วันอาทิตย์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2553

อำลาอาลัยรอมฎอน

มิมบัรออนไลน์
คุตบะห์วันศุกร์ 1 เซาวาล 1431 (วันศุกร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2553)
อำลาอาลัยรอมฎอน

الْحَمْدُ لِلَّهِ رَبِّ الْعَالَمِينَ
يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا اتَّقُوا اللَّهَ حَقَّ تُقَاتِهِ وَلا تَمُوتُنَّ إِلا وَأَنْتُمْ مُسْلِمُونَ

ท่านพี่น้องผู้ศรัทธาทั้งหลาย
“ตะกับบั้ลลอฮุมินนาว่ามิงกุ้ม”
ขอให้เราทั้งหลายจงสำรวมจิตใจและตั้งมั่นอยู่ในความยำเกรงต่อพระองค์ในระดับที่สูงขึ้น ตามกาลเวลาที่ผ่านพ้นไป ทั้งนี้เพื่อที่เราจะได้พัฒนาจิตใจของเราทั้งหลายมุ่งมั่นต่อบริบทแห่งผู้ศรัทธาต่อพระองค์อัลลอฮ์ (ซ.บ.) การปฏิบัติศาสนกิจของเรา การตอบรับการเรียกร้องต่อพระองค์ในกิจกรรมต่างๆ ทั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อความยำเกรงต่อพระองค์ เพราะในวันหนึ่งข้างหน้า เราย่อมต้องกลับไปยังพระองค์ เพื่อที่จะถูกตัดสินในภารกิจทั้งหลายที่เราได้ปฏิบัติในขณะที่เรายังมีชีวิตอยู่ ทั้งนี้ ทุกๆ ภารกิจของเราไม่ว่าสิ่งนั้นจะถูกกระทำด้วยกายวาจาและใจ ย่อมประจักษ์ต่อหน้าเราในวันแห่งการตอบแทนของพระองค์
ท่านทั้งหลาย
เดือนรอมฎอนที่ผ่านพ้นเราไปนั้น แน่นอนว่าบทเรียนที่เราได้รับจากรอมฎอนนี้มีมากมาย หลากหลาย มีทั้งสิ่งที่ภาคภูมิใจที่เราให้สัญญาต่อพระองค์ว่าหากเรายังมีชิวิตยืนยาวถึงเดือนรอมฎอนในปีหน้าอีก เราจะปฏิบัติให้ดีขึ้นกว่านี้อีก และจะเพิ่มปริมาณให้มากยิ่งขึ้น แต่สำหรับสิ่งที่บกพร่องก็จะปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้นเพื่อลดข้อบกพร่องดังกล่าวนั้น แรงจูงใจในเดือนรอมฎอนสิ่งหนึ่งก็คือ ในแง่ของการปฏิบัติศาสนกิจ นั้น เราไม่มีความแตกต่างระหว่างกัน เราได้ปฏิบัติภารกิจอย่างเดียวกัน อย่างเป็นระบบและมีขั้นตอนที่ไม่แตกต่างกัน การเริ่มต้นถือศีลอด การละศีลอด การละหมาดยามย่ำคืน สิ่งต่างๆ เหล่านี้ มีให้เห็นในแต่ละวัน ทำให้กล่าวได้ว่า มัสยิดเป็นแหล่งชุมนุมที่มีความสำคัญในเดือนอันสำคัญอย่างยิ่ง บทบาทของมุสลิมที่ดี ในเดือนรอมฎอนนี้ อาจไม่มีให้เห็นอีกเลยในเดือนอื่นๆ ตราบเท่าที่รอมฎอนในปีต่อไปจะเวียนมาบรรจบ เราจะเห็นรอยยิ้ม การแสดงออกถึงความยินดีของแต่ละคนในวันอีดิ้ลฟิตริ เป็นความยินดีปรีดา ที่แต่ละคนยินดีที่ได้เห็นญาติมิตร เพื่อนบ้านที่ไม่เห็นหน้าตากันมานาน ได้กลับมาพบกันอีกที่มัสยิด ในวันอีดอีกครั้งหนึ่ง สิ่งที่บ่งบอกถึงความเปรมปรีดิ์ ก็คือ การแสดงออกถึงความห่วงหาอาทรต่อกันในช่วงก่อนการละหมาดอีดิ้ลฟิตริ ในการบริจาคซ่ากาตฟิตริ์ และการชดเชยด้วยฟิตยะห์สำหรับผู้ที่ไม่สามารถถือศีลอดได้เนื่องจากความจำเป็นอื่นๆ ดังนั้น อาจกล่าวได้ว่า รอยยิ้มที่มีให้กันนั้น ส่วนหนึ่งเป็นรอยยิ้มของคนขัดสน คนอนาถา คนยากจน ผู้ที่ต่อสู้ในหนทางของศาสนา และผู้ที่มีสิทธิ์ในซ่ากาตฟิตริ์ ที่เขาเหล่านั้น ได้รับการแสดงออกถึงมิตรไมตรที่มีต่อกัน การแสดงออกถึงการขอมะอัพระหว่างกัน สิ่งเหล่านี้ คือร่องรอยความอาทรระหว่างกันและกัน

ท่านพี่น้องผู้ศรัทธาทั้งหลาย
เดือนรอมฎอน เป็นเดือนที่เราทั้งหลายแสดงออกถึงบทบาทและสภาพแห่งความเป็นมุสลิมมากที่สุด ซึ่งจุดมุ่งหมายอันแท้จริงของการประกอบอามั้ลอบาดัรใดๆ ก็คือการแสดงออกถึงความยำเกรงต่อพระองค์อัลลอฮ์ (ซ.บ.) ดังนั้นแล้ว ขอให้เราพิจารณาอายะจากอัลกุรอ่านโองการอาลิอิมรอน Al-Qur'an, 003.102 (Aal-E-Imran [The Family of Imran]) ความว่า
003.102 يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا اتَّقُوا اللَّهَ حَقَّ تُقَاتِهِ وَلا تَمُوتُنَّ إِلا وَأَنْتُمْ مُسْلِمُونَ
003.102 O ye who believe! Fear Allah as He should be feared, and die not except in a state of Islam.
102. โอ้ผู้ศรัทธาทั้งหลาย! จงยำเกรงอัลลอฮ์อย่างแท้จริงเถิด และพวกเจ้าจงอย่าตาย(คือให้เรามีชีวิตอยู่ในหนทางของอัลลอฮ์อยุ่เสมอ เพื่อว่าเมื่อได้ตายลง จะได้ตายในฐานะผู้นอบน้อมต่ออัลลอฮ์ถ้ามิเช่นนั้นแล้วก็ไม่อาจแน่ใจได้ว่าเราจะตายในฐานะใด) เป็นอันขาดนอกจากในฐานะที่พวกเจ้าเป็นผู้นอบน้อมเท่านั้น(คือเป็นผู้ที่ดำเนินชีวิตอยู่ในฐานะเป็นผู้จงรักภักดีต่ออัลลอฮ์)
ดังนั้น ขอให้เราทั้งหลายจงยึดเหนี่ยว แนวปฏิบัติอามั้ล เฉกเช่นการปฏิบัติอามั้ลในเดือนรอมฎอน เป็นการปฏิบัติในอริยาบทที่ปกปิดแต่แฝงเร้นด้วยการกระทำที่มุ่งตรงต่อพระองค์อย่างแท้จริง เพราะในขณะที่เราถือศีลอดไม่มีใครหรือผู้ใดทราบได้ว่าเราปฏิบัติได้อย่างถูกต้องครบถ้วนในการกระทำหรือไม่ เพราะไม่มีการแสดงออกให้ผู้ใดได้รับรู้ แต่ผู้ที่รู้ดีที่สุดคือตัวเราเอง และพระองค์เท่านั้น ดังนั้น ขอให้เราทั้งหลายจงมุ่งปฏิบัติศาสนกิจทุกๆ อามั้ลเฉกเช่นการปฏิบัติในการถือศีลอด ทั้งนี้ เพื่อที่การกระทำของเราจะได้บรรลุถึงเป้าหมายแห่งพระองค์ นอกจากนี้ การที่เดือนรอมฎอนได้จากไปแล้ว จนในวันนี้เราได้ใช้ชีวิตในเดือนเซาวาล ซึ่งมีซุนนะห์ของท่านศาสดาให้เราถือศีลอดอาสา อีก 6 วัน ตลอดเดือนเซาวาลนี้ ซึ่งการจะถือศีลอดนี้จะถืออย่างต่อเนื่องกัน หรือจะเว้นช่วงก็สุดแท้แต่ความสะดวกของผู้ปฏิบัติ ที่สำคัญคือ ขอให้เราตระหนักถึงภารกิจที่สำคัญของเรา เมื่อเดือนที่เปลี่ยนผ่านเราไปนั้น มันคล้ายกับการอพยพของคนที่โยกย้ายจากตำบลหนึ่งไปอีกตำบลหนึ่ง เช่นดัง การที่ท่านศาสดาอพยพจากเมืองมักกะห์ไปยังมะดีนะห์ ทั้งนี้ การอพยพของท่านคือการโยกย้ายปรับเปลี่ยน เพื่อที่จรรโลงสังคมมุสลิมจากมืดบอดสู่แสงสว่าง และความรุ่งเรือง ดังอัลฮาดีส ความว่า
Allah's Apostle said, "There is no hijra (i.e. migration) (from Mecca to Medina) after the conquest (of Mecca), but Jihad and good intention remain; and if you are called (by the Muslim ruler) for fighting, go forth immediately. (Roport by Ib Abbas , source : Sahih Al-Bukhari)
ซึ่งหากพิจารณาถึงสภาพการปฏิบัติศาสนกิจของเราแล้ว การเปลี่ยนผ่านจากเดือนรอมฎอน สู่เดือนเซาวาล ก็ถือเป็นการอพยพที่สำคัญอย่างหนึ่ง เป็นการอพยพทางกาลเวลา เป็นการอพยพทางจิตใจที่เราเคลื่อนการปฏิบัติในสิ่งที่ดีที่สุดไปสู่การปฏิบัติในเดือนปกติ ทั้งนี้ นั่นคือการต่อสู้ทางจิตใจที่ยิ่งใหญ่ เป็นการต่อสู้ทางจิตใจกับอารมณ์ใฝ่ต่ำในจิตในของเรา ซึ่งถือเป็นการต่อสู้ (ญิฮาด) ที่สำคัญ เป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่เป็นอันมาก ซึ่งเป็นสิ่งหนึ่งที่เราต้องเน้นย้ำการปฏิบัติของเราให้บรรลุเป้าหมายแห่งชัยชนะต่อการแสดงออกถึงความยำเกรงต่อพระองค์ ให้มากที่สุดและเพิ่มปริมาณให้พอกพูนต่อๆ ไป

إِنَّ اللَّهَ وَمَلائِكَتَهُ يُصَلُّونَ عَلَى النَّبِيِّ يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا صَلُّوا عَلَيْهِ وَسَلِّمُوا تَسْلِيمًا
رَبَّنَا آتِنَا فِي الدُّنْيَا حَسَنَةً وَفِي الآخِرَةِ حَسَنَةً وَقِنَا عَذَابَ النَّارِ
إِنَّ اللَّهَ يَأْمُرُ بِالْعَدْلِ وَالإحْسَانِ وَإِيتَاءِ ذِي الْقُرْبَى وَيَنْهَى عَنِ الْفَحْشَاءِ وَالْمُنْكَرِ وَالْبَغْيِ يَعِظُكُمْ لَعَلَّكُمْ تَذَكَّرُونَ
سُبْحَانَ رَبِّكَ رَبِّ الْعِزَّةِ عَمَّا يَصِفُونَ
وَسَلامٌ عَلَى الْمُرْسَلِينَ
وَالْحَمْدُ لِلَّهِ رَبِّ الْعَالَمِينَ
ว่าบิ้ลลาฮิเตาฟีก วั้ลฮิดายะห์
วัสสลาม
มูฮำหมัด สันประเสริฐ

อ้างอิง
Text Copied from DivineIslam's Qur'an Viewer software v2.9
อัลกุรอ่านฉบับภาษาไทย สมาคมนักเรียนเก่าอาหรับ ดำเนินการจัดพิมพ์โดยกระทรวงกิจการฮัจย์ แห่งราชอาณาจักรซาอุดิอาเบีย
http://www.alquran-thai.com/
อัลฮาดีซ : Hadith of The Day V 1.0 Freeware by FaridAnasri avater@muslimonline.com (www.beconvinced.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น