วันพฤหัสบดีที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2555

แม้ว่าอากาศแปรปรวนก็ขอจงมีจิตใจที่หนักแน่น

มิมบัรออนไลน์


คุตบะห์วันศุกร์ 30 มุฮัรรอม 1434 (วันศุกร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2555)

แม้ว่าอากาศแปรปรวนก็ขอจงมีจิตใจที่หนักแน่น



الْحَمْدُ لِلَّهِ رَبِّ الْعَالَمِينَ

أَوْ كَصَيِّبٍ مِنَ السَّمَاءِ فِيهِ ظُلُمَاتٌ وَرَعْدٌ وَبَرْقٌ يَجْعَلُونَ أَصَابِعَهُمْ فِي آذَانِهِمْ مِنَ الصَّوَاعِقِ حَذَرَ الْمَوْتِ وَاللَّهُ مُحِيطٌ بِالْكَافِرِينَ

يَكَادُ الْبَرْقُ يَخْطَفُ أَبْصَارَهُمْ كُلَّمَا أَضَاءَ لَهُمْ مَشَوْا فِيهِ وَإِذَا أَظْلَمَ عَلَيْهِمْ قَامُوا وَلَوْ شَاءَ اللَّهُ لَذَهَبَ بِسَمْعِهِمْ وَأَبْصَارِهِمْ إِنَّ اللَّهَ عَلَى كُلِّ شَيْءٍ قَدِيرٌ

يَا أَيُّهَا النَّاسُ اعْبُدُوا رَبَّكُمُ الَّذِي خَلَقَكُمْ وَالَّذِينَ مِنْ قَبْلِكُمْ لَعَلَّكُمْ تَتَّقُونَ



ท่านพี่น้องผู้ศรัทธาทั้งหลาย

จงแสดงออกถึงความยำเกรงต่อพระองค์ให้มากที่สุด จงตระหนักและระวังตนเองหากมีเหตุการณ์ใดๆ ที่อาจส่งผลให้จิตใจของเราอ่อนไหว สั่นคลอน และโน้มตนเองไปสู่หนทางแห่งการเอนเอียงทางด้านการศรัทธา เพราะนั่นคือสิ่งที่บั่นทอนและทำให้เราออกห่างไกลจากแนวทางอันเที่ยงตรงและใกล้ชิดกับพระองค์

หากเราพิจารณาสภาพดินฟ้าอากาศที่แปรปรวนอยู่ในขณะนี้ เป็นเหตุการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน เป็นเหตุการณ์ที่หลายๆ สำนักต่างวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นอาเพศและเป็นสิ่งบอกเหตุถึงความเลวร้าย การถูกทำลายจากภัยธรรมชาติ หรือหากมองถึงความเห็นของชนกลุ่มหนึ่งกลับมองว่า เหตุการณ์ดังกล่าวจะสะท้อนและบ่งบอกถึงภัยพิบัติครั้งยิ่งใหญ่ ในวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2555 (12122012) แต่ในแนวทางคำสอนของอิสลามที่ท่านศาสดามูฮำมัด (ซ.ล.) ได้รับวะยูฮ์จากพระองค์อัลลอฮ์ (ซ.บ.) แล้ว เหตุการณ์ในวันกิยามัตจะเกิดขึ้น จะมีสัญญาณทั้งสัญญาณใหญ่และสัญญาณเล็ก ปรากฏขึ้น เป็นสัญญาณเตือนภัยที่เกิดขึ้นครั้งแล้วครั้งเล่า จนถึงเหตุการณ์ครั้งสุดท้ายที่จะอุบัติขึ้น แต่สิ่งหนึ่งที่ท่านศาสดาไม่ได้ระบุไว้ คือ กำหนดเวลาที่จะเกิดขึ้นอย่างแน่นอนว่าจะเกิดเหตุการณ์นั้นๆ เมื่อใด แต่สิ่งที่แน่นอน คือ เหตุการณ์ในวันกิยามัตนั้น จะเกิดขึ้นอย่างแน่นอน

ท่านทั้งหลาย

มนุษย์ มีความเคลื่อนไหวปอย่างไม่หยุดยั้ง ทั้งความคิด จิตใจ การกระทำ ที่แสดงออกมาทั้งทางกาย วาจา และจิตใจ รวมถึงการแสดงออกทางพฤติกรรม จะเห็นว่า ผลประโยชน์ของมนุษย์ คือตัวกำหนดที่สำคัญในการแสดงออก หากเมื่อใดที่มนุษย์ได้รับผลประโยชน์มากที่สุด แน่นอนว่าพฤติกรรมที่แสดงออกจะสะท้อนให้เห็นถึงสิ่งที่อยู่ในจิตใจของเขา การกระทำของเขา ซึ่งเขาจะอ่อนโยนหรือแข็งกระด้างต่อผู้หนึ่งผู้ใด และเขาจะให้หรือจะยอมฟังผู้อื่นหรือไม่ ก็ด้วยจิตใจของเขาในขณะนั้น แต่เมื่อใดที่เขาได้รับประโยชน์นั้นในปริมาณที่ลดน้อยลง หรือไม่ไดรับผลประโยชน์ใดๆ ความไม่เพียงพอในจิตใจของเขา ก็จะแสดงออกถึง ความกริ้วโกรธ ความไม่พึงพอใจในสิ่งต่างๆ การเป็นปฏิปักษ์ต่อผู้อื่นที่ได้รับผลประโยชน์นั้นๆ โดยที่เขาไม่ย้อนกลับมาพิจารณาตนเองเลยว่า เขาควรแสดงออกอย่างไร เมื่อได้รับหรือไม่ได้รับผลประโยชน์ต่างๆ เหล่านั้น และเขาได้แสดงออกถึงความยำเกรงต่อพระผู้อภิบาลแห่งสากลโลกแล้วหรือยัง การแสดงออกถึงความยำเกรงอย่างยิ่งนั้น คือ บทบาทของผู้ที่น้อมรับและเกรงกลัวต่อความยิ่งใหญ่ของพระองค์ เป็นความเกรงกลัวที่สะท้อนให้เห็นถึงการมอบหมายชีวิต การมอบหมายอิบาดัร และการมอบหมายในทรัพย์สินและปัจจัยยังชีพต่างๆ ที่พระองค์ทรงตอบรับและจัดสรรด้วยความเมตตากรุณาปราณีต่อเขาเหล่านั้น หาใช่ว่ามวลมนุษย์ พึงแสดงออกถึงความขอบคุณเมื่อได้รับประโยชน์ หากแต่รู้สึกเฉยๆ เมื่อไม่ได้รับ หรือได้รับน้อยลง แน่นอนว่าทุกๆ ริสกีของพระองค์ นั้น คือการทดสอบ ไม่ว่าจะเป็นการทดสอบอันน้อยนิดหรือเป็นการทดสอบที่ยิ่งใหญ่ ก็ตาม สิ่งต่างๆ เหล่านี้เราพึงตระหนักให้มากยิ่ง

ท่านทั้งหลาย

ยามใดที่อากาศแปรปรวน หรือเกิดความเปลี่ยนแปลงใดๆ เกิดขึ้นก็ตาม แนวทางของท่านศาสดาที่แสดงออกต่อเรื่องราวต่างๆ นั้น คือการนิ่งเฉย อดทนต่อปรากฏการณ์ต่างๆ พร้อมทั้งแสดงออกถึงความอดทนในเรื่องราวนั้นๆ เพราะนั่นคือการทดสอบจากพระองค์ เพื่อเตือนตนเองว่า สิ่งที่บกพร่อง สิ่งที่ยังขาดหรือมองข้ามไปนั้น เราคิดทบทวนบ้างหรือไม่ หาแนวทางแก้ไข ด้วยความยำกรงในสิ่งที่เกิดขึ้น ไม่แสดงออกถึงความท้าทาย ความเห็นที่ปราศจากแนวทางอันเที่ยงตรง เพราะทุกๆ ภัยพิบัติ (บาลา) นั้น มีริสกีแฝงเร้นไว้ การทดสอบจากพระองค์ จะมีรางวัลอันยิ่งใหญ่อยู่เสมอ ขอเพียงเราทั้งหลาย อย่าได้บิดพลิ้ว หรือแสดงออกเฉกเช่นเดียวกับชนผู้ปฏิเสธต่อหลักการของพระองค์ ขอให้พิจารณาโองการ 3 โองการจากพระมหาคัมภีร์อัลกุรอ่าน Al-Qur'an, 002.019-021 (Al-Baqara [The Cow]) ความว่า

002.019 أَوْ كَصَيِّبٍ مِنَ السَّمَاءِ فِيهِ ظُلُمَاتٌ وَرَعْدٌ وَبَرْقٌ يَجْعَلُونَ أَصَابِعَهُمْ فِي آذَانِهِمْ مِنَ الصَّوَاعِقِ حَذَرَ الْمَوْتِ وَاللَّهُ مُحِيطٌ بِالْكَافِرِينَ

002.019 Or (another similitude) is that of a rain-laden cloud from the sky: In it are zones of darkness, and thunder and lightning: They press their fingers in their ears to keep out the stunning thunder-clap, the while they are in terror of death. But Allah is ever round the rejecters of Faith!

19. หรือดังฝนที่หลั่งลงมาจากฟากฟ้า โดยที่ในฝนนั้นมีทั้งบรรดาความมืด ฟ้าคำรน และฟ้าแลบ พวกเขาจึงเอานิ้วมือของพวกเขาอุดหูไว้ เนื่องจากฟ้าผ่า ทั้งนี้เพราะกลัวความตาย (ตามธรรมดาสำหรับผู้มีปัญญานั้น เมื่อกลัวฟ้าผ่า ก็จะต้องหลีกเลี่ยงให้ห่างไกลจากสิ่งที่เป็นสื่อไฟฟ้าเสีย จึงจะได้รับความปลอดภัย ไม่ใช่เอานิ้วมืออุดหู เพื่อไม่ให้ได้ยินเสียฟ้าผ่า แล้วฟ้าก็จะไม่ผ่า อันเป็นการกระทำของผู้ที่ขาดปัญญา ในทำนองเดียวกัน พวกมุนาฟิกที่พยายามหลีกเลี่ยงไม่ยอมฟัง อัล-กรุอาน และคำแนะนำของท่านนะบีนั้น ก็ใช่ว่าจะพ้นการลงโทษของอัลลอฮฺได้ เพียงแต่แก้ตัวว่าไม่เคยได้ยินโองการของอัลลอฮฺและคำแนะนำของท่านนะบีเท่านั้น)และอัลลอฮฺนั้นทรงล้อม(เป็นการแจ้งให้ทราบว่าพวกเขาไม่สามารถจะหนีให้พ้นไปได้ เพราะประหนึ่งพวกเขาถูกล้อมไว้แล้ว) พวกปฏิเสธการศรัทธาเหล่านั้นไว้แล้ว

002.020 يَكَادُ الْبَرْقُ يَخْطَفُ أَبْصَارَهُمْ كُلَّمَا أَضَاءَ لَهُمْ مَشَوْا فِيهِ وَإِذَا أَظْلَمَ عَلَيْهِمْ قَامُوا وَلَوْ شَاءَ اللَّهُ لَذَهَبَ بِسَمْعِهِمْ وَأَبْصَارِهِمْ إِنَّ اللَّهَ عَلَى كُلِّ شَيْءٍ قَدِيرٌ

002.020 The lightning all but snatches away their sight; every time the light (Helps) them, they walk therein, and when the darkness grows on them, they stand still. And if Allah willed, He could take away their faculty of hearing and seeing; for Allah hath power over all things.

20. สายฟ้าแลบแทบจะเฉี่ยวสายตาของพวกเขาไป (อัลลอฮฺทรงเปรียบเทียบว่า ความชัดเจของอัล-กรุอานนั้นให้ความเจิดจ้าประดุจสายฟ้าแลบที่แทบจะเฉี่ยวสายตาของพวกเขาไป) คราใดที่มันให้แสงสว่างแก่พวกเขา พวกเขาก็เดินไปในแสงสว่างนั้น(ทรงเทียบว่า เมื่ออัล-กรุอานได้ให้ความเข้าใจแก่พวกเขา ในสิ่งที่พวกเขายังมืดมนอยู่ (อันเปรียบเสมือนแสงฟ้าแลบที่ให้ความสว่างแก่พวกเขา) พวกเขาก็ปฏิบัติตาม (อันเปรียบเสมือนพวกที่ยืนอยู่กับที่) และเมื่อมันมืดลงแก่พวกเขา พวกเขาก็หยุดยืน แลหากอัลลอฮฺทรงประสงค์แล้ว (ถ้าอัลลอฮฺทรงประสงค์จะลงโทษพวกเขา พระองค์ก็ทรงให้ตาของพวกเขาบอดไปแล้ว เพราะมีตาก็เหมือนไม่มี เนื่องจากไม่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ตนเองแต่อย่างใด) แท่นอนก็ทรงนำเอาหูและตาของพวกเขาไปแล้ว แท้จริงอัลลอฮฺนั้นทรงอานุภาพเหนือทุกสิ่งทุกอย่าง

002.021 يَا أَيُّهَا النَّاسُ اعْبُدُوا رَبَّكُمُ الَّذِي خَلَقَكُمْ وَالَّذِينَ مِنْ قَبْلِكُمْ لَعَلَّكُمْ تَتَّقُونَ

002.021 O ye people! Adore your Guardian-Lord, who created you and those who came before you, that ye may have the chance to learn righteousness;

21. มนุษย์เอ๋ย! จงเคารพอิบาดะฮฺ (การให้เอกภาพแเด่อัลลอฮฺด้วยความนอบน้อมถ่อมตน และจงรักภักดีต่อประองค์) พระผู้เป็นเจ้าของพวกเจ้าที่ทรงบังเกิดพวกเจ้า และบรรดาผู้ที่มาก่อนพวกเจ้าเถิด เพื่อว่าพวกเจ้าจะทรงยำเกรง

ขอให้เราทั้งหลายพึงตระหนัก และปรับปรุงตนเองให้ได้ใกล้ชิดต่อพระองค์ และดูแลทุกๆ คนในปกครองให้อยู่ในแนวทางอันเที่ยงตรง ขอฝากอัลฮาดีส ความว่า

A man from among those who were before you was called to account. Nothing in the way of good was found for him except that he used to have dealings with people and, being well-to-do, he would order his servants to let off the man in straitened circumstances [from repaying his debt]. He (the Prophet p.b.u.h) said that Allah said: We are worthier than you of that (of being so generous). Let him off. Source : Hadith Qudsi 12

ทางที่ดีงามที่สุด คือหนทางที่เรานั้นประพฤติปฎิบัติตนในแบบฉบับของท่านศาสดาและแนวทางตามคำสอนของอัลกุรอ่าน อย่าได้ปล่อยจิตใจของเราออกห่างไกล แท้จริงนั้น เราควรจดจำวิธีปฏิบัติและการแสดงออกในหนทางที่ดีงามเฉกเช่นการปฏิบัติตนของท่านศาสดา (ซ.ล.)



إِنَّ اللَّهَ وَمَلائِكَتَهُ يُصَلُّونَ عَلَى النَّبِيِّ يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا صَلُّوا عَلَيْهِ وَسَلِّمُوا تَسْلِيمًا

رَبَّنَا آتِنَا فِي الدُّنْيَا حَسَنَةً وَفِي الآخِرَةِ حَسَنَةً وَقِنَا عَذَابَ النَّارِ

إِنَّ اللَّهَ يَأْمُرُ بِالْعَدْلِ وَالإحْسَانِ وَإِيتَاءِ ذِي الْقُرْبَى وَيَنْهَى عَنِ الْفَحْشَاءِ وَالْمُنْكَرِ وَالْبَغْيِ يَعِظُكُمْ لَعَلَّكُمْ تَذَكَّرُونَ

سُبْحَانَ رَبِّكَ رَبِّ الْعِزَّةِ عَمَّا يَصِفُونَ

وَسَلامٌ عَلَى الْمُرْسَلِينَ

وَالْحَمْدُ لِلَّهِ رَبِّ الْعَالَمِينَ

ว่าบิ้ลลาฮิเตาฟีก วั้ลฮิดายะห์

วัสสลาม

มูฮำหมัด สันประเสริฐ

ทุกๆ ความดีงามและความประเสริฐ จากมิมบัรออนไลน์นี้

ข้าพเจ้า ขอต่อพระองค์อัลลอฮ์ (ซ.บ.) ทรงตอบรับดุอาร์ และขอให้คุณแม่ของผมได้มีส่วนร่วมในผลงานนี้ด้วย

และขอต่อพระองค์ทรงตอบรับดุอาร์และให้อภัยโทษต่อคุณแม่ของผม ด้วยเทอญ

อามีน



อ้างอิง

อัลกุรอ่านฉบับภาษาไทย สมาคมนักเรียนเก่าอาหรับ ดำเนินการจัดพิมพ์โดยกระทรวงกิจการฮัจย์ แห่งราชอาณาจักรซาอุดิอาเบีย http://www.alquran-thai.com/ShowSurah.asp , www.DivineIslam.com

อัลฮาดีซ : Hadith of The Day V 1.0 Freeware by FaridAnasri avater@muslimonline.com www.beconvinced.com

วันพฤหัสบดีที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ธรรมนูญสูงสุดแห่งชีวิต

มิมบัรออนไลน์


คุตบะห์วันศุกร์ 23 มุฮัรรอม 1434 (วันศุกร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2555)



ธรรมนูญสูงสุดแห่งชีวิต



الْحَمْدُ لِلَّهِ رَبِّ الْعَالَمِينَ

ท่านพี่น้องผู้ศรัทธาทั้งหลาย

ขอให้เราทั้งหลายจงยำเกรงต่อพระองค์ให้มาก เพราะความยำเกรงต่อพระองค์ คือ หัวใจสำคัญแห่งงการปฏิบัติศาสนกิจ ขอให้เราทั้งหลายอย่าได้บกพร่องต่อการปฏิบัติอามั้ลเพื่อพระองค์ และยอมจำนนศิโรราบต่อพระองค์เพื่อภาคผลที่สมบูรณ์ในศาสนกิจเพื่อพระองค์

ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา เราได้ผ่านพ้นการเฉลิมฉลองเนื่องในวันพ่อแห่งชาติ การเทิดทูนสถาบันสูงสุดของประเทศ และวันฉลองวันพระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ขอให้เราลองย้อนตรวจสอบตนเองดูว่าช่วงเวลาที่ผ่านมานั้น เราได้แง่คิดเช่นไรบ้าง และแง่คิดดังกล่าวนั้นก่อให้เกิดแง่มุมต่อกิจวัตรที่สำคัญในแง่ของความเปลี่ยนแปลงตนเองมากน้อยเพียงใด เพราะช่วงเวลาดังกล่าวนั้น เป็นช่วงเปลี่ยนผ่านที่สะท้อนให้เรามองเห็นถึงการปฏิบัติศาสนกิจ จุดมุ่งหมายแห่งการกระทำ ภาคผลของอิบดัร และเป้าหมายแห่งศาสนกิจนั้นมุ่งตรงสู่พระองค์หรือเพียงเพื่อวัตถุประสงค์อื่นใดหรือไม่ ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมาเราได้รับทราบข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นเรื่องของผลประโยชน์ของคนส่วนใหญ่ซึ่งนักการเมืองใช้เป็นประเด็นที่จะจูงใจประชาชนโดยมองประโยชน์และความได้เปรียบของกลุ่มพวกแห่งตนที่จะชนะการเลือกตั้งเข้าสู่การใช้อำนาจรัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระบวนการเข้าสู่อำนาจของสมาชิกรัฐสภา นายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี ความได้เปรียบของกลุ่มนักการเมืองต่อผลการเลือกตั้ง การแบ่งเขตเลือกตั้ง ซึ่งกระบวนการเหล่านี้ถูกกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นกฎหมายแม่บทสูงสุดในการปกครองประเทศ การแก้ไขในแต่ละครั้งทำได้ค่อนข้างยากมาก บางกลุ่มใช้เป็นประเด็นทางการเมืองต้องการแก้ไข แต่ในบางกลุ่มก็ไม่ต้องการแก้ไข และทุกครั้งที่มีความขัดแย้งทางการเมืองก็มักจะมีการแบ่งฝักแบ่งฝ่าย เป็นกลุ่มที่จะสนับสนุนหรือทำการต่อต้าน รวมทั้งใช้กำลังทหารเพื่อการปฏิวัติรัฐประหารเปลี่ยนแปลงกฎหมายสูงสุดนี้ตามความพึงพอใจของผู้ที่ได้อำนาจและต้องการรักษาอำนาจนั้นไว้ให้กับกลุ่มหรือคณะแห่งตนโดยการกล่าวอ้างเพียงเพื่อประโยชน์ประชาชน จะเห็นได้ว่า เมื่อเวลาเปลี่ยนไป อำนาจเปลี่ยนไป กฎหมายสูงสุดที่ใช้ในการปกครองประเทศ ก็สามารถปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับการรักษาอำนาจรักษากฎกติกาเพียงเพื่อความหวงแหนอำนาจนั้นไว้ แต่ในแง่มุมแห่งกฎเกณฑ์ธรรมชาติ ไม่มีใครที่จะเปลี่ยนแปลงได้ แม้ว่าในปัจจุบันแพทย์สามารถแปลงเพศชายให้กลายเป็นหญิงได้ในทางการแปลงอวัยวะภายนอก แต่สรีระ โครงสร้าง ตลอดจนยีน ไม่สามารถแปลงได้ หรือแม้แต่กฎหมายที่เกี่ยวข้องแล้วในบางประเทศ มีการแก้ไขปรับปรุงให้กลุ่มข้ามเพศเหล่านี้สามารถแต่งงานกันได้ทางกฎหมายและสิทธิ์เหล่านี้ผูกพันกันทางทรัพย์สินต่างๆ ได้ รวมถึงการออกกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการทำแท้งเสรีเพียงเพื่อแก้ไขปัญหาการสำส่อนทางเพศอย่างเสรีโดยปราศจากความละอายต่อพระองค์ ทั้งๆ ที่การเข้าใกล้ซินา คือความโสมมและความเลวทรามแต่การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าเหล่านี้ กลับมีมุมมองที่หละหลวมมองเพียงความอยู่รอดทางสังคม ความสบายใจของมนุษย์โดยมองข้ามคำสั่งใช้และคำสั่งห้ามของพระองค์ กระทบต่อกฎเกณฑ์และกำแพงแห่งศีลธรรมจรรยา

ท่านทั้งหลาย

อัลกุรอ่าน พระคัมภีร์แห่งพระองค์ที่ทรงประทานให้ท่านศาสดามูฮัมมัด (ซ.ล.) ในการประกาศคำสอนนี้แก่มวลประชาชาติทั้งหลาย อัลกุรอ่าน ได้กล่าวถึงความจริง และการท้าทายให้ผู้ที่สงสัยได้พิสูจน์ความจริงที่ได้กล่าวไว้ และผลแห่งการพิสูจน์เมื่อได้ประจักษ์แก่สายตาของคนทั้งหลายแล้ว แน่นอนว่าเขาเหล่านั้นย่อมจำนนต่อข้อพิสูจน์จากพระองค์ และพร้อมกลับสู่แนวทางอันเที่ยงตรง ขอให้พิจารณาโองการจากอัลกุรอ่าน Al-Qur'an, 002.079 (Al-Baqara [The Cow]) ความว่า

002.079 فَوَيْلٌ لِلَّذِينَ يَكْتُبُونَ الْكِتَابَ بِأَيْدِيهِمْ ثُمَّ يَقُولُونَ هَذَا مِنْ عِنْدِ اللَّهِ لِيَشْتَرُوا بِهِ ثَمَنًا قَلِيلا فَوَيْلٌ لَهُمْ مِمَّا كَتَبَتْ أَيْدِيهِمْ وَوَيْلٌ لَهُمْ مِمَّا يَكْسِبُونَ

002.079 Then woe to those who write the Book with their own hands, and then say:"This is from Allah," to traffic with it for miserable price!- Woe to them for what their hands do write, and for the gain they make thereby.

79. ดังนั้นความวิบัติจะได้แก่บรรดาผู้ที่เขียนคัมภีร์ขึ้นด้วยมือของตนเอง แล้วกล่าวว่า นี่แหละมาจากอัลลอฮ์ เพื่อพวกเขาจะได้นำมันไปแลกเปลี่ยนกับราคาอันเล็กน้อย (หมายถึง ข้อความที่เขาเขียนขั้นนั้น มีเจตนาที่จะสนับสนุนปฏิบัติการของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เพื่อให้ได้มาซึ่งประโยชน์เป็นการตอบแทน) ดังนั้นความวิบัติจะได้แก่พวกเขา เนื่องจากสิ่งที่มือของพวกเขาได้เขียนขึ้นและความวิบัตินั้นจะได้แก่พวกเขา เนื่องจากสิ่งที่พวกเขาแสวงหาไว้

จะเห็นได้ว่า อัลกุรอ่าน หาใช่คัมภีร์ที่เหล่าบรรดาชนทั้งหลายจะเขียนขึ้นมาเอง และไม่มีนักประพันธ์คนใดที่จะมีความสามารถที่จะเรียงร้อยถ้อยคำอันไพเราะและมีความหมายที่กินใจ เป็นทั้งคำสั่งห้ามคำสั่งใช้ ประวัติศาสตร์ ข้อปฏิบัติ การสื่อสาร การเล่าความที่เกี่ยวเนื่องกันตลอดทั้งเล่ม การกล่าวถึงความน่าสะพรึงกลัวในการลงโทษของพระองค์ การกล่าวถึงความสุขในสรวงสวรรค์สำหรับผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์ ดังนั้น การที่ท่านศาสดานำโองการจากพระองค์มาประกาศแก่ปวงชนนั้น หาใช่สิ่งที่ท่านสามารถกระทำได้เพราะท่านมิใช่เป็นนักประพันธ์ ท่านมิใช่นักประวัติศาสตร์ นักวิชาการ ท่านเป็นเพียงชายที่ไร้การศึกษา อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ ดังนั้น ทุกๆ วจนารถที่ท่านนำมาประกาศ จึงเป็นพระประสงค์จากพระองค์ หาใช่ทรรศนะหรือการวินิจวิเคราะห์ของท่านศาสดา ดังโองการที่ได้หยิบยกมานี้ นั่นคือประจักษ์พยานที่สำคัญที่พระองค์ได้จำแนกไว้จากคัมภีร์ของพระองค์

ท่านทั้งหลาย

คัมภีร์ที่มีมาก่อนหน้าอัลกุรอ่าน ถูกทำลายด้วยการบิดเบือนรากฐานแห่งความศรัทธาต่อพระองค์ รากฐานของการปฏิบัติที่บิดพลิ้วไปจากแนวทางเพื่อพระองค์ตามจุดมุ่งหมายของผู้ที่ต้องการนั่นย่อมเป็นมูลเหตุพื้นฐานของการทำลาย การปรับปรุงแก้ไขหลักการของพระองค์นั้น มนุษย์ไม่สามารถกระทำได้ แม้ว่ามนุษย์จะประชุมร่วมกันเพื่อแก้ไขปรับปรุงก็ไม่สามารถกระทำได้เช่นกัน นอกจากพระองค์แล้วไม่มีผู้ใดที่จะมาปรับปรุงเปลี่ยนแปลงพระดำรัสของพระองค์ได้ ความสูงสุดของพระมหาคัมภีร์อัลกุรอ่าน คือ การที่ประชาชาติทั้งหลายมุ่งมั่นปฏิบัติตามนัยแห่งคำสั่งใช้และห้ามจากพระองค์ การที่มุสลิมนำพระดำรัสของพระองค์มาใช้ปฏิบัติ การท่องจำอัลกุรอ่าน การเรียนการสอนอัลกุรอ่าน และการนำเอาแนวทางของพระองค์มาใช้ในชีวิตประจำวัน ซึ่งหลักการของพระองค์เป็นหลักยึดเหนี่ยวสำคัญเป็นหลักปฏิบัติที่มุ่งเน้นย้ำให้ทุกๆ คนได้มุ่งตรงต่อพระองค์ และความสูงสุดแห่งโองการของพระองค์ คือ ไม่มีการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงเหมือนดังเช่นการออกกฎหมายของมนุษย์ที่จะปรับเปลี่ยนไปตามสภาวะและสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไป หรือล้มเลิกแล้วเขียนขึ้นใหม่ทั้งฉบับหากผู้ที่มีอำนาจต้องการ เพราะนั่นเป็นการกระทำที่ละเมิดความเป็นนิติรัฐ ไม่ใช่การมุ่งตรงต่อความเป็นที่สุดของธรรมนูญสูงสุดที่ใช้ปกครองคน หากแต่เป็นการละเมิดอธิปไตยและอำนาจของปวงชน การใช้อำนาจรัฐที่ละเมิดขอบเขตเสรีภาพทางกฎหมายเพื่อประชาชน หาใช่การมุ่งมั่นเปลี่ยนแปลงกฎหมายเพื่อสนองตอบเสรีภาพของประชาชน แต่มุ่งเพียงตอบสนองผู้ใช้อำนาจรัฐเพียงเท่านั้น ซึ่งแตกต่างจากธรรมนุญสูงสุดของมวลมุสลิมของพระองค์ (อัลกุรอ่าน) ที่ไม่มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้เข้ากับสภาพแวดล้อมทางสังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม เพราะความสมบูรณ์แห่งอัลกุรอ่านธรรมนูญสูงสุดแห่งชีวิต



إِنَّ اللَّهَ وَمَلائِكَتَهُ يُصَلُّونَ عَلَى النَّبِيِّ يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا صَلُّوا عَلَيْهِ وَسَلِّمُوا تَسْلِيمًا

رَبَّنَا آتِنَا فِي الدُّنْيَا حَسَنَةً وَفِي الآخِرَةِ حَسَنَةً وَقِنَا عَذَابَ النَّارِ

إِنَّ اللَّهَ يَأْمُرُ بِالْعَدْلِ وَالإحْسَانِ وَإِيتَاءِ ذِي الْقُرْبَى وَيَنْهَى عَنِ الْفَحْشَاءِ وَالْمُنْكَرِ وَالْبَغْيِ يَعِظُكُمْ لَعَلَّكُمْ تَذَكَّرُونَ

سُبْحَانَ رَبِّكَ رَبِّ الْعِزَّةِ عَمَّا يَصِفُونَ

وَسَلامٌ عَلَى الْمُرْسَلِينَ

وَالْحَمْدُ لِلَّهِ رَبِّ الْعَالَمِينَ

ว่าบิ้ลลาฮิเตาฟีก วั้ลฮิดายะห์

วัสสลาม

มูฮำหมัด สันประเสริฐ

ทุกๆ ความดีงามและความประเสริฐ จากมิมบัรออนไลน์นี้

ข้าพเจ้า ขอต่อพระองค์อัลลอฮ์ (ซ.บ.) ทรงตอบรับดุอาร์ และขอให้คุณแม่ของผมได้มีส่วนร่วมในผลงานนี้ด้วย

และขอต่อพระองค์ทรงตอบรับดุอาร์และให้อภัยโทษต่อคุณแม่ของผม ด้วยเทอญ

อามีน



อ้างอิง

อัลกุรอ่านฉบับภาษาไทย สมาคมนักเรียนเก่าอาหรับ ดำเนินการจัดพิมพ์โดยกระทรวงกิจการฮัจย์ แห่งราชอาณาจักรซาอุดิอาเบีย http://www.alquran-thai.com/

อัลฮาดีซ : Hadith of The Day V 1.0 Freeware by FaridAnasri avater@muslimonline.com www.beconvinced.com







วันพุธที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

إِنَّا لِلَّهِ وَإِنَّا إِلَيْهِ رَاجِعُونَ

มิมบัรออนไลน์


คุตบะห์วันศุกร์ 16 มุฮัรรอม 1434 (วันศุกร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555)



إِنَّا لِلَّهِ وَإِنَّا إِلَيْهِ رَاجِعُونَ

الْحَمْدُ لِلَّهِ رَبِّ الْعَالَمِينَ

وَلَنَبْلُوَنَّكُمْ بِشَيْءٍ مِنَ الْخَوْفِ وَالْجُوعِ وَنَقْصٍ مِنَ الأمْوَالِ وَالأنْفُسِ وَالثَّمَرَاتِ وَبَشِّرِ الصَّابِرِينَ

الَّذِينَ إِذَا أَصَابَتْهُمْ مُصِيبَةٌ قَالُوا إِنَّا لِلَّهِ وَإِنَّا إِلَيْهِ رَاجِعُونَ

أُولَئِكَ عَلَيْهِمْ صَلَوَاتٌ مِنْ رَبِّهِمْ وَرَحْمَةٌ وَأُولَئِكَ هُمُ الْمُهْتَدُونَ

ท่านพี่น้องผู้ศรัทธาทั้งหลาย

ขอขอบคุณอัลลอฮ์ (ซ.บ.) ที่ทรงเมตตาต่อเราทั้งหลายให้ได้มีชีวิตอยู่ในวันนี้ เพื่อการประกอบอามั้ลอิบาดัรสำหรับพระองค์ ดังนั้น ขอให้เราทั้งหลาย จงยึดมั่นแนวทางตามแบบฉบับของท่านศาสดา และข้อกำหนดจากอัลกุรอ่านเพื่อที่เราจะได้ดำรงตนให้อยู่ในกรอบและแนวทางแห่งอัลอิสลามต่อไป และขอให้เราทั้งหลายจงยำเกรงต่อพระองค์ อย่าออกนอกลู่นอกทาง จงดำเนินชีวิตของตนให้อยู่ในกรอบแห่งผู้ศรัทธา และดำรงตนเช่นนี้ตลอดไป และให้เพิ่มปริมาณการทำอิบาดัรให้เพิ่มพูนและพอกพูนตลอดไป

ท่านทั้งหลาย

ท่านเคยมีภารกิจที่ต้องไปส่งญาติพี่น้องที่มีจุดมุ่งหลายปลายทางยังที่อื่นๆ หรือไม่ เป็นต้นว่า ต้องไปอยู่ที่อื่นๆ นานๆ เพื่อการศึกษาต่อ หรือทำงาน หรือย้ายที่อยู่ หรือเป็นการเดินทางเพื่อไปประกอบพิธีหัจญ์ การเดินทางดังกล่าวทำให้เกิดการพลัดพรากแยกย้ายกันไป แต่ในปัจจุบันเทคโนโลยีอันทันสมัยทำให้การติดต่อสื่อสารระหว่างกันสะดวกสบายมากขึ้น เราสามารถติดต่อสื่อสารกับเขาเหล่านั้นได้ง่ายดายโดยใช้เวลาไม่นานนัก ความสะดวกสบายเช่นนี้ทำให้เราตัดกังวลและความห่วงใยโหยหาให้ลดน้อยถอยลงไปได้ การไปส่งพวกเขายังสถานีโดยสารไม่ว่าจะเป็นรถประจำทาง รถไฟ หรือเครื่องบิน เราได้เห็นความสุขใจ รอยยิ้มคราบน้ำตาแห่งความสุขได้จากทั้งใบหน้าของผู้ที่จะเดินทางและญาติทั้งหลายที่ไปส่ง ทั้งหมดนี้ เป็นความสุขใจที่เราทั้งหลายพึงได้รับและได้ลิ้มรสชาติแห่งความโหยหาอาทรห่วงใยกัน การที่เราได้ติดต่อสื่อสารกับพวกเขาที่จากไป ทำให้เราสามารถรับรู้ถึงความสุข ความประทับใจ ในการเดินทาง การใช้ชีวิตในดินแดนที่ห่างไกลออกไป เป็นการเล่าให้เห็นถึงประสบการณ์ต่างๆ ที่เขาพึงได้รับจากการเดินทางจากไป โดยมีช่วงระยะเวลาหนึ่งที่เขาเหล่านั้นจะเดินทางกลับและเราก็จะได้เห็นภาพประทับใจในความสุขจากการกลับมาของญาติดังกล่าวนั้น



ท่านทั้งหลาย

การเดินทางจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง นับว่าเป็นภารกิจอันสำคัญของมนุษย์ การเดินทางไปและกลับ ไม่ว่าจะเป็นการเดินทางไกลหรือใกล้ก็ตาม ผู้เดินทางเหล่านั้น จะได้รับประสบการณ์อันสำคัญ การลิ้มรสความทุกข์ยากในช่วงระยะเวลาดังกล่าว จนกระทั่งภารกิจดังกล่าวเสร็จสิ้น เขาเหล่านั้นได้เรียนรู้ชีวิต การหิวกระหาย การพลัดพราก การใช้ชีวิตการแลกเปลี่ยนทั้งทรัพย์สิน กำลังกาย การใช้สติปัญญา การต่อสู้ดิ้นรนนานาประการ เพื่อที่จะได้มองเห็นความสุขที่ได้รับ จากการทดสอบที่สิ้นสุดลงเมื่อเขาเดินทางกลับมายังบ้านเกิดเมืองนอน นั่นคือการเดินทางที่เราได้รับรู้ ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ ได้ตรวจสอบการใช้ชีวิตจากช่วงเวลาหนึ่ง เพื่อปรับปรุงตนเองให้ได้อยู่อย่างเหมาะสมตามภารกิจและบทบาทการแสดงออกตามช่วงเวลาและหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมาย

หากเรามองถึงการเดินทางไปส่งญาติที่กลับไปสู่ความเมตตาของพระองค์ แล้ว บรรยากาศแห่งความสูญเสีย ความหดหู่ ความโศกเศร้า ความทุกข์ยากของญาติหากผู้จากไปเป็นกำลังหลักของครอบครัว เช่นนี้ไม่แตกต่างกันมากนักหากแต่การจากไปของเขา เป็นการจากไปอย่างไม่มีวันกลับ ซึ่งแน่นอนว่า หากเขาประกอบอามั้ลอิบาดัรที่ดีถูกต้องตรงแนวทางที่พระองค์ทรงใช้และทรงห้ามแล้ว ญาติที่เดินทางไปส่งแม้จะโศกเศร้าแต่ก็จะมีภาพความประทับใจที่แฝงไว้อย่างลึกๆ ด้วยความปรีติสุขบนรอยแห่งความเศร้าเคล้าน้ำตานั้น หากเรามองในลักษณะนี้ จะพบว่า แม้เราไม่ทราบถึงว่าที่สุดแห่งการเดินทางจากไปของเขานั้นจะไปยังจุดใด แต่เราสามารถเรียนรู้ได้จากการปฏิบัติตนของเขาในช่วงเวลาขณะที่เขายังมีชีวิตอยู่นั้น เขาได้กระทำตนเช่นไร ในแง่ของการประกอบอามั้ลอิบาดัร ตลอดจนความประพฤติและมารยาทรวมถึงพฤติกรรมส่วนตัวของเขาที่ได้แสดงบทบาทตลอดช่วงอายุขัยของเขา เช่นกัน หากญาติของเราที่เราไปส่งเขากระทำตนออกนอกลู่นอกทางในกรอบแห่งอิสลาม รวมถึงพฤติกรรมและมารยาทส่วนตัวที่คนทั้งหลายสาบส่ง นั่นก็เป็นเครื่องหมายหนึ่งที่เราพอจะอนุมานได้ว่าจุดหมายปลายทางของเราจะไปสิ้นสุดลงที่แห่งใด อย่างไรก็ตาม การที่เราไปส่งเขาเหล่านั้น ขอขอดุอาร์จากพระองค์ เพื่อที่จะให้พระองค์เมตตาอภัยโทษให้กับเขา ด้วยเขานั้นเป็นบ่าวที่ดีของพระองค์ นั้น เป็นสิ่งที่ดีและเหมาะสมยิ่งและเป็นที่อนุมัติให้กระทำต่อเขาเหล่านั้น



การทดสอบจากพระองค์ในความทุกข์ยาก ต่อกิจกรรมที่หลากหลายต่างๆ นั้น เพื่อที่เราจะได้มีแนวทางปรับปรุงตนเองให้เหมาะสมได้เรียนรู้ในการขัดเกลาตนเองให้มีความอดทน ยึดมั่นต่อพระองค์ แม้ว่าการทดสอบจากพระองค์จะเพียงเล็กน้อยหรือหนักยิ่ง ก็ไม่ออกไปจากแนวทางอันเที่ยงตรงสำหรับพระองค์ เพราะสิ่งที่พระองค์ได้กำหนดสภาวการณ์ใดๆ ลงมาให้มนุษย์ได้ใช้โอกาสดังกล่าวเพื่อที่จะฝึกฝนตนเอง ตรวจสอบตนเอง อยู่ตลอดเวลาว่า พฤติกรรมของเรานั้น เป็นอย่างไร เรายึดมั่นต่อพระองค์มากน้อยเพียงไร เราอ่อนไหวต่อการทดสอบของพระองค์หรือไป เราอดทนเพียงไรในสิ่งที่เป็นการทดสอบจากพระองค์อยู่ในขณะนั้น ขอให้พิจารณาโองการจากอัลกรุอ่านซูเราะห์อัลบ้ากอเราะห์ Al-Qur'an, 002.155-157 (Al-Baqara [The Cow])

ความว่า

002.155 وَلَنَبْلُوَنَّكُمْ بِشَيْءٍ مِنَ الْخَوْفِ وَالْجُوعِ وَنَقْصٍ مِنَ الأمْوَالِ وَالأنْفُسِ وَالثَّمَرَاتِ وَبَشِّرِ الصَّابِرِينَ

002.155 Be sure we shall test you with something of fear and hunger, some loss in goods or lives or the fruits (of your toil), but give glad tidings to those who patiently persevere,

155. และแน่นอน เราจะทดลองพวกเจ้าด้วยสิ่งใดสิ่งหนึ่งจากความกลัว และความหิวและด้วยความสูญเสีย (อย่างใดอย่างหนึ่ง) จากทรัพย์สมบัติ ชีวิต และพืชผล และเจ้าจงแจ้งข่าวดีแก่บรรดาผู้อดทนเถิด

002.156 الَّذِينَ إِذَا أَصَابَتْهُمْ مُصِيبَةٌ قَالُوا إِنَّا لِلَّهِ وَإِنَّا إِلَيْهِ رَاجِعُونَ

002.156 Who say, when afflicted with calamity: "To Allah We belong, and to Him is our return":-

156. คือบรรดาผู้ที่เมื่อมีเคราะห์ร้ายมาประสบแก่พวกเขา ( เช่น การสูญเสียชีวิต หรือการสูญเสียสิ่งอื่นใดก็ตาม) พวกเขาก็กล่าวว่า แท้จริงพวกเราเป็นกรรมสิทธิ์ของอัลลอฮ์ และแท้จริงพวกเราจะกลับไปยังพระองค์

002.157 أُولَئِكَ عَلَيْهِمْ صَلَوَاتٌ مِنْ رَبِّهِمْ وَرَحْمَةٌ وَأُولَئِكَ هُمُ الْمُهْتَدُونَ

002.157 They are those on whom (Descend) blessings from Allah, and Mercy, and they are the ones that receive guidance.

157. ชนเหล่านี้แหละพวกเขาจะได้รับคำชมเชย และการเอ็นดูเมตตาจากพระเจ้าของพวกเขาและชนเหล่านี้แหละคือผู้ที่ได้รับข้อแนะนำอันถูกต้อง



ท่านพี่น้องผู้ศรัทธาแล้วทั้งหลาย

การที่เราจะเป็นผู้ที่มีคนรักและเมตตาได้นั้น หากพิจารณาถึงเพื่อนมนุษย์ด้วยกันแล้ว จะพบว่า เพื่อนมนุษย์นั้นจะรักใคร่ต่อคนที่มีพฤติกรรมที่ดี อ่อนโยน ไม่หยิ่งยโส และต้องเป็นคนที่มีมารยาทดีด้วย แต่การที่เราจะเป็นผู้ที่พระองค์ทรงรักและเมตตาได้นั้น นอกจากเราจะเป็นคนที่มีมารยาทที่ดีงามต่อเพื่อมนุษย์ด้วยกันแล้ว เรายังต้องเป็นผู้ที่มีความอดทนเป็นสำคัญยิ่งด้วย เพราะคนที่จะเป็นที่รักของใครๆ ได้นั้น แน่นอนว่า เขาก็ต้องกระทำตนไม่ให้คนอื่นๆ รังเกียจเดียดฉันท์ต่อเขาด้วย เขาต้องเป็นผู้ที่มีมารยาทที่ดีเยี่ยม มีความอดทนต่อการทดสอบต่างๆ จากพระองค์ ไม่ว่าการทดสอบนั้น จะต้องถูกทดสอบในเรื่องราวใดก็ตาม เขาต้องพร้อมสำหรับการทดสอบทั้งสิ้น เขาต้องพร้อมในทุกๆ เรื่องทั้งคำสั่งใช้และคำสั่งห้ามจากพระองค์ สนองตอบในทุกเรื่องที่เป็นการเรียกร้องจากพระองค์ ซึ่งหากพิจารณาถึงความรักจากพระองค์ที่มีต่อบรรดาศาสนทูตของพระองค์แล้ว ท่านศาสดาอิบรอฮีม (อ้าลัยฮิสสลาม) คือผู้ที่พระองค์ทรงรักยิ่ง เพราะหากเราพิจารณาถึงประวัติของท่านแล้วจะพบว่า ท่านเป็นผู้ที่ถูกทดสอบจากพระองค์มากที่สุด และถูกทดสอบในทุกๆ เรื่องทั้งจากชีวิต ทรัพย์สิน และลูกหลานของท่าน และสิ่งที่เป็นแบบฉบับของท่านที่แสดงให้เห็นอย่างได้ชัดนั่นคือ ความอดทนที่มีต่อภาคผลแห่งการทดสอบต่างๆ เหล่านั้น ในที่สุดแล้ว ท่านจึงเป็นศาสนทูตที่พระองค์ทรงรักยิ่ง และเป็นแบบฉบับแห่งศาสนทูตสากลในยุคต่อๆ มา และนี่เอง คือตัวอย่างที่ดีสำหรับมวลผู้ศรัทธาทั้งหลายที่จะใช้เป็นแบบอย่างในความสำเร็จที่มีต่อแนวปฏิบัติที่ดีงามสำหรับพระองค์



ท่านทั้งหลาย

การทดสอบจากพระองค์ ที่เป็นตัวอย่างสำคัญในยุคสมัยของท่านศาสดาอิบรอฮีม นั่นคือ การพลีทาน (กุรบ่าน) ซึ่งเป็นการทดสอบที่เป็นเสมือนเส้นแบ่งที่เบาบางระหว่างการที่จะได้ใกล้ชิดกับพระองค์กับความมืดบอดของการหวงแหน และนั่นคือรอยแยกและจุดแบ่งที่ชัดเจนถึงความเตตาเพื่อพระองค์ กับการแสดงออกถึงความเลวร้ายจากความโอ้อวดหยิ่งผยองต่อพระองค์ ทั้งๆ ที่มันใกล้ชิดกันแต่ห่างกันราวกับฟ้าสูงลิบและเหวที่ลึกที่สุด ทั้งๆ ที่มันมีรากฐานมาจากแหล่งกำเนิดเดียวกัน ขอให้พิจารณาจากอัลฮาดีส ต่อไปนี้

I heard the Prophet (p.b.u.h) delivering a Khutba saying, "The first thing to be done on this day (first day of 'Id ul Adha) is to pray; and after returning from the prayer we slaughter our sacrifices (in the name of Allah) and whoever does so, he acted according to our Sunna (traditions)." Narrated by: Al Bara Source : Sahih Al-Bukhari 2.71

ขอให้เราทั้งหลายในที่นี้ จงยำเกรงต่อพระองค์ให้มากๆ และจงอดทนปฏิบัติศาสนกิจเพื่อพระองค์ ด้วยจิตใจที่บริสุทธิ์ ต่อพระองค์ เพราะสำหรับพระองค์นั้น นั่นคือแนวทางอันเที่ยงตรงที่เราสามารถเดินตามได้อย่างดีเยี่ยม เป็นแนวทางสำหรับผู้ปฏิบัติทุกๆ คนที่จะก้าวตามโดยที่ไม่มีภัยพิบัติใดๆ มากล้ำกราย เป็นแนวทางที่เราทุกๆ คนมีความพร้อมเสมอสำหรับการทดสอบจากพระองค์ แม้ว่าการทดสอบจากพระองค์นั้น จะทดสอบในเรื่องที่เล็กน้อยหรือเป็นการทดสอบในเรื่องที่ยิ่งใหญ่ ขอให้เรานั้น จงยึดมั่นและอดทนต่อกิจกรรมที่มีอยู่ต่อหน้าเราและใช้แนวทางแห่งอัลอิสลาม ตามแบบฉบับของท่านศาสดาและบทบัญญัติแห่งอัลกุรอ่านของพระองค์ อย่างแน่วแน่ เพราะนั่นคือชัยชนะอันยิ่งใหญ่สำรับเราที่มุ่งหวังการประกอบศาสนกิจเพื่อพระองค์ เสมือนหนึ่งว่าเป็นความชื่นใจมีเรามีบนคราบน้ำตาแห่งความพลัดพรากต่อการจากไปของการส่งญาติไม่ว่าจะเป็นการส่งญาติเพื่อการเดินทางหรือเป็นการส่งญาติไปยังสุสาน เพราะนั่น คือการทดสอบที่ง่ายสำหรับพระองค์ แต่หากเป็นการทดสอบที่ยิ่งใหญ่ที่มาจากพระองค์ในเรื่องอื่นๆ แล้ว ก็ขอให้เราจงมั่นคงและอดทนเพื่อพระองค์ เพื่อที่เราจะมีความสุขเพื่อพระองค์ตราบนิรันดรกาล



إِنَّ اللَّهَ وَمَلائِكَتَهُ يُصَلُّونَ عَلَى النَّبِيِّ يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا صَلُّوا عَلَيْهِ وَسَلِّمُوا تَسْلِيمًا

رَبَّنَا آتِنَا فِي الدُّنْيَا حَسَنَةً وَفِي الآخِرَةِ حَسَنَةً وَقِنَا عَذَابَ النَّارِ

إِنَّ اللَّهَ يَأْمُرُ بِالْعَدْلِ وَالإحْسَانِ وَإِيتَاءِ ذِي الْقُرْبَى وَيَنْهَى عَنِ الْفَحْشَاءِ وَالْمُنْكَرِ وَالْبَغْيِ يَعِظُكُمْ لَعَلَّكُمْ تَذَكَّرُونَ

سُبْحَانَ رَبِّكَ رَبِّ الْعِزَّةِ عَمَّا يَصِفُونَ

وَسَلامٌ عَلَى الْمُرْسَلِينَ

وَالْحَمْدُ لِلَّهِ رَبِّ الْعَالَمِينَ

ว่าบิ้ลลาฮิเตาฟีก วั้ลฮิดายะห์

วัสสลาม

มูฮำหมัด สันประเสริฐ

ทุกๆ ความดีงามและความประเสริฐ จากมิมบัรออนไลน์นี้
ข้าพเจ้า ขอต่อพระองค์อัลลอฮ์ (ซ.บ.) ทรงตอบรับดุอาร์ และขอให้คุณแม่ของผมได้มีส่วนร่วมในผลงานนี้ด้วย
และขอต่อพระองค์ทรงตอบรับดุอาร์และให้อภัยโทษต่อคุณแม่ของผม ด้วยเทอญ 
อามีน


อ้างอิง

Text Copied from DivineIslam's Qur'an Viewer software v2.9

อัลกุรอ่านฉบับภาษาไทย สมาคมนักเรียนเก่าอาหรับ ดำเนินการจัดพิมพ์โดยกระทรวงกิจการฮัจย์ แห่งราชอาณาจักรซาอุดิอาเบีย http://www.alquran-thai.com/

อัลฮาดีซ : Hadith of The Day V 1.0 Freeware by FaridAnasri avater@muslimonline.com www.beconvinced.com

วันอังคารที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2555

มูลค่าของสินทรัพย์

มิมบัรออนไลน์
คุตบะห์วันศุกร์ 23 ร่อบีอุ้ลอาเคร 1433 (วันศุกร์ที่ 16 มีนาคม 2555)

มูลค่าของสินทรัพย์

الْحَمْدُ لِلَّهِ رَبِّ الْعَالَمِينَ
لَنْ تَنَالُوا الْبِرَّ حَتَّى تُنْفِقُوا مِمَّا تُحِبُّونَ وَمَا تُنْفِقُوا مِنْ شَيْءٍ فَإِنَّ اللَّهَ بِهِ عَلِيمٌ

ท่านพี่น้องผู้ศรัทธาทั้งหลาย
หากเราจะพิจารณาถึงมูลค่า หรือคุณค่า
ในตัวมนุษย์ด้วยกันนั้น เราใช้หลักเกณฑ์ใดเป็นตัวพิจารณา ในแต่ละมุมมอง จะพิจารณาถึงตัวกำหนดที่หลากหลาย
เป็นไปตามประสบการณ์ของแต่ละท่านที่จะบ่งบอกถึงมูลค่าของเขาเหล่านั้น
แต่สิ่งหนึ่งที่สังคมพิจารณากัน นั่นคือ ผลงานของเขา
ผลการปฏิบัติงานของเขาทั้งในเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ กระนั้นก็ตาม
ผลงานในเชิงคุณธรรมและจริยธรรม ก็เป็นสิ่งหนึ่งที่บ่งถึงคุณค่าในตัวบุคคลได้ด้วยเช่นกัน
ซึ่งผลงานในเชิงคุณธรรมและจริยธรรมจะเกี่ยวพันกับผลการปฏิบัติงานทั้งในเชิงคุณภาพและปริมาณ
ซึ่งอนุมานได้ว่า คุณค่าในตัวบุคคล และการวัดผลงานในตัวบุคคลนั้น สามารถตีค่าหรือประเมินค่าออกมาเป็นตัววัด
ที่หลายๆ ภาคส่วนนิยมใช้เป็นข้อกำหนดในการประเมินผล แต่กระนั้นก็ตาม
ตัววัดของมนุษย์มักจะเอนเอียงไปบ้างตามโลกทัศน์ของผู้ประเมิน
ซึ่งหาใช่เป็นความยุติธรรมที่ควรจะได้รับ
หากแต่แฝงเร้นไปด้วยคติส่วนตัวและค่านิยมส่วนตัวของมนุษย์และมาตรฐานรวมถึงมาตรการที่ใช้ในการประเมินสิ่งเหล่านั้น
จึงขอเตือนตนเองและท่านทั้งหลาย ณ ที่นี้
จงพิจารณาถึงมูลค่าของตัวตน มูลค่าของตัวเรา เป็นมูลค่าที่ต้องถูกสอบสวนในทุกๆ
ด้าน ตามมาตรฐานที่พระองค์อัลลอฮ์ (ซ.บ.) ทรงกำหนด เป็นมาตรฐานเดียวที่จะบ่งบอกได้ว่า
เราหรือเขาคนนั้น จะได้รับความเมตตาจากพระองค์มากน้อยเพียงใดในวันแห่งการตัดสิน
แน่นอนว่า หลายๆ คน ยังมองข้ามความสำคัญในเรื่องนี้ ทั้งๆ ที่เรื่องราวเหล่านี้
เป็นเรื่องใหญ่ยิ่งสำหรับพระองค์ วันนี้การปฏิบัติตนของเราอยู่ในกรอบ กติกา
และมารยาท ที่พระองค์ทรงกำหนดไว้หรือไม่ ทั้งในเรื่องที่พระองค์ทรงใช้ให้กระทำ
เรื่องที่พระองค์ทรงห้ามการกระทำเหล่านั้น อีกทั้งการล่วงละเมิดผู้อื่น
ทั้งในทางกาย วาจา รวมถึงจิตใจ นั้น สิ่งต่างๆ เหล่านี้ ยังมีอยู่หรือไม่ ดังนั้น
วันนี้มนุษย์สามารถตีค่าหรือประเมินตนเองได้ เพียงตามประสบการณ์ที่เขาพบมา หรือเป็นสิ่งที่มนุษย์ได้สัมผัส
เพื่อตอบสนองเพียงว่า มนุษย์นั้นตีค่าหรือประเมินค่า
เพียงเท่าที่เขารับรู้เท่านั้น
ในส่วนที่เขาไม่มีความสามารถในการรับรู้เรื่องราวเหล่านั้น
เขาไม่สามารถตีค่าหรือประเมินค่าในเรื่องราวเหล่านั้น ได้เลย
ท่านทั้งหลาย
มูลค่าในรูปตัวเงิน ทรัพย์สิน
หรือสินทรัพย์ต่างๆ ที่มนุษย์ถือครองอยู่นั้น ตีค่าหรือประเมินค่าได้อย่างไร
หากพิจารณามูลค่าของ “เงิน” ที่เราทั้งหลายถือครองอยู่นั้น มีมูลค่าอย่างไร หลายๆ
คนกังวลว่า “มูลค่า” ของมันนั้น ใช้สิ่งใดเป็นมาตรฐานในการกำหนด
หากพิจารณาในเชิงเศรษฐศาสตร์การเงินแล้ว จะเห็นว่า เงินทั้งหลายนั้น ค่าของมัน
อยู่ที่การหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ มูลค่าของมันสามารถขึ้นลงได้ตามอัตราแลกเปลี่ยน
และจากการประเมินค่าของสถาบันมาตรฐานทางการเงิน ที่พิจารณาถึง “ทุนรักษาระดับเงินตรา”
และมาตรฐานทองคำของประเทศเหล่านั้น อีกทั้งพิจารณาถึงความน่าเชื่อถือหรือเครดิตของประเทศ
เป็นค่าที่ใช้ในการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ ทั้งนี้
มีตัวแปรหลายๆ ตัวที่ใช้ในการกำหนด “มูลค่า” ของมัน ไม่ว่าจะเป็น อัตราเงินเฟ้อ
อัตราดอกเบี้ย อัตราการว่างงาน รายได้ประชาชาติ และผลผลิตมวลรวมของประเทศ
และสิ่งหนึ่งที่ต้องนำมาพิจารณาด้วย นั่นคือ ช่วงเวลา “ยุค”หรือ ระยะเวลาที่ใช้พิจารณามูลค่าของมัน
ในส่วนของภาคประชาชน เราสังเกตถึงมูลค่าของเงินนั้น
โดยการจับจ่ายใช้สอยในชีวิตประจำวัน เมื่อใดก็ตามที่สินค้าและบริการมีอัตราสูงขึ้น
แน่นอนว่า มุลค่าของเงินที่เราถืออยู่ในมือจะมีค่าลดลงหากเปรียบเทียบกับช่วงเวลาก่อนหน้านี้
แต่ในบางสินค้า มูลค่าของวันจะเคลื่อนไหวไปตามสภาวการณ์ทางเศรษฐกิจ
ฤดูกาลของสินค้า
รวมถึงปัจจัยทางเศรษฐกิจทั้งอุปสงค์และอุปทานในสินค้าเหล่านั้น
ท่านทั้งหลาย
“เงิน”
ที่เราถืออยู่ในมือของเรา เราสามารถล่วงรู้ถึงคุณค่าของมันก็ต่อเมื่อเราได้ใช้สอยมัน
หรือทำให้มันเกิดการหมุนเวียนในทางเศรฐกิจ แต่ทั้งนี้ เราต้องพิจารณาปัจจัยอื่นๆ
ด้วย เป็นต้นว่า คนที่ถือ “เงิน” เหล่านั้น เป็นใคร และความพึงพอใจใน “เงิน”
เหล่านั้นด้วย ตลอดจน ความพึงพอใจในการใช้ “เงิน” เหล่านั้นแล้ว เขาแสดงออกอย่างไร
เมื่อเขาได้นำ “เงิน” เหล่านั้น ให้หมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ จะเห็นว่า “เงิน”
ก้อนหนึ่งในมือของผู้มีอันจะกิน กับ “เงิน” ที่มี “มูลค่า”
เดียวกันในมือของผู้ยากไร้ คุณค่าของมันช่างแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง
เงินในมือของผู้มีอันจะกิน อาจถูกใช้ไปได้โดยง่ายไม่มีความรู้สึกถึงความเสียดาย
เพราะเมื่อหมดไป เขาก็สามารถนำเงินที่ได้จากแหล่งอื่นๆ
เข้ามาใช้ในชีวิตประจำวันของเขาโดยไม่รู้สึกว่าเงินเหล่านั้น จะหมดไป
เพราะเขามีความสามารถที่จะนำเงินเหล่านั้นมาใช้ได้อย่างต่อเนื่อง ผิดกับเงินในมือของผู้ยากไร้
ดูเหมือนว่าทุกบาททุกสตางค์ของมัน ที่จะหยิบมาใช้สอย ต้องคิดหน้าคิดหลัง ว่า เมื่อใช้เงินเหล่านั้นไปแล้ว
เขาจะเหลือเงินอีกเท่าไร ที่จะจัดหาสินค้าและอาหารในการประดังชีวิตของเขาและครอบครัวในวันต่อไป
ให้สามารถใช้ชีวิตได้อย่างเพียงพอ
และต่อยอดความพึงพอใจในการดำรงชีพของเขาได้อย่างต่อเนื่อง ท่านศาสดา (ซ.ล.) จึงได้สร้างแบบฉบับในการแบ่งปันและการเผื่อแผ่ซึ่งกันและกันในสังคมมุสลิม
เป็นการสร้างความสมานฉันท์ระหว่างกันในชุมชน ที่ทุกๆ ภาคส่วนนั้น
ต้องเหลียวแลคนที่ด้วยกว่า เพื่อที่จะทำให้สังคมดำเนินไปอย่างเหมาะสม เพียงพอ
การสร้างภราดรภาพระหว่าง “ผู้ให้” กับ “ผู้รับ” จึงเป็นภารกิจที่สำคัญของสังคม
เพื่อที่จะแบ่งปันความสุข
มากกว่าการแข่งขันกันสะสมทรัพย์สินและสินทรัพย์ในปริมาณที่เพิ่มพูนสูงขึ้น
ในขณะที่สังคมโดยรวมถูกมองข้าม หรือละเลย
ละทิ้งให้เขาเหล่านั้นต้องมีคุณภาพชีวิตที่ต่ำเตี้ย ขณะที่อีกส่วนหนึ่งในสังคมอยู่ในภาวะแห่งการแข่งขันและทะยานก้าวไปไต่ระดับความสูงขึ้นทุกๆ
วัน ขอให้พิจารณาโองการจากซูเราะห์ อาลิอิมรอน Al-Qur'an,
003.092 (Aal-E-Imran [The Family of Imran]) ความว่า
003.092 لَنْ تَنَالُوا الْبِرَّ حَتَّى تُنْفِقُوا مِمَّا تُحِبُّونَ وَمَا تُنْفِقُوا مِنْ شَيْءٍ فَإِنَّ اللَّهَ بِهِ عَلِيمٌ
003.092 By no means shall ye attain righteousness unless ye give
(freely) of that which ye love; and whatever ye give, of a truth Allah knoweth
it well.
92. พวกเจ้าจะไม่ได้คุณธรรมเลยจนกว่าพวกเจ้าจะบริจาคจากสิ่งที่พวกเจ้าชอบ
และสิ่งใดที่พวกเจ้าบริจาคไป แท้จริงอัลลอฮฺทรงรู้ในสิ่งนั้นดี
จากอายะห์ที่ได้หยิบยกมา จะเห็นถึง
คุณค่าและความสำคัญของการ “แบ่งปัน” และ “มูลค่า” ที่เพิ่มขึ้นในสรรพสิ่งที่เรา “ให้”
กับกลุ่มชนที่อยู่ในขอบข่ายสมควรได้รับ และมูลค่าแห่งทรัพย์สินดังกล่าวนั้น ย่อมเป็นที่ประจักษ์
ณ พระองค์อัลลอฮ์ (ซ.บ.) เพราะการ “ให้ เพื่อให้” นั้น
เป็นการให้ที่เพิ่มพูนคุณค่าและความสำคัญในทรัพย์สินเหล่านั้น มากกว่า
การให้โดยหวังผลตอบแทนในระยะสั้นๆ ทั้งทางด้านหน้าตา เกียรติยศ และทรัพย์สิน
โดยเฉพาะเกียรติยศที่ได้รับภายหลังจากการให้ จะเห็นว่า สิ่งเหล่านั้น
เป็นเพียงภาพฉาบฉวย ที่สังคมปรุงแต่งให้เห็น เป็นเพียงมายาภาพ
ที่สะท้อนให้เห็นถึงความเสียดายในทรัพย์สินเหล่านั้น มูลค่าของมันจึงได้สะท้อนเพียง
มายาที่สังคมมอบให้ แต่ ณ พระองค์แล้ว มูลค่าของมันหาได้นำพาเขาเหล่านั้นได้เข้าไปใกล้ชิดกับพระองค์
ซึ่งตรงกันข้าม มายาคติที่แฝงมากับความเสียดายของเขา
นำเขาก้าวเข้าไปใกล้ชิดกับไฟนรกที่พระองค์จะมอบหมายให้กับบรรดาผู้ที่พระองค์ทรงกริ้วและบรรดาผู้ที่โออวดตนเอง
โดยเฉพาะอย่างยิ่งบรรดาผู้ที่สะสมทรัพย์สิน จนมองข้ามความยำเกรงสำหรับพระองค์
ท่านทั้งหลาย
ในส่วนของ “ผู้รับ” แม้ว่า
การได้มาซึ่งทรัพย์สิน หรือสินทรัพย์จากผู้ที่ “ออกซากาต”
ซึ่งถือเป็นหน้าที่ตามศาสนบัญญัติที่ผู้ที่อยู่ในข่ายที่ต้องออกซากาตต้องกระทำหน้าที่ของตนเองก็ตาม
แต่สำหรับผู้มีสิทธิในทรัพย์ซากาตเหล่านั้น เมื่อเขาได้รับแบ่งปันสินทรัพย์เหล่านั้นมาแล้ว
ใช่ว่าการใช้ทรัพย์สินเหล่านั้นอย่างไม่ “บันยะบันยัง” อย่างละโมภ โดยปราศจากความละอาย
เพราะความที่เขาไม่ได้ใกล้ชิดกับสิ่งเหล่านั้นมานาน หรือรอคอยมานาน
แต่เขาเหล่านั้น ต้องพิจารณาถึง คุณค่า ความพึงพอใจ และความคาดหวังในทรัพย์สินเหล่านั้น
ซึ่งอาจพิจารณาถึงช่วงหนึ่งของชีวิต ความยากแร้นแสนเข็ญที่เขาได้ประสบมา
รวมถึงการใช้อย่างระมัดระวัง และเขาพึงสำนึกอยู่เสมอว่า
เขาต้องไม่อยู่ในสถานภาพของผู้รับตลอดไป สักวันหนึ่งเขาต้องพลิกกลับเป็น “ผู้ให้”
บ้าง และการบริโภคสินทรัพย์ต่างๆ เหล่านั้น เขาพึงบริโภดตามความพึงพอใจของเขาอย่างเหมาะสมเพียงใด
มีของเหลือบ้างหรือไม่ และเขาจัดการกับของเหลือเหล่านั้นอย่างไร
ขอให้พิจารณาถึงสภาพของผู้ที่หิวโซ
ตราบเมื่อเขาได้มีโอกาสได้บริโภคอาหารมื้อแรกภายหลังความหิวโซนั้น
อาหารที่เขาได้รับ อาหารที่เขาได้บริโภค อาหารที่เหลือทิ้ง และอาหารที่เขาจะจัดเก็บไว้บริโภคในวันหลังจากนั้น
เขาจัดการกับสิ่งต่างๆ เหล่านั้น อย่างไร มูลค่าของสิ่งเหล่านั้น
หากมองในชิงปริมาณแล้ว อาจน้อยนิด หรือเทียบไม่ได้กับมูลค่าของการบริโภคของอัครมหาเศรษฐีที่รับประทานอาหาร ในร้านอาหารเลิศหรู
รวมถึงสิ่งที่เหลือกินเหลือใช้ของเขาเหล่านั้น แต่สำหรับในบรรดา “ผู้รับ”
สิ่งที่เหลือกินเหลือทิ้ง นั้น มันไม่ต่างกันกับบรรดาเศรษฐีก็ตาม
แต่มูลค่าของการทิ้งขว้างสิ่งเหล่านั้น คือ
สิ่งที่จะตอบโจทย์ความยำเกรงต่อพระองค์ในวันแห่งการตอบแทน
เพราะเมื่อใดก็ตามการทิ้งปัจจัยแห่งริสกีจากพระองค์ แน่นอนว่า
เขาปฏิเสธความปรารถนาดีของพระองค์ ทั้งๆ ที่พระองค์ได้ให้เขาแล้ว
แต่เขาปฏิเสธด้วยการเหลือทั้งขว้าง และนั่นคือ สิ่งที่จะสะท้อนให้เห็นถึงคุณค่า “มูลค่า”
ของมัน เมื่อยามที่เรา ขัดสน


إِنَّ اللَّهَ وَمَلائِكَتَهُ يُصَلُّونَ عَلَى النَّبِيِّ يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا صَلُّوا عَلَيْهِ وَسَلِّمُوا تَسْلِيمًا
رَبَّنَا آتِنَا فِي الدُّنْيَا حَسَنَةً وَفِي الآخِرَةِ حَسَنَةً وَقِنَا عَذَابَ النَّارِ
إِنَّ اللَّهَ يَأْمُرُ بِالْعَدْلِ وَالإحْسَانِ وَإِيتَاءِ ذِي الْقُرْبَى وَيَنْهَى عَنِ الْفَحْشَاءِ وَالْمُنْكَرِ وَالْبَغْيِ يَعِظُكُمْ لَعَلَّكُمْ تَذَكَّرُونَ
سُبْحَانَ رَبِّكَ رَبِّ الْعِزَّةِ عَمَّا يَصِفُونَ
وَسَلامٌ عَلَى الْمُرْسَلِينَ
وَالْحَمْدُ لِلَّهِ رَبِّ الْعَالَمِينَ
والسَلامٌ
มูฮำหมัด
สันประเสริฐ
23
ร่อบีอุ้ลอาเคร 1433

อ้างอิง
อัลกุรอ่านฉบับภาษาไทย สมาคมนักเรียนเก่าอาหรับ
ดำเนินการจัดพิมพ์โดยกระทรวงกิจการฮัจย์ แห่งราชอาณาจักรซาอุดิอาเบีย , www.DivineIslam.com
อัลฮาดีซ :
Hadith of The Day V 1.0 Freeware by FaridAnasri avater@muslimonline.com www.beconvinced.com

วันพุธที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2555

อาหารการกินของผู้ศรัทธา

มิมบัรออนไลน์
คุตบะห์วันศุกร์ 16 ร่อบีอุ้ลอาเคร 1433 (วันศุกร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2555)

อาหารการกิน ของผู้ศรัทธา
الْحَمْدُ لِلَّهِ رَبِّ الْعَالَمِينَ
يَا أَيُّهَا النَّاسُ كُلُوا مِمَّا فِي الأرْضِ حَلالا طَيِّبًا وَلا تَتَّبِعُوا خُطُوَاتِ الشَّيْطَانِ إِنَّهُ لَكُمْ عَدُوٌّ مُبِينٌ
يَا قَوْمِ ادْخُلُوا الأرْضَ الْمُقَدَّسَةَ الَّتِي كَتَبَ اللَّهُ لَكُمْ وَلا تَرْتَدُّوا عَلَى أَدْبَارِكُمْ فَتَنْقَلِبُوا خَاسِرِينَ
فَمَنْ تَابَ مِنْ بَعْدِ ظُلْمِهِ وَأَصْلَحَ فَإِنَّ اللَّهَ يَتُوبُ عَلَيْهِ إِنَّ اللَّهَ غَفُورٌ رَحِيمٌ

ท่านพี่น้องผู้ศรัทธาทั้งหลาย
ช่วงเวลานี้
เป็นช่วงที่เราทั้งหลายต่างมุ่งมั่นทำงานเพื่อให้ทันกับเวลา ทันต่อเป้าหมายของงาน
ซึ่งเป็นเป้าหมายขององค์กรที่ได้กำหนดไว้ ความเร่งรีบ การตรวจสอบความถูกต้องของงาน
มักจะเดินสวนทางกัน แต่ถึงกระนั้น เราทั้งหลาย ก็ต้องหมั่นตรวจสอบผลงาน
ตรวจสอบความถูกต้อง และตรวจสอบพฤติกรรมการทำงานของเราเพื่อให้เกิดความถูกต้อง
แน่นอน และมีความรับผิดชอบต่อผลงานให้เป็นที่ประจักษ์
ซึ่งแสดงให้เห็นถึงคุณภาพของงาน คุณภาพขององค์กร ที่หลายๆ ภาคส่วนมุ่งมั่นใส่ใจถึงการที่จะมีเกียรติบัตรรับรองความมีมาตรฐานสากล
เพื่อเป็นการรองรับความน่าเชื่อถือขององค์กร ดังนั้น จึงขอเตือนตนเองและท่านทั้งหลาย
จงใส่ใจในการตรวจสอบตนเอง การรับรองตนเองในเรื่องของมาตรฐานการเป็นมุสลิมในทุกๆ
แง่มุม ทุกๆ กฎเกณฑ์ ข้อบังคับ เพื่อที่เราจะได้เป็นมุสลิมที่มีคุณภาพ
ตามแบบแผนที่ท่านศาสดาได้กระทำเป็นแบบฉบับไว้
หาใช่เพียงเรื่องใดเรื่องหนึ่งในความเป็นมุสลิม หากแต่ว่าในทุกๆ เรื่อง
ต่างมีแง่คิดในการกระทำหรือละเว้นการกระทำ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการพิจารณาเลือกสรรอาหารการกิน แน่นอนว่า ต้องความมั่นใจในการเลือกสรร
การตรวจสอบตราผลิตภัณฑ์ สารอาหารตามที่ปรากฎบนฉลาก
มาตรฐานรับรองจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตลอดจน มาตรฐานของสินค้าเหล่านั้น มีการรับรองจากสถาบันทางศาสนาที่จะออกตรารับรองฮาล้าล
หรือไม่
ท่านทั้งหลาย
ยามที่อากาศร้อนเช่นนี้
ในภาวะที่โลกกำลังประสบกับภัยพิบัติอันเนื่องจาก “ปรากฏการณ์เรือนกระจก”
อันเป็นผลให้เกิดภัยพิบัติทั้งวาตะภัย อุทกภัย ดินถล่ม ไปจนถึงอัคคีภัย
ซึ่งเป็นพิบัติภัยที่ทำให้เกิดความน่าสะพึงกลัวต่อมวลประชาชาติทั้งหลายในอันที่จะต้องหาทางป้องกัน
ปัดเป่าภัยพิบัติเหล่านี้ ให้ลดความน่ากลัวลง
แม้ว่าเราไม่สามารถหลีกเลี่ยงที่จะประสบกับภัยพิบัติต่างๆ เหล่านั้น จะเห็นได้ว่า
ภัยพิบัติต่างๆ ล้วนเป็นการทดสอบชองพระองค์ ต่อการที่เหล่าประชาชาติทั้งหลายจะยำเกรงต่อพระองค์
เชื่อฟังต่อประองค์ และยึดมั่นปฏิบัติศาสนกิจเพื่อประองค์มากน้อยเพียงใด
ภัยพิบัติที่เกิดขึ้น สะท้อนให้เห็นถึงความจริงหนึ่งของวันสุดท้ายของโลกที่จะมาถึงในไม่ช้า
เป็นการเตือนล่วงหน้าจากหลายๆ เหตุการณ์ ที่ผ่านพ้นมา จะเห็นว่า
มนุษย์ยังไม่สำนึกถึงกระแสความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ ประหนึ่งว่า ความเฉื่อยฉา
ความไม่กระตือรือร้นที่จะตรวจสอบพิจารณาตนเอง สุดท้ายแล้วมนุษย์
จะไม่สามารถหลีกเลี่ยงผลกรรมที่ตนเองได้กระทำไว้แม้ว่าผลกรรมเหล่านั้น
จะถูกถ่วงเวลาในช่วงอายุขัยของเขา แต่เลยผ่านไปยังรุ่นลูกหลานของเขา ดังเช่น
ปรากฎการณ์เรือนกระจกที่ใช้เวลาบ่มเพาะมากว่า 10 ปี สะท้อนให้เห็นได้ว่า
การใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของมนุษย์ เราละเลยตนเอง
ละเลยความน่าสะพึงกลัวเหล่านี้ ด้วยภาพแห่งความสุข ภาพแห่งกาลเวลาที่ฉายฉวยไปด้วยควาบันเทิง
ตามอารมณ์และความสุข โดยมองข้ามความคิด ความคาดหวังที่ว่าในวันหนึ่งหลังจากนั้น
ทุกๆ ภาคส่วนต้องประสบกับผลกรรมตามที่ตนเองได้กระทำไว้ในช่วงหนึ่งของชีวิต
แน่นอนว่า มนุษย์ยังมองข้ามความสำคัญของเรื่องนี้
ท่านทั้งหลาย
ในช่วงหน้าแล้ง เป็นช่วงที่จุลินทรีย์
หรือสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่เราไม่สามารถมองด้วยตาเปล่าได้ มีประสิทธิภาพในการแพร่ขยายพันธ์ค่อนข้างสูงยิ่ง
เราสังเกตุได้จากอาหารที่เราทิ้งไว้ไม่นาน อาจบูดเน่าได้ง่าย ด้วยเหตุนี้
ทางราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงรณรงค์กันอย่างกว้างขวางและแพร่หลายตามสื่อสารมวลชนต่างๆ
เกี่ยวกับสุขภาพอนามัย การป้องกันที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพและสุขอนามัยของทุกๆ คน
ดังนั้น การตรวจตรา การให้ความมั่นใจต่อการเลือกสรร
จึงเป็นสิ่งที่มีความสำคัญมากที่สุดรองลงมาจากความมั่นใจที่จะบริโภคอาหารเหล่านั้น
ลองพิจารณาโองการจากซูเราะห์ อัลบ้ากอเราะห์ Al-Qur'an,
002.168 (Al-Baqara [The Cow]) ความว่า
002.168 يَا أَيُّهَا النَّاسُ كُلُوا مِمَّا فِي الأرْضِ حَلالا طَيِّبًا وَلا تَتَّبِعُوا خُطُوَاتِ الشَّيْطَانِ إِنَّهُ لَكُمْ عَدُوٌّ مُبِينٌ
002.168 O ye people! Eat of what is on earth, Lawful and good; and
do not follow the footsteps of the evil one, for he is to you an avowed enemy.
168. มนุษย์เอ๋ย! จงบริโภคสิ่งอนุมัติที่ดี ๆ
จากสิ่งที่อยู่ในแผ่นดิน และจงอย่าตามบรรดาก้าวเดินของชัยฏอน แท้จริงมันคือศัตรูที่ชัดแจ้งของพวกเจ้า
อาหารการกิน สำหรับบรรดามุสลิมแล้ว
เราต้องใช้การไตร่ตรองเลือกสรรให้มากกว่าคนอื่นๆ เพราะเรามีข้อจำกัดของการเลือกอาหารการกินอยู่แล้ว
ปฏิเสธไม่ได้ว่า การเลือกอาหารการกินของเรา เป็นเรื่องที่ใหญ่มาก
เปรียบเสมือนว่าเป็นสัญลักษณ์ของศาสนาด้วยซ้ำ จะเห็นว่า
ในสังคมเป็นที่ประจักษ์แล้วว่า “มุสลิม คือ กลุ่มชนที่ไม่กินหมู”
แต่สำหรับมุสลิมแล้ว การเลือกที่จะบริโภคอาหารนั้น
เราต้องมีความพิถีพิถันมากกว่าชนกลุ่มอื่นๆ
นอกจากการพิจารณาตราผลิตภัณฑ์ของสินค้าที่จะบริโภค การมีตรา “อ.ย.” รับรอง แล้ว
ตรารับรอง “ฮาล้าล” จึงเป็นสิ่งที่เราต้องให้ความสำคัญก่อนการบริโภคในอาหารหรือสินค้าเหล่านั้นด้วย
นอกเหนือไปจากการพิจารณาวันผลิตและวันหมดอายุของสินค้าเหล่านั้น
เพื่อให้เราได้บริโภคสินค้าได้ถูกหลักการและถูกสุขอนามัย ปลอดภัย และมีความสุข จะเห็นได้ว่า
การบริโภคอาหาร เป็นสิ่งที่เราทุกคนต้องให้ความสำคัญ การเลือกที่จะบริโภคภายหลัก “หลักการศรัทธา”
นั้น เราถูกสั่งสอนจนกลายเป็นวัฒนธรรมของมุสลิมไปแล้ว ในรุ่นปู่ย่า ของเรา
โดยเฉพาะในชุมชนมุสลิม บรรพบุรุษของเราล้วนสั่งสอนในเรื่องอาหารการกิน
ที่ปรุงจากคนมุสลิม เราจะเห็นสังคมของมุสลิมชนบท
“ไม่นิยมรับประทานอาหารนอกบ้าน” นอกจากมีงาน “กินบุญ” ของชุมชนมุสลิม
เขาเหล่านั้นต่างเคร่งครัดในเรื่องการกิน การบริโภคค่อนข้างมาก ต่อมาเมื่อสังคมเมืองขยายตัวครอบงำวัฒนธรรมของทุกๆ
สังคม สินค้าแปลกตามากมาย กระตุ้นการบริโภคของทุกๆ สังคม ค่อนข้างมากมาย
ความเร้าใจของการโฆษณาชวนเชื่อ ทำให้เกิดความต้องการที่จะบริโภค
จวบจนองค์กรมุสลิมซึ่งต้องการให้ความสะดวกและความมั่นใจในการบริโภค
อีกทั้งเป็นตัวกลางที่จะทำให้ผู้ผลิตสินค้า
สามารถนำสินค้านั้นไปขายให้กับมุสลิมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
จึงต้องมีการออกตรารับรองสินค้าเหล่านั้น
เสมือนหนึ่งเป็นการรับรองมาตรฐานสินค้าที่มุสลิมสามารถให้การบริโภได้โดยไม่ผิดหลักเกณฑ์ตามศาสนบัญญัติ
กระนั้นก็ตาม เรายังพบสินค้าบางชนิด และผู้ผลิตบางกลุ่มเห็นแก่ได้
ปลอมแปลงตรารับรองดังกล่าวนั้น รวมไปถึงข้อครหาต่อคณะกรรมการที่รับรองสินค้า ผลประโยชน์ที่เบีดบังตรารับรองเหล่านั้น
สร้างความคลุมเครือ และความไม่น่าเชื่อถือในองค์กร สะท้อนให้เห็นถึงความด้อยค่าในตรารับรองที่ได้ออกไปสำหรับสินค้าต่างๆ
เหล่านั้น
ท่านทั้งหลาย
ในการดำเนินชีวิตของเราในปัจจุบัน
เรามีสิ่งที่ต้องตรวจสอบตนเองอยู่อีกมากมาย หลายรายการ ซึ่งความไม่ไว้เนื้อเชื่อใจต่อกันดังกล่าว
นำมาซึ่ง การตรวจสอบติดตามอย่างละเอียดถี่ถ้วนมากยิ่งขึ้น ซึ่งในสังคมปัจจุบัน
มีผู้ที่แอบอิงหาผลประโยชน์ในตรารับรองค่อนข้างมาก “ทุจริตคอรับชั่น” เกาะกินไปในทุกๆ
วงการ เกาะกินไปทั้งในวัดและในมัสยิด ตลอดจนคณะกรรมการหลายๆ คณะ
ต่างมุ่งที่จะเกาะเกี่ยวเก็บเอาผลประโยชน์เฉพาะตนและพวกพ้องของตน ความทุจริตแอบแฝง
ตั้งแต่การเสนอตัวและคณะบุคคลเข้าไปเพื่อรวบรวมการเก็บเกี่ยวผลประโยชน์เหล่านั้น
โดยการเบียดบังด้วยการซื้อตำแหน่งของคณะบุคคลเข้าไปแย่งชิงผลประโยชน์ต่างๆ
เหล่านั้น ซึ่งได้ทั้งบารมีในแง่ของนักการศาสนาและบารมีของนักการเมือง
อย่างไรก็ตาม ขอดุอาร์จากพระองค์อัลลอฮ์ (ซ.บ.) ขอให้เขาเหล่านั้นกลับตัวกลับใจ
เพื่อที่ทำงานให้เป็นที่ประจักษ์ในผลงาน และประโยชน์ต่อประชาชนเป็นที่ตั้ง
ขอให้พิจารณาโองการจากซูเราะห์ Al-Qur'an,
005.039 (Al-Maeda [The Table, The Table Spread]) ความว่า
005.039 فَمَنْ تَابَ مِنْ بَعْدِ ظُلْمِهِ وَأَصْلَحَ فَإِنَّ اللَّهَ يَتُوبُ عَلَيْهِ إِنَّ اللَّهَ غَفُورٌ رَحِيمٌ
005.039 But if the thief repents
after his crime, and amends his conduct, Allah turneth to him in forgiveness;
for Allah is Oft-forgiving, Most Merciful.
39. แล้วผู้ใดสำนึกผิดกลับเนื้อกลับตัวหลังจากการอธรรมของเขา
และแก้ไขปรับปรุงแล้ว แท้จริงอัลลอฮฺจะทรงอภัยโทษให้แก่พวกเขา
แท้จริงอัลลอฮฺนั้นเป็นผู้ทรงอภัยโทษ ผู้ทรงเอ็นดูเมตตาเสมอ
จะเห็นว่า สำหรับพระองค์แล้ว ทรงเมตตา
เอ็นดูทุกๆ คน ด้วยความเมตตาปราณีเสมอ โดยเฉพาะมีความสำนึก กลับเนื้อกลับตัว
บริสุทธิ์ใจ ไม่กระทำในสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อตนเอง ทั้งๆ
ที่อำนาจหน้าที่ของเขาเหล่านั้นต้องรับผิดชอบต่อสังคมโดยรวม
เพราะนั่นคือสิ่งที่สร้างความร้าวฉานในสังคม ส่อเจตนาถึงการแสวงหาประโยชน์เพียงเพื่อตนเอง
ดังนั้น จึงเป็นสิ่งที่มีความสำคัญและจำเป็นเพื่อมุ่งมั่นประโยชน์และแสวงหาประโยชน์สำหรับทุกๆ
คนในสังคม และจงสำนึกอยู่เสมอว่า ทุกๆ คณะบุคคล ต้องมุ่งมั่นและมุ่งหวังความโปรดปราณจากพระองค์
มากกว่าประโยชน์ที่พึงได้รับเฉพาะหน้าเพียงเท่านั้น เพราะหากคิดเช่นนั้นได้แล้ว เราทั้งหลายจะอยู่ในสภาพของผู้ที่ได้รับแบ่งปันผลกำไร
มากกว่าการที่เขาเหล่านั้นจะจมปลักอยู่ในสภาพของผู้ที่ขาดทุน
ดังที่พระองค์ทรงมีโองการจากซูเราะห์ Al-Qur'an,
005.021 (Al-Maeda [The Table, The Table Spread]) ความว่า
005.021 يَا قَوْمِ ادْخُلُوا الأرْضَ الْمُقَدَّسَةَ الَّتِي كَتَبَ اللَّهُ لَكُمْ وَلا تَرْتَدُّوا عَلَى أَدْبَارِكُمْ فَتَنْقَلِبُوا خَاسِرِينَ
005.021 "O my people! Enter the
holy land which Allah hath assigned unto you, and turn not back ignominiously,
for then will ye be overthrown, to your own ruin."



21. โอ้ประชาชาติของฉัน !
จงเข้าไปในแผ่นดินอันบริสุทธิ์ ที่อัลลอฮ์ได้ทรงกำหนดให้แก่พวกท่านเถิด
และจงอย่าหันหลังของพวกท่านกลับ เพราะจะทำให้พวกท่านกลับกลายเป็นผู้ขาดทุน
ท่านทั้งหลาย
เวลานี้ สังคมของเรา เป็นสังคมที่เต็มไปด้วย
การแสวงหาผลประโยชน์โดยไม่คำนึงถึงสังคมโดยรวม แม้เพียงเรื่องราวอันเล็กน้อยของสังคม
ก็เป็นลู่ทางหนึ่งของการแสวงหาผลประโยชน์เพียงเพื่อกลุ่มคณะของตนเอง
โดยมองข้ามความสำคัญของสังคมโดยรวม ภาพพจน์ของนักการเมืองที่อ้างอิงความเป็นนักการศาสนา
เพียงเพื่อรับประโยชน์ในการตราเครื่องหมายรับรองต่างๆ ซึ่งจะมีปฏิสัมพันธ์ผู้ผลิตหลายๆ
ค่าย หลายๆ เครือข่าย ซึ่งมีมูลค่ามากมายมหาศาล ซึ่งหากกลุ่มคณะดังกล่าว มุ่งมั่งเพื่อประโยชน์ต่อสังคมโดยรวมด้วยความยำเกรงต่อพระองค์
ตรารับรองดังกล่าว ย่อมมีความศักดิ์สิทธิ์
และใช้เป็นแนวทางในการยืนยันต่อสังคมโดยรวมได้ แต่เมื่อใดที่กลุ่มคณะเหล่านั้น
ออกตรารับรองโดยมีข้อแลกเปลี่ยนเป็นประโยชน์เฉพาะคณะนั้น
สังคมโดยรวมขาดความไว้เนื้อเชื่อใจ สร้างหรือบั่นทอนความน่าเชื่อถือต่อองค์กร
ในไม่ช้า ย่อมล่มสลาย เพราะคณะนั้น ทำลายตนเอง และไม่ยำเกรงต่อพระองค์
ขอให้เราทั้งหลายจงมุ่งมั่นตรวจสอบตนเองและจงยำเกรงต่อพระองค์ต่อสิ่งที่เราทั้งหลายต่างมุ่งทำอิบาดัรเพื่อพระองค์




إِنَّ اللَّهَ وَمَلائِكَتَهُ يُصَلُّونَ عَلَى النَّبِيِّ يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا صَلُّوا عَلَيْهِ وَسَلِّمُوا تَسْلِيمًا
رَبَّنَا آتِنَا فِي الدُّنْيَا حَسَنَةً وَفِي الآخِرَةِ حَسَنَةً وَقِنَا عَذَابَ النَّارِ
إِنَّ اللَّهَ يَأْمُرُ بِالْعَدْلِ وَالإحْسَانِ وَإِيتَاءِ ذِي الْقُرْبَى وَيَنْهَى عَنِ الْفَحْشَاءِ وَالْمُنْكَرِ وَالْبَغْيِ يَعِظُكُمْ لَعَلَّكُمْ تَذَكَّرُونَ
سُبْحَانَ رَبِّكَ رَبِّ الْعِزَّةِ عَمَّا يَصِفُونَ
وَسَلامٌ عَلَى الْمُرْسَلِينَ
وَالْحَمْدُ لِلَّهِ رَبِّ الْعَالَمِينَ
والسَلامٌ
มูฮำหมัด
สันประเสริฐ
16
ร่อบีอุ้ลอาเคร 1433

อ้างอิง
อัลกุรอ่านฉบับภาษาไทย สมาคมนักเรียนเก่าอาหรับ
ดำเนินการจัดพิมพ์โดยกระทรวงกิจการฮัจย์ แห่งราชอาณาจักรซาอุดิอาเบีย , www.DivineIslam.com
อัลฮาดีซ : Hadith
of The Day V 1.0 Freeware by FaridAnasri avater@muslimonline.com www.beconvinced.com

วันจันทร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ประคับประคองเด็กๆ ด้วยความรัก

มิมบัรออนไลน์
คุตบะห์วันศุกร์ 9 ร่อบีอุ้ลอาเคร 1433 (วันศุกร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2555)

ประคับประคองเด็กๆ
ด้วยความรัก
الْحَمْدُ لِلَّهِ رَبِّ الْعَالَمِينَ
يَا
بُنَيَّ أَقِمِ الصَّلاةَ وَأْمُرْ بِالْمَعْرُوفِ وَانْهَ عَنِ الْمُنْكَرِ
وَاصْبِرْ عَلَى مَا أَصَابَكَ إِنَّ ذَلِكَ مِنْ عَزْمِ الأمُورِ
وَلا
تُصَعِّرْ خَدَّكَ لِلنَّاسِ وَلا تَمْشِ فِي الأرْضِ مَرَحًا إِنَّ اللَّهَ لا
يُحِبُّ كُلَّ مُخْتَالٍ فَخُورٍ
وَاقْصِدْ
فِي مَشْيِكَ وَاغْضُضْ مِنْ صَوْتِكَ إِنَّ أَنْكَرَ الأصْوَاتِ لَصَوْتُ
الْحَمِيرِ
يَا
أَيُّهَا النَّاسُ اتَّقُوا رَبَّكُمْ وَاخْشَوْا يَوْمًا لا يَجْزِي وَالِدٌ عَنْ
وَلَدِهِ وَلا مَوْلُودٌ هُوَ جَازٍ عَنْ وَالِدِهِ شَيْئًا إِنَّ وَعْدَ اللَّهِ
حَقٌّ فَلا تَغُرَّنَّكُمُ الْحَيَاةُ الدُّنْيَا وَلا يَغُرَّنَّكُمْ بِاللَّهِ
الْغَرُورُ


พี่น้องผู้ศรัทธาทั้งหลาย
จงยำเกรงต่อพระองค์อัลลอฮ์
ผู้ทรงยิ่งในความกรุณา ผู้ทรงยิ่งในความเมตตาต่อปวงบ่าว ของพระองค์
แท้จริงจุดมุ่งหมายในการทำอิบาดัร ก็คือการเข้าถึงความยำเกรงต่อพระองค์
ยำเกรงว่าวันหนึ่งมนุษย์ต้องถูกสอบสวนในอามั้ลหรือการกระทำของเขาในช่วงที่ยังมีชีวิตอยู่
ดังนั้น ท่านทั้งหลายและตัวข้าพเจ้า
จึงต้องตรวจสอบอามั้ลของตนเองว่าอามั้ลของเรานั้นสมบูรณ์หรือ มีความบกพร่องในจุดใดบ้าง
เราจะแก้ไขหรือปรับปรุงในส่วนใดบ้าง

พี่น้องผู้มีความมั่นคงในอิหม่านทั้งหลาย
ในเรื่องการทดสอบของพระองค์อัลลอฮ์
(ซ.บ.) นั้น
แท้จริงพระองค์จะทดสอบมนุษย์ในสิ่งที่เกี่ยวกับสิ่งที่พวกเขาครอบครองอยู่ สองสิ่ง
นั่นคือ ทรัพย์สิน และลูกหลาน พี่น้องครับ ทั้งสองสิ่งที่จะถูกสอบสวนนั้น
สิ่งที่มีความสำคัญและใกล้ชิดกับเรามากที่สุด นั่นคือลูกหลานของเรา
ทำอย่างไรที่เราจะดูแลพวกเขาให้เป็นอุมมะห์ที่ดีของพระองค์
ทำอย่างไรเขาเหล่านั้นจะเป็นลูกที่ซอและห์ พี่น้องครับ ลุกมาน
เป็นตัวอย่างที่ดีในการเลี้ยงดูอบรมพวกเขาทั้งในเรื่องมารยาทที่ดี
การทำอิบาดัรต่อพระองค์
การยำเกรงต่อพระองค์ จากโองการในอายะห์ของซูเราะห์ลุกมาน Al-Qur'an, 031.017 (Luqman [Luqman]) ความว่า

031.017 يَا بُنَيَّ أَقِمِ الصَّلاةَ
وَأْمُرْ بِالْمَعْرُوفِ وَانْهَ عَنِ الْمُنْكَرِ وَاصْبِرْ عَلَى مَا أَصَابَكَ
إِنَّ ذَلِكَ مِنْ عَزْمِ الأمُورِ
031.017 "O my son! establish regular prayer,
enjoin what is just, and forbid what is wrong: and bear with patient constancy
whatever betide thee; for this is firmness (of purpose) in (the conduct of)
affairs.
[31.17] โอ้ลูกเอ๋ย เจ้าจงดำรงไว้ซึ่งการละหมาด และจงใช้กันให้กระทำความดี
และจงห้ามปรามกันให้ละเว้นการทำความชั่ว และจงอดทนต่อสิ่งที่ประสบกับเจ้า แท้จริง
นั่นคือส่วนหนึ่งจากกิจการที่หนักแน่น มั่นคง

สิ่งที่พ่อแม่จะต้องผลักดันให้ลูก
ๆ ปฏิบัติ จนเป็นนิสัยที่เป็นนิจสิน นั่นคือ การทำอิบาดัรต่อพระองค์
พ่อแม่จึงต้องอบรมสั่งสอนลูกๆ
ให้คำนึงถึงการประกอบอิบาดัรทำอย่างไรที่จะทำให้เขาสามารถทำได้ ท่านศาสดามูฮำหมัด (ซ.ล.) แนะนำให้พ่อแม่อบรมสั่งสอนในเรื่องการอบรมเลี้ยงดูเด็กๆ
ในการปกครองซึ่งต้องสอนให้เขาเรียนรู้และฝึกปฎิบัติการทำละหมาดและทำอิบาดัรอื่นๆ เมื่อเขามีอายุได้ 7 ปี
และจงเฆี่ยนตีเขาถ้าเขาไม่เชื่อฟังหรือแสดงออกถึงความดื้อรั้นไม่ปฏิบัติ
เมื่อเขาอายุ 10 ปี พี่น้องครับ แนวทางจากกิตาบุ้ลลอฮ์และซุนนะห์ที่ยกมานี้
จะเห็นได้ว่า หน้าที่ของพ่อแม่ในการอบรมเลี้ยงดูบุตรให้อยู่ในร่องรอยของศาสนา
ด้วยการที่ให้เด็กๆ
ได้เรียนรู้และฝึกปฏิบัติอามั้ลอิบาดัรให้เป็นกิจวัตรหนึ่งในการดำเนินชีวิต
รู้จักแยกแยะในสิ่งที่ดีงาม ความถูกต้องชอบธรรม และการกระทำอันไม่พึงประสงค์
ซึ่งจะทำให้เขาได้เริ่มต้นชีวิตความเป็นมุสลิมที่ดีงาม
มีความอดทนในการประกอบอิบาดัร
อดทนที่จะดำรงตนอยู่ในหนทางในความเป็นมุสลิมอย่างมั่นคง

พี่น้องครับ
ในยุคปัจจุบันสังคมของเราเปลี่ยนแปลงไปมากทีเดียว
หลายครอบครัวยังมีกิจวัตรที่ไม่มีความแตกต่างจากชนต่างศาสนิกเท่าใดนัก
เสียงที่ได้ยินจากบ้านแต่ละหลัง แยกไม่ออกระหว่างเสียงดนตรี เสียงเพลง
เสียงจากโทรทัศน์ หรือเสียงการอ่านกุรอ่าน เพราะทุกวันนี้
สิ่งเร้าทางสังคมมีมากกว่าเสียงเรียกร้องให้มีการเอาใจใส่ต่อการกระทำอิบาดัรต่อพระองค์อัลลอฮ์
(ซ.บ.)

พี่น้องผู้ศรัทธาทั้งหลาย
การเลี้ยงดูอบรมบุตรหลานของเรานั้น
นอกจากการให้เขาได้ปฏิบัติในเรื่องการทำอามั้ล
อิบาดัรแล้ว สิ่งที่ควบคู่กัน
ซึ่งเป็นเรื่องที่เขาจะต้องเรียนรู้ในการเข้าสู่สังคม
การติดต่อสัมพันธ์กับคนทั้งหลาย นั่นคือ การมีมารยาทต่อสังคม จากซูเราะห์ลุกมาน
พระองค์อัลลอฮ์ (ซ.บ.) ได้มีโองการ ของซูเราะห์ลุกมาน
Al-Qur'an, 031.018-019 (Luqman [Luqman]) ความว่า
031.018 وَلا
تُصَعِّرْ خَدَّكَ لِلنَّاسِ وَلا تَمْشِ فِي الأرْضِ مَرَحًا إِنَّ اللَّهَ لا
يُحِبُّ كُلَّ مُخْتَالٍ فَخُورٍ
031.018 "And
swell not thy cheek (for pride) at men, nor walk in insolence through the
earth; for Allah loveth not any arrogant boaster.
[31.18] และเจ้าอย่าหันแก้ม (ใบหน้า) ของเจ้าให้แก่ผู้คนอย่างยะโส
และอย่าเดินไปตามแผ่นดินอย่างไร้มรรยาท แท้จริง อัลลอฮ์ มิทรงชอบทุกผู้หยิ่งจองหอง
และผู้คุยโวโอ้อวด
031.019 وَاقْصِدْ
فِي مَشْيِكَ وَاغْضُضْ مِنْ صَوْتِكَ إِنَّ أَنْكَرَ الأصْوَاتِ لَصَوْتُ
الْحَمِيرِ
031.019 "And be
moderate in thy pace, and lower thy voice; for the harshest of sounds without
doubt is the braying of the ass."
[31.19] และเจ้าจงก้าวเท้าของเจ้าพอประมาณ และจงลดเสียงของเจ้าลง แท้จริง
เสียงที่น่าเกลียดยิ่งคือเสียง (ร้อง) ของลา

จะเห็นได้ว่า
การมีมารยาทต่อสังคมในการพบปะพูดคุยกันนั้น การกระทำของเราจะบ่งบอกถึงนิสัยของเรา
และจะบอกต่อไปถึงลักษณะการเลี้ยงดูอบรมของพ่อแม่ที่มีต่อบุตรของเขา
ซึ่งพ่อแม่จะต้องอบรมสั่งสอนพวกเขาให้เป็นคนที่มีอัธยาศัย ที่ดีต่อเพื่อน ๆ ของเขา
ทั้งในเรื่องของการแสดงออกทางใบหน้า
ความมีมารยาทที่ดีในการติดต่อสื่อสารสัมพันธ์กัน
อย่ากระทำหรือแสดงออกถึงความเย่อหยิ่ง ยะโส หรือโอ้อวด นอกจากนี้
ในการเคลื่อนไหวร่างกาย เช่น การเดินก็ควรที่ก้าวเท้าพอประมาณ
การใช้เสียงในการพูดคุยกัน ก็ไม่ควรมีน้ำเสียงที่ดังเกินไปในการพูดคุยกัน
ควรระวังรักษามายาทในการติดต่อกับเพื่อนๆ หรือคนอื่นๆ
ซึ่งการกระทำอันเป็นที่น่ารังเกียจนั้น เป็นการกระทำที่พระองค์ไม่ทรงพึงประสงค์
อันจะทำให้การกระทำของเขานั้นอยู่ห่างจากเราะห์มัตของพระองค์

พี่น้อง
ผู้ศรัทธาทั้งหลาย
ความรักที่พ่อแม่มีต่อลูกนั้น
เป็นความรักที่ยิ่งใหญ่ เป็นความหวัง ที่มีพลังว่า พ่อแม่นั้น
จะถูกสอบสวนถึงหน้าที่ของตนเองในการเลี้ยงดูอบรมสั่งสอนพวกเขา
เพราะหน้าที่ในการให้การอบรมเลี้ยงดูพวกเขาเหล่านั้น
เพื่อให้เขาได้มีแนวทางการดำรงตน
การดำเนินชีวิตให้อยู่ในร่องรอยของศาสนา
พ่อแม่หลายคนก็มุ่งหวังว่าลูกของตนจะเป็นลูกที่ซอและห์
คอยขอดุอาร์ให้ยามที่พ่อหรือแม่กลับไปสู่ความเมตตาของพระองค์ อย่างไรก็ตาม พี่น้องพึงต้องยำเกรงต่อพระองค์
เพราะในวันแห่งความสอบสวนนั้น ไม่ว่าเราจะเลี้ยงดูอบรมเขาได้ดีหรือไม่ดีอย่างไร
นั้น ทั้งพ่อและแม่ หรือลูก
ก็ไม่อาจเรียกร้องต่อพระองค์ถึงการขอความช่วยเหลือที่จะถูกลงโทษได้
เพราะการถูกล่อลวงจากชัยตอนมารร้าย ในสิ่งที่เราประพฤติ
ปฏิบัติในขณะที่เรายังมีชีวิตอยู่ ดังโองการของซูเราะห์ลุกมาน Al-Qur'an, 031.033 (Luqman [Luqman]) ความว่า
031.033 يَا
أَيُّهَا النَّاسُ اتَّقُوا رَبَّكُمْ وَاخْشَوْا يَوْمًا لا يَجْزِي وَالِدٌ عَنْ
وَلَدِهِ وَلا مَوْلُودٌ هُوَ جَازٍ عَنْ وَالِدِهِ شَيْئًا إِنَّ وَعْدَ اللَّهِ
حَقٌّ فَلا تَغُرَّنَّكُمُ الْحَيَاةُ الدُّنْيَا وَلا يَغُرَّنَّكُمْ بِاللَّهِ
الْغَرُورُ
031.033 O mankind!
do your duty to your Lord, and fear (the coming of) a Day when no father can
avail aught for his son, nor a son avail aught for his father. Verily, the
promise of Allah is true: let not then this present life deceive you, nor let
the chief Deceiver deceive you about Allah.
[31.33] โอ้มนุษย์เอ๋ย
พวกเจ้าจงยำเกรงพระเจ้าของพวกเจ้าเถิด
และจงกลัววันหนึ่งที่พ่อไม่อาจจะช่วยลูกของเขาได้
และลูกก็ไม่อาจจะช่วยพ่อของเขาได้แต่อย่างใด
แท้จริงสัญญาของอัลลอฮ์นั้นเป็นความจริง
ดังนั้นอย่าให้การมีชีวิตอยู่ในโลกนี้ล่อลวงพวกเจ้า และอย่าให้หัวหน้าพวกล่อลวง (ชัยตอน)
มาหลอกลวงพวกเจ้าเกี่ยวกับอัลลอฮ์เป็นอันขาด

พี่น้องผู้ศรัทธาทั้งหลาย
นับเป็นเรื่องที่ดีที่เราจะมาทบทวนกันถึงหน้าที่ของพ่อและแม่
ที่มีต่อลูกนั้น
พ่อและแม่จะต้องอบรมเลี้ยงดูให้เขาเป็นเด็กที่อยู่ในโอวาท มีมารยาทที่ดีงาม
ปฏิบัติศาสนกิจที่มุ่งมั่นด้วยความยำเกรงต่อพระองค์
ซึ่งความมุ่งมั่นที่พ่อและแม่มีต่อบุตรของเขานั้น
จะเป็นภาคผลที่ดีต่อตัวพ่อและแม่เองในยามที่พ่อหรือแม่จะต้องพรากจากเขากลับไปสู่ความเมตตาของพระองค์
พี่น้องครับ เห็นแล้วใช่ไหม ถ้าวันนี้เรายังขาดตกบกพร่องในการทำหน้าที่พ่อหรือแม่
ปล่อยปละละเลยอยู่ในความครอบงำของชัยตอนมารร้ายแล้ว ยังไม่เร่งรีบที่หวนกลับเข้ามาอยู่ในร่องรอยและแนวทางของศาสนา
เราจึงควรทำใจได้เลยว่า ในวันแห่งการสอบสวน วันแห่งการตอบแทนนั้น พ่อหรือแม่
แม้จะมีความรักต่อลูกสักปานใดก็ตาม ความรักดังกล่าวนั้น
ไม่เป็นที่ยอมรับหรือการรับฟังจากพระองค์ที่จะช่วยเหลือลูกของเขาให้พ้นไฟจากไฟนรกได้
และบรรดาลูกๆ ทั้งหลายก็ไม่อาจช่วยเหลือพ่อหรือแม่ของเขาได้เช่นกัน
ดังนั้นในวันนี้ หน้าที่ของพ่อแม่ที่พวกเราหลายท่านมีบทบาทต่อเขาเหล่านั้น จึงต้องหันมาทบทวนบทบาทของเรา
ในการที่จะเอาใจใส่ต่อเขาเหล่านั้น
ด้วยความรักความเอื้ออาทรและความเกื้อกูลต่อพวกเขาเหล่านั้น
การกระทำตนเป็นตัวอย่างที่ดีต่อเขา
เป็นแบบฉบับในการดำเนินชีวิตให้ผ่านพ้นอุปสรรคต่างๆ
ทั้งจากการล่อลวงจากสิ่งเร้าทั้งหลายตลอดจน การคุ้มครองปกป้องด้วยเกราะกำบังอีนทรงพลังยิ่งจากหลักปฏิบัติของท่านศาสดาที่เป็นแบบฉบับอันดีงามและเป็นหนทางที่เที่ยงตรงมุ่งมั่นต่อพระเมตตากรุณาจากพระองค์
ซึ่งเราทั้งหลายจึงต้องหันมาทบทวนบทบาทของเราว่า
สิ่งที่จะถูกสอบสวนต่อพระองค์ในวันแห่งการตัดสินนั้น คือทรัพย์สินและลูกหลาน นั้น
วันนี้เราทำหน้าที่ของเราได้อย่างเหมาะสมเพียงพอดีแล้วหรือยัง
إِنَّ اللَّهَ وَمَلائِكَتَهُ
يُصَلُّونَ
عَلَى النَّبِيِّ
يَا أَيُّهَا الَّذِينَ
آمَنُوا صَلُّوا عَلَيْهِ وَسَلِّمُوا
تَسْلِيمًا
رَبَّنَا آتِنَا فِي الدُّنْيَا
حَسَنَةً وَفِي الآخِرَةِ
حَسَنَةً وَقِنَا عَذَابَ النَّارِ
إِنَّ اللَّهَ يَأْمُرُ بِالْعَدْلِ
وَالإحْسَانِ
وَإِيتَاءِ
ذِي الْقُرْبَى
وَيَنْهَى
عَنِ الْفَحْشَاءِ
وَالْمُنْكَرِ
وَالْبَغْيِ
يَعِظُكُمْ
لَعَلَّكُمْ
تَذَكَّرُونَ
سُبْحَانَ
رَبِّكَ رَبِّ الْعِزَّةِ
عَمَّا يَصِفُونَ
وَسَلامٌ عَلَى الْمُرْسَلِينَ
وَالْحَمْدُ
لِلَّهِ رَبِّ الْعَالَمِينَ
والسَلامٌ
มูฮำหมัด สันประเสริฐ
9 ร่อบีอุ้ลอาเคร 1433

อ้างอิง
อัลกุรอ่านฉบับภาษาไทย
สมาคมนักเรียนเก่าอาหรับ ดำเนินการจัดพิมพ์โดยกระทรวงกิจการฮัจย์
แห่งราชอาณาจักรซาอุดิอาเบีย , www.DivineIslam.com
อัลฮาดีซ :
Hadith of The Day V 1.0 Freeware by FaridAnasri avater@muslimonline.com www.beconvinced.com

วันพฤหัสบดีที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

สันติสุขของครอบครัวตือสันติสุขของสังคม

มิมบัรออนไลน์
คุตบะห์วันศุกร์ 2 ร่อบีอุ้ลอาเคร 1433 (วันศุกร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555)

สันติสุขของครอบครัว
คือสันติสุขของสังคม
الْحَمْدُ لِلَّهِ رَبِّ الْعَالَمِينَ
الرِّجَالُ
قَوَّامُونَ عَلَى النِّسَاءِ بِمَا فَضَّلَ اللَّهُ بَعْضَهُمْ عَلَى بَعْضٍ
وَبِمَا أَنْفَقُوا مِنْ أَمْوَالِهِمْ فَالصَّالِحَاتُ قَانِتَاتٌ حَافِظَاتٌ
لِلْغَيْبِ بِمَا حَفِظَ اللَّهُ وَاللاتِي تَخَافُونَ نُشُوزَهُنَّ فَعِظُوهُنَّ
وَاهْجُرُوهُنَّ فِي الْمَضَاجِعِ وَاضْرِبُوهُنَّ فَإِنْ أَطَعْنَكُمْ فَلا
تَبْغُوا عَلَيْهِنَّ سَبِيلا إِنَّ اللَّهَ كَانَ عَلِيًّا كَبِيرًا
وَإِنْ
خِفْتُمْ شِقَاقَ بَيْنِهِمَا فَابْعَثُوا حَكَمًا مِنْ أَهْلِهِ وَحَكَمًا مِنْ
أَهْلِهَا إِنْ يُرِيدَا إِصْلاحًا يُوَفِّقِ اللَّهُ بَيْنَهُمَا إِنَّ اللَّهَ
كَانَ عَلِيمًا خَبِيرًا
وَاعْبُدُوا
اللَّهَ وَلا تُشْرِكُوا بِهِ شَيْئًا وَبِالْوَالِدَيْنِ إِحْسَانًا وَبِذِي
الْقُرْبَى وَالْيَتَامَى وَالْمَسَاكِينِ وَالْجَارِ ذِي الْقُرْبَى وَالْجَارِ
الْجُنُبِ وَالصَّاحِبِ بِالْجَنْبِ وَابْنِ السَّبِيلِ وَمَا مَلَكَتْ
أَيْمَانُكُمْ إِنَّ اللَّهَ لا يُحِبُّ مَنْ كَانَ مُخْتَالا فَخُورًا

ท่านพี่น้องผู้ศรัทธาทั้งหลาย
การอบรมเลี้ยงดูบุตร
คือภารกิจสำคัญของผู้ที่ทำหน้าที่พ่อแม่ ที่ต้องให้สิ่งที่ดี มีสาระ
สร้างโอกาสและสร้างเสริมความสามารถในการดำเนินชีวิตอย่างเหมาะสม
ตรงตามแนวทางที่พระองค์อัลลอฮ์ (ซ.บ.) ทรงรักและตามกิจวัตรอันดียิ่งของท่านศาสดา
สิ่งสำคัญในวินกิยามัตที่พระองค์อัลลอฮ์ (ซ.บ.) จะทรงสอบสวนประชาชาติทั้งหลายนอกเหนือจากการทำอามั้ลที่พระองค์ทรงใช้และสิ่งที่พระองค์ทรงห้ามแล้ว
นั้น ทรัพย์สินและลูกหลานของเราก็เป็นสิ่งที่พระองค์จะใช้เป็นตัวประกอบหนึ่งในการสอบสวนและการลงโทษในวันแห่งการตัดสิน
ดังนั้น
ช่วงที่ท่านทั้งหลายมีเวลาและโอกาสสำคัญในขณะที่เขาเหล่านั้นยังเป็นเด็กเล็กๆ
หรือเป็นช่วงที่การสั่งสอนอบรมจากพ่อแม่เป็นสิ่งสำคัญที่เขาเหล่านั้นพร้อมทำตามโดยไม่มีการโต้เถียง
หรือมีความคิดขัดแย้ง จึงเป็นช่วงที่เราจะปลูกฝังสิ่งที่ดีๆ
แนวทางตามซุนนะห์วั้ลญ่ามาอะห์ ได้อย่างเต็มที่และสิ่งเหล่านั้น
เขาจะกระทำตามตัวอย่างที่เราชี้นำ ดังนั้น ความยำเกรงต่อพระองค์อัลลอฮ์ (ซ.บ.) จะถูกแสดงออกมาจากการอบรมเลี้ยงดูบุตรหลานของเราให้อยู่ในแนวทางอั้ลอิสลามในทุกๆ
การกระทำของเขา และตัวอย่างจากบิดามารดาของเขานั่นเอง

พี่น้องผู้ศรัทธาทั้งหลาย
การดำเนินชีวิตประจำวันของครอบครัวมุสลิม
หรือครอบครัวอื่นๆไม่ว่าครอบครัวนั้น จะเป็นครอบครัวเล็กหรือครอบครัวใหญ่
ต่างย่อมเกิดปัญหาด้วยกันแทบทั้งสิ้น ปัญหาอันเกิดขึ้นจากพื้นฐานของแต่ละคนที่มีที่มาแตกต่างกันมาอยู่ร่วมกัน
การปรับตัวเข้าหากันจึงเป็นเรื่องสำคัญ รวมถึงคุณค่า คุณธรรม
รวมถึงความสามารถของแต่ละคนก็จะมีความแตกต่างกันตามประสบการณ์ที่แต่ละคนผ่านกระบวนการขัดเกลาทางสังคมมาในช่วงชีวิต
การดำเนินชีวิตของแต่ละคนจึงมีความแตกต่างกัน การสร้างความประนีประนอมระหว่างกันจึงเป็นสิ่งสำคัญ
ที่จะปกปักรักษาความสามัคคีระหว่างกันไว้อย่างยาวนาน สิ่งที่ใกล้ชิดกับทุกๆ
ครอบครัว นั่นคือความสัมพันธ์ระหว่างสามีภรรยา
ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการสานสัมพันธ์ในครัวเรือน การอบรมเลี้ยงดูบุตร
การดำเนินชีวิตครอบครัว ที่จะสร้างความอบอุ่นให้เกิดขึ้นในครอบครัว
เป็นตัวหลักสำคัญของการดำเนินชีวิต
ดังนั้นความสัมพันธ์ระหว่างคู่สามีภรรยาแต่ละคู่
ที่ต่อมาจะมีสถานภาพของความเป็นพ่อหรือแม่
จึงเป็นภารกิจสำคัญและยิ่งใหญ่เป้นจุดเริ่มต้นการสร้างความร่มเย็นเป็นสุขของสังคม
แนวทางในการดำเนินชีวิตครอบครัว ตามที่พระองค์อัลลอฮ์ (ซ.บ.) ทรงมีโองการซูเราะห์อันนิซาร์ Al-Qur'an,
004.034 (An-Nisa [Women]) ความว่า
004.034 الرِّجَالُ
قَوَّامُونَ عَلَى النِّسَاءِ بِمَا فَضَّلَ اللَّهُ بَعْضَهُمْ عَلَى بَعْضٍ
وَبِمَا أَنْفَقُوا مِنْ أَمْوَالِهِمْ فَالصَّالِحَاتُ قَانِتَاتٌ حَافِظَاتٌ
لِلْغَيْبِ بِمَا حَفِظَ اللَّهُ وَاللاتِي تَخَافُونَ نُشُوزَهُنَّ فَعِظُوهُنَّ
وَاهْجُرُوهُنَّ فِي الْمَضَاجِعِ وَاضْرِبُوهُنَّ فَإِنْ أَطَعْنَكُمْ فَلا
تَبْغُوا عَلَيْهِنَّ سَبِيلا إِنَّ اللَّهَ كَانَ عَلِيًّا كَبِيرًا
004.034 Men are the protectors and
maintainers of women, because Allah has given the one more (strength) than the
other, and because they support them from their means. Therefore the righteous
women are devoutly obedient, and guard in (the husband's) absence what Allah
would have them guard. As to those women on whose part ye fear disloyalty and
ill-conduct, admonish them (first), (Next), refuse to share their beds, (And
last) beat them (lightly); but if they return to obedience, seek not against
them Means (of annoyance): For Allah is Most High, great (above you all).
[4.34] บรรดาชายนั้น
คือผู้ที่ทำหน้าที่ปกครองเลี้ยงดูบรรดาหญิงเนื่องด้วยการที่อัลลอฮ์
ได้ทรงให้บางคนของพวกเขาเหนือกว่าอีกบางคนและด้วยการที่พวก เขาได้จ่ายไปจากทรัพย์ของพวกเขาบรรดากุลสตรีนั้นคือผู้จงรักภักดี
ผู้รักษาในทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่ลับหลังสามี เนื่องด้วยสิ่งที่อัลลอฮ์ทรงรักษาไว้
และบรรดาหญิงที่พวกเจ้าหวั่นเกรงในความดื้อดึงของนางนั้น
ก็จงกล่าวตักเตือนนางและทอดทิ้งนางไว้แต่ลำพังในที่นอน และจงเฆี่ยนนางแต่ถ้านางเชื่อฟังพวกเจ้าแล้ว
ก็จงอย่าหาทางเอาเรื่องแก่นาง แท้จริงอัลลอฮ์เป็นผู้ทรงสูงส่งผู้ทรงเกรียงไกร

จะเห็นได้ว่า
ความเหนือกว่าของฝ่ายชายต่อฝ่ายหญิงนั้น แนวทางตามคำสอนของอิสลาม
จะเน้นที่บทบาทและหน้าที่สำคัญที่เขาจะต้องปกป้องดูแลเอาใจใส่ต่อภรรยา
ขณะที่ฝ่ายหญิงที่เป็นภรรยา จะเป็นผู้ที่เอื้ออาทรต่อสามี รับฟังสามี อย่างไรก็ตาม
ฮิกมะห์ยิ่งใหญ่ที่พระองค์ทรงกล่าวถึงบทบาทหน้าที่สำคัญของสามีภรรยา
เป็นสิ่งที่แฝงไว้ในปรัชญาของการดำเนินชีวิต แม้ว่าในปัจจุบันสังคมทั้งหลาย (โดยเฉพาะสังคมชาวตะวันตก -ยิวและคริสต์เตียน - ผู้เขียน) ต่างมีมุมมองที่จะเน้นความเป็นมนุษย์อย่างเท่าเทียมกันในทุกๆ บทบาท
เป็นการเรียกร้องสิทธิโดยเฉพาะ การเรียกร้องสิทธิสตรี
ตามที่ได้มีการเรียกร้องกันอยู่อย่างมากมายในเวลานี้ รวมถึงการเรียกร้องบทบาท
สิทธิ และหน้าที่ในสังคมของกลุ่มรักร่วมเพศ จะเห็นได้ว่า ยิ่งมีการเรียกร้องให้มีความสมดุลระหว่างเพศมากขึ้นเท่าใด
สังคมยิ่งขากความสมดุลไปมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ ตามกฏ ก้อดอร์-ก้อดัร
ของพระองค์ แล้วนั้น
สิ่งที่พระองค์ทรงสร้างและทรงกำหนดหน้าที่และบทบาทที่ชัดเจนไว้แล้วนั้น
เป็นความสมดุลที่มีขึ้นในสังคม ทั้งนี้ขึ้นอยู่ว่าเราจะรักษาสมดุลในบทบาทและหน้าที่ของเราไว้อย่างไร
การเรียกร้องบทบาทในปัจจุบัน มีมุมมองมาจากสังคมญาฮิลิยะห์
ที่ฝ่ายชายมักจะเอาเปรียบผู้หญิง
มองดูความต่ำต้อยของคนที่เป็นผู้หญิงมีมุมมองของฝ่ายกระทำและฝ่ายถูกกระทำ
จึงเน้นที่การเอารัดเอาเปรียบ มุมมองที่ชนนอกอิสลามมองมุสลิม
กลับมีมุมมองว่าสังคมมุสลิมเอาเปรียบผู้หญิง แต่โดยข้อเท็จจริงแล้ว
ผู้หญิงมุสลิมมีบทบาทหน้าที่ของตนต่อครอบครัวที่ชัดเจนตามคำสอน
และสามารถมีบทบาททางสังคมได้เช่นกัน
แต่ทั้งนี้เธอทั้งหลายต้องไม่ลืมบทบาทของครอบครัว บทบาทของภรรยา บทบาทของแม่
ที่ต้องไม่บกพร่องในการทำหน้าที่ของตนเอง ในขณะที่เธอทั้งหลายมีบทบาทในสังคม
ทั้งนี้เพื่อเป็นการรักษาสมดุลที่พระองค์ทรงกำหนดมาให้แล้ว

พี่น้องผู้ศรัทธาทั้งหลาย
ความขัดแย้งในครอบครัวตลอดจนปัญหาต่างๆ
ที่เกิดขึ้นในการดำเนินชีวิตครอบครัว ล้วนย่อมเกิดขึ้นเสมอ ทั้งนี้ เป็นผลอันเนื่องมาจากความกระทบกระทั่งทางความคิด
ทัศนะคติ การใช้วิจารญาณของแต่ละฝ่ายที่ขัดแย้งกัน
จึงเป็นผลให้ความขัดแย้งที่เกิดขึ้น ดำเนินไปในด้านใด
ความขัดแย้งระหว่างกันที่เกิดขึ้น จะมีทั้งความขัดแย้งที่ดำเนินไปอย่างสร้างสรรค์
หรือในบางกรณีความขัดแย้งที่เกิดขึ้น ดำเนินไปสู่ความแตกหักแยกย้าย ร้างลากันไป
ดังนั้น
แนวทางในการลดปัญหาอันจะเกิดขึ้นจากความขัดแย้งโดยเฉพาะความขัดแย้งระหว่างสามีภรรยา
นั้น พระองค์อัลลอฮ์ (ซ.บ.) ทรงมีโองการในซูเราะห์อันนิซาร์ Al-Qur'an, 004.035
(An-Nisa [Women]) ความว่า
004.035 وَإِنْ
خِفْتُمْ شِقَاقَ بَيْنِهِمَا فَابْعَثُوا حَكَمًا مِنْ أَهْلِهِ وَحَكَمًا مِنْ
أَهْلِهَا إِنْ يُرِيدَا إِصْلاحًا يُوَفِّقِ اللَّهُ بَيْنَهُمَا إِنَّ اللَّهَ
كَانَ عَلِيمًا خَبِيرًا
004.035 If ye fear a breach between them twain, appoint (two) arbiters, one from
his family, and the other from hers; if they wish for peace, Allah will cause
their reconciliation: For Allah hath full knowledge, and is acquainted with all
things.
[4.35] และหากพวกเจ้าหวั่นเกรงการแตกแยกระหว่างเขาทั้งสอง
ก็จงส่งผู้ตัดสินคนหนึ่งจากครอบครัวของฝ่ายชาย
และผู้ตัดสินอีกคนหนึ่งจากครอบครัวฝ่ายหญิง
หากทั้งสองปรารถนาให้มีการประนีประนอมกันแล้ว
อัลลอฮ์ก็จะทรงให้ความสำเร็จในระหว่างทั้งสอง แม้จริงอัลลอฮ์เป็นผู้ทรงรอบรู้
ผู้ทรงสัพพัญญู

ความประนีประนอมระหว่างสามีภรรยา
เป็นที่พระองค์อัลลอฮ์ทรงโปรดปราณ
แม้ว่าทางออกของการแก้ไขปัญหาความแตกแยกของการดำเนินชีวิตครอบครัวคือการหย่าร้างกัน
ซึ่งทางออกของการแก้ไขปัญหาอันหนึ่ง แต่ว่าแนวทางดังกล่าวนี้
เป็นสิ่งที่พระองค์ทรงฮาล้าลแต่ไม่ทรงรักแนวทางอย่างนี้ (อุล่ามาบางท่านว่า
การหย่าร้างทำให้บัลลังก์ของพระองค์สั่นสะเทือน) ดังนั้น
ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภรรยา ก็ดี
พ่อหรือแม่ ก็ดี ล้วนแล้วเป็นบทบาทที่ต้องให้ความรัก
ความปรารถนาดีต่อกันให้มากยิ่งขึ้น ต้องรู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา
และประนีประนอมมากขึ้น ยอมตามอารมณ์ของตนเองให้น้อยลงและเจ้าใจคนอื่น (สามีหรือภรรยา) ให้มากขึ้น แม้บางครั้งความอดทน (ขันติ) จะเป็นสิ่งที่ทุกคนจะน้อมรับ
แต่ในบางท่านจะมองว่า ความอดทนนั้นมีขีดจำกัด
แต่ในหมู่มวลของคนที่รักกันเป็นทุนรอนดั้งเดิมแล้ว
ความอดทนและความประนีประนอมระหว่างกันจึงเป็นสิ่งที่ทั้งสองฝ่ายจะนำมาใช้ระหว่างกัน
และแนวทางในการแก้ไขปัญหาระหว่างกันนั้น พระองค์ทรงให้แนวทางไว้อย่างดียิ่งแล้ว
และการที่พระองค์ได้แนะนำเช่นนั้น
คือทางออกในการแก้ไขปัญหาที่ชอบธรรมและเป้นหลักเกณฑ์ที่จะสร้างให้เกิดความรักกันให้มากและแน่แฟ้นยิ่งขึ้น
ซึ่งเป็นเมตตาที่พระองค์ทรงให้กับปวงบ่าวผู้ศรัทธา
ที่จะพึงรักษาบทบาทหน้าที่ของตนไว้อย่างมั่นคงต่อไป

พี่น้องผู้ศรัทธาทั้งหลาย
ความรักความเข้าใจต่อกัน
ในครอบครัว สามารถเผื่อแผ่ความรักความเข้าใจทั้งหลายให้กับทุกๆ
คนที่เป็นเพื่อนบ้าน ญาติใกลิชิด คนที่ตกทุกข์ได้ยาก คนขัดสน ทั้งหลาย ตลอดจนคนที่กำลังเดินทาง
ทั้งนี้ พระองค์อัลลอฮ์ (ซ.บ.) ผู้ทรงเมตตากรุณาปราณีต่อปวงบ่าว
เพื่อสร้างสังคมมุสลิมให้มีแต่ความสันติสุข ดังโองการ ในซูเราะห์ อันนิซาร์ Al-Qur'an,
004.036 (An-Nisa [Women]) ความว่า
004.036 وَاعْبُدُوا
اللَّهَ وَلا تُشْرِكُوا بِهِ شَيْئًا وَبِالْوَالِدَيْنِ إِحْسَانًا وَبِذِي
الْقُرْبَى وَالْيَتَامَى وَالْمَسَاكِينِ وَالْجَارِ ذِي الْقُرْبَى وَالْجَارِ
الْجُنُبِ وَالصَّاحِبِ بِالْجَنْبِ وَابْنِ السَّبِيلِ وَمَا مَلَكَتْ
أَيْمَانُكُمْ إِنَّ اللَّهَ لا يُحِبُّ مَنْ كَانَ مُخْتَالا فَخُورًا
004.036 Serve Allah, and join not any
partners with Him; and do good- to parents, kinsfolk, orphans, those in need,
neighbours who are near, neighbours who are strangers, the companion by your
side, the wayfarer (ye meet), and what your right hands possess: For Allah
loveth not the arrogant, the vainglorious;-
[4.36] และจงเคารพสักการะอัลลอฮ์เถิด
และอย่าให้มีสิ่งหนึ่งสิ่งใดเป็นภาคีกับพระองค์
และจงทำดีต่อผู้บังเกิดเกล้าทั้งสองและต่อผู้เป็นญาติที่ใกล้ชิด
และเด็กกำพร้าและผู้ขัดสน และเพื่อนบ้านใกล้เคียงและเพื่อนที่ห่างไกล
และเพื่อนเคียงข้าง และผู้เดินทาง และผู้ที่มือขวาของพวกเจ้าครอบครอง
แท้จริงอัลลอฮ์ ไม่ทรงชอบผู้ยะโส ผู้โอ้อวด

ดังนั้น
แนวทางคำสอนของอิสลาม มิใช่กลั่นแกล้งคนที่อ่อนด้อยกว่า
หรือไม่ยอมรับบทบาทตามสิทธิสตรี หากแต่แนวทางคำสอนของอิสลาม
จะเน้นการสร้างสันติสุขให้เกิดขึ้นในสังคมโดยเริ่มที่ในครอบครัวของแต่ละครอบครัวก่อน
แล้วเผื่อแผ่ความรักความปรารถนาดีดังกล่าวไปยังสังคม คนใกล้ชิด คนขัดสน คนเดินทาง
ดังนั้น ครอบครัวมุสลิม สังคมมุสลิม จึงเป็นครอบครัวและสังคมที่มุ่งแสวงหาสันติสุข
มิใส่สังคมที่มุ่งมาดก่อการร้ายตามที่สื่อสารมวลชนบางแขนงตั้งฉายานามให้กับมุสลิม
ทั้งนี้ทั้งนั้น ในการต่อต้านหรือต่อสู้กับความอยุติธรรมอิสลามได้วางแนวทางในการต่อสู้ไว้แล้วอย่างชัดเจน
กับกลุ่มที่เป็นศัตรู
ทั้งนี้ในสังคมปัจจุบันการสื่อให้กับคนทั่วงไปเข้าใจในเรื่องราวต่างๆ นั้น
สื่อสารมวลชนมีมุมมองและสะท้อนความคิดโดยอ้างอิงกรอบความคิดใดมาเผยแพร่
เพราะถ้ามองในมุมมองมุสลิม การแก้ไขปัญหาให้เกิดสันติสุข มุสลิมเน้นแนวทางการประนีประนอม
แต่ถ้ามุมมองของชนต่อต้านอิสลามแล้ว
เขาจะไม่ยอมรับตนเองว่าเขาทำร้ายมุสลิมอย่างไรบ้าง แต่จะมองแต่เพียงว่า
ขณะที่รายงานข่าวมุสลิมทำร้ายเขาอย่างไร แล้วแสดงออกมาโดยขอความเห็นใจจากสังคม
ดังนั้น ในวันนี้มุสลิมจึงต้องอดทนและแสดงออกในแนวทางการแก้ไขปัญหาตามแนวทางและแบบฉบับของพระองค์ที่เน้นการแก้ปัญหาต่างๆ
อย่างสันติวิธีบนแนวทางของความประนีประนอมและเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อเพื่อนๆ ทุกคน


إِنَّ اللَّهَ وَمَلائِكَتَهُ يُصَلُّونَ عَلَى النَّبِيِّ يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا صَلُّوا عَلَيْهِ وَسَلِّمُوا تَسْلِيمًا
رَبَّنَا آتِنَا فِي الدُّنْيَا حَسَنَةً وَفِي الآخِرَةِ حَسَنَةً وَقِنَا عَذَابَ النَّارِ
إِنَّ اللَّهَ يَأْمُرُ بِالْعَدْلِ وَالإحْسَانِ وَإِيتَاءِ ذِي الْقُرْبَى وَيَنْهَى عَنِ الْفَحْشَاءِ وَالْمُنْكَرِ وَالْبَغْيِ يَعِظُكُمْ لَعَلَّكُمْ تَذَكَّرُونَ
سُبْحَانَ رَبِّكَ رَبِّ الْعِزَّةِ عَمَّا يَصِفُونَ
وَسَلامٌ عَلَى الْمُرْسَلِينَ
وَالْحَمْدُ لِلَّهِ رَبِّ الْعَالَمِينَ
วัสสลาม
มูฮำหมัด สันประเสริฐ
2 ร่อบีอุ้ลอาเคร 1433

อ้างอิง
อัลกุรอ่านฉบับภาษาไทย
สมาคมนักเรียนเก่าอาหรับ ดำเนินการจัดพิมพ์โดยกระทรวงกิจการฮัจย์
แห่งราชอาณาจักรซาอุดิอาเบีย , www.DivineIslam.com
อัลฮาดีซ :
Hadith of The Day V 1.0 Freeware by FaridAnasri avater@muslimonline.com www.beconvinced.com

วันพฤหัสบดีที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

วิบากกรรมทางเศรษฐกิจ

มิมบัรออนไลน์
คุตบะห์วันศุกร์ 17 กุมภาพันธ์ 2555 (24 ร่อบีอุ้ลเอาวัล 1433)

วิบากกรรมทางเศรษฐกิจ

الْحَمْدُ لِلَّهِ رَبِّ الْعَالَمِينَ
يَا بَنِي آدَمَ خُذُوا زِينَتَكُمْ عِنْدَ كُلِّ مَسْجِدٍ وَكُلُوا وَاشْرَبُوا وَلا تُسْرِفُوا إِنَّهُ لا يُحِبُّ الْمُسْرِفِينَ
قُلْ مَنْ حَرَّمَ زِينَةَ اللَّهِ الَّتِي أَخْرَجَ لِعِبَادِهِ وَالطَّيِّبَاتِ مِنَ الرِّزْقِ قُلْ هِيَ لِلَّذِينَ آمَنُوا فِي الْحَيَاةِ الدُّنْيَا خَالِصَةً يَوْمَ الْقِيَامَةِ كَذَلِكَ نُفَصِّلُ الآيَاتِ لِقَوْمٍ يَعْلَمُونَ
قُلْ إِنَّمَا حَرَّمَ رَبِّيَ الْفَوَاحِشَ مَا ظَهَرَ مِنْهَا وَمَا بَطَنَ وَالإثْمَ وَالْبَغْيَ بِغَيْرِ الْحَقِّ وَأَنْ تُشْرِكُوا بِاللَّهِ مَا لَمْ يُنَزِّلْ بِهِ سُلْطَانًا وَأَنْ تَقُولُوا عَلَى اللَّهِ مَا لا تَعْلَمُونَ

ท่านพี่น้องผู้ศรัทธาทั้งหลาย
การที่เราทั้งหลายได้รับทราบข้อมูลข่าวสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ชีวิตในปัจจุบัน ทำให้เราทั้งหลายย่อมสามารถวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อมทั้งทางด้านสังคม เศรษฐกิจและการเมือง ทั้งเกี่ยวเนื่องกับสภาพภายในประเทศและเรื่องราวต่างประเทศ ทั้งหมดนี้เป็นข้อมูลที่เราทั้งหลายได้ติดตามเพื่อแสวงหาความเป็นจริงและความเป็นไปในความสับสนวุ่นวายของเรื่องราวต่างๆ ซึ่งเป็นเสมือนอาหารสมองที่เราทั้งหลายต่างร่วมรับรู้และบริโภคข้อมูลข่าวสารและเรื่องราวที่เกี่ยวข้องเหล่านั้น ท่านทั้งหลาย ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตประจำวันของเราหาใช่เพียงข้อมูลในเชิงการรับรู้เฉพาะกลุ่มเท่านั้น หากข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลที่เราทั้งหลายจะต้องตรวจสอบ แยกแยะและพิจารณาถึงสภาพความเป็นจริงของที่มา และสิ่งที่จะติดตามมาในอนาคตว่าสิ่งเหล่านั้น ได้ให้ความกระจ่างกับเราได้อย่างไร ไฉนการแก้ปัญหาของผู้เกี่ยวข้อง จึงมองข้ามหรือหลีกเลี่ยงความสำคัญต่อสิ่งต่างๆ นี้ไปอย่างไรบ้าง ดังนั้น จึงขอให้เราทั้งหลายจงใช้วิจารณญาณในการสดับตรับฟังเรื่องราวเหล่านั้น และจงพึงสำนึกถึงและยำเกรงต่อพระองค์ให้มาก เพราะเรื่องราวทั้งหลายที่เกิดขึ้นแม้เราได้รับรู้และพิจารณาแล้วหากแต่เรื่องเหล่านั้น คือการทดสอบของพระองค์ ซึ่งเป็นการทดสอบที่มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับว่าเรื่องราวเหล่านั้น เป็นการทดสอบจากพระองค์ต่อมวลมนุษย์ทั้งหลายซึ่งอาจได้รับผลกระทบจากการทดสอบของพระองค์ตามระยะหรือรัศมีแห่งการทดสอบจากพระองค์ด้วยว่าใกล้หรือไกลจากจุดศูนย์กำเนิดเพียงใด
ท่านทั้งหลาย
ระบบเศรษฐกิจในปัจจุบันตามกระแสหลักแล้ว การแข่งขันเป็นระบบเสรี หรือเสรีนิยมตามระบอบประชาธิปไตย แม้รัฐที่มีการปกครองแบบสังคมนิคมหรือคอมมิวนิสต์ ก็ดิ้นรนเพื่อต่อสู้กับการแข่งขันเสรีเช่นนี้ เพื่อให้เกิดความ มั่งคั่ง (Wealth) ความแข็งแกร่ง (Strong) และศักยภาพสูงสุดของการแข่งขัน (powerful) ด้วยเหตุนี้ เราจึงเห็นถึงการต่อรองทางเศรษฐกิจในเชิงของการแข่งขันทางเศรษฐกิจ ในสินค้าและบริการของแต่ละกลุ่มอย่างเห็นได้ชัดเจนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในธุรกิจด้านการพลังงาน ซึ่งเป็นยุทธปัจจัยสำคัญที่สุดในปัจจุบัน ที่เห็นได้ว่าเป็นตัวกำหนดบทบาทของสภาพทางเศรษฐกิจที่สำคัญและยิ่งใหญ่ ตัวหนึ่ง เพราะทุกๆ ส่วนที่มีบทบาทของการแข่งขันเพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะอย่างยิ่งเป้าหมายในทางมหภาคที่ต้องนำพาความจำเริญทางเศรษฐกิจให้บังเกิดความก้าวหน้าในทางเศรษฐกิจที่ชัดเจนมากที่สุด เราจะเห็นได้ว่า ความแข็งแกร่งของการกำหนดราคาและอัตรากำลังการผลิตจะเป็นตัวกำหนดแรงกดดันทางด้านราคาและการแข่งขันในส่วนต่างๆ อย่างเห็นได้ชัด อาจกล่าวได้ว่า หากใครสามารถยึดกลไกรการกำหนดราคาหรือคาดการณ์ล่วงหน้าเพื่อการเก็งกำไรในธุรกิจหรือกิจการด้านพลังงานแล้ว วิกฤติที่เกิดขึ้นจะก้าวล่วงไปยังส่วนผลิตส่วนอื่นๆได้อย่างชัดเจน คล้ายการเล่นเกมมิโนที่เมื่อกระทบด้านหนึ่งด้านใดแล้ว ผลที่เกิดขึ้นย่อมส่งผลไปยังส่วนต่างๆ ทั้งหมดอย่างแน่นอน
ท่านทั้งหลาย
จากข่าวคราวการขึ้นเงินเดือนในกับทางราชการทั้งฝ่ายประจำและนักการเมืองทั้งนักการเมืองระดับชาติและนักการเมืองท้องถิ่น สะท้อนให้เห็นถึงการปรับฐานของค่าจ้าง เราจะเห็นได้จากการปรับปรุงและกำหนดค่าจ้างแรงงาน การขึ้นราคาสินค้า โดยเฉพาะสินค้าที่เป็นปัจจัยยังชีพที่จำเป็นสำหรับทุกครัวเรือน และทุกๆ ครั้งที่แนวโน้มด้านพลังงานจะสูงขึ้น ย่อมกระทบในวงกว้างที่ผู้ประกอบการทั้งหลายจะสะท้อนให้เห็นถึงต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น แล้วผลักดันให้ผู้บริโภคเป็นผู้รับผิดชอบ นั่นคือ ทุกๆ คนในสังคมถูกกระทบกระเทือนกันอย่างถ้วนหน้า เราได้รับทราบถึงการออกแบบสอบถาม เช่น การสอบถามเกี่ยวกับรายจ่ายครัวเรือนของข้าราชการ ซึ่งผลโพลที่เกี่ยวข้องต่างให้ข้อมูลว่า บรรดาข้าราชการเหล่านั้น มีรายจ่ายในแต่ละเดือนหมดไปกับรายจ่ายในการเดินทาง ถึงกว่าร้อยละ 40 ของรายได้ครัวเรือน นั่นย่อมแสดงให้เห็นว่า ต้นทุนการผลิตและกาบริโภคถูกเชื่อมโยงเข้ากับสินค้าที่เกี่ยวข้องกับทางด้านพลังงานแทบทั้งสิ้น หากเรามองถึงภาครัฐบาล จะเห็นได้ว่า รายได้หลักทางด้านภาษีอากรจะเกี่ยวข้องกับการจัดเก็บภาษีสรรพสามิต ที่เกี่ยวข้องกับพลังงานและภาษีบาปทั้งหลาย ซึ่งรัฐบาลหากจัดเก็บภาษีได้ไม่เป็นไปตามเป้าหมายแล้ว จะกระทบในวงกว้างและสะท้อนให้เห็นถึงสัญญาณแห่งหายนะทางเศรษฐกิจ ซึ่ง เห็นได้ว่า กลไกรทางเศรษฐกิจ จะถูกกระทบอย่างมาก ด้วยปัจจัยจากการเพิ่มต้นทุนการผลิต ตามที่ทางรัฐบาลกำหนดไว้ เพื่อนำไปจัดสรรและกำหนดเป็นรายได้ของรัฐ ที่จะนำไปใช้ในกิจการต่างๆ รวมถึงเพื่อใช้ในการกระตุ้นระบบเศรษฐกิจให้จำเริญเติบโตตามเป้าหมายที่ได้กำหนดในนโยบายแห่งรัฐ
ท่านทั้งหลาย
ขอให้เราพิจารณาการใช้จ่ายในชีวิตประจำวันของเรา การใช้ชีวิตที่พอเพียง แม้ว่าเป็นคำกล่าวที่หลายๆ ภาคส่วนนำมาใช้กันอย่างแพร่หลาย แต่ขอให้ได้ตระหนักถึงความมัธยัสถ์ และใช้อย่างเหมาะสม หาใช่ใช้แบบตระหนี่ถี่เหนือ และจงใช้อย่างตักตวงและเล็งเห็นถึงประโยชน์ที่เราพึงใช้และพึงบริโภคที่เหมาะสม จากโองการอัลกุรอ่านซูเราะห์Al-Qur'an, 007.031-033 (Al-Araf [The Heights]) ความว่า
007.031 يَا بَنِي آدَمَ خُذُوا زِينَتَكُمْ عِنْدَ كُلِّ مَسْجِدٍ وَكُلُوا وَاشْرَبُوا وَلا تُسْرِفُوا إِنَّهُ لا يُحِبُّ الْمُسْرِفِينَ
007.031 O Children of Adam! wear your beautiful apparel at every time and place of prayer: eat and drink: But waste not by excess, for Allah loveth not the wasters.
31. ลูกหลานของอาดัมเอ๋ย ! จงเอา (คือให้ถือปฏิบัติเป็นเนืองนิจ) เครื่องประดับกาย (หมายถึงการสวมเครื่องนุ่งห่มให้เรียบร้อยขณะไปมัสยิดทุก ๆ มัสยิด) ของพวกเจ้า ณ ทุกมัสยิดและจงกินและจงดื่ม และจงอย่าฟุ่มเฟือย แท้จริงพระองค์ไม่ชอบบรรดาผู้ที่ฟุ่มเฟือย

007.032 قُلْ مَنْ حَرَّمَ زِينَةَ اللَّهِ الَّتِي أَخْرَجَ لِعِبَادِهِ وَالطَّيِّبَاتِ مِنَ الرِّزْقِ قُلْ هِيَ لِلَّذِينَ آمَنُوا فِي الْحَيَاةِ الدُّنْيَا خَالِصَةً يَوْمَ الْقِيَامَةِ كَذَلِكَ نُفَصِّلُ الآيَاتِ لِقَوْمٍ يَعْلَمُونَ
007.032 Say: Who hath forbidden the beautiful (gifts) of Allah, which He hath produced for His servants, and the things, clean and pure, (which He hath provided) for sustenance? Say: They are, in the life of this world, for those who believe, (and) purely for them on the Day of Judgment. Thus do We explain the signs in detail for those who understand.
32. จงกล่าวเถิด(มุฮัมมัด) ว่าผู้ใดเล่าที่ให้เป็นที่ต้องห้าม ซึ่งเครื่องประดับร่างกาย (หมายถึง เครื่องแต่งตัวเพื่อให้มีสภาพเรียบร้อย ไม่เป็นที่รังเกียจแก่ผู้ที่ร่วมอยู่ด้วยหรือผ่านพบเห็น) จากอัลลอฮ์ ที่พระองค์ได้ทรงให้ออกมาสำหรับปวงบ่าวของพระองค์ และบรรดาสิ่งดี ๆ จากปัจจัยยังชีพ จงกล่าวเถิด(มุฮัมัด) ว่าสิ่งเหล่านั้นสำหรับบรรดาผู้ที่ศรัทธา (และผู้ที่ไม่ศรัทธาด้วย) ในชีวิตความเป็นอยู่แห่งโลกนี้ (และสำหรับพวกเขา) โดยเฉพาะ (คือในวันปรโลกจะได้แก่ผู้ที่ศรัทธาโดยเฉพาะ คนปฏิเสธศรัทธาจะไม่มีส่วนได้เลย) ในวันกิยามะฮ์ ใน ทำนองนั้นแหละเราจะแจกแจงโองการทั้งหลายแก่ผู้ที่รู้ (คือด้วยการใช้สติปัญญา และยอมรับความจริง)
007.033 قُلْ إِنَّمَا حَرَّمَ رَبِّيَ الْفَوَاحِشَ مَا ظَهَرَ مِنْهَا وَمَا بَطَنَ وَالإثْمَ وَالْبَغْيَ بِغَيْرِ الْحَقِّ وَأَنْ تُشْرِكُوا بِاللَّهِ مَا لَمْ يُنَزِّلْ بِهِ سُلْطَانًا وَأَنْ تَقُولُوا عَلَى اللَّهِ مَا لا تَعْلَمُونَ
007.033 Say: the things that my Lord hath indeed forbidden are: shameful deeds, whether open or secret; sins and trespasses against truth or reason; assigning of partners to Allah, for which He hath given no authority; and saying things about Allah of which ye have no knowledge.
33. จงกล่าวเถิด (มุฮัมมัด) ว่า แท้จริงสิ่งที่พระเจ้าของฉันทรงห้ามนั้น คือบรรดาสิ่งที่ชั่วช้าน่ารังเกียจ (เช่น การทำซินา การข่มขืนชำเรา การฆ่ากัน และการปล้นจี้ เป็นต้น) ทั้งเป็นสิ่งที่เปิดเผยจากมันและสิ่งที่ไม่เปิดเผย และสิ่งที่เป็นบาป(คือการฝ่าฝืนบัญญัติศาสนาโดยทั่วไป) และการข่มเหงรังแกโดยไม่เป็นธรรม (คำว่า “โดยไม่เป็นธรรม” นั้นเป็นการย้ำคำที่ว่า “การข่มเหงรังแก”) และการที่พวกเจ้าให้เป็นภาคแก่อัลลอฮ์ซึ่งสิ่งที่พระองค์มิได้ทรงประทานหลักฐานใด ๆ ลงมาแก่สิ่งนั้น (คือมิได้ทรงมีหลักฐานยืนยันว่าสิ่งนั้นเป็นภาคีกับพระองค์ ที่กล่าวเช่นนี้เพียงเพื่อแสดงว่าพวกเรากระทำด้วยพละการเท่านั้น ความจริงแล้วไม่มีสิ่งใดเป็นภาคีแก่พระองค์ทั้งสิ้น) และการที่พวกเจ้ากล่าวให้ภัย (คืออุตริกระทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดขึ้น แล้วอ้างว่าเป็นศาสนาของอัลลอฮ์ ปฏิบัติการดังกล่าวนี้ถือเป็นการให้ร้ายแก่พระองค์) แก่อัลลอฮ์ในสิ่งที่พวกเจ้าไม่รู้
จะเห็นได้ว่า แนวทางในการดำเนินชีวิตของมุสลิมตามนัยแห่งโองการของพระองค์ เราใช้ประโยชน์จากตัวแบบที่กำหนดเหล่านี้ โดยแน่แท้แล้วเราพึงใช้และบริโภคด้วยความระมัดระวัง แม้ว่าผู้กำหนดราคาของสินค้าต่างๆ คือกลไกรทางการตลาดที่แปรผันไปตามกำไรทางธุรกิจ หรือต้นทุนการผลิตที่แต่ละภาคส่วนการผลิตพึงได้รับ ผู้ผลิตต้องการกำไร ขณะที่ผู้บริโภคต้องการสินค้าที่มีราคาถูก เพื่อความประหยัด ขณะที่แรงงานต้องการค่าแรงที่เหมาะสมเพื่อความอยู่รอดในการเลี้ยงดูครอบครัว แต่ในฝ่ายนายจ้างกลับต้องการลดต้นทุนการผลิต กลไกรทางการตลาดดังกล่าวคือวัฎจักรแห่งการผันแปรที่ทุกฝ่ายต้องยอมรับอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้น ข่าวสารการขึ้นค่าแรงงาน การขึ้นเงินเดือน หรือการขึ้นราคาสินค้า สิ่งเหล่านี้เป็นสภาพทางเศรษฐกิจที่เป็นไปตามกลไกรที่เกิดขึ้น เป็นกลไกรที่แต่ละฝ่าย แต่ละรัฐบาลมองถึงความจำเริญทางเศรษฐกิจ เป็นความมั่งคั่งที่แต่ละฝ่ายต้องการก้าวไปให้ถึง ดังนั้น จึงขอให้เราทั้งหลาย จงพิจารณาถึงสภาพที่เกิดขึ้นอย่างแยกส่วน และมองดูอย่างมีวิจารณญาณ เราจึงควรพิจารณาถึงสิ่งที่ใกล้ตัวเราก่อนว่า เรามีชีวิตอยู่อย่างสุขสบายหรือลำบากอย่างไรบ้าง เราอยู่กันอย่างพอเพียงหรือไม่ ทุกๆ วันเรามีขยะที่ต้องทิ้งเป็นสิ่งปฏิกูลที่รอวันถูกย่อยสลายตามกระบวนการ แต่เราลองมาตรวจสอบดูว่าสิ่งปฏิกูลที่เราทิ้งขว้างลงไปนั้น บางครั้งมันคือสิ่งที่เหลือใช้ของเราโดยที่สิ่งเหล่านั้นยังมีคุณค่าแต่เป็นสิ่งที่เราเหลือทิ้งเกินความจำเป็น ดังนั้น จึงควรตรวจสอบสิ่งเหล่านี้และลดจำนวนของสิ่งเหล่านี้ลงไป เพื่อให้ชีวิตของเราดำเนินไปอย่างพอเพียง มัธยัสถ์ และอยู่อย่างคุ้มค่า อยู่ในแนวทางของอัลอิสลามบนความยำเกรงต่อพระองค์
ท่านทั้งหลาย
ขอให้พิจารณาอัลฮาดีสต่อไปนี้
I will narrate to you a narration which nobody will narrate to you after me. I heard that from the Prophet. I heard the Prophet saying, "The Hour will not be established" or said: "From among the portents of the Hour is that the religious knowledge will be taken away (by the death of religious Scholars) and general ignorance (of religion) will appear; and the drinking of alcoholic drinks will be very common, and (open) illegal sexual intercourse will prevail, and men will decrease in number while women will increase so much so that, for fifty women there will only be one man to look after them."
Narratรed by: Anas Source : Sahih Al-bukhari 8.800A
การดำเนินชีวิตประจำวันของเรา เราจึงควรแสวงหาความรู้ ประสบการณ์ทั้งทางตรงและทางอ้อมเพื่อศึกษาสภาพ ความเป็นไปในสังคม ในแต่ละด้าน เราต้องใช้ปัจจัยเหล่านั้นให้เต็มประโยชน์ ลดสิ่งที่เหลือทิ้ง เราต้องใช้โดยมัธยัสถ์ ไม่ใช้เกินความจำเป็น และใช้อย่างมีวิจารณญาณ รวมถึงการใช้เวลาของเราให้บรรลุเป้าหมายสูงสุด อย่าใช้โดยเปล่าประโยชน์ เช่นเดียวกับการบริโภค ก็ควรบริโภคตามความเหมาะสม ไม่ฟุ่มเฟือย ลดละเลิกสิ่งที่ไม่ใช่ความจำเป็น หรือบั่นทอนต่อสุขภาพ และการใช้ชีวิตควรอยู่ในลู่ทางตามหลักศีลธรรมจรรยา อย่าได้ไปละเมิดใครๆ เพราะที่สุดแล้ว เราย่อมต้องถูกสอบสวนจากพระองค์ ในวันแห่งการตัดสินที่ใกล้เข้ามา ตามสภาพที่เราพบในปัจจุบัน เช่น การเพิ่มประชากรที่นับวันเพศหญิงจะมีมากกว่าเพศชาย และสินค้าปัจจัยต่างๆ นับวันราคาจะทวีสูงขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งเราทั้งหลายต้องยึดมั่นต่อพระองค์ด้วยความอดทนและยำเกรง

إِنَّ اللَّهَ وَمَلائِكَتَهُ يُصَلُّونَ عَلَى النَّبِيِّ يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا صَلُّوا عَلَيْهِ وَسَلِّمُوا تَسْلِيمًا
رَبَّنَا آتِنَا فِي الدُّنْيَا حَسَنَةً وَفِي الآخِرَةِ حَسَنَةً وَقِنَا عَذَابَ النَّارِ
إِنَّ اللَّهَ يَأْمُرُ بِالْعَدْلِ وَالإحْسَانِ وَإِيتَاءِ ذِي الْقُرْبَى وَيَنْهَى عَنِ الْفَحْشَاءِ وَالْمُنْكَرِ وَالْبَغْيِ يَعِظُكُمْ لَعَلَّكُمْ تَذَكَّرُونَ
سُبْحَانَ رَبِّكَ رَبِّ الْعِزَّةِ عَمَّا يَصِفُونَ
وَسَلامٌ عَلَى الْمُرْسَلِينَ
وَالْحَمْدُ لِلَّهِ رَبِّ الْعَالَمِينَ
ว่าบิ้ลลาฮิเตาฟีก วั้ลฮิดายะห์
วัสสลาม
มูฮำหมัด สันประเสริฐ

อ้างอิง
อัลกุรอ่านฉบับภาษาไทย สมาคมนักเรียนเก่าอาหรับ ดำเนินการจัดพิมพ์โดยกระทรวงกิจการฮัจย์ แห่งราชอาณาจักรซาอุดิอาเบีย http://www.alquran-thai.com/
อัลฮาดีซ : Hadith of The Day V 1.0 Freeware by FaridAnasri avater@muslimonline.com www.beconvinced.com

วันพุธที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ความรักสร้างพลังแห่งสันติสุข

มิมบัรออนไลน์


คุตบะห์วันศุกร์ 17 รอบีอุ้ลเอาวัล 1433 (วันศุกร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555)



ความรักสร้างพลังแห่งสันติสุข



الْحَمْدُ لِلَّهِ رَبِّ الْعَالَمِينَ


إِنَّمَا الْمُؤْمِنُونَ إِخْوَةٌ فَأَصْلِحُوا بَيْنَ أَخَوَيْكُمْ وَاتَّقُوا اللَّهَ لَعَلَّكُمْ تُرْحَمُونَ





ท่านพี่น้องผู้ศรัทธาทั้งหลาย


การสรรเสริญทั้งมวลนั้นย่อมเป็นสิทธิ์ของอัลลอฮ์ ผู้ทรงอภิบาลแห่งสากลโลก


ขอความสันติและความรักความปรารถนาดีจากพระองค์อัลลอฮ์ จงมีแด่ท่านนบีมุฮัมมัดตลอดจนวงศ์วานเหล่าซ่อฮาบัต ขอให้พระองค์ทรงตอบรับการขอดุอาร์จากพวกเราด้วยเถิด


ขอตักเตือนตนเองและท่านทั้งหลาย จงยำเกรงต่ออัลลอฮ์ เถิด เพราะการปฏิบัติตามคำสั่งใช้และคำสั่งห้ามของพระองค์นั้น ผลลัพท์ที่ดีนั้นย่อมตกแก่ผู้ศรัทธา ที่ยำเกรงต่อพระองค์ ยำเกรงด้วยความบริสุทธิ์ใจต่อ ทุกๆ คำสั่งของพระองค์ ทุกๆ วจนะของท่านศาสดา ที่ย้ำเตือนเราให้เห็นถึงปรากฏการณ์ต่างๆ ที่พระองค์อัลลอฮ์ (ซ.บ.) ทรงทดสอบเรา ซึ่งการทดสอบของพระองค์จะทรงทดสอบโดยตรงกับเราทั้งจากทรัพย์สินที่เราครอบครอง และลูกหลานของเราที่ได้อุปการะเลี้ยงดู นอกจากนี้การทดสอบด้วยปรากฏการณ์ต่างๆ ตามสภาพแวดล้อมรอบตัวเรา ด้วยการแสดงออกมาในรูปของการกระทำ พลังอิหม่านศรัทธาของเราต่อการแสดงออกมาทางอารมณ์ ความรู้สึก ต่างๆ ต่อ ในสิ่งที่พระองค์ทรงใช้หรือห้ามมิให้กระทำนั้น เรายึดมั่นอย่างไร ให้ความสนใจมากน้อยเพียงใด เรายังคงปลดปล่อยเวลาให้ผ่านพ้นไป โดยที่ไม่ใส่ใจในภารกิจหลักที่สำคัญกระนั้นหรือ ขอให้เราจงไตร่ตรองถึงความสำคัญให้มากที่สุด



พี่น้องผู้ศรัทธาทั้งหลาย


ความรักและความห่วงใยของท่านร่อซูรุ้ลลอฮ์ (ซ.ล.) ที่มีต่อประชาชาติมุสลิมเป็นสายใยรักที่มีความปรารถนาดี เต็มไปด้วยความรักความเอื้ออาทร ที่มุ่งเน้นความอยู่ดีมีสุขในวันกิยามัต ซึ่งท่านศาสดาจะทรงขอดุอาร์ให้กับประชาชาติมุสลิมทุกคนให้รอดพ้นจากการถูกลงโทษจากไฟนรก ซึ่งพระองค์จะทรงตอบรับการขอดุอาร์ของท่านศาสดา จึงเป็นการแสดงออกให้เห็นถึงความรักความเอื้ออาทรของท่านศาสดาต่อบรรดามุสลิมทุกๆ คน สร้างความมั่นใจในการประกอบอามั้ล อิบาดัรของเขาเหล่านั้นด้วยความมั่นใจ สนองพระบัญชาใช้ของอัลลอฮ์และแบบฉบับที่ดีงามจากท่านศาสดา (ซ.ล.) ความรักจึงเป็นสิ่งที่ดีงาม เป็นพลังในการประกอบศาสนกิจและเป็นสิ่งจูงใจให้เห็นสัมฤทธิ์ผลในกิจกรรมต่างๆ การประกาศศาสนาของท่านศาสดา จึงเป็นการประกาศให้เห็นถึงคุณค่าของความรักความปรารถนาดีต่อกัน เพื่อสร้างพลังแห่งความสันติสุข อันเป็นพลังอันทรงคุณค่า เป็นการประกาศถึงยิ่งใหญ่ของมวลมนุษย์ชาติ



พี่น้องผู้ศรัทธาทั้งหลาย


ความรักในเพื่อนมนุษย์ ด้วยกัน ความรักในฐานะญาติมิตร เป็นความรักความสัมพันธ์ที่โยงใยถึงจุดมุ่งหมายความเป็นพี่น้อง ซึ่งมีจุดกำเนิดมาจากวิธีการที่ไม่แตกต่างกัน ซึ่งมนุษย์คู่แรกของโลกสืบเชื้อสายมาจากดิน แล้วจากดินนั้นพระองค์อัลลอฮ์ทรงเป่าวิญญาณเข้าไปทำให้มีชีวิต แล้วมีการสืบเชื้อสายกันจากรุ่นหนึ่งไปสู่คนอีกรุ่นหนึ่งด้วยการปฏิสนธิจากการสืบพันธ์ระหว่างชายหญิง ตามที่พระองค์ได้ทรงกำหนดไว้อย่างเป็นประจักษ์แล้ว


ความรักระหว่างเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน จึงเป็นความรักที่เน้นถึงการแสดงออกถึงปฏิสัมพันธ์ที่มีต่อกัน การแสดงออกถึงการร่วมมือร่วมแรงร่วมใจกัน หรือการแสดงออกถึงความโกรธ เกลียด อาฆาต มาดร้าย ซึ่งเป็นการแสดงออกถึงความสัมพันธ์ที่มีต่อกัน เป็นความสัมพันธ์ที่บ่งบอกถึงในแง่ดีหรือในแง่ร้าย แต่อย่างไรก็ตาม ท่านศาสดาได้กล่าวถึงการแสดงออกถึงการสร้างความสัมพันธ์ฉันท์เครือญาติร่วมกัน เป็นความสัมพันธ์ที่บ่งบอกถึงความรักความปรารถนาดีต่อกัน ไม่ส่งเสริมให้มุสลิมแสดงออกถึงความโกรธ หรือคิดร้ายต่อกัน เพราะวิธีการดังกล่าวเป็นแนวทางที่ชั่วร้าย ขัดกับพระประสงค์ของอัลลอฮ์ เพราะในขณะที่มนุษย์กำลังกริ้วโกรธ อยู่นั้น เขากำลังถูกล่อลวงจากชัยตอนผู้ถูกสาบแช่ง ซึ่งเป็นบาปอย่างมหันต์ ดังนั้น มุสลิมผู้ศรัทธา จึงควรส่งเสริมกัน และสร้างพลังอันยิ่งใหญ่ในการแสดงออกถึงความรัก ซึ่งพระองค์อัลลอฮ์ทรงมีโองการ Al-Qur'an, 049.010 (Al-Hujraat [The Private Apartments, The Inner Apartments]) ความว่า



049.010 إِنَّمَا الْمُؤْمِنُونَ إِخْوَةٌ فَأَصْلِحُوا بَيْنَ أَخَوَيْكُمْ وَاتَّقُوا اللَّهَ لَعَلَّكُمْ تُرْحَمُونَ


049.010 The Believers are but a single Brotherhood: So make peace and reconciliation between your two (contending) brothers; and fear Allah, that ye may receive Mercy.


[49.10] แท้จริงบรรดาผู้ศรัทธานั้นเป็นพี่น้องกัน ดังนั้นพวกเจ้าจงไกล่เกลี่ยประนีประนอมกันระหว่างพี่น้องทั้งสองฝ่ายของพวกเจ้า และจงยำเกรงอัลลอฮ์เถิด หวังว่าพวกเจ้าจะได้รับความเมตตา



จะเห็นได้ว่า การแสดงออกถึงความรักความห่วงใยที่มีต่อกัน ถือเป็นหน้าที่ของมุสลิม ที่จะแสดงออกถึงความรักความปรารถนาดีต่อกัน เป็นเพื่อนเป็นญาติสนิทที่จะช่วยเหลือกันด้วยความยำเกรงต่อพระองค์ หาใช่การกระทำที่มองแต่เพียงผลประโยชน์ที่แต่ละฝ่ายมีต่อกันไม่ แต่การกระทำที่มีจุดมุ่งหายของการกระทำเป็นจุดมุ่งหมายที่มาจากพระองค์แทบทั้งสิ้น เป็นจุดมุ่งหมายที่แสดงให้เห็นถึงการแสดงออกในประโยชน์ที่แต่ละฝ่ายจะได้รับ แต่มิใช่เป็นเพียงประโยชน์ที่เรามุ่งแสดงหาโดยมิได้แต่เพียงการมองถึงสิ่งที่เราจะได้มาหรือเพียงจะมุ่งรับเพียงผลประโยชน์แต่เพียงฝ่ายเดียว



ความรักที่ยิ่งใหญ่ที่มีต่อกัน เป็นความรักที่อยู่บนพื้นฐานแห่งศรัทธาและยำเกรงต่อพระองค์ และมุ่งหวังประโยชน์สูงสุดที่พระองค์จะทรงตอบรับ เป็นประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการเป็นพี่น้องมุสลิมร่วมกัน เป็นประโยชน์ที่มีทางออกร่วมกันแต่เพียงเรื่องที่ดีๆ ร่วมกัน มีมุมมองและแนวคิดที่มุ่งเน้นความสัมพันธ์ที่ดีร่วมกันตลอกไป




إِنَّ اللَّهَ وَمَلائِكَتَهُ يُصَلُّونَ عَلَى النَّبِيِّ يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا صَلُّوا عَلَيْهِ وَسَلِّمُوا تَسْلِيمًا


رَبَّنَا آتِنَا فِي الدُّنْيَا حَسَنَةً وَفِي الآخِرَةِ حَسَنَةً وَقِنَا عَذَابَ النَّارِ


إِنَّ اللَّهَ يَأْمُرُ بِالْعَدْلِ وَالإحْسَانِ وَإِيتَاءِ ذِي الْقُرْبَى وَيَنْهَى عَنِ الْفَحْشَاءِ وَالْمُنْكَرِ وَالْبَغْيِ يَعِظُكُمْ لَعَلَّكُمْ تَذَكَّرُونَ


سُبْحَانَ رَبِّكَ رَبِّ الْعِزَّةِ عَمَّا يَصِفُونَ


وَسَلامٌ عَلَى الْمُرْسَلِينَ


وَالْحَمْدُ لِلَّهِ رَبِّ الْعَالَمِينَ


วัสสลาม


มูฮำหมัด สันประเสริฐ


17 รอบีอุ้ลเอาวัล 1433



อ้างอิง


อัลกุรอ่านฉบับภาษาไทย สมาคมนักเรียนเก่าอาหรับ ดำเนินการจัดพิมพ์โดยกระทรวงกิจการฮัจย์ แห่งราชอาณาจักรซาอุดิอาเบีย , www.DivineIslam.com


อัลฮาดีซ : Hadith of The Day V 1.0 Freeware by FaridAnasri avater@muslimonline.com www.beconvinced.com