วันอังคารที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2553

ผู้ขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจ

มิมบัรออนไลน์
คุตบะห์วันศุกร์ 16 ยะมาดิลเอาวัล 1431 (วันศุกร์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2553)
ผู้ขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจ

الْحَمْدُ لِلَّهِ رَبِّ الْعَالَمِينَ
فَإِذَا قُضِيَتِ الصَّلاةُ فَانْتَشِرُوا فِي الأرْضِ وَابْتَغُوا مِنْ فَضْلِ اللَّهِ وَاذْكُرُوا اللَّهَ كَثِيرًا لَعَلَّكُمْ تُفْلِحُونَ
وَإِذَا رَأَوْا تِجَارَةً أَوْ لَهْوًا انْفَضُّوا إِلَيْهَا وَتَرَكُوكَ قَائِمًا قُلْ مَا عِنْدَ اللَّهِ خَيْرٌ مِنَ اللَّهْوِ وَمِنَ التِّجَارَةِ وَاللَّهُ خَيْرُ الرَّازِقِينَ
ท่านพี่น้องผู้ศรัทธาทั้งหลาย
ขอเตือนตนเองและท่านทั้งหลาย จงยำเกรงต่อพระองค์อัลลอฮ์ (ซ.บ.) ให้มากที่สุด ในอามั้ลอิบาดัรที่เราได้กระทำนั้น เพื่อพระองค์อย่างแท้จริง ซึ่งผลแห่งการกระทำนั้น พระองค์จะทรงตอบแทนให้กับเราตามที่เราได้ขอจากพระองค์ แม้ไม่ได้ในทันทีทันใด แต่ภาคผลนั้น นับจากวันนี้จนถึงวันแห่งการตัดสิน และนั่นคือสิ่งที่พระองค์ทรงเมตตากับปวงบ่าวของพระองค์ ในการแสวงหาความโปรดปราณจากพระองค์ และการมอบหมายแด่พระองค์
ท่านทั้งหลาย
ผลกระทบทางเศรษฐกิจ เป็นอุบัติการณ์ที่ส่งผลกระทบไปทั่วทุกภาคส่วน ระบบเศรษฐกิจไม่ว่าจะเป็นระดับจุลภาคหรือในระดับมหภาค หากขาดเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ซึ่งมีผลกระทบกับสภาพสมดุลทางเศรษฐกิจในภาคการผลิตหนึ่งจะมีผลทั้งที่เป็นบวกและลบไปยังภาคเศรษฐกิจอื่นในแบบลูกโซ่หรือลูกระนาด ซึ่งการแก้ปัญหาดังกล่าว จำเป็นต้องมองในทุกๆ ภาคส่วนที่เชื่อมโยงกัน แต่ปัจจัยหนี่งที่เกี่ยวโยงกับทุกภาคส่วนก็คือ ผู้ใช้แรงงาน ซึ่งเป็นปฐมบทของทุกภาคการผลิต ผู้ใช้แรงงาน ผู้รับจ้าง ผู้ปฏิบัติงาน แรงงานในระดับต่างๆ แล้วแต่ว่าจะเรียกอย่างไร เป็นปัจจัยการผลิตหนึ่งที่มีความสำคัญไม่แพ้ปัจจัยอื่นๆ (ที่ดิน ทุน และผู้ประกอบการ) แรงงานในแต่ละระดับ เป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดความสำเร็จในกิจการทั้งหลาย หากขาดปัจจัยนี้แล้ว การประกอบการแม้ว่าจะเป็นกิจการใดก็ตาม ก็ไม่สามารถสำเร็จในกิจกรรมการผลิตนั้นๆ ได้ ทั้งนี้ จะเห็นว่า ผู้ผลิตหรือผู้ประกอบการซึ่งจำเป็นต้องควบคุมปัจจัยการผลิต จะให้ความสำคัญกับแรงงานในแต่ละระดับ และแรงงานเหล่านี้ จะช่วยขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจให้เจริญเติบโตไปได้ ผลประกอบการที่ได้จากกำไรนั้น แรงงานจะเป็นปัจจัยที่สะท้อนให้เห็นถึงต้นทุนการผลิตที่ชัดเจนที่สุด ในปัจจุบันการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจในภาวะที่เศรษฐกิจตกต่ำ การเรียกร้องค่าจ้าง หรือการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ จึงเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการต้องใช้วิจารณาในการให้ความชัดเจนจากทางฝ่ายลูกจ้าง เพื่อหลีกเลี่ยงความขัดแย้งกันและการต่อท้อนให้เห็นถึงการเอารัดเอาเปรียบหรือการเรียกร้องที่เกินเลยความเป็นจริงตามสภาพเศรษฐกิจมากหรือน้อยเกินไปหรือไม่ ดังนั้น เราจึงต้องมาร่วมพิจารณากันว่า ในสภาพทางสังคมหนึ่ง หรือหน่วยผลิตหนึ่งนั้น ความเป็นธรรมคือสิ่งปรารถนาของแต่ละฝ่ายที่จะทำให้ทุกๆคนในหน่วยผลิตแสดงออกซึ่งความเป็นเจ้าของของหน่วยผลิตนั้น ดังนั้น เมื่อทุกคนคือเจ้าของแล้ว ทุกๆ การเรียกร้องใดๆ จากฝ่ายลูกจ้าง นายจ้างต้องรีบดำเนินการแก้ไข ไม่ว่าผลแห่งการแก้ไขดังกล่าวจะจบลงเช่นไร ทุกๆ ฝ่ายต้องเครารพ นั่นคือ ความปรองดองกันในหน่วยผลิตนั้นๆ
ท่านพี่น้องผู้ศรัทธาทั้งหลาย
ในช่วงหนึ่งแห่งการดำเนินชีวิตของท่านศาสดามูฮำหมัด (ซ.ล.) ท่านเคยเป็นลูกจ้าง ในขบวนสินค้า ที่จะนำคาราวานสินค้าไปขายยังที่ต่างๆ ความสำเร็จของนายจ้างหรือผู้ประกอบการ ก็คือ การร่วมมือร่วมใจ ความซื่อสัตย์และความอดทนของทางฝ่ายลูกจ้าง เป็นองค์ประกอบแห่งความสำเร็จนั้น ๆ กำไรของฝ่ายนายจ้าง หากลูกจ้างทุจริตในสินค้าแล้ว แน่นอนว่าฝ่ายนายจ้างจะได้รับผลกระทบมากที่สุด และเช่นกัน หากนายจ้างมุ่งที่จะแสวงหาซึ่งกำไรสูงสุด โดยลดทอนหรือตัดทอนต้นทุนการผลิตจากฝ่ายลูกจ้างลงไปมากที่สุด ความลำเค็ญของลูกจ้าง จะทำให้ฝ่ายนายจ้างได้รับผลกระทบด้วยเช่นกัน จากประสบการณ์นั้นของท่านศาสดา ท่านได้รับสมัญญาว่า “อั้ลอามีน” หรือผู้ที่มีความซื่อสัตย์ เป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นได้ว่า ผู้ใช้แรงงานหรือผู้ขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจ จะทำให้เกิดความสำเร็จในกิจการนั้นๆ ได้ ดีที่สุด ดังนั้น แบบฉบับของท่านศาสดาในการดำเนินภารกิจในฐานะของผู้ใช้แรงงาน คือ อะมานะห์ และความรับผิดชอบต่อหน้าที่ในฐานะลูกจ้าง และความมีอะมานะห์ในฐานะของผู้จ้างหรือผู้ประกอบการ เพื่อให้กิจการนั้นๆ ดำเนินต่อไปด้วยกลไกรทางเศรษฐกิจ
อีกประการหนึ่งของการทำอิบาดัร นั่นคือ จากโองการแห่งอัลกุรอ่าน ซูเราะห์อัลญุมอะห์ Al-Qur'an, 062.010-011 (Al-Jumua [ Congregation, Friday]) ความว่า
062.010 فَإِذَا قُضِيَتِ الصَّلاةُ فَانْتَشِرُوا فِي الأرْضِ وَابْتَغُوا مِنْ فَضْلِ اللَّهِ وَاذْكُرُوا اللَّهَ كَثِيرًا لَعَلَّكُمْ تُفْلِحُونَ
062.010 And when the Prayer is finished, then may ye disperse through the land, and seek of the Bounty of Allah: and celebrate the Praises of Allah often (and without stint): that ye may prosper.
[62.10] ต่อเมื่อการละหมาดได้สิ้นสุดลงแล้วก็จงแยกย้ายกันไปตามแผ่นดินและจงแสวงหาความโปรดปราน
ของอัลลอฮ์ และจงรำลึกถึงอัลลอฮ์ให้มาก ๆ เพื่อว่าพวกเจ้าจะได้รับชัยชนะ
062.011 وَإِذَا رَأَوْا تِجَارَةً أَوْ لَهْوًا انْفَضُّوا إِلَيْهَا وَتَرَكُوكَ قَائِمًا قُلْ مَا عِنْدَ اللَّهِ خَيْرٌ مِنَ اللَّهْوِ وَمِنَ التِّجَارَةِ وَاللَّهُ خَيْرُ الرَّازِقِينَ
062.011 But when they see some bargain or some amusement, they disperse headlong to it, and leave thee standing. Say: "The (blessing) from the Presence of Allah is better than any amusement or bargain! and Allah is the Best to provide (for all needs)."
[62.11] และเมื่อพวกเขาได้เห็นการค้าและการละเล่นพวกเขาก็กรูกันไปที่นั้นและปล่อยเจ้าให้ยืนอยู่คนเดียว จง
กล่าวเถิดมุฮัมมัด สิ่งที่มีอยู่ ณ อัลลอฮ์นั้นดีกว่าการละเล่นและการค้าและอัลลอฮ์นั้นทรงเป็นเลิศยิ่งในหมู่ผู้ประทานปัจจัยยังชีพ

ดังนั้น ของให้ข้าพเจ้าตลอดจนท่านทั้งหลายในที่นี้ จงยึดมั่นว่าขณะที่เรากำลังประกอบอาชีพใดๆ ก็ตาม นั่นคือ อิบาดัรอย่างหนึ่ง เป็นสิ่งที่พวกเรามุ่งหวังให้เกิดความสำเร็จในกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิต การได้รับทรัพย์สิน ในขณะที่เราก็ต้องซื่อสัตย์ต่อนายจ้าง ที่เราได้รับมอบอะมานะห์นั้นๆ มาด้วย ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความจำเริญต่อสภาวะของหน่วยผลิตที่เราเป็นสมาชิกอยู่ จงยึดมั่นตามแบบฉบับของท่านศาสดาแล้ว เป็นที่ประจักษ์ว่า การประกอบอาชีพใดๆ ก็ตาม เราก็เป็นส่วนหนึ่งของหน่วยงานนั้น เราต้องซื่อสัตย์ต่อหน้าที่ และเราก็เป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จในกิจการนั้น ขอให้เราจงตระหนักในบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบที่มีอยู่เพื่อให้เราได้รับความสำเร็จต่อกิจกรรมที่เรากำลังดำเนินอยู่ให้ลุล่วงต่อไป
تَذَكَّرُونَ
إِنَّ اللَّهَ وَمَلائِكَتَهُ يُصَلُّونَ عَلَى النَّبِيِّ يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا صَلُّوا عَلَيْهِ وَسَلِّمُوا تَسْلِيمًا
رَبَّنَا آتِنَا فِي الدُّنْيَا حَسَنَةً وَفِي الآخِرَةِ حَسَنَةً وَقِنَا عَذَابَ النَّارِ
سُبْحَانَ رَبِّكَ رَبِّ الْعِزَّةِ عَمَّا يَصِفُونَ
وَسَلامٌ عَلَى الْمُرْسَلِينَ
وَالْحَمْدُ لِلَّهِ رَبِّ الْعَالَمِينَ

ว่าบิ้ลลาฮิเตาฟีก วั้ลฮิดายะห์
วัสสลาม
มูฮำหมัด สันประเสริฐ

อ้างอิง
Text Copied from DivineIslam's Qur'an Viewer software v2.9
อัลกุรอ่านฉบับภาษาไทย สมาคมนักเรียนเก่าอาหรับ ดำเนินการจัดพิมพ์โดยกระทรวงกิจการฮัจย์ แห่งราชอาณาจักรซาอุดิอารเบีย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น