วันอังคารที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2553

เราจะเตรียมเรื่องใดไว้ให้ลูกในช่วงปิดเทอม

มิมบัรออนไลน์
คุตบะห์วันศุกร์ 18 ร่อบีอุ้ลอาเคร 1431 (วันศุกร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2553)
เราจะเตรียมเรื่องใดไว้ให้ลูกในช่วงปิดเทอม

الْحَمْدُ لِلَّهِ رَبِّ الْعَالَمِينَ

มวลการสรรเสริญเป็นสิทธิ์ของอัลลอฮ์ ผู้ทรงอภิบาลโลกทั้งหลาย
ท่านพี่น้องผู้ศรัทธาแล้วทั้งหลาย
ในรอบหนึ่งสัปดาห์ที่ผ่านมา มีหลายๆ เรื่อง หลายๆ กิจกรรม ที่เข้ามาเกี่ยวพันกับทุกๆ ท่าน เพื่อที่จะได้ศึกษาและเรียนรู้ในเรื่องต่างๆ จากสิ่งเหล่านั้น ไม่ว่าจะเป็นแนวทางในการแก้ไขความขัดแย้งในสังคม การประนีประนอมระหว่างกลุ่มที่ขัดแย้งนั้น และการเจรจาต่อรอง เพื่อบรรเทาหรือทุเลาความขัดแย้งต่างๆ ให้ผ่อนคลายลงและเป็นที่ยอมรับกับทุกๆ ฝ่าย นั่นคือ สิ่งที่เราต้องกลับมาย้อนดูตัวเราเพิ่มเติมว่า สิ่งที่ผ่านเข้ามาในชีวิตของเรานั้น เราคิดอย่างไรกับเรื่องต่างๆ เหล่านั้น เราเป็นหนึ่งในความขัดแย้งเหล่านั้นหรือไม่ เราตกอยู่ในระหว่างความขัดแย้งนั้น หรือเราไม่ได้เลือกฝักหรือฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดในความขัดแย้งนั้นๆ ในขณะเดียวกัน เรามีความยำเกรงต่ออัลลอฮ์ (ซ.บ.) มากขึ้นหรือน้อยลงเพียงใด ดังนั้น จึงขอเตือนตนเองและท่านทั้งหลาย จงหวนคิดทบทวน และจงอยู่ในแนวทางอันเที่ยงตรงจากพระองค์ แล้วหมั่นพินิจพิจารณาทบทวนด้วยว่า สิ่งต่างๆ เหล่านั้นได้ทำให้เกิดความเพิ่มพูนในอิหม่านของพวกเรามากหรือน้อยเพียงใด และเราได้เรียนรู้จากเรื่องต่างๆ เหล่านั้น และได้นำมาปรับปรุงการดำเนินชีวิตของเราได้อย่างไรบ้าง และวิกฤติที่เกิดขึ้นเหล่านี้ เมื่อมันได้ดำเนินต่อไปในสภาวะเช่นนี้ ทำให้เกิดคุณค่าอย่างไรต่อสังคมมากหรือน้อยเพียงใด ขอให้เรานั้นจงพินิจพิเคราะห์และช่วยกันหาทางออกแห่งปัญหาเหล่านี้ ด้วยความสงบ สันติสุข และเสมือนหนึ่งพวกเรานั้นเป็นครอบครัวเดียวกันจึงขอฝากโองการจากอัลกุรอ่าน Al-Qur'an, 059.018-019 (Al-Hashr [Exile, Banishment]) ความว่า
059.018 يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا اتَّقُوا اللَّهَ وَلْتَنْظُرْ نَفْسٌ مَا قَدَّمَتْ لِغَدٍ وَاتَّقُوا اللَّهَ إِنَّ اللَّهَ خَبِيرٌ بِمَا تَعْمَلُونَ
059.018 O ye who believe! Fear Allah, and let every soul look to what (provision) He has sent forth for the morrow. Yea, fear Allah: for Allah is well-acquainted with (all) that ye do.
[59.18] โอ้บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย พวกเจ้าจงยำเกรงอัลลอฮ์เถิด และทุกชีวิตจงพิจารณาดูว่า อะไรบ้างที่ตนได้เตรียมไว้สำหรับวันพรุ่งนี้ (วันกิยามะฮ์) และจงยำเกรงอัลลอฮ์เถิดแท้จริงอัลลอฮ์นั้นทรงรู้ดียิ่งในสิ่งที่พวกเจ้ากระทำ

059.019 وَلا تَكُونُوا كَالَّذِينَ نَسُوا اللَّهَ فَأَنْسَاهُمْ أَنْفُسَهُمْ أُولَئِكَ هُمُ الْفَاسِقُونَ
059.019 And be ye not like those who forgot Allah; and He made them forget their own souls! Such are the rebellious transgressors!
[59.19] และพวกเจ้าอย่าได้เป็นเช่นบรรดาผู้ที่ลืมอัลลอฮ์ มิฉะนั้นอัลลอฮ์จะทรงทำให้พวกเขาลืมตัวของพวกเขา
เอง ชนเหล่านั้นพวกเขาเป็นผู้ฝ่าฝืน
ดังนั้น ในสภาพทางสังคมที่เราต้องอดทน อดกลั้น ในทุกๆ เรื่อง และสิ่งที่เกิดขึ้น ถือเป็นวิกฤตที่เราทั้งหลายต่างเผชิญกันอยู่นั้น จงอยู่อย่างวิเคราะห์และพิจารณาด้วยหลักการตามแบบอย่างแห่งอัลกุรอ่านที่ได้หยิบยกมาข้างต้น เพื่อที่เราทั้งหลายจะได้เกิดมุมมองที่มุ่งมั่นถึงผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นโดยที่เราไม่ได้ออกนอกกรอบและแนวทางแห่งอัลอิสลาม
ท่านพี่น้องผู้ศรัทธาแล้วทั้งหลาย
ช่วงเวลาที่เด็กๆ ปิดเทอม เป็นช่วงเวลาที่มัสยิดจะคึกคัก เต็มไปด้วยเด็กๆ ที่ว่างเว้นจากการศึกษาในสายสามัญ การแข่งขันเพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการ อันเป็นหนทางที่จะสร้างความสำเร็จในอาชีพการงานในอนาคต ซึ่งการแข่งขันดังกล่าวมิได้จบสิ้นไปกับการปิดเทอม แต่การแข่งขันดังกล่าวเป็นเพียงจุดเริ่มต้นที่พวกเด็กๆ เหล่านั้น จะต้องได้รับรู้รสชาติของการแข่งขัน การเตรียมตัว เตรียมความพร้อม การหมั่นทบทวนบทเรียน การจัดลำดับความคิดและการมีสมาธิต่อเรื่องที่เรียนรู้ต่างๆ เพื่อนำมาใช้ในการตอบคำถามหรือในการสอบแข่งขันในสนามสอบต่างๆ การปิดเทอมจึงมิใช่ว่ากิจกรรมต่างๆ เหล่านั้น จะต้องลดน้อยถอยลง และใช้เวลาให้หมดไปกับสิ่งไร้สาระต่างๆ หากแต่ต้องได้รับการทบทวนในเรื่องที่ได้เรียนรู้มาไปพร้อมๆ กับการที่จะศึกษาในเรื่องใหม่ๆ ที่จะเข้ามาในชีวิตประจำวัน การปิดเทอมจึงไม่ใช่เพียงแต่เป็นเวลาของการพักผ่อน แต่เป็นการเตรียมความพร้อมที่จะก้าวไปสู่การเรียนรู้เรื่องใหม่ๆ พร้อมๆ กับการทบทวนเรื่องเก่าๆ ที่ผ่านพ้นไป นอกจากนี้การที่เด็กๆ เหล่านี้ได้กลับมาอยู่ใกล้ชิดกับพ่อแม่ จึงเป็นช่วงที่เด็กๆจะได้ใช้ชีวิตในอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งแตกต่างจากการที่พวกเขาดำเนินชีวิตในโรงเรียน เพราะที่โรงเรียน เขาจะพบกับเพื่อนๆ ครูบาอาจารย์ แต่ที่บ้าน ต้องอยู่กับพ่อแม่ พี่น้อง เพื่อนบ้าน และเพื่อนๆ ในหมู่บ้านเดียวกัน ดังนั้น นอกจากในเรื่องการเรียนของพวกเขาที่จะใช้ในการประกอบอาชีพของพวกเขาแล้ว ผู้ปกครองจะต้องสอดแทรกให้พวกเขาได้เป็นมุสลิมที่ดีอีกด้วย จากโองการของอัลกุรอาน Al-Qur'an, 031.016 (Luqman [Luqman]) ความว่า
031.016 يَا بُنَيَّ إِنَّهَا إِنْ تَكُ مِثْقَالَ حَبَّةٍ مِنْ خَرْدَلٍ فَتَكُنْ فِي صَخْرَةٍ أَوْ فِي السَّمَاوَاتِ أَوْ فِي الأرْضِ يَأْتِ بِهَا اللَّهُ إِنَّ اللَّهَ لَطِيفٌ خَبِيرٌ
031.016 "O my son!" (said Luqman), "If there be (but) the weight of a mustard-seed and it were (hidden) in a rock, or (anywhere) in the heavens or on earth, Allah will bring it forth: for Allah understands the finest mysteries, (and) is well-acquainted (with them).
[31.16] โอ้ลูกเอ๋ย แท้จริง (หากว่าความผิดนั้น) มันจะหนักเท่าเมล็ดผักสักเมล็ดหนึ่ง มันจะซ่อนอยู่ในหิน
หรืออยู่ในชั้นฟ้าทั้งหลาย หรืออยู่ในแผ่นดิน อัลลอฮ์ก็จะทรงนำมันออกมาแท้จริง อัลลอฮ์เป็นผู้ทรงเมตตา ผู้ทรง
รอบรู้ยิ่ง

031.017 يَا بُنَيَّ أَقِمِ الصَّلاةَ وَأْمُرْ بِالْمَعْرُوفِ وَانْهَ عَنِ الْمُنْكَرِ وَاصْبِرْ عَلَى مَا أَصَابَكَ إِنَّ ذَلِكَ مِنْ عَزْمِ الأمُورِ
031.017 "O my son! establish regular prayer, enjoin what is just, and forbid what is wrong: and bear with patient constancy whatever betide thee; for this is firmness (of purpose) in (the conduct of) affairs.
[31.17] โอ้ลูกเอ๋ย เจ้าจงดำรงไว้ซึ่งการละหมาด และจงใช้กันให้กระทำความดี และจงห้ามปรามกันให้ละเว้นการทำความชั่ว และจงอดทนต่อสิ่งที่ประสบกับเจ้า แท้จริง นั่นคือส่วนหนึ่งจากกิจการที่หนักแน่น มั่นคง

ในหลายๆ องค์กร หรือมัสยิด ต่างๆมองเห็นความสำคัญในเรื่องนี้ จึงได้จัดให้มีการอบรมภาคฤดูร้อนให้กับเยาวชนมุสลิม เพื่อที่พวกเขาเหล่านั้น จะได้เรียนรู้ในภาควิชาการทางศาสนาโดยเน้นย้ำถึงการปฏิบัติตามกรอบแห่งอัลอิสลาม แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดนั้น เราซึ่งเป็นผู้ปกครองของเด็กๆ เหล่านั้น เราได้ทบทวนตัวเราเองแล้วหรือยังที่จะเป็นหลักชัยให้กับเขา เราได้ปฏิบัติตนเป็นมุสลิมที่ดีกันแล้วหรือยัง และเราพร้อมที่จะเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับเขามากน้อยเพียงใด คุตบะห์นี้มิได้มากล่าวหาใครหรือผู้ใด หากแต่จะเรียนย้ำ ตัวกระผมเองพร้อมทั้งทุกๆ ท่านในที่นี้ ว่าเราพร้อมที่จะเป็นตัวอย่างให้กับเยาวชนเหลานั้นมากน้อยเพียงใด ซึ่งหากเราส่งลูกหลานของเราไปอบรมภาคฤดูร้อนเพื่อให้เขาได้รับรู้และสัมผัสกับกรอบแห่งอิสลาม แต่พอพวกเขากลับบ้าน เห็นตัวอย่างจากพ่อและแม่ กลับไม่ใช่แบบอย่างในค่ายอบรมฤดูร้อน แล้วอย่างนี้ เราจะได้อะไร และพวกเด็กๆ เหล่านี้จะได้อะไรจากการที่ได้ไปเรียนรู้ ผู้ปกครองหลายท่านมีมุมมองที่จะสร้างอนาคตที่ดีให้กับลูกหลานโดยการที่จะได้ไปเรียนพิเศษเพิ่มเติมทางด้านสามัญ ไขว่คว้าหามาเพื่อที่จะได้ภาคผลแห่งการแสวงหาความรู้อันมากมายเพื่อที่จะเป็นหนึ่งในผู้ชนะการแข่งขัน แต่ผู้ปกครองอาจมองข้ามความสำคัญในความใกล้ชิดกับเด็กๆ เหล่านั้น ในแง่ที่ว่า การเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับเขา ในสังคมรอบข้างของพวกเรา เรามักพบว่า ในครอบครัวที่พ่อเป็นนายแพทย์โดยมากแล้วหนึ่งในลูกๆ ของพวกเขาจะประกอบอาชีพเช่นเดียวกับพ่อแม่ แม้ว่าบางคนพ่อเป็นนายแพทย์แต่ลูกเป็นนักการเมืองแต่หากพิจารณาแล้วจะเห็นว่าลูกของเขาที่เป็นนักการเมืองเป็นผู้ที่มีความรับผิดชอบสูงเช่นเดียวกับแพทย์ที่มีภาระหน้าที่ที่รับผิดชอบสูงเช่นกัน นั่นคือ ในครอบครัวนั้น คือตัวอย่าง แบบอย่างที่ดีสำหรับลูกๆ แม้ว่าลูกกับพ่อแม่จะประกอบอาชีพที่แตกต่างกัน หากแต่การที่พ่อแม่ที่ดีเป็นแบบอย่างให้กับเขา แล้ว สิ่งที่ได้คือเขาจะเป็นผู้ที่รับผิดชอบต่อตนเอง รับผิดชอบต่อหน้าที่และรับผิดชอบต่อสังคมในที่สุด ดังนั้น เมื่อเด็กๆ ได้เข้ามาใกล้ชิดกับพ่อแม่ในช่วงปิดเทอมอย่างนี้ จึงเป็นโอกาสที่ดีและสำคัญที่พ่อแม่จะได้ใช้โอกาสนี้อย่างแยบคลายในการสร้างเสริมคุณลักษณะและแบบอย่างที่ดีให้กับเขา การปิดเทอมจึงเป็นวาระสำคัญของพ่อแม่ผู้ปกครองที่จะหมั่นดูแลและรักษาพวกเขาให้อยู่ในกรอบแห่งอิสลาม เพื่อที่เราจะได้สร้างบ้านแหล่งพักพิงที่ดีที่สุดในโลกอาคิเราะห์ เพราะพระองค์อัลลอฮ์ (ซ.บ.) ทรงลงโองการในอัลกุรอ่าน Al-Qur'an, 066.006 (At-Tahrim [Banning, Prohibition]) ความว่า
066.006 يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا قُوا أَنْفُسَكُمْ وَأَهْلِيكُمْ نَارًا وَقُودُهَا النَّاسُ وَالْحِجَارَةُ عَلَيْهَا مَلائِكَةٌ غِلاظٌ شِدَادٌ لا يَعْصُونَ اللَّهَ مَا أَمَرَهُمْ وَيَفْعَلُونَ مَا يُؤْمَرُونَ
066.006 O ye who believe! save yourselves and your families from a Fire whose fuel is Men and Stones, over which are (appointed) angels stern (and) severe, who flinch not (from executing) the Commands they receive from Allah, but do (precisely) what they are commanded.
[66.6] โอ้บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย จงคุ้มครองตัวของพวกเจ้าและครอบครัว ของพวกเจ้าให้พ้นจากไฟนรก เพราะ
เชื้อเพลิงของมันคือมนุษย์และก้อนหินมีมลาอิกะฮ์ผู้แข็งกร้าวหาญคอยเฝ้ารักษามันอยู่ พวกเขาจะไม่ฝ่าฝืนอัลลอฮ์ในสิ่งที่พระองค์ทรงบัญชาแก่พวกเขา และพวกเขาจะปฏิบัติตามที่ถูกบัญชา
ดังนั้น เวลาที่เราจะได้สร้างสำหรับพวกเขาเหล่านั้น มันเริ่มต้นอยู่ตลอดเวลา มันขึ้นอยู่กับว่า เราซึ่งเป็นผู้ปกครองของเด็กๆ เหล่านี้ จะได้ใช้โอกาสนี้ เพื่อสร้างแบบอย่างที่ดีให้กับเขา เราได้เห็นตัวอย่างที่มากมายในสังคมแห่งโลกดุนยานี้ หลายๆ อุทธาหรณ์ ทั้งเรื่องที่เป็นแบบอย่างที่ดีและที่ไม่ดีมีให้เห็นมากมาย ขึ้นอยู่กับว่าเราจะเลือกใช้แบบอย่างเช่นไร รวมถึงเราจะใช้เวลาไหนเพื่อการเริ่มต้นสร้างกรอบและแบบอย่างให้กับพวกเขา ในเรื่องของเวลานั้น เราอาจพิจารณาได้แตกต่างกัน มากคนต้องรอความพร้อม บางคนต้องรอเรื่องนั้นเรื่องนี้ก่อน บางคนจัดลำดับความสำคัญ แต่สำหรับในโอกาสของการปิดเทอมนี้ เป็นโอกาสที่ดีที่สุดที่แต่ละบ้านจะต้องใช้วิจารณญาณในการสร้างแบบอย่างและสร้างกรอบและแบบฉบับให้กับเขาเหล่านั้น ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ยุ่งยากเลยสำหรับพี่น้องผู้ศรัทธาแล้วทั้งหลาย ที่จะใช้โอกาสเช่นนี้ เพื่อที่จะสร้างมุสลิมที่ดีในสังคมในอนาคต หากเราทั้งหลายจะกลับไปยังพระองค์เหมือนดั่งเช่นผู้ที่กลับไปสู่พระเมตตาของพระองค์ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา มีคนอีกมากมายที่รอคอยอย่างใจจดใจจ่อ แต่สำหรับเรานั้น เราเพียงแค่ปฏิบัติตนให้อยู่ในกรอบแห่งอัลอิสลาม เป็นตัวอย่างที่ดีให้กับเด็กๆ ในบ้านของเรา เพื่อที่พวกเขาจะได้เป็นมุสลิมที่ดีต่อไป การแข่งขันนั้น มีในหลายระดับ หลายมิติ หลายสนามแข่งขัน แต่การแข่งขันกับตัวเอง เพื่อที่จะชนะตัวเองนั้น มีเพียงเรื่องเดียว ซึ่งหากเราพ่ายแพ้กับตัวเองแล้ว แน่นอน เราไม่สามารถเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับใครได้ แล้วที่บอบช้ำหนักสุด คือสังคมมุสลิมของพวกเรา ซึ่งเป็นสังคมใหญ่ มีกระจกสะท้อนในทุกๆ เรื่อง ทุกๆ มิติ เราจึงควรกลับมาย้อนคิดกับว่าเราจะสร้างสังคมให้รอดพ้นวิกฤติได้อย่างไร สุดท้ายนี้ ของฝากอัลฮาดีซ ไว้สัก หนึ่งบท ความว่า

Some people asked Allah's Apostle, "Whose Islam is the best? i.e. (Who is a very good Muslim)?" He replied, "One who avoids harming the Muslims with his tongue and hands."
ซึ่ง การที่เราจะเป็นคนที่ดีที่สุดนั้น มิใช่ให้ใครมายกย่องตัวเราหรือเราไปบอกคนอื่นๆ ว่าเราเป็นคนดี หากแต่เราต้องหยุดยั้งการกระทำความชั่วที่จะเกิดขึ้นกับ ลิ้น และมือของเรา เท่านั้นแล้ว เราก็จะเป็นคนดีและเป็นมุสลิมที่ดีได้ ซึ่งมันจะพัฒนาไปสู่การเป็นแบบอย่างที่ดีกับคนใกล้ชิดของเรา และเมื่อทุกๆ ครอบครัวเป็นครอบครัวมุสลิมที่ดีแล้ว สังคมมุสลิมจะพัฒนาไปในอีกมิติหนึ่ง ที่จะก้าวไปพร้อมๆ กัน เพื่อให้ใกล้ชิดกับพระองค์ในวันแห่งการตัดสิน
إِنَّ اللَّهَ يَأْمُرُ بِالْعَدْلِ وَالإحْسَانِ وَإِيتَاءِ ذِي الْقُرْبَى وَيَنْهَى عَنِ الْفَحْشَاءِ وَالْمُنْكَرِ وَالْبَغْيِ يَعِظُكُمْ لَعَلَّكُمْ تَذَكَّرُونَ


إِنَّ اللَّهَ وَمَلائِكَتَهُ يُصَلُّونَ عَلَى النَّبِيِّ يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا صَلُّوا عَلَيْهِ وَسَلِّمُوا تَسْلِيمًا
رَبَّنَا آتِنَا فِي الدُّنْيَا حَسَنَةً وَفِي الآخِرَةِ حَسَنَةً وَقِنَا عَذَابَ النَّارِ
سُبْحَانَ رَبِّكَ رَبِّ الْعِزَّةِ عَمَّا يَصِفُونَ
وَسَلامٌ عَلَى الْمُرْسَلِينَ
وَالْحَمْدُ لِلَّهِ رَبِّ الْعَالَمِينَ

ว่าบิ้ลลาฮิเตาฟีก วั้ลฮิดายะห์
วัสสลาม
มูฮำหมัด สันประเสริฐ

อ้างอิง
Text Copied from DivineIslam's Qur'an Viewer software v2.9
อัลกุรอ่านฉบับภาษาไทย สมาคมนักเรียนเก่าอาหรับ ดำเนินการจัดพิมพ์โดยกระทรวงกิจการฮัจย์ แห่งราชอาณาจักรซาอุดิอาเบีย

วันอังคารที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2553

โลกร้อนแต่อย่าให้ใจตนร้อนกว่า

มิมบัรออนไลน์
คุตบะห์วันศุกร์ 11 ร่อบีอุ้ลอาเคร 1431 (วันศุกร์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2553)
โลกร้อนแต่อย่าให้ใจตนร้อนกว่า
الْحَمْدُ لِلَّهِ رَبِّ الْعَالَمِينَ

มวลการสรรเสริญเป็นสิทธิ์ของอัลลอฮ์ ผู้ทรงอภิบาลโลกทั้งหลาย
ท่านพี่น้องผู้ศรัทธาแล้วทั้งหลาย
หากเราพิจารณาถึงสภาพอากาศรอบๆตัวเรา จะพบว่าบรรยากาศต่างๆ จะรุ่มร้อนไปเสียทุกๆ เรื่อง ไม่ว่าจะเป็นสภาพทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และสภาพอากาศ ดังนั้น ขอให้พวกเราทุกคนในที่นี้ จงสุขุม อดทน และยำเกรงต่อพระองค์อัลลอฮ์ (ซ.บ.) ให้มากๆ เพราะในแต่ละเรื่องที่เรากำลังประสบอยู่ในวันนี้ คือการทดสอบจากพระองค์ เป็นการทดสอบในเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ไปจนถึงเรื่องของการทดสอบใหญ่ ๆ ที่จะตามมาในไม่ช้า การทดสอบของพระองค์ สะท้อนให้เห็นถึงความรักความปรารถนาดีต่อมวลมนุษย์ แม้ว่าบางคนจะถูกทดสอบในเรื่องหนักๆ แต่บางคนกลับถูกทดสอบในเรื่องเล็กน้อย นั่นเป็นข้อเตือนใจต่อบรรดาบุคคลทั้งหลายที่จะเหลียวหาความจริงในสิ่งต่างๆ ที่พระองค์ทรงกำหนดไว้ ขอเพียงให้เราทั้งหลายพึงสังวรว่า ไม่ว่าจะถูกทดสอบในเรื่องใด เราก็ไม่บกพร่องต่อหน้าที่และหลักการที่มีต่อพระองค์ อย่าให้สิ่งที่เรากำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้ มาลดทอนความแน่วแน่ต่อหลักการศรัทธาและข้อปฏิบัติที่เรามีต่อพระองค์
ความแปรปรวนของสภาพอากาศ ในปัจจุบัน เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากน้ำมือของมนุษย์ อาจกล่าวได้ว่า เมื่อโลกมีความเจริญทางวัตถุมากขึ้น มีประชากรโลกเกิดขึ้นเป็นจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเพียงไม่กี่ปี หลักจากยุดปฏิบัติอุตสาหกรรม จำนวนประชากรโลกเพิ่มขึ้นกว่า 20 เท่า หลายๆ ประเทศมีแนวนโยบายในการลดจำนวนการเพิ่มของประชากร แต่ก็มีบางประเทศกลับคิดในทางตรงกันข้าม เนื่องจากเกิดภาวะความตกใจกลัวว่าในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า ประชากรส่วนใหญ่ของประเทศเหล่านั้น จะมีคนในวัยชราสูงกว่าประชากรในวัยทำงาน ซึ่งผลกระทบที่เกิดขึ้น จะเป็นปัญหาใหญ่ของประเทศนั้นซึ่งต้องเตรียมการรองรับภาวะตีบตันดังกล่าว ทั้งนี้หากพิจารณาถึงปัจจัยต่างๆในการพัฒนาประเทศแล้ว แน่นอนว่าต้องมีการขยายเวลาช่วงวัยทำงานของแต่ละคนออกไปให้กว้างมากขึ้น ซึ่งอาจพบว่าประชากรในวัยทำงานอาจเริ่มตั้งแต่อายุ 18 ปี ไปจนกระทั่งถึงอายุ 70-80 ปี ก็เป็นได้ เพื่อชดเชยอัตราการเพิ่มของประชากรที่มีแนวโน้มลดลง ซึ่งหากเราจะพิจารณาถึงคุณภาพชีวิตของประชากรโลกแล้ว จะพบว่า ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน เมื่อมีคนเกิดมากขึ้น และอัตราการตายลดลง การใช้ทรัพยากรต่างๆ ทั้งทรัพยากรธรรมชาติและที่มนุษย์สร้างขึ้นกลับพบว่า มีการใช้ทรัพยากรมากขึ้น และมีวัสดุเหลือใช้ถูกทิ้งกลายเป็นขยะที่ถูกทำลายมากขึ้น และแนวโน้มการใช้ทรัพยากรมีจำนวนมากมาย ลักษณะเช่นนี้เป็นผลให้เกิดการทำลายทรัพยากรอื่นๆ ตามมา เช่น การทำลายสภาพของป่าไม้ พืชที่ปกคลุมภูเขา สัตว์ป่า ตลอดจนความสวยงามตามธรรมชาติในแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ นับวันยิ่งถูกใช้งานมากขึ้น และบอบช้ำจากการใช้งานของมนุษย์ จนมองดูว่าหากต้องใช้สภาพตามธรรมชาติแล้วต้องใช้เวลาในการบ่มฟักเพื่อให้กลับคืนสู่สภาพเดิมในระยะเวลาที่ยาวนานมาก หรืออาจต้องปิดที่หนึ่งเพื่อไปใช้ในที่แห่งใหม่ หรือรุกคืบไปทำลายทรัพยากรธรรมชาติในที่แห่งใหม่อีก นอกจากนี้ การใช้วัสดุต่างๆ เพื่อสนองความต้องการทั้งการบริโภคและอุปโภคทั้งหลาย เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับมวลมนุษย์ที่เพิ่มขึ้น เช่น การใช้พลาสติกในวัสดุต่างๆ ทั้งวัสดุเพื่อการบริโภคในชีวิตประจำวัน และการอุปโภคเพื่อรองรับความสะดวกสบายของมนุษย์ หากต้องการทำลายวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว เราจะพบว่าการทำลายชิ้นวัสดุจำพวกพลาสติกนี้ จะเป็นการทำลายสภาพบรรยากาศที่ครอบคลุมโลกไปในตัว เป็นผลให้ แสงแดดที่ส่องมาจากดวงอาทิตย์ ที่ผ่านการกรองในชั้นบรรยากาศ นั้น ปรากฏว่าเมื่อชั้นบรรยากาศบางส่วนถูกทำลายไปด้วยฝีมือของมวลมนุษย์อาจจงใจกระทำหรือไม่จงใจกระทำก็ตาม แสงแดดที่ส่องลงมา แม้ว่าจะมีปริมาณเท่าเดิมแต่ความเข้มข้นมีมากขึ้น จึงเป็นผลให้โลกร้อนขึ้น จากโองการในซูเราะห์ อัลวากิอะฮ์ Al-Qur'an, 056.071-074 (Al-Waqia [The Event, The Inevitable]) ความว่า
056.071 أَفَرَأَيْتُمُ النَّارَ الَّتِي تُورُونَ
056.071 See ye the Fire which ye kindle?
[56.71] พวกเจ้าเห็นไฟที่พวกเจ้าจุดขึ้นมาแล้วมิใช่หรือ
056.072 أَأَنْتُمْ أَنْشَأْتُمْ شَجَرَتَهَا أَمْ نَحْنُ الْمُنْشِئُونَ
056.072 Is it ye who grow the tree which feeds the fire, or do We grow it?
[56.72] พวกเจ้าเป็นผู้ทำให้ต้นไม้ของมันงอกเงยขึ้นมา หรือว่าเราเป็นผู้ทำให้มันงอกขึ้นมา
056.073 نَحْنُ جَعَلْنَاهَا تَذْكِرَةً وَمَتَاعًا لِلْمُقْوِينَ
056.073 We have made it a memorial (of Our handiwork), and an article of comfort and convenience for the denizens of deserts.
[56.73] เราได้ทำให้มันมีขึ้นเพื่อเป็นการเตือนสติและอำนวยประโยชน์แก่ผู้เดินทางรอนแรม
056.074 فَسَبِّحْ بِاسْمِ رَبِّكَ الْعَظِيمِ
056.074 Then celebrate with praises the name of thy Lord, the Supreme!
[56.74] ดังนั้น เจ้าจงสดุดีด้วยพระนามแห่งพระเจ้าของเจ้าผู้ทรงยิ่งใหญ่เถิด
ดังนั้น ความร้อนในสภาพบรรยากาศรอบๆ ตัวเรา จึงเป็นปรากฏการณ์ที่เตือนสติและเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับพวกเรา ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้น มีต้นเหตุมาจากการกระทำของมวลมนุษย์ทั้งหลายนั่นเอง หาใช่เป็นการกระทำจากสิ่งอื่นใดไม่ ภาวะโลกร้อนจึงเป็นสิ่งที่มวลมนุษย์จะต้องได้สัมผัสตลอดไป และนับวันจะยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้น จะสังเกตได้อย่างง่ายๆ ว่า การที่โลกหมุนรอบตัวเอง และแกนของโลกจะเอียงเข้าหาดวงอาทิตย์ นั้น ฤดูกาลที่เกิดขึ้นจะสะท้อนสภาวะความเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้อย่างชัดเจน ลักษณะเช่นนี้ หากเราติดตามสภาพความเปลี่ยนแปลง มีการจัดเก็บสถิติของอุณหภูมิที่เกิดขึ้น ในแต่ละปีนั้น โลกจะร้อนขึ้นทุกๆ 1 องศา ในรอบทศวรรษ เมื่อ 30 ปี ที่ผ่านมา แต่ในปัจจุบัน เกิดความแปรปรวนทางสภาพบรรยากาศ มีคาบเวลาที่เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วขึ้นกว่าเดิม คือ อุณหภูมิจะสูงขึ้น 1 องศา ทุกๆ 10 ปี นั่นเป็นข้อเตือนใจพวกเราว่า ในระยะเวลาอันใกล้นี้ บางคนจะมีข้อสันนิษฐาน ว่า น้ำแข็งที่ขั้วโลกจะละลายและจะเกิดภาวะต่างๆ นั่นเป็นเพียงสมมุติฐาน ทั้งนี้ เกิดขึ้นจากน้ำมือมนุษย์
ท่านพี่น้องผู้ศรัทธาทั้งหลาย
สภาพความเปลี่ยนแปลงทั้งหลายที่เกิดขึ้น นั้น เป็นอุทธาหรณ์สำหรับพวกเราที่จะตรวจสอบเราในเรื่องต่างๆ ทั้งทรัพย์สิน ลูกหลาน เกียรติยศ และความภาคภูมิใจ ของหลายๆ คน การเรียกร้องเพื่อให้ได้มาในเรื่องต่างๆ นับวันจะมีเพิ่มมากขึ้น สภาพทางจิตใจของแต่ละคน จะมีมุมมองในเรื่องการแข่งขัน ในเรื่องต่าง ๆ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทั้งนี้ เพื่อสร้างความอยู่รอดและการมีอยู่ในสังคมตามสภาพสังคม การเมือง และเศรษฐกิจในปัจจุบัน เรื่องต่างๆ สามารถนำมาสู่ความขัดแย้ง แย่งชิงกันในทุกๆ สภาพ ในสังคม หรือแม้แต่ในครอบครัว ความหวาดวิตกในเรื่องต่างๆ นำมาสู่สภาพทางจิตใจของแต่ละคน อาจกล่าวได้ว่า ในสภาพบรรยากาศที่ร้อนรุ่มในปัจจุบัน สภาพทางจิตใจของคนก็จะร้อนรุ่มไม่แตกต่างกัน สิ่งที่น่ากลัวและโหดร้ายกว่าความร้อนแรงของสภาพอากาศ นั่นคือ สภาพจิตใจของคนนั่น เอง มีคำพูดในวงการทหารที่บอกว่า “แม้ในปัจจุบันมีการพัฒนาอาวุธยุทโธปกรณ์ต่างๆ มากมายตามเทคโนโลยีอันทันสมัย แต่สิ่งเหล่านั้นไม่สามารถสร้างจิตวิญญาณของความเป็นนักรบของเหล่าทหารกล้าได้เลย” นั้น เป็นสิ่งที่บ่งบอกได้ว่า ในจิตใจของมนุษย์ หากจิตใจมีความสวยงาม มีความเยือกเย็นแล้ว สังคมจะเป็นสุข แต่ถ้าจิตใจที่รุ่มร้อน ถูกเผาพลาญด้วยมายาแล้ว ความร้อนดังกล่าวนั้น จะบดบังสภาพความเป็นอยู่ ที่ดีของมวลมนุษย์ จิตใจอันร้อนลุ่ม ย่อมไม่ยอมรับเหตุและผลที่แท้จริง เป็นเหตุและผลที่ทุกๆ ฝ่ายต่างยอมรับซึ่งกันและกันได้ ทั้งนี้ ไม่ว่าเหตุการณ์ที่ล้อมรอบตัวเรา จะเป็นเช่นใด หากแต่เราใช้สติฉุกคิดเพียงสักนิดว่า มีเหตุและผลอย่างไร เราใช้ความคิดของเรา เพื่อสร้างความรักในเพื่อนมนุษย์มากน้อยเพียงใด นั้น จะทำให้สังคมมีความน่าอยู่มากขึ้น จากอัลฮาดีซ รายงานโดยบุคอรี ความว่า
“การศรัทธาของคนๆหนึ่งจะยังไม่สมบูรณ์จนกว่าเขาจะรักพี่น้อง(มุสลิม)ของเขา เช่นเดียวกับที่เขารักตัวของเขาเอง” (บันทึกโดย บุคอรี-มุสลิม)

ดังนั้น ขอให้เรามองโลกอย่างมีสติ มองอย่างมีความรักให้กันและกัน เพราะหากเราไม่รักกันแล้ว เราไม่ใช้สติ ในสภาพแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จะส่งผลให้ผลลัพท์ที่เราไม่ต้องการเกิดขึ้นได้ แต่หากเรารู้จักที่จะรักกัน ให้อภัยต่อกัน มองเพื่อนมนุษย์ในลักษณะที่คิดถึงผลลัพท์ในการที่เราจะอยู่ร่วมกันแล้ว ความร้อนของสภาพอากาศรอบตัวเรา มันจะถูกเผาผลาญด้วยความเย็นในจิตใจ และมุ่งมั่นถึงความยำเกรงต่อพระองค์ แล้วสังคมรอบตัวเราจะสงบสุขในไม่ช้า

إِنَّ اللَّهَ وَمَلائِكَتَهُ يُصَلُّونَ عَلَى النَّبِيِّ يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا صَلُّوا عَلَيْهِ وَسَلِّمُوا تَسْلِيمًا
رَبَّنَا آتِنَا فِي الدُّنْيَا حَسَنَةً وَفِي الآخِرَةِ حَسَنَةً وَقِنَا عَذَابَ النَّارِ
إِنَّ اللَّهَ يَأْمُرُ بِالْعَدْلِ وَالإحْسَانِ وَإِيتَاءِ ذِي الْقُرْبَى وَيَنْهَى عَنِ الْفَحْشَاءِ وَالْمُنْكَرِ وَالْبَغْيِ يَعِظُكُمْ لَعَلَّكُمْ تَذَكَّرُونَ

سُبْحَانَ رَبِّكَ رَبِّ الْعِزَّةِ عَمَّا يَصِفُونَ
وَسَلامٌ عَلَى الْمُرْسَلِينَ
وَالْحَمْدُ لِلَّهِ رَبِّ الْعَالَمِينَ

ว่าบิ้ลลาฮิเตาฟีก วั้ลฮิดายะห์
วัสสลาม
มูฮำหมัด สันประเสริฐ

อ้างอิง
Text Copied from DivineIslam's Qur'an Viewer software v2.9
อัลกุรอ่านฉบับภาษาไทย สมาคมนักเรียนเก่าอาหรับ ดำเนินการจัดพิมพ์โดยกระทรวงกิจการฮัจย์ แห่งราชอาณาจักรซาอุดิอาเบีย

วันพฤหัสบดีที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2553

เราจะเรียกร้องสิ่งใดจากอัลลอฮ์ (ซ.บ.)

มิมบัรออนไลน์
คุตบะห์วันศุกร์ 4 ร่อบีอุ้ลอาเคร 1431 (วันศุกร์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2553)
เราจะเรียกร้องสิ่งใดจากอัลลฮ์ (ซ.บ.)

الْحَمْدُ لِلَّهِ رَبِّ الْعَالَمِينَ

มวลการสรรเสริญเป็นสิทธิ์ของอัลลอฮ์ ผู้ทรงอภิบาลโลกทั้งหลาย
ท่านพี่น้องผู้ศรัทธาแล้วทั้งหลาย
การเรียกร้องในสรรพสิ่งต่างๆ จากเพื่อนมนุษย์ ที่มีตำแหน่งสูงส่งกว่า เพื่อให้ทำตามข้อเรียกร้องนั้น ในแง่มุมแห่งศาสนาอิสลาม ถือได้ว่า ในกลุ่มเพื่อนมนุษย์นั้น หากในแต่ละฝ่ายได้แสดงออกถึงความรัก ความเอื้ออาทรร่วมกัน และมีจุดมุ่งหมายเดียวกันแล้ว การเรียกร้อง จะประสบผลสำเร็จ แต่หากเริ่มต้น หรือมีจุดมุ่งหมายที่แตกต่างกัน จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการเจรจาต่อรอง แล้วหาจุดร่วมกัน เพื่อให้การเจรจาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งในปัจจุบันมักจะพบกับคำว่า “WIN-WIN” เช่นนั้น การเรียกร้องใดๆ ย่อมประสบผลสำเร็จ และเช่นนั้น แต่ละฝ่ายจะไม่ได้ในสิ่งที่ฝ่ายตนเองปรารถนา หากแต่จะได้ในจุดที่อีกฝ่ายยอมรับได้ ดังนั้น ขอให้กระผมและท่านทั้งหลายในที่นี้ จงแสวงหาจุดร่วมและสงวนจุดต่าง หากเกิดความขัดแย้ง และจงตัดสินเรื่องใดๆ ด้วยความยำเกรงต่อพระองค์ เพราะที่สุดแล้วพระองอัลลอฮ์ (ซ.บ.) คือผู้ที่จะเป็นผู้ชี้ขาดในสิ่งที่ความสามารถของมนุษย์ไม่สามารถให้ความยุติธรรมได้
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา เหตุการณ์หลายๆ เหตุการณ์ ต่างเป็นอุทธาหรณ์ที่ดีให้กับพวกเราทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็น การตายของนายตำรวจ หรือการเรียกร้องของกลุ่ม นปช. ซึ่งทั้งสองเรื่องดังกล่าว ต่างมีแนวคิดที่ไม่แตกต่างกันมากนักในมูลเหตุของการเรียกร้อง ทั้งกรณีการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการที่ไม่เป็นธรรม มีการวิ่งเต้น มีการใช้เงินซื้อตำแหน่ง ซื้อกรรมการ มีการคอรับชั่นเพื่อให้คนของตนเองได้โยกย้ายไปอยู่ในตำแหน่งและสถานที่ที่กลุ่มพวกตนเองต้องการ ขณะเดียวกัน การให้รางวัลกับคนที่ทำงานมาหนักตลอดชีวิตกลับถูกมองข้ามแม้ว่าเขาได้มาเรียกร้องหาความเป็นธรรมกับผู้เกี่ยวข้อง แต่เหตุของความล่าช้า ไม่สามารถเยียวยาความทุกข์ร้อนของเขาได้ ซึ่งหากเขาได้รับความเป็นธรรมจากการแต่งตั้งโยกย้ายในครั้งนั้น แล้ว แน่นอน ใบเสร็จที่บ่งบอกถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายตำแหน่งในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ คงไม่ได้ถูกเปิดเผยออกมาอย่างเด่นชัด ซึ่งครั้งนี้ ถือได้ว่าเรื่องดังกล่าวมีอยู่จริง แต่ในยุคปัจจุบัน คงไม่สามารถหาผู้ที่เกี่ยวข้องมาลงโทษได้ คงหายไปพร้อมกับการตายของนายตำรวจ ที่บันนังสตา นั่นคือ การเรียกร้องหาความเป็นธรรมจากมนุษย์ เช่นกัน การเรียกร้องเพื่อให้ทางรัฐบาลได้ตัดสินใจยุบสภาของกลุ่ม นปช. ก็เป็นข้อเรียกร้องที่พัฒนามาจากกระบวนการที่ถูกกล่าวหาว่า มี 2 มาตรฐาน กับผู้เกี่ยวข้อง กล่าวคือ หากเป็นพวกเดียวกัน มีประโยชน์ร่วมกัน มักจะละเลยไม่ลงโทษ หรือหน่วงเวลา เพื่อให้ดูเหมือนว่า ทำงานแต่ล่าช้า เกินไป แต่กับกลุ่มที่ต่างพวกแล้ว กับต้องเร่งรัด เพื่อตัดสินเอาความผิด ดังนั้น กลุ่มดังกล่าวจึงเข้ามาเรียกร้องทางการเมือง เพื่อให้กลับไปสู่ที่มาของนักการเมืองใหม่อีกครั้ง ให้ประชาชนตัดสิน เพื่อเป็นข้อยุติในการเรียกร้อง ซึ่งการตัดสินใจจะกระทำหรือไม่กระทำตามนั้น เป็นสิทธิของนายกรัฐมนตรี ซึ่งต้องพิจารณาถึงประโยชน์ที่จะได้รับ ความปลอดภัย และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ หากการเรียกร้องกระทำตามกฎหมาย ไม่สร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชนโดยทั่วไป แล้ว หากมีการเจรจาต่อรอง ในที่สุด ข้อยุติย่อมบรรลุผล แต่หากฝ่ายผู้เรียกร้องกระทำการจนเลยเถิดแน่นอน ผลลบย่อมตกกับผู้เรียกร้องแล้วในที่สุด ก็ไม่มีประเด็นใหม่ๆ ที่จะเข้ามาเรียกร้อง
ท่านพี่น้องผู้ศรัทธาทั้งหลาย
มนุษย์ ถูกบังเกิดมาในสภาพที่เรียกได้ว่า เป็นเรื่องของที่ต่ำต้อย เป็นผลผลิตจากผู้ชายและผู้หญิง เป็นทารก เป็นวัยรุ่นและเป็นหนุ่มสาว ดังนั้น สภาพทางสังคม กฎ กติกา มารยาท ที่ถูกกำหนดขึ้นนั้น จะเป็นตัวจำแนก แยกแยะได้ว่า ใคร มีตำแหน่งอย่างไร มีหน้าที่และบทบาทเช่นไร การเรียกร้องสิ่งใดจากเพื่อนมนุษย์ จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องคำนึงถึงความยุติธรรม ความเป็นธรรม และข้อยุติที่ทุกๆ ฝ่ายยอมรับกัน สังคมของมนุษย์มีกติกา ที่บ่งบอกถึงสภาพและความเป็นอยู่ที่อยู่กันอย่างเป็นสุข กฎหมายที่จะกำหนดนั้น ย่อมต้องมองถึงการให้ความเป็นธรรมกับทุกๆ ฝ่าย ตามเวลาและสถานที่ บรรยากาศที่บ่งบอกถึงความสุขของทุกๆ คนในสังคมนั้น แต่ในบางกรณี การกำหนดกฎเกณฑ์ต่างๆ มีช่องว่าง ที่นักกฎหมายหลายๆ ท่าน จะมองเห็น เพื่อสร้างให้เกิดความทวีคูณในทรัพย์สิน ช่องว่างแห่งกฎหมายเกล่านี้ เป็นแนวทางแสวงหาความเอารัดเอาเปรียบระหว่างกันในเพื่อนมนุษย์ เช่น ในกรณีแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการ ก็จะมีกฎเกณฑ์ว่า การที่จะโยกย้ายใคร จากกลุ่ม ก ไปกลุ่ม ข ก็จะต้องมีคนจากอีกกลุ่มสับเปลี่ยนกันไป ตรงนี้คือช่องว่างของการวิ่งเต้น ในเงินซื้อตำแหน่ง เช่นกัน ในทางการเมืองเรื่องของสองมาตรฐาน หากมีมากจนเกินไป ก็เป็นช่องทางให้ฝ่ายที่เห็นแย้ง ต่างออกมาเรียกร้องแล้วในที่สุด จากทั้งสองเรื่อง จะทำไปสู่การอุดช่องว่างของกฎเกณฑ์ดังกล่าวนั้น แต่ในแง่แห่งบทบัญญัติของอัลกุรอ่านแล้ว ความทันสมัย ความเป็นหนึ่ง ความเป็นมาตรฐาน อัลกุรอ่าน ไม่มีการแก้ไขใดๆ อีกแล้ว เป็นพระวจนะที่เป็นปัจจุบัน ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา บ่งบอกถึงความเที่ยงธรรมแห่งพระองค์ การกล่าวถึงที่มาของมนุษย์ เพื่อเป็นเครื่องย้ำเตือนทุกๆ คน ให้ยำเกรงต่อพระองค์ ลองพิจารณาโองการจากซูเราะห์ อัตตีน Al-Qur'an, 095.001-008 (At-Tin [The Fig, The Figtree]) ความว่า
095.001 وَالتِّينِ وَالزَّيْتُونِ
095.001 By the Fig and the Olive,
[95.1] ขอสาบานด้วยต้นมะเดื่อ และต้นมะกอก
095.002 وَطُورِ سِينِينَ
095.002 And the Mount of Sinai,
[95.2] และด้วยภูเขาฎูรซีนาย
095.003 وَهَذَا الْبَلَدِ الأمِينِ
095.003 And this City of security,-
[95.3] และด้วยเมืองนี้ที่ปลอดภัย
095.004 لَقَدْ خَلَقْنَا الإنْسَانَ فِي أَحْسَنِ تَقْوِيمٍ
095.004 We have indeed created man in the best of moulds,
[95.4] โดยแน่นอนเราได้บังเกิดมนุษย์มาในรูปแบบที่สวยงามยิ่ง
095.005 ثُمَّ رَدَدْنَاهُ أَسْفَلَ سَافِلِينَ
095.005 Then do We abase him (to be) the lowest of the low,-
[95.5] แล้วเราได้ให้เขากลับสู่สภาพที่ตกต่ำยิ่ง
095.006 إِلا الَّذِينَ آمَنُوا وَعَمِلُوا الصَّالِحَاتِ فَلَهُمْ أَجْرٌ غَيْرُ مَمْنُونٍ
095.006 Except such as believe and do righteous deeds: For they shall have a reward unfailing.
[95.6] นอกจากบรรดาผู้ศรัทธาและประกอบสิ่งดีงามทั้งหลาย โดยที่สำหรับพวกเขาจะได้รับรางวัลอย่างไม่
มีที่สิ้นสุด
095.007 فَمَا يُكَذِّبُكَ بَعْدُ بِالدِّينِ
095.007 Then what can, after this, contradict thee, as to the judgment (to come)?
[95.7] ดังนั้น อะไรเล่าเขาจึงปฏิเสธเจ้าหลังจากนี้เกี่ยวกับการตอบแทน
095.008 أَلَيْسَ اللَّهُ بِأَحْكَمِ الْحَاكِمِينَ
095.008 Is not Allah the wisest of judges?
[95.8] มิใช่อัลลอฮ์ดอกหรือ เป็นผู้ตัดสินที่ดีเยี่ยมในหมู่ผู้ตัดสินทั้งหลาย


จะเห็นได้ว่า ทุกๆ สิ่งที่มนุษย์ต่างมุ่งแสวงหาจากความโปรดปราณของพระองค์นั้น เราต้องอดทน รอคอย และมุ่งมั่นขอต่อพระองค์ในทุกๆ ครั้งเมื่อเราทำอิบาดัรต่อพระองค์ ซึ่งการทำอิบาดัรใดๆ นั้น ล้วนมีเป้าหมายเพื่อสนองตอบถึงความศรัทธาต่อพระองค์ และการมุ่งขอต่อพระองค์นั้น เป็นการขอเพื่อที่พระองค์จะทรงฮิดายะห์ให้ ในทุกๆครั้งของการเริ่มต้นทำสิ่งใดๆของผู้ศรัทธา เราจะกล่าวด้วยพระนามของพระองค์ นั่นคือ ทุกๆ เรื่องเรามุ่งมั่นให้ได้รับความเมตตาจากพระองค์ เพื่อที่จะรอคอยการตัดสินที่เที่ยงธรรมจากพระองค์ ดังนั้น เมื่อเราต้องการสิ่งใดๆ เราจะขอต่อพระองค์ ซึ่งพระองค์ทรงรับทุกคำขอจากเรา แต่สิ่งที่พระองค์จะประทานให้ หรือจะทรงฮิดายะห์เรื่องใดๆ ให้กับเรานั้น แน่นอนเราต้องขอบคุณต่อพระองค์ แม้พระองค์ไม่ทรงให้ในเรื่องนั้นๆ โดยตรง แต่ขอให้เราอดทน และมุ่งมั่นต่อพระองค์ เพราะในที่สุดแล้วพระองค์จะทรงให้ในทุกๆ เรื่องที่เราขอจากพระองค์ แม้ความล่าช้าในเรื่องที่เราเรียกร้อง แต่พระองค์จะทรงให้อุทธาหรณ์ในทุกๆ เรื่องกับทุกๆ คน ได้เห็น เพื่อที่แต่ละคนนั้น จะได้รับคำตอบที่ถูกใจ หรือต้องการ เพื่อให้แต่ละคนได้ขอบคุณต่อพระองค์ เพราะพระองค์ คือผู้ที่ทรงยิ่งในความยุติธรรม สุดท้ายขอฝากอัลฮาดีซ เพื่อเตอนใจพวกเราทั้งหลายในที่นี้ ความว่า

“การศรัทธาของคนๆหนึ่งจะยังไม่สมบูรณ์จนกว่าเขาจะรักพี่น้อง(มุสลิม)ของเขา เช่นเดียวกับที่เขารักตัวของเขาเอง” (บันทึกโดย บุคอรี-มุสลิม)

“เท้าทั้งสองขอลูกหลานอาดัมจะยังไม่ก้าวเดินไปไหนในวันกิยามะฮฺ จนกว่าจะถูกถามเกี่ยวกับอายุของเขาหมดไปในทางใด จากความรู้ของเขาปฎิบัติตัวอย่างไร จากทรัพย์สมบัติของเขาได้มาและใช้จ่ายไปในทิศทางใด และจากร่างกายของเขาทรุดโทรมลงไปในทางใด” (บันทึกโดย ติรมีซีย์ )

إِنَّ اللَّهَ وَمَلائِكَتَهُ يُصَلُّونَ عَلَى النَّبِيِّ يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا صَلُّوا عَلَيْهِ وَسَلِّمُوا تَسْلِيمًا
رَبَّنَا آتِنَا فِي الدُّنْيَا حَسَنَةً وَفِي الآخِرَةِ حَسَنَةً وَقِنَا عَذَابَ النَّارِ
إِنَّ اللَّهَ يَأْمُرُ بِالْعَدْلِ وَالإحْسَانِ وَإِيتَاءِ ذِي الْقُرْبَى وَيَنْهَى عَنِ الْفَحْشَاءِ وَالْمُنْكَرِ وَالْبَغْيِ يَعِظُكُمْ لَعَلَّكُمْ تَذَكَّرُونَ

سُبْحَانَ رَبِّكَ رَبِّ الْعِزَّةِ عَمَّا يَصِفُونَ
وَسَلامٌ عَلَى الْمُرْسَلِينَ
وَالْحَمْدُ لِلَّهِ رَبِّ الْعَالَمِينَ

ว่าบิ้ลลาฮิเตาฟีก วั้ลฮิดายะห์
วัสสลาม
มูฮำหมัด สันประเสริฐ

อ้างอิง
Text Copied from DivineIslam's Qur'an Viewer software v2.9
อัลกุรอ่านฉบับภาษาไทย สมาคมนักเรียนเก่าอาหรับ ดำเนินการจัดพิมพ์โดยกระทรวงกิจการฮัจย์ แห่งราชอาณาจักรซาอุดิอาเบีย

วันพุธที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2553

อิสลามกับวันสตรีสากล

มิมบัรออนไลน์
คุตบะห์วันศุกร์ 26 ร่อบีอุ้ลเอาวัล 1431 (วันศุกร์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2553)
อิสลามกับวันสตรีสากล

الْحَمْدُ لِلَّهِ رَبِّ الْعَالَمِينَ


มวลการสรรเสริญเป็นสิทธิ์ของอัลลอฮ์ ผู้ทรงอภิบาลโลกทั้งหลาย
ท่านพี่น้องผู้ศรัทธาแล้วทั้งหลาย
ขอซุกู้ร ขอบคุณต่อพระองค์อัลลอฮ์ (ซ.บ.) ที่ได้ให้กระผมและท่านทั้งหลายได้มีชีวิตพร้อมที่จะปฏิบัติศาสนกิจสนองตอบต่อพระองค์อีกครั้งในวันศุกร์นี้ ขอให้เราทั้งหลายจงยำเกรงต่อพระองค์ และตอบสนองคำบัญชาของพระองค์ในทุกๆ ภารกิจที่พระองค์ทรงใช้และในสิ่งที่พระองค์ทรงห้าม ทุกเรื่องที่เกี่ยวข้องกับทางศาสนานั้น ล้วนแล้วมาจากกิตาบุ้ลลอฮ์และซุนนะห์ทั้งสิ้น ไม่สิ่งใดที่มนุษย์กระทำนอกกรอบแห่งอัลกุรอ่านและกิริยาวัตรของท่านศาสดาแล้ว เขาจะได้รับการรับรองจากพระองค์และท่านศาสดา ดังนั้น ไม่ว่ากรอบความคิด ทฤษฎีต่างๆ ทั้งที่เกี่ยวข้องกับการกระทำที่เป็นเรื่องธรรมดา และการกระทำที่เกี่ยวข้องกับแนวคิดทางความเชื่อทางศาสนาแล้ว หลักปฏิบัติ ทั้งหลายนอกจากจะสอดคล้องกับเรื่องที่เป็นปกติธรรมดาแล้ว ยังจะมีบางส่วนมีความเชื่อในเรื่องของศาสนาเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เรื่องหนึ่งก็คือ ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา มีวันหนึ่งคือวันที่ 8 มีนาคม ซึ่งทางสากลได้กำหนดให้เป็นวันสตรีสากล เป็นวันที่รำลึกถึงบทบาทและความเสมอภาคทัดเทียมกับบุรุษของเหล่าบรรดาสตรีเหล่านั้น
ท่านพี่น้องผู้ศรัทธาทั้งหลาย
เรื่องสิทธิสตรีที่มีการเรียกร้องกันในทุกวงการในปัจจุบัน เป็นแนวคิดที่นักคิดทางตะวันตกหลายๆ สำนักคิด โดยเฉพาะกลุ่ม Feminists ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีอิทธิพลทางความคิดมาจากกลุ่มสตรีที่เบี่ยงเบนทางเพศ (เลสเบี้ยน) ชนชาติยิวกลุ่มหนึ่ง มีแนวคิดที่ก้าวหน้า มองว่าสตรีในประเทศทางตะวันตก มีความสามารถใกล้เคียงกับผู้ชาย ประสิทธิภาพในการทำงาน การตัดสินใจ การก้าวข้ามจากเรื่องในครัวความเป็นภรรยา แม่ และคนรับใช้ มาสู่ผู้จัดการ CEOs และประธานบริษัทมหาชนขนาดใหญ่ และกลุ่มดังกล่าวยังมีมุมมองอีกว่า ความซื่อสัตย์ต่อองค์กร ไม่ว่าจะเป็นองค์กรภาคเอกชน มหาชน อิสระ หรือภาครัฐ แล้ว หญิงมีความซื่อสัตย์มากกกว่าชาย การดิ้นรนต่อสู้ในเรื่องสิทธิสตรีของกลุ่ม Feminists มีมาอย่างยาวนานนับจากสงครามโลกครั้งที่สอง จวบจนประเทศเยอรมนีมีการเลือกตั้งประธานาธิบดีเมื่อไม่นามานี้กับชัยชนะของสุภาพสตรีท่านหนึ่ง แม้ว่าในฟิลิปปินส์ชัยชนะการเลือกตั้งของประธานาธิบดีหญิงม่าย “คอราซอน อาคิโน่” แต่ยังไม่ใช่สิ่งที่หลายๆ ฝ่ายยอมรับ ซึ่งรวมไปถึงการดิ้นรนต่อสู้เพื่อให้ได้รับรางวัลโนเบลกับการต่อสู้กับทางการทหารเมี้ยนมาร์ ก็ตาม สิ่งต่างๆ เหล่านี้ ชี้ให้เห็นถึงจุดเปลี่ยนทางความคิดในโลกสมัยใหม่ ที่ผู้หญิงมีความสามารถก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำ หรือแม้แต่ในโลกอิสลาม ที่ผู้หญิงก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำประเทศทั้งปากีสถานและอินโดนีเซีย แต่ในที่สุดคำตอบที่เป็นประเพณีทางการปกครองของประเทศเหล่านั้น ก็มีจุดจบที่ไม่แตกต่างกัน นั่นคือ ปัญหาการคอรับชั่น การแอราษฎร์บังหลวง ทั้งที่อินโดนีเซีย ปากีสถาน และฟิลิปปินส์ แต่ในเยอรมนี บทบาทผู้นำสตรีกลับพลิกผันจากแนวคิดเดิมๆ ที่มองปัญหาที่เกิดขึ้นมาในประเทศโลกที่สาม ซึ่งแตกต่างจากอังกฤษที่มีนายกรัฐมนตรีสตรีครองอำนาจมาอย่างยาวนานในพรรคอนุรักษ์นิยม แต่ความพิเศษที่แตกต่างจากประเทศอื่น บทบาทการนำของสตรีในอังกฤษจึงมิใช่ชัยชนะที่แปลกแยกแตกต่างจากในประเทศโลกที่สาม แตกต่างอย่างมากกับในประเทศโลกอิสลามที่มีสตรีขึ้นมาครองอำนาจทั้งที่อินโดนีเซียและปากีสถาน
บทบาทสตรีในอิสลามถูกท้าทายจากสังคมโลกเป็นระยะเวลาที่ยาวนาน ในช่วงปฏิวิติของประธานาธิบดีโคมัยนีแห่งอิหร่าน การฟื้นฟูวัฒนธรรมการแต่งกายด้วยรูปแบบอิสลาม “อัลฮิญาบ” เป็นที่แพร่หลายในกลุ่มมุสลิมทั่วโลก แต่ในบางสังคม ยังไม่สามารถรณรงค์ให้กลุ่มสตรีมุสลิมหันมาแต่งกายตามหลักการของศาสนา

ท่านพี่น้องผู้ศรัทธาทั้งหลาย
ตามหลักการแห่งกิตาบุ้ลลอฮ์และซุนนะห์ นั้น อิสลามไม่ยอมรับในสิทธิการเรียกร้องที่เกินเลยไปจากอัลกุรอ่านและกิริยาวัตรของท่านศาสดา แต่ในคำสอนแห่งอัลอิสลาม ได้แยกบทบาทและหน้าที่ที่ชัดเจนของทั้งสองเพศ ทั้งในเรื่องทางครอบครัว ศาสนา และสังคม แต่มุมมองหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงการใช้ชีวิตในสังคมปัจจุบันได้อย่างไม่อ้อมค้อมและไม่เกินเลยไปจากคำสอน นั่นคือ บทบาทและหน้าที่ของทั้งสองเพศ ต้องไม่ถูกรบกวนหากหญิงจะทำงานนอกบ้าน ซึ่งต้องไม่บกพร่องต่อหน้าที่ของตนเอง และสามีต้องให้คำยินยอมต่อนางหากการทำงานของนางไม่ทำให้หน้าที่ที่มีต่อครอบครัวถูกลดทอนลงไป แนวทางนี้ เป็นแนวทางหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นว่า ในโลกอิสลาม หรือในสังคมไทย ในปัจจุบัน การทำงานเลี้ยงชีพตามหลักแล้วเป็นหน้าที่ของฝ่ายบุรุษ หากแต่สังคมปัจจุบัน การแข่งขันในทุกวงการเป็นตัวชี้วัดที่บ่งบอกถึงการใช้บริการทางสังคม ทางเลือก ทัศนคติที่มีมุมมองในเรื่องของการแข่งขัน การเลือกสรร การคัดเลือก และกรอบแห่งศาสนาที่เป็นเสมือนเส้นบางๆ ที่ตีกรอบให้กับทุกครอบครัว ทุกสังคม ต้องเข้ามาแข่งขันกัน ความเสมอภาคทางเพศ เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งที่คอยกระตุ้นแนวคิดในทางสังคม รวมถึงความแข็งแรงในหลักการแห่งอีหม่าน ความศรัทธา ที่ก้าวขึ้นมาเป็นตัวแบบในการจัดการตามสภาพสังคมและเศรษฐกิจที่มีการแข่งขันแบบพหุภาคี ในทุกๆ ด้าน ดังนั้น กรอบแนวความคิดในปัจจุบัน การทำหน้าที่ตามบทบาทของมนุษย์ จึงต้องมีความชัดเจน สามีและภรรยา ต้องสนทนาร่วมกันปรับทัศนคติตามบทบาทของชีวิต และมุมมองทางศาสนา อย่างไรก็ตาม บรรดาสามีที่ปล่อยให้ภรรยาออกไปทำงานนอกบ้าน เมื่อให้ความยินยอมให้นางออกไปทำงานแล้ว ความเป็นสามี นอกจากทำหน้าที่ของตนตามกรอบแห่งศาสนา และหลักกฎหมายแล้ว สามีต้องให้ช่วงเวลาที่นางออกไปทำงานนอกบ้านจนนางกลับเข้าบ้านเป็นช่วงเวลาที่นางเดินทางและปฏิบัติงานด้วยความปลอดภัยทั้งในชีวิตและทรัพย์สินของนางด้วย จึงจะถือว่าสามีได้ปฏิบัติหน้าที่ตามบทบาทและหน้าที่ตามนัยแห่งคำสอนจากกิตาบุ้ลลอฮ์และซุนนะห์แล้วอย่างครบถ้วน
ท่านพี่น้องผู้ศรัทธาแล้วทั้งหลาย
การเรียกร้องถึงความเสมอภาคทางเพศในปัจจุบัน แม้ว่าเราจะได้ยินข่าวสารต่างๆ มากมายเกี่ยวกับเรื่องนี้ แต่ในขณะเดียวกันกลับพบว่า สตรีในทุกช่วงวัยถูกทำร้ายต่างๆ นาๆ ในทุกๆ วัน กับข่าวอาชญากรรมต่างๆ ทั้งคนใกล้ชิด เพื่อน คนรัก สามี หรือคนร้าย ไปพร้อมๆ กับเรื่องที่ประโคมข่าวถึงความสำเร็จของสตรีในอีกสังคมหนึ่ง บทบาทสตรีถูกทดสอบในเรื่องต่างๆ เหล่านี้ ขณะที่คำสอนทางศาสนาอิสลาม จะมองถึงธรรมชาติ ความงาม ความอ่อนแอทางสรีระ ของสตรี ที่เหล่าบรรดาบุรุษทั้งหลาย จะต้องปกป้อง ป้องกัน ให้ความคุ้มครองร่วมกัน เพื่อที่จะให้สังคมปัจจุบัน ได้มีความเข้มแข้ง ก้าวผ่านในเรื่องร้ายๆ นี้ และออกห่างไกลจากเรื่องฟิตนะห์ต่างๆ โดยเฉพาะในเรื่องของสตรี ความเสมอภาคทางเพศ มิใช่สิ่งที่จะยืนยันได้ว่าสังคมจะเป็นเอกภาพ หรือสังคมจะเป็นสุข แต่การเรียกร้องในเรื่องนี้ หากมากเกินขอบเขตที่จำกัดในกรอบแห่งธรรมชาติและเส้นขอบของแนวคิดทางศาสนาแล้ว สังคมเกิดฟิตนะห์ และเรื่องร้ายๆ ต่างๆ ที่เกิดขึ้น เป็นอุทธาหรณ์ และเป็นการทดสอบจากพระองค์ วันนี้หากเราปล่อยปละละเลย ทิ้งให้สังคมเป็นตัวกำหนดความคิดที่เลยเถิดจากเป้าหลอมแห่งอัลอิสลามแล้ว แน่นอน ลูกหลานของเรา ภรรยาของเรา ลูกสาวของเรา ย่อมอาจตกอยู่ในสภาวะที่เป็นอุทธาหรณ์ให้กับคนรุ่นใหม่ก็เป็นได้ ดังนั้น ขอให้บรรดาบุรุษทั้งหลาย จงอย่าบกพร่องต่อหน้าที่ของตน ขอฝากโองการจากอัลกุรอ่าน ซูเราะห์อันนูร์ (An-Noor [The Light]) Al-Qur'an, 024.014- 015 และ 019-020 เพื่อเป็นเครื่องย้ำเตือนใจท่านทั้งหลาย ความว่า

024.014 وَلَوْلا فَضْلُ اللَّهِ عَلَيْكُمْ وَرَحْمَتُهُ فِي الدُّنْيَا وَالآخِرَةِ لَمَسَّكُمْ فِي مَا أَفَضْتُمْ فِيهِ عَذَابٌ عَظِيمٌ
024.014 Were it not for the grace and mercy of Allah on you, in this world and the Hereafter, a grievous penalty would have seized you in that ye rushed glibly into this affair.
[24.14] และหากมิใช่ความโปรดปรานของอัลลอฮ์แก่พวกเจ้าและความเมตตาของพระองค์ทั้งในโลกนี้และโลก
หน้าแล้ว แน่นอนการลงโทษอย่างมหันต์ก็จะประสบแก่พวกเจ้าในสิ่งที่พวกเจ้ากำลังง่วนกันอยู่
024.015 إِذْ تَلَقَّوْنَهُ بِأَلْسِنَتِكُمْ وَتَقُولُونَ بِأَفْوَاهِكُمْ مَا لَيْسَ لَكُمْ بِهِ عِلْمٌ وَتَحْسَبُونَهُ هَيِّنًا وَهُوَ عِنْدَ اللَّهِ عَظِيمٌ
024.015 Behold, ye received it on your tongues, and said out of your mouths things of which ye had no knowledge; and ye thought it to be a light matter, while it was most serious in the sight of Allah.
[24.15] ขณะที่พวกเจ้าได้รับข่าวนั้นด้วยการพูดกันระหว่างพวกเจ้า และพวกเจ้าพูดกันในสิ่งที่พวกเจ้าไม่มี
ความรู้ และพวกเจ้าคิดว่ามันเป็นเรื่องเล็ก แต่ ณ ที่อัลลอฮ์นั้นมันเป็นเรื่องใหญ่
024.019 إِنَّ الَّذِينَ يُحِبُّونَ أَنْ تَشِيعَ الْفَاحِشَةُ فِي الَّذِينَ آمَنُوا لَهُمْ عَذَابٌ أَلِيمٌ فِي الدُّنْيَا وَالآخِرَةِ وَاللَّهُ يَعْلَمُ وَأَنْتُمْ لا تَعْلَمُونَ
024.019 Those who love (to see) scandal published broadcast among the Believers, will have a grievous Penalty in this life and in the Hereafter: Allah knows, and ye know not.
[24.19] แท้จริงบรรดาผู้ชอบที่จะให้เรื่องบัดสีแพร่หลายไปในหมู่ผู้ศรัทธานั้น พวกเขาจะได้รับการลงโทษอย่าง
เจ็บปวดทั้งในโลกนี้และโลกหน้าและอัลลอฮ์ทรงรอบรู้และพวกเจ้าไม่รู้
024.020 وَلَوْلا فَضْلُ اللَّهِ عَلَيْكُمْ وَرَحْمَتُهُ وَأَنَّ اللَّهَ رَءُوفٌ رَحِيمٌ
024.020 Were it not for the grace and mercy of Allah on you, and that Allah is full of kindness and mercy, (ye would be ruined indeed).
[24.20] และหากมิใช่ความโปรดปรานของอัลลอฮ์แก่พวกเจ้าและความเมตตาของพระองค์แล้ว และแท้จริง
อัลลอฮ์นั้นเป็นผู้ทรงเอ็นดู ผู้ทรงเมตตาเสมอ

ขอให้กระผมและท่านทั้งหลาย ตลอดจนครอบครัวของพวกเรา จงอยู่ในแนวทางแห่งกิตาบุ้ลลอฮ์และซุนนะห์ และย้ำแนวคิด แนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับการปกครอง ปกป้อง และป้องกัน บรรดาสตรีที่อยู่ในปกคองของพวกเรา ให้อยู่ในแนวทางที่พระองค์ทรงรัก ทรงเมตตา เพื่อที่พระองค์จะให้ความคุ้มครองพวกเราทั้งหลาย ให้ออกห่างไกลจากกลุ่มที่บิดพริ้ว หลงผิด หลงประเด็น ผิดพลาด ตลอดจน หนทางที่พวกเหล่านั้นจะใช้สื่อต่างๆ ล่อลวง หลอกใช้ ให้กระทำในสิ่งที่พระองค์ทรงกริ้วและทรงกำหนดว่าจะลงโทษอย่างมหันต์ ในวันแห่งการตัดสิน

إِنَّ اللَّهَ وَمَلائِكَتَهُ يُصَلُّونَ عَلَى النَّبِيِّ يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا صَلُّوا عَلَيْهِ وَسَلِّمُوا تَسْلِيمًا
رَبَّنَا آتِنَا فِي الدُّنْيَا حَسَنَةً وَفِي الآخِرَةِ حَسَنَةً وَقِنَا عَذَابَ النَّارِ
إِنَّ اللَّهَ يَأْمُرُ بِالْعَدْلِ وَالإحْسَانِ وَإِيتَاءِ ذِي الْقُرْبَى وَيَنْهَى عَنِ الْفَحْشَاءِ وَالْمُنْكَرِ وَالْبَغْيِ يَعِظُكُمْ لَعَلَّكُمْ تَذَكَّرُونَ

سُبْحَانَ رَبِّكَ رَبِّ الْعِزَّةِ عَمَّا يَصِفُونَ
وَسَلامٌ عَلَى الْمُرْسَلِينَ
وَالْحَمْدُ لِلَّهِ رَبِّ الْعَالَمِينَ

ว่าบิ้ลลาฮิเตาฟีก วั้ลฮิดายะห์
วัสสลาม
มูฮำหมัด สันประเสริฐ

อ้างอิง
Text Copied from DivineIslam's Qur'an Viewer software v2.9
อัลกุรอ่านฉบับภาษาไทย สมาคมนักเรียนเก่าอาหรับ ดำเนินการจัดพิมพ์โดยกระทรวงกิจการฮัจย์ แห่งราชอาณาจักรซาอุดิอาเบีย
อัลฮาดีซ : Hadith of The Day V 1.0 Freeware by FaridAnasri avater@muslimonline.com (www.beconvinced.com
สมศักดิ์ สันประเสริฐ 2543 สิทธิและความเท่าเทียมกันของหญิงชายตามคำสอนของศาสนาอิสลาม
สารนิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (รัฐศาสตร์) มหาวิทยาลัยรามคำแหง

วันพุธที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2553

ความยุติธรรม

มิมบัรออนไลน์
คุตบะห์วันศุกร์ 19 ร่อบีอุ้ลเอาวัล 1431 (วันศุกร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2553)
ความยุติธรรม

الْحَمْدُ لِلَّهِ رَبِّ الْعَالَمِينَ


มวลการสรรเสริญเป็นสิทธิ์ของอัลลอฮ์ ผู้ทรงอภิบาลโลกทั้งหลาย
ท่านพี่น้องผู้ศรัทธาแล้วทั้งหลาย
ขอให้เราทั้งหลายจง อยู่ในบทบาทและแนวทางที่พระองค์อัลลอฮ์ (ซ.บ.) ทรงรัก และทรงเมตตา เพราะชีวิตของเรานั้นไม่มีใครที่จะอยู่ยั้งยืนนานไปได้ ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา เพื่อนๆ ญาติพี่น้องของเรา หลายๆ ท่านต่างกลับไปสู่ความเมตตาของพระองค์บ้างแล้ว หากดูอายุขัยของพวกเขาเหล่านั้น พบว่า มีทั้งคนแก่ คนวันทำงาน คนในวัยหนุ่มสาว วัยรุ่น และเด็ก ดังนั้นจึงเป็นสิ่งที่บอกไม่ได้ว่า ในรอบสัปดาห์ต่อไป ใครจะต้องกลับไปหาพระองค์อีกหรือไม่ อย่างเช่นในประเทศชิลี มีเหตุการณ์แผ่นดินไหวเกิดขึ้น มีคนตายมากมาย หากพิจารณาในรอบสองเดือนที่ผ่านมา เหตุการณ์แผ่นดินไหวเกิดขึ้นหลายครั้ง เกิดขึ้นเกือบจะทุกๆ สัปดาห์ และความเสียหายจากเหตุการณ์ล้วนได้รับความเสียหายมากมายรุนแรง และเป็นไปในวงกว้าง ไม่มีการเตือนกันล่วงหน้า ดังนั้น ขอให้เราไม่ประมาท และเตรียมความพร้อมของตนเองอยู่ตลอดเวลา พร้อมเสมอสำหรับการตัดสินจากพระองค์
ท่านพี่น้องผู้ศรัทธาแล้วทั้งหลาย
กระบวนการยุติธรรม เป็นกระบวนการที่เป็นที่ยอมรับของทุกๆ ฝ่าย ถึงการตรวจสอบ การไต่สวนความผิด การไต่สวนผู้ฟ้องร้อง การพิจารณาข้อเท็จจริงต่างๆ ข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องที่ได้กำหนดเอาไว้ การพิจารณาและตัดสินด้วยความยุติธรรม และเป็นธรรม เพื่อให้แต่ละฝ่ายได้ยอมรับผลของการพิจารณาตัดสินนั้น เพื่อไม่ให้ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดมาเรียกร้องหรือร้องเรียนในเรื่องดังกล่าวต่อไป นั่นคือกระบวนการยุติธรรมของมนุษย์ จะเห็นว่าในบางกรณี สภาพแวดล้อม ข้อกำหนดตามกฎหมายที่ถูกปรับเปลี่ยนไปตามสภาพทางสังคมเศรษฐกิจ ของประเทศ แม้จะกระทำการอย่างเดียวกัน แต่หากกฎหมายไม่ได้กำหนดความผิดเอาไว้ ในทางกฎหมายถือว่าไม่มีความผิด ซึ่งแตกต่างจากการตัดสินของพระองค์อัลลอฮ์ (ซ.บ.)จากโองการในซูเราะห์อัลฟาติฮะห์ ความว่า
001.004 مَالِكِ يَوْمِ الدِّينِ
001.004 Master of the Day of Judgment.
ผู้ทรงอภิสิทธิ์แห่งวันตอบแทน
จะเห็นว่า การตัดสินของพระองค์ในวันที่ได้กำหนดไว้ พระองค์จะตัดสินด้วยความเป็นธรรมที่สุด ความยุติธรรมของพระองค์ จะตัดสินอย่างรอบด้าน จำเลยของพระองค์ ตลอดจนบรรดาพยานทั้งหลาย จะเป็นผู้เรียกร้องเพื่อแสวงหาความยุติธรรมให้กับตัวจำเลย และการตัดสินจากพระองค์จะเป็นตัวชี้ขาดที่เที่ยงธรรมที่สุด หากพิจารณาตัวบทและกฎเกณฑ์ที่พระองค์ทรงใช้ในการตัดสิน พบว่า ตัวบทกฎเกณฑ์หรือกฎหมายที่พระองค์ใช้นั้น ไม่มีการแก้ไข ไม่มีการสังคยนา หรือปรับปรุงกฎเกณฑ์ให้เข้ากับสภาพและกลไกรทางสังคมและสิ่งแวดล้อมในขณะหนึ่งขณะใด ดังเช่นกฎหมายที่กำหนดตัวบทจากมนุษย์ จากรัฐสภา หรือจากรัฐฐาธิปัตย์ ดังนั้น จึงมีความชัดเชน แจ่มแจ้งกับผลของการตัดสินจากพระองค์ การขออภัยโทษจากพระองค์ สามารถกระทำได้ แต่ไม่ใช่ว่าจะทำกันจนเป็นประเพณี กล่าวคือ เมื่อผิดแล้วขออภัยโทษ แล้วไม่สำนึกกลับไปกระทำใหม่แล้ววนเวียนซ้ำแล้วซ้ำเล่าอยู่อย่างนั้น แต่การขออภัยโทษจากพระองค์ สามารถกระทำได้แต่ต้องสำนึกและไม่กลับไปกระทำสิ่งนั้นอีก และเตาบัรอยู่ตลอดเวลาถึงการกระทำที่เป็นโทษต่อพระองค์เช่นนี้ต่างหากจะเป็นสิ่งที่พระองค์ทรงรับเพราะความสำนึกจาบ่าวผู้เรียกร้องความเมตตาจากพระองค์ แต่กฎหมายที่มนุษย์กำหนดขึ้น การขออภัยโทษ ก็ดี การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงกฎหมายในอนาคตเพื่อรองรับการกระทำที่เป็นความผิดให้ไม่มีความผิด เหล่านี้ เป็นสิ่งที่กระทำได้ หากผู้ที่มีอำนาจในขณะนั้น เป็นผู้กำหนด ดังนั้นการแสวงหาความยุติธรรมของมนุษย์ จึงขึ้นอยู่กับว่า ใคร เป็นผู้กระทำ กระทำกับใคร ในช่วงเวลาใด มีผลกระทบอย่างไร แล้วความยุติธรรมที่ได้มานั้น ใครได้รับ แล้วผลของมันเป็นอย่างไร สิ่งต่างๆ ที่มนุษย์กำหนดขึ้น เพียงต้องการคำตอบที่ไม่บั่นทอนความสามัคคีของส่วนรวม มากกว่าการหาความเที่ยงธรรมจากกระบวนการที่มนุษย์กำหนดขึ้น เพียงต้องการคำตอบที่ไม่บั่นทอนความสามัคคีของส่วนรวม มากกว่าการหาความเที่ยงธรรมจากกระบวนการยุติธรรมที่สังคมเป็นผู้กำหนด เพราะในที่สุด หากใครมีพวกมากลากไป ความยุติธรรมที่แต่ละฝ่ายต่างแสวงหาก็จะกลายเป็นชนวนแห่งความขัดแย้งที่ไม่มีที่สิ้นสุด หากมีเสียงเรียกร้องว่า ที่ตัดสินกันในวันนั้น ไม่ยุติธรรม เป็นสิ่งที่เราทั้งหลาย ต้องตรวจสอบติดตาม และมองอย่างเป็นธรรม

إِنَّ اللَّهَ وَمَلائِكَتَهُ يُصَلُّونَ عَلَى النَّبِيِّ يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا صَلُّوا عَلَيْهِ وَسَلِّمُوا تَسْلِيمًا
رَبَّنَا آتِنَا فِي الدُّنْيَا حَسَنَةً وَفِي الآخِرَةِ حَسَنَةً وَقِنَا عَذَابَ النَّارِ
إِنَّ اللَّهَ يَأْمُرُ بِالْعَدْلِ وَالإحْسَانِ وَإِيتَاءِ ذِي الْقُرْبَى وَيَنْهَى عَنِ الْفَحْشَاءِ وَالْمُنْكَرِ وَالْبَغْيِ يَعِظُكُمْ لَعَلَّكُمْ تَذَكَّرُونَ

سُبْحَانَ رَبِّكَ رَبِّ الْعِزَّةِ عَمَّا يَصِفُونَ
وَسَلامٌ عَلَى الْمُرْسَلِينَ
وَالْحَمْدُ لِلَّهِ رَبِّ الْعَالَمِينَ

ว่าบิ้ลลาฮิเตาฟีก วั้ลฮิดายะห์
วัสสลาม
มูฮำหมัด สันประเสริฐ

อ้างอิง
Text Copied from DivineIslam's Qur'an Viewer software v2.9
อัลกุรอ่านฉบับภาษาไทย สมาคมนักเรียนเก่าอาหรับ ดำเนินการจัดพิมพ์โดยกระทรวงกิจการฮัจย์ แห่งราชอาณาจักรซาอุดิอาเบีย
อัลฮาดีซ : Hadith of The Day V 1.0 Freeware by FaridAnasri avater@muslimonline.com (www.beconvinced.com