วันพุธที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2555

ชีวิตใหม่ ของเยาวชน การตักตวง ความรู้ คุณค่าแห่งคุณธรรม

มิมบัรออนไลน์
คุตบะห์วันศุกร์ 19 ซอฟัร 1433 (วันศุกร์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2555)
ชีวิตใหม่ ของเยาวชน การตักตวง ความรู้ คุณค่าแห่งคุณธรรม

الْحَمْدُ لِلَّهِ رَبِّ الْعَالَمِينَ
هُوَ الَّذِي أَرْسَلَ رَسُولَهُ بِالْهُدَى وَدِينِ الْحَقِّ لِيُظْهِرَهُ عَلَى الدِّينِ كُلِّهِ وَكَفَى بِاللَّهِ شَهِيدًا
الَّذِينَ يَأْكُلُونَ الرِّبَا لا يَقُومُونَ إِلا كَمَا يَقُومُ الَّذِي يَتَخَبَّطُهُ الشَّيْطَانُ مِنَ الْمَسِّ ذَلِكَ بِأَنَّهُمْ قَالُوا إِنَّمَا الْبَيْعُ مِثْلُ الرِّبَا وَأَحَلَّ اللَّهُ الْبَيْعَ وَحَرَّمَ الرِّبَا فَمَنْ جَاءَهُ مَوْعِظَةٌ مِنْ رَبِّهِ فَانْتَهَى فَلَهُ مَا سَلَفَ وَأَمْرُهُ إِلَى اللَّهِ وَمَنْ عَادَ فَأُولَئِكَ أَصْحَابُ النَّارِ هُمْ فِيهَا خَالِدُونَ
يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا اتَّقُوا اللَّهَ وَذَرُوا مَا بَقِيَ مِنَ الرِّبَا إِنْ كُنْتُمْ مُؤْمِنِينَ
فَإِنْ لَمْ تَفْعَلُوا فَأْذَنُوا بِحَرْبٍ مِنَ اللَّهِ وَرَسُولِهِ وَإِنْ تُبْتُمْ فَلَكُمْ رُءُوسُ أَمْوَالِكُمْ لا تَظْلِمُونَ وَلا تُظْلَمُونَ

ท่านพี่น้องผู้ศรัทธาทั้งหลาย
พิจารณาปฏิทินฮิจเราะห์ศักราช จะเห็นว่า เดือนซอฟัร ได้ก้าวย่างเข้ามาจนถึงช่วงกลางเดือนแล้ว ขณะเดียวกัน ช่วงเวลาแห่งการเฉลิมฉลองปีใหม่ของสากลก็ได้ผ่านเลยมาหลายวัน โดยเฉพาะในช่วงสัปดาห์ที่สองเช่นนี้ มีวันสำคัญวันหนึ่ง นั่นคือ “วันเด็ก” เป็นวันสำคัญของเยาวชน คนรุ่นใหม่ ที่ต้องเจริญเติบโตต่อไป เป็นกำลังสำคัญของสังคม หากเราย้อนกลับไปพิจารณาถึงช่วงแห่งการก้าวย่างผ่านพ้นการก้าวเข้าสู่ศักราชใหม่ ท่วงทำนองของการก้าวย่างดังกล่าว เป็นการก้าวย่างที่น่าสนใจต่อความเปลี่ยนแปลง ช่วงเวลาดังกล่าวเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของการดำเนินชีวิต หากเปรียบเทียบความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวกับการเจริญเติบโตของเยาวชนแล้ว เป็นเรื่องที่น่าวิตกกังวลและห่วงใยต่อพวกเขา ความเปลี่ยนแปลงใดๆ อันอาจเกิดขึ้นและสิ่งที่จะนำมาสู่ความเปลี่ยนแปลงของชีวิต บทเรียนต่างๆ ที่เกิดขึ้นในอดีตจะเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตในอนาคตสืบต่อไป จึงขอเตือนตนเองและท่านทั้งหลาย ณ ที่นี้ จงยำเกรงต่ออัลลอฮ์ (ซ.บ.) ขอบคุณในพระมหากรุณาและความเมตตาของพระองค์ ปฏิบัติตามแนวทางใช้และห้ามของพระองค์ ดำเนินชีวิตตามแบบฉบับของท่านศาสดา ซึ่งเป็นแนวทางและแบบฉบับอันเป็นแบบแผนนั้น คือรากเหง้าแห่งความดำรงคงอยู่ของมวลมนุษยชาติตราบจนชีวิตของเราจะจบสิ้น และรอคอยผลแห่งการตอบแทนจากพระองค์ในวันแห่งการพิพากษา และเรานั้นรอคอยด้วยความหวังและความตั้งใจในภารกิจของเราจะได้รับผลตอบแทนอย่างคุ้มค่ากับการรอคอย ความหอมหวานและริ้วรอยแห่งความเปรมปรีดิ์ ล้วนแล้วเป็นผลอันสืบเนื่องมาจากการกระทำของเราแทบทั้งสิ้น รางวัลแห่งความปลอบใจ จะได้สำหรับผู้ศรัทธา

ท่านทั้งหลาย
ช่วงเวลาที่ผ่านพ้นไป เราทั้งหลายต่างได้บทเรียนแห่งการดำเนินชีวิตไปต่างๆ ตามประสบการณ์ของแต่ละท่าน ทั้งในเรื่องราวของอุทกภัย หรือบทเรียนจากเพื่อนบ้าน สิ่งเหล่านั้น คือการทดสอบจากพระองค์ เป็นการทดสอบที่มีเป้าหมายที่หลากหลาย และมีบทเรียนของแต่ละเหตุการณ์ เป็นสิ่งที่กระตุ้นเตือนเราทั้งหลายให้หันกลับมาดูแลตนเอง ดูแลครอบครัวของเรา แต่ละบทเรียนที่ผ่านมา นั้น มันขัดเกลาจิตใจของเราในเรื่องราวใดๆ บ้าง เราได้ปรับเปลี่ยนตนเอง หรือใช้บทเรียนดังกล่าวนั้นมาเป็นบทเรียนแห่งชีวิตของเราได้มากน้อยเพียงใด เวลาที่ผ่านพ้น สำหรับคนที่สูงอายุ ดูเหมือนว่าเวลาช่างเป็นช่วงเวลาที่ผ่านไปเร็วมาก แตกต่างจากคนป่วยที่เวลาที่ผ่านพ้นไปช่างเนิ่นนานอะไรเช่นนั้น ต่างจากเด็กๆ ที่กำลังเจริญเติบโตเก็บเกี่ยวประสบการณ์ต่างๆ จะมองว่าเวลาดังกล่าวเป็นช่วงเวลาแห่งความสนุกสนานสำราญ ทั้งๆ ที่เวลาดังกล่าวเราทุกคนใช้มันโดยเท่าเทียมกัน แต่ละคนมีเวลาเท่าเทียมกัน ขึ้นอยู่กับว่า ใครมีความสามารถที่จะบริหารเวลาได้อย่างมีประสิทธิภาพ และใช้เวลาได้อย่างคุ้มค่าและส่งผลตอบแทนได้มากกว่ากัน ดังนั้น เวลาที่ผ่านไป จึงเป็นบทเรียนชีวิตของแต่ละคนที่ส่งผลต่อชีวิตในอนาคตได้ บ้างว่า ผลงานในอดีตเป็นตัวชี้วัดผลงานในปัจจุบันได้อย่างไร และเรามีเป้าหมายในอนาคตที่จะดำเนินชีวิตไปอย่างไร เช่นเดียวกัน เด็กๆ ถือเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่เราต้องฟูมฟักพัฒนาพวกเขาเหล่านั้น ให้เป็นผู้ใหญ่ที่ดีต่อไปในอนาคต วันนี้สิ่งที่เราป้อนให้กับเขา กับผลลัพธ์ หรือผลสัมฤทธิ์ที่เราพึงจะได้รับจากเด็กๆ เหล่านั้น เป็นผลงานที่ผู้ใหญ่จะภูมิใจมากน้อยเพียงใด ผลสัมฤทธิ์เหล่านั้น ย่อมเป็นประจักษ์พยานที่เด่นชัดได้ว่า ผู้ใหญ่ฝึกฝนอบรมขัดเกลาเด็กๆ เหล่านั้น ได้ตรงแนวทางหรือเป็นไปตามกรอบและหนทางที่สอดคล้องกับการดำเนินชีวิตในสังคมตามแนวทางคำสอนจรรยา บนแนวทางของผู้เป็นมุสลิมที่ดีหรือไม่ บางครั้งสิ่งที่ผู้ใหญ่หยิบยื่นป้อนข้อมูลให้กับเด็กโดยไม่ตั้งใจ กลับทำให้เด็กๆ เหล่านั้นเก็บเกี่ยวและนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน แม้เป็นสิ่งที่ผู้ใหญ่ไม่ได้เฉลียวใจเลยว่า สิ่งเหล่านั้นเป็นสิ่งที่เป็นกิจวัตรประจำวัน จึงมองข้ามหรือละเลยไม่ได้กลั่นกรองหรือตรวจสอบก่อน บางเรื่องอาจทำให้หน่วยความจำของเด็กๆ รับเอาสิ่งต่างๆ เหล่านั้น เข้ามา และรับสิ่งเหล่านั้นไปใช้ในชีวิตของเขา โดยไม่ได้ตรึกตรองเสียก่อน ดังนั้น ผู้ใหญ่พึงต้องระมัดระวังและต้องมีสติย้ำเตือนตนเอง ในการให้ข้อมูลใดๆ กับเด็กๆ เหล่านั้น
ท่านทั้งหลาย
วันเด็กแห่งชาติ แม้ว่าในทางสากลจะได้ถูกกำหนดเอาไว้อย่างเด่นชัดแล้ว แต่สำหรับชุมชนมุสลิมโดยทั่วไปแล้ว ทุกๆ วัน คือวันเด็ก เราต้องให้ความสำคัญกับเด็กๆ ในแต่ละครอบครัว พ่อแม่ ผู้ปกครอง ต้องย้อนพิจารณาตนเองอย่างรอบครอบให้ได้ว่าวันนี้เราทำตัวอย่างที่ดีสำหรับเขาเหล่านั้นแล้วหรือยัง เพราะทุกสิ่งที่ผู้ใหญ่กระทำ เด็กๆ จะจดจำไว้ทำตามในวันข้างหน้า เช่นเดียวกัน หากผู้ใหญ่ในวันนี้ หมกหมุ่นอยู่กับเรื่องราวใดๆ แล้ว เด็กๆ เหล่านั้น จะซึมซับรับความคิดเหล่านั้นเอาไว้ และจะแสดงออกมาในภายหน้าโดยที่เราอาจคาดไม่ถึง ดังนั้น เราจึงต้องย้ำเตือนบรรดาผู้ใหญ่ในวันนี้ พึงสังวรว่า ท่านดำเนินชีวิตในกรอบและแนวทางอย่างไรบ้าง ท่านละเมิดต่อผู้อื่น หรือละเมิดบทบัญญัติข้อใดบ้าง หรือไม่ หรือกระทำผิดพลาดคลาดเคลื่อนทั้งโดยตั้งใจและไม่ตั้งใจในเรื่องใดบ้าง สิ่งเหล่านี้ เราต้องคอยเตือนตนเองเป็นประจำ โดยมีมุมมองว่ามีสายตาคู่เล็กๆ กำลังมองตัวอย่างจากเราทุกๆ อิริยาบถ เพื่อจดจำเป็นแบบอย่างและเป็นแบบฉบับของการดำเนินชีวิตต่อไป
ท่านทั้งหลาย
เวลาในรอบ หนึ่งปี ของแต่ละคน เรามีผลการปฏิบัติงานอย่างหลากหลาย เรามีการสะสมเงินทอง บางท่านอาจมีหนี้สินบ้างตามสถานการณ์และความต้องการจับจ่ายใช้สอย บางท่านอาจมีหน้าที่และบทบาทในการเป็นผู้ให้ และบางท่านอาจเป็นผู้รับ ซึ่งในแต่ละสังคม บทบาทของผู้ให้และผู้รับนั้น มีขอบเขตกำกัดอันหนึ่ง นั่นคือ ทำอย่างไรเราจึงจะสามารถให้ความเป็นธรรมให้กับทุกๆ คน ได้ตามอัตภาพ โดยเฉพาะในการกู้หนี้ยืมสิน การซื้อขายแลกเปลี่ยน หรือในการจ้างแรงงานกระทำการใดๆ ต่างๆ เหล่านี้ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องตรวจสอบว่าการกระทำการดังกล่าวนั้น เป็นการเอารัดเอาเปรียบกันหรือไม่ และในฐานะของผู้ปกครอง เราต้องพิจารณาอบรมสั่งสอน แนะนำบรรดาเด็กๆ และเยาวชนของเรา ให้ไดตระหนักถึง สันติภาพภายในสังคม การแสวงหาแนวทางในการดำเนินชีวิตอย่างเป็นธรรม มากที่สุด ของเราถึงการเอารัดเอาเปรียบระหว่างกัน ด้วย ขอให้พิจารณาโองการจากอัลกุรอ่านซูเราะห์ อัลบ้ากอเราะห์ Al-Qur'an, 002.275 (Al-Baqara [The Cow]) ความว่า
002.275 الَّذِينَ يَأْكُلُونَ الرِّبَا لا يَقُومُونَ إِلا كَمَا يَقُومُ الَّذِي يَتَخَبَّطُهُ الشَّيْطَانُ مِنَ الْمَسِّ ذَلِكَ بِأَنَّهُمْ قَالُوا إِنَّمَا الْبَيْعُ مِثْلُ الرِّبَا وَأَحَلَّ اللَّهُ الْبَيْعَ وَحَرَّمَ الرِّبَا فَمَنْ جَاءَهُ مَوْعِظَةٌ مِنْ رَبِّهِ فَانْتَهَى فَلَهُ مَا سَلَفَ وَأَمْرُهُ إِلَى اللَّهِ وَمَنْ عَادَ فَأُولَئِكَ أَصْحَابُ النَّارِ هُمْ فِيهَا خَالِدُونَ
002.275 Those who devour usury will not stand except as stand one whom the Evil one by his touch Hath driven to madness. That is because they say: "Trade is like usury," but Allah hath permitted trade and forbidden usury. Those who after receiving direction from their Lord, desist, shall be pardoned for the past; their case is for Allah (to judge); but those who repeat (The offence) are companions of the Fire: They will abide therein (for ever).
275. บรรดาผู้กินดอกเบี้ยนั้น พวกเขาจะไม่ทรงตัว (หมายถึงการทรงตัวในการดำเนินชีวิต) นอกจากจะเป็นเช่นเดียวกับผู้ที่ชัยฏอนทำร้ายเขาทรงตัว (คนที่ถูกชัยฏอนทำร้ายนั้นจะมีสติฟั่นเฟือนหรือเป็นบ้า ดังนั้น การทรงตัวของผู้กินดอกเบี้ยจึงประหนึ่งคนบ้า คือบ้าเงิน) พวกเขากล่าวว่า ที่จริงการค้าขายนั้นก็เหมือนการเอาดอกเบี้ยนั้นเอง (พวกกินดอกเบี้ยกล่าวแก้ว่า การค้าขายก็เหมือนการดอกเบี้ย กล่าวคือการนำเงินไปลงทุนค้าขายก็ได้กำไร และการให้เงินเขากู้ได้กำไร ซึ่งก็เหมือนกัน) และอัลลอฮ์นั้นทรงอนุมัติการขาย และทรงห้ามการเอาดอกเบี้ย (อัลลอฮ์ทรงแจ้งให้ทราบว่า พระองค์ทรงอนุมัติแต่เพียงการค้าขาย และไม่ทรงอนุมัติการกินดอกเบี้ย เพราะการค้าขายและการกินดอกเบี้ยนั้นไม่เหมือนกันอย่างที่พวกเขาคิด) ดังนั้นผู้ใดที่การตักเตือนจากพระเจ้าของเขาได้มายังเขา แล้วเขาก็เลิก สิ่งที่ล่วงแล้วมาก็เป็นสิทธิของเขา (ดอกเบี้ยที่เขาเคยรับไว้ในอดีตนั้นเป็นสิทธิของเขา ไม่ต้องส่งคืน) และเรื่องของเขานั้นย่อมกลับไปสู่อัลลอฮ์ (อัลลอฮ์จะทรงพิจารณาเรื่องราวของเขาเอง) และผู้มดกลับ(กระทำ) อีก ชนเหล่านี้แหละคือชาวนรกโดยที่พวกเขาจะอยู่ในนรกนั้นตลอดกาล
และอีกโองการจากซูเราะห์ อัลบ้ากอเราะห์ Al-Qur'an, 002.278-279 (Al-Baqara [The Cow]) ความว่า
002.278 يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا اتَّقُوا اللَّهَ وَذَرُوا مَا بَقِيَ مِنَ الرِّبَا إِنْ كُنْتُمْ مُؤْمِنِينَ
002.278 O ye who believe! Fear Allah, and give up what remains of your demand for usury, if ye are indeed believers.
278. บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย! พึงยำเกรงอัลลอฮ์เถิด และจงละเว้นดอกเบี้ยที่ยังเหลืออยู่เสีย (ยังมิได้รับจากผู้ที่กู้ยืมเงิน) หากพวกเจ้าเป็นผู้ศรัทธา
002.279 فَإِنْ لَمْ تَفْعَلُوا فَأْذَنُوا بِحَرْبٍ مِنَ اللَّهِ وَرَسُولِهِ وَإِنْ تُبْتُمْ فَلَكُمْ رُءُوسُ أَمْوَالِكُمْ لا تَظْلِمُونَ وَلا تُظْلَمُونَ
002.279 If ye do it not, Take notice of war from Allah and His Messenger: But if ye turn back, ye shall have your capital sums: Deal not unjustly, and ye shall not be dealt with unjustly.
279. และถ้าพวกเจ้ามิได้ปฏิบัติตาม ก็พึงรับรู้ไว้ด้วยว่า ซึ่งสงครามจากอัลลอฮ์ และร่อซูลของพระองค์ (อัลลอฮ์และร่อซูลของพระองค์จะทำสงครามกับพวกเจ้า) และหากพวกเจ้าสำนึกผิดกลับเนื้อกลับตัวแล้ว สำหรับพวกเจ้าก็คือต้นทุนแห่งทรัพย์ของพวกเจ้า (รับเอาเฉพาะต้นทุนกลับคืนเท่านั้น) โดยที่พวกเจ้านจะได้ไม่อธรรม และไม่ถูกอธรรม (จะได้ไม่ตกอยู่ในฐานะเป็นการข่มเหงลุกหนี้ และถูกลูกหนี้ข่มเหง)

จะเห็นว่า ดอกผลของทรัพย์สิน ที่ได้จากการเอาเปรียบซึ่งกันและกัน เป็นสิ่งที่ไม่อนุมัติ การเอาเปรียบระหว่างกันแม้ในทางบทบัญญัติของกฎหมาย ซึ่งถือได้ว่า การงอกเงยของทรัพย์สิน เปรียบเสมือนความเจริญของพืชพรรณธัญญาหาร ในเชิงเศรษฐศาสตร์ เศรษฐทรัพย์ จะแปรเปลี่ยนไปตามมูลค่าของมันในปัจจุบัน นั่นคือมูลค่าแห่งอนาคตของมันด้อยค่าตามเวลาที่ผันแปรเปลี่ยนไป ดังนั้น ในทางวิชาการและทางกฎหมายแล้ว ดอกผลของทรัพย์สิน เป็นสิทธิที่เจ้าของทรัพย์สามารถเรียกร้องเอาได้จากผู้ใช้ทรัพย์สินนั้น โดยประหนึ่งว่า เป็นค่าจ้างในการใช้ทรัพย์สินเหล่านั้น นั่นคือสิทธิแห่งการเรียร้อง แต่ในบัญญัติตามนัยแห่งโองการอัลกุรอ่านที่ได้กล่าวมา การเรียกร้องสิทธิดังกล่าว เป็นการริดรอนสิทธิของผู้ที่ใช้ทรัพย์สินนั้น ความเป็นธรรมในเชิงของการใช้ทรัพย์สิน จะถูกกำหนดไว้ด้วยช่วงเวลา และการตกลงกันของทั้งสองฝ่าย การชดใช้ในเชิงทรัพย์ที่ถูกหยิบยืมาในปริมาณและคุณค่าของมัน เมื่อครบกำหนดตามสัญญาแล้ว ต้องมีความเป็นธรรม ศาสนาอิสลาม มิได้บ่งบอกถึงการงอกงามของทรัพย์ที่ฝ่ายผู้ให้ยืมจะทวงสิทธิ์ขจากผู้ยืม ความเป็นธรรมในส่วนนี้ คือ ข้อตกลงและเงื่อนไขที่ให้สิทธิแก่ฝ่ายผู้ยืม และให้สิทธิในการทวงถามแก่ผู้ให้ยืม เมื่อครบเงื่อนไขของเวลาและมูลค่าทรัพย์สินในการส่งคืน เป็นการมอบสิทธิในการใช้ทรัพย์สิน เพื่อให้เกิดการหมุนเวียนในเชิงเศรษฐกิจ ซึ่งแนวทางที่ได้กล่าวมา ถือเป็นระบบเกียรติยศ (Horner System) ซึ่งแต่ละฝ่ายจะต้องแสดงออกถึงสิทธิและหน้าที่ของตนในการใช้สิทธินั้น ระหว่างกัน ตัวทรัพย์สินที่เป็นของกลางจะมีมุลค่าในการส่งมอบคืนให้กับเจ้าของของมันในมูลค่าของมันเมื่อครบกำหนดตามสัญญา เช่นนี้ จึงแตกต่างจากการทำมาค้าขายที่มุ่งหวังผลกำไร และแน่นอนว่า สิทธิของการประกันสังคมของมุสลิม นั่นคือเงื่อนไขของระยะเวลาและพิกัดที่ทุกๆ คนต้องบริจาคซะกาต ตามข้อกำหนดแห่งการครอบครองทรัพย์สิน ดังนั้นหากเราได้พิจารณาถึงคุณค่าของสิทธิและหน้าที่ในการดำเนินชีวิตแล้ว เราจะใช้แนวทางนี้ให้เด็กๆ และเยาวชนของเราได้ซึมซับและเรียนรู้ถึงหน้าที่และสิทธิในการดำเนินกิจกรรมใดๆ ที่ไม่มุ่งหวังที่จัเอารัดเอาเปรียบเพื่อนบ้าน และสังคมโดยรวม จริงอยู่ การเรียนรู้เพื่อดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ อาจไกลตัวเกินความสามารถของเด็กๆ แต่ในฐานะของผู้ปกครอง การส่งเสริมให้เขาได้เรียนรู้ถึงบทบาท หน้าที่ สิทธิ และความรับผิดชอบ แม้ในเรื่องล็กๆ น้อยๆ ก็เป็นสิ่งที่เราพึงพิจารณาให้ได้อย่างเหมาะสม เพื่อให้เขาเป็นสมาชิกที่มีคุณค่าของสังคมต่อไปในอนาคต ซึ่งในสภาพทางสังคมในปัจจุบัน น้ำใจ และความเอื้ออาทรระหว่างกัน มันเริ่มที่จะหมดไปในสังคม การมุ่งที่จะเอารัดเอาเปรียบ รวมถึงมูลค่าทางจิตใจที่หมดไปถูกพัฒนาไปสู่มูลค่าในทรัพย์สินมากยิ่งขึ้น สังคมในปัจจุบัน ถูกทำให้เปลี่ยนไป ผู้คนในสังคม เริ่มตระหนักถึงการเอาตัวรอดมายิ่งขึ้น ในที่สุด คนก็จะเอารัดเอาเปรียบและเดียดฉันท์กันมากยิ่งขึ้น
ท่านทั้งหลาย
ภาวะจิตใจของคนในสังคมเรา กำลังพัฒนาไปสู่การประเมินคุณค่าทางวัตถุมากยิ่งขึ้น พิจารณาจากคำขวัญวันเด็ก “สามัคคี มีความรู้คู่ปัญญา คงรักษาความเป็นไทย ใส่ใจเทคโนโลยี” ซึ่งชี้ให้เห็นได้ถึงการขาดไปและมุ่งมั่นที่จะสร้างให้เกิดความสามัคคีในสังคม ในขณะที่สังคมปัจจุบัน คนมุ่งมั่นที่จะเอารัดเอาเปรียบและเห็นตัวมากขึ้น ดูได้จากเหตุการณ์น้ำท่วมที่ผ่านมา ทุกคนมุ่งมั่นมองเพียงการเอาตัวรอดของตนเอง ชุมชนของตนเอง ในที่สุดทุกคนก็ไม่สามารถหลีกหนีความทุกข์จากเหตุที่ทุกคนไม่สามารถหลีกหนีไปได้ สุดท้าย คนที่จนที่สุดและคนที่รวยที่สุดในสังคม ก็มีสภาพที่ไม่แตกต่างกัน คนที่มีอยู่ไม่สามารถหาซื้อหรือแสวงหาปัจจัยยังชีพที่อำนวยความสะดวกสบายของตนเองได้ เช่นเดียวกับคนจนที่สิ้นเนื้อประดาตัวภายใต้เหตุการณ์อุทกภัยที่มีมา ดังนั้น วันนี้ เราจึงต้องมุ่งมั่นที่จะฝึกฝนขัดเกลาเด็กๆ ของเรา ให้เขาได้เรียนรู้และสร้างให้เขาได้เรียนรู้ถึงคุณค่าแห่งการให้ การไม่เอารัดเอาเปรียบต่อเพื่นๆ ของเขา สร้างจิตสำนึกในความรับผิดชอบในพันธะสัญญาที่เขามีต่อเพื่อนๆ ของเรา ดังช่นอัลฮาดีษ ความว่า
ผู้ใดไม่มีความเมตตาต่อมนุษย์ เขาก็จะไม่ได้รับความเมตตาจากอัลลอฮ์
(รายงานโดย อะห์หมัด ,อัลบุคอรีย์, และอัตติรมิซีย์)
ซึ่งในสภาพทางสังคม ที่ปัจจัยต่างๆ เข้ามามีผลค่อการดำเนินชีวิตของทุกๆ คน หากแต่เรามีความยำเกรงในความเมตตาของพระองค์ และเราพร้อมที่จะกลับไปสู่ความเมตตาของพระองค์แล้ว แน่นอนว่า เด็กๆ และเยาวชนของเราจะได้เรียนรู้และพร้อมที่จะจดจำในสิ่งที่ดีงามที่เราฟูมฟักขัดเกลาเขาให้เป็นคนดีของสังคมเอที่จะจรรโลงสังคมให้มีความน่าอยู่และเป็นสังคมที่มีผู้ที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม เช่นนี้แล้ว สังคมโดยรวมก็พร้อมที่จะรับทุกสถานการณ์และภัยพิบัติ ที่พระองค์จะทดสอบทุคนบนหน้าโลกแห่งนี้ ด้วยความสันติสุข เข้มแข็ง และเต็มที่กับทุกบททดสอบจากนี้ไป

إِنَّ اللَّهَ وَمَلائِكَتَهُ يُصَلُّونَ عَلَى النَّبِيِّ يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا صَلُّوا عَلَيْهِ وَسَلِّمُوا تَسْلِيمًا
رَبَّنَا آتِنَا فِي الدُّنْيَا حَسَنَةً وَفِي الآخِرَةِ حَسَنَةً وَقِنَا عَذَابَ النَّارِ
إِنَّ اللَّهَ يَأْمُرُ بِالْعَدْلِ وَالإحْسَانِ وَإِيتَاءِ ذِي الْقُرْبَى وَيَنْهَى عَنِ الْفَحْشَاءِ وَالْمُنْكَرِ وَالْبَغْيِ يَعِظُكُمْ لَعَلَّكُمْ تَذَكَّرُونَ
سُبْحَانَ رَبِّكَ رَبِّ الْعِزَّةِ عَمَّا يَصِفُونَ
وَسَلامٌ عَلَى الْمُرْسَلِينَ
وَالْحَمْدُ لِلَّهِ رَبِّ الْعَالَمِينَ
วัสสลาม
มูฮำหมัด สันประเสริฐ
อ้างอิง
อัลกุรอ่านฉบับภาษาไทย สมาคมนักเรียนเก่าอาหรับ ดำเนินการจัดพิมพ์โดยกระทรวงกิจการฮัจย์ แห่งราชอาณาจักรซาอุดิอาเบีย , www.DivineIslam.com
อัลฮาดีซ : Hadith of The Day V 1.0 Freeware by FaridAnasri avater@muslimonline.com www.beconvinced.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น