนหลักเกณฑ์ในการกำหนดผู้ที่มีสิทธิ์รับซากาตดังกล่าว เป็นภารกิจที่จบสิ้นไปแล้วก่อนการละหมาดวันอีด ซึ่งทุกๆ ท่าน ณ ที่นี้ ได้จัดการในสิทธิ์ของตนเองเสร็จสิ้นลงแล้ว ดังนั้น วันนี้จึงเป็นวันแห่งการเฉลิมฉลอง วันแห่งชัยชนะ วันแห่งความเปรมปรีดิ์ วันแห่งเกียติยศที่เราทั้งหลายต่างมุ่งมั่นในภารกิจอันสำคัญได้สิ้นสุดลงแล้ว ชีวิตของเราทั้งหมดต่างดำเนินไปภายใต้วงล้อแห่งกาลเวลาที่ก้าวผ่านไปอยู่ตลอดเวลา เราผ่านช่วงเวลาแต่ละช่วงไปโดยมีการดำเนินชีวิตในแต่ละช่วงเวลานั้นๆ สิ่งหนึ่งที่มุสลิมทุกคนต้องปฏิบัติ นั่นคือ ศาสนกิจหลักที่เป็นภาคบังคับ ทั้งการละหมาด การถือศีลอด การบริจาคซ่ากาต รวมถึงการไปประกอบพิธีฮัจย์ ณ ไบติ้ลลาฮิรฮารอม นครมักกะห์ โดยช่วงเวลาที่ผ่านพ้นไปนั้น เราต่างมุ่งมั่นกระทำอิบาดัรไปตามข้อกำหนด เราทุกคนต่างมุ่งมั่นการกระทำให้ครบหลักเกณฑ์ตามเงื่อนไขของข้อปฏิบัตินั้นๆ แต่สิ่งหนึ่งที่เราต้องพิจารณา คือ หัวใจสำคัญแห่งอามั้ลอิบาดัรนั้นๆ ขอเตือนตนเองและท่านทั้งหลาย จงยึดมั่นในหลักปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนด จงพิจารณาถึงหัวใจสำคัญแห่งอิบาดัรทั้งหลายนั้นมีเป้าหมายอย่างไร จงยึดมั่นถึงผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นจากการทำอิบาดัรนั้นๆ อิบาดัรที่มุ่งมั่นกระทำด้วยความยำเกรงต่อพระองค์อัลลอฮ์ (ซ.บ.) แน่นอนว่ามีเป้าหมายเดียวคือ การกระทำด้วยจิตที่มุ่งตรงด้วยความยำเกรงต่อพระองค์นั้น เรามิได้มีจุดมุ่งหมายใดอื่นที่แฝงเร้น จุดมุ่งหมายที่ให้ความสำคัญต่อตนเอง จุดมุ่งหมายเพียงเพื่อให้คนอื่นๆ เลื่อมใสให้เกียรติต่อผู้กระทำ สิ่งเหล่านั้นหาใช่เป้าประสงค์ของอิบาดัรเหล่านั้น แน่นอนว่าภาคผลของอิบาดัรที่มุ่งมั่นกระทำด้วยความยำเกรงแล้ว ผลที่เกิดขึ้นจะมีภาคผลต่อผู้กระทำนั้นอย่างแยบคาย กล่าวคือ การละหมาดของผู้ศรัทธาจะนำพาให้เรานั้นมีความคิดยับยั้งชั่งใจที่จะกระทำความชั่ว อิบาดัรในเรื่องการบริจาค ซ่ากาตด้วยความยำเกรงต่อพระองค์แล้ว ภาคผลนั้นนำไปสู่การแบ่งปันปัจจัยยังชีพ การให้สัดส่วนที่ครบเงื่อนไขตามข้อกำหนดเพื่อที่ผู้ที่มีสิทธิ์ในตัวทรัพย์ซ่ากาตนั้น เขาจะได้ใช้ในทรัพย์นั้นๆ ขณะที่ผู้ที่บริจาคเขาได้ทำหน้าที่สำคัญของเขา การแบ่งปันในสิทธิ์นั้นเป็นการแสดงออกถึงการตอบรับ การเรียกร้องของพระองค์ สนองพระบัญชาของพระองค์ ขอให้พิจารณาโองการจากอัลกุรอ่าน Al-Qur'an, 047.036-038 (Muhammad [Muhammad]) ความว่า


047.036 إِنَّمَا الْحَيَاةُ الدُّنْيَا لَعِبٌ وَلَهْوٌ وَإِنْ تُؤْمِنُوا وَتَتَّقُوا يُؤْتِكُمْ أُجُورَكُمْ وَلا يَسْأَلْكُمْ أَمْوَالَكُمْ


047.036 The life of this world is but play and amusement: and if ye believe and guard against Evil, He will grant you your recompense, and will not ask you (to give up) your possessions.


36. การมีชีวิตอยู่ในโลกนี้ เป็นแต่เพียงการละเล่นและการสนุกสนานร่าเริงเท่านั้น และหากพวกเจ้าศรัทธาและยำเกรงพระองค์จะทรงประทานรางวัลของพวกเจ้าแก่พวกเจ้าและพระองค์จะไม่ทรงขอทรัพย์สินของพวกเจ้า (นี่คือข้อเท็จจริงเพราะการมีชีวิตอยู่ในโลกดุนยา หากผู้ใดหันหน้าเข้าหามันโดยลืมโลกอาคิเราะฮ.แล้ว ผลที่จะได้แก่เขาก็คือเป็นการละเล่น การสนุกสนานร่าเริง ซึ่งมีสภาพเช่นเดียวกับเด็ก ๆ แต่ถ้าพวกเจ้ามีความศรัทธาอย่างแท้จริงและยำเกรงสิ่งที่ก่อให้เกิดความกริ้วต่อพระองค์แล้ว พระองค์ก็จะประทานรางวัลแห่งผลงานของพวกเจ้าอย่างสมบูรณ์ พระองค์จะไม่ทรงขอร้องพวกเจ้าให้บริจาคทรัพย์สินทั้งหมดของพวกเจ้า แต่ทรงบัญญัติให้บริจาคซะกาต เพื่อเป็นการปลอบโยนพี่น้องของพวกเจ้าที่ยากจนเพื่อที่ผลประโยชน์และการตอบแทนจะกลับคืนมาสู่พวกเจ้า)


047.037 إِنْ يَسْأَلْكُمُوهَا فَيُحْفِكُمْ تَبْخَلُوا وَيُخْرِجْ أَضْغَانَكُمْ


047.037 If He were to ask you for all of them, and press you, ye would covetously withhold, and He would bring out all your ill-feeling.


37. หากพระองค์จะทรงขอทรัพย์สินต่อพวกเจ้าและทรงรบเร้าพวกเจ้า (ให้บริจาค) พวกเจ้าก็จะตระหนี่ และพระองค์จะทรงนำเอาความอึดอัดใจของพวกเจ้าออกมาให้ประจักษ์ (หากพระองค์จะขอร้องให้พวกเจ้าบริจาคทรัพย์สินทั้งหมดของพวกเจ้า และพระองค์จะทรงรบเร้าให้พวกเจ้าบริจาค พวกเจ้าก็จะตระหนี่ และแสดงออกซึ่งความโกรธแค้นและไม่พอใจ แต่ด้วยความเมตตาของพระองค์ที่มีต่อปวงบ่าว พระองค์จึงขอร้องด้วยความสมัครใจ)


047.038 هَا أَنْتُمْ هَؤُلاءِ تُدْعَوْنَ لِتُنْفِقُوا فِي سَبِيلِ اللَّهِ فَمِنْكُمْ مَنْ يَبْخَلُ وَمَنْ يَبْخَلْ فَإِنَّمَا يَبْخَلُ عَنْ نَفْسِهِ وَاللَّهُ الْغَنِيُّ وَأَنْتُمُ الْفُقَرَاءُ وَإِنْ تَتَوَلَّوْا يَسْتَبْدِلْ قَوْمًا غَيْرَكُمْ ثُمَّ لا يَكُونُوا أَمْثَالَكُمْ


047.038 Behold, ye are those invited to spend (of your substance) in the Way of Allah: But among you are some that are niggardly. But any who are niggardly are so at the expense of their own souls. But Allah is free of all wants, and it is ye that are needy. If ye turn back (from the Path), He will substitute in your stead another people; then they would not be like you!


38. พึงรู้เถิดว่าพวกเจ้านี้แหละคือหมู่ชนที่ถูกเรียกร้องให้บริจาคในทางของอัลลอฮ. แต่มีบางคนในหมู่พวกเจ้าเป็นผู้ตระหนี่ ดังนั้น ผู้ใดตระหนี่เขาก็ตระหนี่แก่ตัวของเขาเอง เพราะอัลลอฮ.เป็นผู้ทรงมั่งมี แต่พวกเจ้าเป็นผู้ขัดสนและถ้าพวกเจ้าเผินหลังออก พระองค์ก็จะทรงเปลี่ยนหมู่ชนอื่นแทนพวกเจ้า แล้วพวกเขาเหล่านั้นจะไม่เป็นเช่นพวกเจ้า (พวกเจ้าถูกขอร้องให้บริจาคส่วนหนึ่งจากทรัพย์สมบัติของพวกเจ้าในทางซะกาต หรือทางญิฮาด เพราะพระองค์ทรงรู้ดียิ่งถึงจิตใจที่หวงแหนในเรื่องทรัพย์สิน ดังนั้นผู้ใดตระหนี่แก่ตัวของเขาเองเพราะเขาได้กีดกันผลการตอบแทนแห่งการบริจาคในทางของอัลลอฮ.ซึ่งมีผลบุญอันใหญ่หลวงอัลลอฮ.นั้นทรงพอเพียงจากการบริจาคของพวกท่าน แต่พวกเจ้าต่างหากที่มีความต้องการต่อพระองค์ แต่ถ้าพวกเจ้าเผินหลังให้อิสลามไปสู่การกุฟร อัลลอฮ.ก็จะทรงเปลี่ยนประชาชาติอื่นจากพวกท่านที่ไม่เหมือนกับพวกเจ้าแต่พวกเขาจะเป็นผู้มีความจงรักภักดียิ่งแด่อัลลอฮ.ตะอาลา)



لآالآه الالله والله اكبر الله اكبر ولله الحمد الله اكبر الله اكبر الله اكبر


ท่านทั้งหลาย


เช่นเดียวกัน ภาคผลแห่งการถือศีลอด ผลลัพธ์แห่งการกระทำด้วยความยำเกรงต่อพระองค์นั้น จะสะท้อนกลับไปยังผู้ปฏิบัตินั้น ทำให้เขามีความมั่นใจในการปฏิบัติศาสนกิจอย่างมุ่งมั่นต่อพระองค์ ลดความน่ารังเกียจส่วนตัวลง ทำตัวเองให้เล็กลง เพราะเราได้เห็นความสำคัญในการดำเนินชีวิต รู้จักตนเองมากขึ้น รู้จักถึงสัดส่วนที่เหมาะสมของการดำเนินชีวิตได้ดีขึ้น เพราะขณะที่เราอยู่ในช่วงเวลาแห่งการถือศีลอด เราได้ดำเนินชีวิตในลักษณะของการใกล้ชิดต่อพระองค์โดยมุ่งหวังผลตอบแทนจากพระองค์และรอรับความเมตตาจากพระองค์ ด้วยความอดทนที่จะกระทำภารกิจทั้งกิจสำคัญที่จำเป็นและกิจอาสาทุกๆ วัน ทุกๆ คืน ตลอดเดือนรอมฎอนอันทรงเกียรติ โดยไม่ย่อท้อหรือเหน็ดเหนื่อยหรือ เบื่อหน่ายที่จะกระทำกิจกรรมต่างๆ เหล่านั้น แต่น่าเสียดายว่าหลังจากวันนี้ไป เรากลับไปใช้ชีวิตปกติเช่นเดือนอื่นๆ เรายังคงมองย้อนกลับไปยังช่วงเวลาที่หอมหวานของการประกอบอิบาดัรและศาสนกิจอันสำคัญแห่งเดือนรอมฎอนอีกหรือไม่ เราได้มุ่งมั่นที่จะปรับปรุงตนเองเพียงใด และเราได้นำวิถีชีวิตในเดือนรอมฎอนมาปรับแต่งการดำเนินชีวิตในเดือนอื่นๆ ด้วยหรือไม่ เพราะการดำเนินชีวิตของเราโดยปกติในแต่ละวันนั้น เรามีกิจกรรมที่หลากหลาย แต่ละกิจกรรมที่เราเข้าไปเกี่ยวข้องนั้น เราได้จัดสัดส่วนของเวลา สัดส่วนของการใช้ชีวิตอย่างไร เรามองข้ามความสำคัญในเรื่องใดๆ ออกไปหรือไม่ เราประวิงเวลาในเรื่องการทำอิบาดัรสำคัญไว้จนกระทั่งหมดเวลาเพียงเพื่อที่จะมุ่งมั่นการกระทำกิจกรรมอื่นๆไว้ก่อนแล้วทำการชดเชดภายหลังอิบาดัรสำคัญนั้นๆ โดยเฉพาะในเรื่องของการละหมาดในแต่ละเวลาต่างๆ ทั้งๆ ที่ในเดือนอันทรงเกียรติเรามุ่งมั่นกระทำโดยไม่ลดละถึงความเหน็ดเหนื่อย เรามีความพร้อมในการกระทำ แต่เพียงว่าหลังจากนี้ไปเรากลับมองข้ามความสำคัญในการกำหนดช่วงเวลาของการดำเนินชีวิต หรือเราจะเก็บเกี่ยวเรื่องนี้ด้วยการปรับปรุงตนเองปรับสถานการณ์ต่างๆ ให้เข้ากับการดำเนินชีวิตตามวิถีการดำเนินชีวิตของมุสลิม


لآالآه الالله والله اكبر الله اكبر ولله الحمد الله اكبر الله اكبر الله اكبر


ท่านทั้งหลาย


ความเอื้ออาทรต่อกัน การเกื้อกูลกัน แบ่งปันกัน นั้น เป็นสัจธรรมที่จำเป็นต้องให้เกิดมีขึ้นในทุกภาคส่วน ทุกๆ ช่วงเวลา และสำหรับทุกๆ คน ตลอดช่วงเวลาของเดือนรอมฎอน เราได้ฝึกปรือตนเองผ่านการขัดเกลาด้วยการถือศีลอด แล้ว เราได้นำหลักปฏิบัติดังกล่าวนั้นมาปรับใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันอย่างไร เราไม่ควรที่จะละทิ้ง นิ่งวางเฉย ปล่อยปละละเลย หรือ เก็บไว้เฉพาะในเดือนรอมฎอนเท่านั้น เพราะการที่เราได้ฝึกอบรมฝึกฝนตนเองในเรื่องราวใดๆ สิ่งสำคัญคือ เราได้เก็บเกี่ยวภาคผลที่ดีในเรื่องราวเหล่านั้นมาปรับใช้ในชีวิตประจำวันของเราอย่างไรหรือไม่ สิ่งเหล่านี้ จึงเป็นสิ่งที่เราไม่ควรมองข้ามหรือละวางเฉย เพราะในสังคมปัจจุบันการแก่งแย่งชิงดีชิงเด่นกัน การไม่รู้จักที่จะแบ่งปันกันโดยมุ่งมั่นเพียงเพื่อการกอบโกยผลประโยชน์เฉพาะตนเอง กลุ่มของตน หรือเพียงเฉพาะการรักษาผลประโยชน์ของตนเอง นั่นคือจิตวิญญาณของความเห็นแก่ตัว ขาดจิตสำนึกที่ดีที่มีต่อกัน ในสังคมใดๆ ที่คนในสังคมขาดความเอื้ออาทรต่อกัน ขาดความเกื้อกูลกัน ไม่รู้จักที่จะแบ่งปันด้วยกันแล้วไซร้ แน่นอนว่าสังคมนั้นไม่มีสันติสุข คนในสังคมนั้นๆ จะเห็นแก่ตัว มองเฉพาะประโยชน์ของตนเอง ไม่มองคนอื่น มองข้ามเลยไปเพียงเพื่อที่ปกปักป้องกันรักษาผลประโยชน์เฉพาะหน้าของตนเอง ในไม่ช้าความเดือดร้อนจะมายังสังคมนั้นๆ การที่คนเพียงกลุ่มเล็กๆ ที่ถูกรีดนาทาเร้น ถูกเบียดบังหรือถูกกระทำอย่างไม่เป็นธรรม เมื่อถึงจุดหนึ่ง เขาเหล่านั้นไม่มีทางออก เสมือนหนึ่งน้ำที่เดือดร้อนในกาน้ำที่กดดันฝาของมันให้พวยพุ่งออกมา เช่นกัน ทางออกที่ถูกทำให้ตีบตันในที่สุดแล้วจะสร้างความร้าวฉานในสังคม การฉกชิง แย่งชิง ปล้นสะดม โจรกรรม หรือขโมยจะเกิดขึ้น และที่ร้ายกว่านั้น คือ การเดินขบวนเรียกร้องอย่างรุนแรง ซึ่งจะเห็นได้โดยทั่วไปว่า จะมีเกิดเหตุการณ์ร้ายแรงตามมาอีกมากมาย เพียงเพราะการมองข้าม การไม่รู้จักการแบ่งปัน การไม่เกื้อกูลกัน การมองเฉพาะผลประโยชน์ของตนเอง สิ่งเหล่านี้เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิด เกิดการกระทบกระทั่งของกลุ่มต่างๆ จนเป็นเหตุร้ายแรงทวีคูณไปสู่ภาคส่วนต่างๆ และไม่สามารถยุติลงได้ ด้วยความละมุนละม่อม


لآالآه الالله والله اكبر الله اكبر ولله الحمد الله اكبر الله اكبر الله اكبر


ท่านทั้งหลาย


สังคมที่เต็มไปด้วยการแย่งชิงเก็บเกี่ยวเฉพาะผลประโยชน์โดยไม่มองหรือมองข้ามคนชายขอบที่ทุกข์ร้อนด้วยความขัดสนยากจน ขาดโอกาสในหลายๆด้าน การพัฒนาโดยมองข้ามเขาเหล่านั้นไป กลายมาเป็นภาระทางสังคม โดยที่เราไม่ได้สร้างโอกาสให้สำหรับเขาเหล่านั้น เราไม่ใส่ใจที่จะพัฒนาเขาเหล่านั้นโดยมองเพียงเขาเป็นภาระทางสังคมที่รอคอยความช่วยเหลือ ทั้งๆ ที่พระองค์อัลลอฮ์ (ซ.บ.) ทรงเปิดโอกาสสำหรับทุกๆ คนให้ใช้สิทธิ์ที่จะแบ่งปันต่อเขาเหล่านั้น ตามศักยภาพของผู้ให้ ขณะเดียวกันการถ่ายทอดโอกาสในการประกอบอาชีพของพวกเขาก็เป็นสิ่งหนึ่งที่ต้องกระทำไปในคราวเดียวกัน แน่นอนว่า วันนี้เขาเป็นผู้รับแต่ทำอย่างไรที่จะทำให้ในวันหนึ่งข้างหน้าเราทุกๆ คนในสังคมที่คอยฟูมฟักสนับสนุนให้พวกเขาปรับเปลี่ยนสถานะกลายมาเป็นผู้ให้บ้าง เพราะนั่นคือเป้าหมายหนึ่งของการพัฒนา เป็นเป้าหมายของการที่จะสร้างศักยภาพทางสังคมอย่างเหมาะสม และทำให้เกิดการเกื้อกูลกัน แบ่งปันกันอย่างชัดเจน เพราะการที่เขาได้รับการสนับสนุนให้เป็นผู้ให้อย่างจริงจังแล้วนั้น เขาจะเข้าใจสภาพของผู้ที่ขาดโอกาสอย่างชัดเจน ซึ่งตรงจุดนี้ก็ไม่ต่างจากการที่เราได้ใช้ชีวิตของเราในช่วงระยะเวลาหนึ่งของเดือนรอมฎอนในการฝึกฝนตนเองเพื่อให้เข้าถึงจิตวิญญาณของผู้ที่หิวโหย สภาพของผู้ที่กระหาย หิวโซ ตราบจนการที่เราได้ละศีลอดเมื่อถึงเวลา ซึ่งไม่ต่างอะไรกับคนเหล่านั้นที่ได้รับอาหารมื้อแรกหลังจากรอคอยมาอย่างใจจดใจจ่อตลอดระยะเวลาที่เขาเหล่านั้นรอคอยอย่างมีความหวัง จึงเป็นสิ่งที่ทุกๆ คนในสังคมต้องหยิบยกมาพิจารณาร่วมกันว่า ทุกวันนี้เรามองคนเหล่านี้แบบใด เขาเป็นคนที่รอโอกาสที่จะพัฒนา หรือเป็นคนรอโอกาสที่รอรับความช่วยเหลือ ทั้งนี้การแสดงออกถึงความเกื้อกูลต่อกันในการจัดหา จัดให้ไปพร้อมๆ กับการดูแลเขาเหล่านั้นตามสิทธิ์ที่เขาพึงได้รับ คนเหล่านี้ถ้าเราให้โอกาสในการปรับปรุงตนเองให้โอกาสด้วยการให้แบบต่อยอดกับเขาเหล่านั้นในการสร้างอาชีพในอนาคตแทนที่จะรอคอยโอกาสเพียงเฉพาะการเป็นเพียงผู้รับ การใช้เช่นนี้จะเป็นประโยชน์มากกว่า และเป็นการแบ่งปันและเกื้อกูลกันได้อย่างเหมาะสมและเป็นสิ่งสำคัญ


لآالآه الالله والله اكبر الله اكبر ولله الحمد الله اكبر الله اكبر الله اكبر


ท่านทั้งหลาย


เหตุการณ์ที่ปรากฏขึ้นในต่างประเทศ การออกมาเคลื่อนไหวแสดงออกถึงความไม่พอใจผู้นำของประเทศ เป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นว่า การหวงอำนาจเฉพาะพวกตน การรักษาอำนาจด้วยกรรมวิธีการต่างๆ โดยเฉพาะการหวงอำนาจไว้เพียงคนในกลุ่มเล็กๆ ในชนชั้นผู้นำ การรักษาอำนาจเช่นนี้จึงเป็นสิ่งทำให้เกิดการบั่นทอนเอกราชของประเทศ ทำให้ชาติมหาอำนาจเข้ามาแทรกแซงด้วยกรรมวิธีการต่างๆ ทั้งในทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมืองการปกครองและการแทรกแซงด้วยการบิดเบือนทางด้านวัฒนธรรมและกิจการศาสนา เหตุการณ์ในลิเบีย ซีเรีย หรือแม้แต่ในอียิปต์ จะเห็นได้ชัดเจนเกี่ยวกับการใช้อำนาจโดยการเอาเปรียบประชาชน การคอร์รัปชั่นตามรูปแบบต่างๆ ทั้งที่เปิดเผยและที่ปิดบังซ่อนเร้นไว้นั้น ถูกเปิดเผยออกมาทีละเล็กละน้อยเป็นประเด็นในสังคมออนไลน์ (social network) จนเป็นเหตุให้เกิดการทลายกำแพงแห่งอำนาจเหล่านั้นให้พังทลายลงมา เราได้เห็นบทบาทของสังคมออนไลน์ ซึ่งเป็นการรับรู้ข่าวสารร่วมกัน แลกเปลี่ยนข้อมูลกันทำให้สั่งสมเป็นอิทธิพลทางความคิดสนับสนุนคนที่มีความคิดร่วมกัน ออกมากระชับพื้นที่ต่อสังคมในภาพรวมด้วยความห่วงใย และในที่สุดจึงเกิดความเปลี่ยนแปลง จึงทำให้มองเห็นได้ว่า ที่รวมกันของกลุ่มทางสังคม ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลง เช่นเดียวกับการรวมตัวอย่างหลวมๆ ของหมู่มวลมุสลิมที่มีแนวความคิดเดียวกันโดยเฉพาะแนวความคิดภายหลังจากการฝึกฝนอบรมร่วมกันในเดือนรอมฎอนที่ผ่านมา เพื่อจรรโลงสังคมให้เกิดการแบ่งปัน เกื้อกูลกัน เพื่อความสันติสุขในหมู่มวลมุสลิม การแสดงออกด้วยความรักกัน ห่วงใยต่อกัน การแสดงออกอย่างจริงใจต่อกันจึงเป็นประตูที่จะนำไปสู่สันติสุข วันนี้ทุกๆ คนมาร่วมแสดงออกถึงความยินดีร่วมกันเฉลิมฉลองวันอีดิ้ลฟิตริ ทุกๆ คนมีความเท่าเทียมกัน ทั้งในการทำหน้าที่ในการถือศีลอด และรอยิ้มแสดงออกถึงความอิ่มเอิบเปรมปรีดิ์ในวันอันยิ่งใหญ่นี้ กระตุ้นเตือนถึงความเป็นพี่น้องกันของหมู่มวลมุสลิม เพราะ “มุสลิมทุกคน คือพี่น้องกัน” เปรียบเสมือนว่า ความเป็นพี่น้องกันนั้น คล้ายกับอวัยวะของร่างกายที่ต่างทำหน้าที่ของตนเองภายใต้การสั่งการของสมอง เมื่ออวัยวะหนึ่งใดเกิดปัญหาเจ็บป่วย อวัยวะอื่นๆ ก็พลอยได้รับผลข้างเคียงจากความเจ็บป่วยนั้นไปด้วยเช่นกัน ดังนั้น การที่เราแสดงออกถึงความเป็นพี่น้องกันในภาพรวม จะเห็นว่า แต่ละครอบครัวซึ่งโดยสายเลือดพึงรักษาสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน เพื่อรักษามิตรภาพความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน การรักษาสัมพันธ์ที่ดีนี้ไว้เป็นสิ่งที่ตอบรับความมุ่งหมาย และจิตสำนึกแห่งความเป็นมุสลิมที่ดี การรักษาความเป็นญาติมิตรถือเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดการเกื้อกูล โอบอ้อมอารีเชื่อมสัมพันธ์ต่อกันในหมู่ญาติจึงเป็นสิ่งเราต้องตระหนัก และมุ่งมั่นในการกระทำที่ส่งเสริมความเป็นกลุ่มก้อน ความสมานฉันท์รักษาสัมพันธ์ในเครือญาติจึงเป็นสิ่งที่ศาสดาสนับสนุนและเป็นสิ่งพึงรักษาไว้ให้ยั่งยืนและถาวร ดังนั้น ในวันอีดิ้ลฟิตริ การแสดงออกถึงความยิ่งใหญ่ของพระองค์ แนวทางหนึ่งคือการไปเยี่ยมเยือนญาติ การไปมาหาสู่ระหว่างกัน และในวันอื่นๆ จากนี้ไป การสอบถาม การหารือเอาใจใส่ปรับทุกข์ผูกมิตรต่อกัน ลดการเอารัดเอาเปรียบต่อกัน การเชื่อมความสัมพันธ์ต่อกันด้วยจิตที่บริสุทธิ์มุ่งหวังภาคผลจากพระองค์ด้วยความยำเกรง เป็นภารกิจหนึ่งที่เราพึงกระทำ


لآالآه الالله والله اكبر الله اكبر ولله الحمد الله اكبر الله اكبر الله اكبر


ท่านทั้งหลาย


ทุกวันนี้โลกมีความเปลี่ยนแปลง สังคมสมัยใหม่ ระยะทางมิใช่สิ่งปิดกั้นการสื่อสารระหว่างกัน ระบบโทรคมนาคมในปัจจุบันทำให้การใช้ชีวิตในปัจจุบันมีความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น ขณะที่ความเปลี่ยนแปลงที่มาอย่างล้นหลามนี้เอง ประกอบกับความเป็นตัวตน ของคนที่มุ่งเน้นรับความสะดวกสบายมากกว่าการแข่งขันเช่นเดียวกับในอดีต เด็กรุ่นใหม่จึงไม่ถูกจำกัดจากกรอบหรือเส้นขอบเขตที่ผู้ใหญ่กำหนด โลกสมัยใหม่จึงทำให้เด็กเหล่านั้นสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีได้โดยไม่มีขีดจำกัด นอกเสียจากว่าผู้ปกครองจะเป็นผู้กำหนดถึงขอบเขตดังกล่าวนั้นด้วยความเหมาะสม การปิดกั้นไม่ใช่สิ่งที่สามารถกระทำได้ยุ่งยากนักหากผู้ปกครองสามารถติดตามควบคุมดูแลและเอาใจใส่ของพวกเขาเหล่านั้น ดังนั้น สิ่งที่อยากจะฝากไว้กับท่านทั้งหลายเกี่ยวกับเรื่องนี้ คือ เราต้องกำหนดขอบเขตการใช้งานที่ชัดเจน การติดต่อสื่อสารข้อมูล ต้องเป็นข้อมูลทางการศึกษา การใช้งานต้องกำหนดระยะเวลาในการใช้งาน กำหนดเรื่องราว (Topic) ที่ทำการศึกษาในกรอบของการเรียนรู้ มิใช่ว่าใช้งานโดยไร้ขีดจำกัด ใช้งานโดยไม่รู้กาลเทศะ เพราะในปัจจุบัน แม้ว่าเด็กๆ จะเข้าถึงเทคโนโลยีเหล่านี้ได้ง่าย แต่หากพิจารณาผลการเรียนในวาระการสอบต่างๆ กลับไม่เป็นไปตามความสามารถในการใช้เทคโนโลยี โดยเฉพาะผลการเรียนในรอบที่ผ่านมา พบว่า เด็กๆ ยังขาดความรู้ในวิชาการค่อนข้างมาก แสดงให้เห็นถึงการรักษาเวลา การแบ่งเวลาในการทำกิจกรรมต่างๆ และสิ่งที่ต้องฝากไว้อีกเรื่องหนึ่ง คือ การให้ความสำคัญต่อการทำอิบาดัรเพื่อพระองค์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการละหมาด การถือศีลอด ความบกพร่องในรอบปีที่ผ่านมา เป็นสิ่งที่ต้องนำมาทบทวนปรับปรุง และแก้ไขให้ดีขึ้น วันนี้ เราเห็นเด็กๆ หลายๆ แห่ง ออกห่างไกลจากความเป็นมุสลิมค่อนข้างสูง แม้เด็กที่เรียนในวิชาศาสนา “ฟัรดูอีน” ก็ดูเหมือนว่าวิชาการที่เขาเรียนรู้ไม่เข้มข้นเหมือนในอดีตที่ย้อนหลังกลับไปสัก 10 ปี เด็กที่เรียนจบภาคบังคับมีความรู้ครอบคลุมในทุกๆเรื่อง กลับไม่สามารถทำละหมาดได้อย่างถูกวิธีด้วยตนเอง การควบคุม ดูแลเอาใจใส่จากพ่อแม่ผู้ปกครอง จึงเป็นสิ่งที่เราต้องนำมาขัดเกลาเขาเหล่านั้น เพื่อรักษาความเป็นมุสลิมที่ดีสำหรับพวกเขา และเป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงคุณภาพของคนที่เป็นพ่อเป็นแม่ ถึงการเป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับพวกเขาเหล่านั้น ที่นำพาความสำเร็จแห่งการอิบาดัรเพื่อพระองค์


لآالآه الالله والله اكبر الله اكبر ولله الحمد الله اكبر الله اكبر الله اكبر


ท่านทั้งหลาย


หลังจากวันนี้ไป เดือนเชาวาล เป็นอีกเดือนหนึ่งที่เราทั้งหลายต่างมุ่งมั่นเก็บเกี่ยวอิบาดัรที่เป็นการอาสา คือ การถือศีลอดซุนนะห์ต่อไปอีก 6 วัน ซึ่งเป็นกิจอาสาที่สำคัญประการหนึ่งหลังจากการถือศีลอดภาคบังคับตลอดเดือนรอมฎอน ขอให้เราติดตามและมุ่งในการกระทำเพื่อรักษาความมุ่งมั่นและภาคผลแห่งการกระทำนั้นไว้ด้วยเช่นปีที่ผ่านมา ขอให้เรารักษากิจกรรมในทุกๆ กิจกรรมที่เป็นอิบาดัร และชักชวนทุกคนในครอบครัวให้ร่วมกันกระทำไปด้วยกันด้วยความพร้อมเพียงร่วมกัน อย่างน้อยแล้วจะทำให้เราได้ทำให้เยาวชนในครอบครัวของเราได้เห็นตัวอย่างจากพ่อแม่ ได้รับการขัดเกลาฝึกฝนการกระทำจวบจนกลายเป็นนิสัยประจำตัว และไม่กระทำอย่างทิ้งๆ ขว้างๆ แล้วเรากลับมาเสียใจในภายหลัง โดยที่ตลอดเวลาที่ผ่านมาเรากลับมองข้ามความสำคัญในจุดนี้


لآالآه الالله والله اكبر الله اكبر ولله الحمد الله اكبر الله اكبر الله اكبر


ท่านทั้งหลาย


เวลาว่างและสุขภาพที่แข็งแรงเป็นสิ่งเราจำเป็นต้องเร่งรัดการกระทำให้สำเร็จในแต่ละภารกิจ ไม่ควรปล่อยวาง หรือวางเฉยต่อภารกิจใดๆ เพราะหากผ่านช่วงดังกล่าว เราอาจไม่มีเวลาว่างหรือมีความสะดวกในการกระทำ ซึ่งท่านศาสดาได้กล่าวไว้เป็นพระวจนะไว้ ความว่า


The Prophet said, "There are two blessings which many people lose: (They are) health and free time for doing good." Narrated by: Ibn Abbas Source: Sahih Bukhari 8.421


จึงขอให้เราทั้งหลาย จงไตรตรอง ดำเนินการและจัดระเบียบของตนเอง ครอบครัวให้มีความสะดวกในการกระทำอิบาดัรทุกๆ อิบาดัร เสมือนหนึ่งว่าเรากำลังดำเนินชีวิตในเดือนรอมฎอน เพราะหากผ่านช่วงที่สุขภาพที่ดีและเวลาว่างครั้งนี้แล้ว บางคนอาจกลับไปสู่ความเมตตาของพระองค์ บางคนไม่มีโอกาสที่จะกระทำการใดๆ ได้เลยเพราะหลังจากนั้น เราต่างมุ่งมั่นการทำงานภารกิจต่างๆ ที่ทั่งโถมมามากมาย และสุขภาพที่จะอ่อนแอลงตามอายุขัยและวัยที่สูงขึ้น จึงขอเชิญชวนทุกท่านให้มุ่งมั่นและกระทำอิบาดัรด้วยการจัดแบ่ง จำแนก กำหนดขอบเขตการใช้เวลาในการดำเนินชีวิตในทุกๆ กิจกรรม เพื่อมิให้บกพร่องต่อการดำเนินชีวิตในปัจจุบัน



الله اكبر الله اكبر الله اكبر الله اكبر الله اكبر الله اكبر الله اكبر


إِنَّ اللَّهَ وَمَلائِكَتَهُ يُصَلُّونَ عَلَى النَّبِيِّ يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا صَلُّوا عَلَيْهِ وَسَلِّمُوا تَسْلِيمًا


رَبَّنَا آتِنَا فِي الدُّنْيَا حَسَنَةً وَفِي الآخِرَةِ حَسَنَةً وَقِنَا عَذَابَ النَّارِ


إِنَّ اللَّهَ يَأْمُرُ بِالْعَدْلِ وَالإحْسَانِ وَإِيتَاءِ ذِي الْقُرْبَى وَيَنْهَى عَنِ الْفَحْشَاءِ وَالْمُنْكَرِ وَالْبَغْيِ يَعِظُكُمْ لَعَلَّكُمْ تَذَكَّرُونَ


سُبْحَانَ رَبِّكَ رَبِّ الْعِزَّةِ عَمَّا يَصِفُونَ


وَسَلامٌ عَلَى الْمُرْسَلِينَ


وَالْحَمْدُ لِلَّهِ رَبِّ الْعَالَمِينَ


ว่าบิ้ลลาฮิเตาฟีก วั้ลฮิดายะห์


วัสสลาม


มูฮำหมัด สันประเสริฐ



อ้างอิง


Text Copied from DivineIslam's Qur'an Viewer software v2.9


อัลกุรอ่านฉบับภาษาไทย สมาคมนักเรียนเก่าอาหรับ ดำเนินการจัดพิมพ์โดยกระทรวงกิจการฮัจย์ แห่งราชอาณาจักรซาอุดิอาเบีย


http://www.alquran-thai.com/


อัลฮาดีซ : Hadith of The Day V 1.0 Freeware by FaridAnasri avater@muslimonline.com (www.beconvinced.com