วันพฤหัสบดีที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

วันภาษาไทย : ภาษาวิบัติหรือสังคมวิกฤติ

มิมบัรออนไลน์


คุตบะห์วันศุกร์ 14 ชะห์บาน 1432 (วันศุกร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2554)


วันภาษาไทย : ภาษาวิบัติ หรือสังคมวิกฤติ



الْحَمْدُ لِلَّهِ رَبِّ الْعَالَمِينَ


الَّذِي جَعَلَ لَكُمُ الأرْضَ فِرَاشًا وَالسَّمَاءَ بِنَاءً وَأَنْزَلَ مِنَ السَّمَاءِ مَاءً فَأَخْرَجَ بِهِ مِنَ الثَّمَرَاتِ رِزْقًا لَكُمْ فَلا تَجْعَلُوا لِلَّهِ أَنْدَادًا وَأَنْتُمْ تَعْلَمُونَ


وَإِنْ كُنْتُمْ فِي رَيْبٍ مِمَّا نَزَّلْنَا عَلَى عَبْدِنَا فَأْتُوا بِسُورَةٍ مِنْ مِثْلِهِ وَادْعُوا شُهَدَاءَكُمْ مِنْ دُونِ اللَّهِ إِنْ كُنْتُمْ صَادِقِينَ



ท่านพี่น้องผู้ศรัทธาทั้งหลาย


ขอย้ำเตือนตนเองและท่านทั้งหลาย จงกวดขัน พินิจพิจารณาตนเองถึงช่วงเวลาที่ผ่านมา การกระทำของเรา ความคิดของเรา อยู่ในแนวทางใด เรายอมรับหรือปฏิเสธ ในสิ่งที่เราได้กระทำไปนั้น เป็นความตั้งใจ หรือเป็นความประมาท เลินเล่อ ขาดความยับยั้งชั่งใจ ในกิจกรรมนั้น ๆ หรือว่าเราตีความ เข้าข้างอารมณ์ ความรู้สึกของตนเอง เพียงเพราะว่า การปฏิบัติตนของเราเช่นนั้น เป็นคณาประการที่เราได้รับประโยชน์ ได้รับสิทธิในสิ่งที่เราต้องการ หรือที่เรามุ่งหวัง ทั้งๆ ที่การกระทำของเราในเรื่องราวเหล่านั้น เป็นการออกนอกแนวทาง ออกนอกหนทางอันเที่ยงตรงและมีวัตถุประสงค์แอบแฝง ด้วยการเย้ยหยัน ถากถาง ไม่เกิดความยำเกรงในความกรุณาเมตตาปราณีจากพระองค์ผู้ทรงอภิบาลแห่งสากลโลก ดังนั้น ขอให้เราจงหันกลับมา กลับตัวกลับใจ แล้วย้อนคิดถึงเรื่องราวต่างๆ ที้เราได้กระทำมาตลอดช่วงเวลาที่ผ่านพ้นนั้น เราต้องแก้ไขหรือปรับปรุงแนวปฏิบัติตน หรือมีเรื่องใดบ้างที่เราบกพร่องต้องเติมเต็มการปฏิบัติตนให้ตรงกับแนวทางอันเที่ยงตรงได้ เพราะนั่นคือเครื่องหมายของผู้ที่ได้รับชัยชนะ และได้รับความภาคภูมิใจในวันแห่งการตัดสิน ขอดุอาร์ จากพระองค์อัลลอฮ์ (ซ.บ.) ทรงตอบรับการกลับตัวของเราทุกคน เพราะหน้าต่างแห่งความปราณีของพระองค์ นั้น ทรงเปิดรับบรรดาผู้ที่ยำเกรงต่อพระองค์ และเปิดรับผู้ที่เดินหน้าก้าวไปยังพระองค์ หรือแม้แต่ผู้ปฏิเสธ หากวันหนึ่งเขาหันหลังกลับมาหาพระองค์ หน้าต่างบานนี้ก็ยอมรับเขาเหล่านั้น ด้วยความยินดี




ท่านทั้งหลาย


หัวข้อของวันนี้ จะเกี่ยวข้องกับการใช้ภาษา เพราะอีกไม่กี่วัน ก็จะมีการรำลึกถึงวันแห่งการใช้ภาษาไทย ซึ่งเป็นภาษาที่เราทุกคนที่เป็นคนไทยไม่ว่าจะอยู่ในพื้นที่ใดในราชอาณาจักรนี้ ต้องใช้ภาษาไทย เป็นภาษาที่เอกลักษณ์เป็นของตนเอง เป็นภาษาที่ใช้ในราชการ เป็นภาษาที่ใช้ในการสื่อสาร ถึงแม้ว่าในภาคต่างๆ จะนิยมใช้ภาษาท้องถิ่น แต่หากจะใช้ในการติดต่อสื่อสารระหว่างกันแล้ว ทุกๆ คนจะต้องใช้ภาษาพูดและเขียนที่เป็นภาษาทางราชการ เป็นภาษาทางการที่ทุกๆ คน สามารถติดต่อสื่อสารกันได้ การใช้ภาษาไทยในปัจจุบัน นักปราชญ์ ส่วนใหญ่มองว่า การที่คนไทยเร่งรีบ ต้องการความฉับไวในการสื่อสาร จึงเกิดคำพูด ศัพท์สะแลงต่างๆ มากมาย เป็นคำพูดใหม่ๆ บางคำเป็นคำพูดในวงแคบๆ แต่เมื่อใช้กันบ่อยๆ เป็นที่นิยม ของคนส่วนใหญ่ ที่ในตอนแรกคนเหล่านั้นมองว่า คำๆ นั้น หรือศัพท์สะแลงเหล่านั้น เป็นเรื่องแปลก น่ารังเกียจที่จะไปใช้คำกล่าวอย่างนั้น บ้างก็มองว่าทำให้ภาษาวิบัติ บ้างก็มองว่า เมื่อคนทั้งหลายหันมาใส่ใจในเรื่องคำศัพท์สะแลงกันมากๆ จนมีบางท่าน จัดทำพจนานุกรมศัพท์สะแลงขึ้น และมีขั้นตอนในการปรับปรุงคำศัพท์เหล่านั้นเป็นระยะๆ ทุกๆ ปี จะเห็นว่า การขับเคลื่อนการใช้ภาษาไทย ทำให้มองว่าภาษาไทยเป็นภาษาที่มีความสละสลวย แม้ว่า คำศัพท์เหล่านั้น จะเป็นคำที่พูดกันทั้งบ้านทั้งเมือง แต่หากในที่สุดคนไทยมองว่าคำเหล่านั้นไม่ทันยุคทันสมัย ก็จะเลิกใช้คำต่างๆ เหล่านั้น แล้วประดิษฐ์คิดศัพท์ใหม่ๆ ที่ทันยุคทันสมัยกันต่อไปอาจกล่าวได้ว่า ภาษาไทยเป็นภาษาที่ไม่ตาย เพราะมีการเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา ภาษาไทยถูกเรียงร้อยถ้อยคำ มีการขับเคลื่อนกันไปไม่มีวันจบ แต่ในขณะเดียวกัน บางครั้งการใช้ภาษาไทยให้ถูกหลัก ถูกฉันทลักษณ์ หรือถูกต้องตามกฎการใช้ภาษาไทย ในยุคสมัยปัจจุบันที่เป็นสังคมแห่งการสื่อสาร คำพูดบางคำพูด ที่สามารถพูดเพียงคำสั้นๆ ซึ่งอาจผิดหลักไวยากรณ์ทางภาษา แต่ใช้เรียกจุดเด่นของบุคคลสาธารณะ หรือใช้ในการอธิบายเรื่องราวต่างๆ ได้ดี เป็น “สโลแกน” ประจำตัว อาจตั้งอยู่ในเชิงที่ผิดหลักไวยากรณ์ แต่การใช้ภาษาดังกล่าวโดนใจ กินใจ ได้ความหมายที่ตรงกับตัวตนของบุคคลหรือสถาบันที่ถูกกล่าวอ้าง หรือในบางเรื่องการกล่าวถึงภาษาไทยในวาระต่างๆ อาจใช้คำทับศัพท์ หรือเรียกว่า “พูดไทยคำฝรั่งคำ” เหล่านี้ จึงเป็นสิ่งที่น่าเป็นห่วงอย่างมากในเรื่องของการใช้ภาษา เด็กไทยในปัจจุบัน ถูกกระตุ้นด้วยค่านิยมที่ต้องตักตวงแสวงหาความรู้ในสรรพวิทยาการต่างๆ มากมาย ทั้งในชั้นเด็กเล็ก เด็กโต วัยรุ่น และวัยหนุ่มสาวในมหาวิทยาลัย เด็กของเราเหล่านั้น ถูกกำหนดให้เรียนวิทยาการต่างๆ มากมาย เพื่อเป็นพื้นฐานในการประกอบวิชาชีพในอนาคต โดยเฉพาะวิชาแกนหลักเช่น คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ภาษาต่างประเทศ จำนวนชั่วโมงเรียนของเด็กๆ จึงวนเวียนอยู่กับสาระวิชาการเหล่านี้ โดยมองข้ามวิชาทักษะและการใช้ภาษาไทยไป ทั้งๆ เราทุกๆ คนในแผ่นดินนี้ ต่างใช้ภาษาไทยมาตั้งแต่เริ่มหัดพูดหัดเดิน เราใช้ภาษาไทยโดยที่เรายังไม่เริ่มเรียนภาษาไทยกันเลย แต่การใช้ภาษาไทยส่วนใหญ่ใช้กันตามแฟชั่น ตามสื่อสารมวลชน เด็กไทยในปัจจุบัน เรียนรู้เรื่องราวไทยๆ และการใช้ภาษาไทยจากสื่อสารมวลชน ซึ่งเป็นการชี้นำที่ได้ผลในระดับหนึ่ง เพราะเด็กเหล่านั้นมองว่า วิชาภาษาไทยสามารถเรียนรู้ได้จากแหล่งต่างๆ จากนอกห้องเรียน ไม่เห็นถึงความสำคัญ สถิติการวิจัยเกี่ยวกับการใช้ภาษาไทยพบว่า เด็กไทยให้ความสำคัญกับการเรียนวิชาภาษาไทยน้อยมาก และการเสริมสร้างทักษะในวิชาการอื่นๆ อันสืบเนื่องมาจากการใช้ภาษาไทยในการเขียนตอบวิชาแกนหลักอื่นๆ นั้น ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานอย่างน่าเป็นห่วง นั่นแสดงว่า คนไทยยุคใหม่มองข้ามเอกลัษณ์ของตนเองไปอย่างน่าเป็นห่วง


ท่านทั้งหลาย


ในเวลานี้ หลายๆ ฝ่าย ต่างลุ้นระทึกกับข่าวคราวทางด้านการบ้านการเมืองของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่คณะกรรมการการเลือกตั้งจะให้การรับรองผลการเลือกตั้งภายหลังจากที่ได้มีการลงคะแนนของประชาชนชาวไทยไปแล้ว ซึ่งผลการเลือกตั้งได้สะท้อนให้เห็นถึงความต้องการของประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศที่อยากได้รัฐบาลที่เข้ามาแก้ไขปัญหาเร่งด่วนของสังคมโดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ แต่สิ่งหนึ่งที่หลายๆ ฝ่ายมองข้ามเลยไป นั่นคือ ปัญหาสังคม และวัยรุ่น ซึ่งเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นจากความเปลี่ยนแปลงทางสังคม จะเห็นได้จากการใช้ภาษาไทยของเด็กๆ เหล่านั้น แม้ว่าจะเป็นเรื่องราวที่ต่างกัน แต่ผลจากการใช้ภาษา ส่วนหนึ่งจะสะท้อนมาจากเบื้องหลังของคนในสังคม จากสุภาษิตที่ว่า “สำเนียงส่อภาษา กิริยาส่อสกุล” นั้น ทำให้เราสามารถวิเคราะห์ได้ว่า ภาษาที่ผิดเพี้ยนไปในสังคมนั้น เกิดขึ้นจากปัญหาวิกฤตทางสังคมที่ถูกรุมเร้าจากพิษภัยรอบตัว ทั้งปัญหาทางด้านการเมืองที่มีความขัดแย้งอย่างรุนแรงมีการแบ่งฝักแบ่งฝ่าย ปัญหาทางเศรษฐกิจที่ประชาชนผู้บริโภคถูกเอารัดเอาเปรียบจากพ่อค้าผู้ผลิตที่มุ่งแต่จะเอากำไรแล้วผลักภาระต่างๆ ไปยังประชาชน โดยมองเพียงกำไรสูงสุด ขณะที่ปัญหาสังคมที่หลายๆ ส่วนมองข้าม หรือแก้กันไม่หมดสิ้นไป อาชญากรรมเกิดขึ้นมากมาย บางครั้งคนที่คุ้นเคยกัน เคยติดต่อสัมพันธ์กัน แต่เพียงอารมณ์ชั่ววูบหนึ่งของความบาดหมางทำให้ทำร้ายกันโดยขาดความยั้งคิด สิ่งเหล่านี้นับวันมีมากขึ้น และเป็นอุปสรรคที่สำคัญที่ทุกๆ ต้องมุ่งมั่นและระมัดระวังตนเอง ลูกหลาน ให้ปลอดภัยจากพิษภัยเหล่านี้ ด้วยการปกป้องตนเอง หาหนทางในการป้องกัน บางครั้งและบางคนอาจซื้อสังคมด้วยต้นทุนที่สูงลิบ แต่ในที่สุดก็ไม่สามารถหลีกเลี่ยงให้พ้นไปจากสิ่งต่างๆ เหล่านี้ ทั้งหมดจึงส่งผ่านข้อมูลออกมาด้วยการใช้ภาษาของทุกภาคส่วนในสังคม จึงทำให้เราสามารถมองผลลัพท์ที่ได้จากการใช้ภาษาไทยในปัจจุบันได้จากสภาพทางสังคมที่เปลี่ยนไป ภาษาวิบัติที่เกิดขึ้นจึงเป็นผลลัพท์อันเนื่องมาจากสังคมที่วิกฤติ นั่นเอง


ท่านทั้งหลาย


ภาษาที่ผิดเพี้ยนเกิดจากการใช้ภาษาที่พาดพิงวุฒิภาวะของคนที่สื่อสารออกมา บางภาษาเป็นภาษาที่ตายไปแล้ว เพราะเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก ขัดความรู้สึกไม่มีการเปลี่ยนแปลง คนจึงมองข้ามความสำคัญในการใช้ภาษาเหล่านั้น เช่นเดียวกับภาษาอาหรับในพระมหาคัมภีร์อัลกุรอ่าน ที่มุสลิมใช้กันอยู่ในปัจจุบัน จะเห็นว่า มุสลิมหลายๆ ครอบครัวมองข้ามความสำคัญของการเรียนรู้อัลกุรอ่าน อย่างนี้เป็นมานานหลายช่วงอายุคน สังคมมุสลิมไทย ต่างตระหนักที่จะส่งบุตรหลานให้เรียนรู้วิชาฟัรดูอีนในช่วงขณะที่เด็กๆ เหล่านั้นยังเยาว์วัย โดยการให้เด็กๆ เหล่านั้น เรียนรู้อักขระภาษาอาหรับ การอ่าน การเขียน รวมไปถึงการเรียนรู้ความหมายบางซูเราะห์ของ อัลกุรอ่าน แต่เพียงเมื่อเด็กๆ เหล่านั้นอ่านอัลกุรอ่านได้บ้าง จนจบเล่ม และมีการเรียนฟัรดูอีนจนจบชั้นภาคบังคับ ก็จะมีการเฉลิมฉลองกันยิ่งใหญ่ เป็นเกียรติกับเด็กๆ เหล่านั้น แต่พอไม่นานจากนั้น ทุกสิ่งที่เรียนมากลับถูกลืมไป เราให้เวลาใส่ใจกับการเรียนสาระวิทยาการที่ต้องใช้ในการประกอบวิชาชีพ การเรียนรู้ที่ผ่านมา ใช้น้อยลง ๆ จนกระทั่งมองข้ามความสำคัญออกไป เด็กๆ เหล่านั้น ออกนอกลู่นอกทาง ใช้ชีวิตไม่แตกต่างจากเพื่อนๆ นอกศาสนา พอเขาโตขึ้นมา ก็ไม่สามารถแยกแยะความแตกต่าง แต่ใช้ชีวิตกลมกลืนกับสังคมไม่ยอมแตกต่างเพราะกลัวแตกแยกไม่ยำเกรงต่ออัลลอฮ์ (ซ.บ.) หนทางภายภาคหน้าของเด็กๆ เหล่านั้น ไม่ว่าจะเป็นการใช้ชีวิตครอบครัว การดูแลเอาใจใส่ในเรื่องราวของศาสนา จนในที่สุดแล้ว เขากลับกลายสภาพออกนอกแนวทางอันเที่ยงตรงออกไปโดยขาดความยำเกรง เพียงเพราะวันนี้ เราปลูกฝังค่านิยมผิดๆ ให้กับเขา เราขาดความใส่ใจในเรื่องราวเล็กๆ น้อยๆ เสมือนหนึ่งว่าเราเป็นคนไทยมองข้ามการเรียนรู้วิชาภาษาไทย เพราะเราเป็นมุสลิมเรามองข้ามระเบียบกฎเกณฑ์การใช้ชีวิตเฉกเช่นมุสลิมที่มีความยำเกรงต่อพระผู้สร้างผู้เมตตาซึ่งเปิดหน้าต่างรอรับการกลับตัวของเราทั้งหลายอยู่เสมอ วันนี้เราอาจดีใจที่เด็กๆ ของเราเรียนรู้วิชาภาษาต่างประเทศหรือภาษาไทยในการแต่งประโยคสักหนึ่งประโยค ที่มีประธาน กิริยาและกรรมได้ ในความหลากหลายเหล่านั้น แต่การท้าทายของพระองค์ จากโองการอัลกุรอ่าน Al-Qur'an, 002.022 – 002.23 (Al-Baqara [The Cow]) ความว่า


002.022 الَّذِي جَعَلَ لَكُمُ الأرْضَ فِرَاشًا وَالسَّمَاءَ بِنَاءً وَأَنْزَلَ مِنَ السَّمَاءِ مَاءً فَأَخْرَجَ بِهِ مِنَ الثَّمَرَاتِ رِزْقًا لَكُمْ فَلا تَجْعَلُوا لِلَّهِ أَنْدَادًا وَأَنْتُمْ تَعْلَمُونَ


002.022 Who has made the earth your couch, and the heavens your canopy; and sent down rain from the heavens; and brought forth therewith Fruits for your sustenance; then set not up rivals unto Allah when ye know (the truth).


22. คือผู้ทรงให้แผ่นดินเป็นที่นอน (ให้แผ่นดินเป็นผืนราบเหมือนที่นอน) และฟ้าเป็นอาคาร (ให้ฟากฟ้าที่มองเห็นเป็นรูปโดมนั้น เป็นเสมือนอาคารที่มนุษย์พักอาศัย) แก่พวกเจ้า และทรงให้น้ำหลั่งลงมาจากฟากฟ้า แล้วได้ทรงให้บรรดาผลไม้ออกมา เนื่องด้วยน้ำนั้น ทั้งนี้เพื่อเป็นปัจจัยยังชีพแก่พวกเจ้า ดังนั้นพวกเจ้าจงอย่าให้มีผู้เท่าเทียมใด ๆ ขึ้น สำหรับอัลลอฮฺ (อย่าให้มีผู้หนึ่งผู้ใด หรือสิ่งหนึ่งสิ่งใด เท่าเทียมกับพระองค์ ทั้งในความรัก ความกลัวเกรง และในการจงรักภักดี ตลอดจนในสิ่งอื่นใดทั้งสิ้น กล่าวคือ เราจะต้องให้พระองค์อยู่เหนือกว่าสิ่งใดทั้งมวล เฉพาะอย่างยิ่งในการอิบาดะฮฺต่อพระองค์ทุกประเภท จะต้องให้เป็นไปเพื่อความโปรดปรานของพระองค์ แต่เพียงองค์เดียวเท่านั้น) โดยที่พวกเจ้าก็รู้กันอยู่


002.023 وَإِنْ كُنْتُمْ فِي رَيْبٍ مِمَّا نَزَّلْنَا عَلَى عَبْدِنَا فَأْتُوا بِسُورَةٍ مِنْ مِثْلِهِ وَادْعُوا شُهَدَاءَكُمْ مِنْ دُونِ اللَّهِ إِنْ كُنْتُمْ صَادِقِينَ


002.023 And if ye are in doubt as to what We have revealed from time to time to Our servant, then produce a Sura like thereunto; and call your witnesses or helpers (If there are any) besides Allah, if your (doubts) are true.


23. และหากปรากฏว่าพวกเจ้าอยู่ในความแคลงใจใด ๆ จากสิ่ง (จากอัล-กรุอาน) ที่เราได้ลงมาแก่บ่าวของเราแล้ว(แก่ท่านนะบีมูฮัมมัด) ก็จงนำมาสักซูเราะฮฺหนึ่งเยี่ยงสิ่งนั้น (คือจงประพันธ์มาสักซูเราะฮฺหนึ่ง เช่นเดียวกับอัล-กรุอาน) และจงเชิญชวนผู้ที่อยู่ในหมู่พวกเจ้าอื่นนอกจากอัลลอฮฺหากพวกเจ้าเป็นผู้พูดจริง (อัลลอฮฺทรงใช้ให้พวกเขาชักชวนบรรดาผู้เชี่ยวชาญที่ร่วมอยู่ในหมู่พวกเขาให้ช่วยเหลือในการประพันธ์อีกด้วย ยกเว้นอัลลอฮฺองค์เดียวเท่านั้น หากพวกเขาพูดจริงตามที่อ้างไว้ และการที่ต้องยกเว้นอัลลอฮฺนั้นก็เพราะว่าพระองค์อยู่ในสภาพที่ร่วมอยู่กับพวกเขาด้วยและสามารถประพันธ์ได้ พราะอัล-กรุอานเป็นดำรัสของพระองค์)


จะเห็นว่า ความยิ่งใหญ่ของพระองค์ ที่มีในสากลโลกนี้ เด่นชัดกว่าเรื่องราวใดๆ ทั้งสิ้น แน่แท้ว่า วันนี้เราอาจมองข้ามความสำคัญในเรื่องราวบางเรื่องในชีวิตประจำวันของเรา แต่ขอให้เราทั้งหลายฉุกคิดเพียงสักนิดหนึ่งว่า เราให้ความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตในแต่ละวันของเราในเรื่องราวใดมากที่สุด และเรื่องราวเหล่านั้น ทำให้เราย้อนคิดถึงความยิ่งใหญ่ ความสำคัญ และความยำเกรงต่อพระเจ้า ผู้เมตตาต่อเราทั้งหลาย มากน้อยเพียงใด แค่ไหน และอย่างไร เพื่อที่เราจะได้เล็งเห็นถึงความสำคัญ ตระหนักถึงปัญหา และคุณค่าในสิ่งต่างๆ มากมายเหล่านั้น




ท่านทั้งหลาย


การอบรมสั่งสอนเด็กๆ ให้รู้ถึงคุณค่าและความสำคัญในเรื่องราวของสังคม ตระหนักถึงสาเหตุแห่งพิษภัยรอบด้านนั้น จะทำให้เราใช้ชีวิตด้วยความระมัดระวัง สังคมไทยในปัจจุบัน เกิดวิกฤติเพราะหลายๆ ภาคส่วนมุ่งมั่นที่จะให้ค่านิยมทางวัตถุ ซึ่งจะสะท้อนให้เห็นถึงความหยาบทางอารมณ์ การบริบทแห่งความขัดแย้ง บริบทแห่งการแสวงหาผลประโยชน์ ท้ายที่สุดเป็นการแข่งขันที่มุ่งเน้นการแพ้ชนะอย่างเอาเป็นเอาตายโดยขาดหลักแห่งความมีน้ำใจนักกีฬา ค่านิยมผิดเหล่านี้ สะท้อนออกมาด้วยการใช้ภาษา วัฒนธรรมที่ผิดเพี้ยนไปจากสังคมที่เอื้ออาทรต่อกัน กลายมาสู่สังคมที่มุ่งเน้นช่วงชิงความได้เปรียบอยู่ตลอดเวลา การอบรมสั่งสอนเด็กในปัจจุบันของเรา จึงต้องมอบมรดกทางวัฒนธรรมโดยเฉพาะมรดกทางวัฒนธรรมอิสลามที่มุ่งเน้นสันติสุข ความยำเกรงศิโรราบต่อผู้อภิบาลแห่งสากลโลก ขอให้พิจารณาอัลฮาดีส ความว่า


The Prophet mentioned a man from the previous generation or from the people preceding your age whom Allah had given both wealth and children. The Prophet said, "When the time of his death approached, he asked his children, 'What type of father have I been to you?' They replied: 'You have been a good father.' He said, 'But he (i.e. your father) has not stored any good deeds with Allah (for the Hereafter): if he should face Allah, Allah will punish him. So listen, (O my children), when I die, burn my body till I become mere coal and then grind it into powder, and when there is a stormy wind, throw me (my ashes) in it.' So he took a firm promise from his children (to follow his instructions). And by Allah they (his sons) did accordingly (fulfilled their promise). Then Allah said, 'Be!' and behold! That man was standing there! Allah then said, 'O my slave! What made you do what you did?' That man said, 'Fear of You.' So Allah forgave him."


Narrated by: Abu Said Soure: Sahih Bukhari 8.488


เพราะพระองค์เท่านั้น ที่รับฟังเราอยู่ตลอดเวลา เพราะพระองค์เท่านั้น ที่ให้ในสิ่งที่เราต้องการ แต่ในวันนี้ เราตอบรับพระองค์ แค่ไหน เรายำเกรงต่อพระองค์เพียงใด และเราปลูกฝังค่านิยมที่ดีให้กับคนรุ่นใหม่ให้เห็นถึงคุณค่าและความสำคัญในบริบทแห่งความรักความผูกพันเชิงครอบครัวอย่างไร วันนี้การใช้ภาษาที่ผิดเพี้ยนเป็น สิ่งสะท้อนให้เห็นถึงจิตวิญญาณเบื้องหลังทางสังคมที่มุ่งมั่นแย่งชิงเอารัดเอาเปรียบระหว่างกัน แต่ในครอบครัวของมุสลิมแล้ว เราต้องแสวงหาจิตวิญญาณแห่งผู้ยำเกรงต่อพระองค์ เพียงเพราะเรารับฟังเรื่องราวระหว่างกันหยิบยื่นความปรารถนาดีให้แก่กันในครอบครัวของเราแล้ว ความรักความผูกพันที่มีให้ต่อกัน จะทำให้การสื่อสารที่ออกมาเป็นภาษาที่สละสลวย เป็นภาษาที่สะท้อนให้เห็นถึงมิตรภาพที่ดีระหว่างกัน และแสดงออกถึงภาษาที่ไม่ผิดเพี้ยนหรือวิบัติ เช่นกัน ในความเป็นมุสลิม กิจวัตรประจำวันของเรามีกฎเกณฑ์ อละมาตรการในการแสดงออก ขอให้เราอย่าละเลยหรือมองข้ามความสำคัญต่อเรื่องราวเหล่านี้ และอีกไม่กี่วันที่จะถึงนี้ จะเป้นเดือนที่เราทั้งหลายรอคอย ซึ่งเป็นเดือนแห่งการเฉลิมฉลองถึงความยิ่งใหญ่แห่งโองการของพระองค์ ขอให้เราทุกครอบครัว อย่างน้อยเรียนรู้คุณค่าและความหมายความสำคัญแห่งโองการของพระองค์ การเฉลิมฉลองในรูปแบบแห่งอิสลาม จะด้วยการอ่าน การศึกษา รวมถึงการให้ความสำคัญในฐานะแห่ง “กาลามุ้ลลอฮ์” ทั้งการอ่าน การฟัง หรือในการละหมาด ทั้งหมดคือความภาคภูมิใจในความเป็นมุสลิม ให้สมกับการที่เราได้ในชีวิตในความเป็นมุสลิมในเดือนอันยิ่งใหญ่ที่จะมีมาถึงนี้ เช่นเดียวกับการที่เราเป็นคนไทยภาคภูมใจในความเป็นไทย ขอให้เราอย่าได้บกพร่องต่อหน้าที่ของเรา เพราะเมื่อเรามีสิทธิที่จะทำอย่างไร แล้ว หน้าที่ที่ตามมาของเรานั้นก็ต้องไม่บกพร่องไปด้วยเช่นกัน



إِنَّ اللَّهَ وَمَلائِكَتَهُ يُصَلُّونَ عَلَى النَّبِيِّ يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا صَلُّوا عَلَيْهِ وَسَلِّمُوا تَسْلِيمًا


رَبَّنَا آتِنَا فِي الدُّنْيَا حَسَنَةً وَفِي الآخِرَةِ حَسَنَةً وَقِنَا عَذَابَ النَّارِ


إِنَّ اللَّهَ يَأْمُرُ بِالْعَدْلِ وَالإحْسَانِ وَإِيتَاءِ ذِي الْقُرْبَى وَيَنْهَى عَنِ الْفَحْشَاءِ وَالْمُنْكَرِ وَالْبَغْيِ يَعِظُكُمْ لَعَلَّكُمْ تَذَكَّرُونَ


سُبْحَانَ رَبِّكَ رَبِّ الْعِزَّةِ عَمَّا يَصِفُونَ


وَسَلامٌ عَلَى الْمُرْسَلِينَ


وَالْحَمْدُ لِلَّهِ رَبِّ الْعَالَمِينَ


ว่าบิ้ลลาฮิเตาฟีก วั้ลฮิดายะห์


วัสสลาม


มูฮำหมัด สันประเสริฐ


อ้างอิง


อัลกุรอ่านฉบับภาษาไทย สมาคมนักเรียนเก่าอาหรับ ดำเนินการจัดพิมพ์โดยกระทรวงกิจการฮัจย์ แห่งราชอาณาจักรซาอุดิอาเบีย http://www.alquran-thai.com/ShowSurah.asp , www.DivineIslam.com


อัลฮาดีซ : Hadith of The Day V 1.0 Freeware by FaridAnasri avater@muslimonline.com www.beconvinced.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น