วันอังคารที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2553

เราเรียนรู้เรื่องใดบ้างจากรอมฎอน

มิมบัรออนไลน์
คุตบะห์วันศุกร์ 24 (23) รอมฎอน 1431 (วันศุกร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2553)
เราเรียนรู้เรื่องใดบ้างจากรอมฎอน

الْحَمْدُ لِلَّهِ رَبِّ الْعَالَمِينَ
يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا كُتِبَ عَلَيْكُمُ الصِّيَامُ كَمَا كُتِبَ عَلَى الَّذِينَ مِنْ قَبْلِكُمْ لَعَلَّكُمْ تَتَّقُونَ
قُلِ اللَّهُمَّ مَالِكَ الْمُلْكِ تُؤْتِي الْمُلْكَ مَنْ تَشَاءُ وَتَنْزِعُ الْمُلْكَ مِمَّنْ تَشَاءُ وَتُعِزُّ مَنْ تَشَاءُ وَتُذِلُّ مَنْ تَشَاءُ بِيَدِكَ الْخَيْرُ إِنَّكَ عَلَى كُلِّ شَيْءٍ قَدِير
قُلْ إِنَّ صَلاتِي وَنُسُكِي وَمَحْيَايَ وَمَمَاتِي لِلَّهِ رَبِّ الْعَالَمِينَ
لا شَرِيكَ لَهُ وَبِذَلِكَ أُمِرْتُ وَأَنَا أَوَّلُ الْمُسْلِمِينَ
ท่านพี่น้องผู้ศรัทธาทั้งหลาย
เป็นเวลาเกือบหนึ่งเดือนเต็ม ที่เราทั้งหลายต่างดำเนินชีวิต ตักตวงเก็บเกี่ยว มุ่งมั่นต่อการปฏิบัติอามั้ลอิบาดัรในเดือนที่มีความสำคัญมากที่สุดในรอบปี เราต่างมุ่งหมายเพื่อการกระทำต่างๆให้บรรลุผลดั่งที่เราได้ตั้งใจไว้ตั้งแต่เดือนรอมฎอนในปีที่ผ่านมา เราต่างสำรวจข้อบกพร่องจากปีที่แล้ว เพื่อแก้ไขเรื่องต่างๆ ในปีนี้ เพื่อให้การประกอบศาสนกิจอันสำคัญนี้อย่างสมบูรณ์ เป็นการเพิ่มพูนอิหม่าน ตลอดจนเป็นการทดสอบความแข็งแรงของการศรัทธาต่อพระองค์ ตลอดช่วงอายุขัยของเรา ซึ่งวัตถุประสงค์หลักของการถือศีลอดนั่น คือ ความยำเกรงต่อพระองค์ ดังนั้น ในวันนี้อันเป็นวันศุกร์สุดท้ายแห่งรอมฎอนของปีนี้ จึงขอตักเตือนตนเองและท่านทั้งหลายในที่นี้ จงมุ่งมั่นตั้งใจ ดำรงตนให้อยู่ในสภาพของผู้ที่มีความยำเกรงต่อพระองค์อัลลอฮ์ (ซ.บ.) ให้มากที่สุด บทเรียนแห่งรอมฎอนที่กำลังจะผ่านพ้นไปนั้น เป็นการทดสอบความเข้มแข็งแห่งความศรัทธา การมุ่งมั่นตั้งใจในการประกอบศาสนกิจอันสำคัญ การช่วยเหลือ แบ่งปัน การแสดงออกถึงความเป็นผู้มีน้ำใจไมตรีระหว่างกัน ซึ่งผลแห่งการกระทำดังกล่าวเป็นการเปลี่ยนแปลงตนเองอันสำคัญ จะเห็นได้ว่า การถือศีลอด คือภารกิจที่ทำให้มุสลิมมิใช่มุ่งมั่นที่จะแสวงหาความสำราญเพียงเพื่อที่จะนำมาซึ่งความผาสุกแห่งตนเองเท่านั้น หากว่าเราต้องมองคนรอบข้าง คนที่มีกำลังอ่อนแอกว่า หรือคนที่มีฐานะที่ต่ำกว่า ให้เขาเหล่านั้นมีที่ยืนในสังคม การช่วยเหลือระหว่างกัน นั่นคือกรอบแห่งอัลอิหม่านของบรรดามุสลิมทั้งหลาย ที่เป็นเสมือนพี่น้องกัน
ท่านทั้งหลาย
หากเราย้อนมองถึงโองการจากพระองค์อัลลอฮ์ (ซ.บ.) ซึ่งกล่าวถึงจุดมุ่งหมายของการถือศีลอด จากอัลบ้ากอเราะห์ Al-Qur'an, 002.183 (Al-Baqara [The Cow]) ความว่า
002.183 يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا كُتِبَ عَلَيْكُمُ الصِّيَامُ كَمَا كُتِبَ عَلَى الَّذِينَ مِنْ قَبْلِكُمْ لَعَلَّكُمْ تَتَّقُونَ
002.183 O ye who believe! Fasting is prescribed to you as it was prescribed to those before you, that ye may (learn) self-restraint,-
183. บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย! การถือศีลอดนั้นได้ถูกกำหนดแก่พวกเจ้าแล้ว เช่นเดียวกับที่ได้ถูกกำหนดแก่บรรดาผู้ก่อนหน้าพวกเจ้ามาแล้วเพื่อว่าพวกเจ้าจะได้ยำเกรง
จะเห็นได้ว่า เมื่อเราได้ดำเนินการปฏิบัติศาสนกิจอันสำคัญนี้ มาจนเกือบจะครบ หนึ่งเดือนเต็มนี้ เราลองย้อนถามตนเองดูซิว่า เราได้เรียนรู้ในเรื่องใดบ้างจากรอมฎอนในปีนี้ และเรามุ่งมั่นที่จะเพิ่มพูนภาคผลใดบ้างในปีถัดไป หรือเรามุ่งมั่นกระทำอย่างเต็มที่ในปีนี้ โดยที่เราไม่แน่ใจว่าชีวิตของเราจะกลับไปยังพระองค์ก่อนที่จะถึงรอมฎอนปีหน้า ขอให้เราทั้งหลาย จงตรวจสอบตนเอง ให้ได้ว่า คุณค่าที่เราได้รับหรือได้เรียนรู้จากรอมฎอน นั้น ทำให้เกิดความยำเกรงต่อพระองค์แล้วหรือยัง ซึ่งเป็นจุดมุ่งหมายและเป้าหมายของการปฏิบัติศาสนกิจทุกๆ เรื่อง หากแต่ว่า การถือศีลอด เรากระทำด้วยความตั้งใจมุ่งตรงต่อพระองค์ ความตั้งใจของเรา มีจุดมุ่งหมายต่อพระองค์ มากกว่าที่เรามุ่งหมายเพียงคำชมเชยจากเพื่อนมนุษย์ เพราะทำให้ภาคผลของการกระทำของเราไม่บรรลุผล ณ ที่พระองค์ ตลอดเดือนที่ผ่านมา จะเห็นว่า เราทั้งหลายละ ลดเลิก กิจกรรม ที่ไร้สาระไร้คุณค่า ไม่ส่งผลให้เกิดคุณค่าและความภาคภูมิใจในศาสนกิจเพื่อพระองค์ การแสดงออกถึงคำพูดทั้งหลาย การแสดงออกต่อเพื่อนบ้าน เป็นการแสดงออกถึงความเห็นใจ ความเป็นมิตร มีน้ำใจไมตรี การแบ่งปันระหว่างกัน ละลดเลิกบรรดาคำพูดและการกระทำที่จะส่งผลให้เกิดความบาดหมางระหว่างกัน การแสดงออกถึงทัศนคติใดๆ ที่นำไปสู่ความขัดแย้งกันนั้น ต้องมีทางออกเพื่อที่ให้แต่ละฝ่ายเข้าใจ และมีการตัดสินที่มีความยุติธรรม และให้ทุกๆฝ่ายมีส่วนร่วมและมุ่งมั่นสามัคคีต่อกัน เพื่อให้เกิดสภาพแห่งสังคมแห่งภราดรภาพ สิ่งต่าง ๆ ที่ได้กล่าวมา เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่เกิดขึ้นจากการมุ่งมั่นการกระทำอามั้ลด้วยความยำเกรงต่อพระองค์อย่างแท้จริง เพราะมัคโลคของพระองค์ มีสภาพการเกิดและความตายที่ไม่แตกต่างกัน แต่ สำหรับแต่ละคนแล้ว ความเป็นปัจเฉกบุคคลของตน นั่นทำให้เรามีความแตกต่างกัน ในแต่ละด้าน แต่ด้วยความยำเกรงต่อพระองค์แล้ว ความแตกต่างกันนั้น ย่อมหมดไป หรือทำให้เหลือน้อยที่สุด ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ ก็ด้วยการแบ่งปัน หรือความช่วยเหลือโดยที่ไม่มุ่งหมายผลตอบแทนจากผู้ที่รอคอยความช่วยเหลือ แต่ภาคผลนั้น เพื่อพระองค์อัลลอฮ์ (ซ.บ.) เพียงเท่านั้น นั่นคือสังคมแห่งภราดรภาพและสันติสุขของมวลมุสลิม ผู้ซึ่งแสวงหาความโปรดปราณจากพระองค์


ท่านทั้งหลาย
อีกภารกิจหนึ่งของผู้ถือศีลอดที่ดำเนินการมาเกือบจะครบถ้วนของเดือรรอมฎอนนี้ นั่นคือ ซะกาตฟิตเราะห์ เป็นภารกิจหนึ่งของวันอีดิ้ลฟิตริที่กำลังจะมาถึง จุดมุ่งหมายหลักของการบริจาคซะกาตฟิตเราะห์ ก็คือ เพื่อให้ภาคผลของการถือศีลอดนั้นมีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้นจากความเผลอเลอ เลินเล่อ ปฏิบัติตนผิดพลาดคลาดเคลื่อนในเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ทั้ง กิริยา วาจา และใจ โดยการบริจาคซะกาตฟิตเราะห์ ตามปริมาณที่กำหนด โดยหลักแล้ว การบริจาคซะกาตฟิตเราะห์ นั้น มีหลักเกณฑ์ ที่สำคัญคือ มุสลิมที่มีชีวิตผ่านสองช่วงของเดือน คือ รอมฎอนและเซาวาล เขาต้องบริจาคซะกาตฟิตเราะห์ โดยผู้ที่มีสิทธิรับซะกาต คือ ผู้ที่อยู่ในหลักเกณฑ์เช่นเดียวกับการรับซะกาตทั่วไป ช่วงเวลาของการบริจาคซะกาตนั้น อนุญาตให้บริจาคได้ตั้งแต่ต้นเดือนรอมฎอนแต่เวลาที่ดีที่สุดคือเช้าของวันอีดิ้ลฟิตริ ก่อนการละหมาดอีดิ้ลฟิตริ ดังนั้น ขอให้ท่านทั้งหลายอย่าลืมปฏิบัติศาสนกิจอันสำคัญนี้ เพื่อที่บุคคลที่มีสิทธิรับซากาต เขาจะได้มีรอยยิ้ม และความภูมิใจในวันอีดิ้ลฟิตริ ที่เราทั้งหลายไม่ลืมเลือนพวกเขา และเขาทั้งหลายจะได้เกิดความยำเกรงต่อพระองค์ เพราะภาคผลของทั้งผู้รับและผู้ให้นั้น อยู่ที่พระองค์ หาใช่เป็นภาคผลแห่งการกระทำของใครไม่ เพราะรางวัลที่ใครจะได้นั้น ย่อมมี ณ พระองค์เพียงพระองค์เดียวเท่านั้น แม้นว่ามุสลิมท่านใดแสวงหาความโปรดปราณ คุณค่า ศักดิ์ศรี คำเชยชมจากบุคคลหนึ่งบุคคลใดนอกจากพระองค์แล้ว เขาย่อมได้รับเพียงแค่คำสรรเสริญเยินยอจากชนเหล่านั้น แต่ความจะไม่ได้รับความโปรดปราณจากพระองค์เลย เสมือนหนึ่งเราไม่ได้รับภาคผลใดๆ จากการบริจาคทานของเรา ขอให้พิจารณาโองการจากซูเราะห์ อาลิอิมรอน Al-Qur'an, 003.026 (Aal-E-Imran [The Family of Imran]) ความว่า
003.026 قُلِ اللَّهُمَّ مَالِكَ الْمُلْكِ تُؤْتِي الْمُلْكَ مَنْ تَشَاءُ وَتَنْزِعُ الْمُلْكَ مِمَّنْ تَشَاءُ وَتُعِزُّ مَنْ تَشَاءُ وَتُذِلُّ مَنْ تَشَاءُ بِيَدِكَ الْخَيْرُ إِنَّكَ عَلَى كُلِّ شَيْءٍ قَدِيرٌ
003.026 Say: "O Allah! Lord of Power (And Rule), Thou givest power to whom Thou pleasest, and Thou strippest off power from whom Thou pleasest: Thou enduest with honour whom Thou pleasest, and Thou bringest low whom Thou pleasest: In Thy hand is all good. Verily, over all things Thou hast power.
26. จงกล่าวเถิด (มุฮัมมัด) ว่าข้าแต่อัลลอฮ์ผู้ทรงอภิสิทธิ์แห่งอำนาจทั้งปวง! พระองค์นั้นจะทรงประทานอำนาจแก่ผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์ และจะทรงถอดถอนอำนาจจากผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์ และจะทรงให้เกียรติแก่ผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์ และจะทรงยังความต่ำต้อยแก่ผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์ ความดีทั้งหลายนั้นอยู่ที่พระหัตถ์ (หมายถึงว่าความดีทั้งหลายนั้นเกิดขึ้น ด้วยอำนาจ และเดชานุภาพของพระองค์ทั้งสิ้น) ของพระองค์ แท้จริงพระองค์นั้นเป็นผู้ทรงอานุภาพเหนือทุกสิ่งทุกอย่าง
ท่านพี่น้องผู้ศรัทธาทั้งหลาย
การปฏิบัติศาสนกิจของเรานั้น ยังไม่จบสิ้น ตราบใดที่เรายังมีชีวิตอยู่ แน่นอนว่ากรอบเวลาของการทำงาน และการทำอามั้ลต่อพระองค์นั้น ย่อมติดตัวเราไปด้วย ตราบเท่าที่เรายังมีลมหายใจ มีความสามารถ มีความแข็งแรง เพื่อให้ชีวิตของเรานั้นเกิดความสมบูรณ์ในการดำเนินชีวิตและการรักษาอีหม่านของเรา ดังนั้น เมื่อรอมฎอนจากไปในปีนี้ แน่นอนว่า ในปีต่อไป ชีวิตของของเราก็ต้องพบกับรอมฎอนอีกหากเรายังมีชีวิตอยู่ ทำอย่างไรที่จะให้ชีวิตของเราอยู่ในแนวทางอันเที่ยงตรงแห่งพระองค์ ไม่ใช่แนวทางที่พระองค์ทรงโกรธกริ้ว และเป็นแนวทางแห่งชนผู้หลงผิด ขอให้เราทั้งหลาย จงสำรวจตนเองถึงความบกพร่องในการประกอบศาสนกิจของเราทุกๆ อามั้ล เรามีความบกพร่องในเรื่องใด เราจึงต้องวางแผนการดำเนินชีวิตของเรา เช่นเดียวกันกับการปฏิบัติงานซึ่งต้องมีการวางแผน เราจึงต้องตรวจสอบข้อบกพร่องในเรื่องต่างๆ ของเรา ว่าเรื่องใดบ้างที่เราขาดตกบกพร่อง เรื่องใดบ้างที่กระทำได้อย่างสำเร็จบริบูรณ์ เรื่องใดตกหล่น และเรื่องใดที่ยังไม่ได้กระทำเลย ซึ่งตัวเราเองนั้น สามารถตรวจสอบได้ไม่ยาก นอกจากนี้ ก็ต้องตรวจสอบด้วยว่า ในวันนี้เราได้ไปข่มเหง ล่วงเกินขอบเขตของเพื่อนบ้านหรือไม่ ใครบ้าง ซึ่งเราต้องไปขอมาอัพต่อเขาเหล่านั้น และขอร้องต่อพระองค์ในกิจกรรมและความบกพร่องของเราด้วย ขอให้พิจารณาโองการจากซูเราะห์อัลอันอาม Al-Qur'an, 006.162-163 (Al-Anaam [Cattle, Livestock]) ความว่า
006.162 قُلْ إِنَّ صَلاتِي وَنُسُكِي وَمَحْيَايَ وَمَمَاتِي لِلَّهِ رَبِّ الْعَالَمِينَ
006.162 Say: "Truly, my prayer and my service of sacrifice, my life and my death, are (all) for Allah, the Cherisher of the Worlds:
162. จงกล่าวเถิด(มุฮัมมัด)ว่า แท้จริงการละหมาดของฉัน และการอิบาดะฮ์ (คำว่า “อิบาดะฮ์” ซึ่งแปลมาจากคำว่า “นุซุก”นั้น มีความหมายกว้างขวางมาก กล่าวคือการปฏิบัติทุกอย่างตามบัญญัติศาสนานั้นเรียกว่าอิบาตะฮ์ทั้งสิ้น ด้วยเหตุนี้คำว่า “นุซุก”ในบางครั้งก็ถูกใช้ไปในความหมายของข้อปฏิบัติแต่ละอย่างในพิธีฮัจญ์ และบางทีก็ใช้ไปในความหมายว่า ”การเชือด” เพราะข้าปฏิบัติในพิธีฮัจญ์ก็ดีและการเชือดก็ดีล้วนแต่เป็นอิบาดะฮ์ทั้งสิ้น 1)ของฉัน และการมีชีวิตของฉัน และการตายของฉันนั้นเพื่ออัลลอฮ์ผู้เป็นพระเจ้าแห่งสากลโลกเท่านั้น
006.163 لا شَرِيكَ لَهُ وَبِذَلِكَ أُمِرْتُ وَأَنَا أَوَّلُ الْمُسْلِمِينَ
006.163 No partner hath He: this am I commanded, and I am the first of those who bow to His will.
163. ไม่มีภาคีใด ๆ แก่พระองค์ และด้วยสิ่งนั้นแหละข้าพระองค์ถูกใช้ และข้าพระองค์คือคนแรกในหมู่ผู้สวามิภักดิ์ทั้งหลาย
ทั้งนี้ เพื่อที่เราจะได้ฉุกคิดถึงการกระทำของเราในช่วงเวลาที่ผ่านมานั้น เราได้กระทำให้บังเกิดความยำเกรงต่อพระองค์ และแสวงหาความโปรดปราณจากพระองค์จากการทำอามั้ลเพื่อพระองค์ เพื่อที่เราจะได้เกิดความบริสุทธิ์ในการประกอบศาสนกิจของเรา ในช่วงท้ายๆ ของรอมฎอน ที่กำลังจะจากเราไปนี้ ขอให้เราจงทบทวนตนเองให้มากที่สุด เพื่อที่เราจะได้แสวงหาความโปรดปราณจากพระองค์ ขออภัยโทษในเรื่องต่างๆ จากพระองค์ และให้วันอีดิ้ลฟิตริที่กำลังจะมาถึงนี้ เป็นวันที่มุสลิมทุกคนมีความสุขมากที่สุด ความสุขที่แสดงออกบนรอยยิ้ม ความปรารถนาดีและความยินดีที่มีต่อกันในวันอีดิ้ลฟิตริ นั้น จะมีความสำคัญที่สุด ที่มุสลิมทุกคนจะหันหน้ามาแสดงออกในเรื่องที่ดีต่อกัน และขอให้เราจงเริ่มต้นชีวิตใหม่นอกรอมฎอน ด้วยความเข้มแข้ง รอคอยเวลาอันมีค่าและมุ่งมั่นประกอบศาสนกิจ เพื่อพระองค์ ต่อไป ขอฝากอัลฮาดีซ เพื่อเป็นข้อเตือนใจเราทั้งหลาย ความว่า
Allah's Apostle (peace be upon him) said: The world is a prison-house for a believer and Paradise for a non-believer. รายงานโดย Uthman ibn Affan (Sahih Muslim)
ซึ่งท่านร่อซูรุ้ลเลาะห์ (ซ.ล.) มองว่า การดำเนินชีวิตของเรา การปฏิบัติศาสนกิจของเรา และการกระทำใดๆของเรานั้น มิใช่เรามุ่งมั่นเพียงได้รับผลเพียงแค่ในช่วงชีวิตของเราเท่านั้น แต่จุดมุ่งหมายปลายทางนั้น อยู่ที่พระองค์ หาใช่ความมั่งคั่งในช่วงที่เรายังมีชีวิตอยู่ใม่ ดังนั้น ท่านจึงเปรียบเทียบการใช้ชีวิต การประกอบอิบาดัรของเรานั้น เสมือนว่าเราเป็นนักโทษแห่งโลกดุนยาแต่มุ่งมั่นผลแห่งการกระทำที่อาคิเราะห์ (โลกหน้า) มากว่า ซึ่งต่างจากผู้ไม่ศรัทธาที่มีมุมมองว่าโลกดุนยาคือสวรรค์ของพวกเขา

إِنَّ اللَّهَ وَمَلائِكَتَهُ يُصَلُّونَ عَلَى النَّبِيِّ يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا صَلُّوا عَلَيْهِ وَسَلِّمُوا تَسْلِيمًا
رَبَّنَا آتِنَا فِي الدُّنْيَا حَسَنَةً وَفِي الآخِرَةِ حَسَنَةً وَقِنَا عَذَابَ النَّارِ
إِنَّ اللَّهَ يَأْمُرُ بِالْعَدْلِ وَالإحْسَانِ وَإِيتَاءِ ذِي الْقُرْبَى وَيَنْهَى عَنِ الْفَحْشَاءِ وَالْمُنْكَرِ وَالْبَغْيِ يَعِظُكُمْ لَعَلَّكُمْ تَذَكَّرُونَ
سُبْحَانَ رَبِّكَ رَبِّ الْعِزَّةِ عَمَّا يَصِفُونَ
وَسَلامٌ عَلَى الْمُرْسَلِينَ
وَالْحَمْدُ لِلَّهِ رَبِّ الْعَالَمِينَ
ว่าบิ้ลลาฮิเตาฟีก วั้ลฮิดายะห์
วัสสลาม
มูฮำหมัด สันประเสริฐ

อ้างอิง
Text Copied from DivineIslam's Qur'an Viewer software v2.9
อัลกุรอ่านฉบับภาษาไทย สมาคมนักเรียนเก่าอาหรับ ดำเนินการจัดพิมพ์โดยกระทรวงกิจการฮัจย์ แห่งราชอาณาจักรซาอุดิอาเบีย
http://www.alquran-thai.com/
อัลฮาดีซ : Hadith of The Day V 1.0 Freeware by FaridAnasri avater@muslimonline.com (www.beconvinced.com

วันพุธที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2553

จงแสวงหาค่ำคืนแห่งเกียรติยศแห่งรอมฎอน

มิมบัรออนไลน์
คุตบะห์วันศุกร์ 17 (16) รอมฎอน 1431 (วันศุกร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2553)
จงแสวงหาค่ำคืนแห่งเกียรติยศแห่งรอมฎอน

الْحَمْدُ لِلَّهِ رَبِّ الْعَالَمِينَ
إِنَّا أَنْزَلْنَاهُ فِي لَيْلَةِ الْقَدْرِ
وَمَا أَدْرَاكَ مَا لَيْلَةُ الْقَدْرِ
لَيْلَةُ الْقَدْرِ خَيْرٌ مِنْ أَلْفِ شَهْرٍ
تَنَزَّلُ الْمَلائِكَةُ وَالرُّوحُ فِيهَا بِإِذْنِ رَبِّهِمْ مِنْ كُلِّ أَمْرٍ
سَلامٌ هِيَ حَتَّى مَطْلَعِ الْفَجْرِ


ท่านพี่น้องผู้ศรัทธาทั้งหลาย
ขอตักเตือนตนเองและท่านทั้งหลาย จงอยู่ในแนวทางอันเที่ยงตรงจากพระองค์อัลอฮ์ (ซ.บ.) หาใช่แนวทางที่พระองค์ทรงกริ้วโกรธและแนวทางของบรรดาผู้ที่หลงผิด วันเวลาแห่งเดือนรอมฏอนได้ผ่านพ้นชีวิตของบรรดาผู้ศรัทธาต่อพระองค์ถึงวันนี้เราได้ก้าวล่วงมาจนเกือบจะถึงช่วงท้ายของเดือนรอมฏอนของปีนี้กันแล้ว เราทั้งหลายต่างก็ได้ตักตวงและแสวงหาคุณค่าแห่งเดือนรอมฏอนกันมาพอสมควรแล้ว ในช่วงท้ายของเดือนก็เช่นกัน มีคืนหนึ่งที่มีความประเสริฐกว่า 1000 เดือน นั่นคือ “ลัยละตุ้ลกอดด์” จากโองการอัลกุรอ่าน Al-Qur'an, 097.001-005 (Al-Qadr [Power, Fate]) ความว่า
097.001 إِنَّا أَنْزَلْنَاهُ فِي لَيْلَةِ الْقَدْرِ
097.001 We have indeed revealed this (Message) in the Night of Power:
1. แท้จริงเราได้ประทานอัลกุรอานลงมาในคืนอัลก็อดรฺ (คือเราได้ประทานอัลกุรอานที่เป็นมหัศจรรย์ลงมาในคืนแห่งการกำหนด และชี้ขาดกิจการต่าง ๆ และเป็นคืนอันมหาประเสริฐ ความหมายของการประทานอัลกุรอานลงมา คือการประทานลงมาจากอัลลูหฺอัลมะฮฺฟูซ สู่ชั้นฟ้าแห่งโลกดุนยา คือบัยตุลอิซซะฮฺ จากนั้นญิบรีล อะลัยฮิสสลามจะเป็นผู้นำมาให้แก่ท่านร่อซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม แล้วแต่เหตุการณ์เป็นระยะเวลาถึง 23 ปี)

097.002 وَمَا أَدْرَاكَ مَا لَيْلَةُ الْقَدْرِ
097.002 And what will explain to thee what the night of power is?
2. และอะไรเล่าจะทำให้เจ้ารู้ได้ว่าคืนอัลก็อดรฺนั้นคืออะไร (อัลคอซินกล่าวว่า ในคำถามนี้เป็นเชิงให้เกียรติและความสำคัญและทำให้อยากรู้ถึงข่าวคราวที่จะเกิดขึ้น กล่าวคืออะไรเล่าที่จะทำให้เจ้ารู้ได้ว่า คืนอัลก็อดรฺนั้นมีคุณค่า และความดีอย่างไร?)
097.003 لَيْلَةُ الْقَدْرِ خَيْرٌ مِنْ أَلْفِ شَهْرٍ
097.003 The Night of Power is better than a thousand months.
3. คืนอัลก็อดรฺนั้นดียิ่งกว่าหนึ่งพันเดือน
097.004 تَنَزَّلُ الْمَلائِكَةُ وَالرُّوحُ فِيهَا بِإِذْنِ رَبِّهِمْ مِنْ كُلِّ أَمْرٍ
097.004 Therein come down the angels and the Spirit by Allah's permission, on every errand:
4. บรรดามะลาอิกะฮฺและอัลรูฮฺ (ญิบริล) จะลงมาในคืนนั้น โดยอนุมัติแห่งพระเจ้าของพวกเขาเนื่องจากกิจการ-ทุกสิ่ง
097.005 سَلامٌ هِيَ حَتَّى مَطْلَعِ الْفَجْرِ
097.005 Peace!...This until the rise of morn!
5. คืนนั้นมีความศานติจนกระทั่งรุ่งอรุณ (แล้วพระองค์ทรงกล่าวถึง คุณค่าและความดีของคืนอัลก็อดรฺไว้ 3 ประการด้วยกันคือ1. คืนอัลก็อดรฺนั้นเป็นคืนที่มีเกียรติและความดีงามมากหลาย มีคุณค่าเท่ากับหนึ่งพันเดือน มุญาฮิดกล่าวว่า การทำความดี การถือศิลอด และการละหมาดกลางคืนในวันนั้นดียิ่งกว่าหนึ่งพันเดือน 2. ในคืนวันนั้นบรรดามะลาอิกะฮฺและญิบรีลจะลงมาบนหน้าแผ่นดินด้วยอนุมัติแห่งพระเจ้าของพวกเขาอันเนื่องจากกิจการทุกๆ สิ่งที่อัลลอฮฺทรงกำหนด และลิขิตในปีนั้นจนกระทั่งปีต่อไป 3. ในคืนวันนั้น ความศานติจะมีขึ้นตั้งแต่เริ่มของวันนั้นจนกระทั่งรุ่งอรุณ บรรดามะลาอิกะฮฺ จะขอความศานติให้แก่บรรดามุอฺมินให้พ้นจากความชั่วร้ายต่าง ๆ)

ดังนั้น ขอให้เราทั้งหลาย จงพิจารณาคุณค่าแห่งค่ำคืนดังกล่าว และมุ่งมั่นปรารถนาแสวงหา เพื่อสร้างเสริมกำไรจากเดือนรอมฎอนอันสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นค่ำคืนที่ 21,23,25,27 และ 29 อย่างไรก็ตาม ไม่ได้มีการระบุเจาะจงอย่างแน่ชัดว่าตรงกับวันใด ซึ่งหากเราประกอบอิบาดัรของเราอย่างสม่ำเสมอไม่บกพร่อง อินชาอัลลอฮ์ เราจะได้มีโอกาสสัมผัสกับค่ำคืนดังกล่าวนั้น
ท่านทั้งหลาย
จากที่ได้กล่าวถึงเป้าหมายแห่งการถือศีลอดของเรานั้น มิใช่เป็นเพียงการอดอาหาร อดคำพูดที่ไม่เหมาะสม กิริยา วาจา และใจ ต้องสะอาดไปพร้อมๆ กับการอดอาหารนั้นด้วย ซึ่งแนวปฏิบัติของการถือศีลอดจะตรงกันข้ามกับข้อเท็จจริงของการประคองอารมณ์โกรธ เพราะโดยส่วนใหญ่แล้ว ภาวะทางอารมณ์ของคนที่หิวโหยโดยที่ไม่ได้รับประทานอาหารมากกว่า 5-6 ชั่วโมงในแต่ละวัน ประสิทธิภาพในการควบคุมอารมณ์โดยเฉพาะอารมณโกรธนั้นจะด้อยกว่าปกติ ค่อนข้างมาก แต่สำหรับผู้ที่ถือศีลอดแล้ว การปฏิบัติตนของพวกเขานั้น ต้องยับยั้งอารมณ์โกรธหรือการแสดงออกอันน่ารังเกียจนั้นด้วย เพื่อให้เขาได้ตระหนักถึงเพื่อนบ้าน หรือคนที่ต่ำต้อยเมื่อพวกเขาเหล่านั้นไม่ได้รับการอมรับจากผู้อื่นหรือถูกเอารัดเอาเปรียบเดียดฉันท์ในการดำเนินชีวิต ดังนั้น ผลจากการถือศีลอดจึงมีผลต่อการที่เราจะเอื้ออาทรต่อคนที่ด้อยโอกาสหรือถูกเอารัดเอาเปรียบเหล่านี้ ให้สามารถดำรงตนได้ในสังคม ผลที่ได้จากการถือศีลอด จึงเป็นแรงผลักดันให้เราได้มองคนอื่นด้วยความเป็นมิตรและมีจิตใจที่ดีต่อกันหันมามองและแบ่งปันความสุขให้กันและกัน
ท่านทั้งหลาย
เป้าหมายแห่งการถือศีลอด คือการแสดงออกถึงความยำเกรงต่อพระองค์ และการแสดงออกด้วยความยำเกรงนี้หาใช่การโอ้อวดศักดา หรือมองข้ามหัวคนอื่นๆ แต่ความยำเกรงต่อพระองค์นั้น คือการแสดงออกถึงมิตรไมตรีต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน แบ่งปันความสุขร่วมกัน มีเป้าหมายเดียวกัน มีแนวทางปฏิบัติที่มุ่งแสวงหาสันติภาพและภราดรภาพร่วมกัน ขจัดความไม่ลงรอยกันให้เหลือน้อยที่สุด อาจกล่าวได้ว่า การถือศีลอดเป็นห้องเรียนของประชาชาติโดยรวมของมุสลิม ผู้ที่ผ่านการอบรมครั้งนี้ คือผู้ที่พระองค์ทรงโปรดปราณความดีงามให้กับเขาเหล่านั้น การที่เราผ่านการถือศีลอด ถือได้ว่าเราได้เอาชนะอารมณ์ใฝ่ต่ำของเราให้หมดลงไปได้ในระดับหนึ่ง ทั้งนี้ คงพิจารณาถึงคุณภาพของการถือศีลอดของเราว่า มีสิ่งใดที่ขาดตกบกพร่องไปไม่ การถือศีลอดของเรานั้น เรากระทำได้บรรลุตามเป้าหมายที่พระองค์ทรงกำหนดแล้วหรือไม่ ไม่มีใครตอบแทนเราได้ เพราะอามั้ลในเรื่องการถือศีลอดนั้น เฉพาะพระองค์เท่านั้น และตัวเราก็จะเป็นพยานปากเอก ณ พระองค์ในวันแห่งการตอบแทนและตัดสิน
ท่านทั้งหลาย
การถือศีลอด ทำให้เราลดตัวเองลง ทำให้เราลดความโอ้อวด ความเย่อหยิ่ง และแสดงออกถึงการแบ่งปัน การเอาใจเขามาใส่ใจเรามากขึ้น การที่เรารู้จักการแบ่งปัน ลดศักดิ์ศรีของตนเอง ไม่โอ้อวด นั่นคือ เราได้หัวใจแห่งการถือศีลอดแล้ว เพราะในทรัพย์สินอันเป็นริสกีของเรานั้น ส่วนหนึ่งมันยังไม่ใช่ของๆ เราโดยสมบูรณ์ จนกว่าเราจะรู้จักที่จะแบ่งปันให้กับคนที่มีสิทธิ์รับซ่ากาต และในซ่ากาตที่เรามุ่งถึงความยำเกรงต่อพระองค์นั้น มันคือกรรมสิทธิ์ของเรา ณ พระองค์ อาจกล่าวได้ว่า อามั้ลของมัคโล้คที่ดีที่สุด คืออามั้ลที่เขาเหล่านั้นมุ่งมั้ลกระทำด้วยความยำเกรงต่อพระองค์ เราเรียนรู้และพร้อมที่ปรับปรุงตนเองเพื่อให้การถือศีลอดของเราสมบูรณ์ในรอมฎอน ในช่วงนอกรอมาฎอนเราก็ต้องปฏิบัติตนให้ได้ใกล้เคียงกับช่วงชีวิตในเดือนรอมฎอนด้วยเช่นกัน ดังนั้น ขอให้เราจงพิจารณาตนเองด้วย ว่าเราได้ปรับปรุงตนเองได้แล้วหรือยัง
สิ่งที่จะฝากไว้ในช่วงท้ายของคุตบะห์นี้คือ ขอให้การมุ่งมั่นประกอบอิบาดัรของเรากระทำเพื่อพระองค์อย่างแท้จริง และขอให้เรามุ่งมั่นตักตวงผลและคุณค่าแห่งอามั้ลในเดือนนี้ให้ได้อย่างครบถ้วน ให้สมกับการรอคอยอย่างใจจรดจ่อในเป้าหมายและการกระทำทั้งหลายในเดือนนี้ อย่าปล่อยปละละเลยหลงลืม หรือไม่สนใจในเรื่องราวและความสำคัญแห่งอิบาดัรนี้ ทั้งนี้เพื่อที่เราจะได้เกิดความยำเกรงต่อพระองค์ เรารู้ถึงคุณค่าและประโยชน์ของการแบ่งปัน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการใช้ชีวิตในช่วงเวลาที่มีคุณค่ายิ่งแห่งเดือนรอมฏอน

إِنَّ اللَّهَ وَمَلائِكَتَهُ يُصَلُّونَ عَلَى النَّبِيِّ يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا صَلُّوا عَلَيْهِ وَسَلِّمُوا تَسْلِيمًا
رَبَّنَا آتِنَا فِي الدُّنْيَا حَسَنَةً وَفِي الآخِرَةِ حَسَنَةً وَقِنَا عَذَابَ النَّارِ
إِنَّ اللَّهَ يَأْمُرُ بِالْعَدْلِ وَالإحْسَانِ وَإِيتَاءِ ذِي الْقُرْبَى وَيَنْهَى عَنِ الْفَحْشَاءِ وَالْمُنْكَرِ وَالْبَغْيِ يَعِظُكُمْ لَعَلَّكُمْ تَذَكَّرُونَ
سُبْحَانَ رَبِّكَ رَبِّ الْعِزَّةِ عَمَّا يَصِفُونَ
وَسَلامٌ عَلَى الْمُرْسَلِينَ
وَالْحَمْدُ لِلَّهِ رَبِّ الْعَالَمِينَ
ว่าบิ้ลลาฮิเตาฟีก วั้ลฮิดายะห์
วัสสลาม
มูฮำหมัด สันประเสริฐ

อ้างอิง
Text Copied from DivineIslam's Qur'an Viewer software v2.9
อัลกุรอ่านฉบับภาษาไทย สมาคมนักเรียนเก่าอาหรับ ดำเนินการจัดพิมพ์โดยกระทรวงกิจการฮัจย์ แห่งราชอาณาจักรซาอุดิอาเบีย
http://www.alquran-thai.com/
อัลฮาดีซ : Hadith of The Day V 1.0 Freeware by FaridAnasri avater@muslimonline.com (www.beconvinced.com

วันพฤหัสบดีที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2553

คุณค่าแห่งรอมฎอน

มิมบัรออนไลน์
คุตบะห์วันศุกร์ 10 (9) รอมฎอน 1431 (วันศุกร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2553)
คุณค่าแห่งรอมฎอน

الْحَمْدُ لِلَّهِ رَبِّ الْعَالَمِينَ
يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا كُتِبَ عَلَيْكُمُ الصِّيَامُ كَمَا كُتِبَ عَلَى الَّذِينَ مِنْ قَبْلِكُمْ لَعَلَّكُمْ تَتَّقُونَ
يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا كُونُوا قَوَّامِينَ لِلَّهِ شُهَدَاءَ بِالْقِسْطِ وَلا يَجْرِمَنَّكُمْ شَنَآنُ قَوْمٍ عَلَى أَلا تَعْدِلُوا اعْدِلُوا هُوَ أَقْرَبُ لِلتَّقْوَى وَاتَّقُوا اللَّهَ إِنَّ اللَّهَ خَبِيرٌ بِمَا تَعْمَلُونَ
قُلْ أَمَرَ رَبِّي بِالْقِسْطِ وَأَقِيمُوا وُجُوهَكُمْ عِنْدَ كُلِّ مَسْجِدٍ وَادْعُوهُ مُخْلِصِينَ لَهُ الدِّينَ كَمَا بَدَأَكُمْ تَعُودُونَ
لَهُ مُعَقِّبَاتٌ مِنْ بَيْنِ يَدَيْهِ وَمِنْ خَلْفِهِ يَحْفَظُونَهُ مِنْ أَمْرِ اللَّهِ إِنَّ اللَّهَ لا يُغَيِّرُ مَا بِقَوْمٍ حَتَّى يُغَيِّرُوا مَا بِأَنْفُسِهِمْ وَإِذَا أَرَادَ اللَّهُ بِقَوْمٍ سُوءًا فَلا مَرَدَّ لَهُ وَمَا لَهُمْ مِنْ دُونِهِ مِنْ وَالٍ

ท่านพี่น้องผู้ศรัทธาทั้งหลาย
ขณะนี้เราได้ดำเนินชีวิตในต้นช่วงเดือนรอมฎอนมาพอสมควรแล้ว เราได้เปลี่ยนแปลงกิจกรรมการดำเนินชีวิตของเราในช่วงนี้ไปมากน้อยเพียงใด แม้ว่าในการถือศีลอดมีข้อกำหนดมากมายที่เกี่ยวกับการกินการดื่มและอื่นๆ นั่นคือการพักหรือการหยุดพัก เพื่อที่จะมีความพร้อมในการทำงานที่หนักและต้องการควาสำเร็จต่อไปในอีก 11 เดือนข้างหน้านี้ การเปลี่ยนแปลงตนเองของเราจากการถือศีลอดเพื่อให้บรรลุถึงเป้าหมายสูงสุดตามที่พระองค์ได้กล่าวไว้ในโองการ อัลบ้ากอเราะห์ (183) เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงข้อกำหนดหลักแห่งเป้าหมายของการทำอิบาดัรเพื่อพระองค์ ดังนั้นจึงขอเตือนตนเองและท่านทั้งหลาย จงยำเกรงต่อพระองค์อัลลอฮ์ (ซ.บ.) ให้มากๆ แท้จริงพระองค์นั้น ทรงกรุณาปราณีต่อทุกๆ ท่าน พระองค์ทรงให้อภัยต่อมนุษย์ หากมนุษย์นั้น มีการกระทำหรือละเว้นการกระทำ เพื่อเพื่อพระองค์ ตามที่ศาสนทูตได้ดำเนินภารกิจตามที่พระองค์ทรงกำหนด

ท่านทั้งหลาย
อิบาดัรมทุกอิบาดัรแห่งอัลอิสลาม มีจุดมุ่งหมายเดียวนั่นคือเพื่อความยำเกรงต่อพระองค์ ดังโองการอัลมาอิดะห์ Al-Qur'an, 005.008 (Al-Maeda [The Table, The Table Spread]) ความว่า

005.008 يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا كُونُوا قَوَّامِينَ لِلَّهِ شُهَدَاءَ بِالْقِسْطِ وَلا يَجْرِمَنَّكُمْ شَنَآنُ قَوْمٍ عَلَى أَلا تَعْدِلُوا اعْدِلُوا هُوَ أَقْرَبُ لِلتَّقْوَى وَاتَّقُوا اللَّهَ إِنَّ اللَّهَ خَبِيرٌ بِمَا تَعْمَلُونَ
005.008 O ye who believe! stand out firmly for Allah, as witnesses to fair dealing, and let not the hatred of others to you make you swerve to wrong and depart from justice. Be just: that is next to piety: and fear Allah. For Allah is well-acquainted with all that ye do.
8. ผู้ศรัทธาทั้งหลาย ! จงเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยดีเพื่ออัลลอฮ์ เป็นพยานด้วยความเที่ยงธรรมและจงอย่าให้การเกลียดชังพวกหนึ่งพวกใด ทำให้พวกเจ้าไม่ยุติธรรม จงยุติธรรมเถิด มันเป็นสิ่งที่ใกล้กับความยำเกรงยิ่งกว่า และพึงยำเกรง อัลลอฮ์เถิด แท้จริงอัลลอฮ์นั้น เป็นผู้ทรงรอบรู้อย่างละเอียดในสิ่งที่พวกเจ้ากระทำกัน
ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ (sign) ของเป้าหมายของการกระทำที่มุ่งเน้นเพื่อพระองค์ การประกอบศาสนกิจของมุสลิม จึงอยู่บนเป้าหมายเดียวเท่านั้น หาใช่เป้าหมายอื่นใดไม่ เพราะเป้าหมายอื่นๆ เป็นเป้าหมายแห่งมัคโลคหรือสิ่งที่ถูกสร้าง แต่สำหรับพระองค์แล้ว ความยำเกรงต่อพระองค์ เป็นโฟกัสแห่งอามั้ลอิบาดัรของมุสลิม การอดอาหาร การบริจาคทาน (ซาก๊าต) มีวัตถุประสงค์ ที่พระองค์จะทรงทดสอบพวกเราโดยที่เรายังมีชีวิต เรายังมีความหวงแหนเพื่อตนเอง เรามีจิตมุ่งตรงเพื่อความสบายใจและความสุขของเรา จนเราหลงลืมไปว่า สักวันหนึ่งนั้น เราต้องกลับไปหาพระองค์ และเราต้องแสดงออกซึ่งการกระทำของเราทุกๆ เรื่อง จะมีพยานมายืนยันต่อพระองค์ถึงพฤติกรรมของเราขณะที่เรายังมีชีวิตเดียว ดังนั้น หากเรามีกิจกรรมที่มุ่งเน้นเพื่อตนเอง เพื่อให้คนอื่นๆ ได้ยอมรับในความสามารถหรือกำลังทรัพย์ของเรามากเกินไปกว่าการที่เราบริจาคเพียงมุ่งแสดงออกให้คนอื่นๆ มาสรรเสริญเยินยอ มากกว่าความยำเกรงต่อพระองค์ ดังนั้น จึงขอเน้นย้ำถึงการดำเนินชีวิตของเรา การประกอบศาสนกิจของเรา จงมีทิศทาง (Direction) ที่ชัดเจน หาใช่เป็นการแสดงออกถึงความโอหัง ความโอ้อวด มากไปกว่าการแสดงออกถึงความยำเกรงต่อพระองค์ ซึ่งในช่วงเดือนนี้ ตลอดทั้งเดือน เป็นช่วงที่เราสนุกกับการทำอิบาดัร ซึ่งในรุ่ก่นอิสลามทั้ง 5 ประการนั้น เราต่างมุ่งเร่งกระทำ ทั้งที่เป็นซุนนะห์ สุนัต และฟัรดู กันอย่างมาก ซึ่งแต่ละคนมีจุดประสงค์ที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับว่าเรากำหนดหางเสือ (ความตั้งใจ) ไว้เช่นไร เป้าหมายที่แท้จริงจะมุ่งสู่สิ่งนั้น และหากเป้าหมายของเรามิได้มุ่งตรงต่อพระองค์ นั่นคือความสูญเปล่าในการกระทำของเรา ขอให้พิจารณาโองการจากซูเราะห์ อัลอะห์รอฟ Al-Qur'an, 007.029 (Al-Araf [The Heights]) ความว่า
007.029 قُلْ أَمَرَ رَبِّي بِالْقِسْطِ وَأَقِيمُوا وُجُوهَكُمْ عِنْدَ كُلِّ مَسْجِدٍ وَادْعُوهُ مُخْلِصِينَ لَهُ الدِّينَ كَمَا بَدَأَكُمْ تَعُودُونَ
007.029 Say: "My Lord hath commanded justice; and that ye set your whole selves (to Him) at every time and place of prayer, and call upon Him, making your devotion sincere as in His sight: such as He created you in the beginning, so shall ye return."
29. จงกล่าวเถิด(มุฮัมมัด) ว่า พระเจ้าของฉันได้ทรงสั่งให้มีความยุติธรรม และพวกเจ้าจงผินให้ตรงซึ่งใบหน้า (หมายถึงจิตใจด้วย ในทำนองเดียวกับคำว่ามุ่งหน้าไป หมายถึงจิตใจมุ่งด้วย ดังนั้นคำว่า “จงให้เที่ยงตรงซึ่งใบหน้า” นั้นจึงหมายถึงให้ทั้งใบหน้าและจิตใจมุ่งสู่อัลลอฮ์โดยเที่ยงตรงขณะประกอบอิบาดะฮ์ในทุกมัสยิด) ของพวกเจ้า ณ ทุก ๆมัสยิด และจงวินวอนต่อพระองค์ในฐานะผู้มอบอิบาดะฮ์ทั้งหลายแด่พระองค์โดยบริสุทธิ์ใจ เช่นเดียวกับที่พระองค์ได้ทรงบังเกิดพวกเจ้าแต่แรกนั้น พวกเจ้าก็จะกลับไป (คือกลับไปหาอัลลอฮ์ในวันกิยามะฮ์)
ท่านทั้งหลาย
ทุกๆ การกระทำของเราจะถูกบันทึกไว้เพื่อเป็นการตรวจสอบสำหรับพระองค์ ซึ่งแต่ละคนจะถูกบันทึกพฤติกรรมทั้งในที่ลับที่ที่เปิดเผย ทั้งกิริยา วาจา และจิตใจ เพื่อเป็นการชี้แจงต่อพระองค์ในวันแห่งการตัดสิน ขอให้พิจารณาโองการจากซูเราะห์ อั้ลอะห์รอฟ Al-Qur'an, 013.011 (Ar-Rad [The Thunder])ความว่า
013.011 لَهُ مُعَقِّبَاتٌ مِنْ بَيْنِ يَدَيْهِ وَمِنْ خَلْفِهِ يَحْفَظُونَهُ مِنْ أَمْرِ اللَّهِ إِنَّ اللَّهَ لا يُغَيِّرُ مَا بِقَوْمٍ حَتَّى يُغَيِّرُوا مَا بِأَنْفُسِهِمْ وَإِذَا أَرَادَ اللَّهُ بِقَوْمٍ سُوءًا فَلا مَرَدَّ لَهُ وَمَا لَهُمْ مِنْ دُونِهِ مِنْ وَالٍ
013.011 For each (such person) there are (angels) in succession, before and behind him: They guard him by command of Allah. Verily never will Allah change the condition of a people until they change it (their state of goodness) themselves (by committing sins and being ungrateful and disobedient to Allah). But when (once) Allah willeth a people's punishment, there can be no turning it back, nor will they find, besides Him, any to protect.
11. สำหรับเขามีมะลาอิกะฮฺผู้เฝ้าติดตามทั้งข้างหน้าและข้างหลังเขา (สำหรับมนุษย์นั้นมีมะลาอิกะฮฺที่ได้รับมอบหมายคอยเฝ้าติดตาม โดยเปลี่ยนเวรกันเหมือนยามเฝ้าสถานที่ราชการ) รักษาเขาตามพระบัญชาของอัลลอฮฺ แท้จริงอัลลอฮฺจะมิทรงเปลี่ยนแปลงสภาพของชนกลุ่มใด จนกว่าพวกเขาจะเปลี่ยนแปลงสภาพของพวกเขาเอง(อัลลอฮฺจะมิทรงให้ความโปรดปรานของพระองค์สูญสิ้นไปจากกลุ่มชนใด เว้นแต่กลุ่มชนนั้นจะทรยศต่อความโปรดปรานของพระองค์ ด้วยการเอาของแปลกปลอมของเลวเข้ามาแทนที่) และเมื่ออัลลอฮฺทรงปรารถนาความทุกข์แก่ชนกลุ่มใดก็จะไม่มีผู้ตอบโต้พระองค์(คือถ้าพระองค์จะนำความหายนะหรือการลงโทษของพระองค์มาสู่กลุ่มชนใด ก็ไม่มีผู้ใดสามารถจะตอบโต้หรือป้องกันพระประสงค์ของพระองค์ได้) และสำหรับพวกเขาไม่มีผู้ช่วยเหลือนอกจากพระองค์
ดังนั้น จึงขอเรียนย้ำต่อตนเองและท่านทั้งหลาย จงตรวจสอบตนเอง การกระทำของตนเอง เจตนาในจิตใจในการกระทำอิบดัรของเรา ในการปฏิบัติตนในเดือนรอมฎอน ซึ่งเรามุ่งมั่นประกอบอิบาดัร ทั้งจากกำลังกาย ใจ วาจา และกำลังทรัพย์ เพื่อปลดแอกความหวงแหนให้เกิดการแบ่งปันต่อเพื่อนมนุษย์ มากกว่าการมุ่งเก็บเกี่ยวไว้เพื่อความสุขของตนเอง เราได้ใช้เวลาของเราในแต่ละวันในเดือนนี้ เพื่อแสวงหาความโปรดปราณต่อพระองค์ เราใช้เวลาในแต่ละวัน ให้หมดไปเพื่อการประกอบศาสนิกที่มีคุณค่าและความสำคัญ มากกว่าเดือนอื่นๆ สะท้อนให้เห็นว่า เราเจตนาแสวงหาและให้ความสำคัญต่อคุณค่าแห่งเดือนรอมฎอน ซึ่งสำหรับเราแล้วรอมฎอนนี้อาจเป็นช่วงเวลาครั้งสุดท้ายแห่งชีวิตของเรา เราจึงมุ่งเน้นปฏิบัติศาสนกิจและอิบาดัรที่ดีโดยมีจุดมุ่งตรงต่อพระองค์ ให้มากที่สุด ให้เกิดความยำเกรงต่อพระองค์ หาใช่เรากระทำเพื่อเป็นการโอ้อวดหรือประกาศศักดาความโอ้อวดเพื่อให้คนอื่นๆ ยำเกรงเรา เพราะนั่นคือภารกิจของชัยตอน เป็นภารกิจที่ทำให้เราทำอิบาดัรไปโดยสูญเปล่า เสียทั้งกำลังกายและกำลังทรัพย์ และผลลัพธ์ ณ พระองค์แล้ว เป็นความสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ แล้วเราจะไม่ได้รับการตอบแทนจากพระองค์ เลยแม้แต่น้อย ขอให้เราระมัดระมังในเรื่องนี้ให้มากที่สุด สุดท้ายขอเตือนตนเองและท่านทั้งหลายจงพิจารณาอัลฮาดีซ ต่อไปนี้
The Messenger of Allah (peace be upon him) said: One who is killed under the banner of a man who is blind (to his just cause), who raises the slogan of family or supports his own tribe, dies the death of one belonging to the days of Jahiliyyah.
การกระทำใดๆ ของเรา ที่จะปรากฏเป็นหลักฐานในวันแห่งการตัดสินนั้น เราอย่าได้ฆ่าตนเองด้วยการกระทำที่ไม่ได้มีจุดมุ่งหมายที่มุ่งตรงต่อพระองค์ ซึ่งในเดือนอันสำคัญนี้ก็เช่นกัน นแห่งการตัดสินนั้น เราอย่าได้ฆ่าตนเองด้วยการกระทำที่ไม่ได้มีจุดมุ่งหมายที่มุ่งตรงต่อพระองค์ ซึ่งในเดือนอันสำคัญนี้ก็เช่นกัน เรามุ่งมั่นกระทำอิบาดัรรในเรื่องใดๆ ขอให้เรากระทำด้วยความบริสุทธิ์ใจต่อพระองค์อย่างเป็นผู้ยำเกรงต่อพระองค์ เราแสวงหาคุในเรื่องใดๆ ขอให้เรากระทำด้วยความบริสุทธิ์ใจต่อพระองค์อย่างเป็นผู้ยำเกรงต่อพระองค์ เราแสวงหาคุณค่าแห่งเดือนอันยิ่งใหญ่นี้ ก็ขอให้ได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย ไม่บกพร่อง และแสวงหาความยำเกรงต่อพระองค์ให้มากๆ คุณค่าแห่งเดือนรอมฎอนที่ดีที่สุดนั้นจึงอยู่ที่ตัวเรา ขอให้เราอดทน หัวเราะให้น้อยลง ร้องให้ให้มากขึ้น หวงแหนให้น้อยลง แบ่งปันให้มากขึ้น นอนหลับให้น้อยลง ทำอิบาดัรให้มากขึ้น แล้วเราจะมีความสุขและมองเห็นคุณค่าแห่งเดือนอันสำคัญนี้
إِنَّ اللَّهَ وَمَلائِكَتَهُ يُصَلُّونَ عَلَى النَّبِيِّ يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا صَلُّوا عَلَيْهِ وَسَلِّمُوا تَسْلِيمًا
رَبَّنَا آتِنَا فِي الدُّنْيَا حَسَنَةً وَفِي الآخِرَةِ حَسَنَةً وَقِنَا عَذَابَ النَّارِ
إِنَّ اللَّهَ يَأْمُرُ بِالْعَدْلِ وَالإحْسَانِ وَإِيتَاءِ ذِي الْقُرْبَى وَيَنْهَى عَنِ الْفَحْشَاءِ وَالْمُنْكَرِ وَالْبَغْيِ يَعِظُكُمْ لَعَلَّكُمْ تَذَكَّرُونَ
سُبْحَانَ رَبِّكَ رَبِّ الْعِزَّةِ عَمَّا يَصِفُونَ
وَسَلامٌ عَلَى الْمُرْسَلِينَ
وَالْحَمْدُ لِلَّهِ رَبِّ الْعَالَمِينَ
ว่าบิ้ลลาฮิเตาฟีก วั้ลฮิดายะห์
วัสสลาม
มูฮำหมัด สันประเสริฐ

อ้างอิง
Text Copied from DivineIslam's Qur'an Viewer software v2.9
อัลกุรอ่านฉบับภาษาไทย สมาคมนักเรียนเก่าอาหรับ ดำเนินการจัดพิมพ์โดยกระทรวงกิจการฮัจย์ แห่งราชอาณาจักรซาอุดิอาเบีย
http://www.alquran-thai.com/
อัลฮาดีซ : Hadith of The Day V 1.0 Freeware by FaridAnasri avater@muslimonline.com (www.beconvinced.com

วันอังคารที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ร่อมาดอลอัลมุบาร็อก

มิมบัรออนไลน์
คุตบะห์วันศุกร์ 3 (2) ร่อมาดอล 1431 (วันศุกร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2553)
ร่อมาดอลอัลมุบาร็อก

الْحَمْدُ لِلَّهِ رَبِّ الْعَالَمِينَ
يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا كُتِبَ عَلَيْكُمُ الصِّيَامُ كَمَا كُتِبَ عَلَى الَّذِينَ مِنْ قَبْلِكُمْ لَعَلَّكُمْ تَتَّقُونَ
أَيَّامًا مَعْدُودَاتٍ فَمَنْ كَانَ مِنْكُمْ مَرِيضًا أَوْ عَلَى سَفَرٍ فَعِدَّةٌ مِنْ أَيَّامٍ أُخَرَ وَعَلَى الَّذِينَ يُطِيقُونَهُ فِدْيَةٌ طَعَامُ مِسْكِينٍ فَمَنْ تَطَوَّعَ خَيْرًا فَهُوَ خَيْرٌ لَهُ وَأَنْ تَصُومُوا خَيْرٌ لَكُمْ إِنْ كُنْتُمْ تَعْلَمُونَ
شَهْرُ رَمَضَانَ الَّذِي أُنْزِلَ فِيهِ الْقُرْآنُ هُدًى لِلنَّاسِ وَبَيِّنَاتٍ مِنَ الْهُدَى وَالْفُرْقَانِ فَمَنْ شَهِدَ مِنْكُمُ الشَّهْرَ فَلْيَصُمْهُ وَمَنْ كَانَ مَرِيضًا أَوْ عَلَى سَفَرٍ فَعِدَّةٌ مِنْ أَيَّامٍ أُخَرَ يُرِيدُ اللَّهُ بِكُمُ الْيُسْرَ وَلا يُرِيدُ بِكُمُ الْعُسْرَ وَلِتُكْمِلُوا الْعِدَّةَ وَلِتُكَبِّرُوا اللَّهَ عَلَى مَا هَدَاكُمْ وَلَعَلَّكُمْ تَشْكُرُونَ
وَإِذَا سَأَلَكَ عِبَادِي عَنِّي فَإِنِّي قَرِيبٌ أُجِيبُ دَعْوَةَ الدَّاعِ إِذَا دَعَانِ فَلْيَسْتَجِيبُوا لِي وَلْيُؤْمِنُوا بِي لَعَلَّهُمْ يَرْشُدُونَ
أُحِلَّ لَكُمْ لَيْلَةَ الصِّيَامِ الرَّفَثُ إِلَى نِسَائِكُمْ هُنَّ لِبَاسٌ لَكُمْ وَأَنْتُمْ لِبَاسٌ لَهُنَّ عَلِمَ اللَّهُ أَنَّكُمْ كُنْتُمْ تَخْتَانُونَ أَنْفُسَكُمْ فَتَابَ عَلَيْكُمْ وَعَفَا عَنْكُمْ فَالآنَ بَاشِرُوهُنَّ وَابْتَغُوا مَا كَتَبَ اللَّهُ لَكُمْ وَكُلُوا وَاشْرَبُوا حَتَّى يَتَبَيَّنَ لَكُمُ الْخَيْطُ الأبْيَضُ مِنَ الْخَيْطِ الأسْوَدِ مِنَ الْفَجْرِ ثُمَّ أَتِمُّوا الصِّيَامَ إِلَى اللَّيْلِ وَلا تُبَاشِرُوهُنَّ وَأَنْتُمْ عَاكِفُونَ فِي الْمَسَاجِدِ تِلْكَ حُدُودُ اللَّهِ فَلا تَقْرَبُوهَا كَذَلِكَ يُبَيِّنُ اللَّهُ آيَاتِهِ لِلنَّاسِ لَعَلَّهُمْ يَتَّقُونَ
ท่านพี่น้องผู้ศรัทธาทั้งหลาย
ขอเตือนตนเองและท่านทั้งหลายจงยำเกรงต่อพระองค์อัลลอฮ์ (ซ.บ.) ให้มาก โดยเฉพาะการประกอบอิบาดัรของเรานั้น จุดมุ่งหมายนั้นเพื่อตอบสนองและแสดงออกถึงความยำเกรงต่อพระองค์ หาใช่เป็นการแสดงออกแต่เพียงให้คนอื่นๆ ได้มองและชื่นชมเท่านั้น หากแต่การกระทำของเรานั้น มอบหมายแด่พระองค์ด้วยความยำเกรงต่อพระองค์ มีจิตยึดมั่นและตั้งมั่นเฉพาะพระองค์เท่านั้น หาใช่จุดประสงค์อื่นใดไม่ ขอให้เราทั้งหลายจงตระหนักและมองถึงความสำคัญของการทำอิบาดัรของเราให้มาก มิฉะนั้นแล้ว การทำงานของเราจะสูญเปล่าไร้ผล ไม่เกิดประโยชน์ และตกอยู่ในกลุ่มของผู้ท้าทายต่อพระองค์ แบะนั่นคือผลเสียที่เราไม่ได้รับภาคผลแห่งการกระทำของเรา ดังนั้น ในวาระแห่งเดือนร่อมาดอลที่มาถึงเรา เราจงตระหนักและมองภาคผลพร้อมๆ ไปกับการปฏิบัติที่แสดงออกถึงความยำเกรงต่อพระองค์ให้มากที่สุด นั่นคือ ภาคผลที่เราต่างมุ่งหวังจากการถือศีลอดอันเป็นการงานที่พระองค์ทรงรัก และทรงให้การตอบแทนด้วยพระองค์
ท่านทั้งหลาย
เดือนร่อมาดอล เดือนแห่งการถือศีลอด เดือนที่ประชาชาติมุสลิม ต่างมุ่งมั่นประกอบศาสนกิจ อิบาดัรต่างๆ โดยมีจุดมุ่งหมายเดียวกัน คือ เพื่อความยำเกรงต่อพระองค์ ดังโองการจากซูเราะห์อัลบ้าก่อเราะห์ Al-Qur'an, 002.183-187 (Al-Baqara [The Cow]) ความว่า
002.183 يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا كُتِبَ عَلَيْكُمُ الصِّيَامُ كَمَا كُتِبَ عَلَى الَّذِينَ مِنْ قَبْلِكُمْ لَعَلَّكُمْ تَتَّقُونَ
002.183 O ye who believe! Fasting is prescribed to you as it was prescribed to those before you, that ye may (learn) self-restraint,-
183. บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย! การถือศีลอดนั้นได้ถูกำหนดแก่พวกเจ้าแล้ว เช่นเดียวกับที่ได้ถูกกำหนดแก่บรรดาผู้ก่อนหน้าพวกเจ้ามาแล้วเพื่อว่าพวกเจ้าจะได้ยำเกรง
002.184 أَيَّامًا مَعْدُودَاتٍ فَمَنْ كَانَ مِنْكُمْ مَرِيضًا أَوْ عَلَى سَفَرٍ فَعِدَّةٌ مِنْ أَيَّامٍ أُخَرَ وَعَلَى الَّذِينَ يُطِيقُونَهُ فِدْيَةٌ طَعَامُ مِسْكِينٍ فَمَنْ تَطَوَّعَ خَيْرًا فَهُوَ خَيْرٌ لَهُ وَأَنْ تَصُومُوا خَيْرٌ لَكُمْ إِنْ كُنْتُمْ تَعْلَمُونَ
002.184 (Fasting) for a fixed number of days; but if any of you is ill, or on a journey, the prescribed number (Should be made up) from days later. For those who can do it (With hardship), is a ransom, the feeding of one that is indigent. But he that will give more, of his own free will,- it is better for him. And it is better for you that ye fast, if ye only knew.
184. (คือถูกกำหนดให้ถือ) ในบรรดาวันที่ถูกนับไว้ (หมายถึงบรรดาวันแห่งเดือนรอมฏอน) แล้วผู้ใดในพวกเจ้าป่วยหรืออยู่ในการเดินทางก็ให้ถือใช้ในวันอื่น และหน้าที่ของบรรดาผู้ที่ถือศีลอดด้วยความลำบากยิ่ง (โดยที่เขาได้งดเว้นการถือ) นั้น คือการชดเชยอันได้แก่การให้อาหาร(มื้อหนึ่ง)แก่คนมิสกีนคนหนึ่ง (ต่อการงดเว้นจาการถือหนึ่งวัน) แต่ผู้กระทำความดีโดยสมัครใจ(คือให้อาหารแก่คนมิสกีนมากกว่าหนึ่งคนต่อการงดเว้นจากการถือหนึ่งวัน) มันก็เป็นความดีแก่เขา และการที่พวกเจ้าจะถือศีลอดนั้น ย่อมเป็นสิ่งที่ดียิ่งกว่าพวกเจ้า หากพวกเจ้ารู้ (ผู้ที่ถือศีลอดด้วยความลำบากยิ่ง ซึ่งได้รับการผ่อนผันให้งดถือได้ โดยที่เขาจะต้องให้อาหารแก่คนยากจนเป็นการชดเชยกันได้แก่ผู้สูงอายุที่มีกำลังน้อย คนที่มีโรคประจำตัว ซึ่งไม่หวังจะหาย และกรรมกรทีทำงานหนักตลอดเวลา ตลอดจนหญิงที่มีครรภ์ และหญิงที่กำลังให้นมแก่บุตร ทั้งนี้หากว่าทั้งสองนั้นเกรงว่าจะเป็นอันตรายแก่บุตร อนึ่ง ความเข้าใจตามข้อความที่ได้ถอดออกมาจากอายะฮ์นี้นั้น เป็นทรรศนะของท่านอิบนิอับบาส ซึ่งนักปราชญ์ทั้งหลายเห็นชอบด้วย อย่างไรก็ดี มีนักปราชญ์รุ่นหลังนี้คนหนึ่งชื่อ “อับดุล-มุตะอาล อัศเศาะอีดีย์” เป็นชาวอียิปต์ ได้เขียนไว้ในหนังสือชื่อ ว่า ข้อความที่ว่านั้น หมายถึงผู้ที่สามารถจะถือศีลอดได้ แต่ไม่ถือ ซึ่งบุคคลดังกล่าวนี้นอกจากจะต้องถือศีลอดใช้แล้ว เขาจะต้องให้อาหารแก่คนมิสกีนอีกด้วย ทั้งนี้เป็นชดเชย ท่านได้ให้เหตุผลว่า “ผู้ที่เดินทางก็ดี หรือผู้ป่วยก็ดี โดยที่เขางดเว้นการถือศีลอดนั้น เขายังจำเป็นต้องถือใช้ในวันอื่นด้วย แล้วคนที่มิได้เดินทาง และมิได้ป่วย แต่ไม่ยอมถือศีลอดนั้น แน่นอนเขาย่อมจะต้องถือใช้ยิ่งกว่า คนเดินทาง และคนป่วย ด้วยเหตุนี้ อัล-กรุอานจึงมิได้ระบุว่า ผู้ที่สามารถจะถือศีลอดได้ แต่เขาไม่ถือนั้นจำเป็นต้องถือศีลอดใช้ ทั้งนี้เพราะถือว่าย่อมเป็นที่ทราบกันดีแล้วส่วนคนชรา และคนป่วยรื้อรังที่ไม่มีหวังหายนั้น ท่านมีทรรศนะว่า ไม่ต้องมีการฟิตยะฮ์ใด ๆ คือไม่ต้องให้อาหารแก่คนมิสกีนเป็นการชดเชยแต่อย่างใด เพราะคนไม่สามารถนั้น ย่อมไม่อยู่ในข้อบังคับแห่งบัญญัติศาสนา)
002.185 شَهْرُ رَمَضَانَ الَّذِي أُنْزِلَ فِيهِ الْقُرْآنُ هُدًى لِلنَّاسِ وَبَيِّنَاتٍ مِنَ الْهُدَى وَالْفُرْقَانِ فَمَنْ شَهِدَ مِنْكُمُ الشَّهْرَ فَلْيَصُمْهُ وَمَنْ كَانَ مَرِيضًا أَوْ عَلَى سَفَرٍ فَعِدَّةٌ مِنْ أَيَّامٍ أُخَرَ يُرِيدُ اللَّهُ بِكُمُ الْيُسْرَ وَلا يُرِيدُ بِكُمُ الْعُسْرَ وَلِتُكْمِلُوا الْعِدَّةَ وَلِتُكَبِّرُوا اللَّهَ عَلَى مَا هَدَاكُمْ وَلَعَلَّكُمْ تَشْكُرُونَ
002.185 Ramadhan is the (month) in which was sent down the Qur'an, as a guide to mankind, also clear (Signs) for guidance and judgment (Between right and wrong). So every one of you who is present (at his home) during that month should spend it in fasting, but if any one is ill, or on a journey, the prescribed period (Should be made up) by days later. Allah intends every facility for you; He does not want to put to difficulties. (He wants you) to complete the prescribed period, and to glorify Him in that He has guided you; and perchance ye shall be grateful.
185. เดือนรอมฏอนนั้น เป็นเดือนที่อัลกรุ-อานได้ถูกประทานลงมาในฐานะเป็นข้อแนะนำสำหรับมนุษย์ และเป็นหลักฐานอันชัดเจนเกี่ยวกับข้อแนะนำนั้น(เกี่ยวกับข้อแนะนำให้มนุษย์มีหลักการศรัทธาอันถูกต้องและข้อปฏิบัติในการดำรงค์ชีวิตของพวกเขา) และเกี่ยวกับสิ่งที่จำแนกระหว่างความจริงกับความเท็จ (เกี่ยวกับหลักการที่จำแนกให้มนุษย์ได้ทราบว่า อะไรคือความเท็จ และอะไรคือความจริง) ดังนั้นผู้ใดในหมูพวกเจ้าเข้าอยู่ในเดือนนั้นแล้ว ก็จงถือศีลอดในเดือนนั้น และผู้ใดป่วย หรืออยู่ในการเดินทาง ก็จงถือใช้ในวันอื่นแทน (เท่ากับจำนวนที่ขาดไป แต่ควรถือใช้ก่อนที่รอมฏอนในปีต่อไปจะมาถึง) อัลลอฮ์ทรงประสงค์ให้มีความสะดวกแก่พวกเจ้า และไม่ทรงให้มีความลำบากแก่พวกเจ้าและเพื่อที่พวกเจ้าจะได้ให้ครบถ้วน ซึ่งจำนวนวัน (ของเดือนรอมฏอน) และเพื่อพวกเจ้าจะได้ให้ความเกรียงไกรแด่อัลลอฮ์ในสิ่งที่พระองค์ทรงแนะนำแก่พวกเจ้า (ทั้งนี้ก็เพราะว่า รอมฏอนนั้น ในเดือนแห่งการอบรมบ่มนิสัย และขจัดสิ่งไม่เหมาะไม่ควรให้หมดไป ทำให้ผู้ที่ถือศีลอดกลายเป็นผู้ที่มีคุณธรรมในการนี้ ทำให้ผู้ศีลอดรู้สึกในความเกรียงไกรของอัลลอฮ์ และขอบคุณพระองค์) และเพื่อพวกเจ้าจะขอบคุณ
002.186 وَإِذَا سَأَلَكَ عِبَادِي عَنِّي فَإِنِّي قَرِيبٌ أُجِيبُ دَعْوَةَ الدَّاعِ إِذَا دَعَانِ فَلْيَسْتَجِيبُوا لِي وَلْيُؤْمِنُوا بِي لَعَلَّهُمْ يَرْشُدُونَ
002.186 When My servants ask thee concerning Me, I am indeed close (to them): I listen to the prayer of every suppliant when he calleth on Me: Let them also, with a will, Listen to My call, and believe in Me: That they may walk in the right way.
186. และเมื่อบ่าวของข้าถามเจ้าถึงข้าแล้วก็ (จงตอบเถิดว่า) แท้จริงนั้นอยู่ใกล้ ข้าจะตอบรับคำวิงวอนของผู้ที่วิงวอน เมื่อเขาวิงวอนต่อข้าดังนั้น พวกเขาจงตอบรับข้าเถิด (ตอบรับคำเรียกร้องของอัลลอฮ์ด้วยการศรัทธาต่อท่านนะบีมุฮัมมัด) และศรัทธาต่อข้า เพื่อว่าพวกเขาจะได้อยู่ในทางที่ถูกต้อง

002.187 أُحِلَّ لَكُمْ لَيْلَةَ الصِّيَامِ الرَّفَثُ إِلَى نِسَائِكُمْ هُنَّ لِبَاسٌ لَكُمْ وَأَنْتُمْ لِبَاسٌ لَهُنَّ عَلِمَ اللَّهُ أَنَّكُمْ كُنْتُمْ تَخْتَانُونَ أَنْفُسَكُمْ فَتَابَ عَلَيْكُمْ وَعَفَا عَنْكُمْ فَالآنَ بَاشِرُوهُنَّ وَابْتَغُوا مَا كَتَبَ اللَّهُ لَكُمْ وَكُلُوا وَاشْرَبُوا حَتَّى يَتَبَيَّنَ لَكُمُ الْخَيْطُ الأبْيَضُ مِنَ الْخَيْطِ الأسْوَدِ مِنَ الْفَجْرِ ثُمَّ أَتِمُّوا الصِّيَامَ إِلَى اللَّيْلِ وَلا تُبَاشِرُوهُنَّ وَأَنْتُمْ عَاكِفُونَ فِي الْمَسَاجِدِ تِلْكَ حُدُودُ اللَّهِ فَلا تَقْرَبُوهَا كَذَلِكَ يُبَيِّنُ اللَّهُ آيَاتِهِ لِلنَّاسِ لَعَلَّهُمْ يَتَّقُونَ
002.187 Permitted to you, on the night of the fasts, is the approach to your wives. They are your garments and ye are their garments. Allah knoweth what ye used to do secretly among yourselves; but He turned to you and forgave you; so now associate with them, and seek what Allah Hath ordained for you, and eat and drink, until the white thread of dawn appear to you distinct from its black thread; then complete your fast Till the night appears; but do not associate with your wives while ye are in retreat in the mosques. Those are Limits (set by) Allah: Approach not nigh thereto. Thus doth Allah make clear His Signs to men: that they may learn self-restraint.
187. ได้เป็นที่อนุมัติแก่พวกเจ้าแล้ว ซึ่งการสมสู่กับบรรดาภรรยาของพวกเจ้าในค่ำคืนของการถือศีลอด นางทั้งหลายนั้นคือเครื่องนุ่งห่มของพวกเจ้า และพวกเจ้าก็คือเครื่องนุ่งห่มของพวกนาง (อัลลอฮ์ทรงเปรียบเทียบว่าภรรยานั้นประหนึ่งเครื่องนุ่งห่มของสามี และสามีนั้นประหนึ่งเครื่องนุ่งห่มของภรรยาเพราะต่างฝ่ายต่างให้ความอบอุ่น และให้ความสุขซึ่งกันและกัน เฉกเช่นเครื่องนุ่งห่มที่ให้ความอบอุ่นและให้ความสุขแก่ผู้ที่สวมใส่กระนั้น) อัลลอฮ์ทรงรู้ว่า พวกเจ้านั้นเคยทุจริตต่อตัวเอง(ในตอนเริ่มแรกของการถือศีลอดในเดือนรอมฏอนนั้น หลังจากละหมาดอีซาฮ์แล้วหรือหลังจากนอนหลับแล้วห้ามมิให้สมสู่ภรรยา และบริโภคสิ่งใด ๆ จนกว่าจะถึงเวลาพลบค่ำของวันรุ่งขึ้น มีผู้คนจำนวนมากทำการสมสู่กับภรรยาของตนในเวลาต้องห้ามดังกล่าว ผู้หนึ่งในจำนวนนั้นคือซัยดินาอุมัร ท่านจึงได้ปรับทุกข์แก่ท่านนะบีในเรื่องนี้ และอายะฮ์นี้ก็ถูกประทานลงมาอนึ่ง ความที่ว่า “หลังจากละหมาดอีซาฮ์ หรือหลังจากนอนหลับแล้ว” นั้น เป็นรายงานที่มาจากอิบนิอับบาส ทั้งสองรายงานกล่าวคือ รายงานหนึ่งระบุว่า “หลังจากละหมาดอีซาฮ์แล้ว” และอีกรายงาหนนึ่งระบุว่า “หลังจากนอนหลับแล้ว”) แล้วพระองค์ก็ทรงยกโทษให้แก่พวกเจ้า และอภัยให้แก่พวกเจ้าแล้ว บัดนี้พวกเจ้าสมสู่กับพวกนางได้ และแสวงหาสิ่งที่อัลลอฮ์ได้ทรงกำหนดให้แก่พวกเจ้าเถิด (แสวงหาผู้ที่จะสืบสายโลหิต และผลานิสงส์ในการประกอบอิบาดะฮ์ในค่ำคืน อัล-ก็ดดริ ดังกล่าวนี้เป็นทรรศนะที่ระบุอยู่ในตัฟซีรต่างๆ ) และจงกิน และดื่ม จนกระทั่งเส้นขาว (หมายถึงแสงสว่างของรุ่งอรุณ ) จะประจักษ์แก่พวกเจ้า จากเส้นดำ (หมายถึงความมืดของกลางคืน) เนื่องจากแสงรุ่งอรุณ แล้วพวกเจ้าจงให้การถือศีลอดครบเต็มจนถึงพลบค่ำ และพวกเจ้าจงอย่าสมสู่กับพวกนางขณะที่พวกเจ้าเอียะติก๊าฟ (คือเข้าประจำอยู่ที่มัสยิด เพื่อประกอบอิบาดะฮ์ใน 10 คืนหลังของรอมฏอน)อยู่ในมัสยิด นั่นคือบรรดาขอบเขตของอัลลอฮ์ดังนั้นพวกเจ้าจงอย่าเข้าใกล้ขอบเขตนั้น ในทำนองนั้นแหละอัลลอฮ์จะทรงแจกแจงบรรดาโองการของพระองค์แก่มนุษย์ เพื่อว่าพวกเขาจะได้ยำเกรง

ท่านทั้งหลาย
จากอายะห์ที่ได้หยิบยกมา ชี้ให้เห็นได้ว่า การดำเนินชีวิตของมุสลิมในเดือนแห่งเกียรติยศนั้น เราควรปฏิบัติอย่างไร นอกเหนือจากการถือศีลอด ละเว้นการกินการดื่ม การมีสัมพันธ์กับภรรยาหรือสามี ตลอดจนข้อห้ามอื่นใด อันจะทำให้การถือศีลอดเกิดความบกพร่อง ตลอดช่วงเวลาที่กำหนด คือตั้งแต่แสงอรุณจริงขึ้น (เวลาแห่งการละหมาดฟัรดูชุบฮิ์) จนกระทั่งดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า (เวลาแห่งการละหมาดฟัรดูมัฆริบ) ซึ่งมีช่วงเวลา ประมาณ 13-14 ชั่วโมง นั้น ผู้ถือศีลอดจำเป็นอย่างยิ่งที่จะสำรวมกายวาจา และจิตใจ ไปพร้อมๆ กับความอดทน และแสดงออกถึงมารยาทในการถือศีลอดด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การกระทำละเมิดด้วยวาจา สายตา และกายสัมผัสทั้งหมด ซึ่งเป็นสิ่งที่มีความสำคัญไม่ด้อยไปกว่า การอดอาหาร นอกจากนี้แล้ว ในทางปฏิบัติของมุสลิมในการปฏิบัติตนในเดือนที่มีความสำคัญนี้ จำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะได้ใช้โอกาสนี้ มุ่งมั่นประกอบอิบาดัรอันสำคัญ นี้ โดยที่ไม่บกพร่องในเรื่องที่เรานั้นต้องรับผิดชอบต่อหน้าที่ด้วยเช่นกัน
ท่านทั้งหลาย
เมื่อเดือนร่อมาดอลเริ่มขึ้น มันเป็นหน้าที่ของเราที่จะแสดงออกให้แห็นถึงความยำเกรงต่อพระองค์ ด้วยการประพฤติปฏิบัติตนในแต่ละวันในเดือนอันสำคัญนี้ แสวงหาความโปรดปราณจากพระองค์ ตามหน้าที่ที่เราต้องกระทำตามคำสั่งใช้ของพระองค์ และสำหรับผู้ที่มีความจำเป็นที่ไม่สามารถทำการถือศีลอดได้ นั้น พระองค์ได้ให้แนวทางปฏิบัติไว้อย่างชัดเจน ในเรื่องของการชดเชยหากผู้นั้นมีความบกพร่องในการถือศีลอด
ดังนั้น สิ่งหนึ่งที่เราควรกระทำ เพื่อให้เราสามารถปฏิบัติศาสนกิจได้อย่างเต็มกำลัง คือ การขอดุอาร์จากพระองค์ ให้เรามีสุขภาพที่แข็งแรง สามารถทำการถือศีลอดได้อย่างครบถ้วน แต่หากการถือศีลอดของเราเกิดบกพร่อง ขอให้เรานั้นเตาบัรต่อพระองค์ และชดเชยในความบกพร่องดังกล่าวนั้น เพื่อที่เราจะได้ภาคผลที่มุ่งตนต่อพระองค์ ขอให้ทุกๆ ท่าน จงมีความสุขในการประกอบศาสนกิจในเดือนอันสำคัญนี้

إِنَّ اللَّهَ وَمَلائِكَتَهُ يُصَلُّونَ عَلَى النَّبِيِّ يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا صَلُّوا عَلَيْهِ وَسَلِّمُوا تَسْلِيمًا
رَبَّنَا آتِنَا فِي الدُّنْيَا حَسَنَةً وَفِي الآخِرَةِ حَسَنَةً وَقِنَا عَذَابَ النَّارِ
إِنَّ اللَّهَ يَأْمُرُ بِالْعَدْلِ وَالإحْسَانِ وَإِيتَاءِ ذِي الْقُرْبَى وَيَنْهَى عَنِ الْفَحْشَاءِ وَالْمُنْكَرِ وَالْبَغْيِ يَعِظُكُمْ لَعَلَّكُمْ تَذَكَّرُونَ
سُبْحَانَ رَبِّكَ رَبِّ الْعِزَّةِ عَمَّا يَصِفُونَ
وَسَلامٌ عَلَى الْمُرْسَلِينَ
وَالْحَمْدُ لِلَّهِ رَبِّ الْعَالَمِينَ
ว่าบิ้ลลาฮิเตาฟีก วั้ลฮิดายะห์
วัสสลาม
มูฮำหมัด สันประเสริฐ

อ้างอิง
Text Copied from DivineIslam's Qur'an Viewer software v2.9
อัลกุรอ่านฉบับภาษาไทย สมาคมนักเรียนเก่าอาหรับ ดำเนินการจัดพิมพ์โดยกระทรวงกิจการฮัจย์ แห่งราชอาณาจักรซาอุดิอาเบีย
http://www.alquran-thai.com/
อัลฮาดีซ : Hadith of The Day V 1.0 Freeware by FaridAnasri avater@muslimonline.com (www.beconvinced.com

วันพฤหัสบดีที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ลดกิเลสตนเองเพื่อพัฒนาสังคม

มิมบัรออนไลน์
คุตบะห์วันศุกร์ 25 ชะห์บาน 1431 (วันศุกร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2553)
ลดกิเลสตนเองเพื่อพัฒนาสังคม

الْحَمْدُ لِلَّهِ رَبِّ الْعَالَمِينَ
يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا كُتِبَ عَلَيْكُمُ الصِّيَامُ كَمَا كُتِبَ عَلَى الَّذِينَ مِنْ قَبْلِكُمْ لَعَلَّكُمْ تَتَّقُونَ
إِذْ جَعَلَ الَّذِينَ كَفَرُوا فِي قُلُوبِهِمُ الْحَمِيَّةَ حَمِيَّةَ الْجَاهِلِيَّةِ فَأَنْزَلَ اللَّهُ سَكِينَتَهُ عَلَى رَسُولِهِ وَعَلَى الْمُؤْمِنِينَ وَأَلْزَمَهُمْ كَلِمَةَ التَّقْوَى وَكَانُوا أَحَقَّ بِهَا وَأَهْلَهَا وَكَانَ اللَّهُ بِكُلِّ شَيْءٍ عَلِيمًا
يَغْفِرْ لَكُمْ مِنْ ذُنُوبِكُمْ وَيُؤَخِّرْكُمْ إِلَى أَجَلٍ مُسَمًّى إِنَّ أَجَلَ اللَّهِ إِذَا جَاءَ لا يُؤَخَّرُ لَوْ كُنْتُمْ تَعْلَمُونَ
ท่านพี่น้องผู้ศรัทธาทั้งหลาย
บนสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงในขณะนี้ นอกจากเราต้องปรับตนเองให้พร้อมรับกับสถานการณ์ต่างๆ เหล่านั้น เรายังต้องสอดส่อง ควบคุมดูแลตนเองและคนในครอบครัวให้อยู่ในรัศมีแห่งอิสลาม ขณะที่สังคมรอบข้างของเรามีสิ่งยั่วยุต่างๆ มากมาย ดังนั้น จึงขอเตือนตนเองและท่านทั้งหลายจงยำเกรงต่อพระองค์อัลลอฮ์ (ซ.บ.) ให้มากๆ และจงเตรียมความพร้อมอยู่เสมอสำหรับการกลับไปสู่พระเมตตา ของพระองค์ เพราะไม่สามารถตอบได้ว่า เราหรือใครก็ตามจะได้กลับไปยังพระองค์เมื่อใด อย่างไร เช่นไร จึงขอให้เราทั้งหลายจงยำเกรงต่อพระองค์ เพื่อที่เราจะได้ใกล้ชิดพระองค์ได้มากขึ้น
ท่านทั้งหลาย
เดือนร่อมาดอลจะมาเยือนเราในอีกไม่กี่วันข้างหน้า หลายๆ ท่านต่างใจจรดใจจ่อรอคอยด้วยจิตที่มุ่งหวัง เพื่อที่จะเก็บเกี่ยวและดำเนินการปฏิบัติศาสนกิจและอิบาดัรอันสำคัญที่สุดในเดือนอันประเสริฐนี้ ภายหลังจากที่เราได้ใช้ชีวิตอย่างปกติใน รอบ 11 เดือนที่ผ่านมา การถือศีลอด คือการงดการกิน การดื่ม การมีสัมพันธ์กับภรรยา ตลอดจนข้อห้ามและสิ่งอันพึงหลีกเลี่ยง ตั้งแต่แสงอรุณจริงขึ้นจนกระทั่งถึงช่วงพลบค่ำหลังดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้าไปแล้ว ซึ่งรวมเวลาประมาณ 12-13 ชั่วโมง การถือศีลอดนอกจากจะกำหนดขึ้นในเดือนร่อมาดอลแล้ว ยังมีการถือศีลอดที่เป็นศาสนกิจอาสา และการถือศีลอดชดใช้ในเดือนอื่นๆ อีกด้วย สำหรับผู้ที่มีความจำเป็นไม่สามารถถือศีลอดได้ในช่วงเดือนร่อมาดอล นอกจากนี้การถือศีลอดยังมีข้อยกเว้นสำหรับบุคคลที่เจ็บป่วยเรื้อรัง และหญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร ซึ่งการถือศีลอดอาจเป็นอันตรายสำหรับพวกเขา ก็ให้เขาเหล่านั้นทำการชดเชยการถือศีลอด ในช่วงที่เขามีความสามารถ หรือเป็นการชดเชย โดยการให้อาหารแก่คนขัดสนและคนอนาถาตามปริมาณที่ศาสนากำหนดตามจำนวนวันที่พวกเขาไม่สามารถถือศีลอดได้ ซึ่งเป้าหมายสูงสุดแห่งการถือศีลอดนั้น คือความยำเกรงต่อพระองค์ ซึ่งเป็นเป้าหมายอันสำคัญสำหรับมุสลิมทุกคน
ท่านทั้งหลาย
ท่านศาสดา มีแบบฉบับในการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างราบรื่นด้วยการตักเตือนกันและกัน ซึ่งการตักเตือนกันและกันในปัจจุบัน เกิดขึ้นน้อยมาก ทั้งนี้เนื่องจากสังคมของเราเน้นความเป็นปัจเฉกบุคคลในระดับที่สูงยิ่ง แต่ละคนมีลักษณะของการถือตนเองมากขึ้น แต่ละคนไม่ยอมลดราวาศอกให้กับใครทั้งสิ้น มองประโยชน์ของตนเองและเป็นคนที่ไม่ยอมแพ้แม้แต่เรื่องเล็กๆ น้อย ซึ่งในที่สุดแล้ว จะหลงลืมคุณค่าและความสำคัญของการตักเตือนกันและกันลง ดังนั้น มิติแห่งการพัฒนาสังคม จึงเป็นมิติที่เน้นย้ำถึงการยอมรับตนเองให้มากขึ้น การที่เรายอมรับตนเองนั่นคือ เราลดโมหะ และความหยิ่งยโสของตนเองลง เป็นการเพิ่มบทบาทให้กับตนเอง เป็นบทบาทที่รับรู้ถึงข้อบกพร่องในการกระทำของตนเอง เป็นการยอมรับที่จะปรับปรุงตนเองให้เหมาะสม ขอให้พิจารณาโองการ Al-Qur'an, 048.026 (Al-Fath [Victory, Conquest]) ความว่า
048.026 إِذْ جَعَلَ الَّذِينَ كَفَرُوا فِي قُلُوبِهِمُ الْحَمِيَّةَ حَمِيَّةَ الْجَاهِلِيَّةِ فَأَنْزَلَ اللَّهُ سَكِينَتَهُ عَلَى رَسُولِهِ وَعَلَى الْمُؤْمِنِينَ وَأَلْزَمَهُمْ كَلِمَةَ التَّقْوَى وَكَانُوا أَحَقَّ بِهَا وَأَهْلَهَا وَكَانَ اللَّهُ بِكُلِّ شَيْءٍ عَلِيمًا
048.026 While the Unbelievers got up in their hearts heat and cant - the heat and cant of ignorance,- Allah sent down His Tranquillity to his Messenger and to the Believers, and made them stick close to the command of self-restraint; and well were they entitled to it and worthy of it. And Allah has full knowledge of all things.
26. ขณะที่พวกปฏิเสธศรัทธาได้ทำให้ความหยิ่งยะโสมีขึ้นในจิตใจของพวกเขา ซึ่งเป็นความหยิ่งยะโสในสมัยแห่งความงมงาย อัลลอฮฺจึงประทานความเงียบสงบของพระองค์ให้แก่ร่อซูลของพระองค์และแก่บรรดาผู้ศรัทธา
(1) ความหยิ่งยะโสของพวกกุฟฟารเหล่านั้น เป็นความหยิ่งยะโสที่มีมาแต่สมัยญาฮิลียะฮฺ เป็นเหตุให้พวกเขาไม่ยอมรับความจริงและไม่ยอมจำนนต่อเหตุผล จนกระทั่งไม่ยอมให้ท่านนะบีและบรรดามุอฺมินเข้ามัสยิดอัลฮะรอมเพื่อทำอุมเราะฮฺ ด้วยเหตุนี้บรรดามุอฺมินจึงตกลงใจที่จะไม่ยอมรับการเจรจาประนีประนอม เพราะเป็นการเสียเปรียบให้พวกมุชริกีนอย่างมาก เมื่อเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ขึ้นอัลลอฮฺ ตะอาลาจึงประทานความเงียบสงบให้แก่ท่านร่อซูลและบรรดาผู้ศรัทธา และให้พวกเขาตั้งมั่นอยู่ในคำกล่าวชะฮาดะฮฺ ซึ่งเป็นคำกล่าวแห่งการตักวา คือเป็นการป้องกันพวกเขาให้พ้นจากการทำซิริก และการลงโทษ โดยที่พวกเขาเป็นผู้ที่มีสิทธิ์ยิ่งและเหมาะสมยิ่งต่อคำกล่าวนี้
ท่านทั้งหลาย
ความสำคัญของใครก็ตาม หาใช่การที่เขาเหล่านั้นจะมีเกียรติยศและศักดิ์ศรีสูงส่ง มากไปกว่าการที่เขาเหล่านั้น เป็นผู้ที่ยอมรับความจริงและอยู่อย่างมีเหตุผล ปราศจากอคติและความทระนงตนเองว่าอยู่เหนือหรือมีตำแหน่งสูงส่งกว่าคนอื่นๆ ดังนั้น การปรับทัศนคติแห่งการยอมรับตนเองจึงมีความสำคัญที่ไม่ย่อหย่อนไปจากพฤติกรรมอื่นๆ ดังนั้น เมื่อใดก็ตามที่เราทั้งหลายได้รับรู้ถึงความบกพร่องแห่งตนเองแล้ว เราสำนึกในความผิดนั้นและพร้อมสำหรับการแก้ไขในความบกพร่องอันนั้น เช่นนั้นแล้ว เราคือผู้ที่มีชัยชนะที่พระองค์อัลลอฮ์ (ซ.บ.) ทรงรับรอง และพร้อมสำหรับการให้อภัย ดังโองการ Al-Qur'an, 071.004 (Nooh [Noah]) ความว่า
071.004 يَغْفِرْ لَكُمْ مِنْ ذُنُوبِكُمْ وَيُؤَخِّرْكُمْ إِلَى أَجَلٍ مُسَمًّى إِنَّ أَجَلَ اللَّهِ إِذَا جَاءَ لا يُؤَخَّرُ لَوْ كُنْتُمْ تَعْلَمُونَ
071.004 "So He may forgive you your sins and give you respite for a stated Term: for when the Term given by Allah is accomplished, it cannot be put forward: if ye only knew."
4. พระองค์จะทรงอภัยโทษให้แก่พวกท่านในความผิดของพวกท่าน และจะทรงผ่อนผัน พวกท่านจนกระทั่งถึงวาระที่ถูกกำหนดไว้ แท้จริงวาระของอัลลอฮฺนั้น เมื่อมาถึงแล้วมันจะไม่ยืดเวลาต่อไปอีก หากพวกท่านได้รู้ (นะบีนูหฺได้สัญญากับหมู่ชนของเขาตามที่อัลลอฮฺได้ทรงสัญญากับบรรดาผู้กลับเนื้อกลับตัวไว้ว่า พระองค์จะทรงอภัยโทษจากความผิดและบาปต่าง ๆ ในอดีต อีกทั้งจะได้รับการผ่อนผันไปยังวาระที่พระองค์ทรงกำหนดไว้คือวันกิยามะฮฺ และว่าวาระที่ถูกกำหนดไว้นั้นเป็นของแน่นอน จะมีมาตามกำหนดของมัน โดยไม่มีการผ่อนผันเหมือนกับการลงโทษในโลกดุนยา)
ท่านทั้งหลาย
การถือศีลอด ของเรานอกจากข้อปฏิบัติที่เป็นข้อห้ามตามหลักเกณฑ์ต่างๆ แล้ว สิ่งหนึ่งที่เราควรตระหนักไปพร้อมๆ กันด้วยก็คือ เราต้องให้ความสำคัญกับตนเองในเรื่องของการปรับปรุงตนเอง พร้อมเสมอสำหรับข้อตักเตือนจากบุคคลอื่นๆ ยอมรับและพร้อมเสมอสำหรับการเปลี่ยนแปลง ซึ่งหากเราไม่เปลี่ยนแปลงตนเองก็จะไม่มีใครที่จะมาเปลี่ยนแปลงตัวเรา และการถือศีลอด คือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ดีที่สุด เป็นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทั้งทางร่างกาย การรกระทำ และสุขภาพทางใจ เดือนร่อมาดอล เป็นห้องเรียนสำคัญที่นักเรียนทั้งหลายจะได้ใช้เป็นห้องเรียนที่จะเปลี่ยนแปลงตนเอง เป็นห้องเรียนที่เน้นให้นักเรียนได้ปรับปรุงตนเอง ยอมรับตนเอง รู้จักตนเองมากขึ้น การอดอาหาร อดพฤติกรรมต่างๆ ที่เป็นหลักเกณฑ์ของการถือศีลอด นั้น เพื่อที่การปฏิบัติตนเองเพื่อลด เลิกพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เพื่อให้ได้ผลตามเป้าหมายสำคัญของศาสนาของพระองค์อัลลอฮ์ (ซ.บ.) และเราจึงควรเปลี่ยนตนเองเป็นคนใหม่ที่สมบูรณ์เหมาะสม เมื่อผ่านพ้นเวลาอันมีค่านี้ เพื่อที่เราทั้งหลายจะได้กลับไปใกล้ชิดพระองค์ ในวันแห่งการตัดสิน
إِنَّ اللَّهَ وَمَلائِكَتَهُ يُصَلُّونَ عَلَى النَّبِيِّ يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا صَلُّوا عَلَيْهِ وَسَلِّمُوا تَسْلِيمًا
رَبَّنَا آتِنَا فِي الدُّنْيَا حَسَنَةً وَفِي الآخِرَةِ حَسَنَةً وَقِنَا عَذَابَ النَّارِ
إِنَّ اللَّهَ يَأْمُرُ بِالْعَدْلِ وَالإحْسَانِ وَإِيتَاءِ ذِي الْقُرْبَى وَيَنْهَى عَنِ الْفَحْشَاءِ وَالْمُنْكَرِ وَالْبَغْيِ يَعِظُكُمْ لَعَلَّكُمْ تَذَكَّرُونَ
سُبْحَانَ رَبِّكَ رَبِّ الْعِزَّةِ عَمَّا يَصِفُونَ
وَسَلامٌ عَلَى الْمُرْسَلِينَ
وَالْحَمْدُ لِلَّهِ رَبِّ الْعَالَمِينَ
ว่าบิ้ลลาฮิเตาฟีก วั้ลฮิดายะห์
วัสสลาม
มูฮำหมัด สันประเสริฐ

อ้างอิง
Text Copied from DivineIslam's Qur'an Viewer software v2.9
อัลกุรอ่านฉบับภาษาไทย สมาคมนักเรียนเก่าอาหรับ ดำเนินการจัดพิมพ์โดยกระทรวงกิจการฮัจย์ แห่งราชอาณาจักรซาอุดิอาเบีย
http://www.alquran-thai.com/
อัลฮาดีซ : Hadith of The Day V 1.0 Freeware by FaridAnasri avater@muslimonline.com (www.beconvinced.com