วันพฤหัสบดีที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

วิบากกรรมทางเศรษฐกิจ

มิมบัรออนไลน์
คุตบะห์วันศุกร์ 17 กุมภาพันธ์ 2555 (24 ร่อบีอุ้ลเอาวัล 1433)

วิบากกรรมทางเศรษฐกิจ

الْحَمْدُ لِلَّهِ رَبِّ الْعَالَمِينَ
يَا بَنِي آدَمَ خُذُوا زِينَتَكُمْ عِنْدَ كُلِّ مَسْجِدٍ وَكُلُوا وَاشْرَبُوا وَلا تُسْرِفُوا إِنَّهُ لا يُحِبُّ الْمُسْرِفِينَ
قُلْ مَنْ حَرَّمَ زِينَةَ اللَّهِ الَّتِي أَخْرَجَ لِعِبَادِهِ وَالطَّيِّبَاتِ مِنَ الرِّزْقِ قُلْ هِيَ لِلَّذِينَ آمَنُوا فِي الْحَيَاةِ الدُّنْيَا خَالِصَةً يَوْمَ الْقِيَامَةِ كَذَلِكَ نُفَصِّلُ الآيَاتِ لِقَوْمٍ يَعْلَمُونَ
قُلْ إِنَّمَا حَرَّمَ رَبِّيَ الْفَوَاحِشَ مَا ظَهَرَ مِنْهَا وَمَا بَطَنَ وَالإثْمَ وَالْبَغْيَ بِغَيْرِ الْحَقِّ وَأَنْ تُشْرِكُوا بِاللَّهِ مَا لَمْ يُنَزِّلْ بِهِ سُلْطَانًا وَأَنْ تَقُولُوا عَلَى اللَّهِ مَا لا تَعْلَمُونَ

ท่านพี่น้องผู้ศรัทธาทั้งหลาย
การที่เราทั้งหลายได้รับทราบข้อมูลข่าวสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ชีวิตในปัจจุบัน ทำให้เราทั้งหลายย่อมสามารถวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อมทั้งทางด้านสังคม เศรษฐกิจและการเมือง ทั้งเกี่ยวเนื่องกับสภาพภายในประเทศและเรื่องราวต่างประเทศ ทั้งหมดนี้เป็นข้อมูลที่เราทั้งหลายได้ติดตามเพื่อแสวงหาความเป็นจริงและความเป็นไปในความสับสนวุ่นวายของเรื่องราวต่างๆ ซึ่งเป็นเสมือนอาหารสมองที่เราทั้งหลายต่างร่วมรับรู้และบริโภคข้อมูลข่าวสารและเรื่องราวที่เกี่ยวข้องเหล่านั้น ท่านทั้งหลาย ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตประจำวันของเราหาใช่เพียงข้อมูลในเชิงการรับรู้เฉพาะกลุ่มเท่านั้น หากข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลที่เราทั้งหลายจะต้องตรวจสอบ แยกแยะและพิจารณาถึงสภาพความเป็นจริงของที่มา และสิ่งที่จะติดตามมาในอนาคตว่าสิ่งเหล่านั้น ได้ให้ความกระจ่างกับเราได้อย่างไร ไฉนการแก้ปัญหาของผู้เกี่ยวข้อง จึงมองข้ามหรือหลีกเลี่ยงความสำคัญต่อสิ่งต่างๆ นี้ไปอย่างไรบ้าง ดังนั้น จึงขอให้เราทั้งหลายจงใช้วิจารณญาณในการสดับตรับฟังเรื่องราวเหล่านั้น และจงพึงสำนึกถึงและยำเกรงต่อพระองค์ให้มาก เพราะเรื่องราวทั้งหลายที่เกิดขึ้นแม้เราได้รับรู้และพิจารณาแล้วหากแต่เรื่องเหล่านั้น คือการทดสอบของพระองค์ ซึ่งเป็นการทดสอบที่มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับว่าเรื่องราวเหล่านั้น เป็นการทดสอบจากพระองค์ต่อมวลมนุษย์ทั้งหลายซึ่งอาจได้รับผลกระทบจากการทดสอบของพระองค์ตามระยะหรือรัศมีแห่งการทดสอบจากพระองค์ด้วยว่าใกล้หรือไกลจากจุดศูนย์กำเนิดเพียงใด
ท่านทั้งหลาย
ระบบเศรษฐกิจในปัจจุบันตามกระแสหลักแล้ว การแข่งขันเป็นระบบเสรี หรือเสรีนิยมตามระบอบประชาธิปไตย แม้รัฐที่มีการปกครองแบบสังคมนิคมหรือคอมมิวนิสต์ ก็ดิ้นรนเพื่อต่อสู้กับการแข่งขันเสรีเช่นนี้ เพื่อให้เกิดความ มั่งคั่ง (Wealth) ความแข็งแกร่ง (Strong) และศักยภาพสูงสุดของการแข่งขัน (powerful) ด้วยเหตุนี้ เราจึงเห็นถึงการต่อรองทางเศรษฐกิจในเชิงของการแข่งขันทางเศรษฐกิจ ในสินค้าและบริการของแต่ละกลุ่มอย่างเห็นได้ชัดเจนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในธุรกิจด้านการพลังงาน ซึ่งเป็นยุทธปัจจัยสำคัญที่สุดในปัจจุบัน ที่เห็นได้ว่าเป็นตัวกำหนดบทบาทของสภาพทางเศรษฐกิจที่สำคัญและยิ่งใหญ่ ตัวหนึ่ง เพราะทุกๆ ส่วนที่มีบทบาทของการแข่งขันเพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะอย่างยิ่งเป้าหมายในทางมหภาคที่ต้องนำพาความจำเริญทางเศรษฐกิจให้บังเกิดความก้าวหน้าในทางเศรษฐกิจที่ชัดเจนมากที่สุด เราจะเห็นได้ว่า ความแข็งแกร่งของการกำหนดราคาและอัตรากำลังการผลิตจะเป็นตัวกำหนดแรงกดดันทางด้านราคาและการแข่งขันในส่วนต่างๆ อย่างเห็นได้ชัด อาจกล่าวได้ว่า หากใครสามารถยึดกลไกรการกำหนดราคาหรือคาดการณ์ล่วงหน้าเพื่อการเก็งกำไรในธุรกิจหรือกิจการด้านพลังงานแล้ว วิกฤติที่เกิดขึ้นจะก้าวล่วงไปยังส่วนผลิตส่วนอื่นๆได้อย่างชัดเจน คล้ายการเล่นเกมมิโนที่เมื่อกระทบด้านหนึ่งด้านใดแล้ว ผลที่เกิดขึ้นย่อมส่งผลไปยังส่วนต่างๆ ทั้งหมดอย่างแน่นอน
ท่านทั้งหลาย
จากข่าวคราวการขึ้นเงินเดือนในกับทางราชการทั้งฝ่ายประจำและนักการเมืองทั้งนักการเมืองระดับชาติและนักการเมืองท้องถิ่น สะท้อนให้เห็นถึงการปรับฐานของค่าจ้าง เราจะเห็นได้จากการปรับปรุงและกำหนดค่าจ้างแรงงาน การขึ้นราคาสินค้า โดยเฉพาะสินค้าที่เป็นปัจจัยยังชีพที่จำเป็นสำหรับทุกครัวเรือน และทุกๆ ครั้งที่แนวโน้มด้านพลังงานจะสูงขึ้น ย่อมกระทบในวงกว้างที่ผู้ประกอบการทั้งหลายจะสะท้อนให้เห็นถึงต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น แล้วผลักดันให้ผู้บริโภคเป็นผู้รับผิดชอบ นั่นคือ ทุกๆ คนในสังคมถูกกระทบกระเทือนกันอย่างถ้วนหน้า เราได้รับทราบถึงการออกแบบสอบถาม เช่น การสอบถามเกี่ยวกับรายจ่ายครัวเรือนของข้าราชการ ซึ่งผลโพลที่เกี่ยวข้องต่างให้ข้อมูลว่า บรรดาข้าราชการเหล่านั้น มีรายจ่ายในแต่ละเดือนหมดไปกับรายจ่ายในการเดินทาง ถึงกว่าร้อยละ 40 ของรายได้ครัวเรือน นั่นย่อมแสดงให้เห็นว่า ต้นทุนการผลิตและกาบริโภคถูกเชื่อมโยงเข้ากับสินค้าที่เกี่ยวข้องกับทางด้านพลังงานแทบทั้งสิ้น หากเรามองถึงภาครัฐบาล จะเห็นได้ว่า รายได้หลักทางด้านภาษีอากรจะเกี่ยวข้องกับการจัดเก็บภาษีสรรพสามิต ที่เกี่ยวข้องกับพลังงานและภาษีบาปทั้งหลาย ซึ่งรัฐบาลหากจัดเก็บภาษีได้ไม่เป็นไปตามเป้าหมายแล้ว จะกระทบในวงกว้างและสะท้อนให้เห็นถึงสัญญาณแห่งหายนะทางเศรษฐกิจ ซึ่ง เห็นได้ว่า กลไกรทางเศรษฐกิจ จะถูกกระทบอย่างมาก ด้วยปัจจัยจากการเพิ่มต้นทุนการผลิต ตามที่ทางรัฐบาลกำหนดไว้ เพื่อนำไปจัดสรรและกำหนดเป็นรายได้ของรัฐ ที่จะนำไปใช้ในกิจการต่างๆ รวมถึงเพื่อใช้ในการกระตุ้นระบบเศรษฐกิจให้จำเริญเติบโตตามเป้าหมายที่ได้กำหนดในนโยบายแห่งรัฐ
ท่านทั้งหลาย
ขอให้เราพิจารณาการใช้จ่ายในชีวิตประจำวันของเรา การใช้ชีวิตที่พอเพียง แม้ว่าเป็นคำกล่าวที่หลายๆ ภาคส่วนนำมาใช้กันอย่างแพร่หลาย แต่ขอให้ได้ตระหนักถึงความมัธยัสถ์ และใช้อย่างเหมาะสม หาใช่ใช้แบบตระหนี่ถี่เหนือ และจงใช้อย่างตักตวงและเล็งเห็นถึงประโยชน์ที่เราพึงใช้และพึงบริโภคที่เหมาะสม จากโองการอัลกุรอ่านซูเราะห์Al-Qur'an, 007.031-033 (Al-Araf [The Heights]) ความว่า
007.031 يَا بَنِي آدَمَ خُذُوا زِينَتَكُمْ عِنْدَ كُلِّ مَسْجِدٍ وَكُلُوا وَاشْرَبُوا وَلا تُسْرِفُوا إِنَّهُ لا يُحِبُّ الْمُسْرِفِينَ
007.031 O Children of Adam! wear your beautiful apparel at every time and place of prayer: eat and drink: But waste not by excess, for Allah loveth not the wasters.
31. ลูกหลานของอาดัมเอ๋ย ! จงเอา (คือให้ถือปฏิบัติเป็นเนืองนิจ) เครื่องประดับกาย (หมายถึงการสวมเครื่องนุ่งห่มให้เรียบร้อยขณะไปมัสยิดทุก ๆ มัสยิด) ของพวกเจ้า ณ ทุกมัสยิดและจงกินและจงดื่ม และจงอย่าฟุ่มเฟือย แท้จริงพระองค์ไม่ชอบบรรดาผู้ที่ฟุ่มเฟือย

007.032 قُلْ مَنْ حَرَّمَ زِينَةَ اللَّهِ الَّتِي أَخْرَجَ لِعِبَادِهِ وَالطَّيِّبَاتِ مِنَ الرِّزْقِ قُلْ هِيَ لِلَّذِينَ آمَنُوا فِي الْحَيَاةِ الدُّنْيَا خَالِصَةً يَوْمَ الْقِيَامَةِ كَذَلِكَ نُفَصِّلُ الآيَاتِ لِقَوْمٍ يَعْلَمُونَ
007.032 Say: Who hath forbidden the beautiful (gifts) of Allah, which He hath produced for His servants, and the things, clean and pure, (which He hath provided) for sustenance? Say: They are, in the life of this world, for those who believe, (and) purely for them on the Day of Judgment. Thus do We explain the signs in detail for those who understand.
32. จงกล่าวเถิด(มุฮัมมัด) ว่าผู้ใดเล่าที่ให้เป็นที่ต้องห้าม ซึ่งเครื่องประดับร่างกาย (หมายถึง เครื่องแต่งตัวเพื่อให้มีสภาพเรียบร้อย ไม่เป็นที่รังเกียจแก่ผู้ที่ร่วมอยู่ด้วยหรือผ่านพบเห็น) จากอัลลอฮ์ ที่พระองค์ได้ทรงให้ออกมาสำหรับปวงบ่าวของพระองค์ และบรรดาสิ่งดี ๆ จากปัจจัยยังชีพ จงกล่าวเถิด(มุฮัมัด) ว่าสิ่งเหล่านั้นสำหรับบรรดาผู้ที่ศรัทธา (และผู้ที่ไม่ศรัทธาด้วย) ในชีวิตความเป็นอยู่แห่งโลกนี้ (และสำหรับพวกเขา) โดยเฉพาะ (คือในวันปรโลกจะได้แก่ผู้ที่ศรัทธาโดยเฉพาะ คนปฏิเสธศรัทธาจะไม่มีส่วนได้เลย) ในวันกิยามะฮ์ ใน ทำนองนั้นแหละเราจะแจกแจงโองการทั้งหลายแก่ผู้ที่รู้ (คือด้วยการใช้สติปัญญา และยอมรับความจริง)
007.033 قُلْ إِنَّمَا حَرَّمَ رَبِّيَ الْفَوَاحِشَ مَا ظَهَرَ مِنْهَا وَمَا بَطَنَ وَالإثْمَ وَالْبَغْيَ بِغَيْرِ الْحَقِّ وَأَنْ تُشْرِكُوا بِاللَّهِ مَا لَمْ يُنَزِّلْ بِهِ سُلْطَانًا وَأَنْ تَقُولُوا عَلَى اللَّهِ مَا لا تَعْلَمُونَ
007.033 Say: the things that my Lord hath indeed forbidden are: shameful deeds, whether open or secret; sins and trespasses against truth or reason; assigning of partners to Allah, for which He hath given no authority; and saying things about Allah of which ye have no knowledge.
33. จงกล่าวเถิด (มุฮัมมัด) ว่า แท้จริงสิ่งที่พระเจ้าของฉันทรงห้ามนั้น คือบรรดาสิ่งที่ชั่วช้าน่ารังเกียจ (เช่น การทำซินา การข่มขืนชำเรา การฆ่ากัน และการปล้นจี้ เป็นต้น) ทั้งเป็นสิ่งที่เปิดเผยจากมันและสิ่งที่ไม่เปิดเผย และสิ่งที่เป็นบาป(คือการฝ่าฝืนบัญญัติศาสนาโดยทั่วไป) และการข่มเหงรังแกโดยไม่เป็นธรรม (คำว่า “โดยไม่เป็นธรรม” นั้นเป็นการย้ำคำที่ว่า “การข่มเหงรังแก”) และการที่พวกเจ้าให้เป็นภาคแก่อัลลอฮ์ซึ่งสิ่งที่พระองค์มิได้ทรงประทานหลักฐานใด ๆ ลงมาแก่สิ่งนั้น (คือมิได้ทรงมีหลักฐานยืนยันว่าสิ่งนั้นเป็นภาคีกับพระองค์ ที่กล่าวเช่นนี้เพียงเพื่อแสดงว่าพวกเรากระทำด้วยพละการเท่านั้น ความจริงแล้วไม่มีสิ่งใดเป็นภาคีแก่พระองค์ทั้งสิ้น) และการที่พวกเจ้ากล่าวให้ภัย (คืออุตริกระทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดขึ้น แล้วอ้างว่าเป็นศาสนาของอัลลอฮ์ ปฏิบัติการดังกล่าวนี้ถือเป็นการให้ร้ายแก่พระองค์) แก่อัลลอฮ์ในสิ่งที่พวกเจ้าไม่รู้
จะเห็นได้ว่า แนวทางในการดำเนินชีวิตของมุสลิมตามนัยแห่งโองการของพระองค์ เราใช้ประโยชน์จากตัวแบบที่กำหนดเหล่านี้ โดยแน่แท้แล้วเราพึงใช้และบริโภคด้วยความระมัดระวัง แม้ว่าผู้กำหนดราคาของสินค้าต่างๆ คือกลไกรทางการตลาดที่แปรผันไปตามกำไรทางธุรกิจ หรือต้นทุนการผลิตที่แต่ละภาคส่วนการผลิตพึงได้รับ ผู้ผลิตต้องการกำไร ขณะที่ผู้บริโภคต้องการสินค้าที่มีราคาถูก เพื่อความประหยัด ขณะที่แรงงานต้องการค่าแรงที่เหมาะสมเพื่อความอยู่รอดในการเลี้ยงดูครอบครัว แต่ในฝ่ายนายจ้างกลับต้องการลดต้นทุนการผลิต กลไกรทางการตลาดดังกล่าวคือวัฎจักรแห่งการผันแปรที่ทุกฝ่ายต้องยอมรับอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้น ข่าวสารการขึ้นค่าแรงงาน การขึ้นเงินเดือน หรือการขึ้นราคาสินค้า สิ่งเหล่านี้เป็นสภาพทางเศรษฐกิจที่เป็นไปตามกลไกรที่เกิดขึ้น เป็นกลไกรที่แต่ละฝ่าย แต่ละรัฐบาลมองถึงความจำเริญทางเศรษฐกิจ เป็นความมั่งคั่งที่แต่ละฝ่ายต้องการก้าวไปให้ถึง ดังนั้น จึงขอให้เราทั้งหลาย จงพิจารณาถึงสภาพที่เกิดขึ้นอย่างแยกส่วน และมองดูอย่างมีวิจารณญาณ เราจึงควรพิจารณาถึงสิ่งที่ใกล้ตัวเราก่อนว่า เรามีชีวิตอยู่อย่างสุขสบายหรือลำบากอย่างไรบ้าง เราอยู่กันอย่างพอเพียงหรือไม่ ทุกๆ วันเรามีขยะที่ต้องทิ้งเป็นสิ่งปฏิกูลที่รอวันถูกย่อยสลายตามกระบวนการ แต่เราลองมาตรวจสอบดูว่าสิ่งปฏิกูลที่เราทิ้งขว้างลงไปนั้น บางครั้งมันคือสิ่งที่เหลือใช้ของเราโดยที่สิ่งเหล่านั้นยังมีคุณค่าแต่เป็นสิ่งที่เราเหลือทิ้งเกินความจำเป็น ดังนั้น จึงควรตรวจสอบสิ่งเหล่านี้และลดจำนวนของสิ่งเหล่านี้ลงไป เพื่อให้ชีวิตของเราดำเนินไปอย่างพอเพียง มัธยัสถ์ และอยู่อย่างคุ้มค่า อยู่ในแนวทางของอัลอิสลามบนความยำเกรงต่อพระองค์
ท่านทั้งหลาย
ขอให้พิจารณาอัลฮาดีสต่อไปนี้
I will narrate to you a narration which nobody will narrate to you after me. I heard that from the Prophet. I heard the Prophet saying, "The Hour will not be established" or said: "From among the portents of the Hour is that the religious knowledge will be taken away (by the death of religious Scholars) and general ignorance (of religion) will appear; and the drinking of alcoholic drinks will be very common, and (open) illegal sexual intercourse will prevail, and men will decrease in number while women will increase so much so that, for fifty women there will only be one man to look after them."
Narratรed by: Anas Source : Sahih Al-bukhari 8.800A
การดำเนินชีวิตประจำวันของเรา เราจึงควรแสวงหาความรู้ ประสบการณ์ทั้งทางตรงและทางอ้อมเพื่อศึกษาสภาพ ความเป็นไปในสังคม ในแต่ละด้าน เราต้องใช้ปัจจัยเหล่านั้นให้เต็มประโยชน์ ลดสิ่งที่เหลือทิ้ง เราต้องใช้โดยมัธยัสถ์ ไม่ใช้เกินความจำเป็น และใช้อย่างมีวิจารณญาณ รวมถึงการใช้เวลาของเราให้บรรลุเป้าหมายสูงสุด อย่าใช้โดยเปล่าประโยชน์ เช่นเดียวกับการบริโภค ก็ควรบริโภคตามความเหมาะสม ไม่ฟุ่มเฟือย ลดละเลิกสิ่งที่ไม่ใช่ความจำเป็น หรือบั่นทอนต่อสุขภาพ และการใช้ชีวิตควรอยู่ในลู่ทางตามหลักศีลธรรมจรรยา อย่าได้ไปละเมิดใครๆ เพราะที่สุดแล้ว เราย่อมต้องถูกสอบสวนจากพระองค์ ในวันแห่งการตัดสินที่ใกล้เข้ามา ตามสภาพที่เราพบในปัจจุบัน เช่น การเพิ่มประชากรที่นับวันเพศหญิงจะมีมากกว่าเพศชาย และสินค้าปัจจัยต่างๆ นับวันราคาจะทวีสูงขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งเราทั้งหลายต้องยึดมั่นต่อพระองค์ด้วยความอดทนและยำเกรง

إِنَّ اللَّهَ وَمَلائِكَتَهُ يُصَلُّونَ عَلَى النَّبِيِّ يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا صَلُّوا عَلَيْهِ وَسَلِّمُوا تَسْلِيمًا
رَبَّنَا آتِنَا فِي الدُّنْيَا حَسَنَةً وَفِي الآخِرَةِ حَسَنَةً وَقِنَا عَذَابَ النَّارِ
إِنَّ اللَّهَ يَأْمُرُ بِالْعَدْلِ وَالإحْسَانِ وَإِيتَاءِ ذِي الْقُرْبَى وَيَنْهَى عَنِ الْفَحْشَاءِ وَالْمُنْكَرِ وَالْبَغْيِ يَعِظُكُمْ لَعَلَّكُمْ تَذَكَّرُونَ
سُبْحَانَ رَبِّكَ رَبِّ الْعِزَّةِ عَمَّا يَصِفُونَ
وَسَلامٌ عَلَى الْمُرْسَلِينَ
وَالْحَمْدُ لِلَّهِ رَبِّ الْعَالَمِينَ
ว่าบิ้ลลาฮิเตาฟีก วั้ลฮิดายะห์
วัสสลาม
มูฮำหมัด สันประเสริฐ

อ้างอิง
อัลกุรอ่านฉบับภาษาไทย สมาคมนักเรียนเก่าอาหรับ ดำเนินการจัดพิมพ์โดยกระทรวงกิจการฮัจย์ แห่งราชอาณาจักรซาอุดิอาเบีย http://www.alquran-thai.com/
อัลฮาดีซ : Hadith of The Day V 1.0 Freeware by FaridAnasri avater@muslimonline.com www.beconvinced.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น