วันพฤหัสบดีที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2555

ผู้ก่อการร้าย

มิมบัรออนไลน์
คุตบะห์วันศุกร์ 3 รอบีอุ้ลเอาวัล 1433 (วันศุกร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2555)
ผู้ก่อการร้าย

الْحَمْدُ لِلَّهِ رَبِّ الْعَالَمِينَ
إِنَّ الدِّينَ عِنْدَ اللَّهِ الإسْلامُ وَمَا اخْتَلَفَ الَّذِينَ أُوتُوا الْكِتَابَ إِلا مِنْ بَعْدِ مَا جَاءَهُمُ الْعِلْمُ بَغْيًا بَيْنَهُمْ وَمَنْ يَكْفُرْ بِآيَاتِ اللَّهِ فَإِنَّ اللَّهَ سَرِيعُ الْحِسَابِ
فَإِنْ حَاجُّوكَ فَقُلْ أَسْلَمْتُ وَجْهِيَ لِلَّهِ وَمَنِ اتَّبَعَنِ وَقُلْ لِلَّذِينَ أُوتُوا الْكِتَابَ وَالأمِّيِّينَ أَأَسْلَمْتُمْ فَإِنْ أَسْلَمُوا فَقَدِ اهْتَدَوْا وَإِنْ تَوَلَّوْا فَإِنَّمَا عَلَيْكَ الْبَلاغُ وَاللَّهُ بَصِيرٌ بِالْعِبَادِ
إِنَّ الَّذِينَ يَكْفُرُونَ بِآيَاتِ اللَّهِ وَيَقْتُلُونَ النَّبِيِّينَ بِغَيْرِ حَقٍّ وَيَقْتُلُونَ الَّذِينَ يَأْمُرُونَ بِالْقِسْطِ مِنَ النَّاسِ فَبَشِّرْهُمْ بِعَذَابٍ أَلِيمٍ

ท่านพี่น้องผู้ศรัทธาทั้งหลาย
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา
มีเหตุการณ์มากมายที่เราได้สัมผัส หลายเหตุการณ์มีบทเรียนแห่งการดำเนินชีวิต ให้เราได้เรียนรู้ เพื่อปรับปรุงตนเอง
ปรับปรุงพฤติกรรม และถ่ายทอดบทเรียนดังกล่าว เพื่อเป็นแนวทาง ดำเนินชีวิต
ซึ่งเราต้องจำแนกบทเรียนดังกล่าว ตามบริบทและวิถีทางที่เที่ยงตรง
เพื่อตอบโจทย์บทเรียนดังกล่าว ให้ดำเนินไปในแนวทางที่เที่ยงแท้
มิใช่แนวทางของผู้หลงผิด และแนวทางแห่งมารร้ายที่พากันชักชวนให้เราละเมิดบทบัญญัติ
ตามความต้องการแห่งกิเลส และความอยากมีอยากได้ในสิ่งต่างๆ ตามความปรารถนา
จึงขอเตือนตนเอง และท่านทั้งหลาย จงยึดมั่นตามแนวทางและคำสอนของท่านศาสดา และย้ำเตือนตนเองให้ยำเกรงต่อพระองค์
ยึดมั่นในแนวทางแห่งพระเมตตาของพระองค์ เพราะนั่นคือหนทางแห่งผู้มีชัย
หาใช่หนทางของพวกที่หลงผิดและพวกที่บิดเบือน ซึ่งจะบั่นทอนการกระทำของเราที่จะเข้าใกล้ชิดกับพระองค์ในวันแห่งการตัดสิน
ท่านทั้งหลาย
เพื่อนบ้านของเรา
เป็นกระจกหรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่าเป็นผู้ที่จะสะท้อนให้เราเห็นได้ว่า
พฤติกรรมของเราเป็นเช่นไร บางครั้งเราสามารถคัดกรอง การเลือกที่จะคบใครเป็นมิตรแท้
ที่จะพูดจาหรือปรับทุกข์ในเรื่องราวต่างๆ การปรึกษาหารือ เพื่อประกอบการตัดสินใจ
รวมไปถึงการปรึกษาหารือในเรื่องราวส่วนตัวปัญหาชีวิต และเรื่องราวอื่นๆ
ที่เราสามารถจะพูดจาในเรื่องนั้นๆ ด้วยการแสดงออกถึงความเป็นมิตรแท้เช่นกัน
เราสามารถที่จะบ่งบอกได้ว่า การคบหาสมาคมกับเพื่อนบ้านของเราในระดับ
หรือมีขีดจำกัดในการคบหาสมาคมกับเขาเหล่านั้น
บางครั้งเราอาจทะเลาะเบาะแว้งกับเพื่อนบ้าน จากมิตรภาพที่มีต่อกัน กลายเป็นศัตรู
มีความแค้น มีความโกรธกัน บางครั้งเป็นญาติของเรา ตระกูลเดียวกัน
แต่ด้วยอารมณ์หนึ่ง ที่บ่งบอกถึงความขัดแย้งกัน เราและเขาต่างหมางเมินกัน ไม่มองหน้ากัน
เกลียดชังกัน แสดงออกถึงความเป็นศัตรูกัน ทั้งๆ ที่ท่านศาสดา (ซ.ล.) มิได้สร้างแนวทางเช่นนั้น
ซึ่งการเป็นศัตรูกันระหว่างเพื่อนบ้าน คือรอยแยก หรือความแตกร้าวที่ทำให้หลายๆ คน
ต้องใช้ชีวิตอยู่ด้วยความระแวง ความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน รวมไปถึงการละเมิดสิทธิมนุษยชน
อันจะนำมาซึ่งความเดือดร้อน ในที่สุดต้องมีหน่วยงาน หรือองค์กรหนึ่ง
จากภายนอกเข้ามาไกล่เกลี่ย สร้างความปรองดองให้เกิดขึ้น
เพื่อความผาสุกในการดำเนินชีวิต
ความเป็นเพื่อนบ้าน
การที่เราต้องแสดงออกถึงความเป็นมิตรแท้ด้วยมิตรภาพที่มีต่อกัน
ด้วยจิตใจที่แสดงออกถึงมิตรไมตรีที่มีให้กัน เป็นแนวทางปฏิบัติที่ท่านศาสดา (ซ.ล.)
ได้แจ้งไว้ในอัลฮาดีสของท่าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อนบ้านใกล้กัน และญาติสนิท
ของเรา ที่เราต้องแสดงออกถึงความมีน้ำใจไมตรี
ซึ่งรวมไปถึงเพื่อนบ้านของเราที่เป็นชนต่างศาสนิกของเรา เพื่อที่เราจะได้ใช้ชีวิตอยู่อย่างผาสุก
และอยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุขภายใต้ความปรองดองระหว่างกัน การให้อภัยต่อกัน
ความเกรงใจกันในบางครั้งที่เราต้องละเมิด หรือแสดงออกถึงการเอาเปรียบกัน
ในบางเรื่อง เช่นกัน ในสังคมชุมชนระหว่างประเทศ ความเป็นเพื่อนบ้าน แม้จะมีลัทธิการปกครองที่แตกต่างกัน
ความเป็นเพื่อนบ้านกัน จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องดูแลกันเป็นพิเศษ การทะเลาะเบาะแว้งกับเพื่อนบ้าง
การสร้างความร้าวฉานกับเพื่อนบ้าน คืออันตรายที่จะนำพาความเดือดร้อนให้กับเรา
เป็นความเดือดร้อนที่เราพึงหลีกเลี่ยง
เพื่อที่เราจะได้ใช้ชีวิตอยู่ด้วยความร่มเย็นเป็นสุข
ในวิถีชีวิตที่แต่ละคนอะลุ้มอล่วย เกรงใจกัน ปรองดองกัน
ในบางครั้งอาจเกิดความระหองระแหงต่อกัน แต่เราสามารถไกล่เกลี่ยด้วยความพอใจของทุกฝ่ายได้เป็นอย่างดี
แต่สำหรับเพื่อนบ้านที่จ้องที่จะเอารัดเอาเปรียบต่อกัน
มุ่งแต่จะกอบโกยผลประโยชน์ของตนเอง เพียงเพื่อให้คนในบ้านนั้นได้รับประโยชน์สูงสุดมากกว่าคนอื่นๆ
เพียงเพราะเขาควบคุมกลไกการใช้อำนาจตัดสินใจในชุมชนของเขา เพื่อนบ้านอย่างนี้ เราต้องพิจารณาถึงความเหมาะสมในเนื้อหาและสาระที่เราจะตรวจสอบการกระทำของเพื่อนบ้านคนนั้น
ท่านทั้งหลาย
จากข่าวสารในรอบสัปดาห์
จะเห็นถึงการป่าวประกาศของยักษ์ใหญ่มหาอำนาจ ที่กระทำตนเป็นตำรวจโลก
ใช้สื่อสารมวลชนเพื่อที่จะแสดงให้กับสังคมชุมชนโลก
พิจารณาไตร่ตรองถึงการเดินทางมายังประเทศไทย เนื่องจากมีการตรวจพบว่า บุคคลกลุ่มหนึ่งกำลังจะใช้ประเทศไทยเป็นแหล่งพังพิง
หรือแสดงออกถึงการก่อเหตุการณ์ร้ายแรงขึ้นในประเทศไทย
แต่หากย้อนรอยกลับไปถึงความชอกช้ำใจของกลุ่มชนอีกกลุ่มชนหนึ่งที่ถูกละเมิดอธิปไตย
หรือลิดรอนสิทธิของพวกเขา เช่น “ชนชาติปาเลสไตน์” ที่ต้องทนทุกขเวทนา
จากการเรียกร้องเอกราชของเขา ทั้งที่มหาอำนาจดูเหมือนจะจริงจังกับการเรียกร้องสิทธิมนุษยชน
แต่สำหรับ ชนปาเลสไตน์
พวกเขาถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน
เพียงเพราะการเรียกร้องอิสรภาพของพวกเขาจากการกระทำของชนชาติอิสราเอล
เป็นการตบหน้ายักษ์ใหญ่ที่มุ่งแสวงหาผลประโยชน์อย่างเต็มที่บนความจำกัดของทรัพยากรธรรมชาติโดยเฉพาะน้ำมันดิบในประเทศตะวันออกกลาง
จะเห็นว่า ความทุกขเวทนาของ ชาวปาเลสไตน์
หาใช่แนวทางแห่งการประกาศสิทธิมนุษยชนของยักษ์ใหญ่ แต่เมื่อใดที่ชาวปาเลสไตน์ หรือชนชาติอาหรับบางกลุ่ม
แสดงออกถึงการแก้แค้น การทวงสิทธิของพวกเขา
กลับถูกตอกย้ำว่าเขาเหล่านั้นกำลังกระทำตนเป็น “ผู้ก่อการร้าย”
โดยเฉพาะมุสลิมชนกลุ่มน้อยในประเทศต่างๆ
ที่เรียกร้องสิทธิอันเป็นสิ่งอันพึงมีพึงได้และสิทธิที่พวกเขาได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย
หรือรัฐธรรมนูญของรัฐ ที่พวกเขาสามารถแสดงออกได้อย่างเหมาะสม
หลายๆ
ครั้ง มุสลิมตัวเล็กๆ ดิ้นรนร้องทุกข์ เพื่อแสดงออกถึงความมีสิทธิ
เสรีภาพที่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายของบ้านเมือง กลับถูกตราหน้าจากทางสังคมหรือแม้แต่พี่น้องมุสลิมเองกลับเดียดฉันท์
หรือติฉินนินทาให้ร้ายป้ายสี ทั้งๆ ที่ เขาทำเพื่อสังคมโดยรวมหาใช่ความสบายอกสบายใจของเขาเหล่านั้น
บทบาทผู้ก่อการร้าย จึงเป็นประเด็นที่คนส่วนใหญ่สนใจในการแสดงออกของกลุ่มมุสลิมกลุ่มเล็กๆ
เช่นเดียวกับกลุ่มชนเหล่านั้นถูกจับตามองการเคลื่อนไหวในสถานที่ต่างๆ
โดยลืมมองถึงความชอกช้ำและการดิ้นรนต่อสู้เพื่อให้เขาเหล่านั้นได้มีทางออกต่อการดำเนินชีวิต
มีทางออกที่สังคมโดยรวมจะให้การยอมรับและได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย
ในบางครั้งผลประโยชน์มากมายของยักษ์ใหญ่ ถูกครอบงำในเชิงการบริหารกิจการจากชนชาติ
“ยิว” หรืออีกนัยหนึ่ง กลุ่มชนที่สืบเชื้อสายจากชนชาติ “อิสราเอล” จะเห็นว่า การขับเคลื่อนในทางเศรษฐกิจของยักษ์ใหญ่ การดำเนินธุรกิจมหาชนมากกว่าร้อยละ
80 ของทุนมหาชนของยักษ์ใหญ่ ที่กระจายไปทั่วโลก ทั้งสินค้าและบริการ ถูกขับเคลื่อนด้วยชนชาติดังกล่าว การดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจ การค้าขาย และความมั่นคงทางการทหาร
ซึ่งรวมถึงอาวุธสงคราม
ถูกกำหนดนโยบายจากกลุ่มทุนทางเศรษฐกิจที่มีอิทธิพลก้าวล่วงทั้งในเชิงการเมืองและการคทหารที่ครอบงำการตัดสินใจบนตัวแทนที่ทำหน้าที่ทางการบริหารและนิติบัญญัติผ่านกระบวนการทางรัฐสภาของยักษ์ใหญ่มหาอำนาจ
กระนั้นก็ตามนโยบายในการบริหารประเทศและบริหารโลกก็ถูกจำกัดเพียงกลุ่ม “ยิว”
ไม่กีกลุ่มที่ขับเคลื่อนกลุ่มทุนของตนผ่านตัวแทนทางพรรคการเมืองที่หมุนเวียนกันเข้ามาบริหารประเทศ
แสวงหาประโยชน์สูงสุดบนทรัพยาการธรรมชาติอันจำกัดในดินแดนต่างๆ ทั่วทั้งโลก
โดยที่การละเมิดเกิดขึ้นภายใต้แนวทางกำจัดคนที่ไม่เห็นด้วย เห็นแย้ง ไม่ก้มหัวให้
โดยมุ่งมั่นเพียงประโยชน์สูงสุดที่กลุ่มเขาเหล่านั้นมีความต้องการ จะเห็นได้จากการสร้างสถานการณ์เพื่อกำจัดผู้นำจนทำลายชนทั้งชาติทำนอง
“เผาบ้านเพื่อกำจัดหนูเพียงตัวเดียว” เช่นเหตุกการณ์ในอิรัก
เป็นการแสดงออกถึงการละเมิดสิทธิมนุษยชน
โดยทาสีว่าเป็นการกำจัดระเบิดนิวเคลียร์เพราะมีสายข่าวรายงานถึงการละเมิดที่จะใช้ระเบิดนิวเคลียร์ทำลายล้างชนชาติ
“ยิว” หรืออีกนัยหนึ่ง ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของยักษ์ใหญ่มหาอำนาจ แต่ในที่สุดเมื่อกำจัด “ซัดดัม ฮุสเซ็น” แล้ว
กลับไม่สามารถนำอาวุธนิวเคลียร์มายืนยันได้แม้แต่ลูกเดียว โดยที่ความเสียหายทั้งหลายเกิดแต่ชนชาติอิรักทั้งปวง
ซึ่งต้องใช้เวลาในการบูรณาการอีกชั่วอายุคน จะเห็นว่าแนวทางในแก้ไขปัญหาต่างๆ
บนสังคมชุมชนโลกถูกจัดการภายใต้แรงบันดาลใจของยักษ์ใหญ่มหาอำนาจนั้น บนกรอบแนวคิดของผู้ก่อการร้าย
จึงเป็นตัวแบบที่ใช้กันโดยแพร่หลายในโลกปัจจุบัน
บทบาทการดำเนินแนวคิดที่มุ่งมั่นรักษาผลประโยชน์ในกลุ่มพวกของตนเพียงด้านเดียวโดยลืมมองคุณค่าในความเป็นมนุษย์ของชนชาติอื่น
โดยมีฉากบังหน้าในการรักษาสิทธิมนุษยชน เช่นนี้ มีมาเป็นเวลายาวนาน
จากำเนิดของชนชาติยิว และจากโองการ จากอัลกุรอ่าน ซูเราะห์อาลิอิมรอน Al-Qur'an,
003.019-021 (Aal-E-Imran [The Family of Imran]) ความว่า

003.019 إِنَّ الدِّينَ عِنْدَ اللَّهِ الإسْلامُ وَمَا اخْتَلَفَ الَّذِينَ أُوتُوا الْكِتَابَ إِلا مِنْ بَعْدِ مَا جَاءَهُمُ الْعِلْمُ بَغْيًا بَيْنَهُمْ وَمَنْ يَكْفُرْ بِآيَاتِ اللَّهِ فَإِنَّ اللَّهَ سَرِيعُ الْحِسَابِ
003.019
The Religion before Allah is Islam (submission to His Will): Nor did the People
of the Book dissent therefrom except through envy of each other, after
knowledge had come to them. But if any deny the Signs of Allah, Allah is swift
in calling to account.
19. แท้จริงศาสนา
ณ อัลลอฮ์นั้นคือ อัลอิสลาม(หมายถึงศาสนาแห่งการเชื่อฟัง
และปฏิบัติตามโดยปราศจากการจัดแย้ง) และบรรดาผู้ที่ได้รับคัมภีร์
(หมายถึง ยิวและคริสต์) มิได้ขัดแย้งกันนอกจากหลังจากที่ได้รับความรู้
(หมายถึงความรู้จากอัลกุรอาน ที่ท่านนะบีนำมา)มายังพวกเขาเท่านั้น
ทั้งนี้เนื่องจากความอิจฉาริษยาระหว่างพวกเขา (คืออิจฉาริษยาพวกเขากันเองที่ยอมรับความจริง
และศรัทธาต่อท่านนะบี)เอง และผู้ใดปฏิเสธศรัทธาต่อบรรดาโองการของอัลลอฮ์แล้วไซร้แน่นอนอัลลอฮ์นั้นเป็นผู้ทรงรวดเร็วในการชำระ
003.020 فَإِنْ حَاجُّوكَ فَقُلْ أَسْلَمْتُ وَجْهِيَ لِلَّهِ وَمَنِ اتَّبَعَنِ وَقُلْ لِلَّذِينَ أُوتُوا الْكِتَابَ وَالأمِّيِّينَ أَأَسْلَمْتُمْ فَإِنْ أَسْلَمُوا فَقَدِ اهْتَدَوْا وَإِنْ تَوَلَّوْا فَإِنَّمَا عَلَيْكَ الْبَلاغُ وَاللَّهُ بَصِيرٌ بِالْعِبَادِ
003.020
So if they dispute with thee, say: "I have submitted My whole self to
Allah and so have those who follow me." And say to the People of the Book
and to those who are unlearned: "Do ye (also) submit yourselves?" If
they do, they are in right guidance, but if they turn back, Thy duty is to
convey the Message; and in Allah's sight are (all) His servants.
20. แล้วหากพวกเขาโต้แย้งเจ้า
ก็จงกล่าวเถิดว่าฉันได้มอบใบหน้า (ร่างกาย) ของฉัน (หมายถึงร่างกายทั้งหมดด้วยชาวอาหรับถือว่าใบหน้าเป็นส่วนสำคัญของร่างกายเมื่อระบุถึงใบหน้าจึงหมายถึงร่างกายทั้งหมดด้วย1)
แด่อัลลอฮ์แล้ว และผู้ที่ปฏิบัติตามฉัน(ก็มอบ)
ด้วยและเจ้าจงกล่าวแก่บรรดาผู้ที่ได้รับคัมภีร์ และบรรดาผู้ที่เขียนอ่านไม่เป็น (คือพวกมุชริกีนมักกะฮ์)
ว่า พวกท่านมอบ (ใบหน้าแด่อัลลอฮ์) แล้วหรือ? ถ้าหากพวกเขาได้มอบแล้วแน่นอนพวกเขาก็ได้รับแล้ว
ซึ่งแนวทางอันถูกต้อง และถ้าหากพวกเขาผินหลังให้ แท้จริงหน้าที่ของเจ้านั้นเพียงการประกาศให้ทราบเท่านั้น
(คือไม่มีหน้าที่บังคับให้ใครศรัทธา) และอัลลอฮ์นั้นเป็นผู้ทรงเห็นปวงบ่าวทั้งหลาย
003.021 إِنَّ الَّذِينَ يَكْفُرُونَ بِآيَاتِ اللَّهِ وَيَقْتُلُونَ النَّبِيِّينَ بِغَيْرِ حَقٍّ وَيَقْتُلُونَ الَّذِينَ يَأْمُرُونَ بِالْقِسْطِ مِنَ النَّاسِ فَبَشِّرْهُمْ بِعَذَابٍ أَلِيمٍ
003.021
As to those who deny the Signs of Allah and in defiance of right, slay the
prophets, and slay those who teach just dealing with mankind, announce to them
a grievous penalty.
21. แท้จริงบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธา
(หมายถึงชาวยิว) ต่อโองการทั้งหลายของอัลลอฮ์ และฆ่าบรรดานะบีโดยปราศจากความเป็นธรรม
และฆ่าบรรดาผู้ที่ใช้ให้มีความยุติธรรม จากหมู่ประชาชนนั้น (คือ
ฆ่าประชาชนที่เรียกร้องให้มีความยุติธรรม) เจ้า (มุฮัมมัด)
จงแจ้งข่าวดี (การแจ้งข่าวลงโทษด้วยคำว่า “ข่าวดี” นั้นเป็นการปรามที่รุนแรงยิ่งแก่ ผู้ที่ดื้อดัน) แก่พวกเขาเถิด
ด้วยการลงโทษอันเจ็บแสบ

จากโองการที่ได้หยิบยกมาข้างต้น
จะเห็นได้ว่า ผลประโยชน์ของ “ยิว”
ที่เขาปกปักรักษาเป็นสิ่งที่สร้างสมกันเป็นวัฒนธรรมของชนชาติ
ความป่าเถื่อนในอดีตสั่งสมให้เห็นถึงความเลวร้ายในปัจจุบันที่ดำเนินต่อมาให้ดูเหมือนเขาใจดีมีเมตตา
แต่แท้ที่จริง เขาทำเพื่อประโยชน์ในกลุ่มของตนพวกพ้องของตนโดยมองข้ามคุณค่าใมนความเป็นมนุษย์ในชนชาติอื่นๆ
การมุ่งมั่นเป็นปฏิปักษ์กับท่านศาสดา (ซ.ล.)
เพียงเพื่อรักษาคัมภีร์หรือพันธะสัญญาเดิมในอดีตให้คงอยู่
เป็นการบ่งบอกให้เห็นถึงความเห็นแก่ตัวและความอหังกาที่ท้าทายพระบัญชาของอัลลอฮ์
(ซ.บ.) และแน่นอนว่าในไม่ช้าชนชาติที่มุ่งเอารัดเอาเปรียบต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกันนั้น
จะต้องถูทดสอบและถูกท้าทายตามความประสงค์ของพระองค์
ท่านทั้งหลาย
ความเพียงพอ
ความพอดี และการรักษาคุณค่าในเชิงวัฒนธรรม เป็นแนวทางสากลที่ทำให้คนเรามีความสุข
หาใช่การแสวงหาประโยชน์เฉพาะของตนเองโดยมองข้ามความสำคัญของคนอื่น
การดูแลและพึ่งพาอาศัยกันในชุมชนทำให้สังคมน่าอยู่ การมีชีวิตอยู่อย่างมีความสุข
คือความต้องการของทุกๆ คนในสังคม ดังนั้น สังคมที่เป็นสุข เป้นสังคมที่ทุกๆ
คนในสังคมอยู่กันอย่างราบรื่น ปกป้องและคุ้มครองกันไม่เอารัดเอาเปรียบกัน เห็นอกเห็นใจกัน
ไม่เกิดความเหลื่อมล้ำกัน ดูแลและโอบอ้อมอารีซึ่งกันและกัน ไม่หวาดระแวงกัน
สังคมเช่นนี้เป็นสังคมแห่งอุดมคติ ที่หาได้ยากในปัจจุบัน ดังนั้น หากเราดูแลซึ่งกันและกัน
ไม่เอาเปรียบกัน เช่นนี้ ทุกคนในสังคมจะอยู่กันอย่างมีความสุข
ขอให้พิจารณาอัลฮาดีส ความว่า
Truly of those devoted to Me the one I most
favour is a believer who is of meagre means and much given to prayer, who has
been particular in the worship of his Lord and has obeyed Him inwardly, who was
obscure among people and not pointed our, and whose sustenance was just
sufficient to provide for him yet he bore this patiently. Then the Prophet (pbuh) rapped his hand and
said: Death will have come early to him, his mourners will have been few, his estate scant. Source: Hadith Qudsi 26

ท่านทั้งหลาย
ทุกคนมีเวลาเท่ากัน
ทุกคนมีลมหายใจเช่นเดียวกัน
การดำเนินชีวิตมีความต้องการในปัจจัยสี่ที่ไม่แตกต่างกัน ดังนั้น การที่คนๆ
หนึ่งสามารถดำเนินชีวิตไปได้ด้วยความพอเพียง และทุกคนในสังคมรู้จักที่จะแบ่งปันกัน
เกื้อกูลกัน เช่นนี้ทุกคนมีความสุข แต่ชุมชนใดที่ขาดซ฿งความรักความปรองดองกัน
ไม่สามัคคีกัน มุ่งมั่นที่จะแสวงหาความสุขบนความทุกข์ของคนอื่นแล้ว
แน่นอนในไม่ช้าสังคมนั้นต้องดำเนินไปด้วยความหวาดระแวง
บ้านที่อยู่ใกล้กันขาดความไว้วางใจกัน
สังคมอย่างนี้ในไม่ช้าคงพบจุดจบแห่งความหายนะ และคนที่เอาเปรียบคนอื่นๆ
อยู่ตลอดเวลา คนๆ นั้น ไม่สามารถอยู่รอดปลอดภัยอย่างมีความสุขได้
เช่นเดียวกับสังคมชุมชนโลก ความหลากหลาย ความซับซ้อนของปัญหา
ตลอดจนแนวทางในการแก้ไขปัญหา แต่หากทุกๆ สังคมมองเห็นคุณค่าและความสำคัญแม้ในชนกลุ่มน้อยที่ต้องการความช่วยเหลือ
แน่นอนว่า เราทุกคนต้องช่วยกันดูแล เกื้อกูลกัน
แล้วความผาสุกย่อมเกิดขึ้นในทุกสังคม


إِنَّ اللَّهَ وَمَلائِكَتَهُ يُصَلُّونَ عَلَى النَّبِيِّ يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا صَلُّوا عَلَيْهِ وَسَلِّمُوا تَسْلِيمًا
رَبَّنَا آتِنَا فِي الدُّنْيَا حَسَنَةً وَفِي الآخِرَةِ حَسَنَةً وَقِنَا عَذَابَ النَّارِ
إِنَّ اللَّهَ يَأْمُرُ بِالْعَدْلِ وَالإحْسَانِ وَإِيتَاءِ ذِي الْقُرْبَى وَيَنْهَى عَنِ الْفَحْشَاءِ وَالْمُنْكَرِ وَالْبَغْيِ يَعِظُكُمْ لَعَلَّكُمْ تَذَكَّرُونَ
سُبْحَانَ رَبِّكَ رَبِّ الْعِزَّةِ عَمَّا يَصِفُونَ
وَسَلامٌ عَلَى الْمُرْسَلِينَ
وَالْحَمْدُ لِلَّهِ رَبِّ الْعَالَمِينَ
วัสสลาม
มูฮำหมัด สันประเสริฐ
26
ซอฟัร 1433

อ้างอิง
อัลกุรอ่านฉบับภาษาไทย
สมาคมนักเรียนเก่าอาหรับ ดำเนินการจัดพิมพ์โดยกระทรวงกิจการฮัจย์
แห่งราชอาณาจักรซาอุดิอาเบีย , www.DivineIslam.com
อัลฮาดีซ :
Hadith of The Day V 1.0 Freeware by FaridAnasri avater@muslimonline.com www.beconvinced.com

วันพุธที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2555

ความผิดพลาดครั้งใหญ่ จากความสนุกในช่วงเทศกาลรื่นเริง เป็นความทุกข์ที่ได้รับในวันแห่งการตอบแทน

มิมบัรออนไลน์


คุตบะห์วันศุกร์ 26 ซอฟัร 1433 (วันศุกร์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2555)


ความผิดพลาดครั้งใหญ่ จากความสนุกในช่วงเทศกาลรื่นเริง เป็นความทุกข์ที่ได้รับในวันแห่งการตอบแทน



الْحَمْدُ لِلَّهِ رَبِّ الْعَالَمِينَ


هُوَ الَّذِي أَرْسَلَ رَسُولَهُ بِالْهُدَى وَدِينِ الْحَقِّ لِيُظْهِرَهُ عَلَى الدِّينِ كُلِّهِ وَكَفَى بِاللَّهِ شَهِيدًا


الزَّانِيَةُ وَالزَّانِي فَاجْلِدُوا كُلَّ وَاحِدٍ مِنْهُمَا مِائَةَ جَلْدَةٍ وَلا تَأْخُذْكُمْ بِهِمَا رَأْفَةٌ فِي دِينِ اللَّهِ إِنْ كُنْتُمْ تُؤْمِنُونَ بِاللَّهِ وَالْيَوْمِ الآخِرِ وَلْيَشْهَدْ عَذَابَهُمَا طَائِفَةٌ مِنَ الْمُؤْمِنِينَ


الزَّانِي لا يَنْكِحُ إلا زَانِيَةً أَوْ مُشْرِكَةً وَالزَّانِيَةُ لا يَنْكِحُهَا إِلا زَانٍ أَوْ مُشْرِكٌ وَحُرِّمَ ذَلِكَ عَلَى الْمُؤْمِنِينَ



ท่านพี่น้องผู้ศรัทธาทั้งหลาย


ทุกเหตุการณ์ที่ผ่านพ้นไป เราได้เก็บเกี่ยวหรือได้แง่คิดในการปฏิบัติตนของเราบ้างหรือไม่ จะเห็นว่า สังคมปัจจุบัน มีความเปลี่ยนแปลงไปในทางที่เลวร้ายมากขึ้น โดยเฉพาะบรรดาเยาวชน ลูกหลานของเราที่อยู่ในวัยเรียนต่างกระทำการตามตัวอย่างกัน โดยไม่แยกแยะระหว่างคุณค่าความดีงามกับความเสื่อมโทรมทางศีลธรรม การทำตามกันในเรื่องที่ดีงาม เป็นสิ่งที่ควรได้รับการชื่นชม แต่สำหรับการกระทำการตามกันในเรื่องที่น่ารังเกียจ ลามก นั้น เป็นสิ่งที่ต้องว่ากล่าวตักเตือน เพื่อให้หยุดการกระทำดังกล่าวนั้น และไม่ให้เป็นเยี่ยงอย่างกับคนรุ่นใหม่ที่จะรื้อฟื้นกระทำการตามๆ กัน ไป เกิดความเสียหายในภาพรวม ดังนั้น จึงขอเตือนตนเองและท่านทั้งหลาย จงพิจารณาถึงผลเสียที่อาจเกิดขึ้นกับเยาวชนของเรา สังคมของเรา หากสิ่งเหล่านี้บังเกิดขึ้นในหมู่ชนผู้ศรัทธา ซึ่งมุ่งมั่นแสวงหาความโปรดปราณจากพระองค์ แต่ในขณะเดียวกันการควบคุมเอาใจใส่ ดูแลเด็กในปกครองของเราเราทำได้ทั่วถึงหรือไม่ เราละเลย หรือบกพร่องต่อการทำหน้าที่ผู้ปกครองผู้ที่จะหยิบยื่นหรือสื่อถึงสิ่งที่เราควรจะมองและให้ความสำคัญต่อการปฏิบัติตนของบรรดาเยาวชนเหล่านั้น ในการดำเนินชีวิตของเขา ทำอย่างไรที่จะทำให้เด็กๆ ผู้บริสุทธิ์อยู่ในแนวทางและปฏิบัติตนในกรอบแห่งศีลธรรมจรรยา ไม่หลงระเริงไปกับสิ่งเย้ายวน ความสนุกสนานในกลุ่มเด็กๆ ด้วยกันที่มีอิสรเสรีที่จะกระทำการใดๆ ตามอารมณ์ ความอยากสนุกสนานในกลุ่มของตนเอง จนลืมวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามของสังคมและศาสนาอันเป็นที่รักยิ่งของเรา โดยมองข้ามผลกระทบและความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการะทำเพียงมุ่งเน้นความสนุกสนานตามอารมณ์ แล้วที่สุด ความตกต่ำที่เกิดขึ้น ใครต้องรับผิดชอบ ดังนั้น ในแง่มุมของผู้ศรัทธา จงพิจารณาถึงการหาทางป้องกันเหตุที่จะเกิดขึ้น การปกป้องบรรดาเยาวชน ลูกหลานของเราให้ออกห่างไกลต่อบรรดาการกระทำที่จะส่งผลให้เกิดความเสียหาที่จะเกิดขึ้น อย่างน้อยที่สุด ผู้ปกครองต้องเป็นหลัก เป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับการประพฤติปฏิบัติตนแก่เขาเหล่านั้น ต่อไป


ท่านทั้งหลาย


ความเสื่อมโทรมเกี่ยวกับการปฏิบัติตนของเด็กๆ และเยาวชนในปัจจุบัน ส่วนหนึ่งเป็นผลอันสืบเนื่องมาจากการปล่อยปละละเลยไม่เอาใจใส่ หรือมองข้ามความสำคัญของบรรดาผู้ปกครอง การที่เราปล่อยให้โอกาสที่ดีในการที่จะตักเตือนกันในครอบครัวแม้ในเรื่องที่เล็กๆ น้อย เช่น การรับประทานอาหารร่วมกันของคนในครอบครัว การอบรมสั่งสอนแก่บรรดาเด็กๆ และเยาวชนที่กำลังเจริญเติบโตมิให้หลงใหลหรือเพลิดเพลินกับกระแสที่ระบาดกันอย่างแพร่หลายในกลุ่มเยาวชน สิ่งเหล่านี้บรรดาผู้ใหญ่ต้องตามกระแสให้ทัน เพื่อปกป้องและป้องกันมิให้เด็กๆ เหล่านั้นเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของกระแสและเดินตามรอยเท้าแห่งความยั่วยวนใจที่มาพร้อมกับค่านิยมในสังคมแห่งความสนุกสนานตามอารมณ์ปรารถนา แล้วความเสียใจที่เกิดขึ้น มั่นติดอยู่ในใจอย่างยาวนานตราบชั่วชีวิตของเรา


การล่วงละเมิดประเวณี “ซินา” เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นอยู่ทุกวันตามหน้าหนังสือพิมพ์ “ซินา” เกิดขึ้นได้หลายรูปแบบ ทั้งสิ่งเป็นเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ที่เรามองข้าม ไปจนถึงสิ่งที่เป็นสิ่งที่เลวร้ายไม่สามารถแก้ไขได้ เยาวชนของเราจึงตกเป็นเหยื่ออันโอชะของบรรดามารร้ายที่มาล่อลวงหลอกล่อ และก้าวข้ามเข้าไปในเรื่องราวเหล่านั้น เด็กๆ มักจะชอบทำตามบรรดาคนดัง บรรดาดาราที่มีชื่อเสียง ในเรื่องราวต่างๆ ในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะบรรดาเด็กวัยรุ่น ที่มักชื่นชอบและหลงใหลได้ปลื้ม ไปกับสิ่งต่างๆ เหล่านี้ การดำเนินชีวิตตามคนดัง การก้าวผิดพลาดจนถึงขั้นการตั้งครรภ์นอกสมรส รวมถึงการจัดพิธีแต่งานทั้งๆ ที่เจ้าสาวตั้งครรภ์ได้ระยะเวลาหนึ่งแล้ว ซึ่งสิ่งเหล่านี้หากพิจารณาตามหลักการทางศาสนาอิสลาม หรือในทางความเชื่อทางศาสนาอื่นๆ รวมถึงวัฒนธรรมไทย แล้ว ล้วนเป็นสิ่งที่ผิดจารีตประเพณีวัฒนธรรมอันดีงาม แม้บรรดาเขาเหล่านั้นจะมองข้ามโดยอ้างว่าเป็นเพียงกระบวนการทางประเพณีหรือ เป็นเพียงวิธีการหนึ่งๆ ที่สังคมยอมรับ แต่เขาเหล่านั้น กระทำการในแบบวิธีเฉกเช่นเดียวกับสัตว์ที่ถึงเวลาหรือฤดูกาลที่จะผสมพันธุ์เพื่อความอยู่รอดของตระกูลสัตว์เหล่านั้นแล้ว เช่นนี้คุณค่าแห่งความเป็นมนุษย์ คุณค่าที่แตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด เป็นสิ่งที่จำแนกให้เห็นถึงสิ่งที่แตกต่างกันระหว่างสิ่งมีชีวิตอื่นๆ กับมนุษย์ แนวความคิดแบบสังคมตะวันตก ที่นิยมวิธีการ “อยู่กินก่อนแต่ง” เป็นแนวคิดที่แตกต่างจากวัฒนธรรมไทย และวัฒนธรรมอิสลามอย่างสิ้นเชิง วิธีการดังกล่าว บ่งบอกให้เห็นถึงความเหมือนกันระหว่างสัตว์กับมนุษย์ในการดำเนินวิถีชีวิตแห่งการแพร่พันธุ์ ที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงกับมนุษย์ที่มีสติปัญญา คุณค่า และเกียรติยศ ที่สัตว์ไม่มี ขอให้เราทั้งหลาย จงพิจารณาโองการจากอัลกุรอ่านซูเราะห์ อันนูร Al-Qur'an, 024.002-003 (An-Noor [The Light]) ความว่า


024.002 الزَّانِيَةُ وَالزَّانِي فَاجْلِدُوا كُلَّ وَاحِدٍ مِنْهُمَا مِائَةَ جَلْدَةٍ وَلا تَأْخُذْكُمْ بِهِمَا رَأْفَةٌ فِي دِينِ اللَّهِ إِنْ كُنْتُمْ تُؤْمِنُونَ بِاللَّهِ وَالْيَوْمِ الآخِرِ وَلْيَشْهَدْ عَذَابَهُمَا طَائِفَةٌ مِنَ الْمُؤْمِنِينَ


024.002 The woman and the man guilty of adultery or fornication,- flog each of them with a hundred stripes: Let not compassion move you in their case, in a matter prescribed by Allah, if ye believe in Allah and the Last Day: and let a party of the Believers witness their punishment.


2. หญิงมีชู้และชายมีชู้ พวกเจ้าจงโบยแต่ละคนในสองคนนั้นคนละหนึ่งร้อยที (สิ่งที่เราบัญญัติแก่พวกเจ้าคือ ให้โบยพวกทำชู้ (ทำซินา) ที่ยังมิได้แต่งงาน (หรือชายโสด หญิงโสด) คนละหนึ่งร้อยที เป็นการลงโทษแก่เขาทั้งสองที่กระทำอาชญากรรมที่น่ารังเกียจ) และอย่าให้ความสงสารยับยั้งการกระทำของพวกเจ้าต่อคนทั้งสองนั้น ในบัญญัติของอัลลอฮฺเป็นอันขาด (คืออย่าให้ความสงสารและความเมตตาระงับการกระทำของพวกเจ้าในบัญญัติของอัลลอฮฺ คือโบยแต่เพียงเบา ๆ หรือลดจำนวนโบย พวกเจ้าจงโบยให้เจ็บจริงๆ) หากพวกเจ้าศรัทธาต่ออัลลอฮฺและวันปรโลก และจงให้กลุ่มหนึ่งของบรรดาผู้ศรัทธาเป็นพยานในการลงโทษเขาทั้งสอง (การเป็นพยานในการลงโทษนั้นนับได้ว่าเป็นการประจาน เพื่อให้เป็นแบบฉบับและเป็นที่เข็ดหลาบ สาเหตุของการประทานโองการนี้คือ มีรายงานว่า สตรีผู้หนึ่งชื่อ อุมมุมะฮ์ซูล" ซึ่งเป็นโสเภณี เธอจะร่วมประเวณีกับผู้ชายโดยตั้งเงื่อนไขว่า เธอจะเป็นผู้จ่ายเงินให้เขา ชายมุสลิมคนหนึ่งประสงค์จะแต่งงานกับเธอ เขาจึงได้ไปแจ้งต่อท่านร่อซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม อัลลอฮฺจึงได้ประทานโองการนี้ลงมาว่า)


024.003 الزَّانِي لا يَنْكِحُ إلا زَانِيَةً أَوْ مُشْرِكَةً وَالزَّانِيَةُ لا يَنْكِحُهَا إِلا زَانٍ أَوْ مُشْرِكٌ وَحُرِّمَ ذَلِكَ عَلَى الْمُؤْمِنِينَ


024.003 Let no man guilty of adultery or fornication marry and but a woman similarly guilty, or an Unbeliever: nor let any but such a man or an Unbeliever marry such a woman: to the Believers such a thing is forbidden.


3. ชายมีชู้จะไม่สมรสกับใคร นอกจากกับหญิงมีชู้หรือหญิงมุชริกะฮ์ และหญิงมีชู้จะไม่มีใครสมรสกับเธอ นอกจากกับชายมีชู้หรือชายมุชริก (ชายมีชู้และหญิงมีชู้ ไม่เหมาะสมที่จะสมรสกับหญิงบริสุทธิ์ที่มีเกียรติ แต่จะสมรสกับผู้ที่มีสภาพเดียวกันหรือเลวกว่า หรือมุชริกะฮ์หรือมุชริก คือผู้ที่ตั้งภาคีหรือคนกาฟิรนั่นเอง) และ (การมีชู้) เช่นนั้นเป็นที่ต้องห้ามแก่บรรดาผู้ศรัทธา


ท่านทั้งหลาย


ไม่ว่าท่านจะมีตำแหน่งทางสังคมในระดับใดก็ตาม คุณค่า เกียรติยศ เป็นสิ่งที่กำหนดกรอบ กติกาแห่งสังคมนั้น ท่านจะดำรงรักษามันไว้อย่างไร อยู่ที่ท่านจะกำหนดขอบเขต คุณค่า ความสูงส่งของมัน ด้วยกรอบแห่งวัฒนธรรม ประเพณีและศาสนาเป็นที่ตั้ง เป็นที่ปกคลุม ตนเองให้ออกห่างไกลจากความเลวร้าย ความยากแห่งตัณหา ความปรารถนาที่เป็นเส้นแบ่งแยกความแตกต่างกันระหว่างสัตว์และมนุษย์ กระนั้นก็ตาม วันนี้ท่านอยู่ในจุดใดของสังคม นักการเมือง นักแสดง นักการศาสนา ผู้นำ หรือบุคคลธรรมดา หากเมื่อใดท่านมีความบกพร่องในทางศีลธรรม โดยเฉพาะเรื่องราวทางเพศ “ซินา” ความตกต่ำจะพานพบกับชีวิตของท่าน เราได้เห็นตัวอย่างมากมาย เช่น นักการเมืองที่นิยมชมชอบการทำ “ซินา” กับเด็กวัยรุ่น บทลงโทษ คือการถูกจำคุกตลอดชีวิต แม้ในเรื่องราวเดียวกันเกิดขึ้นอย่างแพร่หลายในหมู่นักแสดงหรือนักการเมืองรุ่นใหม่ เช่น ค่านิยมที่ “ท้องก่อนแต่ง” หรือ “คลอดก่อนกำหนด” ของนักแสดงหลายๆ ท่าน ในปัจจุบัน แม้บทลงโทษในทางสังคมไม่มี และยังมีผู้นิยมชมชอบกันที่เป็นค่านิยมแฝงในปัจจุบัน ของคนในสังคม แต่บทลงโทษสำหรับพระองค์ในวันแห่งการตัดสิน เป็นสิ่งที่ประองค์ทรงประกันและให้ความสำคัญต่อการลงโทษกับบรรดาผู้กระทำความผิดในเรื่องราวเหล่านี้ ดังนั้น หากเราอยากใกล้ชิดพระองค์ สัญญาที่มีต่อพระองค์ในการดำเนินชีวิตในแนวทางอันเที่ยงตรง แสวงหาความโปรดปราณจากพระองค์แล้ว เราพึงต้องดำเนินการให้ตัวของเราและเด็กๆ ในปกครองของเรา ออกห่างไกลจากสิ่งเหล่านี้ พร้อมทั้งสร้างเกราะกำบัง สร้างตัวอย่างที่ดี อบรมสั่งสอนบรรดาเยาวชนของเราให้ออกห่างไกลต่อเรื่องราวเหล่านี้ แล้วเราจะประสบความจำเริญในพระประสงค์ของพระองค์ สุดท้ายนี้ ขอให้เราทั้งหลายพิจารณาพระวจนะของท่านศาสนา ความว่า


There are three whose adversary I shall be on the Day of Resurrection: a man who has given his word by Me and has broken it; a man who has sold a free man and has consumed the price; and a man who has hired a workman, has exacted his due in full from him and has not given him his wage.


Source: Hadith Qudsi 21


หากเรามุ่งมั่นในรางวัลและผลตอบแทนที่ล้ำค่าแล้ว ในการดำเนินชีวิตของเรา ในเรื่องราวที่เล็กๆ น้อยๆ เป็นสิ่งที่เราต้องให้ความสำคัญเพราะทุกๆ การกระทำของเรา จะเป็นประจักษ์พยานใจนวันแห่งการตัดสิน วันนี้ เราอาจชื่นชมและให้ความสำคัญต่อภารกิจที่เราได้รับมอบหมาย แต่ถ้าเรามองข้ามหรือปล่อยปละละเลยการทำหน้าที่ของเราแม้เพียงเล็กๆ น้อยๆ แต่สิ่งนั้นเป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการดำเนินชีวิตของเราทั้งในวันนี้และวันแห่งการตัดสินแล้ว เราต้องไม่มองข้ามในเรื่องราวที่เล็กๆ น้อยๆ เหล่านั้น ดังนั้น การดำเนินชีวิตปัจจุบันของเราก็เช่นเดียวกัน เราอาจมองข้ามความสำคัญในการกระทำตัวอย่างที่ดีกับบรรดาเด็กๆ เหล่านั้น เราให้ความสำคัญกับคนดัง คนที่เป็นตัวอย่างเลวๆ กับเด็กๆ เหล่านั้น แล้วในวันแห่งการตัดสิน เราจะวางสีหน้า แววตาต่อพระองค์เช่นไร เรามีความกล้าหาญหรืออ่อนแอที่จะรับผิดชอบในบรรดาการกระทำเรื่องละเมิดต่อพระองค์ เช่นนั้นหรือ หรือเรามีสีหน้าหม่นหมองยอมรับในความผิดที่เราได้กระทำลงไป นั่นเป็นสิ่งที่เราต้องพิจารณา แต่สำหรับผู้ศรัทธาต่อพระองค์แล้ว เราต้องรับผิดชอบและยำเกรงต่อพระองค์ โดยมีทิศทางที่ชัดเจนในการดำเนินชีวิต และยึดมั่นอย่างมั่นคงต่อพระองค์ และคำสอนของท่านศาสดา นั่นคือแนวทางของผู้ที่จะได้รับชัยชนะจากพระองค์




إِنَّ اللَّهَ وَمَلائِكَتَهُ يُصَلُّونَ عَلَى النَّبِيِّ يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا صَلُّوا عَلَيْهِ وَسَلِّمُوا تَسْلِيمًا


رَبَّنَا آتِنَا فِي الدُّنْيَا حَسَنَةً وَفِي الآخِرَةِ حَسَنَةً وَقِنَا عَذَابَ النَّارِ


إِنَّ اللَّهَ يَأْمُرُ بِالْعَدْلِ وَالإحْسَانِ وَإِيتَاءِ ذِي الْقُرْبَى وَيَنْهَى عَنِ الْفَحْشَاءِ وَالْمُنْكَرِ وَالْبَغْيِ يَعِظُكُمْ لَعَلَّكُمْ تَذَكَّرُونَ


سُبْحَانَ رَبِّكَ رَبِّ الْعِزَّةِ عَمَّا يَصِفُونَ


وَسَلامٌ عَلَى الْمُرْسَلِينَ


وَالْحَمْدُ لِلَّهِ رَبِّ الْعَالَمِينَ


วัสสลาม


มูฮำหมัด สันประเสริฐ


26 ซอฟัร 1433



อ้างอิง


อัลกุรอ่านฉบับภาษาไทย สมาคมนักเรียนเก่าอาหรับ ดำเนินการจัดพิมพ์โดยกระทรวงกิจการฮัจย์ แห่งราชอาณาจักรซาอุดิอาเบีย , www.DivineIslam.com


อัลฮาดีซ : Hadith of The Day V 1.0 Freeware by FaridAnasri avater@muslimonline.com www.beconvinced.com


วันพุธที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2555

ชีวิตใหม่ ของเยาวชน การตักตวง ความรู้ คุณค่าแห่งคุณธรรม

มิมบัรออนไลน์
คุตบะห์วันศุกร์ 19 ซอฟัร 1433 (วันศุกร์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2555)
ชีวิตใหม่ ของเยาวชน การตักตวง ความรู้ คุณค่าแห่งคุณธรรม

الْحَمْدُ لِلَّهِ رَبِّ الْعَالَمِينَ
هُوَ الَّذِي أَرْسَلَ رَسُولَهُ بِالْهُدَى وَدِينِ الْحَقِّ لِيُظْهِرَهُ عَلَى الدِّينِ كُلِّهِ وَكَفَى بِاللَّهِ شَهِيدًا
الَّذِينَ يَأْكُلُونَ الرِّبَا لا يَقُومُونَ إِلا كَمَا يَقُومُ الَّذِي يَتَخَبَّطُهُ الشَّيْطَانُ مِنَ الْمَسِّ ذَلِكَ بِأَنَّهُمْ قَالُوا إِنَّمَا الْبَيْعُ مِثْلُ الرِّبَا وَأَحَلَّ اللَّهُ الْبَيْعَ وَحَرَّمَ الرِّبَا فَمَنْ جَاءَهُ مَوْعِظَةٌ مِنْ رَبِّهِ فَانْتَهَى فَلَهُ مَا سَلَفَ وَأَمْرُهُ إِلَى اللَّهِ وَمَنْ عَادَ فَأُولَئِكَ أَصْحَابُ النَّارِ هُمْ فِيهَا خَالِدُونَ
يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا اتَّقُوا اللَّهَ وَذَرُوا مَا بَقِيَ مِنَ الرِّبَا إِنْ كُنْتُمْ مُؤْمِنِينَ
فَإِنْ لَمْ تَفْعَلُوا فَأْذَنُوا بِحَرْبٍ مِنَ اللَّهِ وَرَسُولِهِ وَإِنْ تُبْتُمْ فَلَكُمْ رُءُوسُ أَمْوَالِكُمْ لا تَظْلِمُونَ وَلا تُظْلَمُونَ

ท่านพี่น้องผู้ศรัทธาทั้งหลาย
พิจารณาปฏิทินฮิจเราะห์ศักราช จะเห็นว่า เดือนซอฟัร ได้ก้าวย่างเข้ามาจนถึงช่วงกลางเดือนแล้ว ขณะเดียวกัน ช่วงเวลาแห่งการเฉลิมฉลองปีใหม่ของสากลก็ได้ผ่านเลยมาหลายวัน โดยเฉพาะในช่วงสัปดาห์ที่สองเช่นนี้ มีวันสำคัญวันหนึ่ง นั่นคือ “วันเด็ก” เป็นวันสำคัญของเยาวชน คนรุ่นใหม่ ที่ต้องเจริญเติบโตต่อไป เป็นกำลังสำคัญของสังคม หากเราย้อนกลับไปพิจารณาถึงช่วงแห่งการก้าวย่างผ่านพ้นการก้าวเข้าสู่ศักราชใหม่ ท่วงทำนองของการก้าวย่างดังกล่าว เป็นการก้าวย่างที่น่าสนใจต่อความเปลี่ยนแปลง ช่วงเวลาดังกล่าวเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของการดำเนินชีวิต หากเปรียบเทียบความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวกับการเจริญเติบโตของเยาวชนแล้ว เป็นเรื่องที่น่าวิตกกังวลและห่วงใยต่อพวกเขา ความเปลี่ยนแปลงใดๆ อันอาจเกิดขึ้นและสิ่งที่จะนำมาสู่ความเปลี่ยนแปลงของชีวิต บทเรียนต่างๆ ที่เกิดขึ้นในอดีตจะเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตในอนาคตสืบต่อไป จึงขอเตือนตนเองและท่านทั้งหลาย ณ ที่นี้ จงยำเกรงต่ออัลลอฮ์ (ซ.บ.) ขอบคุณในพระมหากรุณาและความเมตตาของพระองค์ ปฏิบัติตามแนวทางใช้และห้ามของพระองค์ ดำเนินชีวิตตามแบบฉบับของท่านศาสดา ซึ่งเป็นแนวทางและแบบฉบับอันเป็นแบบแผนนั้น คือรากเหง้าแห่งความดำรงคงอยู่ของมวลมนุษยชาติตราบจนชีวิตของเราจะจบสิ้น และรอคอยผลแห่งการตอบแทนจากพระองค์ในวันแห่งการพิพากษา และเรานั้นรอคอยด้วยความหวังและความตั้งใจในภารกิจของเราจะได้รับผลตอบแทนอย่างคุ้มค่ากับการรอคอย ความหอมหวานและริ้วรอยแห่งความเปรมปรีดิ์ ล้วนแล้วเป็นผลอันสืบเนื่องมาจากการกระทำของเราแทบทั้งสิ้น รางวัลแห่งความปลอบใจ จะได้สำหรับผู้ศรัทธา

ท่านทั้งหลาย
ช่วงเวลาที่ผ่านพ้นไป เราทั้งหลายต่างได้บทเรียนแห่งการดำเนินชีวิตไปต่างๆ ตามประสบการณ์ของแต่ละท่าน ทั้งในเรื่องราวของอุทกภัย หรือบทเรียนจากเพื่อนบ้าน สิ่งเหล่านั้น คือการทดสอบจากพระองค์ เป็นการทดสอบที่มีเป้าหมายที่หลากหลาย และมีบทเรียนของแต่ละเหตุการณ์ เป็นสิ่งที่กระตุ้นเตือนเราทั้งหลายให้หันกลับมาดูแลตนเอง ดูแลครอบครัวของเรา แต่ละบทเรียนที่ผ่านมา นั้น มันขัดเกลาจิตใจของเราในเรื่องราวใดๆ บ้าง เราได้ปรับเปลี่ยนตนเอง หรือใช้บทเรียนดังกล่าวนั้นมาเป็นบทเรียนแห่งชีวิตของเราได้มากน้อยเพียงใด เวลาที่ผ่านพ้น สำหรับคนที่สูงอายุ ดูเหมือนว่าเวลาช่างเป็นช่วงเวลาที่ผ่านไปเร็วมาก แตกต่างจากคนป่วยที่เวลาที่ผ่านพ้นไปช่างเนิ่นนานอะไรเช่นนั้น ต่างจากเด็กๆ ที่กำลังเจริญเติบโตเก็บเกี่ยวประสบการณ์ต่างๆ จะมองว่าเวลาดังกล่าวเป็นช่วงเวลาแห่งความสนุกสนานสำราญ ทั้งๆ ที่เวลาดังกล่าวเราทุกคนใช้มันโดยเท่าเทียมกัน แต่ละคนมีเวลาเท่าเทียมกัน ขึ้นอยู่กับว่า ใครมีความสามารถที่จะบริหารเวลาได้อย่างมีประสิทธิภาพ และใช้เวลาได้อย่างคุ้มค่าและส่งผลตอบแทนได้มากกว่ากัน ดังนั้น เวลาที่ผ่านไป จึงเป็นบทเรียนชีวิตของแต่ละคนที่ส่งผลต่อชีวิตในอนาคตได้ บ้างว่า ผลงานในอดีตเป็นตัวชี้วัดผลงานในปัจจุบันได้อย่างไร และเรามีเป้าหมายในอนาคตที่จะดำเนินชีวิตไปอย่างไร เช่นเดียวกัน เด็กๆ ถือเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่เราต้องฟูมฟักพัฒนาพวกเขาเหล่านั้น ให้เป็นผู้ใหญ่ที่ดีต่อไปในอนาคต วันนี้สิ่งที่เราป้อนให้กับเขา กับผลลัพธ์ หรือผลสัมฤทธิ์ที่เราพึงจะได้รับจากเด็กๆ เหล่านั้น เป็นผลงานที่ผู้ใหญ่จะภูมิใจมากน้อยเพียงใด ผลสัมฤทธิ์เหล่านั้น ย่อมเป็นประจักษ์พยานที่เด่นชัดได้ว่า ผู้ใหญ่ฝึกฝนอบรมขัดเกลาเด็กๆ เหล่านั้น ได้ตรงแนวทางหรือเป็นไปตามกรอบและหนทางที่สอดคล้องกับการดำเนินชีวิตในสังคมตามแนวทางคำสอนจรรยา บนแนวทางของผู้เป็นมุสลิมที่ดีหรือไม่ บางครั้งสิ่งที่ผู้ใหญ่หยิบยื่นป้อนข้อมูลให้กับเด็กโดยไม่ตั้งใจ กลับทำให้เด็กๆ เหล่านั้นเก็บเกี่ยวและนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน แม้เป็นสิ่งที่ผู้ใหญ่ไม่ได้เฉลียวใจเลยว่า สิ่งเหล่านั้นเป็นสิ่งที่เป็นกิจวัตรประจำวัน จึงมองข้ามหรือละเลยไม่ได้กลั่นกรองหรือตรวจสอบก่อน บางเรื่องอาจทำให้หน่วยความจำของเด็กๆ รับเอาสิ่งต่างๆ เหล่านั้น เข้ามา และรับสิ่งเหล่านั้นไปใช้ในชีวิตของเขา โดยไม่ได้ตรึกตรองเสียก่อน ดังนั้น ผู้ใหญ่พึงต้องระมัดระวังและต้องมีสติย้ำเตือนตนเอง ในการให้ข้อมูลใดๆ กับเด็กๆ เหล่านั้น
ท่านทั้งหลาย
วันเด็กแห่งชาติ แม้ว่าในทางสากลจะได้ถูกกำหนดเอาไว้อย่างเด่นชัดแล้ว แต่สำหรับชุมชนมุสลิมโดยทั่วไปแล้ว ทุกๆ วัน คือวันเด็ก เราต้องให้ความสำคัญกับเด็กๆ ในแต่ละครอบครัว พ่อแม่ ผู้ปกครอง ต้องย้อนพิจารณาตนเองอย่างรอบครอบให้ได้ว่าวันนี้เราทำตัวอย่างที่ดีสำหรับเขาเหล่านั้นแล้วหรือยัง เพราะทุกสิ่งที่ผู้ใหญ่กระทำ เด็กๆ จะจดจำไว้ทำตามในวันข้างหน้า เช่นเดียวกัน หากผู้ใหญ่ในวันนี้ หมกหมุ่นอยู่กับเรื่องราวใดๆ แล้ว เด็กๆ เหล่านั้น จะซึมซับรับความคิดเหล่านั้นเอาไว้ และจะแสดงออกมาในภายหน้าโดยที่เราอาจคาดไม่ถึง ดังนั้น เราจึงต้องย้ำเตือนบรรดาผู้ใหญ่ในวันนี้ พึงสังวรว่า ท่านดำเนินชีวิตในกรอบและแนวทางอย่างไรบ้าง ท่านละเมิดต่อผู้อื่น หรือละเมิดบทบัญญัติข้อใดบ้าง หรือไม่ หรือกระทำผิดพลาดคลาดเคลื่อนทั้งโดยตั้งใจและไม่ตั้งใจในเรื่องใดบ้าง สิ่งเหล่านี้ เราต้องคอยเตือนตนเองเป็นประจำ โดยมีมุมมองว่ามีสายตาคู่เล็กๆ กำลังมองตัวอย่างจากเราทุกๆ อิริยาบถ เพื่อจดจำเป็นแบบอย่างและเป็นแบบฉบับของการดำเนินชีวิตต่อไป
ท่านทั้งหลาย
เวลาในรอบ หนึ่งปี ของแต่ละคน เรามีผลการปฏิบัติงานอย่างหลากหลาย เรามีการสะสมเงินทอง บางท่านอาจมีหนี้สินบ้างตามสถานการณ์และความต้องการจับจ่ายใช้สอย บางท่านอาจมีหน้าที่และบทบาทในการเป็นผู้ให้ และบางท่านอาจเป็นผู้รับ ซึ่งในแต่ละสังคม บทบาทของผู้ให้และผู้รับนั้น มีขอบเขตกำกัดอันหนึ่ง นั่นคือ ทำอย่างไรเราจึงจะสามารถให้ความเป็นธรรมให้กับทุกๆ คน ได้ตามอัตภาพ โดยเฉพาะในการกู้หนี้ยืมสิน การซื้อขายแลกเปลี่ยน หรือในการจ้างแรงงานกระทำการใดๆ ต่างๆ เหล่านี้ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องตรวจสอบว่าการกระทำการดังกล่าวนั้น เป็นการเอารัดเอาเปรียบกันหรือไม่ และในฐานะของผู้ปกครอง เราต้องพิจารณาอบรมสั่งสอน แนะนำบรรดาเด็กๆ และเยาวชนของเรา ให้ไดตระหนักถึง สันติภาพภายในสังคม การแสวงหาแนวทางในการดำเนินชีวิตอย่างเป็นธรรม มากที่สุด ของเราถึงการเอารัดเอาเปรียบระหว่างกัน ด้วย ขอให้พิจารณาโองการจากอัลกุรอ่านซูเราะห์ อัลบ้ากอเราะห์ Al-Qur'an, 002.275 (Al-Baqara [The Cow]) ความว่า
002.275 الَّذِينَ يَأْكُلُونَ الرِّبَا لا يَقُومُونَ إِلا كَمَا يَقُومُ الَّذِي يَتَخَبَّطُهُ الشَّيْطَانُ مِنَ الْمَسِّ ذَلِكَ بِأَنَّهُمْ قَالُوا إِنَّمَا الْبَيْعُ مِثْلُ الرِّبَا وَأَحَلَّ اللَّهُ الْبَيْعَ وَحَرَّمَ الرِّبَا فَمَنْ جَاءَهُ مَوْعِظَةٌ مِنْ رَبِّهِ فَانْتَهَى فَلَهُ مَا سَلَفَ وَأَمْرُهُ إِلَى اللَّهِ وَمَنْ عَادَ فَأُولَئِكَ أَصْحَابُ النَّارِ هُمْ فِيهَا خَالِدُونَ
002.275 Those who devour usury will not stand except as stand one whom the Evil one by his touch Hath driven to madness. That is because they say: "Trade is like usury," but Allah hath permitted trade and forbidden usury. Those who after receiving direction from their Lord, desist, shall be pardoned for the past; their case is for Allah (to judge); but those who repeat (The offence) are companions of the Fire: They will abide therein (for ever).
275. บรรดาผู้กินดอกเบี้ยนั้น พวกเขาจะไม่ทรงตัว (หมายถึงการทรงตัวในการดำเนินชีวิต) นอกจากจะเป็นเช่นเดียวกับผู้ที่ชัยฏอนทำร้ายเขาทรงตัว (คนที่ถูกชัยฏอนทำร้ายนั้นจะมีสติฟั่นเฟือนหรือเป็นบ้า ดังนั้น การทรงตัวของผู้กินดอกเบี้ยจึงประหนึ่งคนบ้า คือบ้าเงิน) พวกเขากล่าวว่า ที่จริงการค้าขายนั้นก็เหมือนการเอาดอกเบี้ยนั้นเอง (พวกกินดอกเบี้ยกล่าวแก้ว่า การค้าขายก็เหมือนการดอกเบี้ย กล่าวคือการนำเงินไปลงทุนค้าขายก็ได้กำไร และการให้เงินเขากู้ได้กำไร ซึ่งก็เหมือนกัน) และอัลลอฮ์นั้นทรงอนุมัติการขาย และทรงห้ามการเอาดอกเบี้ย (อัลลอฮ์ทรงแจ้งให้ทราบว่า พระองค์ทรงอนุมัติแต่เพียงการค้าขาย และไม่ทรงอนุมัติการกินดอกเบี้ย เพราะการค้าขายและการกินดอกเบี้ยนั้นไม่เหมือนกันอย่างที่พวกเขาคิด) ดังนั้นผู้ใดที่การตักเตือนจากพระเจ้าของเขาได้มายังเขา แล้วเขาก็เลิก สิ่งที่ล่วงแล้วมาก็เป็นสิทธิของเขา (ดอกเบี้ยที่เขาเคยรับไว้ในอดีตนั้นเป็นสิทธิของเขา ไม่ต้องส่งคืน) และเรื่องของเขานั้นย่อมกลับไปสู่อัลลอฮ์ (อัลลอฮ์จะทรงพิจารณาเรื่องราวของเขาเอง) และผู้มดกลับ(กระทำ) อีก ชนเหล่านี้แหละคือชาวนรกโดยที่พวกเขาจะอยู่ในนรกนั้นตลอดกาล
และอีกโองการจากซูเราะห์ อัลบ้ากอเราะห์ Al-Qur'an, 002.278-279 (Al-Baqara [The Cow]) ความว่า
002.278 يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا اتَّقُوا اللَّهَ وَذَرُوا مَا بَقِيَ مِنَ الرِّبَا إِنْ كُنْتُمْ مُؤْمِنِينَ
002.278 O ye who believe! Fear Allah, and give up what remains of your demand for usury, if ye are indeed believers.
278. บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย! พึงยำเกรงอัลลอฮ์เถิด และจงละเว้นดอกเบี้ยที่ยังเหลืออยู่เสีย (ยังมิได้รับจากผู้ที่กู้ยืมเงิน) หากพวกเจ้าเป็นผู้ศรัทธา
002.279 فَإِنْ لَمْ تَفْعَلُوا فَأْذَنُوا بِحَرْبٍ مِنَ اللَّهِ وَرَسُولِهِ وَإِنْ تُبْتُمْ فَلَكُمْ رُءُوسُ أَمْوَالِكُمْ لا تَظْلِمُونَ وَلا تُظْلَمُونَ
002.279 If ye do it not, Take notice of war from Allah and His Messenger: But if ye turn back, ye shall have your capital sums: Deal not unjustly, and ye shall not be dealt with unjustly.
279. และถ้าพวกเจ้ามิได้ปฏิบัติตาม ก็พึงรับรู้ไว้ด้วยว่า ซึ่งสงครามจากอัลลอฮ์ และร่อซูลของพระองค์ (อัลลอฮ์และร่อซูลของพระองค์จะทำสงครามกับพวกเจ้า) และหากพวกเจ้าสำนึกผิดกลับเนื้อกลับตัวแล้ว สำหรับพวกเจ้าก็คือต้นทุนแห่งทรัพย์ของพวกเจ้า (รับเอาเฉพาะต้นทุนกลับคืนเท่านั้น) โดยที่พวกเจ้านจะได้ไม่อธรรม และไม่ถูกอธรรม (จะได้ไม่ตกอยู่ในฐานะเป็นการข่มเหงลุกหนี้ และถูกลูกหนี้ข่มเหง)

จะเห็นว่า ดอกผลของทรัพย์สิน ที่ได้จากการเอาเปรียบซึ่งกันและกัน เป็นสิ่งที่ไม่อนุมัติ การเอาเปรียบระหว่างกันแม้ในทางบทบัญญัติของกฎหมาย ซึ่งถือได้ว่า การงอกเงยของทรัพย์สิน เปรียบเสมือนความเจริญของพืชพรรณธัญญาหาร ในเชิงเศรษฐศาสตร์ เศรษฐทรัพย์ จะแปรเปลี่ยนไปตามมูลค่าของมันในปัจจุบัน นั่นคือมูลค่าแห่งอนาคตของมันด้อยค่าตามเวลาที่ผันแปรเปลี่ยนไป ดังนั้น ในทางวิชาการและทางกฎหมายแล้ว ดอกผลของทรัพย์สิน เป็นสิทธิที่เจ้าของทรัพย์สามารถเรียกร้องเอาได้จากผู้ใช้ทรัพย์สินนั้น โดยประหนึ่งว่า เป็นค่าจ้างในการใช้ทรัพย์สินเหล่านั้น นั่นคือสิทธิแห่งการเรียร้อง แต่ในบัญญัติตามนัยแห่งโองการอัลกุรอ่านที่ได้กล่าวมา การเรียกร้องสิทธิดังกล่าว เป็นการริดรอนสิทธิของผู้ที่ใช้ทรัพย์สินนั้น ความเป็นธรรมในเชิงของการใช้ทรัพย์สิน จะถูกกำหนดไว้ด้วยช่วงเวลา และการตกลงกันของทั้งสองฝ่าย การชดใช้ในเชิงทรัพย์ที่ถูกหยิบยืมาในปริมาณและคุณค่าของมัน เมื่อครบกำหนดตามสัญญาแล้ว ต้องมีความเป็นธรรม ศาสนาอิสลาม มิได้บ่งบอกถึงการงอกงามของทรัพย์ที่ฝ่ายผู้ให้ยืมจะทวงสิทธิ์ขจากผู้ยืม ความเป็นธรรมในส่วนนี้ คือ ข้อตกลงและเงื่อนไขที่ให้สิทธิแก่ฝ่ายผู้ยืม และให้สิทธิในการทวงถามแก่ผู้ให้ยืม เมื่อครบเงื่อนไขของเวลาและมูลค่าทรัพย์สินในการส่งคืน เป็นการมอบสิทธิในการใช้ทรัพย์สิน เพื่อให้เกิดการหมุนเวียนในเชิงเศรษฐกิจ ซึ่งแนวทางที่ได้กล่าวมา ถือเป็นระบบเกียรติยศ (Horner System) ซึ่งแต่ละฝ่ายจะต้องแสดงออกถึงสิทธิและหน้าที่ของตนในการใช้สิทธินั้น ระหว่างกัน ตัวทรัพย์สินที่เป็นของกลางจะมีมุลค่าในการส่งมอบคืนให้กับเจ้าของของมันในมูลค่าของมันเมื่อครบกำหนดตามสัญญา เช่นนี้ จึงแตกต่างจากการทำมาค้าขายที่มุ่งหวังผลกำไร และแน่นอนว่า สิทธิของการประกันสังคมของมุสลิม นั่นคือเงื่อนไขของระยะเวลาและพิกัดที่ทุกๆ คนต้องบริจาคซะกาต ตามข้อกำหนดแห่งการครอบครองทรัพย์สิน ดังนั้นหากเราได้พิจารณาถึงคุณค่าของสิทธิและหน้าที่ในการดำเนินชีวิตแล้ว เราจะใช้แนวทางนี้ให้เด็กๆ และเยาวชนของเราได้ซึมซับและเรียนรู้ถึงหน้าที่และสิทธิในการดำเนินกิจกรรมใดๆ ที่ไม่มุ่งหวังที่จัเอารัดเอาเปรียบเพื่อนบ้าน และสังคมโดยรวม จริงอยู่ การเรียนรู้เพื่อดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ อาจไกลตัวเกินความสามารถของเด็กๆ แต่ในฐานะของผู้ปกครอง การส่งเสริมให้เขาได้เรียนรู้ถึงบทบาท หน้าที่ สิทธิ และความรับผิดชอบ แม้ในเรื่องล็กๆ น้อยๆ ก็เป็นสิ่งที่เราพึงพิจารณาให้ได้อย่างเหมาะสม เพื่อให้เขาเป็นสมาชิกที่มีคุณค่าของสังคมต่อไปในอนาคต ซึ่งในสภาพทางสังคมในปัจจุบัน น้ำใจ และความเอื้ออาทรระหว่างกัน มันเริ่มที่จะหมดไปในสังคม การมุ่งที่จะเอารัดเอาเปรียบ รวมถึงมูลค่าทางจิตใจที่หมดไปถูกพัฒนาไปสู่มูลค่าในทรัพย์สินมากยิ่งขึ้น สังคมในปัจจุบัน ถูกทำให้เปลี่ยนไป ผู้คนในสังคม เริ่มตระหนักถึงการเอาตัวรอดมายิ่งขึ้น ในที่สุด คนก็จะเอารัดเอาเปรียบและเดียดฉันท์กันมากยิ่งขึ้น
ท่านทั้งหลาย
ภาวะจิตใจของคนในสังคมเรา กำลังพัฒนาไปสู่การประเมินคุณค่าทางวัตถุมากยิ่งขึ้น พิจารณาจากคำขวัญวันเด็ก “สามัคคี มีความรู้คู่ปัญญา คงรักษาความเป็นไทย ใส่ใจเทคโนโลยี” ซึ่งชี้ให้เห็นได้ถึงการขาดไปและมุ่งมั่นที่จะสร้างให้เกิดความสามัคคีในสังคม ในขณะที่สังคมปัจจุบัน คนมุ่งมั่นที่จะเอารัดเอาเปรียบและเห็นตัวมากขึ้น ดูได้จากเหตุการณ์น้ำท่วมที่ผ่านมา ทุกคนมุ่งมั่นมองเพียงการเอาตัวรอดของตนเอง ชุมชนของตนเอง ในที่สุดทุกคนก็ไม่สามารถหลีกหนีความทุกข์จากเหตุที่ทุกคนไม่สามารถหลีกหนีไปได้ สุดท้าย คนที่จนที่สุดและคนที่รวยที่สุดในสังคม ก็มีสภาพที่ไม่แตกต่างกัน คนที่มีอยู่ไม่สามารถหาซื้อหรือแสวงหาปัจจัยยังชีพที่อำนวยความสะดวกสบายของตนเองได้ เช่นเดียวกับคนจนที่สิ้นเนื้อประดาตัวภายใต้เหตุการณ์อุทกภัยที่มีมา ดังนั้น วันนี้ เราจึงต้องมุ่งมั่นที่จะฝึกฝนขัดเกลาเด็กๆ ของเรา ให้เขาได้เรียนรู้และสร้างให้เขาได้เรียนรู้ถึงคุณค่าแห่งการให้ การไม่เอารัดเอาเปรียบต่อเพื่นๆ ของเขา สร้างจิตสำนึกในความรับผิดชอบในพันธะสัญญาที่เขามีต่อเพื่อนๆ ของเรา ดังช่นอัลฮาดีษ ความว่า
ผู้ใดไม่มีความเมตตาต่อมนุษย์ เขาก็จะไม่ได้รับความเมตตาจากอัลลอฮ์
(รายงานโดย อะห์หมัด ,อัลบุคอรีย์, และอัตติรมิซีย์)
ซึ่งในสภาพทางสังคม ที่ปัจจัยต่างๆ เข้ามามีผลค่อการดำเนินชีวิตของทุกๆ คน หากแต่เรามีความยำเกรงในความเมตตาของพระองค์ และเราพร้อมที่จะกลับไปสู่ความเมตตาของพระองค์แล้ว แน่นอนว่า เด็กๆ และเยาวชนของเราจะได้เรียนรู้และพร้อมที่จะจดจำในสิ่งที่ดีงามที่เราฟูมฟักขัดเกลาเขาให้เป็นคนดีของสังคมเอที่จะจรรโลงสังคมให้มีความน่าอยู่และเป็นสังคมที่มีผู้ที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม เช่นนี้แล้ว สังคมโดยรวมก็พร้อมที่จะรับทุกสถานการณ์และภัยพิบัติ ที่พระองค์จะทดสอบทุคนบนหน้าโลกแห่งนี้ ด้วยความสันติสุข เข้มแข็ง และเต็มที่กับทุกบททดสอบจากนี้ไป

إِنَّ اللَّهَ وَمَلائِكَتَهُ يُصَلُّونَ عَلَى النَّبِيِّ يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا صَلُّوا عَلَيْهِ وَسَلِّمُوا تَسْلِيمًا
رَبَّنَا آتِنَا فِي الدُّنْيَا حَسَنَةً وَفِي الآخِرَةِ حَسَنَةً وَقِنَا عَذَابَ النَّارِ
إِنَّ اللَّهَ يَأْمُرُ بِالْعَدْلِ وَالإحْسَانِ وَإِيتَاءِ ذِي الْقُرْبَى وَيَنْهَى عَنِ الْفَحْشَاءِ وَالْمُنْكَرِ وَالْبَغْيِ يَعِظُكُمْ لَعَلَّكُمْ تَذَكَّرُونَ
سُبْحَانَ رَبِّكَ رَبِّ الْعِزَّةِ عَمَّا يَصِفُونَ
وَسَلامٌ عَلَى الْمُرْسَلِينَ
وَالْحَمْدُ لِلَّهِ رَبِّ الْعَالَمِينَ
วัสสลาม
มูฮำหมัด สันประเสริฐ
อ้างอิง
อัลกุรอ่านฉบับภาษาไทย สมาคมนักเรียนเก่าอาหรับ ดำเนินการจัดพิมพ์โดยกระทรวงกิจการฮัจย์ แห่งราชอาณาจักรซาอุดิอาเบีย , www.DivineIslam.com
อัลฮาดีซ : Hadith of The Day V 1.0 Freeware by FaridAnasri avater@muslimonline.com www.beconvinced.com