วันพฤหัสบดีที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2554

สัดส่วนที่เหมาะสมแห่งการดำเนินชีวิต

มิมบัรออนไลน์

คุตบะห์วันศุกร์ 16 ซอฟัร 1432 (วันศุกร์ที่ 21 มกราคม พ.. 2554)

สัดส่วนที่เหมาะสมแห่งการดำเนินชีวิต

الْحَمْدُ لِلَّهِ رَبِّ الْعَالَمِينَ

إِنْ أَحْسَنْتُمْ أَحْسَنْتُمْ لأنْفُسِكُمْ وَإِنْ أَسَأْتُمْ فَلَهَا فَإِذَا جَاءَ وَعْدُ الآخِرَةِ لِيَسُوءُوا وُجُوهَكُمْ وَلِيَدْخُلُوا الْمَسْجِدَ كَمَا دَخَلُوهُ أَوَّلَ مَرَّةٍ وَلِيُتَبِّرُوا مَا عَلَوْا تَتْبِيرًا

فَرِيقًا هَدَى وَفَرِيقًا حَقَّ عَلَيْهِمُ الضَّلالَةُ إِنَّهُمُ اتَّخَذُوا الشَّيَاطِينَ أَوْلِيَاءَ مِنْ دُونِ اللَّهِ وَيَحْسَبُونَ أَنَّهُمْ مُهْتَدُونَ

ท่านพี่น้องผู้ศรัทธาทั้งหลาย

ขอเตือนตนเองและท่านทั้งหลายตลอดจนครอบครัวของพวกเราจงตระหนักถึงดำเนินชีวิตในกรอบแห่งแนวทาง และจงยึดมั่นปฏิบัติภารกิจใดๆ ด้วยจิตใจที่แน่วแน่ มุ่งมั่น และมีความยำเกรงต่ออัลลอฮ์ (ซ.บ.) พระผู้ทรงอภิบาลแห่งสากลโลก ซึ่งไม่มีใครหรือสิ่งใดจะมาทัดเทียมกับพระองค์ แม้ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น จะมีพลวัตรของมันไปตามสถานการณ์ใดๆ ขอให้เราจงตรวจสอบตนเอง ครอบครัว ทั้งแนวทางปฏิบัติและแนวทางแห่งศรัทธานั้นอยู่ในร่องรอยและหนทางอันเที่ยงตรงแห่งอัลอิสลามหรือไม่ และมีมากน้อยเพียงใด ขอให้เราทั้งหลายจงหมั่นตรวจสอบ และใช้วิจารณญาณของเราว่า สิ่งใดบ้างที่เรายังมีความบกพร่อง สิ่งใดบ้างที่เรายังเลินเล่อ มีการปฏิบัติใดบ้างที่เรากระทำโดยไม่มุ่งเป้าหมายเพื่อพระองค์ แต่มุ่งกระทำโดยมีเจตนาอื่นที่มุ่งหวังผลประโยชน์เพียงเฉพาะหน้า เพราะการประพฤติปฏิบัติใดๆ ของเรา ย่อมประจักษ์อย่างแจ้งชัด ในวันแห่งการตัดสินจากพระองค์ โดยแน่แท้แล้ว เราทั้งหลาย ย่อมถูกสอบสวนจากพระองค์ และจะเพียงไม่กี่คนเท่านั้นที่รอดพ้นการลงโทษจากพระองค์ มีคนจำนวนมากที่ต้องได้รับทุกข์ทรมานหลังการตัดสินจากพระองค์ มีอีกบางส่วนที่รอคอยผลงานที่ดีของตนภายหลังจากการถูกทรมานจากพระองค์ ขอให้เราทั้งหลายจงตระหนักในเรื่องการปฏิบัติของเราให้มาก หมั่นตรวจสอบตนเองและคนในครอบครัว ขอให้แต่ละครอบครัวจงมีความสุขในการใช้ชีวิตบนแนวทางแห่งอิสลาม

ท่านทั้งหลาย

มีคนจำนวนมากที่กำลังสนุกสนานกับการดำเนินชีวิตอย่างเสรีแบบไม่มีขอบเขต ไม่มีหลักเกณฑ์ของการดำเนินชีวิตไม่พยายามที่จะกำหนดแนวทางชีวิตของตน หรือดิ้นรนต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งปัจจัยยังชีพ ภายใต้สภาวะทางเศรษฐกิจที่นับวันค่าครองชีพจะมีแนวโน้มทวีเพิ่มพูนสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจากภาวะ การกักตุน การเก็งกำไร ตามกลไกของราคาที่บรรดามือที่มองไม่เห็นต่างเป็นตัวกำหนด ผ่านตลาดทุน ตลาดเงิน และนโยบายการแทรกแซงจากลไกแห่งรัฐ ซึ่งหากเรามองถึงการดำเนินชีวิตอยู่ในกรอบแคบๆ ผ่านกิจกรรมของการดำเนินชีวิตในแต่ละวัน สามารถจำแนกกิจกรรมหลักออกได้เป็น การพักผ่อน การทำงาน เวลาว่าง และเวลาแห่งการแสวงหาความรู้ ตลอดจนเวลาที่เราจะปลีกตนเองออกจากกิจการทั้งหลายเพื่อแบ่งปันไว้สำหรับเรื่องความเชื่อถือศรัทธาทางศาสนาตามแนวความเชื่อของแต่ละบุคคล ซึ่งการประเมินคุณค่าแห่งการใช้ชีวิตดังกล่าวนั้น การจัดสัดส่วนที่ชัดเจนและมีความยืดหยุ่น อย่างเหมาะสม จะช่วยให้เราสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุข โดยที่เราไม่ขาดตกบกพร่องในกิจการทั้งหลายของเรา ดังนั้น การจัดเตรียมและแบ่งเวลาสำหรับการดำเนินกิจกรรมทั้งหลายให้มีความเหมาะสม จะช่วยให้เราไม่พลาดการดำเนินกิจกรรมใดๆ และไม่ต้องแก้ตัวเวลาไม่สามารถดำเนินกิจกรรมใดๆ เพียงเพราะว่าเราไม่มีเวลาสำหรับการปฏิบัติกิจการใดๆ ดังนั้นในการถกเถียงถึงสัดส่วนที่เหมาะสมทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นสัดส่วนของการกำหนดราคาขายสินค้าใดๆ ที่ต้องกำหนดหรือควบคุมราคาไว้ หรือสัดส่วนของจำนวนผู้แทนราษฎรก็ตามที จำเป็นอย่างยิ่งที่เราทั้งหลายจะต้องไม่หลงใหลไปตามกระแสแห่งความขัดแย้งที่มองประโยชน์เฉพาะหน้าเพียงเพื่อให้กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งได้ประโยชน์ หากแต่การกำหนดวิธีคิดต้องมองถึงประโยชน์ในภาพรวมในระดับมหภาค ดังนั้นมาตรการในการกำหนดราคาสินค้าของผู้ผลิต จะต้องพิจารณาถึงต้นทุนที่แท้จริงของสินค้านั้นๆ การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม การลงทุนในปัจจัยการผลิตและแรงงานที่ใช้ในกระบวนการผลิตตามขั้นตอนต่างๆ จะต้องสะท้อนสภาพความเป็นจริงของสินค้านั้นๆ หากว่าต้นทุนการผลิตหมดไปกับการโฆษณาเพื่อสร้างภาพลักษณ์ของสินค้าแล้วผลักภาระค่าใช้จ่ายหรือภาษีให้กับผู้บริโภค หรือเป็นการแทรกแซงทางการตลาดโดยจัดเก็บภาษีจากสินค้าชนิดหนึ่งในลักษณะของการขูดรีดเพื่อไปพยุงสินค้าในอีกชนิดหนึ่ง เป็นการเอารัดเอาเปรียบผู้บริโภค ซึ่งการกำหนดกลไกสินค้าจากภาครัฐย่อมส่งผลกระทบกับผู้บริโภคในภาพรวมแทบทั้งสิ้น ดังนั้นมาตรการต่างๆของทางรัฐบาลในการกำหนดสัดส่วนที่เหมาะสมเพื่อลดต้นทุนการผลิตเพื่อผดุงไว้ซึ่งความสุขของประชาชนจึงเป็นเรื่องเร่งด่วนที่ควรกระทำ ทั้งนี้ไม่ควรเป็นเรื่องความเสแสร้งทางการเมืองที่มุ่งกระทำเพียงเพื่อหวังผลประโยชน์แย่งชิงฐานเสียงทางการเมืองจากการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้ เพียงเพื่อจะได้จัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่หลังเลือกตั้งจากการสร้างฐานทางการเมืองด้วยนโยบายประชานิยม ที่เรียกชื่อให้ไพเราะเสนาะหู หรือจะด้วยท่าทีของการจัดสัดส่วนของผู้แทนราษฎรในปัจจุบัน หากคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของประชาชนแล้ว ต้องมองถึงกรอบแห่งอำนาจหน้าที่ของผู้แทนราษฎร และประโยชน์ที่ประชาชนพึงได้รับจากการทำหน้าที่ของผู้แทนราษฎรในรัฐสภา หากพิจารณาถึงที่มาของความเป็นผู้แทนราษฎรแล้ว รัฐธรรมนูญกำหนดให้ผู้แทนราษฎรต้องสังกัดพรรคการเมืองตามกฎหมายว่าด้วยพรรคการเมือง ซึ่งกำหนดให้แต่ละพรรคการเมืองต้องมีความเข้มแข้ง มีสาขาพรรคและสมาชิกพรรคที่เป็นตัวแทนในแต่ละภาคส่วนของประเทศตามภูมิภาคต่างๆ ดังนั้น ความเป็นผู้แทนราษฎรจึงไม่ได้เจาะจงว่าจะมาจากเฉพาะเพียงครอบครัวใดครอบครัวหนึ่ง หรือเกิดจากการสร้างฐานทางการเมือง ด้วยอิทธิพลทางเศรษฐกิจ หรือด้วยอามิสสินจ้าง หากแต่ความเป็นผู้แทนราษฎร จะสะท้อนออกมาถึงหน้าที่ผู้แทนราษฎรที่จะคอยเป็นผู้พิทักษ์ผลประโยชน์ของพลเมือง และการติดตามตรวจสอบการทำหน้าที่ของรัฐบาล และการออกกฎหมายเพื่อใช้บังคับประชาชนทั้งประเทศ ซึ่งเป็นหน้าที่สำคัญของผู้แทนราษฎร ส่วนการให้บริการประชาชนในด้านอื่นๆ เป็นหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและภาคราชการไม่ใช่หน้าที่หลักของสมาชิกผู้แทนราษฎร ดังนั้น การเลือกตั้งผู้แทนราษฎร หากต้องการทำให้การเมืองเข้มแข็ง ผู้แทนราษฎรควรเป็นสมาชิกแบบสัดส่วนตามเจตจำนงแห่งความเข้มแข็งของพรรคการเมืองที่ว่า “พรรคเลือกคน ประชาชนเลือกพรรค” หากเรายึดมั่นเพียงว่าผู้แทนราษฎรเป็นตัวแทนระดับภูมิภาคแล้ว การซื้อสิทธิขายเสียงจะไม่หมดไป และการยุบพรรคการเมืองก็จะมีไปชั่วกาลนาน เพียงเพราะนักการเมืองมีสันดานที่ไม่เคยเปลี่ยนเยี่ยงนี้ เพียงเพื่อให้ได้ประโยชน์จากการบริโภคงบประมาณแผ่นดินกันเป็นตระกูล จากรุ่นพ่อแม่ปู่ย่าตายายจนมาถึงรุ่นลูกรุ่นหลาน ชั่วกาลนาน ดังนั้นการกำหนดสัดส่วนที่เหมาะสมของผู้แทนราษฎรจึงเป็นสิ่งที่หลายภาคส่วนจะนำมาพินิจพิจารณาว่าสุดท้ายแล้วประชาชนจะได้อะไร การให้บริการประชาชน การขจัดทุกข์ของประชาชนจะเกิดขึ้นได้อย่างไรหากการจัดสัดส่วนทางการเมืองไม่มีดุลยภาค เพราะสุดท้ายแล้วรัฐบาลที่จะเกิดขึ้นในอนาคต คงต้องแก้ปัญหาของตนเองจากพรรคร่วมรัฐบาลที่มักจะปีนเกลียวขัดแข้งขัดขากันอยู่ตลอดเวลาด้วยปัจจัยต่างๆ ที่สะท้อนออกมาในรูปของการใช้งบประมาณแบบอีลุ่ยฉุยแฉก ขณะที่ประชาชนต้องก้มหน้ารับกรรมกับสิ่งที่ตนเองเห็นประโยชน์ทุกครั้งที่มีการเลือกตั้ง เพราะอามิสสินจ้างที่รับมาจานักการเมืองที่ทุ่มเทซื้อเสียงเพียงจะเข้าไปทำหน้าที่ในสภาอย่างน่าละอาย แม้ว่านักการเมืองที่ดีมีอุดมการณ์ที่ทำงานอย่างจริงจัง เป็นปากเป็นเสียงสำหรับประชาชนก็มีมาก แต่ข่าวสารตามหน้าหนังสือพิมพ์ที่เรามักจะพบเห็นเป็นประจำ ก็หนีไม่พ้นการสร้างการต่อรอง การสร้างราคาค่างวดในการเป็นฮีโร่เพียงเพื่อข่มขู่กันทางการเมืองในที่สุดแล้วก็กลับไปสู่วงจรอุบาทว์ทางการเมือง ที่นำไปสู่ วัฎจักรแห่งยากจนของประชาชน นั่นเป็นเพราะสังคมไม่เข้มแข็ง เรายอมรับในความพิการของกลไกโดยที่เราไม่จัดการหรือจัดสัดส่วนอย่างเหมาะสมในการจัดกลไกในอำนาจอธิปไตย แล้วอย่างนี้สิ่งที่แต่ละฝ่ายต่างถกเถียงกันเพื่อเอาชนะกันอยู่ในเวลานี้นั้น แระชาชทั้งหลายได้อะไรบ้างจากการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นบทเรียนที่เราต้องมาขบคิดถึงหลักในการดำเนินชีวิตของแต่ละคนในสังคมแล้ว ทุกๆ คนในสังคมย่อมแสวงหาซึ่งความสุขแห่งตนแทบทั้งสิ้น แต่ทุกคนในสังคมไม่มองถึงสัดส่วนที่มุ่งไปสู่การสร้างสมดุลแห่งชีวิต การดำเนินชีวิตในขอบเขตที่ล้อมกรอบไปด้วยข้อจำกัดต่างๆ อย่างรอบด้านเพื่อที่เราจะได้ไม่ออกนอกลู่นอกทาง หรืออกห่างไกลไปจากแนวทางที่เหมาะสม แนวทางที่เที่ยงตรง

ท่านทั้งหลาย

การถกเถียงเพื่อสร้างกติกาที่เหมาะสมเป็นธรรมกับทุกๆ ฝ่าย ก็เช่นเดียวกับการตรวจสอบตนเอง การจัดลำดับความสำคัญของดารดำเนินชีวิตเพื่อสร้างดุลยภาพแห่งการดำเนินชีวิต เป็นดุลยภาพที่มีขีดจำกัดในแต่ละด้าน ที่เราต้องหวนคิดคำนึงและกำหนดหลักเกณฑ์แห่งการจัดลำดับสัดส่วนที่เหมาะสม ในทุกๆ กิจกรรมของการดำเนินชีวิต เรามีเวลาที่จำกัดในแต่ละวัน ที่เราจะใช้ชีวิตอย่างมีความสุข แต่เราก็มีกิจกรรมต่างๆ มากมายให้เราต้องใช้สัดส่วนของเวลาในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ เหล่านั้น หากเราใช้เวลาในกิจกรรมหนึ่งมากเกินไป แน่นอนว่าเราต้องลดทอนกิจกรรมอื่นๆ หรือไม่ดำเนินกิจกรรมหนึ่งกิจกรรมใด เพราะต้องทุ่มเทในกิจกรรมนั้นๆ จนหมดเวลาหรือคาบเกี่ยวเวลาของกิจกรรมอื่นๆ ไป ดังนั้น เราจึงควรวางแผนในการดำเนินชีวิตของเรา โดยพิจารณาถึงกิจกรรมสำคัญในแต่ละวันนั้น มีกิจกรรมไหนบ้างที่เราต้องให้ความสำคัญ แน่นอนว่าทุกๆ คนต้องตอบตรงกันว่า มีกิจกรรมบางกิจกรรมที่เราต้องกระทำเป็นประจำ เช่น การกิน การดื่ม การนอนหลับพักผ่อน การดูแลสุขภาพและสุขนิสัย ซึ่งเป็นกิจกรรมหลักที่เป็นกิจกรรมที่สดคล้องกับการแสดงออกทางกิริยา กิจกรรมที่เกี่ยวกับหน้าที่การงานความรับผิดชอบต่างๆ กิจกรรมของครอบครัวที่เราต้องดูแลเอาใจใส่ต่อทุกๆ คนในครอบครัว รวมถึงกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เราต้องหมั่นดูแลและรักษาทรัพย์สินให้มันงอกเงยตามที่ควรจะเป็นและด้วยน้ำพักน้ำแรงของเรามากกว่าการนอนรอคอยที่มันจะงอกเงยมาจากดอกเบี้ย ตลอดจนการจัดการเกี่ยวกับหนี้สินต่างๆที่เกิดขึ้น กิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องจากการทำงานอดิเรกในยามว่าง และกิจกรรมที่สำคัญอย่างยิ่งที่เราไม่ควรพลาด นั้นคือกิจกรรมทางจิตใจ การปฏิบัติศาสนกิจที่หลายๆ คนมองข้ามเลยไป บางคนไม่คิดถึง บางคนเฉื่อยชา บางคนเมินเฉย บางคนพลัดวันประกันพรุ่ง แต่สำหรับบางคนก็ไม่พลาดพร้อมปฏิบัติด้วยความมั่นใจเพราะเขาตระหนักดีว่าการกระทำของเขานั้นเขายำเกรงต่อพระเจ้าของเขา แต่สำหรับบางคนกลับมีแนวคิดเพียงเพื่อที่จะให้คนอื่นๆ มองว่าเขามีความยำเกรงต่อพระเจ้า แต่ในใจจริงของเขานั้น กลับไม่มีความยำเกรงต่อพระองค์เลยแม้แต่น้อย ขอให้พิจารณาโองการจากซู Al-Qur'an, 017.007 (Al-Isra [Isra, The Night Journey, Children of Israel]) ความว่า

017.007 إِنْ أَحْسَنْتُمْ أَحْسَنْتُمْ لأنْفُسِكُمْ وَإِنْ أَسَأْتُمْ فَلَهَا فَإِذَا جَاءَ وَعْدُ الآخِرَةِ لِيَسُوءُوا وُجُوهَكُمْ وَلِيَدْخُلُوا الْمَسْجِدَ كَمَا دَخَلُوهُ أَوَّلَ مَرَّةٍ وَلِيُتَبِّرُوا مَا عَلَوْا تَتْبِيرًا

017.007 If ye did well, ye did well for yourselves; if ye did evil, (ye did it) against yourselves. So when the second of the warnings came to pass, (We permitted your enemies) to disfigure your faces, and to enter your Temple as they had entered it before, and to visit with destruction all that fell into their power.

7. หากพวกเจ้าทำความดี พวกเจ้าก็ทำเพื่อตัวของเจ้าเอง และหากว่าพวกเจ้าทำความชั่วก็เพื่อตัวเอง(หมายถึงการทำความดีก็มิได้ให้คุณแก่พระองค์ และการทำชั่วก็มิได้ให้โทษแก่พระองค์เช่นกัน ทั้งคุณและโทษนั้นกลับไปหาตัวของพวกท่านเอง) ดังนั้น เมื่อสัญญาอีกข้อหนึ่งได้มาถึง(*การก่อการเสียหายครั้งที่สองคือ การฆ่านะบียะหยา)เพื่อพวกเขาก่อความอับอายขายหน้าแก่พวกเจ้า(อัลลอฮ ตะอาลา ทรงให้พวกมะญูซีย์จากเปอร์เซียเข้าไปครอบครอง ด้วยการฆ่าและทำลายล้างอย่างสิ้นเชิง)และเพื่อเข้าไปในมัสยิดเช่นที่พวกเขาได้เข้าไปแล้วในครั้งแรก และเพื่อทำลายสิ่งที่พวกเขาได้ชัยชนะอย่างหมดสิ้น

จะเห็นว่า ทุกๆ การกระทำของเรานั้น มันเป็นภาคผลแห่งการกระทำของเราทั้งสิ้น สำหรับพระองค์นั้นภาคผลที่เรากระทำย่อมสนองตอบด้วยความยำเกรงต่อพระองค์ ดังนั้น ทุกๆ วันเราใช้ริสกีของพระองค์ในการดำเนินชีวิต การใช้ปัจจัยยังชีพต่างๆ รวมไปถึงความสามารถที่เรามีอยู่ทั้งชีวิต ร่างกาย ทรัพย์สินของเรา มาจากพระองค์แทบทั้งสิ้น ดังนั้น ขอให้เราจัดลำดับความสำคัญ จัดสัดส่วนในการดำเนินชีวิตให้เหมาะสมในแต่ละกิจกรรมของเราจะช่วยให้เราสร้างคุณค่าและประโยชน์ในการดำเนินชีวิตของเราในแต่ละวัน การสร้างดุลยภาพในชีวิต คือปัจจัยสำคัญที่นำพาให้เรากลับไปยังพระองค์ในสภาพของผูที่ยำเกรงต่อพระองค์ เราไม่หลงทางตามบรรดาผู้ที่ถูกล่อลวง เพียงเพราะเราหลงใหลได้ปลื้มไปกับสิ่งเย้ายวนจิตใจจากบรรดาชัยฏอนและผู้ที่ถูกสาบแช่งเพียงแค่ความสุขชั่วครู่ยามเท่านั้น แต่แท้จริงแล้ว มันคือทุกข์เวทนาสาหัสในวันแห่งการตอบแทน ขอหยิบยกโอ งการจากซูเราะห์ Al-Qur'an, 007.030 (Al-Araf [The Heights]) ความว่า

007.030 فَرِيقًا هَدَى وَفَرِيقًا حَقَّ عَلَيْهِمُ الضَّلالَةُ إِنَّهُمُ اتَّخَذُوا الشَّيَاطِينَ أَوْلِيَاءَ مِنْ دُونِ اللَّهِ وَيَحْسَبُونَ أَنَّهُمْ مُهْتَدُونَ

007.030 Some He hath guided: Others have (by their choice) deserved the loss of their way; in that they took the evil ones, in preference to Allah, for their friends and protectors, and think that they receive guidance.

30. พวกหนึ่งพระองค์ทรงแนะนำให้ (หมายถึงพวกนั้นรับคำแนะนำแห่งนะบีของอัลลอฮ์) และอีกพวกหนึ่งสมควรแก่พวกเขาแล้วซึ่งการหลงผิด (เพราะพวกเขาดื้อรั้นไม่ยอมศรัทธาต่อนะบีของพระองค์) แท้จริงพวกเขาได้ยึดเอาบรรดาชัยฏอนเป็นผู้คุ้มครอง (ด้วยเหตุนี้จึงสมควรแล้วที่อยู่ในความหลงผิด เพราะชัยฏอนไม่ใช่ผู้คุ้มครอง หากแต่เป็นผู้ชักนำให้หลงผิด เมื่อพวกเขาเอาชัยฏอนเป็นผู้คุ้มครอง พวกเขาก็ย่อมไปสู่ทางที่หลงผิดโดยไม่มีปัญหา) อื่นจากอัลลอฮ์ และพวกเขาคิดว่าพวกเขาคือผู้ที่ได้รับคำแนะนำ

ท่านทั้งหลาย

การจัดสัดส่วนที่เหมาะสมของการดำเนินชีวิตในกรอบแห่งอิสลาม นั้น มิใช่ว่าเราเพียงแสวงหาความสุขในวันนี้ แต่มุสลิมผู้หวังในความเมตตาและความจำเริญแห่งพระเจ้าของเขาแล้ว ย่อมรอคอยชัยชนะในวันแห่งการตัดสิน ดังนั้น ชั่วชีวิตของมุสลิม การแสวงหาความสุขที่แท้จริงนั้น เราต้องจำกัดขอบเขตของตนเองไว้อย่างจำกัด (Limit) หาใช่การดำเนินชีวิตเป็นไม่มีข้อจำกัด (Unlimited) และข้อจำกัดแห่งการดำเนินชีวิตของมุสลิม นั้นคือ การจัดลำดับความสำคัญแห่งการดำเนินกิจกรรมในแต่ละวัน โดยเราต้องไม่ละทิ้งเวลาที่เรามอบหมายเพื่อพระองค์ด้วยความยำเกรง การให้ความสำคัญต่อกิจกรรมที่แสดงออกถึงการเคารพอิบาดัรต่อพระองค์ ตามรุก่นอิสลามและรุก่นอิม่านที่บ่งบอกถึงความศรัทธาอย่างแท้จริงต่อพระองค์ การดำเนินกิจกรรมที่แสดงออกถึงความเคารพในความแตกต่างของเพื่อบ้าน มิตรภาพที่มีให้กัน การสแดงออกอย่างมีขอบเขตและหลักเกณฑ์ที่มุ่งเน้นภราดรภาพแห่งอสลาม เช่นนี้ เป็นบททดสอบที่สำคัญของมวลมุสลิมทั้งหลาย ซึ่งสัดส่วนที่เหมาะสมนี้ คิอคุณค่าที่สำคัญของการดำเนินชีวิตในแนวทางที่เที่ยงตรงต่อพระองค์ด้วยความยำเกรง และเป็นสิ่งที่เรามอบหมายด้วยพระองค์ผู้ทรงยิ่งใหญ่ ผู้ทรงประทานปัจจัยยังชีพสำหรับเราทั้งหลาย ขอให้พิจารณาอัลฮาดีส ความว่า

A bedouin came to the Prophet and said, "O Allah's Apostle! Who is the best of mankind!" The Prophet said, "A man who strives for Allah's Cause with his life and property, and also a man who lives (all alone) in a mountain path among the mountain paths to worship his Lord and save the people from his evil." Narrated by : Abu Said Al Khudri Source : Sahih Bukhri

ซึ่งโดยแน่แท้แล้ว มนุษย์ คือผู้ที่รับความช่วยเหลือจากพระองค์ มนุษย์คือตัวแทนที่พระองค์ทรงมอบภารกิจสำคัญเพื่อที่เราจะแสดงออกด้วยความยำเกรงต่อพระองค์ ความช่วยเหลือจากพระองค์นั้น ไม่มีสิ่งอื่นใดที่จะมาทดแทนนอกจากการแสดงออกในการกระทำในสิ่งที่พระองค์ทรงใช้และละเว้นในสิ่งที่พระองค์ทรงห้าม ด้วยความยำเกรง เสมือนหนึ่งเราอยู่ใกล้ชิดพระองค์ เราไม่ได้อยู่โดยลำพัง หากแต่เราใช้ปัจจัยยังชีพที่มาจากพระองค์ เช่นนี้แล้วขอให้เราทั้งหลายจงแสดงออกและใช้สัดส่วนของการดำเนินชีวิตในแต่ละวันของเราในแต่ละกิจกรรมนั้น จำแนกเวลาที่เหมาะสมและมีเวลาเพียงพอสำหรับการแสดงออกต่อพระองค์ด้วยความยำเกรงต่อพระองค์ในการอิบาดัรเพื่อพระองค์ เพราะสุดท้ายแล้ว ตัวเราเองนั่นแหละจะได้ประโยชน์ทั้งสิ้น ซึ่งการจัดลำดับความสำคัญ การกำหนดเวลาอย่างชัดเจนในแต่ละกิจกรรมประจำวันนั้น เราเองคือผู้ที่ได้ประโยชน์อย่างเต็มภาคภูมิ หาใช่ว่าประโยชน์นั้นจะตกแก่ใครอื่นใดทั้งสิ้น ดังนั้นขอให้เราพิจารณาการกระทำของเราในแต่ละวันอย่าได้บกพร่องในเรื่องราวที่สำคัญนี้

إِنَّ اللَّهَ وَمَلائِكَتَهُ يُصَلُّونَ عَلَى النَّبِيِّ يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا صَلُّوا عَلَيْهِ وَسَلِّمُوا تَسْلِيمًا

رَبَّنَا آتِنَا فِي الدُّنْيَا حَسَنَةً وَفِي الآخِرَةِ حَسَنَةً وَقِنَا عَذَابَ النَّارِ

إِنَّ اللَّهَ يَأْمُرُ بِالْعَدْلِ وَالإحْسَانِ وَإِيتَاءِ ذِي الْقُرْبَى وَيَنْهَى عَنِ الْفَحْشَاءِ وَالْمُنْكَرِ وَالْبَغْيِ يَعِظُكُمْ لَعَلَّكُمْ تَذَكَّرُونَ

سُبْحَانَ رَبِّكَ رَبِّ الْعِزَّةِ عَمَّا يَصِفُونَ

وَسَلامٌ عَلَى الْمُرْسَلِينَ

وَالْحَمْدُ لِلَّهِ رَبِّ الْعَالَمِينَ

ว่าบิ้ลลาฮิเตาฟีก วั้ลฮิดายะห์

วัสสลาม

มูฮำหมัด สันประเสริฐ

อ้างอิง

อัลกุรอ่านฉบับภาษาไทย สมาคมนักเรียนเก่าอาหรับ ดำเนินการจัดพิมพ์โดยกระทรวงกิจการฮัจย์ แห่งราชอาณาจักรซาอุดิอาเบีย http://www.alquran-thai.com/

อัลฮาดีซ : Hadith of The Day V 1.0 Freeware by FaridAnasri avater@muslimonline.com www.beconvinced.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น