วันอังคารที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2553

หัจญ์ : ความมุ่งมั่นแห่งหัวใจของผู้บำเพ็ญหัจญ์

มิมบัรออนไลน์
คุตบะห์วันศุกร์ 14 ซุ้ลเกาะดะห์ 1431 (วันศุกร์ที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2553)

หัจญ์ : ความมุ่งมั่นแห่งหัวใจของผู้บำเพ็ญหัจญ์

الْحَمْدُ لِلَّهِ رَبِّ الْعَالَمِينَ
وَأَتِمُّوا الْحَجَّ وَالْعُمْرَةَ لِلَّهِ فَإِنْ أُحْصِرْتُمْ فَمَا اسْتَيْسَرَ مِنَ الْهَدْيِ وَلا تَحْلِقُوا رُءُوسَكُمْ حَتَّى يَبْلُغَ الْهَدْيُ مَحِلَّهُ فَمَنْ كَانَ مِنْكُمْ مَرِيضًا أَوْ بِهِ أَذًى مِنْ رَأْسِهِ فَفِدْيَةٌ مِنْ صِيَامٍ أَوْ صَدَقَةٍ أَوْ نُسُكٍ فَإِذَا أَمِنْتُمْ فَمَنْ تَمَتَّعَ بِالْعُمْرَةِ إِلَى الْحَجِّ فَمَا اسْتَيْسَرَ مِنَ الْهَدْيِ فَمَنْ لَمْ يَجِدْ فَصِيَامُ ثَلاثَةِ أَيَّامٍ فِي الْحَجِّ وَسَبْعَةٍ إِذَا رَجَعْتُمْ تِلْكَ عَشَرَةٌ كَامِلَةٌ ذَلِكَ لِمَنْ لَمْ يَكُنْ أَهْلُهُ حَاضِرِي الْمَسْجِدِ الْحَرَامِ وَاتَّقُوا اللَّهَ وَاعْلَمُوا أَنَّ اللَّهَ شَدِيدُ الْعِقَابِ
الْحَجُّ أَشْهُرٌ مَعْلُومَاتٌ فَمَنْ فَرَضَ فِيهِنَّ الْحَجَّ فَلا رَفَثَ وَلا فُسُوقَ وَلا جِدَالَ فِي الْحَجِّ وَمَا تَفْعَلُوا مِنْ خَيْرٍ يَعْلَمْهُ اللَّهُ وَتَزَوَّدُوا فَإِنَّ خَيْرَ الزَّادِ التَّقْوَى وَاتَّقُونِ يَا أُولِي الألْبَابِ

ท่านพี่น้องผู้ศรัทธาทั้งหลาย
ขอย้ำเตือนตนเองและท่านทั้งหลาย จงพิจารณาถึงความเมตตาปราณี ความการุณย์ จากพระองค์ ตลอดจนการทดสอบทั้งหลายของพระองค์ ไม่ว่าจะเป็นการทดสอบขนาดเล็กน้อย หรือการทดสอบในเรื่องใหญ่ๆ จะเห็นว่า หากเราก้าวผ่านในเรื่องราวเหล่านั้น ด้วยความยำเกรงต่อพระองค์แล้ว แน่นอนว่า เราย่อมอยู่ในกลุ่มของผู้ที่มีความศรัทธาต่อพระองค์อย่างจริงจัง มั่นใจในความเป็นมุสลิม ซึ่งเป็นเกราะกำบังอันสำคัญ ที่จะแบ่งกลุ่มของผู้ศรัทธากับผู้ที่ไร้ศรัทธา และเป็นจุดแบ่งระหว่างชนผู้ที่ใกล้ชิดพระองค์กับกลุ่มผู้ที่อยู่ห่างไกลจากพระองค์
ท่านทั้งหลาย
การเดินทางไปบำเพ็ญหัจญ์นั้น เป็นเรื่องที่ประเสริฐที่สุดในบรรดาการกระทำต่างๆ ทั้งหลาย เพราะเป็นการกระทำอามั้ลที่บ่งบอกถึงเรื่องเวลา สถานที่ปฏิบัติที่ชัดเจน อันแตกต่างจากการทำอามั้ลประเภทอื่นๆ ซึ่งอีกประการหนึ่งของการทำหัจญ์ ก็คือการแต่งกาย ซึ่งเป็นข้อกำหนดที่ชัดเจนแน่นอนกว่าการปฏิบัติในเรื่องอื่นๆ เพราะการแต่งกายของชายในการบำเพ็ญหัจญ์ นั้น ถูกกำหนดไว้เป็นหลักเกณฑ์ที่ชัดเจน นั่นคือ การแต่งกายด้วยผ้าสองชิ้นนุ่งและห่มร่างกายโดยไม่มีการเย็บผ้านั้นๆ ติดกัน ซึ่งเรียกว่าการ “ครองเอี๊ยะรอมหัจญ์” ซึ่งนอกจากการแต่งกายแล้วเขายังต้องสำรวมจิตใจ มุ่งสู่หัจญ์ ไม่กระทำการใดๆ ที่เป็นข้อห้ามของการทำหัจญ์ ตลอดระยะเวลาของการครองเอี๊ยะรอมหัจญ์ นั้น จนกระทั่งถึงช่วงเวลาที่ปลดเอี๊ยะรอม ขอให้พิจารณาถึงหลักเกณฑ์ในการทำหัจญ์ และช่วงเวลาในเรื่องดังกล่าว จากโองการของซูเราะห์อัลบ้ากอเราะห์ Al-Qur'an, 002.196-197 (Al-Baqara [The Cow]) ความว่า

002.196 وَأَتِمُّوا الْحَجَّ وَالْعُمْرَةَ لِلَّهِ فَإِنْ أُحْصِرْتُمْ فَمَا اسْتَيْسَرَ مِنَ الْهَدْيِ وَلا تَحْلِقُوا رُءُوسَكُمْ حَتَّى يَبْلُغَ الْهَدْيُ مَحِلَّهُ فَمَنْ كَانَ مِنْكُمْ مَرِيضًا أَوْ بِهِ أَذًى مِنْ رَأْسِهِ فَفِدْيَةٌ مِنْ صِيَامٍ أَوْ صَدَقَةٍ أَوْ نُسُكٍ فَإِذَا أَمِنْتُمْ فَمَنْ تَمَتَّعَ بِالْعُمْرَةِ إِلَى الْحَجِّ فَمَا اسْتَيْسَرَ مِنَ الْهَدْيِ فَمَنْ لَمْ يَجِدْ فَصِيَامُ ثَلاثَةِ أَيَّامٍ فِي الْحَجِّ وَسَبْعَةٍ إِذَا رَجَعْتُمْ تِلْكَ عَشَرَةٌ كَامِلَةٌ ذَلِكَ لِمَنْ لَمْ يَكُنْ أَهْلُهُ حَاضِرِي الْمَسْجِدِ الْحَرَامِ وَاتَّقُوا اللَّهَ وَاعْلَمُوا أَنَّ اللَّهَ شَدِيدُ الْعِقَابِ
002.196 And complete the Hajj or 'umra in the service of Allah. But if ye are prevented (From completing it), send an offering for sacrifice, such as ye may find, and do not shave your heads until the offering reaches the place of sacrifice. And if any of you is ill, or has an ailment in his scalp, (Necessitating shaving), (He should) in compensation either fast, or feed the poor, or offer sacrifice; and when ye are in peaceful conditions (again), if any one wishes to continue the 'umra on to the hajj, He must make an offering, such as he can afford, but if he cannot afford it, He should fast three days during the hajj and seven days on his return, Making ten days in all. This is for those whose household is not in (the precincts of) the Sacred Mosque. And fear Allah, and know that Allah Is strict in punishment.
196. และพวกเจ้าจงให้สมบูรณ์ ซึ่งการทำฮัจญ์ และการทำอุมเราะฮ์เพื่ออัลลอฮ์เถิด แล้วถ้าพวกเจ้าถูกสกัดกั้น (จะด้วยศัตรูหรือด้วยโรคระบาด หรือมีสงครามเกิดขึ้นเป็นต้น ซึ่งไม่สามารถจะทำฮัจญ์หรืออุมเราะฮ์ให้ครบถ้วนสมบูรณ์ได้) ก็ให้เชือดสัตว์พลีที่หาได้ง่าย (เช่น อูฐ วัว แพะ หรือ แกะเป็นต้น) และจงอย่าโกนศีรษะของพวกเจ้า จนกว่าสัตว์พลีนั้นจะถึงที่ของมัน (คือถึงที่ที่อนุมัติให้เชือด กล่าวคือ ถ้าถูกสกัดกั้น ณ ที่ใด ก็ให้โกนศรีษะแล้วเชือดสัตว์พลี แต่ถ้าได้รับความปลอดภัย ก็ให้นำสัตว์พลีไปถึงมักกะฮ์เสียก่อน หลังจากประกอบพิธีฮัจญ์แล้วก็โกนศรีษะ แล้วเชือดสัตว์พลี การโกนศีรษะนั้นแหละที่เรียกว่า “ตะฮัลลุล”) แล้วผู้ใดในหมู่พวกเจ้าป่วยลง หรือที่เขามีสิ่งก่อความเดือดร้อนจากศีรษะของเขา(เช่นเป็นฝีหรือเป็นหิต หรือมีบาดแผลที่ศีรษะ ซึ่งจำเป็นจะต้องโกน ก็ให้กระทำได้ แล้วทำการชดเชย) ก็ให้มีการชดเชย อันได้แก่การถือศีลอด หรือการทำทาน หรือการเชือดสัตว์ (การชดเชยนั้นคือการถือศีลอด 3 วัน หรือให้อาหารแก่คนยากจน 6 คน หรือเชือดสัตว์จะเป็นแพะหรือแกะก็ได้) ครั้นเมื่อพวกเจ้าปลอดภัยแล้ว ผู้ใดที่แสวงหาประโยชน์จนกระทั่งถึงฮัจญ์ด้วยการทำอุมเราะฮ์แล้ว (ทำแต่เพียงอุมเราะฮ์อย่างเดียวก่อน ซึ่งเรียก “ตะมัตตัวะ” แล้วทำฮัจญ์ทีหลัง เมื่อถึงเวลาทำฮัจญ์ ระหว่างทำอุมเราะฮ์เสร็จไปจนถึงเวลาทำฮัจญ์นั้น อนุมัติให้ใช้เครื่องหอมได้ ตัดเล็บตัดผมได้ และใส่เสื้อผ้าอย่างไรก็ได้ ตลอดจนการอภิรมย์สมสู่กับคู่ครองก็ได้ ดังกล่าวนี้เรียกว่า “แสวงหาประโยชน์”กล่าวคือไม่ต้องรักษาระเบียบวินัย เยี่ยงผู้อยู่ในการทำอุมเราะฮ์และฮัจญ์พร้อมกัน ซึ่งเรียกว่า “กิรอน”) ก็ให้เชือดสัตว์พลีที่หาได้ง่าย ผู้ใดที่หาไม่ได้ (คือเนื่องจากหาสัตว์เชือดไม่ได้ หรือไม่มีเงินซื้อก็ตาม) ก็ให้ถือศีลอดสามวันในระหว่างการทำฮัจญ์ และอีกเจ็ดวันเมื่อพวกเจ้ากลับบ้านนั่นคือครบสิบวัน ดังกล่าวนั้น สำหรับที่ครอบครัวของเขามิได้ประจำอยู่ที่อัล-มัสยิดิลฮะรอม และพวกเจ้าจงยำเกรงอัลลอฮ์เถิด และพึงรู้ด้วยว่า แท้จริงอัลลอฮ์นั้นเป็นผู้ทรงลงโทษที่รุนแรง

002.197 الْحَجُّ أَشْهُرٌ مَعْلُومَاتٌ فَمَنْ فَرَضَ فِيهِنَّ الْحَجَّ فَلا رَفَثَ وَلا فُسُوقَ وَلا جِدَالَ فِي الْحَجِّ وَمَا تَفْعَلُوا مِنْ خَيْرٍ يَعْلَمْهُ اللَّهُ وَتَزَوَّدُوا فَإِنَّ خَيْرَ الزَّادِ التَّقْوَى وَاتَّقُونِ يَا أُولِي الألْبَابِ
002.197 For Hajj are the months well known. If any one undertakes that duty therein, Let there be no obscenity, nor wickedness, nor wrangling in the Hajj. And whatever good ye do, (be sure) Allah knoweth it. And take a provision (With you) for the journey, but the best of provisions is right conduct. So fear Me, o ye that are wise.
197. (เวลา) การทำฮัจญ์นั้นมีหลายเดือนอันเป็นที่ทราบกันอยู่แล้ว (คือเดือน เชาวาล ซุลเกาะดะฮ์ และอีกสิบวันแรกของเดือนซิลฮิจญะฮ์) ดังนั้นผู้ใดที่ได้ให้การทำฮัจญ์จำเป็นแก่เขาในเดือนเหล่านั้น (หลังจากทำการอิห์รอมแล้ว) แล้ว ก็ต้องไม่มีการสมสู่ และไม่มีการละเมิด และไม่มีการวิวาทใด ๆ ใน (เวลา) การทำฮัจญ์ และความดีใด ๆ ที่พวกเจ้ากระทำนั้น อัลลอฮ์ทรงรู้ดี และพวกเจ้าจงเตรียมเสบียงเถิด (หมายถึงเสบียงในการเดินทางไปทำฮัจญ์)แท้จริงเสบียงที่ดีที่สุดนั้นคือความยำเกรง และพวกเจ้าจงยำเกรงข้าเถิด โอ้ ผู้มีปัญญาทั้งหลาย !
ซึ่งจะเห็นว่า การครองเอี๊ยะรอม ของการบำเพ็ญหัจญ์นั้น เขาพึงสำรวมกาย วาจา และจิตใจของเขาให้มุ่งตรงต่อการบำเพ็ญหัจญ์ ด้วยความยำเกรงต่อพระองค์ให้มากๆ เสียงเปล่งร้องที่ผู้มุ่งมั่นตรงต่อการบำเพ็ญหัจญ์ ที่ว่า “ลับบัยกั้ลลอฮุมม่าลับบัยต์ ...” นั้น เป็นเสียงที่บ่งบอกถึงความมุ่งมั่นของการทำหัจญ์ เป็นการมั่งมั่นที่แสดงออกมาด้วยกายและวาจา ขณะที่จิตใจของผู้บำเพ็ญหัจญ์ นั้น เป็นสิ่งที่อยู่ภายในใจของเชา ซึ่งสำหรับพระองค์เท่านั้นที่จะทรงทราบได้ และสำหรับผู้ที่กำลังบำเพ็ญหัจญ์นั้น พึงระมัดระวังมิให้การปฏิบัติตนในช่วงขณะบำเพ็ญหัจญ์นั้นต้องให้ความสำคัญด้วยความมุ่งมั่นชัดเจน เพราะหากเขาละเมิดต่อข้อห้ามใดๆ แล้ว การปฏิบัติหัจญ์ของเขาอาจบกพร่องหรือเสียหายได้ หากการปฏิบัติใดๆ ของเขาเป็นการละเมิดกฎเกณฑ์ตามข้อกำหนดแห่งการบำเพ็ญหัจญ์ ซึ่งสำหรับผู้ที่บำเพ็ญหัญ์ “หุจญาต” ทั้งหลาย พึงต้องระมัดระวัง ให้ความสำคัญ ศึกษาถึงข้อกำหนดต่างๆ ให้ถ่องแท้ก่อนการเดินทางไปบำเพ็ญหัจญ์ ซึ่งเป็นการเตรียมเสบียงสำหรับเขาเหล่านั้น ซึ่งเสบียงของผู้บำเพ็ญหัจญ์ ที่สำคัญ หาใช้เครื่องอุปโภคและบริโภคไม่ แต่เสบียงที่ดีที่สุดสำหรับพวกเขาเหล่านั้น คือ ความยำเกรงต่อพระองค์ ซึ่งความยำเกรงนี้ แม้ว่าเขาจะปลดเอี๊ยะรอมหัจญ์เข้าสู่การแต่งกายตามปรกติ แม้ว่าการปฏิบัติบางกรณียังเป็นวข้อห้ามอยู่บ้าง แต่สิ่งหนึ่งที่จะยังคงต้องติดตามตัวผู้ปฏิบัติไปด้วยไม่ว่าจะไปยังสถานที่ใดๆ หรือปฏิบัติศาสนกิจในเรื่องใดๆ แล้ว ก็ยังติดตามเขาไปทุกขณะ นั่นคือ ความยำเกรงต่อพระองค์
ท่านทั้งหลาย
ในการบำเพ็ญหัจญ์ ทุกๆ คน ต่างมุ่งมั่นแสวงหาโอกาสและสัมภาระต่างๆ เพื่อให้สามารถสนองการเรียกร้องของพระองค์ โดยการเตรียมตัว เตรียมใจ เตรียมกำลังทรัพย์ ให้สามารถเดินทางไปได้ตามกำหนด และสนองตอบการบำเพ็ญหัจญ์ ตามข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ต่างๆ เพื่อให้ได้การปฏิบัติที่สมบูรณ์ และเป็นหัจญ์ที่พระองค์ทรงรับรอง ตลอดระยะเวลาของการบำเพ็ญหัจญ์ ทุกๆ คนมุ่งมั่นและมุ่งหวังที่จะปฏิบัติให้ครบถ้วนตามข้อกำหนดมิให้เกิดความบกพร่องในแต่ละเรื่อง แต่ละกรณี โดยเฉพาะการครองเอี๊ยะรอมหัจญ์ ซึ่งมีเวลาที่ชัดเจนสำหรับคนที่จะเข้าไปยังแผ่นดินหะรอมในช่วงเวลาที่กำหนดคือ เชาวาล ซุลเกาะดะฮ์ และอีกสิบวันแรกของเดือนซิลฮิจญะฮ์ นั้น หากการปฏิบัติของเขาเป็นหัจญ์ “อิฟรอส”หรือ “กิรอน” แน่นอนว่าเขาต้องครองตลอดเวลาจนสิ้นสุดการบำเพ็ญหัจญ์ แต่สำหรับคนที่บำเพ็ญหัจญ์แบบ “ตะมัตตั๊วะ” แล้ว แน่นอนว่าเขาสามารถปลดเอี๊ยะรอมภายในช่วงเวลาที่กำหนด แต่เชาต้องเสียค่าปรับ “ดัม” ตามที่กำหนดไว้แล้ว นั่นคือข้อปฏิบัติแห่งการครองเอี๊ยะรอม ซึ่งคือการแต่งกายสำหรับผู้บำเพ็ญหัจญ์ พึงระวังรักษา
ท่านทั้งหลาย
การปลดเอี๊ยะรอม หาใช่ว่าเป็นเพียงการสิ้นสุดข้อกำหนดแห่งการบำเพ็ญหัจญ์ แต่สำหรับการบำรุงจิตใจของเราแล้ว เราต้องครองเอี๊ยะรอมในทงจิตใจของเรานั้นตลอดไป แม้ว่าหมดช่วงเวลาแห่งกาบำเพ็ญหัจญ์แล้วก็ตาม เพราะแน่นอนว่าเราพึงต้องมุ่งมั่นตรงต่อพระองค์ตลอดไปตราบจนถึงอายั้ลสำหรับเราที่พระองค์ ทรงกำหนด เอี๊ยะรอมในจิตใจของเรา คือการกำหนดขอบเขต การกำหนดข้อบังคับในจิตใจของเราที่มุ่งตรงต่อพระองค์ ในทุกๆ อิริยาบถ ด้วยความยำเกรงต่อพระองค์ เพราะนั่นคือ การแสดงออกถึงความยิ่งใหญ่ของพระองค์ เป็นการบ่งบอกถึงการเอาชนะอารมณ์ใฝ่ต่ำในจิตใจของเรา เป็นการบังคับตนเองให้ยึดเหนี่ยวต่อพระองค์ด้วยการปฏิบัติ ด้วยการกระทำ ด้วยการแสดงออกทางวาจา ซึ่งเป็นหน้าต่างที่คนทั้งหลายจะได้ประจักษ์ว่าเรานั้นมุ่งมั่นการกระทำใดๆ ด้วยความยำเกรงต่อพระองค์ สำรวมจิตใจเพื่อแสดงออกเป็นการกระทำใดๆ ดังนั้น ขอให้เราตระหนัก ถึงการกระทำและการแสดงออกของเราหาใช่ว่าเราจะกระทำตนเองตามความอยากได้ใคร่ดีในเรื่องราวต่างๆ โดยไม่ได้กำหนดขอบเขต หรือความเพียงพอ โดยไม่มีการดึง หรือการหย่อนยานในการปฏิบัติ จนกระทั่งในที่สุดแล้วเราจะกลายไปเป็นผู้ที่ถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มของผู้ที่อยู่นอกแนวทางที่พระองค์ทรงเมตตา
ท่านทั้งหลาย
ทุกๆ การกระทำ ของเรานั้น บ่งบอกถึงคุณค่าในจิตใจของเรา บางเรื่องราว เราอาจหลงใหลไปกับกระแสธารแห่งการล่อลวง ของอารมณ์ใฝ่ต่ำในจิตใจของเรา เป็นเรื่องที่เรามองข้ามความสำคัญของการที่เราจะบังคับจิตใจของเราให้ออกห่างจากสิ่งเหล่านั้น แต่เมื่อใดที่เราสร้างข้อกำหนดในจิตใจโดยการกำหนดกฎเกณฑ์ต่างๆ ขึ้นมาโดยมีเป้าหมายที่ความยำเกรงต่อพระองค์ เช่นเดียวกับการครองเอี๊ยะรอม แล้ว แน่นอนว่า เราจะสามารถบังคับจิตใจของเราให้ไปในทิศทางที่เรามุ่งหวัง เป็นทิศทางที่พระองค์ทรงรักและเมตตา เป็นทิศทางที่อยู่ในแนวทางที่เที่ยงตรง มั่นคง และไม่มีกำแพงใดๆ มากั้น แต่สำหรับเราแล้ว เอี๊ยะรอมของจิตใจ นั้น เราไม่จำเป็นต้องปลด แต่ขอให้เรารักษาเอี๊ยะรอมนั้น ไว้ เพื่อเป็นกรอบปฏิบัติมิให้เราออกนอกลู่นอกทางแห่งการปฏิบัติอามั้ลอิบาดัรสำหรับพระองค์ ขอให้พิจารณาอัลฮาดีส ต่อไปนี้ ความว่า
Once I came riding a she-ass and had (just) attained the age of puberty. Allah's Apostle was offering the prayer at Mina. There was no wall in front of him and I passed in front of some of the row while they were offering their prayers. There I let the she-ass loose to graze and entered the row, and nobody objected to it.
Narrated by : Ibn Abbas Source : Sahih Bukhari 1.76
ดังนั้น กรอบการปฏิบัติของเหล่าบรรดาผู้ที่ใกล้ชิดกับพระองค์ ในวันแห่งการตัดสินและวันแห่งการตอบแทนของพระองค์แล้ว นั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่เรายอมจำนนต่อพระองค์ เป็นการยอมจำนนด้วยความยำเกรง เป็นการยอมจำนนที่เราเรามุ่งตรงการปฏิบัติเพื่อพระองค์ หาใช่เป้นการยอมจำนนต่อหลักฐาน จำนนต่อการกระทำของผู้ที่หลงผิด และเป้นการยอมจำนนของผู้ที่ปฏิบัติตนออกนอกลู่นอกทางแล้วสำนึกผิดในภายหลัง แต่การยอมจำนนต่อพระองค์ในฐานะของผู้ยำเกรงต่อพระองค์แล้ว เป็นชัยชนะอันยิ่งใหญ่ของบรรดาบ่าวของพระองค์

إِنَّ اللَّهَ وَمَلائِكَتَهُ يُصَلُّونَ عَلَى النَّبِيِّ يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا صَلُّوا عَلَيْهِ وَسَلِّمُوا تَسْلِيمًا
رَبَّنَا آتِنَا فِي الدُّنْيَا حَسَنَةً وَفِي الآخِرَةِ حَسَنَةً وَقِنَا عَذَابَ النَّارِ
إِنَّ اللَّهَ يَأْمُرُ بِالْعَدْلِ وَالإحْسَانِ وَإِيتَاءِ ذِي الْقُرْبَى وَيَنْهَى عَنِ الْفَحْشَاءِ وَالْمُنْكَرِ وَالْبَغْيِ يَعِظُكُمْ لَعَلَّكُمْ تَذَكَّرُونَ
سُبْحَانَ رَبِّكَ رَبِّ الْعِزَّةِ عَمَّا يَصِفُونَ
وَسَلامٌ عَلَى الْمُرْسَلِينَ
وَالْحَمْدُ لِلَّهِ رَبِّ الْعَالَمِينَ
ว่าบิ้ลลาฮิเตาฟีก วั้ลฮิดายะห์
วัสสลาม
มูฮำหมัด สันประเสริฐ

อ้างอิง
Text Copied from DivineIslam's Qur'an Viewer software v2.9
อัลกุรอ่านฉบับภาษาไทย สมาคมนักเรียนเก่าอาหรับ ดำเนินการจัดพิมพ์โดยกระทรวงกิจการฮัจย์ แห่งราชอาณาจักรซาอุดิอาเบีย http://www.alquran-thai.com/
อัลฮาดีซ : Hadith of The Day V 1.0 Freeware by FaridAnasri avater@muslimonline.com www.beconvinced.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น