วันพุธที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2554

จงสำนึกตนก่อนที่จะสายไป

มิมบัรออนไลน์


คุตบะห์วันศุกร์ 26 ญะมะดิ้ลเอาวัล 1432 (วันศุกร์ที่ 29 เมษายน พ.. 2554)


จงสำนึกตนก่อนที่จะสายเกินไป



الْحَمْدُ لِلَّهِ رَبِّ الْعَالَمِينَ


فَمَنْ تَابَ مِنْ بَعْدِ ظُلْمِهِ وَأَصْلَحَ فَإِنَّ اللَّهَ يَتُوبُ عَلَيْهِ إِنَّ اللَّهَ غَفُورٌ رَحِيمٌ


أَلَمْ يَرَوْا كَمْ أَهْلَكْنَا مِنْ قَبْلِهِمْ مِنْ قَرْنٍ مَكَّنَّاهُمْ فِي الأرْضِ مَا لَمْ نُمَكِّنْ لَكُمْ وَأَرْسَلْنَا السَّمَاءَ عَلَيْهِمْ مِدْرَارًا وَجَعَلْنَا الأنْهَارَ تَجْرِي مِنْ تَحْتِهِمْ فَأَهْلَكْنَاهُمْ بِذُنُوبِهِمْ وَأَنْشَأْنَا مِنْ بَعْدِهِمْ قَرْنًا آخَرِينَ


ท่านพี่น้องผู้ศรัทธาทั้งหลาย


ขอย้ำเตือนตนเองและท่านทั้งหลาย จงพิจารณาอามั้ลของตนเองในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมานั้น พบสิ่งบกพร่องในเรื่องราวใดๆ บ้าง การปฏิบัติตนของเราได้ไปกระทบหรือสร้างความเดือดร้อนให้กับผู้ใดบ้าง และเราได้แก้ไขสิ่งนั้น หรือเรื่องราวนั้นๆ อย่างไร ความเสียหายหรือความบกพร่องดังกล่าว แม้จะเป็นเรื่องราวเพียงเล็กน้อยหรือเป็นความเสียหายอันยิ่งใหญ่ นั้น เป็นสิ่งที่เราต้องมาครุ่นคิดและเสียใจในการกระทำดังกล่าวนั้น หากความเสียหาย เป็นเรื่องราวที่กระทบต่อแนวทางปฏิบัติหรือมีผลต่อการศรัทธาแล้ว จงหยุดคิดและมองถึงผลลัพท์ที่จะเกิดขึ้นจากเรื่องราวดังกล่าว เพื่อยุติแล้วเสียใจต่อการกระทำ และจงพิจารณาว่าภาคผลแห่งการกระทำของเราจากการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ทำให้เราเกิดความยำเกรงต่อพระองค์มากขึ้นหรือลดน้อยถอยลงเพียงใด เราจะปรับปรุงตนเองอย่างไร และเรามุ่งมั่นที่จะดำเนินชีวิตในแนวทางตามแบบฉบับของท่านร่อซูรุ้ลลอฮ์ (ซ.ล.) ให้มากขึ้นและทวีผลเพิ่มพูนเพียงใด สิ่งเหล่านี้ คือวิถีในการดำเนินชีวิต ซึ่งเราต้องมาปรับปรุงตนเองและตรวจสอบตนเองอย่างสม่ำเสมอ เพื่อความปลอดภัยในการดำเนินชีวิต ที่มีหนทางไปสู่การที่เราจะกลับไปรับผลแห่งการกระทำของเราในวันแห่งการตัดสิน


ท่านทั้งหลาย


การทดสอบจากพระองค์อัลลอฮ์ (ซ.บ.) คือ สิ่งที่เราทั้งหลายต้องพิจาณาอย่างชัดเจนว่า เราคิดหรือปฏิบัติตนอย่างไรในเรื่องราวนั้น ๆ แม้ว่าการทดสอบจากพระองค์ จะเป็นการทดสอบโดยตรง หรือเป็นการตนสอบจากคนอื่น เพื่อให้เราฉุกคิดและปรับปรุงตนเอง หรือเสียใจต่อสิ่งที่เกิดขึ้นและคนที่ต้องรับสภาพจากบรรดาการทดสอบของพระองค์ แน่นอนว่า เรื่องราวการทดสอบของพระองค์ จะมีทั้งจากสิ่งที่เล็กๆ น้อยๆ ไปจนกระทั่งถึงเรื่องราวที่ใหญ่ๆ ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้น คือการทดสอบจากพระองค์ ทดสอบในทุกๆ เรื่อง ทดสอบในทุกๆ ประเด็น เพื่อที่จะกลั่นกรองคนทั้งหลาย รวมถึงตรวจสอบทุกๆ คนอย่างละเอียด เพื่อให้เหลือเพียงคนที่พระองค์ทรงประสงค์ในการที่จะไปรับรางวัลที่สูงส่งยิ่งสำหรับเขาเหล่านั้น พระองค์ทรงเตือนคนทั้งหลายจากเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น เพื่อให้เกิดการปรับปรุงตนเองหรือมีการเปลี่ยนแปลงตนเอง ก่อนที่เขาเหล่านั้นจะไม่สามารถปรับปรุงตนเองได้ จะเห็นได้ว่าภายหลังจากเรื่องราวที่ใหญ่ๆ เช่น การเกิดสึนามิในประเทศไทยช่วงปลายปี 2547 หรือจากเหตุการณ์สึนามิเมื่อเดือนมีนาคม 2554 ในประเทศญี่ปุ่น หรือการเกิดภัยพิบัตจากวาตภัย แผ่นดินไหว น้ำท่วมและดินถล่ม ในแต่ละปี ของประเทศไทย สิ่งเหล่านี้ คือเหตุการณ์ใหญ่ที่มีความเสียหายร้ายแรง มีคนมากมายได้รับความเดือดร้อน มีคนมากมายที่เกิดความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สิน จะเห็นว่า ในรอบปีที่ผ่านมาความเปลี่ยนแปลงจากสภาพอากาศส่งผลกระทบให้เกิดความเสียหายในเรื่องราวต่างๆ และมีแนวโน้มว่า ความเสียหายต่างๆ ล้วนเป็นวัฏจักรที่เกิดจากน้ำมือมนุษย์ที่ทำลายสภาพความสมดุลทางธรรมชาติ แล้วในที่สุดความเสียหายดังกล่าวเวียนมาบรรจบกับคนอีกครั้งหนึ่ง สภาพความเสียหายต่างๆ ที่กล่าวมานี้ เป็นสิ่งที่เราทั้งหลายสามารถปรับปรุงตนเองได้ และไม่สามารถปรับปรุงตนเองได้ ในบางเหตุการณ์ความเสียหายได้พรากเอาชีวิตและทรัพย์สินจากไปโดยที่เราไม่ได้คาดคิดหรือคาดไม่ถึง ขณะที่ในบางเรื่องเราสามารถรักษาชีวิตและรักษาทรัพย์สินของเราได้ส่วนหนึ่ง แต่สิ่งที่จะคำนึงถึงต่อไปนอกจากการแสวงหาส่วนเติมเต็มจากความเสียหายต่างๆ เหล่านั้นแล้ว เราจะปรับปรุงวิถีชีวิต คุณภาพชีวิต และในเรื่องราวต่างๆ ต่อไปอย่างไร ขอให้พิจารณาโองการจากซูเราะห์ Al-Qur'an, 006.006 (Al-Anaam [Cattle, Livestock]) ความว่า


006.006 أَلَمْ يَرَوْا كَمْ أَهْلَكْنَا مِنْ قَبْلِهِمْ مِنْ قَرْنٍ مَكَّنَّاهُمْ فِي الأرْضِ مَا لَمْ نُمَكِّنْ لَكُمْ وَأَرْسَلْنَا السَّمَاءَ عَلَيْهِمْ مِدْرَارًا وَجَعَلْنَا الأنْهَارَ تَجْرِي مِنْ تَحْتِهِمْ فَأَهْلَكْنَاهُمْ بِذُنُوبِهِمْ وَأَنْشَأْنَا مِنْ بَعْدِهِمْ قَرْنًا آخَرِينَ


006.006 See they not how many of those before them We did destroy?- generations We had established on the earth, in strength such as We have not given to you - for whom We poured out rain from the skies in abundance, and gave (fertile) streams flowing beneath their (feet): yet for their sins We destroyed them, and raised in their wake fresh generations (to succeed them).


6. พวกเขามิได้เห็นดอกหรือว่า กี่ประชาชาติมาแล้วที่เราได้ทำลายมาก่อนหน้าพวกเขา ซึ่งเราได้พวกเขามีอำนาจและความสามารถในแผ่นดิน ซึ่งสิ่งที่เรามิได้ให้มีแก่พวกเจ้า และเราได้ส่งฝนมายังพวกเขาอย่างมากมาย และเราได้ให้มีแม่น้ำหลายสายไหลอยู่เบื้องล่างของพวกเขา แล้วเราก็ทำลายพวกเขาเสีย เนื่องด้วยบรรดาความผิดของพวกเขา และเราได้ให้มีขึ้นหลังจากพวกเขาซึ่งประชาชาติอื่น



ท่านทั้งหลาย


โดยแน่แท้แล้ว พระองค์อัลลอฮ์ (ซ.บ.) ทรงกรุณาและเมตตาต่อปวงบ่าวของพระองค์เป็นล้นพ้น การทำลายล้างของพระองค์ เป็นส่วนหนึ่งของการตักเตือนบรรดาประชาติทั้งหลาย เป็นการตักเตือน เพื่อย้ำเตือนสติปัญญาของเราว่าในการทำลายล้างของพระองค์ แน่นอนว่าย่อมเกิดความสูญเสีย ซึ่งความสูญเสียที่เกิดขึ้น จะบั่นทอนกำลังใจหรือสร้างให้เกิดความมุ่งมั่นที่จะปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้เกิดความยำเกรงในพระองค์มากขึ้นแค่ไหนเพียงใด เหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นนั้น เราได้บทเรียนอย่างไร เรามุ่งมั่นปรับปรุงตนเองอย่างไร ในการแก้ไขสิ่งที่บกพร่องของเรา แก้ไขในเรื่องจิตใจของเราได้อย่างไรบ้าง แน่นอนว่า บางครั้งในจิตใจของเราอาจมีแนวความคิดหักล้างหรือปลิวิตกกังวลในเรื่องราวหรือบั่นทอนกำลังใจให้เกิดความเสียหายที่ได้รับ แต่สิ่งหนึ่งในผู้ศรัทธาต่อพระองค์แล้ว การทดสอบจากภัยบะลาฮ์ของพระองค์ คือสิ่งที่เราต้องมานั่งทบทวนถึงความผิดพลาดและความบกพร่องในเรื่องอามั้ลของเรา การรู้สึดผิดและสำนึกผิด คือสิ่งที่เราจะได้รับการอภัยในความผิดพลาดนั้น ๆ ดังโองการในซูเราะห์ Al-Qur'an, 005.039 (Al-Maeda [The Table, The Table Spread]) ความว่า


005.039 فَمَنْ تَابَ مِنْ بَعْدِ ظُلْمِهِ وَأَصْلَحَ فَإِنَّ اللَّهَ يَتُوبُ عَلَيْهِ إِنَّ اللَّهَ غَفُورٌ رَحِيمٌ


005.039 But if the thief repents after his crime, and amends his conduct, Allah turneth to him in forgiveness; for Allah is Oft-forgiving, Most Merciful.


39. แล้วผู้ใดสำนึกผิดกลับเนื้อกลับตัวหลังจากการอธรรมของเขา และแก้ไขปรับปรุงแล้ว แท้จริงอัลลอฮฺจะทรงอภัยโทษให้แก่พวกเขา แท้จริงอัลลอฮฺนั้นเป็นผู้ทรงอภัยโทษ ผู้ทรงเอ็นดูเมตตาเสมอ


ท่านทั้งหลาย


ไม่มีคำว่าสายเกินไปสำหรับผู้ศรัทธาในการอุทิศตนและเวลาของตนไปกับการประกอบอิบาดัรเพื่อพระองค์ด้วยความยำเกรง ไม่มีคำว่าสายที่เราจะได้เรียนรู้ถึงความยิ่งใหญ่ของพระองค์ ไม่มีคำว่าสายที่เราจะแก้ไขความบกพร่องของเรา แต่สิ่งที่จะบอกได้ว่า สายเกินแก้ นั่นคือ เราไม่คิดที่จะปรับปรุงตนเองให้รอดพ้นจากความกริ้วโกรธของพระองค์ ที่เราไม่ปรับปรุงตนเองได้อย่างทันท่วงที เพราะหากเราประวิงเวลาที่จะแก้ไขปรับปรุงตนเองไปจนหมดเวลาที่จะดำเนินการในชีวิตของเราแล้ว แน่นอนว่า นั่นคือ การกระทำเยี่ยงอย่างของผู้ที่ไร้สำนึกต่อตนเอง และสายเกินกว่าที่จะแก้ไขตนเองให้รอดพ้นจากความกริ้วโกรธจากพระองค์ ซึ่งที่พระองค์แล้ว พระองค์ทรงตอบรับเสมอในการรู้สำนึกและกลับตัวกลับใจที่จะยอมรับยำเกรงต่อพระองค์ ดังนั้น ขอให้เราทั้งหลาย จงพิจารณาและปรับปรุงตนเองให้อยู่ในความยำเกรงต่อพระองค์ อยู่เสมอ สำรวจความบกพร่องของตนเองอยู่ตลอดเวลา เพื่อที่เราจะได้ไม่ห่างไกลในความเมตตาของพระองค์


ท่านทั้งหลาย


พระวจนะของท่านศาสดา และแบบฉบับแห่งพระศาสดา เป็นสิ่งที่เราใช้ในการปฏิบัติตนให้อยู่ในแนวทางอันเที่ยงตรงและในพระเมตตาแห่งพระองค์ ขอหยิบยกอัลฮาดีส ความว่า


While we were in the company of the Prophet in a cave at Mina, when Surat-wal-Mursalat were revealed and he recited it and I heard it (directly) from his mouth as soon as he recited its revelation. Suddenly a snake sprang at us and the Prophet said (ordered us): "Kill it." We ran to kill it but it escaped quickly. The Prophet said, "It has escaped your evil and you too have escaped its evil." Narrated by: Abdullah Source : Sahih Al-Bukhari 3.56


การหลบหนีกับการต่อสู้ เป็นสิ่งที่อยู่ตรงกันข้ามกันอย่างสิ้นเชิง แต่เมื่อภัยมาถึงตัวเราแล้ว สองอย่างดังกล่าวนั้นหากเราต้องเลือกที่จะดำเนินการแล้ว เราจะหลบหนี หรือเราจะต่อสู้ปัญหา แน่นอนว่า ผู้ที่รอคอยชัยชนะอันยิ่งใหญ่ย่อมต้องสู้กับปัญหา ไม่หลบหนีปัญหา ดังนั้น การต่อสู้กับปัญหา เพื่อชัยชนะที่พึงได้รับนั้น เหมือนกับการพบปะกับสัตว์ร้ายแล้วเรามีทางเลือกคือ ต่อสู้กับมันหรือเราจะหนีหรือไล่มันไป ดังนั้น หากเราเลือกหนทางใดแล้ว เราย่อมต้องรับผลแห่งการกระทำนั้นๆ ของเรา และผลลัพธ์แห่งการกระทำดังกล่าวของเรานั้น คือสิ่งที่เราพึงนำมาสังวรว่าเราได้เลือกสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับตนเองแล้ว แน่นอนว่าเราย่อมต้องรับภาคผลที่ตามมาอย่างแน่นอน ดังนั้น ในวันนี้ เราได้เลือกที่จะประพฤติปฏิบัติตนเช่นไร เมื่อเราได้รับการตักเตือนในเหตุการณ์ต่างๆ วันนี้เรามีความยำเกรงต่อพระองค์ในปริมาณที่เพิ่มขึ้นอย่างไร แล้วเราเกิดความสำนึกตนและกลับเนื้อกลับตัวและขออภัยโทษต่อพระองค์มากน้อยเพียงใด แล้วหนทางที่เราเลือกนั้น อยู่ในแนวทางแห่งพระเมตตาของพระองค์มากหรือน้อยเพียงใด ขอให้เราทั้งหลายจงย้ำเตือนตนเองและสำนึกตนเองก่อนที่มันจะสายเกินกว่าที่จะแก้ไข เพราะหมดเวลาที่จะแก้ไขเรื่องราวต่างๆ นั้นแล้ว



إِنَّ اللَّهَ وَمَلائِكَتَهُ يُصَلُّونَ عَلَى النَّبِيِّ يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا صَلُّوا عَلَيْهِ وَسَلِّمُوا تَسْلِيمًا


رَبَّنَا آتِنَا فِي الدُّنْيَا حَسَنَةً وَفِي الآخِرَةِ حَسَنَةً وَقِنَا عَذَابَ النَّارِ


إِنَّ اللَّهَ يَأْمُرُ بِالْعَدْلِ وَالإحْسَانِ وَإِيتَاءِ ذِي الْقُرْبَى وَيَنْهَى عَنِ الْفَحْشَاءِ وَالْمُنْكَرِ وَالْبَغْيِ يَعِظُكُمْ لَعَلَّكُمْ تَذَكَّرُونَ


سُبْحَانَ رَبِّكَ رَبِّ الْعِزَّةِ عَمَّا يَصِفُونَ


وَسَلامٌ عَلَى الْمُرْسَلِينَ


وَالْحَمْدُ لِلَّهِ رَبِّ الْعَالَمِينَ


ว่าบิ้ลลาฮิเตาฟีก วั้ลฮิดายะห์


วัสสลาม


มูฮำหมัด สันประเสริฐ


อ้างอิง


อัลกุรอ่านฉบับภาษาไทย สมาคมนักเรียนเก่าอาหรับ ดำเนินการจัดพิมพ์โดยกระทรวงกิจการฮัจย์ แห่งราชอาณาจักรซาอุดิอาเบีย http://www.alquran-thai.com/ShowSurah.asp , www.DivineIslam.com


อัลฮาดีซ : Hadith of The Day V 1.0 Freeware by FaridAnasri avater@muslimonline.com www.beconvinced.com




1 ความคิดเห็น:

  1. การหลบหนีกับการต่อสู้ เป็นสิ่งที่อยู่ตรงกันข้ามกันอย่างสิ้นเชิง แต่เมื่อภัยมาถึงตัวเราแล้ว สองอย่างดังกล่าวนั้นหากเราต้องเลือกที่จะดำเนินการแล้ว เราจะหลบหนี หรือเราจะต่อสู้ปัญหา แน่นอนว่า ผู้ที่รอคอยชัยชนะอันยิ่งใหญ่ย่อมต้องสู้กับปัญหา ไม่หลบหนีปัญหา

    ตอบลบ

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น