วันพฤหัสบดีที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2554

ครู คือ ผู้สร้าง ผู้พัฒนา และผู้ให้

มิมบัรออนไลน์

คุตบะห์วันศุกร์ 9 ซอฟัร 1432 (วันศุกร์ที่ 14 มกราคม พ.. 2554)

ครู คือ ผู้สร้าง ผู้พัฒนา และผู้ให้

الْحَمْدُ لِلَّهِ رَبِّ الْعَالَمِينَ

وَقَالَ الَّذِينَ لا يَعْلَمُونَ لَوْلا يُكَلِّمُنَا اللَّهُ أَوْ تَأْتِينَا آيَةٌ كَذَلِكَ قَالَ الَّذِينَ مِنْ قَبْلِهِمْ مِثْلَ قَوْلِهِمْ تَشَابَهَتْ قُلُوبُهُمْ قَدْ بَيَّنَّا الآيَاتِ لِقَوْمٍ يُوقِنُونَ

إِنَّا أَرْسَلْنَاكَ بِالْحَقِّ بَشِيرًا وَنَذِيرًا وَلا تُسْأَلُ عَنْ أَصْحَابِ الْجَحِيمِ

ท่านพี่น้องผู้ศรัทธาทั้งหลาย

ขอย้ำเตือนตนเองและท่านทั้งหลายในที่นี้ จงดำเนินชีวิตอยู่ในแนวทางและหนทางแห่งความเมตตาของพระองค์ จงพิจารณาตนเองถึงการกระทำทั้งการกระทำที่พระองค์ทรงใช้และทรงห้าม เพื่อที่เรามุ่งมั่นโดยมีจุดมุ่งหมายในแนวทางที่เรามุ่งตรงต่อพระองค์ เพราะนั่นคือ คุณค่าและการแสดงออกถึงจุดมุ่งหมายแห่งแนวปฏิบัติที่มุ่งตรงต่อพระองค์ ในการปฏิบัติตนในหนทางของศาสนา นั้น เราจึงควรตรวจสอบตนเองโดยตลอดอย่างต่อเนื่อง โดยมุ่งย้ำเตือนตนเองถึงเป้าหมายแห่งการกระทำเพื่อพระองค์ การแสวงหาความรู้ เพื่อปรับปรุงตนเอง ย้ำเตือนตนเองให้เห็นได้ว่า การปฏิบัติตนของเรามีสิ่งใดบ้างที่บกพร่อง คลาดเคลื่อน ผิดพลาดบ้าง โดยมุ่งมั่นศึกษาทั้งจากอัลกุรอ่านและแนวปฏิบัติของท่านศาสดา เพราะในบางเรื่องการปฏิบัติของเราอาจผิดพลาดโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ปฏิบัติในเรื่องราวต่างๆ โดยเข้าใจว่าสิ่งที่เรากระทำอยู่นั้น ได้กระทำกันมาอย่างต่อเนื่องนับเนื่องจากบรรพบุรุษโดยเข้าใจว่าเป็นเรื่องที่ดีงาม ถูกต้อง แต่เมื่อศึกษาแล้ว สิ่งต่างๆ เหล่านั้น เป็นการเข้าใจที่คลาดเคลื่อน ในแนวทางและเป้าหมาย เป็นการเข้าใจผิดที่คิดว่าสิ่งที่เราได้กระทำไปนั้น เป็นเรื่องราวที่ดีงาม เป็นประเพณีปฏิบัติที่สืบต่อเนื่องกันมาเป็นเวลานาน แต่หากเราพบว่าทั้งหมดที่เราปฏิบัติมานั้น เป็นการเข้าใจผิดพลาดคลาดเคลื่อนเราจึงควรหยุดปฏิบัติในเรื่องราวดังกล่าวนั้น พร้อมๆ ไปกับการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการปฏิบัติในแนวทางที่ถูกต้อง เพราะนั่นคือแนวทางปฏิบัติที่มีความถูกต้องแม่นยำ เที่ยงตรง แน่นอน มากที่สุด ดังนั้น การแสวงหาความรู้ การให้ความสำคัญกับการศึกษา เพื่อพัฒนาตนเอง ปรับปรุงจิตใจ และดำรงการปฏิบัติทางจิตใจโดยมุ่งมั่นถึงเป้าหมายที่แท้จริงแห่งการปฏิบัติ ดังนั้น บทบาทหน้าที่ของ “ครู” ผู้ที่มีความรู้ มีอิทธิพลทางความคิด ซึ่งมีบทบาทในการชี้นำสังคม ในการสร้าง พัฒนา และให้กับผู้คนในสังคม ในการแสวงหาคำตอบในการดำเนินชีวิต ตลอดจนการให้แง่คิดเพื่อการปรับปรุงตนเอง เพื่อเสริมสร้างการพัฒนาสังคม ขณะเดียวกัน สภาพการดำรงชีวิตของบรรดา ครู ทั้งหลาย เป็นสิ่งที่สังคมมองข้ามความสำคัญ ทั้งๆ ที่ในช่วงชีวิตหนึ่งของทุกๆ คน เราได้รับการปลูกฝังการดำเนินชีวิตจาก ครู ผู้รู้ ซึ่งเป็นผู้สร้าง ผู้พัฒนาและผู้ให้ กับเราตลอดช่วงเวลาในขณะที่เรายังเป็นเด็กๆ และเยาวชน ในการชี้นำชีวิต การวางอนาคต และการแสวงหาความรู้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด ครู เป็นผู้วางพื้นฐานในสรรพวิทยาการต่างๆ ด้วยความหนักแน่น สร้างให้เกิดความชำนาญ

ท่านทั้งหลาย

การแสวงหาความรู้ เป็นหน้าที่ของทุกๆ คน จะเห็นได้ว่า ตลอดชีวิตของเรา เราสามารถแสวงหาความรู้ตั้งแต่เราอยู่ในเปลจนถึงหลุมฝังศพ ซึ่งเราจำแนกช่วงเวลาแห่งการแสวงหาความรู้ตามความสามารถ ความสนใจ และความเอาใจใส่ ตามแต่ละท่านจะดำเนินชีวิตเช่นไร ทั้งนี้ การใช้เวลาของแต่ละคนมีคุณภาพที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับว่าแต่ละท่านจะดำเนินชีวิตไปอย่างไร หลายๆ คนอาจง่วนอยู่กับกิจกรรมในการดำเนินชีวิตกับการแสวงหาทรัพย์สิน ทรัพย์สมบัติต่างๆ แต่ในบางท่านอาจให้ความสำคัญไปกับเรื่องราวไร้สาระ แต่บางท่านอาจให้เวลากับการดำเนินชีวิตกับครอบครัว แต่สำหรับผู้ที่มีบทบาทในการสอนชี้แนะ ให้ความรู้กับคนในสังคมแล้ว การใช้เวลาของเขาจะหมดไปกับการแสวงหาความรู้ การให้ความสำคัญกับการศึกษา และการให้ความรู้กับคนต่างๆ เพื่อให้คนทั้งหลายได้บังเกิดความรู้ ความเข้าใจ และนำไปปฏิบัติ นอกจากนี้แล้วในการดำเนินชีวิตของ ครู จะต้องเป็นตัวอย่างเป็นแบบฉบับที่ดีที่ส่งเสริมให้คนทั้งหลายหันมาเอาเยี่ยงอย่าง ซึ่ง ครู จึงต้องวางตนเอง ให้มีความเหมาะสม เป็นตัวอย่าง ในการแสดงออกทั้งกาย วาจา และจิตใจ ให้อยู่บนความตั้งมั่นแห่งการดำรงตนที่ดี เพื่อให้คนทั้งหลายเกิดความศรัทธา ไว้วางใจ และเป็นศูนย์รวมแห่งจิตใจในชุมชน ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า หนทางแห่งการดำเนินชีวิตของ ครู จึงถูกกำหนดให้เป็นผู้ที่ทุกๆ คนในชุมชนเกิดความเกรงใจ รองลงมาจากผู้นำชุมชน หรือท่านอิหม่ามประจำมัสยิด ด้วยเหตุนี้ ครู จึงเป็นผู้ที่มีบทบาทสูงสุดในการพัฒนาเยาวชนของชุมชนให้อยู่ในแนวทางและแบบอย่างของท่านศาสดาผ่านแนวปฏิบัติของครู เพื่อให้เด็กๆ ได้ใช้ชีวิต และมุ่งปฏิบัติตามแนวทางและแบบฉบับของท่านศาสดาด้วยความยำเกรงต่อพระองค์

ท่านทั้งหลาย

ครู ที่เป็นแบบฉบับในการดำเนินชีวิตของมวลมุสลิมทั้งหลาย คือท่านศาสดามูฮัมมัด (ซ.ล.) ซึ่งการศึกษาชีวประวัติของท่านที่เราทั้งหลายได้เรียนรู้แล้ว ย่อมประจักษ์ถึงการดำเนินชีวิตของท่าน การขัดเกลาด้วยการเดินทางติดตามลุงคืออ้าบูตอลิบเพื่อการค้าขายยังประเทศต่างๆ ได้เห็นถึงการดำเนินชีวิต คุณภาพชีวิต สังคม ประเพณี อารยธรรมต่างๆ ได้ศึกษาเรียนรู้ถึงการดำรงชีพในพื้นที่ต่างๆ การดิ้นรนต่อสู้ เพื่อให้ได้มาซึ่งปัจจัยยังชีพ และการต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งความสุขสบายต่างๆ ในปัจจัยยังชีพ ตลอดจนได้เห็นถึงความมืดมนต์อันเนื่องมาจากความไม่รู้ ในอารยธรรมของประเทศต่างๆ แม้ว่าท่านศาสดาจะไม่มีความรู้ในเรื่องการอ่านและการเขียน แต่สิ่งที่ท่านได้เห็นถึงวัฒนธรรมประเพณีในสถานที่ต่างๆ แล้ว แง่คิดที่ได้รับ เป็นสิ่งหนึ่งที่ท่านต้องแสวงหาคำตอบในการดำเนินชีวิต ตลอดจนคุณค่าที่ได้รับมาจากการเรียนรู้ของท่าน เป็นสิ่งที่ท่านต้องการคำตอบเพื่อกระตุ้นให้ชนทั้งหลายสามารถดำเนินชีวิตในแนวทางที่ถูกต้องและตอบสนองผู้ทรงสร้างมนุษย์ ให้ใกล้ชิดกับพระองค์ด้วยความยำเกรงและยึดมั่นในพระองค์ให้มากที่สุด แม้ว่าในภายหลังจากที่ท่านศาสดาได้รับวะยูอ์จากพระองค์ในการดำรงตำแหน่งศาสนทูตของพระองค์ ท่านเป็นผู้ที่พระองค์ได้เลือกสรรแล้ว แต่สิ่งที่ท่านได้เห็นจากประสบการณ์นั้น คือการแสวงหาถึงปัจจัยที่จะทำให้สังคมในขณะนั้น เป็นสังคมที่แสวงหาความสันติสุข เป็นสังคมที่มุ่งการปฏิบัติในกิจกรรมที่มุ่งตรงสู่ความยำเกรงต่อพระองค์ ดังนั้น วัตรปฏิบัติของท่านสาสดาจึงเป็นแนวทางปฏิบัติและเป็นแบบฉบับที่มุ่งมั่นและเป็นแบบฉบับที่เป็นแนวทางของ ครู ที่ยิ่งใหญ่ ที่จะมุ่งมั่นพัฒนาสังคม จากสังคมแห่งความไม่รู้ให้กลายเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้เพื่อมุ่งสู่การพัฒนา จากโองการแห่งซูเราะห์ Al-Qur'an, 002.118-119 (Al-Baqara [The Cow]) ความว่า

002.118 وَقَالَ الَّذِينَ لا يَعْلَمُونَ لَوْلا يُكَلِّمُنَا اللَّهُ أَوْ تَأْتِينَا آيَةٌ كَذَلِكَ قَالَ الَّذِينَ مِنْ قَبْلِهِمْ مِثْلَ قَوْلِهِمْ تَشَابَهَتْ قُلُوبُهُمْ قَدْ بَيَّنَّا الآيَاتِ لِقَوْمٍ يُوقِنُونَ

002.118 Say those without knowledge: "Why speaketh not Allah unto us? or why cometh not unto us a Sign?" So said the people before them words of similar import. Their hearts are alike. We have indeed made clear the Signs unto any people who hold firmly to Faith (in their hearts).

[2.118] และบรรดา (พวกมุชริกีน) ผู้ไม่รู้อะไรเลยได้กล่าวว่า หากอัลลอฮ์ไม่เจรจากับเรา (โดยตรง) หรือไม่มีสัญลักษณ์ใดๆ มาสู่พวกเรา (เราก็ไม่ขอเชื่อถืออย่างแน่นอน)

002.119 إِنَّا أَرْسَلْنَاكَ بِالْحَقِّ بَشِيرًا وَنَذِيرًا وَلا تُسْأَلُ عَنْ أَصْحَابِ الْجَحِيمِ

002.119 Verily We have sent thee in truth as a bearer of glad tidings and a warner: But of thee no question shall be asked of the Companions of the Blazing Fire.

[2.119] เราได้ส่งเจ้า (มุฮัมมัด) พร้อมด้วยสัจธรรม และได้ทำให้เจ้าเป็นผู้แจ้งข่าวดี และเป็นผู้ตักเตือน และเจ้าจะไม่ต้องเป็นผู้รับผิดชอบ ต่อบรรดาชาวนรก

จะเห็นว่า ท่านศาสดา เป็นแบบอย่างเป็นแนวทาง และเป็นผู้ที่แสดงความปรารถนาดีให้กับบรรดามวลมุสลิมทั้งหลาย จะได้แสดงออกถึงความยำเกรงต่อพระองค์ เกรงกลัวต่อการลงโทษจากพระองค์ แสวงหาความโปรดปราณและความเมตตาจากพระองค์ ในเรื่องราวที่พระองค์ทรงใช้และในกิจกรรมที่พระองค์ทรงห้าม โดยที่มวลมนุษย์ทั้งหลายต่างละเลย หลงลืม หรือมองข้ามความสำคัญแห่งการปฏิบัติที่มุ่งเน้นการปฏิบัติในกิจกรรมทั้งหลายสำหรับพระองค์ โดยที่มนุษย์ได้รับปัจจัยยังชีพจากการสร้างของพระองค์ ขณะที่พระองค์ทรงเน้นถึงการปฏิบัติที่บ่งบอกถึงการมุ่งมั่นศรัทธาต่อพระองค์ด้วยความยำเกรงต่อพระองค์ หาใช่การกระทำที่มุ่งเน้นสิ่งอื่นใดจากพระองค์ นั่นคือ แนวปฏิบัติของครู ใช้แนวทางตามแบบฉบับของทานศาสดา การปฏิบัติตนตลอดจนการดำเนินชีวิต ของครู จึงอยู่ในสายตาของคนทั้งหลายในสังคม

ท่านทั้งหลาย

การดิ้นรนต่อสู้เพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตในหนทางแห่งผู้ศรัทธาและมีความยำเกรงต่อพระองค์ แม้ว่าเราจะต้องต่อสู้กับความยุ่งยากภายในจิตใจและความยุ่งเหยิงในสังคม การเดินไปในแนวทางอันเที่ยงตรง บางครั้ง เราต้องต่อสู้กับความทุกข์ทรมานอันแสนสาหัส การต่อสู้กับความอยากใคร่ในจิตใจ ในการล่อลวงของบรรดาญิบลีสทั้งหลาย นั้น อาจเป็นเรื่องที่ยุ่งยากมากมายกับบรรดาชนทั้งหลาย แต่สำหรับ ครู แล้ว บทบาทของครูที่ดี ซึ่งจะเป็นผู้ชี้นำสังคม หาใช่ว่าเมื่อเป็นครูแล้ว ก็ไม่ได้เรียนรู้สิ่งใดเพิ่มเติมเอาเสียเลย ซึ่งแบบฉบับของท่านศาสดานั้น การแสวงหาความรู้มิใช่หยุดนิ่งเพียงเรื่องใดเรื่องหนึ่ง แต่ ครู จะต้องเรียนรู้อย่างลึกซึ้ง ให้รู้รอบและรู้ลึกในวิทยาการทั่วไป และวิชาเฉพาะสาขาในระดับเชี่ยวชาญหรือผู้ทรงคุณวุฒิ หากมีผู้ใดที่ต้องการคำตอบในเชิงวิทยาการที่ครูมีความชำนาญ ต้องมีคำตอบที่ถูกต้อง แม่นยำ เที่ยงตรง ในคำตอบและคำอธิบายที่มีความละเอียดถูกต้องให้กับเขา อีกทั้งวัตรปฏิบัติของครู ต้องให้ความเชื่อมั่นต่อคำตอบที่เขาได้ตอบไปด้วย ซึ่งแนวทางนี้เป็นแนวทางซึ่งให้ความสำคัญต่อบทบาท ความเป็นอยู่ และตำแหน่งอันมีเกียรติยิ่งของครู ซึ่งผู้ที่เป็นศิษย์จำเป็นอย่างยิ่งที่จะให้ความสำคัญกับครู แต่มิใช่ว่าจะยกตำแหน่งของครูให้ยิ่งใหญ่เกินไปจากตำแหน่งของท่านศาสดา เพราะในหลายชุมชนแล้ว เรายกย่องหรือให้เกียรติต่อครูในแนวทางที่สูงยิ่งเกินกว่าความเป็นจริง เรายกย่องจนเกินเลยและเลยเถิด ถึงกับว่า เชื่อครูท่านนี้มากกว่าตำราที่ครูนำมาสอน แล้วทำให้เราไปเหยียบย่ำครูท่านอื่นๆ โดยเราไม่ได้หันกลับมามองกันที่ความถูกต้องของเนื้อหา วิชาการที่ถูกต้องแม่นยำ ซึ่ง ทิฐิและความโอ้อวดของครูในบางท่านและบางเรื่องราว กลับเป็นจุดบอดและจุดอ่อนที่เรามองข้ามความสำคัญของการแสวงหาความถูกต้องในเนื้อหา การที่เรามองและให้ความสำคัญในเชิงเลยเถิดดังกล่าว จึงเป็นอันตรายของสังคมที่เรากำลังล้าหลังและกลายเป้นความแตกต่างและความแตกแยก โดยที่ ครู เป็นส่วนหนึ่งของความแตกต่างดังกล่าวนั้น ครูที่ดีมิใช่ครูที่ยิ่งใหญ่ที่ถูกยกย่องสรรเสริญจากชนกลุ่มหนึ่ง แต่ถูกรังเกียจเดียดฉันท์จากอีกกลุ่มหนึ่ง ครูที่ดีต้องให้ความรู้ที่ถูกต้องแม่นยำและเป็นความรู้ในเชิงการพัฒนาการ และสร้างให้เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้ที่เป็นสังคมที่อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข มิใช้สร้างให้เกิดความแตกแยกในภาคส่วนต่างๆ ของสังคม ครูที่ดีต้องมีอัธยาศัยที่มุ่งเน้นถึงประโยชน์สาธารณะ โดยที่ไม่เน้นเพียงประโยชน์ของตนเองหรือประโยชน์ของกลุ่มที่สนับสนุนตนเฉกเช่นเดียวกับนักการเมืองที่เน้นเพียงกองเชียร์ของตนเพียงเพื่อตนจะได้รับประโยชน์แห่งการแสวงหาความสุขบนความแตกแยกเพียงแค่แถลงถึงเพียงความจริงในด้านใดด้านหนึ่งที่ถูกใจแรงสนับสนุนของตน

ท่านทั้งหลาย

ครูจึงต้องสนับสนุนและเสริมสร้างวิถีปฏิบัติในการดำเนินชีวิตตามแบบฉบับแห่งการปฏิบัติของท่านศาสดา และแสวงหาหนทางที่ถูกต้องสำหรับเยาวชนในอนาคตของเรา ซึ่งการเสริมสร้างเยาวชนมุสลิมรุ่นใหม่มิใช่เพียงแค่การเรียนรู้วิชาการศาสนาเบื้องต้นเท่านั้น หากแต่การให้ความสำคัญต่อการปฏิบัติตนที่จะติดตัวเขาเหล่านั้นต่อเนื่องไปตลอดชีวิตของเขาอย่างถูกต้อง เป็นนิสัยอันถาวรของเด็กๆ เหล่านั้น หาใช่เพียงแค่การขัดเกลาเขาเหล่านั้นในช่วงที่กำลังเรียนรู้ในยามเยาว์วัยเท่านั้น บทบาทของครู ต้องเป็นที่ปรึกษาให้กับเขา นอกเหนือจากพ่อแม่ผู้ปกครอง ที่จะคอยช่วยเหลือและเอาใจใส่ในยามที่เขามีปัญหา เช่นในการดำเนินชีวิตในช่วงวัยรุ่น หรือในยามที่เขาจะเริ่มต้นชีวิตครอบครัว เพราะเราอาจมองเพียงว่าเป็นหน้าที่และบทบาทของพ่อแม่ผู้ปกครองในแต่ละบ้านที่จะให้ความสำคัญเฉกเช่นบ้านใครบ้านมันเท่านั้น แต่ทุกๆ บ้าน ควรให้ความสำคัญกับบทบาทของครูที่จะคอยเป็นที่ปรึกษาให้กับสังคม และทุกๆ บ้านในสังคมอย่ามองเพียงแค่ครูเป็นเพียงผู้นำในพิธีกรรมทางสาสนาและสอนเด็กๆ เพียงเท่านั้น หากแต่ ครูเองแม้จะเหน็ดเหนื่อยกับการดำเนินชีวิตตามสภาพเศรษฐกิจแล้วยังต้องให้ความสำคัญกับการแสวงหาความรู้และการวางแบบแผนการดำเนินชีวิตของตน และทุกคนในชุมชนจะต้องสนับสนุนและส่งเสริมครูให้สามารถดำรงตนและมีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างเพียงพอตามอัตภาพในสังคมและเป็นที่เคารพนับถือของทุกคนในครอบครัว รวมถึงการเป็นเสาหลักของชุมชนเพื่อที่ทุกๆ ในชุมชนนั้นมีความยำเกรงในความรู้ หาใช่เพียงการยำเกรงในอำนาจแห่งทรัพย์สิน และปัจจัยอื่นๆ ซึ่งการอยู่รอดของสังคมมิใช่เพียงการอยู่รอดในเชิงเศรษฐกิจเพียงเท่านั้น หากสังคมไม่มีความรู้ ไม่มีแบบอย่างการดำเนินชีวิตเฉกเช่นการดำเนินชีวิตของท่านศาสดา สังคมนั้นย่อมไปไม่รอด จะมีแต่ความแยกแยก เย้ยหยัน และไม่มีแนวทางที่เที่ยงตรงในการดำเนินชีวิต และในที่สุดแล้ว ทุกคนในสังคมจะ
ฉกฉวยแย่งชิงและแสวงหาเพียงความสุขของตน หาใช่แสวงหาเพื่อสร้างให้เกิดความสุขของทุกคนในชุมชน แม้ว่าทุกๆ คนในสังคมมุ่งส่งเสริมกันสร้างมัสยิดให้มีขนาดใหญ่เพื่อที่จะรองรับทุกๆ คนในชุมชน แต่ถ้ามัสยิดนั้นๆ ปราศจากผู้รู้ ครูที่มีอิทธิพลทางจิตใจ ในความรู้และแบบอย่างแล้วที่สุด มัสยิดนั้นอาจไร้ค่า ณ พระองค์ เพราะไม่มีใครในชุมชนนั้นจะมุ่งตรงต่อพระองค์ เพราะทุกๆ คนในชุมชนนั้นต่างมุ่งแสวงหาความยิ่งใหญ่ในทรัพย์สินมากกว่าสร้างให้เกิดความภูมิใจในการปฏิบัติตนของทุกๆ คนในแนวทางแห่งศาสนาของพระองค์ โดยมุ่งเน้นการปฏิบัติของครูอย่างถูกต้องแม่นยำในแนวทางแห่งอัลอิสลาม เพื่อให้ครูเป็นผู้จุดประกายที่สำคัญของชุมชนในการเป็นผู้สร้าง ผู้ให้ และผู้พัฒนาที่ทรงอิทธิพลในการสร้างความสามารถของชุมชนให้เกิดการพัฒนาที่ต่อเนื่องของทุกๆ ส่วนในชุมชน โดยที่ครูไม่ได้มุ่งหวังเพียงการได้รับประโยชน์เฉพาะตนเท่านั้น แต่ครูต้องมองถึงปนระโยชน์สูงสุดของชุมชน สุดท้ายนี้ ขอได้โปรดพินิจพิเคราะห์อัลฮาดีสต่อไปนี้ ความว่า

A man came to Allah's Apostle and said, "Instruct me as to such a deed as equals Jihad (in reward)." He replied, "I do not find such a deed." Then he added, "Can you, while the Muslim fighter is in the battlefield, enter your mosque to perform prayers without cease and fast and never break your fast?" The man said, "But who can do that?" Abu Huraira added, "The mujahid (i.e. Muslim fighter) is rewarded even for the footsteps of his horse while it wanders about (for grazing) tied in a long rope."

Narrated by : Abu Huraira Source: Sahih Al-Bukhari 4.44

แม้ว่าในทุกวันนี้ การต่อสู้ดินรนในหลายๆ ด้านจะมุ่งมั่นเพื่อให้ได้รับชัยชนะในแต่ละด้านก็ตาม แต่การต่อสู้ดิ้นรนเพื่อให้ได้รับชัยชนะในจิตใจของตนเพื่อให้สามารถครอบครองพื้นที่แห่งความใกล้ชิดกับพระองค์แล้ว นั่นคือการต่อสู้ที่ยิ่งใหญ่ ดุจเช่นการต่อสู้กับการรบกวนในสิ่งที่เรากำลังถูกรบเร้าในจิตใจขณะที่มีเสียงอาซานเรียกร้องให้เดินทางไปสู่การละหมาดเพื่อพระองค์ นั่นคือแบบฉบับที่เรากำลังน้อมรับการถูกทดสอบจากพระองค์ เป็นการทดสอบที่มุ่งเน้นการดำรงตนในหนทางแห่งการใช้ชีวิตประจำวันของเรา โดยที่ศูนย์รวมทางจิตใจของเราหาใช่เพียงสถานที่ที่จะรวมศูนย์ในแต่ละชุมชนเท่านั้น แต่เราควรมีศูนย์รวมที่เป็นบุคคลที่สามารถกำหนดวัตรปฏิบัติและเป็นที่ร่วมมือร่วมใจของทุกๆ คนในชุมชน ซึ่ง เป็นบทบาทที่ดีของครูที่จะทำหน้าที่ดังกล่าว ซึ่งเป็นหน้าที่สำคัญหาใช่เพียงการกระทำเพียงเพื่อประโยชน์ในเชิงอำนาจทางการเมืองและผลประโยชน์ของตนเองเท่านั้น แต่ครู ต้องชี้นำความถูกต้อง แม่นยำ มีความน่าเชื่อถือและแสวงหาความรู้ที่ถูกต้องตรงหลักการตามแนวทางแห่งอัลกุรอ่านและแบบฉบับในการปฏิบัติของทุกๆ คนในสังคม ร่วมกันอย่างมีความสุข หาใช่การที่เราจะปล่อยปละละเลยให้สังคมของเราไม่มีการพัฒนาและขาดความต่อเนื่องในการเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ที่จะมุ่งมั่นไปสู่การเป็นสังคมที่อยู่ร่วมกันโดยทุกๆ คนรักในชุมชน และให้คุณค่าและประโยชน์สูงสุดแห่งสันติสุข ซึ่งทุกๆ คนมีความสุขในการอยู่ร่วมกันอย่างสันติภาพ

إِنَّ اللَّهَ وَمَلائِكَتَهُ يُصَلُّونَ عَلَى النَّبِيِّ يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا صَلُّوا عَلَيْهِ وَسَلِّمُوا تَسْلِيمًا

رَبَّنَا آتِنَا فِي الدُّنْيَا حَسَنَةً وَفِي الآخِرَةِ حَسَنَةً وَقِنَا عَذَابَ النَّارِ

إِنَّ اللَّهَ يَأْمُرُ بِالْعَدْلِ وَالإحْسَانِ وَإِيتَاءِ ذِي الْقُرْبَى وَيَنْهَى عَنِ الْفَحْشَاءِ وَالْمُنْكَرِ وَالْبَغْيِ يَعِظُكُمْ لَعَلَّكُمْ تَذَكَّرُونَ

سُبْحَانَ رَبِّكَ رَبِّ الْعِزَّةِ عَمَّا يَصِفُونَ

وَسَلامٌ عَلَى الْمُرْسَلِينَ

وَالْحَمْدُ لِلَّهِ رَبِّ الْعَالَمِينَ

ว่าบิ้ลลาฮิเตาฟีก วั้ลฮิดายะห์

วัสสลาม

มูฮำหมัด สันประเสริฐ

อ้างอิง

อัลกุรอ่านฉบับภาษาไทย สมาคมนักเรียนเก่าอาหรับ ดำเนินการจัดพิมพ์โดยกระทรวงกิจการฮัจย์ แห่งราชอาณาจักรซาอุดิอาเบีย http://www.alquran-thai.com/

อัลฮาดีซ : Hadith of The Day V 1.0 Freeware by FaridAnasri avater@muslimonline.com www.beconvinced.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น