วันพุธที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2553

การให้เพื่อให้

มิมบัรออนไลน์
คุตบะห์วันศุกร์ 22 เซาวาล 1431 (วันศุกร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2553)
การให้ เพื่อให้
الْحَمْدُ لِلَّهِ رَبِّ الْعَالَمِينَ
لَنْ تَنَالُوا الْبِرَّ حَتَّى تُنْفِقُوا مِمَّا تُحِبُّونَ وَمَا تُنْفِقُوا مِنْ شَيْءٍ فَإِنَّ اللَّهَ بِهِ عَلِيمٌ
لا يَسْتَأْذِنُكَ الَّذِينَ يُؤْمِنُونَ بِاللَّهِ وَالْيَوْمِ الآخِرِ أَنْ يُجَاهِدُوا بِأَمْوَالِهِمْ وَأَنْفُسِهِمْ وَاللَّهُ عَلِيمٌ بِالْمُتَّقِينَ
إِنَّمَا يَسْتَأْذِنُكَ الَّذِينَ لا يُؤْمِنُونَ بِاللَّهِ وَالْيَوْمِ الآخِرِ وَارْتَابَتْ قُلُوبُهُمْ فَهُمْ فِي رَيْبِهِمْ يَتَرَدَّدُونَ

ท่านพี่น้องผู้ศรัทธาทั้งหลาย
ขอเตือนตนเองและท่านทั้งหลาย จงยำเกรงต่อพระองค์อัลลอฮ์ (ซ.บ.) ให้มากๆ เพราะไม่มีสิ่งใดๆ อีกแล้วที่เราจะหวังพึ่งพานอกจากพระองค์ และสำหรับพระองค์เท่านั้น ที่เราทั้งหลายต่างมุ่งหวังความโปรดปราณ ความเมตตาปราณีจากพระองค์ เฉพาะพระองค์เท่านั้น ที่หาสิ่งใดเทียบเคียงกับพระองค์ได้ไม่ เฉพาะพระองค์ คือผู้ให้ที่ยิ่งให้ หากเราจะพิจารณาบุคคลหรือสรรพสิ่งต่างๆ แล้ว จะพบว่า ไม่มีใครหรือสิ่งใดที่จะให้โดยไม่หวังภาคผลตอบแทน พระองค์คือผู้สร้าง ผู้ให้ ผู้สังเกต ผู้ที่ตรวจสอบ และทดสอบ ตลอดจนสอดส่องและใจใส่ต่อผู้ถูกสร้างทั้งหลาย เพื่อที่พวกเขาเหล่านั้น จะสนองถึงสิ่งที่บัญชาให้และห้ามจากพระองค์ ซึ่งการที่เราจะได้ใกล้ชิดกับพระองค์ ก็ด้วยความที่เราได้สนองพระบัญชาของพระองค์ ในเรื่องการใช้และการห้ามจากพระองค์ ดังนั้น เราจึงควรตรวจสอบการกระทำทั้งหลายของเรา สิ่งใดบ้างที่เราบกพร่อง และเรามีแนวทางแก้ไขความบกพร่องอย่างไร และการแก้ไขเรื่องต่างๆดังกล่าวนั้นได้อย่างทันท่วงทีหรือไม่ เพราะในช่วงที่มีเวลาว่างและสุขภาพที่ดี เป็นช่วงที่ดีที่สุดของการตรวจสอบอามั้ลของเรา และหากพ้นช่วงเวลาดังกล่าวไปแล้ว เราอาจไม่สามารถแก้ไขความบกพร่องของอามั้ลของเราได้ ดังนั้น การที่เราสามารถตรวจสอบตนเองอยู่อย่างสม่ำเสมอ และแก้ไขได้อย่างทันท่วงที แน่นอนว่า เราย่อมเกิดความพร้อมของการดำเนินชีวิต เกิดความมุ่งมั่นและมีความสุขในการดำเนินชีวิตตามแนวทางที่พระองค์ทรงรักและอยู่ในความเมตตาของพระองค์
ท่านทั้งหลาย
การกระทำทุกๆ กิจการนั้น ล้วนมีจุดมุ่งหมายและเป้าหมายปลายทางเพื่อพระองค์ทั้งสิ้น ไม่ว่าการกระทำใดๆ ของเราล้วนแล้วแต่มุ่งมั่นสนองพระบัญชาของพระองค์ หากเราพิจารณาแนวปฏิบัติพื้นฐานเพื่อพระองค์นั้น หลักปฏิบัติของมุสลิมตามแนวทางที่พระองค์ทรงใช้ซึ่งประกอบไปด้วย การกล่าวหรือปฏิญาณตน (ชะฮาดะห์ ) การละหมาด การบริจาคซากาต การถือศีลอด และการบำเพ็ญหัจญ์ นั้น มีเป้าหมายมุ่งตรงต่อพระองค์แทบทั้งสิ้น อาจกล่าวได้ว่า เป็นภารกิจสำคัญสำหรับมุสลิมโดยตรง ที่มุ่งเน้นการปฏิบัติ โดยไม่ใช่การฏิบัติอื่นใด นอกจากเป็นการมุ่งมั่นสำหรับพระองค์เพียงพระองค์เดียว ซึ่งหากเรามีเป้าหมายอื่นใดเคลือบแคลงปะปนไปกับอามั้ลของเราด้วยแล้ว แน่นอนว่าอามั้ลที่เราปฏิบัตินั้น หาใช่อามั้ลที่มุ่งตรงสำหรับพระองค์ แต่เป็นการกระทำที่เคลือบแคลงสงสัยและไม่ใช่อามั้ลสำหรับพระองค์ ดังนั้น ในเบื้องต้นของการประกอบอามั้ลของเรานั้น เราจึงควรตรวจสอบในเบื้องต้นก่อนว่า อามั้ลของเรานั้นเรามีจุดมุ่งหมายเพื่อพระองค์เพียงพระองค์เดียวหรือไม่ เรามีจุดมุ่งหมายอื่นใดเคลือบแฝงด้วยหรือเราจะโอ้อวดการกระทำของเราไปพร้อมๆ กันหรือไม่ เพราะนั่นคืออันตรายอย่างยิ่งสำหรับมวลมุสลิมทั้งหลายที่มุ่งมั่นกระทำอิบาดัรสำหรับพระองค์
ท่านทั้งหลาย
การประกอบอิบาดัรของเรา เพื่อแสดงออกถึงความเป็นมุสลิม นั้น การกระทำต้องสัมพันธ์กันทั้งกาย วาจา และจิตใจ ซึ่งอิบาดัรของเรานั้น เป็นการแสดงออกถึงการใช้เวลา ท่วงทีกิริยา พร้อมทั้งจิตใจ จะต้องสัมพันธ์กัน ซึ่งการประกอบอิบาดัรนั้น จะเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับการใช้เวลา สถานที่ ทรัพย์สิน และสภาวะทางจิตใจ ทั้งนี้ ความมุ่งมั่นของเราต้องมุ่งตรงต่อพระองค์ทั้งสิ้น โดยเฉพาะการบริจาคซากาต นั้น จะแตกต่างจากอิบาดัรอื่นๆ เพราะเป็นอิบาดัรที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สิน เป็นการใช้จ่ายทรัพย์สิน และสิ่งหนึ่งที่ติดตามมา คือ การหวงแหนทรัพย์สิน การเสียดายทรัพย์สิน รวมไปถึงสภาวะทางจิตใจที่เกิดจากการจมปลักอยู่ในการแสวงหาผลประโยชน์จากทรัพย์สินนั้นๆ
อิบาดัรที่เกี่ยวกับการใช้ทรัพย์สิน มีข้อจำกัดถึงอัตราพิกัดของจำนวนทรัพย์สินที่เราต้องบริจาคเมื่อถึงเวลาที่กำหนดในรอบปีหนึ่งๆ แน่นอนว่า เมื่อเราต้องใช้จ่ายทรัพย์สินนั้นไปแล้ว เราอาจเกิดความเสียดายในทรัพย์สินนั้น บางครั้งเราอาจมองต่อยอดเช่นเดียวกับการลงทุน กล่าวคือ ต้องการได้รับมูลค่าเพิ่มจากการลงทุนในทรัพย์สินนั้น ด้วย แม้ว่าจะเป็นการบริจาคทานปัจจัยก็ตาม เสมือนหนึ่งว่า เราต้องได้รับผลประโยชน์จากมูลค่าเพิ่มที่เกิดขึ้นนั้นด้วย นั่นคือ สิ่งที่ท้าทายจากการใช้ทรัพย์สินตามแนวทางของพระองค์ เป็นการใช้ทรัพย์สินที่เราต้องแบ่งปัน ให้ กลับคืนสู่ผู้ที่มีสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้น แม้ว่าทรัพย์สินดังกล่าวนั้น จะหามาได้ด้วยน้ำพักน้ำแรงของเราก็ตาม แต่หากครบกำหนดตามกรอบแห่งระยะเวลา และพิกัดอัตราของการครอบครองในทรัพย์สินดังกล่าวแล้ว ทรัพย์สินที่เกินจากอัตราดังกล่าวนั้น ย่อมเป็นทรัพย์สินโดยชอบธรรมของสังคมที่ต้องแบ่งปันให้กับบรรดาผู้ที่มีสิทธิ์อันพึงได้รับประโยชน์จากทรัพย์สินนั้น ซึ่งเป็นหลักการพื้นฐานในการปฏิบัติของมุสลิม ขอให้พิจารณาโองการจากซูเราะห์ อาลิอิมรอน Al-Qur'an, 003.092 (Aal-E-Imran [The Family of Imran]) ความว่า
003.092 لَنْ تَنَالُوا الْبِرَّ حَتَّى تُنْفِقُوا مِمَّا تُحِبُّونَ وَمَا تُنْفِقُوا مِنْ شَيْءٍ فَإِنَّ اللَّهَ بِهِ عَلِيمٌ
003.092 By no means shall ye attain righteousness unless ye give (freely) of that which ye love; and whatever ye give, of a truth Allah knoweth it well.
92. พวกเจ้าจะไม่ได้คุณธรรมเลยจนกว่าพวกเจ้าจะบริจาคจากสิ่งที่พวกเจ้าชอบ และสิ่งใดที่พวกเจ้าบริจาคไป แท้จริงอัลลอฮฺทรงรู้ในสิ่งนั้นดี
ดังนั้น เมื่อทรัพย์สินดังกล่าว เป็นสิทธิ์ของพวกเขาเหล่านั้นแล้ว เราเป็นเพียงผู้ที่ต้องตอบสนองพระบัญชาใช้ของพระองค์ เพื่อแสดงออกถึงความยำเกรงต่อพระองค์ ซึ่งการแบ่งปันดังกล่าวหาใช่ เพื่อสนองตอบถึงผลประโยชน์ที่เกิดขึ้น เพราะประโยชน์ที่จะได้รับจากเรื่องราวดังกล่าวหาใช่ผลลัพท์ที่จะสะท้อนกลับมายังผู้บริจาค อาจกล่าวได้ว่า การบริจาคซากาตเป็นการให้เพื่อที่จะให้ ไม่ได้มีจุดมุ่งหมายที่จะเห็นผลลัพท์จากการตอบแทนความดีของเราจากผู้ที่ได้รับซากาตจากเราเท่านั้น แต่เป้าหมายนั้น คือการแสดงออกถึงความยำเกรงต่อพระองค์ หาใช้เพื่อสิ่งอื่นใดไม่ เพราะนั่นคือพระบัญชาใช้จากพระองค์ ดังนั้น ในการที่เราจะบริจาคสิ่งใดๆ เราจึงควรเลือกสิ่งที่ดีมีคุณภาพให้กับผู้ที่มีสิทธิ์รับซากาต หาใช่การที่เราจะไปเรียกร้องสิทธิประโยชน์ หรือเรียกร้องบุญคุณจากสิ่งที่เราได้บริจาคออกไป เพราะนั่นหาใช่เป็นการสนองตอบต่อพระองค์ไม่ แต่เป็นการแสดงออกถึงการใช้ที่หวังผลตอบแทน เป็นความเสียดายในทรัพย์สิน ที่เราไม่สามารถสลัดภาพแห่งการหวงแหนออกไปได้ และผลร้ายแห่งสิ่งนั้น คือ เราไม่ได้สนองพระบัญชาใช้เพื่อพระองค์ หากแต่เป็นการลงทุนที่ขาดทุนย่อยยับอย่างสิ้นเชิง
ขอให้พิจารณาโองการจากซูเราะห์อัตเตาบะห์ Al-Qur'an, 009.044-045 (At-Tawba [Repentance, Dispensation]) ความว่า
009.044 لا يَسْتَأْذِنُكَ الَّذِينَ يُؤْمِنُونَ بِاللَّهِ وَالْيَوْمِ الآخِرِ أَنْ يُجَاهِدُوا بِأَمْوَالِهِمْ وَأَنْفُسِهِمْ وَاللَّهُ عَلِيمٌ بِالْمُتَّقِينَ
009.044 Those who believe in Allah and the Last Day ask thee for no exemption from fighting with their goods and persons. And Allah knoweth well those who do their duty.
44. “บรรดาผู้ที่ศรัทธาต่ออัลลอฮ์ และวันปรโลกนั้นจะไม่ขออนุมัติต่อเจ้าในการที่พวกเขาจะเสียสละทั้งด้วยทรัพย์ของพวกเขา และชีวิตของพวกเขา (หมายถึงพวกเขาอยู่ในสภาพเตรียมพร้อมอยู่เสมอ เพราะรู้จักหน้าที่ของตน เมื่อถึงเวลาที่พวกเขาจะเสียสละทรัพย์และชีวิตของเขาแล้ว เขาจะนำทรัพย์ของเขาไปมอบให้แก่ท่านนะบี และเตรียมตัวออกทำการต่อสู้ทันที โดยไม่ต้องขออนุญาตต่อท่านนะบีแต่อย่างใด) และอัลลอฮ์นั้นเป็นผู้ทรงรอบรู้ต่อบรรดาผู้ที่ยำเกรง”

009.045 إِنَّمَا يَسْتَأْذِنُكَ الَّذِينَ لا يُؤْمِنُونَ بِاللَّهِ وَالْيَوْمِ الآخِرِ وَارْتَابَتْ قُلُوبُهُمْ فَهُمْ فِي رَيْبِهِمْ يَتَرَدَّدُونَ
009.045 Only those ask thee for exemption who believes not in Allah and the Last Day, and whose hearts are in doubt, so that they are tossed in their doubts to and fro.
45. “แท้จริงที่จะขออนุมัติต่อเจ้านั้นคือบรรดาผู้ที่ไม่ศรัทธาต่ออัลลอฮ์ และวันปรโลกและหัวใจของพวกเขาสงสัยเท่านั้น (หมายถึงพวกมุนาฟิก) แล้วในการสงสัยของพวกเขานั้นเอง พวกเขาจึงลังเลใจ”
ดังนั้น จะเห็นได้ว่า การประกอบอามั้ลสำหรับพระองค์ นั้น สิ่งที่เป็นอันตรายต่อจุดมุ่งหมายปลายทางแห่งอามั้ลของเรานั่นคือ จิตใจของเราเพียงเท่านั้น อาจกล่าวได้ว่า เวลาที่เราละหมาดโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อพระองค์ สนองตอบถึงความยำเกรงต่อพระองค์ แน่นอนว่า บางครั้งอาจพบว่า ผู้ที่ละหมาด เพียงต้องการที่จะแสดงออกให้คนอื่นๆ เห็น และเข้าใจว่าเขาเป็นผู้ที่อยู่ในกลุ่มของบ่าวผู้ภักดีต่อพระองค์ เป็นการสร้างเจตนาที่เคลือบแฝงไปพร้อมๆ กันด้วยแล้ว อย่างนี้ เราอาจไม่ได้รับผลแห่งการกระทำตามที่เรามุ่งตรงต่อพระองค์ เช่นเดียวกัน การบริจาคซากาตแม้ว่าเราจะปฏิบัติตามพระบัญชาของพระองค์ แต่เราเกิดความหวงแหน ต้องการสร้างให้เกิดมูลค่าเพิ่มทางสังคม ให้คนทั่วๆ ไปมองว่า เราเป็นคนใจบุญ เรามีความเมตตา เราโอ้อวดให้คนทั่วๆ ไปแลเห็น รวมไปถึงการแสดงออกถึงความเสียดายในทรัพย์สินนั้น มองว่าอยากให้คนที่รับซากาตจากเราไปนั้น ให้ความสำคัญกับเรา อย่างนี้เป็นจุดบกพร่องของการแสดงออกถึงเจตนาที่จะให้ซากาตเพื่อให้กับเขาเหล่านั้น ไม่ใช่เจตนาอันแท้จริงของการบริจาคเพื่อสนองพระบัญชาใช้เพื่อพระองค์ด้วยความยำเกรง เช่นนี้ เราต้องมีจิตใจที่หนักแน่นมั่นคงมุ่งตรงต่อพระองค์ ในการกระทำอามั้ลเพื่อพระองค์ อย่างแท้จริง ไม่มีเจตนาอื่นๆ ที่เคลือบแคลงแฝงเร้นไปพร้อมๆกับการกระทำของเรา ดังนั้น ขอให้เราทั้งหลายจงพึงสังวรในเรื่องนี้ ให้มากที่สุด
ท่านทั้งหลาย
การใช้ทรัพย์สินของเรา การแสวงหาประโยชน์จากทรัพย์ดังกล่าวนั้น เป็นดาบสองคมที่แทรกแซงจุดมุ่งหมายปลายทางของการทำอามั้ลเพื่อพระองค์ แม้ว่าทรัพย์สินดังกล่าวเป็นความชอบธรรมสำหรับ หากแต่เมื่อทรัพย์สินดังกล่าวนั้น เป็นพิกัดที่เราต้องตอบสนองพระองค์แล้ว แน่นอน เราต้องพิจารณามอบทรัพย์ที่ดีจากมวลบรรดาทรัพย์สินดังกล่าวให้กับผู้ที่มีสิทธิ์ในทรัพย์สินดังกล่าว เป็นการให้เพื่อการให้อย่างแท้จริง มิใช่เป็นการให้เพื่อที่เราจะได้รับการสรรเสริญเยินยอจากคนทั่วๆ ไป แต่การสนองตอบต่อการใช้ทรัพย์สินนั้น สำหรับพระองค์แล้ว ความยำเกรงที่เกิดขึ้น เสมือนเป็นยานพาหนะที่จะนำพาเรากลับไปยังพระองค์ โดยที่เราไม่ต้องมุ่งหวังสิ่งตอบแทนใดๆ จากผู้ใดอีก แต่สิ่งนั้น บางครั้งมนุษย์อาจมองข้ามความสำคัญต่อการใช้จ่ายทรัพย์สินนั้นตามแนวทางความโปรดปราณปราณีจากพระองค์ ขอให้พิจารณาตัวบทฮาดีส ต่อไปนี้
I came to Allah's Apostle (peace be upon him) as he was reciting: "Abundance diverts you" (cii.1). He said: The son of Adam claims: My wealth, my wealth. And he (the Prophet) said: O, son of Adam, is there anything as your belonging except that which you consumed, which you utilised, or which you wore and then it was worn out or you gave as charity and sent it forward? Narrated by : Abdullah ash-Shikhkhir Source : Sahih Muslim 7061
จะเห็นได้ว่า ในการใช้จ่ายทรัพย์สินใดๆ ของเราแล้ว นอกจากเราจะได้ใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินดังกล่าวนั้นแล้ว เราต้องมุ่งมั่นและใช้สอยทรัพย์สินนั้น ด้วยความระมัดระวัง อย่าสุลุ่ยสุร่าย ต้องรู้จักประหยัด เหลือเก็บออมบ้าง และหากว่าทรัพย์สินที่เราเก็บไว้นั้น ครบตามพิกัดตามกำหนดระยะเวลาแล้ว เราต้องให้ซากาตกับผู้ที่มีสิทธิ์ เพื่อสนองตอบพระประสงค์ของพระองค์ด้วยความยำเกรงโดยที่ไม่มีเจตนาอื่นใดเคลือบแคลงแฝงเร้น เพราะสิ่งนั้นอาจทำให้เกิดความบกพร่องต่ออามั้ลของเราสำหรับพระองค์ อย่างแน่นอน

إِنَّ اللَّهَ وَمَلائِكَتَهُ يُصَلُّونَ عَلَى النَّبِيِّ يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا صَلُّوا عَلَيْهِ وَسَلِّمُوا تَسْلِيمًا
رَبَّنَا آتِنَا فِي الدُّنْيَا حَسَنَةً وَفِي الآخِرَةِ حَسَنَةً وَقِنَا عَذَابَ النَّارِ
إِنَّ اللَّهَ يَأْمُرُ بِالْعَدْلِ وَالإحْسَانِ وَإِيتَاءِ ذِي الْقُرْبَى وَيَنْهَى عَنِ الْفَحْشَاءِ وَالْمُنْكَرِ وَالْبَغْيِ يَعِظُكُمْ لَعَلَّكُمْ تَذَكَّرُونَ
سُبْحَانَ رَبِّكَ رَبِّ الْعِزَّةِ عَمَّا يَصِفُونَ
وَسَلامٌ عَلَى الْمُرْسَلِينَ
وَالْحَمْدُ لِلَّهِ رَبِّ الْعَالَمِينَ
ว่าบิ้ลลาฮิเตาฟีก วั้ลฮิดายะห์
วัสสลาม
มูฮำหมัด สันประเสริฐ

อ้างอิง
Text Copied from DivineIslam's Qur'an Viewer software v2.9
อัลกุรอ่านฉบับภาษาไทย สมาคมนักเรียนเก่าอาหรับ ดำเนินการจัดพิมพ์โดยกระทรวงกิจการฮัจย์ แห่งราชอาณาจักรซาอุดิอาเบีย http://www.alquran-thai.com/
อัลฮาดีซ : Hadith of The Day V 1.0 Freeware by FaridAnasri avater@muslimonline.com www.beconvinced.com

วันพฤหัสบดีที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2553

ช่วยกันดูแลสังคม 2

มิมบัรออนไลน์
คุตบะห์วันศุกร์ 15 เซาวาล 1431 (วันศุกร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2553)
ช่วยกันดูแลสังคม 2

الْحَمْدُ لِلَّهِ رَبِّ الْعَالَمِينَ
يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا قُوا أَنْفُسَكُمْ وَأَهْلِيكُمْ نَارًا وَقُودُهَا النَّاسُ وَالْحِجَارَةُ عَلَيْهَا مَلائِكَةٌ غِلاظٌ شِدَادٌ لا يَعْصُونَ اللَّهَ مَا أَمَرَهُمْ وَيَفْعَلُونَ مَا يُؤْمَرُونَ
الزَّانِيَةُ وَالزَّانِي فَاجْلِدُوا كُلَّ وَاحِدٍ مِنْهُمَا مِائَةَ جَلْدَةٍ وَلا تَأْخُذْكُمْ بِهِمَا رَأْفَةٌ فِي دِينِ اللَّهِ إِنْ كُنْتُمْ تُؤْمِنُونَ بِاللَّهِ وَالْيَوْمِ الآخِرِ وَلْيَشْهَدْ عَذَابَهُمَا طَائِفَةٌ مِنَ الْمُؤْمِنِينَ
الزَّانِي لا يَنْكِحُ إلا زَانِيَةً أَوْ مُشْرِكَةً وَالزَّانِيَةُ لا يَنْكِحُهَا إِلا زَانٍ أَوْ مُشْرِكٌ وَحُرِّمَ ذَلِكَ عَلَى الْمُؤْمِنِينَ
وَالَّذِينَ يَرْمُونَ الْمُحْصَنَاتِ ثُمَّ لَمْ يَأْتُوا بِأَرْبَعَةِ شُهَدَاءَ فَاجْلِدُوهُمْ ثَمَانِينَ جَلْدَةً وَلا تَقْبَلُوا لَهُمْ شَهَادَةً أَبَدًا وَأُولَئِكَ هُمُ الْفَاسِقُونَ
إِلا الَّذِينَ تَابُوا مِنْ بَعْدِ ذَلِكَ وَأَصْلَحُوا فَإِنَّ اللَّهَ غَفُورٌ رَحِيمٌ
ท่านพี่น้องผู้ศรัทธาทั้งหลาย
ขอให้ทุกๆ ท่าน จงตรวจสอบตนเอง ว่า ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมานี้ กิจการงานต่างๆ ที่เราได้ปฏิบัติมานั้น มีสิ่งบกพร่องเกิดขึ้นมากน้อยเพียงใด และเราได้จัดการในเรื่องของความบกพร่องนั้น อย่างไรบ้าง มีเรื่องใดที่ประสบความสำเร็จ และเรื่องใดที่ยังดำเนินการอยู่ มีเรื่องใดบ้างที่ไม่สำเร็จ ดังนั้น จึงเป็นหน้าที่สำคัญสำหรับเราทั้งหลายที่จะมุ่งมั่นแก้ไขปรับปรุง เปลี่ยนแปลง เพื่อให้ภารกิจต่างๆ เหล่านั้น ประสบความสำเร็จ และมีความบกพร่องน้อยที่สุด ไม่ว่ากิจกรรมใดๆ ของเราก็ตาม จะดำเนินไปด้วยความมุ่งมั่นและให้ผลมุ่งตรงต่อความสำเร็จ หรือไม่อย่างไร นั้น ขอให้เราสำรวมจิตใจ และมุ่งผลสำเร็จโดยมีจุดมุ่งหมายและมอบหมายความสำเร็จต่างๆเหล่านั้น เพื่อพระเจ้าผู้ทรงเมตตากรุณาปราณี ซึ่งเป็นจุดมุ่งหมายสำคัญ เสริมสร้างความยำเกรงต่อพระองค์ เพิ่มขีดความสามารถในภารกิจของเราด้วยความยำเกรงต่อพระองค์ ซึ่งเป็นภารกิจสำคัญของเรา ที่มุ่งตรงต่อพระองค์อย่างแท้จริง
ท่านทั้งหลาย
เราทั้งหลายได้ตรวจสอบครอบครัวของเราอย่างไรบ้าง หากมองโลกในภาพรวม เราจะพบว่าสังคมโดยส่วนรวมนั้นมีความเลวร้ายต่างๆ นาๆ เกิดขึ้นอย่างมากมาย หลายๆ เรื่องสะท้อนให้เห็นถึงความชั่วร้าย ความไม่มีอารยธรรมของชนซึ่งมองว่าตนเองมีความสมบูรณ์พูนสุข มีสติปัญญาที่ดีเลิศ แต่พฤติกรรมบางประการกลับไม่แตกต่างจากสัตว์เดรัจฉาน เพราะความที่พวกมันไม่ต้องใช้สติปัญญาในการไตร่ตรองในเรื่องต่างๆ ความผิดชอบชั่วดีทั้งหลาย การวิเคราะห์แยกแยะต่อพฤติกรรมต่างๆ แต่อาจมองอีกมุมหนึ่งได้ว่า สัตว์เดรัจฉานเหล่านั้น มันมีพฤติกรรมตามสัญชาตญาณของมัน เป็นการแสดงออกถึงความมีอยู่และความเป็นสัตว์ชาติพันธ์เหล่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการแพร่พันธ์ การผสมพันธ์ เพื่อที่จะสร้างทายาทรุ่นใหม่ของมัน ในอันที่จะพยุงพันธุ์ของพวกมันเอาไว้ไม่ให้สูญพันธุ์ ดังนั้น ในการผสมพันธุ์ของสัตว์ต่างๆ เมื่อถึงฤดูผสมพันธ์ มันทั้งหลายต่างจับคู่กัน ตามสัญชาตญาณแห่งพวกมัน เพื่อสร้างทายาทในรุ่นต่อๆไป ซึ่งแตกต่างจากมนุษย์ ซึ่งมีสติปัญญาที่จะจำแนกแยกแยะความรู้สึกผิดชอบชั่วดีทั้งหลาย ดังนั้น มนุษย์ไม่ว่าจะกำเนิดในวัฒนธรรมใดก็ตาม จะมีประเพณี และศาสนากำหนดถึงพฤติกรรมโดยเฉพาะ การสร้างทายาทรุ่นใหม่ มนุษย์จะมีประเพณีอันหนึ่งที่แตกต่างกันไปตามท้องถิ่นตามวิถีชีวิตของแต่ละท้องถิ่นนั้น กำหนด หากชนกลุ่มใดคิดแตกต่างจากสังคม แน่นอนว่า เขาผู้นั้นถือเป็นคนที่ผิดแปลกแยกไปจากสังคม แม้ในปัจจุบันความเจริญทางวัตถุเป็นตัวกำหนดความแตกต่างทางวัฒนธรรม แต่กระนั้นก็ตาม ความเป็นมนุษย์ ความเป็นผู้ที่มีสติปัญญาจึงไม่มีสังคมใดที่ยอมรับการที่มนุษย์จะมีพฤติกรรมหรือสัญชาตญาณเฉกเช่นเดียวกับสัตว์ ที่เมื่อถึงคราวแห่งฤดูผสมพันธ์แล้ว ไม่แยกแยะถึงความถูกต้อง ตามครรลองแห่งสังคมประเพณีและศาสนา แต่เพียงความถูกใจแล้ว นั่นย่อมทำให้เกิดความตกต่ำเพราะมีพฤติกรรมที่ไม่แตกต่างกับสัตว์ ที่ไม่มีการแยกแยะในเรื่องราวเช่นนี้ ดังนั้น วันนี้จึงเป็นหน้าที่สำคัญของเราทั้งหลายที่จะมุ่งตรวจสอบพฤติกรรมของครอบครัวของเรา โดยเฉพาะลูกหลานและคนในปกครองของเรา ได้หลงระเริงไปตามการยั่วยุจากบรรดาสรรพสิ่งที่หลั่งไหลมาตามกระบวนการสื่อสารมวลชนในปัจจุบัน หรือไม่ ซึ่งจะเห็นได้ว่า สังคมในปัจจุบัน กระแสของการเลียนแบบโดยเฉพาะการเลือนแบบคนดังมีมากขึ้น เป็นการเลียนแบบทางพฤติกรรม โดยเฉพาะการเลียนแบบแนวทางการใช้ชีวิต ซึ่งจะรวมไปถึงการเข้าถึงความเป็นส่วนตัวของบุคคลสาธารณะ ซึ่งแน่นอนว่า หากตัวอย่างที่เยาวชนได้รับเป็นตัวอย่างที่ดี เขาเหล่านั้นก็จะได้ติดตามแบบอย่างและแนวทางที่ดีต่อไป แต่หากว่าตัวอย่างที่ได้รับมานั้น เป็นตัวอย่างที่ไม่ดี ก็เป็นหน้าที่สำคัญที่ผู้ปกครองจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้วิจารณญาณเพื่อการชี้แนะ โดยใช้แนวทางที่สอดคล้องกับการประพฤติปฏิบัติอันดีงามตามแบบฉบับที่ดี เพราะหากเกิดข้อผิดพลาด หรือคลาดเคลื่อนจากแบบฉบับอันดีงามแล้ว ย่อมส่งผลให้เกิดความเสียใจอย่างไม่น่าอภัยในที่สุด
ท่านทั้งหลาย
ครอบครัว เป็นหน่วยหนึ่งทางสังคมที่มีขนาดเล็กที่สุด ขอให้พิจารณาหน้าที่ที่สำคัญของผู้ปกครอง ตามนัยแห่งโองการจากซูเราะห์ อัล ตาฮ์รีม Al-Qur'an, 066.006 (At-Tahrim [Banning, Prohibition]) ความว่า
066.006 يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا قُوا أَنْفُسَكُمْ وَأَهْلِيكُمْ نَارًا وَقُودُهَا النَّاسُ وَالْحِجَارَةُ عَلَيْهَا مَلائِكَةٌ غِلاظٌ شِدَادٌ لا يَعْصُونَ اللَّهَ مَا أَمَرَهُمْ وَيَفْعَلُونَ مَا يُؤْمَرُونَ
066.006 O ye who believe! save yourselves and your families from a Fire whose fuel is Men and Stones, over which are (appointed) angels stern (and) severe, who flinch not (from executing) the Commands they receive from Allah, but do (precisely) what they are commanded.
6. โอ้บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย จงคุ้มครองตัวของพวกเจ้าและครอบครัวของพวกเจ้าให้พ้นจากไฟนรก เพราะเชื้อเพลิงของมันคือมนุษย์ และก้อนหิน มีมะลาอิกะฮฺผู้แข็งกร้าวหาญคอยเฝ้ารักษามันอยู่ พวกเขาจะไม่ฝ่าฝืนอัลลอฮฺในสิ่งที่พระองค์ทรงบัญชาแก่พวกเขา และพวกเขาจะปฏิบัติตามที่ถูกบัญชา (เป็นการเรียกร้องของอัลลอฮฺแก่ปวงบ่าวของพระองค์ที่เป็นมุอฺมิน และทรงตักเตือนพวกเขาว่าจงคุ้มครองป้องกันตัวเองและครอบครัวที่ประกอบด้วยภริยาและลูกหลานจากไฟนรกที่ร้อนแรงด้วยการหยุดกระทำสิ่งที่เป็นการฝ่าฝืนต่ออัลลอฮฺและร่อซูลของพระองค์ และการทำความดีที่เป็นการจงรักภักดี เพราะเชื้อเพลิงของไฟนรกนั้นก็คือมนุษย์ที่เป็นผู้ฝ่าฝืนและก้อนหิน และที่นรถนั้นมีมะลาอิกะฮฺทำหน้าที่เฝ้าประตู 19 ท่าน มีจิตใจที่เหี้ยมหาญ แข็งกร้าว ไม่มีความเมตตาต่อผู้ใดได้รับมอบหมายให้ทำการลงโทษผู้ที่ฝ่าฝืนปฏิเสธศรัทธา พวกเขาจะไม่ฝ่าฝืนหรือขัดแย้งคำบัญชาของพระองค์ และจะปฏิบัติตามสิ่งที่ถูกบัญชา)
จะเห็นได้ว่า การดูแลครอบครัว เป็นหน้าที่หลักที่ผู้ปกครองพึงสังวรและหมั่นปลูกฝังในเรื่องที่ดีงามให้กับพวกเขา อย่าปล่อยปละละเลย แม้แต่จะเป็นเพียงเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ก็ตาม บทบาทของผู้ปกครอง ซึ่งนอกจากจะเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับเขาแล้ว จะต้องคอยกลั่นกรองและให้คำปรึกษาแก่เขาตามลำดับอายุของเขาและสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป ทั้งทางสังคม กลุ่มเพื่อนๆ และกลุ่มแวดล้อมต่างๆที่เขาประสบพบและสัมผัส ซึ่งหากผู้ปกครองปล่อยให้เขาผจญกับเรื่องราวต่างๆ และตัดสินใจด้วยลำพังตนเองแล้ว สภาพแวดล้อมที่อยู่รอบตัวเขาอาจทำให้เขาหลงใหลไปตามกระแส หรือแฟชั่น ตามวัยคะนองของเขาเหล่านั้น ดังนั้น จึงถือเป็นบทบาท ภารกิจและหน้าที่ที่สำคัญที่สุดของผู้ปกครองที่ต้องหมั่นดูแลและรักษาพวกเขาให้อยู่ในแนวทางที่เที่ยงตรง อย่าหลงใหลหรือเพลิดเพลินไปตามสิ่งเร้าที่เข้ามาเป็นแบบอย่างแก่พวกเขา เพราะมิฉะนั้นแล้ว สิ่งต่างๆ ที่อยู่ในความสนใจของพวกเขา อาจส่งผลกระทบต่อตัวเขารวมถึงผู้ปกครองของพวกเขาทั้งหลายด้วย
ท่านทั้งหลาย
เราทั้งหลายต่างมุ่งมั่นที่จะเสกสรรปั้นแต่งลูกหลานของเราให้เป็นประชากรยุคสุดท้ายที่อยู่ในแนวทางอันเที่ยงธรรมเป็นแนวทางที่พระองค์อัลลอฮ์ (ซ.บ.) ทรงรักและทรงเมตตา แต่ในขณะเดียวกันกลับพบว่า ยุคสมัยที่การสื่อสารมีความทันสมัย โลกทั้งใบ สามารถเข้าถึงได้โดยใช้เวลาไม่นานนัก มีตัวอย่างอันมากมายที่จะเข้ามาสู่สังคมของเราโดยที่ในบางเรื่องผู้ปกครองไม่สามารถใช้เวลากลั่นกรองให้กับพวกเขาได้อย่างทันท่วงที ไม่ว่าจะเป็น เรื่องยาเสพติด การพนัน หรือการประพฤติผิดทางเพศ “ซินา” ซึ่งจะเห็นได้ว่า ทั้งสามเรื่องดังกล่าวจะเป็น วาระ (Agenda) ที่ผู้ปกครองทั้งหลายต้องหมั่นตรวจสอบดูแลและเอาใจใส่อย่างจริงจัง ซึ่งโดยเฉพาะผู้ปกครองที่มีบุตรหลานอยู่ในกลุ่มวัยรุ่น ที่มีความคึกคะนอง และอยากรู้อยากเห็น ไปพร้อมๆ กับสิ่งกระตุ้นจากสภาพแวดล้อมที่ผู้ปกครองนั้นสามารถควบคุมได้และไม่สามารถควบคุมได้ เสมือนหนึ่งผู้ปกครองให้ “รีโมตทีวี” แก่บุตรหลาน โดยที่ผู้ปกครองต้องควบคุมและกำกับดูแลตามความเหมาะสม แต่ในขณะที่ความอยากรู้อยากเห็นของพวกเขามีอย่างไม่จำกัด เช่นนี้ การกำหนดช่วงเวลา การกำหนดการเข้าถึงข้อมูลของผู้ปกครองที่จะมีต่อพวกเขา จึงถือเป็นกฎเกณฑ์ที่สำคัญ ที่ใช้เป็นกฎ กติกา และมารยาท ที่ผู้ปกครองจะใช้ในการบังคับจำกัดสิทธิสำหรับพวกเขา เพราะถือเสมือนหนึ่งเป็นการควบคุมและกำกับการดูแลไปในตัว ซึ่งสิ่งที่น่ากลัวที่สุด ก็คือ ในแวดวงข่าวสาร ที่แพร่สะพัดตามสื่อสารมวลต่างๆ ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ปกครองต้องให้ความสำคัญ ให้ความสนใจ และให้คำแนะนำอันเป็นประโยชน์สำหรับพวกเขา โดยเฉพาะอย่างยิ่งภัยที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ที่ร้ายแรงยิ่งกว่ายาเสพติด และการพนัน นั่นคือ ซินา ซึ่งจะเห็นว่า ความผิดพลาดเกี่ยวกับเรื่องนี้ จะสร้างบาดแผลฉกรรจ์ ให้กับเขา เฉกเช่นตัวอย่างทั้งหลายจากสื่อสารมวลชนที่ปรากฏมีให้เห็นอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน ขอให้พิจารณาโองการจากซูเราะห์ อัลนูร Al-Qur'an, 024.002-005 (An-Noor [The Light]) ความว่า
024.002 الزَّانِيَةُ وَالزَّانِي فَاجْلِدُوا كُلَّ وَاحِدٍ مِنْهُمَا مِائَةَ جَلْدَةٍ وَلا تَأْخُذْكُمْ بِهِمَا رَأْفَةٌ فِي دِينِ اللَّهِ إِنْ كُنْتُمْ تُؤْمِنُونَ بِاللَّهِ وَالْيَوْمِ الآخِرِ وَلْيَشْهَدْ عَذَابَهُمَا طَائِفَةٌ مِنَ الْمُؤْمِنِينَ
024.002 The woman and the man guilty of adultery or fornication,- flog each of them with a hundred stripes: Let not compassion move you in their case, in a matter prescribed by Allah, if ye believe in Allah and the Last Day: and let a party of the Believers witness their punishment.
2. หญิงมีชู้และชายมีชู้ พวกเจ้าจงโบยแต่ละคนในสองคนนั้นคนละหนึ่งร้อยที (สิ่งที่เราบัญญัติแก่พวกเจ้าคือ ให้โบยพวกทำชู้ (ทำซินา) ที่ยังมิได้แต่งงาน (หรือชายโสด หญิงโสด) คนละหนึ่งร้อยที เป็นการลงโทษแก่เขาทั้งสองที่กระทำอาชญากรรมที่น่ารังเกียจ) และอย่าให้ความสงสารยับยั้งการกระทำของพวกเจ้าต่อคนทั้งสองนั้น ในบัญญัติของอัลลอฮฺเป็นอันขาด (คืออย่าให้ความสงสารและความเมตตาระงับการกระทำของพวกเจ้าในบัญญัติของอัลลอฮฺ คือโบยแต่เพียงเบา ๆ หรือลดจำนวนโบย พวกเจ้าจงโบยให้เจ็บจริงๆ) หากพวกเจ้าศรัทธาต่ออัลลอฮฺและวันปรโลก และจงให้กลุ่มหนึ่งของบรรดาผู้ศรัทธาเป็นพยานในการลงโทษเขาทั้งสอง (การเป็นพยานในการลงโทษนั้นนับได้ว่าเป็นการประจาน เพื่อให้เป็นแบบฉบับและเป็นที่เข็ดหลาบ สาเหตุของการประทานโองการนี้คือ มีรายงานว่า สตรีผู้หนึ่งชื่อ “อุมมุมะฮ์ซูล" ซึ่งเป็นโสเภณี เธอจะร่วมประเวณีกับผู้ชายโดยตั้งเงื่อนไขว่า เธอจะเป็นผู้จ่ายเงินให้เขา ชายมุสลิมคนหนึ่งประสงค์จะแต่งงานกับเธอ เขาจึงได้ไปแจ้งต่อท่านร่อซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม อัลลอฮฺจึงได้ประทานโองการนี้ลงมาว่า)
024.003 الزَّانِي لا يَنْكِحُ إلا زَانِيَةً أَوْ مُشْرِكَةً وَالزَّانِيَةُ لا يَنْكِحُهَا إِلا زَانٍ أَوْ مُشْرِكٌ وَحُرِّمَ ذَلِكَ عَلَى الْمُؤْمِنِينَ
024.003 Let no man guilty of adultery or fornication marry and but a woman similarly guilty, or an Unbeliever: nor let any but such a man or an Unbeliever marry such a woman: to the Believers such a thing is forbidden.
3. ชายมีชู้จะไม่สมรสกับใคร นอกจากกับหญิงมีชู้หรือหญิงมุชริกะฮ์ และหญิงมีชู้จะไม่มีใครสมรสกับเธอ นอกจากกับชายมีชู้หรือชายมุชริก (ชายมีชู้และหญิงมีชู้ ไม่เหมาะสมที่จะสมรสกับหญิงบริสุทธิ์ที่มีเกียรติ แต่จะสมรสกับผู้ที่มีสภาพเดียวกันหรือเลวกว่า หรือมุชริกะฮ์หรือมุชริก คือผู้ที่ตั้งภาคีหรือคนกาฟิรนั่นเอง) และ (การมีชู้) เช่นนั้นเป็นที่ต้องห้ามแก่บรรดาผู้ศรัทธา
024.004 وَالَّذِينَ يَرْمُونَ الْمُحْصَنَاتِ ثُمَّ لَمْ يَأْتُوا بِأَرْبَعَةِ شُهَدَاءَ فَاجْلِدُوهُمْ ثَمَانِينَ جَلْدَةً وَلا تَقْبَلُوا لَهُمْ شَهَادَةً أَبَدًا وَأُولَئِكَ هُمُ الْفَاسِقُونَ
024.004 And those who launch a charge against chaste women, and produce not four witnesses (to support their allegations),- flog them with eighty stripes; and reject their evidence ever after: for such men are wicked transgressors;-
4. และบรรดาผู้กล่าวโทษบรรดาหญิงบริสุทธิ์ (กล่าวหาว่าเธอมีชู้หรือทำซินา) แล้วพวกเขามิได้นำพยานสี่คนมา(คือมิได้นำพยานที่ยุติธรรมมาสี่คน เพื่อเป็นพยานต่อข้อกล่าวหาของพวกเขาดังกล่าว) พวกเจ้าจงโบยพวกเขาแปดสิบที และพวกเจ้าอย่ารับการเป็นพยานของพวกเขาเป็นอันขาด (เพราะพวกเขากล่าวเท็จ ใส่ร้ายหญิงบริสุทธิ์ และเข้าไปยุ่งเกี่ยวทำลายเกียรติยศของผู้อื่น นอกจากนั้นพวกเจ้าอย่าได้รับการเป็นพยานของพวกเขาเป็นอันขาด ในเมื่อยังคงประพฤติปฏิบัติเช่นนั้น) ชนเหล่านั้นพวกเขาเป็นผู้ฝ่าฝืน(อิบนุกะษีรกล่าวว่า อัลลอฮ์ทรงบัญญัติโทษแก่ผู้กล่าวโทษ หากเขามิได้นำหลักฐานมายืนยันในสิ่งที่เขาได้กล่าวหา มี 3 ประการด้วยกันคือ หนึ่ง: โบยแปดสิบที สอง: ไม่รับการเป็นพยานของเขา สาม: เป็นผู้ฝ่าฝืนปราศจากความยุติธรรม ณ ที่อัลลอฮ์และมหาชน)
024.005 إِلا الَّذِينَ تَابُوا مِنْ بَعْدِ ذَلِكَ وَأَصْلَحُوا فَإِنَّ اللَّهَ غَفُورٌ رَحِيمٌ
024.005 Unless they repent thereafter and mend (their conduct); for Allah is Oft-Forgiving, Most Merciful.
5. นอกจากบรรดาผู้ลุแก่โทษหลักจากนั้น (คือกลับเนื้อกลับตัวและเสียใจในการกระทำของเขา หลังจากที่ได้ทำบาปอันยิ่งใหญ่) และพวกเขาปรับปรุงตัวเองให้ดีขึ้น (คือไม่กลับไปทำสิ่งชั่วช้าดังกล่าวอีกและต้องแสดงออกซึ่งการกลับเนื้อกลับตัว) แท้จริงอัลลอฮ์นั้นเป็นผู้ทรงอภัยผู้ทรงเมตตาเสมอ
จากทั้ง 4 โองการที่ได้ยกมากล่าวนี้ จะเห็นถึงบาดแผลอันอาจเกิดขึ้นจากการกระทำ “ซินา” จะเห็นว่า ณ พระองค์ผู้ทรงอภิบาลแล้ว ทรงเมตตาต่อปวงบ่าวทั้งหลาย ซึ่งสำหรับเราทั้งหลายในที่นี้ พระองค์นั้นทรงเมตตาประชาชาติทั้งหลาย หากเขาเหล่านั้น กลับตัวและขอลุแก่โทษเพื่อพระองค์ ด้วยความยำเกรงต่อพระองค์ เช่นนี้ ขอให้เราทั้งหลายจงออกห่างไกลต่อสิ่งเร้าหรือสิ่งกระตุ้นที่จะทำให้เกิดบาดแผลจากการกระทำดังกล่าวนั้นเถิด เพราะการกระทำละเมิดต่อกฎเกณฑ์ดังกล่าวของพระองค์ ย่อมส่งผลกระทบอันกว้างขวาง ต่อสรรพสิ่งที่จะมีมาต่อเนื่องจากเรื่องนี้ แม้ว่าสังคมโดยรวมอาจให้อภัย แต่หากมองดูถึงพฤติกรรมโดยรวมแล้ว การกระทำเหล่านั้น เป็นการกระทำที่ส่งภาพรวมให้เห็นได้ว่า มนุษย์ไม่มีความแตกต่างจากสัตว์เดรัจฉาน ตรงที่ไม่มีการแยกแยะ ไม่ใช้สติปัญญาในการไตร่ตรอง ความผิดถูกชั่วดี กรณีนี้ แม้ไม่มีผลร้ายแรงอย่างการเสพยาเสพติด แต่ การกระทำพฤติกรรมที่ลอกเลียนแบบของสัตว์เดรัจฉานแล้ว ถือเป็นสิ่งที่น่าละอายและถือเป็นโทษที่ร้ายแรงยิ่งสำหรับมวลชนผู้ศรัทธาและหวังในความเมตตาจากพระองค์ ขอให้เราทั้งหลายและคนในครอบครัวแต่ละท่าน จงออกให้ห่างไกล จากสิ่งชั่วร้ายทั้งปวงด้วยเถิด
ท่านพี่น้องผู้ศรัทธาแล้วทั้งหลาย
ไม่มีการต่อสู้ (Jihad) ครั้งใดที่สำคัญไปกว่าการต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งความเป็นสุขของครอบครัว ดังนั้น ในแง่มุมนี้ จึงขอให้แต่ละท่านกลับไปตรึกตรองและให้แนวคิดสำหรับแต่ละครอบครัว จงร่วมกัน รณรงค์ร่วมกัน เพื่อสรรสร้างความดี ประพฤติปฏิบัติอยู่ในกรอบแห่งศีลธรรมจรรยา เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดและอยู่กันโดยสันติสุขของแต่ละคนในครอบครัวของเรา ขอนำดำรัสของท่านศาสดา มาให้แต่ละท่านพิจารณา ความว่า
A man said to the Prophet, "Shall I participate in Jihad?" The Prophet said, "Are your parents living?" The man said, "Yes." the Prophet said, "Do Jihad for their benefit." Narrated by : Abdullah bin Amr Source : Sahih Al-Bukhari 8.3
ทั้งนี้ เพื่อที่แต่ละครอบครัวจะได้ร่วมกันยกระดับการต่อสู้กับความเลวร้ายของสังคม ความหลอกลวงจากมายาภาพที่มาพร้อมกับตัวอย่างที่ไม่ดีทั้งหลาย ภัยจากสื่อสารมวลชน ที่ล่อลวงแฝงเร้นมาพร้อมกับยาเสพติด การพนันและการประพฤติผิดเกี่ยวกับเรื่องเพศ ซึ่งทั้งหมดนี้ เราสามารถสร้างภูมิคุ้มกันที่ไม่บกพร่องด้วยกับ การให้ความรัก ความเอาใจใส่ ของครอบครัวของเรา เมื่อแต่ละครอบครัวเสริมสร้างความรักร่วมกัน สังคมจะเป็นสุขปราศจากความชั่วร้ายเหล่านี้ และเราทั้งหลายจะได้เข้าใกล้ชิดกับพระองค์มากขึ้นในวันแห่งการตัดสิน


إِنَّ اللَّهَ وَمَلائِكَتَهُ يُصَلُّونَ عَلَى النَّبِيِّ يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا صَلُّوا عَلَيْهِ وَسَلِّمُوا تَسْلِيمًا
رَبَّنَا آتِنَا فِي الدُّنْيَا حَسَنَةً وَفِي الآخِرَةِ حَسَنَةً وَقِنَا عَذَابَ النَّارِ
إِنَّ اللَّهَ يَأْمُرُ بِالْعَدْلِ وَالإحْسَانِ وَإِيتَاءِ ذِي الْقُرْبَى وَيَنْهَى عَنِ الْفَحْشَاءِ وَالْمُنْكَرِ وَالْبَغْيِ يَعِظُكُمْ لَعَلَّكُمْ تَذَكَّرُونَ
سُبْحَانَ رَبِّكَ رَبِّ الْعِزَّةِ عَمَّا يَصِفُونَ
وَسَلامٌ عَلَى الْمُرْسَلِينَ
وَالْحَمْدُ لِلَّهِ رَبِّ الْعَالَمِينَ

ว่าบิ้ลลาฮิเตาฟีก วั้ลฮิดายะห์
วัสสลาม
มูฮำหมัด สันประเสริฐ

อ้างอิง
Text Copied from DivineIslam's Qur'an Viewer software v2.9
อัลกุรอ่านฉบับภาษาไทย สมาคมนักเรียนเก่าอาหรับ ดำเนินการจัดพิมพ์โดยกระทรวงกิจการฮัจย์ แห่งราชอาณาจักรซาอุดิอาเบีย
http://www.alquran-thai.com/
อัลฮาดีซ : Hadith of The Day V 1.0 Freeware by FaridAnasri avater@muslimonline.com (www.beconvinced.com

วันพฤหัสบดีที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2553

ช่วยกันดูแลสังคม

มิมบัรออนไลน์
คุตบะห์วันศุกร์ 8 เซาวาล 1431 (วันศุกร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2553)
ช่วยกันดูแลสังคม

الْحَمْدُ لِلَّهِ رَبِّ الْعَالَمِينَ
يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا إِنَّمَا الْخَمْرُ وَالْمَيْسِرُ وَالأنْصَابُ وَالأزْلامُ رِجْسٌ مِنْ عَمَلِ الشَّيْطَانِ فَاجْتَنِبُوهُ لَعَلَّكُمْ تُفْلِحُونَ
إِنَّمَا يُرِيدُ الشَّيْطَانُ أَنْ يُوقِعَ بَيْنَكُمُ الْعَدَاوَةَ وَالْبَغْضَاءَ فِي الْخَمْرِ وَالْمَيْسِرِ وَيَصُدَّكُمْ عَنْ ذِكْرِ اللَّهِ وَعَنِ الصَّلاةِ فَهَلْ أَنْتُمْ مُنْتَهُونَ
ท่านพี่น้องผู้ศรัทธาทั้งหลาย
ขอย้ำเตือนตนเองและท่านทั้งหลาย จงยึดมั่นในทางที่เที่ยงตรง และพึงยำเกรงต่อพระองค์อัลลอฮ์ (ซ.บ.) ให้มากเพราะมนุษย์นั้น จะถูกทดสอบการกระทำทั้งหลายของเขาในทุกๆ กิจกรรม และการกระทำของมนุษย์นั้น ไม่ว่าจะกระทำด้วยกายวาจาและใจนั้น จะถูกบันทึกไว้เป็นพยานในวันแห่งการตัดสิน แม้ว่ามนุษย์จะหลงลืมหรือจำไม่ได้ในเรื่องราวและการกระทำของพวกเขา หากแต่สิ่งที่ปรากฏเด่นชัดในวันนั้น คือประจักษ์พยานที่สำคัญที่เขาเหล่านั้นไม่สามารถแก้ตัวหรือปรักปรำบุคคลอื่นได้ นอกจากตัวตนของเขาเหล่านั้น ดังนั้น วันนี้จึงยังไม่สายที่เราจะพึงสังวรณ์และย้อนรำลึกถึงกิจกรรมต่างๆ ที่เราได้กระทำนั้น การงานต่างๆ เหล่านั้น ได้ถูกกระทำด้วยความยำเกรงต่อพระองค์หรือไม่ เพราะการงานบางอย่างอาจมีผลซึ่งเป็นการท้าทายต่อพระองค์ ดังนั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้องตรวจสอบและพิจารณาตนเองถึงการกระทำต่างๆ ของเรานั้น ต้องอยู่ในกรอบแห่งความยำเกรงต่อพระองค์
ท่านทั้งหลาย
วันนี้สังคมของเราได้รับการดูแลแล้วหรือยัง วันนี้เรารับผิดชอบต่อสังคมอย่างไร เป็นคำถามที่ทุกๆ ท่านต่างมีคำตอบที่แตกต่างกัน แต่เรื่องหนึ่งที่เราทั้งหลายอาจต้องนำมาคิดและคอยชี้แนะหาทางออกในเรื่องเกี่ยวกับการพนันและอบายมุข ซึ่งวันนี้บางสิ่งจากอบายมุขเหล่านั้น ถูกกำหนดให้เป็นกระแสหลักของสังคม เพราะเราได้เห็นถึงการนำรายได้ส่วนหนึ่งจากการขายสลากกินแบ่งรัฐบาลมาทนุบำรุงศาสนสถาน โรงเรียน โรงพยาบาล รวมถึงให้เป็นทุกการศึกษาแก่เยาวชนของชาติ เราได้เห็นถึงการนำผลกำไรจากกิจการค้าขายเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ มาเป็นทุนสนับสนุนกิจการโทรทัศน์สาธารณะแห่งหนึ่ง รวมถึงเป็นสปอนเซอร์ที่สำคัญให้กับสมาคมกีฬาต่างๆ หลายสมาคม จนดูประหนึ่งว่า รายได้ดังกล่าวเป็นผู้สนับสนุนหลักอย่างเป็นทางการไปแล้วในปัจจุบัน เพราะว่าแม้เราจะได้ยินการโฆษณาถึงผลเสียจากเหล่าบรรดาอบายมุขเหล่านั้น ก็จะพบว่าผู้ที่ให้การสนับสนุนทางการประชาสัมพันธ์หลัก ก็ล้วนแล้วแต่เป็นเป็นสปอนเซอร์ที่มาจากกิจการอันเป็นอบายมุขอยู่แล้ว นั่นย่อมเป็นที่ประจักษ์อย่างแน่ชัดได้ว่า บรรดาอบายมุขทั้งการพนันและกิจการเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮฮล์ เหล่านี้เป็นผู้สนับสนุนหลักและสำคัญต่อการดำเนินกิจกรรมทางสังคม นั่นเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นได้ว่า ปัจจุบันสังคมดำเนินไปได้ด้วยแรงผลักดันของกิจการต่างๆ เหล่านี้ ใช่หรือไม่ ขอให้พิจารณาถึง โองการจากอัลกุรอ่านซูเราะห์อัลมาอิดะห์ Al-Qur'an, 005.090-091 (Al-Maeda [The Table, The Table Spread]) ความว่า
005.090 يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا إِنَّمَا الْخَمْرُ وَالْمَيْسِرُ وَالأنْصَابُ وَالأزْلامُ رِجْسٌ مِنْ عَمَلِ الشَّيْطَانِ فَاجْتَنِبُوهُ لَعَلَّكُمْ تُفْلِحُونَ
005.090 O ye who believe! Intoxicants and gambling, (dedication of) stones, and (divination by) arrows, are an abomination,- of Satan's handwork: eschew such (abomination), that ye may prosper.
90. ผู้ศรัทธาทั้งหลาย! ที่จริงสุราและการพนันและแท่นหินสำหรับเชือดสัตว์บูชายัญ (เป็นแท่นหินที่ถูกวางไว้รอบ ๆ กะฮ์บะฮ์ โดยที่พวกมุชริกถือว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์และทำการเคารพบูชากัน) และการเสี่ยงติ้ว นั้น เป็นสิ่งโสมมอันเกิดจากการกระทำของชัยฏอน (หมายถึงการชี้นำของมัน แล้วมนุษย์ก็หลงเชื่อ) ดังนั้นพวกเจ้าจงห่างไกลจากมันเสียเพื่อว่าพวกเจ้าจะได้รับความสำเร็จ
005.091 إِنَّمَا يُرِيدُ الشَّيْطَانُ أَنْ يُوقِعَ بَيْنَكُمُ الْعَدَاوَةَ وَالْبَغْضَاءَ فِي الْخَمْرِ وَالْمَيْسِرِ وَيَصُدَّكُمْ عَنْ ذِكْرِ اللَّهِ وَعَنِ الصَّلاةِ فَهَلْ أَنْتُمْ مُنْتَهُونَ
005.091 Satan's plan is (but) to excite enmity and hatred between you, with intoxicants and gambling, and hinder you from the remembrance of Allah, and from prayer: will ye not then abstain?
91. ที่จริงชัยฏอนนั้นเพียงต้องการที่จะให้เกิดการเป็นศัตรูกันและการเกลียดชังกันระหว่างพวกเจ้าในสุราและการพนัน(คือในการดื่มสุราและการเล่นการพนัน เราะทั้งสองนั้นก่อให้เกิดการวิวาทกัน และผูกใจเจ็บกัน)เท่านั้น และมันจะหันเหพวกเจ้าออกจากการรำลึกถึงอัลลอฮ์ และการละหมาด(เพราะผู้ที่มึนเมานั้นง่ายแก่การที่ชัยฏอนจะจูงเขาให้ไปทางไหนก็ได้ เฉพาะอย่างยิ่งในการหันเหออกจากการรำลึกถึงอัลลอฮ์และการละหมาด ส่วนการพนันนั้นก็ทำให้ผู้เล่นมุ่งที่จะได้รับกำไร จึงไม่มีช่องที่รำลึกถึงอัลลอฮ์ และมีเวลาไปทำละหมาด)แล้วพวกเจ้าจะยุติใหม่ (เป็นคำถามในเชิงปราบให้มีการยุติในการดื่มสุราและการพนัน)
ผลเสียอันเนื่องมาจากการบริโภครวมไปถึงมูลค่าเพิ่มที่เกิดจากกิจการแห่งอบายมุขเหล่านี้ มีข้อเสียมากกว่าข้อดี แม้ว่าเราจะเห็นถึงประโยชน์ที่หลากหลายและผลที่ได้รับไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาที่เกิดขึ้น มูลค่าทางเศรษฐกิจและสังคมที่เจริญเติบโตต่อเนื่องไปได้นั้น สามารถทำให้กิจการต่างๆ เจริญก้าวหน้าขึ้นไปได้อย่างไม่หยุดยั้ง รายได้ที่ภาคการผลิตส่งต่อเนื่องไปยังรัฐบาลที่จะจัดสรรไปดำเนินกิจกรรมต่างๆ ล้วนแล้วแต่มุ่งสร้างความจำเริญเติบโตในกิจการเหล่านั้น การจ้างงาน การสร้างหน่วยงานเพื่อดูแลรักษาสังคม การพัฒนาศักยภาพของบุคคลให้โอกาสการเรียนต่อในรับดับที่สูงขึ้นของผู้ที่ด้อยโอกาสอันเนื่องมาจากการขาดแคลนปัจจัยสนับสนุนทางการศึกษา แต่สิ่งที่เราปกปิดถึงแหล่งรายได้ของกิจการอันเป็นอบายมุขเหล่านี้ได้มาจากสิ่งใดได้บ้างนั้น จะพบว่า หากมีผู้วิจัยสนับสนุนการศึกษาเชิงสังคม จะพบว่า ในหมู่ผู้ที่ยากจนขัดสนนั้น ส่วนใหญ่ยอมที่จะบริโภคสินค้าอันเป็นอบายมุข ทั้งการพนันจากการซื้อสลากกินแบ่งทั้งที่ถูกกฎหมายและผิดกฎหมาย รวมถึงการบริโภคสินค้าโดยเฉพาะเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนผสมอยู่ และที่สำคัญ สังคมของไทยเราในปัจจุบัน สินค้าที่เป็นอบายมุขดังกล่าว ถูกแฝงเร้นอยู่ในจิตใจของประชาชนในทุกๆ ระดับ ทั้งในเยาวชน จนไปถึงคนในระดับรัฐมนตรี นั่นย่อมเป็นทีประจักษ์ ได้ว่า รัฐอาจภูมิใจที่ได้ยกระดับการจัดเก็บภาษีจากสินค้าที่เป็นอบายมุขเหล่านี้ที่เรียกกันว่า “ภาษีบาป” ให้แบ่งบันไปสู่ภาคการผลิตที่สำคัญต่างๆ เพื่อเป็นการดูแลสังคม เป็นการชดเชยทางสังคม และยังมีกิจการที่ผิดกฎหมาย ดังเช่น “หวยใต้ดิน” ซึ่งในยุคหนึ่ง รัฐบาลมีดำริที่จะทำให้ถูกกฎหมาย เพื่อให้เกิดแนวทางที่จะนำรายได้จากสิ่งนี้ไปพัฒนาการศึกษาให้ทุนกับเด็กเก่งแต่ไร้โอกาส ซึ่งแม้จะเป็นแนวความคิดที่ดีและหลายฝ่ายสนับสนุน หากแต่ว่า สิ่งเหล่านี้ถูกมองว่าเป็น “ภาษีบาป” แล้ว จะเห็นว่าที่มาของรายได้เหล่านี้ มาจากคราบน้ำตาของคนทั้งหลาย ที่เสพติดการพนัน เสพติดสุรา หรืออื่นๆ โดยที่เขาเหล่านั้นจะต้องแบ่งปันส่วนหนึ่งของรายได้อันจะได้ใช้จ่ายเพื่อครอบครัวอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยมาเพื่อการแสดงออกถึงการมีส่วนร่วมต่อกิจกรรมอันเป็นอบายมุขเหล่านี้ บางครอบครัวอาจสิ้นเนื้อประดาตัวเพียงเพื่อให้ได้ซึ่งความโอชะแห่งความสุขของการเล่นการพนันในทุกๆ วันต้นเดือนและกลางเดือน หรือในบางสังคม ก็หลงระเริงกับความสุขของการบริโภคเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮฮล์ในเทศกาลความสุขตามวาระต่างๆ โดยเฉพาะเหล่าบรรดาผู้ที่มีเกียรติ ทั้งหลาย เมื่อถึงวาระสำคัญๆ ในชีวิตต่างๆ ก็จะเฉลิมฉลองและบริโภคสินค้าที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนผสม ซึ่งแน่นอนว่า ผู้ผลิตและผู้ผลักดันให้เกิดการบริโภคในสิ่งต่างๆเหล่านี้ จะได้รับผลประโยชน์ จากการที่ประชาชนต่างมุ่งแสวงหาการบริโภค เพื่อสนองตอบความสุขที่ตนเองต้องการ
ท่านทั้งหลาย
ในวันนี้ สังคมของเราถูกทำให้เกิดความคิดที่กลับตาลปัตร อาจกล่าวได้ว่า สังคมในวันนี้ คนดี ไม่สามารถเป้นตัวอย่างให้กับสังคมได้ แต่หากใครก็ตามที่ได้มีโอกาสสูงในสังคม สังคมไม่สะท้อนถึงการเป็นคนดี การกระทำความดี แต่สังคมมุ่งสะท้อนถึง ความเด่นดัง การแสดงออกถึงตัวอย่าง การกระทำของคนดังในสังคมที่มีภาพสะท้อนออกมาให้เห็นว่า เขาเหล่านั้นมีความสุข และความสุขที่ได้รับนั้นมาจากปัจจัยที่มีผลเนื่องมาจากการบริโภคทั้งสื่อ และสินค้าที่เกี่ยวเนื่องมาจากเหล่าบรรดาอบายมุขแทบทั้งสิ้น รัฐบาลสามารถบริหารกิจการของรัฐด้วยการแบ่งปันรายได้จากการเก็บภาษีทั้งหลายออกไปยังส่วนต่างๆของรัฐ เพื่อที่รัฐสามารถดูแลกิจการ และประชาชนได้อย่างทั่วถึง สนองตอบต่อการกระจายรายได้ การพัฒนา และความจำเริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ขณะที่สภาพทางสังคมถูกบีบรัดด้วยมลภาวะทั้งสิ่งแวดล้อม สังคม เศรษฐกิจ เกิดอาชญากรรม ในทุกรูปแบบ และอาชญากรรมเหล่านี้ มีพัฒนาการไปอย่างไม่หยุดยั้งพร้อมๆ ไปกับเหล่าบรรดาอบายมุขที่ถูกแฝงเร้นเข้าไปในทุกๆ ส่วนของสังคม เราจะทำอย่างไร เพื่อที่จะหยุดยั้ง หรือแช่แข็ง “ความชั่ว” เหล่านี้ไว้ เพื่อที่จะย้ำเตือนในเห็นถึงผลกระทบสำคัญอันจะเกิดขึ้น ต่อสังคม ซึ่งอย่างน้อย ก็คือ เราต้องแช่แข็งสิ่งเหล่านี้ ไม่ให้ออกมาหรือเข้าไปเกี่ยวข้องในระดับบ้านของเรา เพื่อนบ้านของเรา ตลอดจนญาติพี่น้องของเรา ด้วยคำตักเตือนระหว่างกัน เพราะว่าในแต่ละชีวิตของเรานั้น มันสั้นมาก ดังนั้น เมื่อแต่ละครอบครัวของเรา ย้ำเตือนซึ่งกันและกันให้ออกห่างไกลต่อกิจกรรมอันเนื่องมาจากการบริโภคสินค้าอันเป็นผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวเนื่องจากอบายมุขเหล่านี้แล้ว แน่นอนว่า เป็นสิ่งหนึ่งที่เราแสดงออกถึงความพร้อมในทางสังคมที่จะช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ลดการแพร่พันธ์ของเหล่าบรรดาอบายมุขเหล่านี้ ขอให้เราทั้งหลาย จงช่วยกันปกป้อง ป้องกัน คุ้มกัน ร่วมใจกันยับยั้งสิ่งเหล่านี้ในครอบครัวของเรา พร้อมที่จะเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับคนในครอบครัวของเรา แสดงออกหรือให้ภาพพจน์ที่ดีที่จะไม่แตะต้องต่อสิ่งเหล่านี้ ให้ทุกคนในครอบครัวของเราเห็น เพื่อที่เขาเหล่านั้นจะออกห่างไกลจากอบายมุขเหล่านี้
ท่านทั้งหลาย
เวลาที่ผ่านพ้นไปในแต่ละวัน แต่ละชั่วโมง มีคนที่เจ็บปวด ต่อสิ่งที่เกิดขึ้นจากเหล่าบรรดาอบายมุขเหล่านี้มากมาย ทั้งเด็ก สตรี และคนชรา ถูกรังแกจากบรรดาอบายมุขเหล่านี้ ทั้งๆ ที่เขาเหล่านั้นอยู่ในความคุ้มครองของคนที่มีสุขภาพพลานามัยที่ดีที่จะร่วมด้วยช่วยกัน ป้องกัน ผลักดันให้เขาเหล่านั้น ผ่านพ้นจากสิ่งเหล่านี้ โดยที่เราไม่ต้องใช้เวลาที่จะรักษาพวกเขาภายหลังที่เขาเหล่านั้นต้องมีชีวิตวนเวียนไปกับการที่จะเข้าไปสู่วงการและวัฎจักรและความทุกข์ต่อการแสวงหาซึ่งความสุขแห่งการบริโภคสินค้าอันเป็นอบายมุขเหล่านี้ ท่านทั้งหลาย ความเจ็บปวด ความทุกข์ คราบน้ำตา ร่องรอยแห่งความสูญเสีย ที่สังคมของเราได้รับ มันไม่สามารถเทียบเท่าได้เลยกับความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจ การสร้างความจำเริญบนคราบน้ำตาของคนจน จากการที่ทางรัฐบาลมุ่งมั่นที่จะได้จัดเก็บ “ภาษีบาป” เพื่อจุนเจือสังคม หรือเพื่อที่จะรักษาสังคม ภาพพจน์ที่ทางรัฐบาลมุ่งมั่งที่จะพัฒนาประเทศ ด้วยแนวทางดังกล่าว สะท้อนให้เห็นว่า ภาพแห่งความสำเร็จต่อการดำเนินกิจกรรมทั้งหลายนี้ เป็นสิ่งที่ปิดบังร่องรอยแห่งคราบน้ำตาของคนที่มีความพ่ายแพ้ต่ออำนาจและอารมณ์ฝ่ายต่ำ ที่ย้ำตนเองที่จะบริโภคสินค้าที่เกี่ยวเนื่องมาจากเหล่าบรรดาอบายมุข ซึ่งในที่สุดแล้ว เราจะเห็นการพัฒนาที่มุ่งมั่นให้เกิดการเติบโตทางเศรษฐกิจ ไปพร้อมๆ กับความอับจนทางปัญญาและไม่มีทางออกสำหรับการแก้ปัญหาโดยเฉพาะอย่างยิ่งทางสังคมที่อมโรคไปด้วยคนที่เสพติดอบายมุข เป็น วัฐจักรอยู่อย่างนี้ตลอดไป ดังนั้น จึงขอหยิบยกอัลฮาดีซ ต่อไปนี้ เพื่อช่วยย้ำเตือนตนเองและท่านทั้งหลายจงมุ่งมั่นสร้างพลัง และสร้างเสริมแนวทางการปฎิบัติตนเองและครอบครัวให้ออกห่างไกลจากแนวทางที่พระองค์ทรงประสงค์ ความว่า
Abdullah bin 'Umar said, "Allah's Apostle took hold of my shoulder and said, 'Be in this world as if you were a stranger or a traveler." The sub-narrator added: Ibn 'Umar used to say, "If you survive till the evening, do not expect to be alive in the morning, and if you survive till the morning, do not expect to be alive in the evening, and take from your health for your sickness, and (take) from your life for your death."
Narrated by Mujahid , Source : Sahih Bukhari
ดังนั้น ขอให้เราทั้งหลาย จงย้ำเตือนตนเองและทุกๆ คนในครอบครัว จงแสวงหาความโปรดปราณจากพระองค์ และออกห่างไกลจากเหล่าบรรดาอบายมุขเหล่านี้ เพื่อที่เราจะได้สุขสมหวังและเป็นที่โปรดปราณของพระองค์
إِنَّ اللَّهَ وَمَلائِكَتَهُ يُصَلُّونَ عَلَى النَّبِيِّ يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا صَلُّوا عَلَيْهِ وَسَلِّمُوا تَسْلِيمًا
رَبَّنَا آتِنَا فِي الدُّنْيَا حَسَنَةً وَفِي الآخِرَةِ حَسَنَةً وَقِنَا عَذَابَ النَّارِ
إِنَّ اللَّهَ يَأْمُرُ بِالْعَدْلِ وَالإحْسَانِ وَإِيتَاءِ ذِي الْقُرْبَى وَيَنْهَى عَنِ الْفَحْشَاءِ وَالْمُنْكَرِ وَالْبَغْيِ يَعِظُكُمْ لَعَلَّكُمْ تَذَكَّرُونَ
سُبْحَانَ رَبِّكَ رَبِّ الْعِزَّةِ عَمَّا يَصِفُونَ
وَسَلامٌ عَلَى الْمُرْسَلِينَ
وَالْحَمْدُ لِلَّهِ رَبِّ الْعَالَمِينَ

ว่าบิ้ลลาฮิเตาฟีก วั้ลฮิดายะห์
วัสสลาม
มูฮำหมัด สันประเสริฐ

อ้างอิง
Text Copied from DivineIslam's Qur'an Viewer software v2.9
อัลกุรอ่านฉบับภาษาไทย สมาคมนักเรียนเก่าอาหรับ ดำเนินการจัดพิมพ์โดยกระทรวงกิจการฮัจย์ แห่งราชอาณาจักรซาอุดิอาเบีย
http://www.alquran-thai.com/
อัลฮาดีซ : Hadith of The Day V 1.0 Freeware by FaridAnasri avater@muslimonline.com (www.beconvinced.com

วันอาทิตย์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2553

สันติสุขเพื่อประชาชาติมุสลิม

มิมบัรออนไลน์
คุตบะห์วันอีดิ้ลฟิตริ 1 เซาวาล 1431 (วันศุกร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2553)
สันติสุขเพื่อประชาชาติมุสลิม

الْحَمْدُ لِلَّهِ رَبِّ الْعَالَمِينَ

الله اكبر الله اكبر الله اكبر الله اكبر الله اكبر الله اكبر الله اكبر الله اكبر الله اكبر
ท่านพี่น้องผู้ศรัทธาทั้งหลาย
“ตะกับบั้ลลอฮุมินนาว่ามิงกุ้ม”
ความอิ่มเอบในใบหน้าของท่านทั้งหลายในวันนี้ เป็นสัญลักษณ์แห่งชัยชนะที่เราได้ร่วมต่อสู้กันมาในรอบหนึ่งเดือนที่ผ่านมา เป็นชัยชนะที่เริ่มต้นจากการตอบรับและสนองการใช้และข้อห้ามจากพระองค์ เป็นชัยชนะที่ผู้ที่มีความยำเกรงต่อพระองค์ จะได้เรียนรู้และตระหนักต่อกาดำเนินชีวิตที่เรานั้นจะเย่อหยิ่ง อวดดี หรือโอ้อวดศักดาให้กับใครทั้งนั้น ชัยชนะที่สำคัญที่สุด คือ ชัยชนะที่เราทั้งหลายต่างชนะจิตใจตนเอง เพราะในช่วงเวลาปกติ อาหารอันโอชะซึ่งเป็นที่อนุมัติของพระองค์ เราสามารถรับประทานได้อย่างอิ่มหมีพีมัน ไม่ต้องใส่ใจว่าจะมีใครบ้างไหมที่ยังอดอยากหิวโซ รอคอยโอกาสที่จะได้รับและแบ่งปันความสุขจากผู้ที่มีกำลังทรัพย์ที่จะหยิบยื่นมาให้ ขณะที่การดำเนินชีวิตในเดือนรอมฎอนที่ผ่านมา เราต้องยับยั้งชั่งใจไตร่ตรองอย่างรอบคอบว่า อาหารที่อยู่ตรงหน้าเรานั้นแม้จะเป็นที่อนุมัติแต่ข้อบังคับของกฎ กติกา แห่งพระองค์แล้ว เรื่องของระยะเวลา และข้อกำหนดแห่งการปฏิบัติตนในเดือนรอมฎอน ทำให้เราต้องคิดและพิจารณาถึงคุณค่าความสำคัญของอาหารเหล่านั้น หากเราได้แบ่งปันให้กับคนที่ไร้โอกาสแล้ว เขาเหล่านั้นย่อมได้รับความสุขเฉกเช่นความสุขที่เราได้รับจากการบริโภคอาหารเหล่านั้นในยามปกติ
لآالآه الالله والله اكبر الله اكبر ولله الحمد الله اكبر الله اكبر الله اكبر
ท่านทั้งหลาย
หากเราจะย้อนกลับไปดูพฤติกรรมของเราก่อนที่จะเข้าเดือนรอมฎอน แล้ว จะเห็นว่า การเตรียมความพร้อมสำหรับการใช้ชีวิตในเดือนรอมฎอนนั้น เป็นวาระเร่งด่วน การวางแผนการดำเนินชีวิต การปรับเปลี่ยนช่วงเวลาต่างๆในชีวิตประจำวันของเรา ตลอดจนการวางแผนชีวิตเพื่อต้อนรับรอมฎอน การประกอบอามั้ลอิบาดัรสำคัญในแต่ละเรื่อง รวมไปถึงการเตรียมตัวสำหรับช่วง 10 วันสุดท้ายของรอมฎอน การละหมาดตะรอวีย์ จนกระทั่งการเตรียมซะกาตฟิตเราะห์ ทั้งหมด คือช่วงเวลาที่ผ่านพ้นไปก่อนที่จะถึงวันนี้ และเมื่อผ่านพ้นวันนี้ไปแล้ว สำหรับบางท่านในที่นี้ อาจสมัครใจที่ถือศีลอดอาสาในช่วง 6 วัน แห่งเดือนเซาวาล นี้ โดยไม่จำเป็นว่าต้องถือศีลอดติดต่อกันทั้ง 6 วัน นั้นก็ได้ ทั้งหมดนี้ ผลแห่งการกระทำของเรานั้น พระองค์ทรงรับรองและให้ความเมตตาแก่เรา ทั้งนี้ ผลแห่งการปฏิบัติตนดังกล่าวแล้วนั้น เราได้ฝึกฝนตนเอง ขัดเกลาจิตใจ และเกิดสำนึกแห่งความยำเกรงต่อพระองค์ เช่นนี้ แน่นอนว่าการถือศีลอดของเรานั้น พระองค์ทรงรับรอง และแน่นอนว่า พระองค์จะทรงให้แก่เราตามที่พระองค์ได้ทรงสัญญาไว้เป็นแน่แท้ ทั้งนี้ เป้าหมายสูงสุดแห่งภารกิจการถือศีลอดนั่นคือสิ่งที่พระองค์ได้ทรงรองรับและเปิดโอกาสซึ่งความใกล้ชิดกับพระองค์ในวันแห่งการตอบแทน
لآالآه الالله والله اكبر الله اكبر ولله الحمد الله اكبر الله اكبر الله اكبر
ท่านทั้งหลาย
จากที่เราทราบกันดีว่าในเดือนรอมฎอน บรรดากลุ่มของญิบลีสนั้น จะถูกล่ามโซ่ ไม่ให้ชี้นำการกระทำของพวกเราได้ แต่เมื่อผ่านพ้นช่วงเวลาแห่งการถือศีลอดแล้ว พวกเหล่านั้นจะกลับมาและปฏิบัติการต่อมวลมนุษย์เช่นเดียวกับที่ได้ปฏิบัติมาแล้วตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมา ทั้งนี้ ขอให้เราทั้งหลายต้องฉุกคิดให้ได้ว่า ชัยชนะที่เราได้รับจากรอมฎอน ซึ่งเป็นการชนะจิตใจของตนเองแล้วนั้น ปัจจัยอันหนึ่งคือ การรบเร้าให้กระทำการนอกเหนือจากกฎเกณฑ์ที่พระองค์ทรงกำหนดไว้นั้น แน่แท้ถูกจองจำจากพระองค์ อำนาจการกระทำของเราในช่วงเดือนนี้ ถูกกำหนดบทบาทและการแสดงออกทั้งกายวาจาและใจ ด้วยตัวเราเองแทบทั้งสิ้น และในวันนี้เราได้ประกาศชัยชนะเหนือบรรดาชัยตอนมารร้ายเหล่านี้แล้ว จึงเป็นที่ประจักษ์ได้ว่า การดำเนินชีวิตของเราต่อจากนี้ไป จะเป็นเครื่องพิสูจน์ที่สำคัญของเราได้ว่า การกระทำการใดๆของเรานั้น เราสามารถกำหนดตัวเราเองตามแนวทางแห่งทางนำของพระองค์ มากกว่าเสียงกระซิบจากบรรดากลุ่มของญิบลีส ที่คอยปุกเร้าจิตใจของเราให้ออกไปจากแนวทางอันเที่ยงตรงจากพระองค์
لآالآه الالله والله اكبر الله اكبر ولله الحمد الله اكبر الله اكبر الله اكبر
ท่านทั้งหลาย
ในวันนี้ เราทั้งหลายต่างตระหนักร่วมกันแล้วว่า เพื่อนบ้านของเราไม่มีใครมีความทุกข์ อันเนื่องจากว่า ก่อนการละหมาดอีดิ้ลฟิตริ พวกเราทั้งหลายต่างก็ได้บริจาดซะกาตฟิตเราะห์ให้กับบุคคลที่มีสิทธิ์ที่จะได้รับซะกาตเหล่านั้น แต่หลังจากเดือนนี้เป็นต้นไป เรายังจะตอบคำถามของพวกเขาเหล่านั้นได้หรือไม่ว่า พวกเขาจะถูกทอดทิ้งจากเราทั้งหลายหรือไม่ อาจกล่าวได้ว่าช่วงเวลาแห่งเดือนรอมฎอนนั้น ทุกๆ คนคาดหวังว่าจะช่วยเหลือและแบ่งปันทั้งอาหาร และความสุขให้กับเขาทั้งหลาย แต่ช่วงเวลาหลังจากนี้ พวกเราจะละทิ้งโอกาสเหล่านี้สำหรับพวกเขาหรือไม่ การแบ่งปันกันในเดือนรอมฎอน อาจเนื่องมาจากทุกๆ คนนั้น มุ่งแสวงหาความโปรดปราณจากพระองค์ และผลที่ได้รับจากพระองค์ในช่วงตลอดรอมฎอนนั้น ทวีคูณหลายเท่าจากเดือนอื่นๆ และการแบ่งปันกันนอกเดือนรอมฎอนนั้น กลับปรากฏว่าเกิดขึ้นในปริมาณที่น้อยกว่าในช่วงรอมฎอน นั่นเป็นภาพที่ฟ้องให้เห็นได้ว่า สิทธิของพวกเขาเหล่านั้น ถูกรอนสิทธิจากผู้ที่มีความสามารถ ขอให้พิจารณาจากโองการจากอัลกุรอ่านซูเราะห์อาลิอิมรอน Al-Qur'an, 003.092 (Aal-E-Imran [The Family of Imran]) ความว่า
003.092 لَنْ تَنَالُوا الْبِرَّ حَتَّى تُنْفِقُوا مِمَّا تُحِبُّونَ وَمَا تُنْفِقُوا مِنْ شَيْءٍ فَإِنَّ اللَّهَ بِهِ عَلِيمٌ
003.092 By no means shall ye attain righteousness unless ye give (freely) of that which ye love; and whatever ye give, of a truth Allah knoweth it well.
92. พวกเจ้าจะไม่ได้คุณธรรมเลยจนกว่าพวกเจ้าจะบริจาคจากสิ่งที่พวกเจ้าชอบ และสิ่งใดที่พวกเจ้าบริจาคไป แท้จริงอัลลอฮฺทรงรู้ในสิ่งนั้นดี
ดังนั้น จึงขอให้เราทั้งหลายในที่นี้ จงพิจารณาการแบ่งปันให้กับพวกเขาในช่วงเดือนอื่นๆ ด้วย อนึ่ง ขอให้พิจารณาถึงการสร้างโอกาสให้พวกเขาได้ใช้ความสามารถของตนเองเพื่อที่จะเปลี่ยนแปลงตนเองไปพร้อมกับการที่จะรอคอยการแบ่งปันจากคนที่มีความสามารถด้วย อาจกล่าวได้ว่า “ทำอย่างไรที่เราจะเปลี่ยนพวกเขาจากกลุ่มมือล่างให้กลายเป็นกลุ่มมือบนบ้าง” ตรงนี้ถือว่าเป็นภารกิจที่สำคัญเช่นกัน เพราะในการปฏิบัติศาสนกิจและการประกอบอิบาดัรโดยเฉพาะการบริจาคซ่ากาตนั้น เราสามารถปรับปรุงสังคมโดยการปรับเปลี่ยนคนที่ขาดแคลนให้สามารถมีกินได้ด้วยตนเองหรือด้วยความสามารถของตนเองเป็นต้นว่า เขามีโอกาสใช้แรงกาย พลกำลังสร้างมูลค่าเพิ่มจนสามารถประกอบอาชีพที่สุจริต หาเลี้ยงครอบครัว และมีเหลือเพียงพอสำหรับการบริจาคแบ่งปันให้กับคนอื่นๆได้ นั้น มีคุณค่ามากกว่าการที่เราจะมีหน้าที่ที่จะคอยดูแลและแบ่งปันให้กับเขาตลอดไป โดยที่พวกเขาเหล่านั้นเป็นแต่เพียงมือล่างที่รอคอยการแบ่งปันจากคนส่วนใหญ่ของสังคมอยู่ตลอดไป อย่างหลังนี้ ถือว่า การให้หรือการแบ่งปันนั้น ไม่เกิดประโยชน์ต่อสังคม เพราะสังคมนั้น จะมีทั้งคนที่เป็นมือบน และมือล่างที่คอยส่งเสียเลี้ยงดูกันอยู่ตลอดเวลา หาใช่ว่าเราทั้งหลายจะช่วยกันพัฒนาสังคม ปรับปรุงสังคมโดยมุ่งมั่นพัฒนาคนมือล่างให้เปลี่ยนไปเป็นคนมือบนบ้าง ซึ่งจะเกิดการพัฒนาและกระตุ้นสังคมให้เกิดความจำเริญทางเศรษฐกิจต่อไป ดังนั้น จึงขอฝากในเรื่องนี้ให้เราทั้งหลาย จงช่วยกัน ร่วมกัน แบ่งปัน พัฒนาและปรับปรุง เพื่อที่สังคมเราจะอยู่ดีมีสุข และร่วมแรงกันพัฒนาไปอย่างไม่หยุดยั้ง
لآالآه الالله والله اكبر الله اكبر ولله الحمد الله اكبر الله اكبر الله اكبر
ท่านทั้งหลาย
เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2543 เหตุการณ์เครื่องบินชนตึกเวิลด์เทรดเซนเตอร์ สหรัฐอเมริกา มีผู้สูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินเป็นจำนวนมาก จนถึงปัจจุบันมีเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นต่อเนื่องและเกิดความสูญเสียตามมานับครั้งไม่ถ้วน ทั้งเหตุการณ์ที่อัพกานิสถาน ปาเลสไตน์ และอิรัค เป็นความสูญเสีย อันใหญ่หลวงต่อประชาชาติทั้งหลายในโลกแห่งนี้ เป็นการรุกรานของมหาอำนาจอันเลวร้ายและร้ายแรงกว่าการก้าวล่วงสิทธิมนุษยชนอันเป็นคำประกาศของสหประชาชาติ แม้ว่าเหตุการณ์เมื่อ 11 กันยายน 2543 จะจบลงไปนานแล้ว แต่ทุกอย่างยังเป็นเพียงข้อสันนิษฐาน ว่าเป็นการกระทำของกลุ่มมุสลิมกลุ่มหนึ่ง ที่ปฏิบัติการสละชีพไปพร้อมกับการทำลายตึกดังกล่าว ด้วยจิตใจที่เต็มเหนี่ยวแห่งพลังศรัทธาทางศาสนาอิสลาม แต่ข้อสันนิษฐานดังกล่าว ในปัจจุบันถูกตั้งข้อสังเกตอย่างมากมาย ในทำนองว่ามุสลิมคือผู้ก่อการร้ายในสายตาของสื่อสารมวลชนตะวันตก (ยิวและคริสเตียน) ซึ่งสื่อสารมวลชนของไทยก็พลอยรับอานิสงค์ในเรื่องนี้ด้วยกับเหตุการณ์ชายแดนใต้ของประเทศไทย ความรุนแรงที่เกิดขึ้น หาใช่ว่าเป็นความรุนแรงของพลังศรัทธาอันแรงกล้าของมุสลิมไม่ หากแต่ว่า เป็นผลสะท้อนมาจากการให้ความยุติธรรมในลักษณะ 2 มาตรฐาน ที่มุ่งแสวงหาผลประโยชน์และการตีสองหน้าของประเทศมหาอำนาจและข้าราชการที่มุ่งเอาแต่ประโยชน์ของกลุ่มและพรรคพวกของตนเอง คราบน้ำตาของผู้ที่ถูกข่มเหงและรังแกเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดการเชิญชวนให้ทำการเอาคืนจากการรังแกจากกลุ่มที่แสวงหาผลประโยชน์ต่างๆ และในบางกรณีการกระทำดังกล่าวก็เป็นผลจากกลุ่มผู้ที่ต้องการรักษาอำนาจของตนให้อยู่ในความคุ้มครองของตนตลอดไป จึงสร้างสถานการณ์ต่างๆ ขึ้นมา ซึ่งมีวิธีการที่หลากหลายซับซ้อน และเรียกร้องความสนใจจากทางสังคมโดยที่เป็นการสร้างความรุนแรง ความน่ากลัว ตลอดจนความเกลียดชังให้เกิดขึ้น กับประชาชาติมุสลิมในพื้นที่ต่างๆ ดังนั้นรอยยิ้มและคราบน้ำตาของประชาชาติมุสลิมจึงถูกมองจากสังคมอื่นว่าเป็นกลุ่มที่ชอบใช้ความรุนแรงเพื่อตัดสินใจให้ได้มาซึ่งการเรียกร้องต่างๆ นา แต่สำหรับชนปาเลสไตน์ กลับถูกกระทำย่ำยีจากรัฐอิสราเอล ในการเรียกร้องสิทธิและความชอบชอบในดินแดนอันเป็นประวัติศาสตร์ยาวนานของชนชาติ โดยไม่สามารถเรียกร้องความช่วยเหลือต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชนได้จากชาติมหาอำนาจเลย ทั้งๆ ที่ในปัจจุบัน ชาติหรือประเทศทั้งหลายต่างได้รับการคุ้มครองจากสหประชาชาติด้วยกันแทบทั้งสิ้น ดังนั้น จึงทำให้เห็นว่าประชาชาติมุสลิมที่เข้มแข็งจะถูกทดสอบจากพระองค์อัลลอฮ์ (ซ.บ.) ต่อกรณีการถูกกระทำจากประเทศมหาอำนาจที่มุ่งแสวงหาและกอบโกยผลประโยชน์ในดินแดนที่เขาต้องการครอบครอง เพื่อรักษาและกอบโกยผลประโยชน์จากมูลค่าเพิ่มของทรัพย์สมบัติอันมีมูลค่ามากมายมหาศาลในดินแดนปาเลสไตน์ อิรัค และอัพกานิสถาน ซึ่งหากย้อนกลับมาดูชุมชนมุสลิมของประเทศไทย โดยเฉพาะชุมชนในแถบชายแดนใต้ ซึ่งสื่อสารมวลชนจะเสนอข่าวถึงความรุนแรง ความน่ากลัว โดยเฉพาะเมื่อเข้าสู่เดือนรอมฎอนแล้ว ความไม่สงบจะยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้นตามวิสัยของสื่อมวลชนที่ได้รับข่าวสารจากแหล่งข่าวในพื้นที่ ทั้งๆ ที่ในเดือนรอมฎอนแล้ว ศรัทธาชนมุสลิมต่างก็มุ่งมั่นประกอบศาสนกิจอันมีภาคผลมหาศาลรองรับอยู่นั้น คงไม่มีใครคิดอ่านที่จะทำการก่อการร้ายแต่อย่างใด เหตุความรุนแรงที่เกิดขึ้นจึงมิใช่มาจากกลุ่มมุสลิมผู้ศรัทธาและมุ่งแสวงหาความโปรดปราณจากพระองค์อัลลอฮ์ (ซ.บ.) แต่อย่างใด ซึ่งการกระทำความผิดในพื้นที่นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 เป็นต้นมานั้น ส่วนหนึ่งมาจากความไม่ยุติธรรม หรือการแสวงหาผลประโยชน์ของเจ้าหน้าที่รัฐ ที่มุ่งใส่ร้ายป้ายสีต่อมุสลิมผู้ศรัทธา และพยายามผลักดันให้ผู้บริสุทธิ์กลายเป็นโจร ดังนั้น จากการที่มุสลิมได้ฝึกฝนตนเองตลอดเดือนรอมฎอนที่ผ่านมานั้น เราได้นำหลักคิด นำหลักปฏิบัติ ซึ่งมีพื้นฐานและเป้าหมายแห่งความยำเกรงต่อพระองค์มาปรับใช้ การเป็นภราดรภาพของมุสลิม การเป็นเพื่อนบ้านที่ดีที่มีความห่วงใยมีมิตรไมตรีที่ดีต่อกัน คือสันติภาพและภราดรภาพอันจะทำให้สังคมเป็นสุข หยุดการรบราฆ่าฟันกันในทุกระดับ และสังคมโดยส่วนรวมจงแสวงหาและผลักดันให้เกิดความยุติธรรมให้เกิดขึ้นกับทุกฝ่าย หาใช่การเลือกปฏิบัติทั้งในสังคมเล็กๆ ของประเทศ และนานาประเทศ ซึ่งแน่นอนว่า มุสลิมจะเป็นประชาชาติที่สร้างความสันติสุขให้เกิดขึ้นในแต่ละภูมิภาค
لآالآه الالله والله اكبر الله اكبر ولله الحمد الله اكبر الله اكبر الله اكبر
ท่านทั้งหลาย
สรรพสิ่งตลอดจนสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ที่เข้ามาในชีวิตประจำวันของเราทำให้เราได้รับความสะดวกสบายในแต่ละอย่างได้นั้น ล้วนมาจากพระองค์อัอลลอฮ์ (ซ.บ.) ทั้งสิ้น สิ่งต่างๆ ที่เราได้รับนั้น แน่นอนว่าพระองค์ทรงให้โดยที่จุดมุ่งหมายของการให้ของพระองค์ เป็นการให้ที่มุ่งหมายการภักดี และความยำเกรงจากบ่าวทั้งหลาย การประกอบอิบาดัรจึงเป็นสิ่งซึ่งพระองค์ทรงรักยิ่งจากบ่าวของพระองค์ ขอได้พิจารณาโองการจากอัลกุรอ่าน Al-Qur'an, 003.171 (Aal-E-Imran [The Family of Imran]) ความว่า
003.171 يَسْتَبْشِرُونَ بِنِعْمَةٍ مِنَ اللَّهِ وَفَضْلٍ وَأَنَّ اللَّهَ لا يُضِيعُ أَجْرَ الْمُؤْمِنِينَ
003.171 They glory in the Grace and the bounty from Allah, and in the fact that Allah suffereth not the reward of the Faithful to be lost (in the least).
171. พวกเขาปิติยินดีต่อสิ่งอำนวยความสุขจากอัลลอฮ์ และความกรุณา(จากพระองค์)ด้วย และแท้จริงอัลลอฮ์นั้นจะไม่ทรงให้สูญหายซึ่งรางวัลของผู้ศรัทธาทั้งหลาย
ดังนั้น หากพิจารณาถึงการให้และการรับความอำนวยการสะดวกของมนุษย์แล้ว จะเห็นว่า ทั้งฝ่ายผู้ให้และผู้รับ นั้น มีจุดมุ่งหมายที่แตกต่างกันอกไป ตามแต่มนุษย์นั้น มุ่งหวังสิ่งใดเป็นการตอบแทน แน่นอนว่า โดยมารยาทแล้ว ฝ่ายผู้รับควรจะแสดงการขอบคุณต่อผู้ให้ สำหรับผู้ให้แล้ว สิ่งที่ได้ให้ออกไปนั้น คือความภูมิใจ ความปรารถนาดี แต่สำหรับพระองค์แล้ว การให้ของพระองค์ คือสิ่งที่เน้นย้ำให้เห็นว่าผู้ให้นั้น ต้องการให้ผู้รับนั้นมีจิตใตที่ดีงาม รู้จักการแสดงออกถึงการขอบคุณต่อพระองค์ในฐานะของการแสดงออกถึงความยำเกรงต่อพระองค์ ดังนั้น สำหรับพระองค์แล้ว การแสดงออกโดยการประกอบอามั้ลอิบาดัรต่อพระองค์ คือหัวใจสำคัญอย่างยิ่งของผู้ศรัทธา และแน่นอนว่า การดำรงตนอยู่ของมนุษย์ เป็นการดำรงอยู่ด้วยฐานะของผู้รับ ซึ่งการเป็นผู้รับที่ดีนั้น เราจึงต้องแสดงออกถึงมารยาทที่ดีด้วย จากการที่เราปฏิบัติกิจวัตรที่สำคัญตลอดเดือนรอมฎอนอันสำคัญยิ่งนี้ แน่นอนว่าเมื่อเราได้ตอบรับต่อความยำเกรงต่อพระองค์ด้วยการแสดงออกถึงการทำอิบาดัรต่อพระองค์ในเดือนรอมฎอนที่ผ่านมา พระองค์จะทรงรับในการทำอิบาดัรของเราทั้งหมดที่ได้ปฏิบัติมา และพระองค์จะทรงตอบรับและตอบแทนในกิจวัตรของเราและการทำอามั้ลของเราอย่างครบถ้วน และสัญญาของพระองค์นั้นแน่นอนว่าในวันแห่งการตอบแทนแล้ว เราจะได้ประจักษ์ต่อผลงานของเราที่ได้ปฏิบัติมา
لآالآه الالله والله اكبر الله اكبر ولله الحمد الله اكبر الله اكبر الله اكبر
ท่านทั้งหลาย
รอมฎอนที่ผ่านพ้นมานี้ ทำให้เราทั้งหลายรักกันหรือยัง จากการที่เราตอบรับความยำเกรงต่อพระองค์ด้วยการถือศีลอดตลอดเดือนอันทรงเกียรตินี้ เป็นสิ่งที่ประจักษ์ต่อมวลมุสลิมแล้วว่า เราได้ปฏิบัติตนเช่นเดียวกัน ตลอดช่วงเวลาของการถือศีลอด เราได้ลิ้มรสชาติแห่งความหิวโหย ความกระหาย ความอยาก ซึ่งรสชาติของเรื่องต่างๆที่เราได้รับนี้ ทำให้เราได้รับทราบถึงสภาพจิตใจของคนอื่นๆ ได้เช่นกันว่า ในช่วงเวลาดังกล่าวนั้นแต่ละคนมีสภาพจิตใจอย่างไรในขณะนั้น เช่นนี้ สภาพของเราและเขาที่ได้รับสิ่งดังกล่าวนั้นไม่แตกต่างกัน ความเห็นอกเห็นใจระหว่างกันเป็นสิ่งที่ทำให้เรายอมรับสภาพความกดดันดังกล่าวได้เช่นกัน เมื่อเป็นเช่นนี้ สายตาที่เรามองเพื่อนของเรานั้น ย่อมแตกต่างจากสายตาของบุคคลอื่นๆที่มิได้ห่วงหาอาทรระหว่างกัน เพราะสภาพและการพัฒนาด้านจิตใจที่แตกต่างกัน ผลจากการถือศีลอดของเรานั้น จึงทำให้เรารักเพื่อนมนุษย์ของเรามากขึ้น เรามีความอาทรระหว่างกัน ดังนั้น เพื่อมนุษย์ที่ใกล้ชิดกับเรามากที่สุด คือญาติของเรา และสายสัมพันธ์ที่ยิ่งใหญ่แห่งภราดรภาพมุสลิม นั้นคือสายสัมพันธ์ของระบบเครือญาติ วันนี้สัมพันธ์ดังกล่าวของเราแน่นหนาเพียงใด ขอให้เราทั้งหลายอย่าตัดสัมพันธ์กับเครือญาติ ขอให้เราใช้วันอีดิ้ลฟิตริและโอกาสเช่นนี้ ฟื้นสัมพันธ์กับเครือญาติของเราให้แน่นหนามากยิ่งขึ้น กระชับพื้นที่ของหัวใจไม่ให้มีช่องว่างแห่งความแตกแยกระหว่างกัน สัมพันธ์ที่ดีและความรักต่อพระองค์ผู้ทรงอภิบาลและตอบสนองความยำเกรงต่อพระองค์นั้น เราจึงต้องให้ความสำคัญในเรื่องนี้ให้มากที่สุด จากโองการ Al-Qur'an, 003.103 (Aal-E-Imran [The Family of Imran]) ความว่า
003.103 وَاعْتَصِمُوا بِحَبْلِ اللَّهِ جَمِيعًا وَلا تَفَرَّقُوا وَاذْكُرُوا نِعْمَةَ اللَّهِ عَلَيْكُمْ إِذْ كُنْتُمْ أَعْدَاءً فَأَلَّفَ بَيْنَ قُلُوبِكُمْ فَأَصْبَحْتُمْ بِنِعْمَتِهِ إِخْوَانًا وَكُنْتُمْ عَلَى شَفَا حُفْرَةٍ مِنَ النَّارِ فَأَنْقَذَكُمْ مِنْهَا كَذَلِكَ يُبَيِّنُ اللَّهُ لَكُمْ آيَاتِهِ لَعَلَّكُمْ تَهْتَدُونَ
003.103 And hold fast, all together, by the rope which Allah (stretches out for you), and be not divided among yourselves; and remember with gratitude Allah's favour on you; for ye were enemies and He joined your hearts in love, so that by His Grace, ye became brethren; and ye were on the brink of the pit of Fire, and He saved you from it. Thus doth Allah make His Signs clear to you: That ye may be guided.
103. และพวกเจ้าจงยึดสายเชือก(หมายถึงศาสนาของอัลลอฮ์ )ของอัลลอฮ์โดยพร้อมกันทั้งหมดและจงอย่าแตกแยกกัน(หมายถึงแตกแยกกันในการยึดถือสายเชือก(ศาสนา) ของอัลลอฮ์ โดยที่กลุ่มหนึ่งยึดถือโดยเคร่งครัด อีกหลายกลุ่มยึดถือบ้างไม่ยึดถือบ้าง เป็นต้น) และจำรำลึกถึงความเมตตาของอัลลอฮ์ที่มีแต่พวกเจ้า ขณะที่พวกเจ้าเป็นศัตรูกัน(หมายถึงพวกเอาส์ และพวกค็อซร็อจญ์แห่งนครมะดีนะฮ์) แล้วพระองค์ได้ทรงให้สนิทสนมกันระหว่างหัวใจของพวกเจ้า แล้วพวกเจ้าก็กลายเป็นพี่น้องกันด้วย ความเมตตาของพระองค์ และพวกเจ้าเคยปรากฏอยู่บนปากหลุมแห่งไฟนรก(คือการที่พวกเจ้าเคยใช้ชีวิตตามความใคร่ของตน และให้มีราคีขึ้นแด่อัลลอฮ์ ตลอดจนทำการสู้รบกันนั้นประหนึ่งว่าพวกเจ้ากำลังอยู่บนปากเหวแห่งนรกซึ่งใกล้จะตกอยู่แล้ว) แล้วพระองค์ก็ทรงช่วยพวกเจ้าให้พ้นจากปากหลุมแห่งนรกนั้น ในทำนองนั้นแหละ อัลลอฮ์จะทรงแจกแจงแก่พวกเจ้าซึ่งบรรดาโองการของพระองค์ เพื่อว่าเพวกเจ้าจะได้รับแนวทางอันถูกต้อง
ดังนั้น ในวันนี้ จึงเป็นการดียิ่งที่เราทั้งหลายจะต้องหันหน้าเข้าหากัน ร่วมแสดงพลังแห่งความรักอันยิ่งใหญ่แห่งอัลอิสลาม เป็นพลังแห่งสันติภาพและภราดรภาพอันยิ่งใหญ่ เพราะสังคมที่มีความรักกัน เห็นอกเห็นใจกัน มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกันได้นั้น การล่อลวงเพื่อสร้างความแตกแยกให้เกิดขึ้นนั้น เป็นสิ่งทียากลำบากยิ่ง ดังนั้น ขอให้เราทั้งหลายจงอยู่ร่วมกัน ให้อภัยกัน รักใคร่กลมเกลียวกัน ปรับความเข้าใจกัน หันหน้าเข้าหากัน ฟื้นสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน เพื่อที่เราจะอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขกันอย่างถ้วนหน้า เราจึงต้องหมั่นไปมาหาสู่ ติดต่อระหว่างกัน ให้สลามและให้อภัยต่อกัน สอบถามสารทุกข์สุกดิบระหว่างกัน เช่นนี้แล้วสังคมมุสลิมของเราจะแนสังคมที่ยิ่งใหญ่ ไม่ใช่สังคมของคนที่คิดเล็กคิดน้อย คอยแต่จะจับผิดระหว่างกัน จับกลุ่มเพื่อกล่าวหาและทะเล้ากัน สังคมอย่างนี้ ในที่สุดก็ไปไม่รอด และความร้าวฉานที่เกิดขึ้น จะเป็นผลให้แต่ละคนในสังคมนั้นไม่มีความสุขไม่น่าอยู่ในที่สุดแล้ว ความเป็นสังคมความมีภราดรภาพไม่เกิดขึ้น ในที่สุดสังคมนั้นจะล้มหายตายจากไป และไม่มีใครในสังคมนั้นเจริญรุ่งเรืองได้อีกต่อไป ขอฝากอัลฮาดีส ต่อไปนี้ ความว่า
A man from among those who were before you was called to account. Nothing in the way of good was found for him except that he used to have dealings with people and, being well-to-do, he would order his servants to let off the man in straitened circumstances [from repaying his debt]. He (the Prophet p.b.u.h) said that Allah said: We are worthier than you of that (of being so generous). Let him off. (Hadith Qudsi)
เพื่อย้ำเตือน พวกเราทั้งหลาย จงตระหนักถึงความสัมพันธ์ ความรักความปรารถนาดี ความมีน้ำใจไมตรี และการรักษาสัญญาที่มีต่อกันให้ดีที่สุด เพื่อที่เราจะได้ไม่ละเมิด และก่อสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกัน นั่นคือจุดมุ่งหมายที่สำคัญแห่งอามั้ลของการถือศีลอดที่เราทั้งหลายได้ผ่านการฝึกอบรมตลอดเดือนที่ผ่านมา และนั่นคือ ส่วนหนึ่งแห่งการแสดงออกถึงความยำเกรงต่อพระองค์

الله اكبر الله اكبر الله اكبر الله اكبر الله اكبر الله اكبر الله اكبر
إِنَّ اللَّهَ وَمَلائِكَتَهُ يُصَلُّونَ عَلَى النَّبِيِّ يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا صَلُّوا عَلَيْهِ وَسَلِّمُوا تَسْلِيمًا
رَبَّنَا آتِنَا فِي الدُّنْيَا حَسَنَةً وَفِي الآخِرَةِ حَسَنَةً وَقِنَا عَذَابَ النَّارِ
إِنَّ اللَّهَ يَأْمُرُ بِالْعَدْلِ وَالإحْسَانِ وَإِيتَاءِ ذِي الْقُرْبَى وَيَنْهَى عَنِ الْفَحْشَاءِ وَالْمُنْكَرِ وَالْبَغْيِ يَعِظُكُمْ لَعَلَّكُمْ تَذَكَّرُونَ
سُبْحَانَ رَبِّكَ رَبِّ الْعِزَّةِ عَمَّا يَصِفُونَ
وَسَلامٌ عَلَى الْمُرْسَلِينَ
وَالْحَمْدُ لِلَّهِ رَبِّ الْعَالَمِينَ
ว่าบิ้ลลาฮิเตาฟีก วั้ลฮิดายะห์
วัสสลาม
มูฮำหมัด สันประเสริฐ

อ้างอิง
Text Copied from DivineIslam's Qur'an Viewer software v2.9
อัลกุรอ่านฉบับภาษาไทย สมาคมนักเรียนเก่าอาหรับ ดำเนินการจัดพิมพ์โดยกระทรวงกิจการฮัจย์ แห่งราชอาณาจักรซาอุดิอาเบีย
http://www.alquran-thai.com/
อัลฮาดีซ : Hadith of The Day V 1.0 Freeware by FaridAnasri avater@muslimonline.com (www.beconvinced.com

อำลาอาลัยรอมฎอน

มิมบัรออนไลน์
คุตบะห์วันศุกร์ 1 เซาวาล 1431 (วันศุกร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2553)
อำลาอาลัยรอมฎอน

الْحَمْدُ لِلَّهِ رَبِّ الْعَالَمِينَ
يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا اتَّقُوا اللَّهَ حَقَّ تُقَاتِهِ وَلا تَمُوتُنَّ إِلا وَأَنْتُمْ مُسْلِمُونَ

ท่านพี่น้องผู้ศรัทธาทั้งหลาย
“ตะกับบั้ลลอฮุมินนาว่ามิงกุ้ม”
ขอให้เราทั้งหลายจงสำรวมจิตใจและตั้งมั่นอยู่ในความยำเกรงต่อพระองค์ในระดับที่สูงขึ้น ตามกาลเวลาที่ผ่านพ้นไป ทั้งนี้เพื่อที่เราจะได้พัฒนาจิตใจของเราทั้งหลายมุ่งมั่นต่อบริบทแห่งผู้ศรัทธาต่อพระองค์อัลลอฮ์ (ซ.บ.) การปฏิบัติศาสนกิจของเรา การตอบรับการเรียกร้องต่อพระองค์ในกิจกรรมต่างๆ ทั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อความยำเกรงต่อพระองค์ เพราะในวันหนึ่งข้างหน้า เราย่อมต้องกลับไปยังพระองค์ เพื่อที่จะถูกตัดสินในภารกิจทั้งหลายที่เราได้ปฏิบัติในขณะที่เรายังมีชีวิตอยู่ ทั้งนี้ ทุกๆ ภารกิจของเราไม่ว่าสิ่งนั้นจะถูกกระทำด้วยกายวาจาและใจ ย่อมประจักษ์ต่อหน้าเราในวันแห่งการตอบแทนของพระองค์
ท่านทั้งหลาย
เดือนรอมฎอนที่ผ่านพ้นเราไปนั้น แน่นอนว่าบทเรียนที่เราได้รับจากรอมฎอนนี้มีมากมาย หลากหลาย มีทั้งสิ่งที่ภาคภูมิใจที่เราให้สัญญาต่อพระองค์ว่าหากเรายังมีชิวิตยืนยาวถึงเดือนรอมฎอนในปีหน้าอีก เราจะปฏิบัติให้ดีขึ้นกว่านี้อีก และจะเพิ่มปริมาณให้มากยิ่งขึ้น แต่สำหรับสิ่งที่บกพร่องก็จะปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้นเพื่อลดข้อบกพร่องดังกล่าวนั้น แรงจูงใจในเดือนรอมฎอนสิ่งหนึ่งก็คือ ในแง่ของการปฏิบัติศาสนกิจ นั้น เราไม่มีความแตกต่างระหว่างกัน เราได้ปฏิบัติภารกิจอย่างเดียวกัน อย่างเป็นระบบและมีขั้นตอนที่ไม่แตกต่างกัน การเริ่มต้นถือศีลอด การละศีลอด การละหมาดยามย่ำคืน สิ่งต่างๆ เหล่านี้ มีให้เห็นในแต่ละวัน ทำให้กล่าวได้ว่า มัสยิดเป็นแหล่งชุมนุมที่มีความสำคัญในเดือนอันสำคัญอย่างยิ่ง บทบาทของมุสลิมที่ดี ในเดือนรอมฎอนนี้ อาจไม่มีให้เห็นอีกเลยในเดือนอื่นๆ ตราบเท่าที่รอมฎอนในปีต่อไปจะเวียนมาบรรจบ เราจะเห็นรอยยิ้ม การแสดงออกถึงความยินดีของแต่ละคนในวันอีดิ้ลฟิตริ เป็นความยินดีปรีดา ที่แต่ละคนยินดีที่ได้เห็นญาติมิตร เพื่อนบ้านที่ไม่เห็นหน้าตากันมานาน ได้กลับมาพบกันอีกที่มัสยิด ในวันอีดอีกครั้งหนึ่ง สิ่งที่บ่งบอกถึงความเปรมปรีดิ์ ก็คือ การแสดงออกถึงความห่วงหาอาทรต่อกันในช่วงก่อนการละหมาดอีดิ้ลฟิตริ ในการบริจาคซ่ากาตฟิตริ์ และการชดเชยด้วยฟิตยะห์สำหรับผู้ที่ไม่สามารถถือศีลอดได้เนื่องจากความจำเป็นอื่นๆ ดังนั้น อาจกล่าวได้ว่า รอยยิ้มที่มีให้กันนั้น ส่วนหนึ่งเป็นรอยยิ้มของคนขัดสน คนอนาถา คนยากจน ผู้ที่ต่อสู้ในหนทางของศาสนา และผู้ที่มีสิทธิ์ในซ่ากาตฟิตริ์ ที่เขาเหล่านั้น ได้รับการแสดงออกถึงมิตรไมตรที่มีต่อกัน การแสดงออกถึงการขอมะอัพระหว่างกัน สิ่งเหล่านี้ คือร่องรอยความอาทรระหว่างกันและกัน

ท่านพี่น้องผู้ศรัทธาทั้งหลาย
เดือนรอมฎอน เป็นเดือนที่เราทั้งหลายแสดงออกถึงบทบาทและสภาพแห่งความเป็นมุสลิมมากที่สุด ซึ่งจุดมุ่งหมายอันแท้จริงของการประกอบอามั้ลอบาดัรใดๆ ก็คือการแสดงออกถึงความยำเกรงต่อพระองค์อัลลอฮ์ (ซ.บ.) ดังนั้นแล้ว ขอให้เราพิจารณาอายะจากอัลกุรอ่านโองการอาลิอิมรอน Al-Qur'an, 003.102 (Aal-E-Imran [The Family of Imran]) ความว่า
003.102 يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا اتَّقُوا اللَّهَ حَقَّ تُقَاتِهِ وَلا تَمُوتُنَّ إِلا وَأَنْتُمْ مُسْلِمُونَ
003.102 O ye who believe! Fear Allah as He should be feared, and die not except in a state of Islam.
102. โอ้ผู้ศรัทธาทั้งหลาย! จงยำเกรงอัลลอฮ์อย่างแท้จริงเถิด และพวกเจ้าจงอย่าตาย(คือให้เรามีชีวิตอยู่ในหนทางของอัลลอฮ์อยุ่เสมอ เพื่อว่าเมื่อได้ตายลง จะได้ตายในฐานะผู้นอบน้อมต่ออัลลอฮ์ถ้ามิเช่นนั้นแล้วก็ไม่อาจแน่ใจได้ว่าเราจะตายในฐานะใด) เป็นอันขาดนอกจากในฐานะที่พวกเจ้าเป็นผู้นอบน้อมเท่านั้น(คือเป็นผู้ที่ดำเนินชีวิตอยู่ในฐานะเป็นผู้จงรักภักดีต่ออัลลอฮ์)
ดังนั้น ขอให้เราทั้งหลายจงยึดเหนี่ยว แนวปฏิบัติอามั้ล เฉกเช่นการปฏิบัติอามั้ลในเดือนรอมฎอน เป็นการปฏิบัติในอริยาบทที่ปกปิดแต่แฝงเร้นด้วยการกระทำที่มุ่งตรงต่อพระองค์อย่างแท้จริง เพราะในขณะที่เราถือศีลอดไม่มีใครหรือผู้ใดทราบได้ว่าเราปฏิบัติได้อย่างถูกต้องครบถ้วนในการกระทำหรือไม่ เพราะไม่มีการแสดงออกให้ผู้ใดได้รับรู้ แต่ผู้ที่รู้ดีที่สุดคือตัวเราเอง และพระองค์เท่านั้น ดังนั้น ขอให้เราทั้งหลายจงมุ่งปฏิบัติศาสนกิจทุกๆ อามั้ลเฉกเช่นการปฏิบัติในการถือศีลอด ทั้งนี้ เพื่อที่การกระทำของเราจะได้บรรลุถึงเป้าหมายแห่งพระองค์ นอกจากนี้ การที่เดือนรอมฎอนได้จากไปแล้ว จนในวันนี้เราได้ใช้ชีวิตในเดือนเซาวาล ซึ่งมีซุนนะห์ของท่านศาสดาให้เราถือศีลอดอาสา อีก 6 วัน ตลอดเดือนเซาวาลนี้ ซึ่งการจะถือศีลอดนี้จะถืออย่างต่อเนื่องกัน หรือจะเว้นช่วงก็สุดแท้แต่ความสะดวกของผู้ปฏิบัติ ที่สำคัญคือ ขอให้เราตระหนักถึงภารกิจที่สำคัญของเรา เมื่อเดือนที่เปลี่ยนผ่านเราไปนั้น มันคล้ายกับการอพยพของคนที่โยกย้ายจากตำบลหนึ่งไปอีกตำบลหนึ่ง เช่นดัง การที่ท่านศาสดาอพยพจากเมืองมักกะห์ไปยังมะดีนะห์ ทั้งนี้ การอพยพของท่านคือการโยกย้ายปรับเปลี่ยน เพื่อที่จรรโลงสังคมมุสลิมจากมืดบอดสู่แสงสว่าง และความรุ่งเรือง ดังอัลฮาดีส ความว่า
Allah's Apostle said, "There is no hijra (i.e. migration) (from Mecca to Medina) after the conquest (of Mecca), but Jihad and good intention remain; and if you are called (by the Muslim ruler) for fighting, go forth immediately. (Roport by Ib Abbas , source : Sahih Al-Bukhari)
ซึ่งหากพิจารณาถึงสภาพการปฏิบัติศาสนกิจของเราแล้ว การเปลี่ยนผ่านจากเดือนรอมฎอน สู่เดือนเซาวาล ก็ถือเป็นการอพยพที่สำคัญอย่างหนึ่ง เป็นการอพยพทางกาลเวลา เป็นการอพยพทางจิตใจที่เราเคลื่อนการปฏิบัติในสิ่งที่ดีที่สุดไปสู่การปฏิบัติในเดือนปกติ ทั้งนี้ นั่นคือการต่อสู้ทางจิตใจที่ยิ่งใหญ่ เป็นการต่อสู้ทางจิตใจกับอารมณ์ใฝ่ต่ำในจิตในของเรา ซึ่งถือเป็นการต่อสู้ (ญิฮาด) ที่สำคัญ เป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่เป็นอันมาก ซึ่งเป็นสิ่งหนึ่งที่เราต้องเน้นย้ำการปฏิบัติของเราให้บรรลุเป้าหมายแห่งชัยชนะต่อการแสดงออกถึงความยำเกรงต่อพระองค์ ให้มากที่สุดและเพิ่มปริมาณให้พอกพูนต่อๆ ไป

إِنَّ اللَّهَ وَمَلائِكَتَهُ يُصَلُّونَ عَلَى النَّبِيِّ يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا صَلُّوا عَلَيْهِ وَسَلِّمُوا تَسْلِيمًا
رَبَّنَا آتِنَا فِي الدُّنْيَا حَسَنَةً وَفِي الآخِرَةِ حَسَنَةً وَقِنَا عَذَابَ النَّارِ
إِنَّ اللَّهَ يَأْمُرُ بِالْعَدْلِ وَالإحْسَانِ وَإِيتَاءِ ذِي الْقُرْبَى وَيَنْهَى عَنِ الْفَحْشَاءِ وَالْمُنْكَرِ وَالْبَغْيِ يَعِظُكُمْ لَعَلَّكُمْ تَذَكَّرُونَ
سُبْحَانَ رَبِّكَ رَبِّ الْعِزَّةِ عَمَّا يَصِفُونَ
وَسَلامٌ عَلَى الْمُرْسَلِينَ
وَالْحَمْدُ لِلَّهِ رَبِّ الْعَالَمِينَ
ว่าบิ้ลลาฮิเตาฟีก วั้ลฮิดายะห์
วัสสลาม
มูฮำหมัด สันประเสริฐ

อ้างอิง
Text Copied from DivineIslam's Qur'an Viewer software v2.9
อัลกุรอ่านฉบับภาษาไทย สมาคมนักเรียนเก่าอาหรับ ดำเนินการจัดพิมพ์โดยกระทรวงกิจการฮัจย์ แห่งราชอาณาจักรซาอุดิอาเบีย
http://www.alquran-thai.com/
อัลฮาดีซ : Hadith of The Day V 1.0 Freeware by FaridAnasri avater@muslimonline.com (www.beconvinced.com