วันพุธที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ต้องประหยัดต้อนรับการเปิดเทอม

มิมบัรออนไลน์


คุตบะห์วันศุกร์ 10 ญะมะดิ้ลอาเคร 1432 (วันศุกร์ที่ 13 พฤษภาคม พ.. 2554)


ต้องประหยัดต้อนรับการเปิดเทอม



الْحَمْدُ لِلَّهِ رَبِّ الْعَالَمِينَ


وَذَرُوا ظَاهِرَ الإثْمِ وَبَاطِنَهُ إِنَّ الَّذِينَ يَكْسِبُونَ الإثْمَ سَيُجْزَوْنَ بِمَا كَانُوا يَقْتَرِفُونَ


يَا بَنِي آدَمَ خُذُوا زِينَتَكُمْ عِنْدَ كُلِّ مَسْجِدٍ وَكُلُوا وَاشْرَبُوا وَلا تُسْرِفُوا إِنَّهُ لا يُحِبُّ الْمُسْرِفِينَ


يَا أَيُّهَا النَّاسُ كُلُوا مِمَّا فِي الأرْضِ حَلالا طَيِّبًا وَلا تَتَّبِعُوا خُطُوَاتِ الشَّيْطَانِ إِنَّهُ لَكُمْ عَدُوٌّ مُبِينٌ


يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا لا تُبْطِلُوا صَدَقَاتِكُمْ بِالْمَنِّ وَالأذَى كَالَّذِي يُنْفِقُ مَالَهُ رِئَاءَ النَّاسِ وَلا يُؤْمِنُ بِاللَّهِ وَالْيَوْمِ الآخِرِ فَمَثَلُهُ كَمَثَلِ صَفْوَانٍ عَلَيْهِ تُرَابٌ فَأَصَابَهُ وَابِلٌ فَتَرَكَهُ صَلْدًا لا يَقْدِرُونَ عَلَى شَيْءٍ مِمَّا كَسَبُوا وَاللَّهُ لا يَهْدِي الْقَوْمَ الْكَافِرِينَ



ท่านพี่น้องผู้ศรัทธาทั้งหลาย


ตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา เรื่องราวหลายๆ เรื่อง เข้ามาสู่โสตประสาทของเรามากมาย เรื่องราวเหล่านั้น เป็นหนึ่งในประสบการณ์ที่เราได้รับ เป็นประสบการณ์ที่เราทั้งหลายต่างมุ่งมั่น บางเรื่องเป็นเรื่องที่เรารับรู้เพราะเป็นข่าวสาร บางเรื่องเป็นเรื่องราวที่เราต้องนำมาศึกษา วิเคราะห์ เพื่อหาคำตอบในประเด็นดังกล่าวนั้น เพื่อสร้างกรอบความคิดในเรื่องราวดังกล่าวในการศึกษาถึงผลลัพธ์ ผลกระทบในเรื่องราวในประเด็นนั้น ๆ ดังนั้น ไม่ว่าข้อมูลต่างๆ จะเกิดขึ้นอย่างไร มีทิศทางดำเนินต่อไปอย่างไรนั้น เราจึงต้องเรียนรู้ในสรรพสิ่งนั้น แสวงหาคำตอบจากเรื่องราวเหล่านั้น ใช้สติปัญญาในการพินิจ พิเคราะห์ วินิจฉัย และแสวงหาคำตอบที่ดี เพื่อย้ำเตือนตนเอง ย้ำเตือนการปฏิบัติตนของเรา และแสดงออกถึงความรู้สึกต่อเรื่องราวดังกล่าวนั้น ได้ประจักษ์ต่อตัวเราอย่างไรบ้าง เรื่องราวเหล่านั้น จะสร้างมิติและกรอบความคิดใดให้กับเรา จึงฝากบทเรียนจากเรื่องราวเหล่านั้น เพื่อย้ำเตือนสติตนเอง และท่านทั้งหลาย จงหยุด และคิดถึงความยิ่งใหญ่ของพระองค์อัลลอฮ์ (ซ.บ.) เรามีความยำเกรงต่อพระองค์เพียงใด เพราะในเรื่องราวต่างๆ ที่เกิดขึ้น นั้น ไม่มีใครที่สามารถล่วงรู้ความเป็นไปในเหตุการณ์เหล่านั้นได้ดีกว่าพระองค์ เหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น เป็นบทเรียนที่พระองค์แสดงออกให้แต่ละคนได้รับรู้ได้ใช้สติปัญญาไตร่ตรองและแสดงออกถึงความคิดความอ่านและสติปัญญาที่จะบ่งบอกว่า เรารู้ เราเชื่อ และเรามุ่งปฏิบัติโดยมุ่งหวังมรรคผลแห่งการปฏิบัตินั้น ย้ำเตือนถึงความยำเกรงต่อพระองค์มากน้อยเพียงใด และเราใส่ใจและให้ความสำคัญในกิจวัตรที่เราต้องปฏิบัติในแต่ละวันมากน้อยเพียงใด


ท่านทั้งหลาย


เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว คุตบะห์ได้กล่าวถึงการเลือกตั้ง ที่จะบังเกิดขึ้นหลังจากการยุบสภา การเลือกตั้งเป็นการที่เราทุกๆ คนมีหน้าที่ (อะมานะหฺ) ที่ต้องไปใช้สิทธิออกเสียงเลือกคนที่เราคิดว่าดีที่สุดเข้าไปทำหน้าที่แทนเราในระบบรัฐสภา อย่างไรก็ตาม กระบวนการต่างๆ กำลังจะเริ่มต้นขึ้น และสิ้นสุดลง เมื่อกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งปิดหีบบัตร เพื่อทำการนับคะแนน หลังจากรวมคะแนนแล้ว ผลการเลือกตั้งจะสะท้อนให้เห็นได้ว่า สรุปแล้วความต้องการของประชาชนไทยทั้งแผ่นดิน มอบหมายความไว้วางใจให้กับพรรคการเมืองใด กลุ่มการเมืองใดเข้าไปใช้สิทธิในอำนาจอธิปไตยแทนเรา ซึ่งบทบาทของมุสลิมในการเลือกตัวแทนเข้าไปใช้สิทธินั้น จะได้กล่าวถึงในคุตบะห์ ต่อๆ ไปหลังจากนี้ แต่ในสัปดาห์นี้ หากพิจารณารอบๆ ตัวเราแล้ว สิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้น นั่นคือ เด็กๆ ของเรา ลูกหลานของเรา ต้องกลับไปสู่ ชั้นเรียน ห้องเรียนของพวกเขา เป็นชั้นเรียนใหม่ ห้องเรียนใหม่ เพื่อนใหม่ บรรยากาศการเรียนการสอนที่เข้มข้นมากขึ้นตามชั้นเรียนที่สูงขึ้น เห็นสีหน้าของผู้ปกครองทั้งหลาย แล้ว เห็นใจในความอดทน เสียสละ ให้กับลูกๆ ด้วยความรัก ความปรารถนาดี ความเอาใจใส่ต่อลูกๆ ในการจัดซื้อจัดหา เสื้อผ้าชุดนักเรียน อุปกรณ์การศึกษาทั้งหลายที่เกี่ยวข้อง ในสภาพทางเศรษฐกิจที่ฝืดเคืองมากขึ้น ค่าใช้จ่ายต่างๆ เพิ่มมากขึ้น ขณะที่รายได้ในครอบครัวที่เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย (ประมาณ 5 %) แต่ส่วนต่างของการเพิ่มในสินค้าประเภทบริโภคอุปโภคกลับทวีคูณสูงขึ้นในอัตรา 10 – 20 % ลักษณะเช่นนี้ แม้ว่าเราจะประหยัดสักเพียงใด แต่เมื่อผนวกเข้ากับช่วงที่ต้องส่งเด็กๆ กลับสู่โรงเรียนแล้ว ภาวะแห่งการฝืดเคืองเป็นสิ่งที่แต่ละครอบครัวหลีกเลี่ยงไม่พ้น ในที่สุดแล้ว เราก็ต้องกลับมาสู่การปรับตนเองให้มุ่งสู่ความประหยัดอย่างสูงสุด ซึ่งเป็นภาระที่เราหลีกเลี่ยงไม่ได้ ขอหยิบยกโองการจากอัลกุรอ่าน ซูเราะห์ Al-Qur'an, 007.031 (Al-Araf [The Heights]) ความว่า


007.031 يَا بَنِي آدَمَ خُذُوا زِينَتَكُمْ عِنْدَ كُلِّ مَسْجِدٍ وَكُلُوا وَاشْرَبُوا وَلا تُسْرِفُوا إِنَّهُ لا يُحِبُّ الْمُسْرِفِينَ


007.031 O Children of Adam! wear your beautiful apparel at every time and place of prayer: eat and drink: But waste not by excess, for Allah loveth not the wasters.


31. ลูหลานของอาดัมเอ๋ย! จงเอา (คือให้ถือปฏิบัติเป็นเนืองนิจ) เครื่องประดับกาย (หมายถึงการสวมเครื่องนุ่งห่มให้เรียบร้อยขณะไปมัสยิดทุก ๆ มัสยิด) ของพวกเจ้า ณ ทุกมัสยิดและจงกินและจงดื่ม และจงอย่าฟุ่มเฟือย แท้จริงพระองค์ไม่ชอบบรรดาผู้ที่ฟุ่มเฟือย




ท่านทั้งหลาย


การประหยัด คือสิ่งที่เราต้องมุ่งเน้นย้ำกับตนเองตลอดเวลา ทุกเมื่อเชื่อวัน แม้ว่าในวันนี้เราจะมีเงินเหลือเก็บ จำนวนมากมายก็ตาม แต่เราต้องพิจารณาตนเองถึงเรื่องความประหยัดด้วย นอกจากตัวเรา จะมุ่งเน้นย้ำเรื่องความประหยัดแล้ว เราต้องอบรมสั่งสอนและเน้นย้ำแก่บรรดาลูกๆ ของเราให้เห็นถึงความสำคัญของการประหยัดในเรื่องราวต่างๆ ด้วยเช่นกัน การปลูกฝังเน้นย้ำให้เด็กๆ ได้เรียนรู้และนำไปปฏิบัติเกี่ยวกับ ความประหยัด จึงเป็นเรื่องที่ผู้ปกครองทั้งหลาย จะต้องนำมาปรับใช้ภายในครอบครัวให้ชัดเจน บางครั้งเราอาจมองข้ามความสำคัญในเรื่องนี้ บางครั้งเราอาจตามใจเด็กๆ เหล่านี้มากเกินไปจนทำให้เขาละเลยเรื่องราวเหล่านี้ ในที่สุดแล้ว การตามใจของเรากลับเป็นการชี้นำหรือส่งเสริมให้เด็กๆ มองเห็นถึงการสุรุ่ยสุร่ายขนกลาย เป็นนิสัยที่ติดตัวไปในอนาคต หลายครอบครัวได้สร้างจิตสำนึกให้กับเด็กๆ มองเห็นความสำคัญและคุณค่าของการใช้จ่าย คุณค่าของเงินทองที่เราต้องอดออม เพื่อการใช้จ่ายในแต่ละกิจกรรมที่จะหมดไปเป็นค่าใช้จ่ายต่างๆ การเหลือเก็บ การอดออม เพื่อมีไว้ใช้ในอนาคต แต่ก็มีบ้างบางครอบครัวที่ละเลย ไม่ใส่ใจต่อเรื่องราวเหล่านี้ ทุกๆ การใช้จ่ายในการอำนวยความสะดวกของการใช้ชีวิต แม้กิจกรรมที่ง่ายๆ ก็ใช้เงินสนับสนุน เป็นการสร้างนิสัยการใช้ชีวิตที่ไม่ให้ความสำคัญต่อเป้าหมายของการประหยัดเลย มองเพียงการใช่จ่ายที่เพียงเพื่อการซื้อสิ่งอำนวยความสะดวกของการใช้ชีวิตของเราเท่านั้น หาใช่เป็นการย้ำเตือนให้เขาเหล่านั้นมองเห็นถึงคุณค่าและความสำคัญของการใช้ทรัพยากร และความประหยัดแต่อย่างใด


ท่านทั้งหลาย


ความเหน็ดเหนื่อย ที่จะหาปัจจัยเพื่อนำมาใช้ไปในแต่ละกิจกรรมของชีวิต เพื่อให้การดำเนินชีวิตความสุข เราจึงต้องมาพิจารณาถึงการดำเนินชีวิตในวันนี้ เพราะความเหน็ดเหนื่อยของผู้ปกครองในวันเปิดเทอม คือความเหน็ดเหนื่อยที่จะได้มาซึ่งความสุขของลูกๆ เด็กๆ ในปกครองของเรา ที่จะเดินทางกลับเข้าสู่ชั้นเรียนใหม่ด้วยความสุขไม่ขัดหรือฝ่าฝืนระเบียบปฏิบัติและกฎข้อบังคับของทางโรงเรียน รอยยิ้มที่สดใสของเด็กๆ ในวันไปโรงเรียน จะลบภาพความเห็ดเหนื่อยในใบหน้าของคนที่เป็นพ่อ เป็นแม่ หรือผู้ปกครอง ให้หมดสิ้นไป ความลำบากที่ได้แลกไปในการจัดหาอุปกรณ์การเรียนทั้งหมด ซึ่งเชื่อว่า หลังจากช่วงเวลาแห่งการเปิดเทอมผ่านพ้นไป บรรดาพ่อแม่หรือผู้ปกครองทั้งหลาย มีภารกิจในการชดใช้หนี้สินที่ได้ไปกู้ยืมเงินเขาเพื่อการนี้ ทั้งในรูปแบของการผ่อนชำระเป็นงวดๆ หรือการชดใช้เป็นอย่างอื่นๆ เพื่อปลดเปลื้องหนี้สินเหล่านี้ ซึ่งการดำเนินชีวิตเช่นนี้ มีให้เห็นเป็นประจำทุกๆ ช่วงเวลาแห่งการเปิดเทอม ของแต่ละครอบครัว แม้ว่าทางราชการจะดำเนินนโยบายการเรียนฟรี 15 ปีอย่างมีคุณภาพ ก็ตาม แต่อย่างไรก็ตามรายจ่ายอื่นๆ ก็จะมีตามมาด้วยเช่นกัน ทำอย่างไรที่เราจะลดภาพเหล่านี้ให้น้อยลงหรือหมดลงไป ซึ่งสิ่งหนึ่งที่จะสามารถทำให้เกิดขึ้นได้ ก็ด้วยการดำเนินชีวิตของเราที่เน้นถึง กรอบการดำเนินชีวิตของครอบครัวในเรื่องราวแห่งความประหยัดนั่นเอง ทำอย่างไรที่จะให้ตัวเราเองและทุกๆ คนในครอบครัวตระหนักถึงความประหยัด ความมัธยัสถ์ ที่ไม่ใช่ความตระหนี่ และไม่ใช่ความสุรุ่ยสุร่าย ในทุกๆ กิจกรรมแห่งการดำเนินชีวิตของเรา เราสามารถกำหนดกิจกรรม และเรื่องราวต่างๆ แห่งการดำเนินชีวิตในแต่ละเรื่องไว้ให้ชัดเจนและเน้นย้ำถึงความสำคัญ ตลอดจนความจำเป็นต่อการใช้งาน ความคุ้มค่าต่อการใช้งาน การรักษาสภาพในสิ่งของที่เราสรรหาซื้อมาใช้งานมากน้อยเพียงใด โดยเฉพาะเด็กๆ การปลูกฝังนิสัยจึงถือว่าเป็นสิ่งที่มีคุณค่า เพราะเด็กๆ ไม่เข้าใจ ชอบรบเร้าเพื่อให้ได้มาถึงสิ่งของและอุปกรณ์ที่ถูกใจ และเพลิดเพลินกับอุปกรณ์ใหม่ ทำอย่างไรที่เราจะปรับความคิดและให้เขามองเห็นหรือมุ่งมั่นใช้งานกับอุปกรณ์เก่าที่ยังมีคุณภาพ และยังสามารถใช้งานได้ ทำอย่างไร ที่เราจะปรับนิสัยของเขาเหล่านั้นให้ปลาบปลื้มหรือพึงพอใจในสิ่งที่มีอยู่ เพื่อที่เขาเหล่านั้นจะได้เห็นถึงคุณค่า ความประหยัดและความมัธยัสถ์ ซึ่งในที่สุดแล้วครอบครัวจะได้อยู่ในแนวทางแห่งความประหยัด ตามอัตภาพ รู้จักที่จะใช้จ่ายตามความจำเป็น ขอยกโองการจากอัลกุรอ่าน ซูเราะห์ ็็็


Al-Qur'an, 002.168 (Al-Baqara [The Cow]) ความว่า


002.168 يَا أَيُّهَا النَّاسُ كُلُوا مِمَّا فِي الأرْضِ حَلالا طَيِّبًا وَلا تَتَّبِعُوا خُطُوَاتِ الشَّيْطَانِ إِنَّهُ لَكُمْ عَدُوٌّ مُبِينٌ


002.168 O ye people! Eat of what is on earth, Lawful and good; and do not follow the footsteps of the evil one, for he is to you an avowed enemy.


168. มนุษย์เอ๋ย! จงบริโภคสิ่งอนุมัติที่ดี ๆ จากสิ่งที่อยู่ในแผ่นดิน และจงอย่าตามบรรดาก้าวเดินของชัยฏอน (อย่าปฏิบัติตามคำชักจูงและคำยั่วยุของมัน) แท้จริงมันคือศัตรูที่ชัดแจ้งของพวกเจ้า


ท่านทั้งหลาย


ผลตอบแทนในเรื่องของความประหยัด มีอยู่มากมาย แต่สิ่งที่เป็นเป้าหมายสูงสุดแล้ว ความประหยัดนั้น มีประโยชน์มหาศาล ทำให้เรารู้จักตนเองและการประมาณตนเอง รู้จักเพียงพอ และพึงพอใจในสิ่งที่มีอยู่ แม้ว่าสิ่งเหล่านั้นจะไม่ทำให้เราได้แบ่งบันความทันสมัยใหม่สุด แต่ความที่เรารู้จักประมาณตนเองทำให้เรานั้นทันสมัยอยู่เสมอไม่ตกรุ่นแต่ประการใด เพราะของใหม่สดเสมอในที่สุดแล้วเมื่อถึงระยะเวลาหนึ่งมันจะตกรุ่น ตกต่ำล้าสมัย แต่ความที่เรารู้จักประมาณตนพอใจในตนเอง นี่คือความทันสมัยอยู่เสมอ ไม่ต้องไปวิตกกังวลว่าจะไม่ทันใคร สิ่งเหล่านี้ คือแนวทางปฏิบัติของท่านร่อซูลุ้ลลอฮ์ (ซ.ล.) ที่ได้ปฏิบัติไว้เป็นแบบฉบับอันดีงาม โดยมุ่งหวังภาคผลแห่งการตอบแทนอันมากมายในวันแห่งการตัดสินของพระองค์อัลลอฮ์ (ซ.บ.) ดังโองการจาก อัลกุรอ่าน ซูเราะห์ Al-Qur'an, 006.120 (Al-Anaam [Cattle, Livestock]) ความว่า


006.120 وَذَرُوا ظَاهِرَ الإثْمِ وَبَاطِنَهُ إِنَّ الَّذِينَ يَكْسِبُونَ الإثْمَ سَيُجْزَوْنَ بِمَا كَانُوا يَقْتَرِفُونَ


006.120 Eschew all sin, open or secret: those who earn sin will get due recompense for their "earnings."


120. “และพวกเจ้าจงสละซึ่งบาปที่เปิดเผยและบาปที่ปกปิด (คือบาปที่กระทำโดยเปิดเผย และบาปที่กระทำโดยปกปิด) แท้จริงบรรดาผู้ที่ขวนขวายกระทำสิ่งที่เป็นบาปกันอยู่นั้น พวกเขาจะได้รับการตอบแทน ตามที่พวกเขากระทำกัน


ท่านทั้งหลาย


กิจการงานใดๆ ที่เราปฏิบัติ นั่นคือ สิ่งที่เราได้แสดงออกถึงสิทธิแห่งความเป็นเจ้าของผลงาน แม้กิจการนั้นๆ จะเป็นเรื่องราวน้อยนิด หรือยิ่งใหญ่มหาศาลสักเพียงใดก็ตาม ในการแสดงความเป็นเจ้าของผลงานนั้น ณ พระองค์แล้ว การบันทึกผลงานจากมลาอิกะห์ที่มีหน้าที่นั้น จะบันทึกกิจกรรมต่าง ที่เจ้าของผลงานกระทำอยู่ทั้งด้วยกาย วาจา และภายในจิตใจของเขา กิจกรรมใดที่เรากระทำ บางครั้งเรายังไม่เล็งเห็นภาคผลแห่งการกระทำนั้นๆ ต่อเมื่อ ผลลัพธ์ของการกระทำนั้น บรรลุผลที่มุ่งหวังไว้ ผู้เป็นเจ้าของผลงานต่างมุ่งมั่นแสดงตนเพื่อให้ได้รับเกียรติแห่งความภาคภูมิใจในภารกิจต่างๆ เหล่านั้น แต่กิจการที่เรามุ่งหวังผลตอบแทนจากพระองค์แล้ว เจ้าของผลงานพึงสำนึกอยู่เสมอว่า เราต้องจำเกรงต่อพระองค์มากที่สุด ผลลัพธ์ที่พระองค์พึงพอใจมากที่สุด คือ บรรดาเจ้าของผลงานที่มีความถ่อมตัวมากที่สุด หาใช่ผลงานที่เจ้าของผลงานโอ้อวดตนเองสำแดงพลังและความหยิ่งทะนงในสิ่งที่ตนเองกระทำอยู่นั้น ดังโองการจากอัลกุรอ่าน ซูเราะห์ Al-Qur'an, 002.264 (Al-Baqara [The Cow]) ความว่า


002.264 يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا لا تُبْطِلُوا صَدَقَاتِكُمْ بِالْمَنِّ وَالأذَى كَالَّذِي يُنْفِقُ مَالَهُ رِئَاءَ النَّاسِ وَلا يُؤْمِنُ بِاللَّهِ وَالْيَوْمِ الآخِرِ فَمَثَلُهُ كَمَثَلِ صَفْوَانٍ عَلَيْهِ تُرَابٌ فَأَصَابَهُ وَابِلٌ فَتَرَكَهُ صَلْدًا لا يَقْدِرُونَ عَلَى شَيْءٍ مِمَّا كَسَبُوا وَاللَّهُ لا يَهْدِي الْقَوْمَ الْكَافِرِينَ


002.264 O ye who believe! cancel not your charity by reminders of your generosity or by injury,- like those who spend their substance to be seen of men, but believe neither in Allah nor in the Last Day. They are in parable like a hard, barren rock, on which is a little soil: on it falls heavy rain, which leaves it (Just) a bare stone. They will be able to do nothing with aught they have earned. And Allah guideth not those who reject faith.


264. บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย! จงอย่าให้บรรดาทานของพวกเจ้าไร้ผล ด้วยการลำเลิก และการก่อความเดือดร้อน เช่นผู้ที่บริจาคทรัพย์ของเขา เพื่ออวดอ้างผู้คน และทั้งเขาก็ไม่ศรัทธาต่ออัลลอฮ์ และวันปรโลก ดังนั้นอุปมาเขาผู้นั้น ดังอุปมัยหินเกลี้ยงที่มีฝุ่นจับอยู่บนมัน แล้วมีฝนหนัก ประสบแก่มัน แล้วได้ทิ้งมันไว้ในสภาพเกลี้ยง (คือทำให้ฝุ่นที่จับอยู่บนหินนั้นปลาสนาการโดยสิ้น) พวกเขาไม่สามารถที่จะได้สิ่งหนึ่งสิ่งใดจากสิ่งที่ขวนขวายไว้ (ผุ้ที่บริจาคทรัพย์เพื่ออวดอ้างผู้คนนั้นเจขาจะไม่ได้รับการตอบแทนผลงานที่เขาได้กระทำไว้แต่อย่างใด เนื่องจากการอวดอ้างได้ทำลายมันโดยหมดสิ้น ดังเช่นฝุ่นที่จับอยู่บนหินเกลี้ยงที่ฝนได้ทำให้มันปลาสนาการไปหมด) และอัลลอฮ์นั้น จะไม่ทรงแนะนำแก่กลุ่มชนที่ปฏิเสธศรัทธา


ท่านทั้งหลาย


การประมาณตนเอง การรู้จักตนเอง เป็นคุณธรรม ที่หลายๆ ภาคส่วนละเลย หรือมองข้ามความสำคัญเหล่านี้ไป การที่เราไม่รู้จักตนเอง ไม่ประมาณตนเอง บางครั้งเราจึงติดนิสัยแห่งความโอ้อวด อวดดี ไม่ยำเกรงต่อใครๆ ดังนั้น ในวันนี้ คุณธรรมง่ายๆ ที่เราสามารถฝึกจิตใจตนเอง ฝึกการปฏิบัติและพัฒนาจิตภาวะนิสัยของเด็กๆ ในปกครองของเราให้รับรู้ถึงการประมาณตนเอง พึงพอใจในตนเอง รู้จักการประหยัด อดออม รู้การประมาณตนเอง นั่นคือ หนทางหนึ่งที่จะนำพาพวกเขาเหล่านั้นให้เดินทางเข้าสู่จุดมุ่งหมายแห่งความสุขที่ยั่งยืนตามแบบฉบับแห่งท่านศาสดา และทำให้การดำเนินชีวิตไปสูจุดมุ่งหมายแห่งความผาสุกสันติในอนาคต จึงขอฝากตนเองและท่านทั้งหลายให้พิจารณาถึงการสร้างให้เกิดความประหยัด ความมัธยัสถ์แห่งการดำเนินชีวิต ด้วยเหตุการณ์การเปิดเทอมที่เราทั้งหลายมีสีหน้าไม่ต่างกัน เป็นปัจจัยที่เอื้อให้เกิดแนวทางการปลูกฝังค่านิยมแห่งการประหยัดที่จะทำให้ลูกหลานของเราดำเนินชีวิตไปในทางตามแบบฉบับของท่านศาสดา หาไม่แล้ว หากการดำเนินชีวิตของเราเพียงเพื่อเอื้อให้เกิดการใช้ชีวิตที่หวังเพียงความสุขหวังเพียงความสบายด้วยปัจจัยที่มีอยู่นั้น ในที่สุดแล้วภาคผลที่จะนำพาเยาวชนให้ดำเนินชีวิตไปโดยที่ไม่รู้จักถึงคุณค่า ความสำคัญแห่งการประมาณตนเอง ในที่สุดแล้ว สิ่งต่างๆ อันเลวร้าย จะนำมาสู่การดำเนินชีวิตของเขาเหล่านั้น โดยที่วันนี้เรามองข้ามเลยไป ไม่สนใจใยดี สุดท้ายขอฝากอัลฮาดีส ความว่า


While we were with 'Utba bin Farqad at Adharbijan, there came 'Umar's letter indicating that Allah's Apostle had forbidden the use of silk except this much, then he pointed with his index and middle fingers. To our knowledge, by that he meant embroidery.


Narrated by: Aba Uthman An Nahdi Source : Sahih Al-Bukhari 7.718


ตัวชีวัดแห่งคุณค่าในการดำเนินชีวิตตามแนวทางแห่งท่านศาสดา ความน้อยนิด นั้นคือสิ่งที่ยิ่งใหญ่ หากเรารู้จักประมาณตนเอง และขอให้เราได้สร้างโอกาสของตนเองจากบทเรียนที่ผ่านมาในช่วงแห่งการเปิดภาคเรียน และเราทั้งหลายจะเป็นผู้ชนะในวันแห่งการตัดสินของพระองค์



إِنَّ اللَّهَ وَمَلائِكَتَهُ يُصَلُّونَ عَلَى النَّبِيِّ يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا صَلُّوا عَلَيْهِ وَسَلِّمُوا تَسْلِيمًا


رَبَّنَا آتِنَا فِي الدُّنْيَا حَسَنَةً وَفِي الآخِرَةِ حَسَنَةً وَقِنَا عَذَابَ النَّارِ


إِنَّ اللَّهَ يَأْمُرُ بِالْعَدْلِ وَالإحْسَانِ وَإِيتَاءِ ذِي الْقُرْبَى وَيَنْهَى عَنِ الْفَحْشَاءِ وَالْمُنْكَرِ وَالْبَغْيِ يَعِظُكُمْ لَعَلَّكُمْ تَذَكَّرُونَ


سُبْحَانَ رَبِّكَ رَبِّ الْعِزَّةِ عَمَّا يَصِفُونَ


وَسَلامٌ عَلَى الْمُرْسَلِينَ


وَالْحَمْدُ لِلَّهِ رَبِّ الْعَالَمِينَ


ว่าบิ้ลลาฮิเตาฟีก วั้ลฮิดายะห์


วัสสลาม


มูฮำหมัด สันประเสริฐ


อ้างอิง


อัลกุรอ่านฉบับภาษาไทย สมาคมนักเรียนเก่าอาหรับ ดำเนินการจัดพิมพ์โดยกระทรวงกิจการฮัจย์ แห่งราชอาณาจักรซาอุดิอาเบีย http://www.alquran-thai.com/ShowSurah.asp , www.DivineIslam.com


อัลฮาดีซ : Hadith of The Day V 1.0 Freeware by FaridAnasri avater@muslimonline.com www.beconvinced.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น