วันอังคารที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2553

ผู้ขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจ

มิมบัรออนไลน์
คุตบะห์วันศุกร์ 16 ยะมาดิลเอาวัล 1431 (วันศุกร์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2553)
ผู้ขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจ

الْحَمْدُ لِلَّهِ رَبِّ الْعَالَمِينَ
فَإِذَا قُضِيَتِ الصَّلاةُ فَانْتَشِرُوا فِي الأرْضِ وَابْتَغُوا مِنْ فَضْلِ اللَّهِ وَاذْكُرُوا اللَّهَ كَثِيرًا لَعَلَّكُمْ تُفْلِحُونَ
وَإِذَا رَأَوْا تِجَارَةً أَوْ لَهْوًا انْفَضُّوا إِلَيْهَا وَتَرَكُوكَ قَائِمًا قُلْ مَا عِنْدَ اللَّهِ خَيْرٌ مِنَ اللَّهْوِ وَمِنَ التِّجَارَةِ وَاللَّهُ خَيْرُ الرَّازِقِينَ
ท่านพี่น้องผู้ศรัทธาทั้งหลาย
ขอเตือนตนเองและท่านทั้งหลาย จงยำเกรงต่อพระองค์อัลลอฮ์ (ซ.บ.) ให้มากที่สุด ในอามั้ลอิบาดัรที่เราได้กระทำนั้น เพื่อพระองค์อย่างแท้จริง ซึ่งผลแห่งการกระทำนั้น พระองค์จะทรงตอบแทนให้กับเราตามที่เราได้ขอจากพระองค์ แม้ไม่ได้ในทันทีทันใด แต่ภาคผลนั้น นับจากวันนี้จนถึงวันแห่งการตัดสิน และนั่นคือสิ่งที่พระองค์ทรงเมตตากับปวงบ่าวของพระองค์ ในการแสวงหาความโปรดปราณจากพระองค์ และการมอบหมายแด่พระองค์
ท่านทั้งหลาย
ผลกระทบทางเศรษฐกิจ เป็นอุบัติการณ์ที่ส่งผลกระทบไปทั่วทุกภาคส่วน ระบบเศรษฐกิจไม่ว่าจะเป็นระดับจุลภาคหรือในระดับมหภาค หากขาดเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ซึ่งมีผลกระทบกับสภาพสมดุลทางเศรษฐกิจในภาคการผลิตหนึ่งจะมีผลทั้งที่เป็นบวกและลบไปยังภาคเศรษฐกิจอื่นในแบบลูกโซ่หรือลูกระนาด ซึ่งการแก้ปัญหาดังกล่าว จำเป็นต้องมองในทุกๆ ภาคส่วนที่เชื่อมโยงกัน แต่ปัจจัยหนี่งที่เกี่ยวโยงกับทุกภาคส่วนก็คือ ผู้ใช้แรงงาน ซึ่งเป็นปฐมบทของทุกภาคการผลิต ผู้ใช้แรงงาน ผู้รับจ้าง ผู้ปฏิบัติงาน แรงงานในระดับต่างๆ แล้วแต่ว่าจะเรียกอย่างไร เป็นปัจจัยการผลิตหนึ่งที่มีความสำคัญไม่แพ้ปัจจัยอื่นๆ (ที่ดิน ทุน และผู้ประกอบการ) แรงงานในแต่ละระดับ เป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดความสำเร็จในกิจการทั้งหลาย หากขาดปัจจัยนี้แล้ว การประกอบการแม้ว่าจะเป็นกิจการใดก็ตาม ก็ไม่สามารถสำเร็จในกิจกรรมการผลิตนั้นๆ ได้ ทั้งนี้ จะเห็นว่า ผู้ผลิตหรือผู้ประกอบการซึ่งจำเป็นต้องควบคุมปัจจัยการผลิต จะให้ความสำคัญกับแรงงานในแต่ละระดับ และแรงงานเหล่านี้ จะช่วยขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจให้เจริญเติบโตไปได้ ผลประกอบการที่ได้จากกำไรนั้น แรงงานจะเป็นปัจจัยที่สะท้อนให้เห็นถึงต้นทุนการผลิตที่ชัดเจนที่สุด ในปัจจุบันการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจในภาวะที่เศรษฐกิจตกต่ำ การเรียกร้องค่าจ้าง หรือการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ จึงเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการต้องใช้วิจารณาในการให้ความชัดเจนจากทางฝ่ายลูกจ้าง เพื่อหลีกเลี่ยงความขัดแย้งกันและการต่อท้อนให้เห็นถึงการเอารัดเอาเปรียบหรือการเรียกร้องที่เกินเลยความเป็นจริงตามสภาพเศรษฐกิจมากหรือน้อยเกินไปหรือไม่ ดังนั้น เราจึงต้องมาร่วมพิจารณากันว่า ในสภาพทางสังคมหนึ่ง หรือหน่วยผลิตหนึ่งนั้น ความเป็นธรรมคือสิ่งปรารถนาของแต่ละฝ่ายที่จะทำให้ทุกๆคนในหน่วยผลิตแสดงออกซึ่งความเป็นเจ้าของของหน่วยผลิตนั้น ดังนั้น เมื่อทุกคนคือเจ้าของแล้ว ทุกๆ การเรียกร้องใดๆ จากฝ่ายลูกจ้าง นายจ้างต้องรีบดำเนินการแก้ไข ไม่ว่าผลแห่งการแก้ไขดังกล่าวจะจบลงเช่นไร ทุกๆ ฝ่ายต้องเครารพ นั่นคือ ความปรองดองกันในหน่วยผลิตนั้นๆ
ท่านพี่น้องผู้ศรัทธาทั้งหลาย
ในช่วงหนึ่งแห่งการดำเนินชีวิตของท่านศาสดามูฮำหมัด (ซ.ล.) ท่านเคยเป็นลูกจ้าง ในขบวนสินค้า ที่จะนำคาราวานสินค้าไปขายยังที่ต่างๆ ความสำเร็จของนายจ้างหรือผู้ประกอบการ ก็คือ การร่วมมือร่วมใจ ความซื่อสัตย์และความอดทนของทางฝ่ายลูกจ้าง เป็นองค์ประกอบแห่งความสำเร็จนั้น ๆ กำไรของฝ่ายนายจ้าง หากลูกจ้างทุจริตในสินค้าแล้ว แน่นอนว่าฝ่ายนายจ้างจะได้รับผลกระทบมากที่สุด และเช่นกัน หากนายจ้างมุ่งที่จะแสวงหาซึ่งกำไรสูงสุด โดยลดทอนหรือตัดทอนต้นทุนการผลิตจากฝ่ายลูกจ้างลงไปมากที่สุด ความลำเค็ญของลูกจ้าง จะทำให้ฝ่ายนายจ้างได้รับผลกระทบด้วยเช่นกัน จากประสบการณ์นั้นของท่านศาสดา ท่านได้รับสมัญญาว่า “อั้ลอามีน” หรือผู้ที่มีความซื่อสัตย์ เป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นได้ว่า ผู้ใช้แรงงานหรือผู้ขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจ จะทำให้เกิดความสำเร็จในกิจการนั้นๆ ได้ ดีที่สุด ดังนั้น แบบฉบับของท่านศาสดาในการดำเนินภารกิจในฐานะของผู้ใช้แรงงาน คือ อะมานะห์ และความรับผิดชอบต่อหน้าที่ในฐานะลูกจ้าง และความมีอะมานะห์ในฐานะของผู้จ้างหรือผู้ประกอบการ เพื่อให้กิจการนั้นๆ ดำเนินต่อไปด้วยกลไกรทางเศรษฐกิจ
อีกประการหนึ่งของการทำอิบาดัร นั่นคือ จากโองการแห่งอัลกุรอ่าน ซูเราะห์อัลญุมอะห์ Al-Qur'an, 062.010-011 (Al-Jumua [ Congregation, Friday]) ความว่า
062.010 فَإِذَا قُضِيَتِ الصَّلاةُ فَانْتَشِرُوا فِي الأرْضِ وَابْتَغُوا مِنْ فَضْلِ اللَّهِ وَاذْكُرُوا اللَّهَ كَثِيرًا لَعَلَّكُمْ تُفْلِحُونَ
062.010 And when the Prayer is finished, then may ye disperse through the land, and seek of the Bounty of Allah: and celebrate the Praises of Allah often (and without stint): that ye may prosper.
[62.10] ต่อเมื่อการละหมาดได้สิ้นสุดลงแล้วก็จงแยกย้ายกันไปตามแผ่นดินและจงแสวงหาความโปรดปราน
ของอัลลอฮ์ และจงรำลึกถึงอัลลอฮ์ให้มาก ๆ เพื่อว่าพวกเจ้าจะได้รับชัยชนะ
062.011 وَإِذَا رَأَوْا تِجَارَةً أَوْ لَهْوًا انْفَضُّوا إِلَيْهَا وَتَرَكُوكَ قَائِمًا قُلْ مَا عِنْدَ اللَّهِ خَيْرٌ مِنَ اللَّهْوِ وَمِنَ التِّجَارَةِ وَاللَّهُ خَيْرُ الرَّازِقِينَ
062.011 But when they see some bargain or some amusement, they disperse headlong to it, and leave thee standing. Say: "The (blessing) from the Presence of Allah is better than any amusement or bargain! and Allah is the Best to provide (for all needs)."
[62.11] และเมื่อพวกเขาได้เห็นการค้าและการละเล่นพวกเขาก็กรูกันไปที่นั้นและปล่อยเจ้าให้ยืนอยู่คนเดียว จง
กล่าวเถิดมุฮัมมัด สิ่งที่มีอยู่ ณ อัลลอฮ์นั้นดีกว่าการละเล่นและการค้าและอัลลอฮ์นั้นทรงเป็นเลิศยิ่งในหมู่ผู้ประทานปัจจัยยังชีพ

ดังนั้น ของให้ข้าพเจ้าตลอดจนท่านทั้งหลายในที่นี้ จงยึดมั่นว่าขณะที่เรากำลังประกอบอาชีพใดๆ ก็ตาม นั่นคือ อิบาดัรอย่างหนึ่ง เป็นสิ่งที่พวกเรามุ่งหวังให้เกิดความสำเร็จในกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิต การได้รับทรัพย์สิน ในขณะที่เราก็ต้องซื่อสัตย์ต่อนายจ้าง ที่เราได้รับมอบอะมานะห์นั้นๆ มาด้วย ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความจำเริญต่อสภาวะของหน่วยผลิตที่เราเป็นสมาชิกอยู่ จงยึดมั่นตามแบบฉบับของท่านศาสดาแล้ว เป็นที่ประจักษ์ว่า การประกอบอาชีพใดๆ ก็ตาม เราก็เป็นส่วนหนึ่งของหน่วยงานนั้น เราต้องซื่อสัตย์ต่อหน้าที่ และเราก็เป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จในกิจการนั้น ขอให้เราจงตระหนักในบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบที่มีอยู่เพื่อให้เราได้รับความสำเร็จต่อกิจกรรมที่เรากำลังดำเนินอยู่ให้ลุล่วงต่อไป
تَذَكَّرُونَ
إِنَّ اللَّهَ وَمَلائِكَتَهُ يُصَلُّونَ عَلَى النَّبِيِّ يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا صَلُّوا عَلَيْهِ وَسَلِّمُوا تَسْلِيمًا
رَبَّنَا آتِنَا فِي الدُّنْيَا حَسَنَةً وَفِي الآخِرَةِ حَسَنَةً وَقِنَا عَذَابَ النَّارِ
سُبْحَانَ رَبِّكَ رَبِّ الْعِزَّةِ عَمَّا يَصِفُونَ
وَسَلامٌ عَلَى الْمُرْسَلِينَ
وَالْحَمْدُ لِلَّهِ رَبِّ الْعَالَمِينَ

ว่าบิ้ลลาฮิเตาฟีก วั้ลฮิดายะห์
วัสสลาม
มูฮำหมัด สันประเสริฐ

อ้างอิง
Text Copied from DivineIslam's Qur'an Viewer software v2.9
อัลกุรอ่านฉบับภาษาไทย สมาคมนักเรียนเก่าอาหรับ ดำเนินการจัดพิมพ์โดยกระทรวงกิจการฮัจย์ แห่งราชอาณาจักรซาอุดิอารเบีย

ผู้ขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจ

มิมบัรออนไลน์
คุตบะห์วันศุกร์ 16 ยะมาดิลเอาวัล 1431 (วันศุกร์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2553)
ผู้ขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจ

الْحَمْدُ لِلَّهِ رَبِّ الْعَالَمِينَ
فَإِذَا قُضِيَتِ الصَّلاةُ فَانْتَشِرُوا فِي الأرْضِ وَابْتَغُوا مِنْ فَضْلِ اللَّهِ وَاذْكُرُوا اللَّهَ كَثِيرًا لَعَلَّكُمْ تُفْلِحُونَ
وَإِذَا رَأَوْا تِجَارَةً أَوْ لَهْوًا انْفَضُّوا إِلَيْهَا وَتَرَكُوكَ قَائِمًا قُلْ مَا عِنْدَ اللَّهِ خَيْرٌ مِنَ اللَّهْوِ وَمِنَ التِّجَارَةِ وَاللَّهُ خَيْرُ الرَّازِقِينَ
ท่านพี่น้องผู้ศรัทธาทั้งหลาย
ขอเตือนตนเองและท่านทั้งหลาย จงยำเกรงต่อพระองค์อัลลอฮ์ (ซ.บ.) ให้มากที่สุด ในอามั้ลอิบาดัรที่เราได้กระทำนั้น เพื่อพระองค์อย่างแท้จริง ซึ่งผลแห่งการกระทำนั้น พระองค์จะทรงตอบแทนให้กับเราตามที่เราได้ขอจากพระองค์ แม้ไม่ได้ในทันทีทันใด แต่ภาคผลนั้น นับจากวันนี้จนถึงวันแห่งการตัดสิน และนั่นคือสิ่งที่พระองค์ทรงเมตตากับปวงบ่าวของพระองค์ ในการแสวงหาความโปรดปราณจากพระองค์ และการมอบหมายแด่พระองค์
ท่านทั้งหลาย
ผลกระทบทางเศรษฐกิจ เป็นอุบัติการณ์ที่ส่งผลกระทบไปทั่วทุกภาคส่วน ระบบเศรษฐกิจไม่ว่าจะเป็นระดับจุลภาคหรือในระดับมหภาค หากขาดเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ซึ่งมีผลกระทบกับสภาพสมดุลทางเศรษฐกิจในภาคการผลิตหนึ่งจะมีผลทั้งที่เป็นบวกและลบไปยังภาคเศรษฐกิจอื่นในแบบลูกโซ่หรือลูกระนาด ซึ่งการแก้ปัญหาดังกล่าว จำเป็นต้องมองในทุกๆ ภาคส่วนที่เชื่อมโยงกัน แต่ปัจจัยหนี่งที่เกี่ยวโยงกับทุกภาคส่วนก็คือ ผู้ใช้แรงงาน ซึ่งเป็นปฐมบทของทุกภาคการผลิต ผู้ใช้แรงงาน ผู้รับจ้าง ผู้ปฏิบัติงาน แรงงานในระดับต่างๆ แล้วแต่ว่าจะเรียกอย่างไร เป็นปัจจัยการผลิตหนึ่งที่มีความสำคัญไม่แพ้ปัจจัยอื่นๆ (ที่ดิน ทุน และผู้ประกอบการ) แรงงานในแต่ละระดับ เป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดความสำเร็จในกิจการทั้งหลาย หากขาดปัจจัยนี้แล้ว การประกอบการแม้ว่าจะเป็นกิจการใดก็ตาม ก็ไม่สามารถสำเร็จในกิจกรรมการผลิตนั้นๆ ได้ ทั้งนี้ จะเห็นว่า ผู้ผลิตหรือผู้ประกอบการซึ่งจำเป็นต้องควบคุมปัจจัยการผลิต จะให้ความสำคัญกับแรงงานในแต่ละระดับ และแรงงานเหล่านี้ จะช่วยขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจให้เจริญเติบโตไปได้ ผลประกอบการที่ได้จากกำไรนั้น แรงงานจะเป็นปัจจัยที่สะท้อนให้เห็นถึงต้นทุนการผลิตที่ชัดเจนที่สุด ในปัจจุบันการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจในภาวะที่เศรษฐกิจตกต่ำ การเรียกร้องค่าจ้าง หรือการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ จึงเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการต้องใช้วิจารณาในการให้ความชัดเจนจากทางฝ่ายลูกจ้าง เพื่อหลีกเลี่ยงความขัดแย้งกันและการต่อท้อนให้เห็นถึงการเอารัดเอาเปรียบหรือการเรียกร้องที่เกินเลยความเป็นจริงตามสภาพเศรษฐกิจมากหรือน้อยเกินไปหรือไม่ ดังนั้น เราจึงต้องมาร่วมพิจารณากันว่า ในสภาพทางสังคมหนึ่ง หรือหน่วยผลิตหนึ่งนั้น ความเป็นธรรมคือสิ่งปรารถนาของแต่ละฝ่ายที่จะทำให้ทุกๆคนในหน่วยผลิตแสดงออกซึ่งความเป็นเจ้าของของหน่วยผลิตนั้น ดังนั้น เมื่อทุกคนคือเจ้าของแล้ว ทุกๆ การเรียกร้องใดๆ จากฝ่ายลูกจ้าง นายจ้างต้องรีบดำเนินการแก้ไข ไม่ว่าผลแห่งการแก้ไขดังกล่าวจะจบลงเช่นไร ทุกๆ ฝ่ายต้องเครารพ นั่นคือ ความปรองดองกันในหน่วยผลิตนั้นๆ
ท่านพี่น้องผู้ศรัทธาทั้งหลาย
ในช่วงหนึ่งแห่งการดำเนินชีวิตของท่านศาสดามูฮำหมัด (ซ.ล.) ท่านเคยเป็นลูกจ้าง ในขบวนสินค้า ที่จะนำคาราวานสินค้าไปขายยังที่ต่างๆ ความสำเร็จของนายจ้างหรือผู้ประกอบการ ก็คือ การร่วมมือร่วมใจ ความซื่อสัตย์และความอดทนของทางฝ่ายลูกจ้าง เป็นองค์ประกอบแห่งความสำเร็จนั้น ๆ กำไรของฝ่ายนายจ้าง หากลูกจ้างทุจริตในสินค้าแล้ว แน่นอนว่าฝ่ายนายจ้างจะได้รับผลกระทบมากที่สุด และเช่นกัน หากนายจ้างมุ่งที่จะแสวงหาซึ่งกำไรสูงสุด โดยลดทอนหรือตัดทอนต้นทุนการผลิตจากฝ่ายลูกจ้างลงไปมากที่สุด ความลำเค็ญของลูกจ้าง จะทำให้ฝ่ายนายจ้างได้รับผลกระทบด้วยเช่นกัน จากประสบการณ์นั้นของท่านศาสดา ท่านได้รับสมัญญาว่า “อั้ลอามีน” หรือผู้ที่มีความซื่อสัตย์ เป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นได้ว่า ผู้ใช้แรงงานหรือผู้ขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจ จะทำให้เกิดความสำเร็จในกิจการนั้นๆ ได้ ดีที่สุด ดังนั้น แบบฉบับของท่านศาสดาในการดำเนินภารกิจในฐานะของผู้ใช้แรงงาน คือ อะมานะห์ และความรับผิดชอบต่อหน้าที่ในฐานะลูกจ้าง และความมีอะมานะห์ในฐานะของผู้จ้างหรือผู้ประกอบการ เพื่อให้กิจการนั้นๆ ดำเนินต่อไปด้วยกลไกรทางเศรษฐกิจ
อีกประการหนึ่งของการทำอิบาดัร นั่นคือ จากโองการแห่งอัลกุรอ่าน ซูเราะห์อัลญุมอะห์ Al-Qur'an, 062.010-011 (Al-Jumua [ Congregation, Friday]) ความว่า
062.010 فَإِذَا قُضِيَتِ الصَّلاةُ فَانْتَشِرُوا فِي الأرْضِ وَابْتَغُوا مِنْ فَضْلِ اللَّهِ وَاذْكُرُوا اللَّهَ كَثِيرًا لَعَلَّكُمْ تُفْلِحُونَ
062.010 And when the Prayer is finished, then may ye disperse through the land, and seek of the Bounty of Allah: and celebrate the Praises of Allah often (and without stint): that ye may prosper.
[62.10] ต่อเมื่อการละหมาดได้สิ้นสุดลงแล้วก็จงแยกย้ายกันไปตามแผ่นดินและจงแสวงหาความโปรดปราน
ของอัลลอฮ์ และจงรำลึกถึงอัลลอฮ์ให้มาก ๆ เพื่อว่าพวกเจ้าจะได้รับชัยชนะ
062.011 وَإِذَا رَأَوْا تِجَارَةً أَوْ لَهْوًا انْفَضُّوا إِلَيْهَا وَتَرَكُوكَ قَائِمًا قُلْ مَا عِنْدَ اللَّهِ خَيْرٌ مِنَ اللَّهْوِ وَمِنَ التِّجَارَةِ وَاللَّهُ خَيْرُ الرَّازِقِينَ
062.011 But when they see some bargain or some amusement, they disperse headlong to it, and leave thee standing. Say: "The (blessing) from the Presence of Allah is better than any amusement or bargain! and Allah is the Best to provide (for all needs)."
[62.11] และเมื่อพวกเขาได้เห็นการค้าและการละเล่นพวกเขาก็กรูกันไปที่นั้นและปล่อยเจ้าให้ยืนอยู่คนเดียว จง
กล่าวเถิดมุฮัมมัด สิ่งที่มีอยู่ ณ อัลลอฮ์นั้นดีกว่าการละเล่นและการค้าและอัลลอฮ์นั้นทรงเป็นเลิศยิ่งในหมู่ผู้ประทานปัจจัยยังชีพ

ดังนั้น ของให้ข้าพเจ้าตลอดจนท่านทั้งหลายในที่นี้ จงยึดมั่นว่าขณะที่เรากำลังประกอบอาชีพใดๆ ก็ตาม นั่นคือ อิบาดัรอย่างหนึ่ง เป็นสิ่งที่พวกเรามุ่งหวังให้เกิดความสำเร็จในกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิต การได้รับทรัพย์สิน ในขณะที่เราก็ต้องซื่อสัตย์ต่อนายจ้าง ที่เราได้รับมอบอะมานะห์นั้นๆ มาด้วย ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความจำเริญต่อสภาวะของหน่วยผลิตที่เราเป็นสมาชิกอยู่ จงยึดมั่นตามแบบฉบับของท่านศาสดาแล้ว เป็นที่ประจักษ์ว่า การประกอบอาชีพใดๆ ก็ตาม เราก็เป็นส่วนหนึ่งของหน่วยงานนั้น เราต้องซื่อสัตย์ต่อหน้าที่ และเราก็เป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จในกิจการนั้น ขอให้เราจงตระหนักในบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบที่มีอยู่เพื่อให้เราได้รับความสำเร็จต่อกิจกรรมที่เรากำลังดำเนินอยู่ให้ลุล่วงต่อไป
تَذَكَّرُونَ
إِنَّ اللَّهَ وَمَلائِكَتَهُ يُصَلُّونَ عَلَى النَّبِيِّ يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا صَلُّوا عَلَيْهِ وَسَلِّمُوا تَسْلِيمًا
رَبَّنَا آتِنَا فِي الدُّنْيَا حَسَنَةً وَفِي الآخِرَةِ حَسَنَةً وَقِنَا عَذَابَ النَّارِ
سُبْحَانَ رَبِّكَ رَبِّ الْعِزَّةِ عَمَّا يَصِفُونَ
وَسَلامٌ عَلَى الْمُرْسَلِينَ
وَالْحَمْدُ لِلَّهِ رَبِّ الْعَالَمِينَ

ว่าบิ้ลลาฮิเตาฟีก วั้ลฮิดายะห์
วัสสลาม
มูฮำหมัด สันประเสริฐ

อ้างอิง
Text Copied from DivineIslam's Qur'an Viewer software v2.9
อัลกุรอ่านฉบับภาษาไทย สมาคมนักเรียนเก่าอาหรับ ดำเนินการจัดพิมพ์โดยกระทรวงกิจการฮัจย์ แห่งราชอาณาจักรซาอุดิอารเบีย

วันพุธที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2553

ทางออกและทางรอด

มิมบัรออนไลน์
คุตบะห์วันศุกร์ 9 ยะมาดิลเอาวัล 1431 (วันศุกร์ที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2553)
ทางออกและทางรอด

الْحَمْدُ لِلَّهِ رَبِّ الْعَالَمِينَ

يَسْأَلُونَكَ مَاذَا أُحِلَّ لَهُمْ قُلْ أُحِلَّ لَكُمُ الطَّيِّبَاتُ وَمَا عَلَّمْتُمْ مِنَ الْجَوَارِحِ مُكَلِّبِينَ تُعَلِّمُونَهُنَّ مِمَّا عَلَّمَكُمُ اللَّهُ فَكُلُوا مِمَّا أَمْسَكْنَ عَلَيْكُمْ وَاذْكُرُوا اسْمَ اللَّهِ عَلَيْهِ وَاتَّقُوا اللَّهَ إِنَّ اللَّهَ سَرِيعُ الْحِسَابِ
الْيَوْمَ أُحِلَّ لَكُمُ الطَّيِّبَاتُ وَطَعَامُ الَّذِينَ أُوتُوا الْكِتَابَ حِلٌّ لَكُمْ وَطَعَامُكُمْ حِلٌّ لَهُمْ وَالْمُحْصَنَاتُ مِنَ الْمُؤْمِنَاتِ وَالْمُحْصَنَاتُ مِنَ الَّذِينَ أُوتُوا الْكِتَابَ مِنْ قَبْلِكُمْ إِذَا آتَيْتُمُوهُنَّ أُجُورَهُنَّ مُحْصِنِينَ غَيْرَ مُسَافِحِينَ وَلا مُتَّخِذِي أَخْدَانٍ وَمَنْ يَكْفُرْ بِالإيمَانِ فَقَدْ حَبِطَ عَمَلُهُ وَهُوَ فِي الآخِرَةِ مِنَ الْخَاسِرِينَ
ท่านพี่น้องผู้ศรัทธาทั้งหลาย
ขอให้กระผมและท่านทั้งหลายจงแสดงออกถึงความยำเกรงต่อพระองค์อัลลอฮ์ (ซ.บ.) และจงมุ่งแสวงหาความโปรดปราณจากพระองค์ ในทุกๆ กิจกรรมที่พระองค์ทรงใช้และทรงห้าม ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่กระผมและท่านทั้งหลายพึงตรวจสอบตนเองถึงความพกพร่องในจากการกระทำทั้งหลายในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา และจงปิดช่องว่างต่างๆ นั้น ด้วยการกระทำที่อยู่ในร่องรอยตามแนวทางที่ท่านศาสดาได้ทรงชี้นำไว้ตามโองการอันมีเกียรติแห่งพระองค์ เพราะนั่นคือสิ่งที่พึงปรารถนาที่แท้จริงของมวลมนุษยชาติทั้งหลาย
ท่านพี่น้องผู้ศรัทธาทั้งหลาย
จุดบกพร่องที่เราค้นพบนั้น เป็นจุดที่แสดงให้เห็นว่า เราต้องแสวงหาแนวทาง หลักปฏิบัติ หรือทฤษฎีตามหลักวิชาการ เพื่อปกป้อง ป้องกัน หรือทำการแก้ไข เพื่อปิดจุดบกพร่องอันนั้น หรือทำให้เกิดวิกฤติจากจุดบกพร่องนั้นให้น้อยที่สุด ซึ่งในการรักษาความปลอดภัยมักใช้คำว่า “Safety first” นั่นหมายถึง การรักษาความปลอดภัยเป็นกิจกรรมหลักที่ทุกฝ่ายในหน่วยงานนั้นๆ ต่างมุ่งมั่น เพื่อลดทอนสิ่งไม่พึงประสงค์ซึ่งจะทำให้เกิดความไม่ปลอดภัย ให้เกิดขึ้นน้อยที่สุดหรือไม่เกิดขึ้นเลย ในโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ การรักษาความปลอดภัยจึงถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นอันดับแรก เพื่อให้ทุกๆ คนได้มีส่วนร่วมช่วยกันดูแลและรักษาความปลอดภัยจากอุบัติภัยทั้งหลายร่วมกัน ซึ่งการสามัคคีร่วมกัน ช่วยกันดูแลในส่วนของตน แผนก ฝ่าย งานของตน อันเป็นหนทาง ที่จะลดทอนความไม่ปลอดภัยให้หมดไป นั่นคือความรับผิดชอบร่วมกัน เป็นทางออกและทางรอดที่แต่ละคนได้รับส่วนแบ่งทางด้านความปลอดภัย ร่วมกันปกป้อง คุ้มครองภัยอันอาจเกิดขึ้นมาสร้างความเดือดเนื้อร้อนใจให้กับทุกๆ คน
ในสังคมขนาดใหญ่ระดับมหภาค ดูเหมือนเป็นสังคมเปิดที่มีความหลากหลาย หากพิจารณาดูจะพบว่า แตะละภาคส่วนมีความเป็นปัจเฉกบุคคลค่อนข้างมาก แต่ละฝ่าย ล้วนแล้วแต่มุ่งมั่นปรารถนาแสวงหาความสุขของตน จนลืมมองไปว่าการที่เราได้รับสิ่งอันเป็นจุดมุ่งหมายแห่งกลุ่มหรือพวกพ้องของเรานั้น กลับสร้างความเดือดร้อนให้กับกลุ่มชนอีกกลุ่มหนึ่ง แม้ว่าเราจะปกป้องตนเองโดยมองว่า นั่นคือสิทธิอันพึงประสงค์ที่เรากระทำภายใต้กรอบแห่งกฎหมาย และได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย แต่สิ่งที่เราได้กระทำไปนั้นเป็นการละเมิดสิทธิของคนอื่น สร้างความเดือดร้อนให้กับพวกเขาเหล่านั้น ซึ่งตามหลักการแห่งอัลอิสลาม มิได้มองการใช้สิทธิที่เกินเลยขอบเขต หากแต่ เมื่อเราได้ใช้สิทธิของเราแล้วเราก็ต้องคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของสังคมด้วยการละเมิดขอบเขตของคนอื่นๆ นั้น เป็นการกระทำที่ส่งผลไปสู่การละเมิดขอบเขตที่พระองค์อัลลอฮ์ (ซ.บ.) ทรงกำหนดด้วยเช่นกัน ในการมุ่งแสวงหาความโปรดปราณจากพระองค์ไม่ว่าจะในมัสยิด หรือในการประกอบพิธีฮัจญ์ ก็ตาม เราต้องพิจารณาด้วยเช่นกันว่า เราต้องการกระทำซุนนะห์มุอักกะดะห์แล้ว การกระทำของเรานั้นจะละเมิดขอบเขตคนอื่นๆด้วยหรือไม่ เราจึงต้องนำมาพิจารณาด้วยเช่นกัน
การแสวงหาทางออกแห่งปัญหาในวิกฤติทั้งหลายนั้น เป็นสิ่งหนึ่งที่เราทุกคนต้องเข้าไปมีส่วนร่วมตามอัตภาพของเรา แม้เป็นเพียงเสียงที่เล็กน้อย แต่เมื่อเป็นภารกิจอันหนักหน่วงของสังคมแล้ว ทุกๆ เสียงที่เกิดขึ้นจะนำพาไปสู่ทางออกได้ด้วยเช่นกัน มุสลิม เมื่อเกิดวิกฤติในเรื่องใดๆ แล้ว เราต้องคิดร่วมกันให้ได้ว่า เราจะผ่านซึ่งวิกฤติทั้งหลายนั้นไปได้อย่างไร โดยวิธีใด ในโองการแห่งอัลกุรอ่าน ซูเราะห์อัลมาอิดะห์ Al-Qur'an, 005.004-005 (Al-Maeda [The Table, The Table Spread]) ที่ได้กล่าวไว้ในช่วงแรกแห่งคุตบะห์นี้ ความว่า
005.004 يَسْأَلُونَكَ مَاذَا أُحِلَّ لَهُمْ قُلْ أُحِلَّ لَكُمُ الطَّيِّبَاتُ وَمَا عَلَّمْتُمْ مِنَ الْجَوَارِحِ مُكَلِّبِينَ تُعَلِّمُونَهُنَّ مِمَّا عَلَّمَكُمُ اللَّهُ فَكُلُوا مِمَّا أَمْسَكْنَ عَلَيْكُمْ وَاذْكُرُوا اسْمَ اللَّهِ عَلَيْهِ وَاتَّقُوا اللَّهَ إِنَّ اللَّهَ سَرِيعُ الْحِسَابِ
005.004 They ask thee what is lawful to them (as food). Say: lawful unto you are (all) things good and pure: and what ye have taught your trained hunting animals (to catch) in the manner directed to you by Allah: eat what they catch for you, but pronounce the name of Allah over it: and fear Allah; for Allah is swift in taking account.
[5.4] เขาเหล่านั้นจะถามเจ้าว่า มีอะไรบ้างที่ถูกอนุมัติแก่พวกเขา จงกล่าวเถิด ที่ถูกอนุมัติแพวกเจ้านั้นคือสิ่งดี ๆ ทั้งหลาย และบรรดาสัตว์สำหรับล่าเนื้อที่พวกเจ้าฝึกสอนมันพวกเจ้าจงบริโภคจากสิ่งที่มันจับมาให้แก่พวกเจ้า และจงกล่าวพระนามของอัลลอฮ์บนมันเสียก่อน และจงกลัวเกรงอัลลอฮ์เถิด แท้จริงอัลลอฮ์นั้นเป็นผู้ทรงรวดเร็วในการชำระสอบสวน
005.005 الْيَوْمَ أُحِلَّ لَكُمُ الطَّيِّبَاتُ وَطَعَامُ الَّذِينَ أُوتُوا الْكِتَابَ حِلٌّ لَكُمْ وَطَعَامُكُمْ حِلٌّ لَهُمْ وَالْمُحْصَنَاتُ مِنَ الْمُؤْمِنَاتِ وَالْمُحْصَنَاتُ مِنَ الَّذِينَ أُوتُوا الْكِتَابَ مِنْ قَبْلِكُمْ إِذَا آتَيْتُمُوهُنَّ أُجُورَهُنَّ مُحْصِنِينَ غَيْرَ مُسَافِحِينَ وَلا مُتَّخِذِي أَخْدَانٍ وَمَنْ يَكْفُرْ بِالإيمَانِ فَقَدْ حَبِطَ عَمَلُهُ وَهُوَ فِي الآخِرَةِ مِنَ الْخَاسِرِينَ
005.005 This day are (all) things good and pure made lawful unto you. The food of the People of the Book is lawful unto you and yours is lawful unto them. (Lawful unto you in marriage) are (not only) chaste women who are believers, but chaste women among the People of the Book, revealed before your time,- when ye give them their due dowers, and desire chastity, not lewdness, nor secret intrigues if any one rejects faith, fruitless is his work, and in the Hereafter he will be in the ranks of those who have lost (all spiritual good).
[5.5] วันนี้สิ่งดี ๆ ทั้งหลายได้ถูกอนุมัติแก่พวกเจ้าแล้ว และอาหารของบรรดาผู้ที่ได้รับคัมภีร์นั้นเป็นที่อนุมัติแก่พวกเจ้าแล้ว และอาหารของพวกเจ้าก็เป็นที่อนุมัติแก่พวกเขาและบรรดาหญิงบริสุทธิ์ในหมู่ผู้ศรัทธาหญิงและบรรดาหญิงบริสุทธิ์ในหมู่ผู้ที่ได้รับคัมภีร์ก่อนจากพวกเจ้าก็เป็นอนุมัติแก่พวกเจ้าด้วย เมื่อพวกเจ้าได้มอบให้แก่พวกนางซึ่งมะหัร์ของพวกนางในฐานะเป็นผู้แต่งงานมิใช่เป็นผู้กระทำการซินาโดยเปิดเผย และมิใช่ยึดเอานางเป็นเพื่อนโดยกระทำซินาลับ ๆ และผู้ใดปฏิเสธการศรัทธา แน่นอนงานของเขาก็ไร้ผลขณะเดียวกันในวันปรโลกพวกเขาจะอยู่ในหมู่ผู้ที่ขาดทุน

ท่านพี่น้องผู้ศรัทธาทั้งหลาย
นั่นคือ แนวทางที่พระองค์ได้ทรงชี้แนะซึ่งทางออกที่เหมาะสมและถูกต้องตามครรลองครองธรรมแห่งการดำเนินชีวิตโดยทั่วไปแล้ว การแสวงหาทางออกในเรื่องใดๆ จะมีหลักเกณฑ์ที่เหมาะสมและชัดเจนในแต่ละเรื่องทั้งนี้ เป็นสิ่งที่เป็นที่อนุมัติจากพระองค์สำหรับมวลมนุษย์ทั้งหลาย เพื่อที่พวกเขาเหล่านั้นจะได้ใช้เป็นหลักปฏิบัติในการดำรงชีพของพวกเขาในสถานการณ์ต่างๆ ซึ่งหากเราไปละเมิดหลักเกณฑ์ในเรื่องใดๆ แล้ว แน่นอน วิกฤติที่เกิดขึ้นจะนำไปสู่ทางออกที่ถูกปิดกั้นจากพระเมตตาของพระองค์ และเป็นทางออกที่เป็นทางตันและจะพบกับวิกฤติอันเป็นจุดจบเกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ ในที่สุด นั่นคือสิ่งที่พระองค์ได้ทรงกำหนดไว้ในวันแห่งการสอบสวนและการตอบแทนไว้แล้ว
ท่านพี่น้องผู้ศรัทธาทั้งหลาย
สถานการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นในสังคมของเราในปัจจุบัน เป็นสถานการณ์ที่เป็นวิกฤติ อันเกิดจากการละเมิดขอบเขตแห่งกฎหมาย การไม่ยอมรับกัน การเป็นศัตรูซึ่งกันและกัน ในที่สุดแล้ว ความสูญเสียที่เกิดขึ้นในระดับมหภาคล้วนแล้วแต่เป็นความสูญเสียอันใหญ่หลวง เราได้เห็นตัวอย่างของประเทศต่างๆ มากมายแล้วซึ่งเกิดวิกฤติและจุดจบแห่งวิกฤตินั้น มิได้สร้างให้เกิดความยิ่งใหญ่ หรือความจำเริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศเหล่านั้นเลย ตรงกันข้าม การเสียโอกาส และมูลค่าแห่งความเสียโอกาสนั้น มันได้พร่าและนำพาความหายนะมาสู่ประเทศนั้น บทเรียนที่เราได้พบทุกครั้งที่เกิดวิกฤติ เราจึงต้องมองหลักการว่าการดำรงตนเป็นเอกราชมาได้อย่างยาวนาน เรามีบทเรียนต่างๆ มากมายในอดีต แต่เมื่อมันเป็นวัฐจักรที่วนเวียนมาซ้ำรอยเดิมเสียแล้วในวันนี้ เราจึงต้องร่วมกันก้าวข้ามวิกฤตินี้ เพื่อหาทางออกให้กับสังคม มิใช่เป็นการเติมเชื้อไฟให้กับวิกฤตินี้ ทั้งนี้ แบบฉบับแห่งอัลอิสลาม เราต้องรู้จักขอบเขต มิใช้เราไปละเมิดขอบเขตจนเกิดวิกฤติ ดังนั้น ในวันนี้ เราซึ่งเป็นตัวแบบของเยาวชนรุ่นหลัง จึงควรมองปัจจัยต่างๆที่ทำให้เกิดวิกฤติ เราดูหลักการ แนวปฏิบัติที่เหมาะสมกับสถานการณ์และแนวทางตามกิตาบุ้ลลอฮ์และซูนนะห์ของท่านศาสดา แล้วเรามาพิจารณาร่วมกันเพื่อที่จะออกจากวิกฤตินี้ และสร้างให้เกิดความรักความปรารถนาที่ดีต่อกันของแต่ละฝ่าย ให้เกิดความปรองดองร่วมกัน ไม่เติมฟืนไฟให้กับวิกฤติทั้งหลายที่เกิดขึ้นในปัจจุบันนี้
إِنَّ اللَّهَ يَأْمُرُ بِالْعَدْلِ وَالإحْسَانِ وَإِيتَاءِ ذِي الْقُرْبَى وَيَنْهَى عَنِ الْفَحْشَاءِ وَالْمُنْكَرِ وَالْبَغْيِ يَعِظُكُمْ لَعَلَّكُمْ تَذَكَّرُونَ
إِنَّ اللَّهَ وَمَلائِكَتَهُ يُصَلُّونَ عَلَى النَّبِيِّ يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا صَلُّوا عَلَيْهِ وَسَلِّمُوا تَسْلِيمًا
رَبَّنَا آتِنَا فِي الدُّنْيَا حَسَنَةً وَفِي الآخِرَةِ حَسَنَةً وَقِنَا عَذَابَ النَّارِ
سُبْحَانَ رَبِّكَ رَبِّ الْعِزَّةِ عَمَّا يَصِفُونَ
وَسَلامٌ عَلَى الْمُرْسَلِينَ
وَالْحَمْدُ لِلَّهِ رَبِّ الْعَالَمِينَ

ว่าบิ้ลลาฮิเตาฟีก วั้ลฮิดายะห์
วัสสลาม
มูฮำหมัด สันประเสริฐ

อ้างอิง
Text Copied from DivineIslam's Qur'an Viewer software v2.9
อัลกุรอ่านฉบับภาษาไทย สมาคมนักเรียนเก่าอาหรับ ดำเนินการจัดพิมพ์โดยกระทรวงกิจการฮัจย์ แห่งราชอาณาจักรซาอุดิอารเบีย

วันอาทิตย์ที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2553

สมานฉันท์คือทางรอดของสังคม

มิมบัรออนไลน์
คุตบะห์วันศุกร์ 2 ยะมาดิลเอาวัล 1431 (วันศุกร์ที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2553)
สมานฉันท์คือทางรอดของสังคม

الْحَمْدُ لِلَّهِ رَبِّ الْعَالَمِينَ

يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا اتَّقُوا اللَّهَ حَقَّ تُقَاتِهِ وَلا تَمُوتُنَّ إِلا وَأَنْتُمْ مُسْلِمُونَ
وَاعْتَصِمُوا بِحَبْلِ اللَّهِ جَمِيعًا وَلا تَفَرَّقُوا وَاذْكُرُوا نِعْمَةَ اللَّهِ عَلَيْكُمْ إِذْ كُنْتُمْ أَعْدَاءً فَأَلَّفَ بَيْنَ قُلُوبِكُمْ فَأَصْبَحْتُمْ بِنِعْمَتِهِ إِخْوَانًا وَكُنْتُمْ عَلَى شَفَا حُفْرَةٍ مِنَ النَّارِ فَأَنْقَذَكُمْ مِنْهَا كَذَلِكَ يُبَيِّنُ اللَّهُ لَكُمْ آيَاتِهِ لَعَلَّكُمْ تَهْتَدُونَ

มวลการสรรเสริญเป็นสิทธิ์ของอัลลอฮ์ ผู้ทรงอภิบาลโลกทั้งหลาย
ท่านพี่น้องผู้ศรัทธาแล้วทั้งหลาย
ช่วงปิดเทอมนี้เป็นช่วงที่เด็กๆ ต่างมุ่งแสวงหาแบบฉบับและแบบอย่างที่พวกเขาเหล่านั้นจะนำไปเป็นแบบอย่างต่อไปในช่วงชีวิตที่พวกเขาจะได้เติบใหญ่ และเป็นกำลังสำคัญของสังคมและประเทศชาติ หากผู้ใหญ่ในวันนี้เป็นตัวแบบที่ดีให้กับเขาไม่ได้ แน่นอนว่าในวันข้างหน้าพวกเขาคงต้องกระทำตามอย่างที่เขาได้เห็นในวันนี้และแน่นอน ความสูญเสียย่อมต้องเกิดขึ้นและนำมาซึ่งความเสียหายที่ไม่สามารถประเมินค่าได้ ซึ่งอาจมากกว่าที่เราเห็นความเสียหายในวันนี้เสียอีก ดังนั้น เราจึงมุ่งกำกับดูแลและให้ความสำคัญในกิจกรรมต่างไ ของพวกเขาเหล่านั้นเสียแต่วันนี้เถิด อย่ารั้งรออย่างผัดวันประกันพรุ่ง ไม่เช่นนั้น เราต้องมาเสียในเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น ซึ่งเราสามารถควบคุมมิให้มันเกิดขึ้นได้หากในวันนี้เราให้แต่สิ่งที่ดีสำหรับเขา เราทำเป็นตัวแบบ ตัวอย่างและแบบฉบับที่ดีไว้ให้พวกเขา ดังนั้น กระผมจึงขอเตือนตนเองและท่านทั้งหลาย จงยำเกรงต่อพระองค์อัลลอฮ์ (ซ.บ.) เถิด เพราะ ณ พระองค์นั้น คือความโปรดปราณด้วยความเมตตากรุณาปราณีอันยิ่งใหญ่ และพร้อมเสมอสำหรับการขอพรจากพระองค์ และเมื่อพระองค์ทรงรับดุอาอ์ของบ่าวผู้ยำเกรงต่อพระองค์แล้ว นั่นคือสิ่งที่ดีที่สุดและจงชุโกรต่อพระองค์ให้มากๆ เพราะนั่นคือสิ่งปรารถนาอันยิ่งใหญ่ของบ่าวของพระองค์
ท่านพี่น้องผู้ศรัทธาทั้งหลาย
ความแตกต่างกันทางด้านความคิดเห็น ทัศนคติ ปรัชญาในการดำเนินชีวิต สิ่งต่างๆเหล่านี้หากพัฒนาการของมันออกไปในรูปแบบของกระบวนการนำและการรวบรวมหมู่ของคนที่มีความรัก ความคิด ทัศนคติร่วมกัน จะนำพาไปสู่การสร้างกลุ่ม หมู่มวลทั้งหลายซึ่งในที่สุดแล้วเมื่อกระบวนการดังกล่าวดำเนินต่อไปและพัฒนาการไปสู่รูปแบบของกระแสแนวความคิดและปัจจัยต่างๆ กลายมาเป็นการรวมกลุ่มของคนที่มีความคิดเดียวกันร่วมกัน สร้างพลังกดดันกลุ่มชนที่ไม่เห็นด้วย ที่สุดแล้วหากกระบวนการดังกล่าวพัฒนาออกไปอย่างไร้ทิศทางแน่นอนว่าสังคมย่อมได้รับผลกระทบจากกลุ่มชนดังกล่าวนั้น ความแตกแยก ความไม่ลงรอยกันจะนำมาซึ่งความไม่สงบของสังคม ดังที่เราได้เห็นกันอยู่อย่างมากมายในหลายๆพื้นที่ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
การเคารพกันในความคิด การยอมรับฟังความคิดที่แตกต่างกัน นั่นคือแนวทางประชาธิปไตยที่มีคุณค่าและเป็นแบบฉบับทางการปกครองที่ในสังคมต่างมีมุมมองร่วมกันว่าเป็นการแสดงออกในการแสวงหาการปกครองร่วมกันที่ดีที่สุด มากกว่ารูปแบบทางการปกครองวิธีอื่นๆ ที่ใช้กันมาในความหลากหลายของสังคม รูปแบบการปกครองดังกล่าวนี้เอง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การมีตัวแทนปวงชนเข้าไปใช้อำนาจอธิปไตยแทนปวงชน จึงถูกมองอย่างแยกไม่ออกกับการปกครองในรูปแบบประชาธิปไตย แม้ว่าในการปกครองรูปแบบอื่นๆ ต่างก็มีการเลือกตั้งเหมือนกัน หากแตกต่างที่วิธีคิด รวมไปถึงการบริหารจัดการความขัดแย้งที่นิ่มนวลปราศจากความรุนแรงโดยจับอาวุธเข้าประหัสประหารกัน แล้วในที่สุด ก็ต้องมาถกเกียงกันอีกว่าในเป็นคนเริ่มทำร้ายกันอีก จนกระทั่งมีประเด็นใหม่ของความขัดแย้งในรอบต่อไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ดังนั้น หากมองในรูปแบบของสังคมประชาธิปไตยแล้ว เมื่อการแข่งขันสิ้นสุด ทุกคนที่อยู่ในสนามการแข่งขันนั้น ต้องน้อมยอมรับการนำของฝ่ายที่ได้รับชัยชนะ และฝ่ายที่ได้รับชัยชนะต้องฟังความคิดเห็นของเสียงข้างน้อยนั้น เพื่อก้าวข้ามความขัดแย้งกันและสมานฉันท์กันรับฟังกันและทะเลาะกันเฉพาะในกติกาเมื่อสิ้นสุดแล้วต้องแปรความขัดแย้งนั้นไปสู่จุดมุ่งหมายร่วมกันขจัดความแตกต่างทางด้านความคิดรับฟังและเปิดใจให้กว้าง แล้วในที่สุดชัยชนะนั้นจะเกิดขึ้นกับสังคมและประเทศชาติของเรา หากแต่ละฝ่ายแสวงหาจุดต่างกัน โดยไม่เปิดใจร่วมกันรับฟังกัน ในที่สุดสังคมนั้นก็จะถูกบั่นทอนและกลายเป็นสังคมที่ล้าหลังไร้การพัฒนาในที่สุด
ท่านพี่น้องผู้ศรัทธาทั้งหลาย
ในวาระอันใกล้นี้ คืออีกประมาณ 1 เดือนข้างหน้า กระทรวงมหาดไทยกำหนดให้มีการเลือกตั้งตำแหน่ง “จุฬาราชมนตรี” ผู้นำทางศาสนาแห่งประเทศไทย ในวันที่ 17 พฤษภาคม 2553 ระหว่างเวลา 08.00 – 17.00 น. ณ ศูนย์บริหารกิจการอิสลาม คลองสิบ เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร โดยมีตัวแทนคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดทั่วประเทศ รวมประมาณ 780 คน เข้าร่วมกันเพื่อสรรหาบุคคลเพื่อเป็น “จุฬาราชมนตรี” ตามที่กฎหมายกำหนด ดังนั้น ไม่ว่าใครจะมาเป็นจุฬาราชมนตรี ก็ตาม เมื่อกระบวนการสรรหาสิ้นสุดแล้วถือว่าบุคคลนั้นเป็นที่ยอมรับของสังคม และทุกๆ ฝ่ายต้องให้การยอมรับ แต่ก่อนที่จะก้าวข้ามผ่านกระบวนการดังกล่าวนั้น ในการสรรหา ครั้งนี้ ดูเหมือนจะคล้ายๆกับการหาเสียงของนักการเมือง คือมีหัวคะแนนที่คอยวิ่งไปหาเสียง ต่อรองเรื่องผลประโยชน์หากมีการลงคะแนนเสียงของผู้แทนจากจังหวัดต่างๆ มีการตัดแต้มคะแนนกัน มีการต่อรองเพื่อให้มีการถอนตัว หรือแม้แต่มีการต่อรองเรื่องผลประโยชน์ในรูปแบบของเงินและสิ่งของ ซึ่งแต่ละข่าวที่ออกมานั้น ทำให้ต้องมาย้อนคิดกันว่า การเลือกผู้นำในรูปแบบแห่งอัลอิสลามและซุนนะห์ของท่านศาสดานั้นเป็นอย่างไร กำหนดไว้เช่นไร ก็ไม่พบว่าตำแหน่งดังกล่าวนั้น คงมิใช่เพียงการประมูลค่าเหมือนการประกวดราคาของทางราชการ และไม่ใช่เป็นตำแหน่งอันเป็นมรดกตกทอดตามสายเลือดหรือพันธุกรรมแต่อย่างใด หากแต่ตำแหน่งดังกล่าวต้องมีความเหมาะสม ในลักษณะที่บ่งบอกได้ว่า คนที่จะมาทำหน้าที่ดังกล่าวนั้น ต้องมีความรู้ มิใช่เพียงแค่งูๆ ปลาๆ แต่ต้องลึกซึ้ง ทั้งในแง่ของความรู้ในอัลกุรอ่านและอัลฮาดีซ อีกทั้งจริยวัตรในการปฏิบัติของผู้นำต้องเป็นแบบอย่างและแบบฉบับที่ดีให้กับผู้ตามได้ ตำแหน่งจุฬาราชมนตรีจึงเป็นตำแหน่งที่สำคัญ หากการสรรหาแล้วปรากฏว่ามีผู้มีความเหมาะสมหลายท่าน ก็ต้องสรรหาเพื่อให้เหลือเพียงหนึ่งท่านเท่านั้นและคนที่ไม่ได้เลือก ก็ต้องเข้าร่วมทำงานร่วมกับคนที่ได้รับแต่งตั้งนั้นด้วย ทั้งนี้อย่ามองว่าด้อยค่า แต่ควรมองว่า นั้นคือพระประสงค์ของอัลลอฮ์ (ซ.บ.) ที่กำหนดไว้ ขอให้เราพิจารณาโองการจากอัลกุรอ่านซูเราะห์อาลิอิมรอน Al-Qur'an, 003.102-103 (Aal-E-Imran [The Family of Imran]) ความว่า
003.102 يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا اتَّقُوا اللَّهَ حَقَّ تُقَاتِهِ وَلا تَمُوتُنَّ إِلا وَأَنْتُمْ مُسْلِمُونَ
003.102 O ye who believe! Fear Allah as He should be feared, and die not except in a state of Islam.
[3.102] โอ้ผู้ศรัทธาทั้งหลาย! จงยำเกรงอัลลอฮ์อย่างแท้จริงเถิด และพวกเจ้าจงอย่าตาย เป็นอันขาดนอกจาก
ในฐานะที่พวกเจ้าเป็นผู้นอบน้อมเท่านั้น
003.103 وَاعْتَصِمُوا بِحَبْلِ اللَّهِ جَمِيعًا وَلا تَفَرَّقُوا وَاذْكُرُوا نِعْمَةَ اللَّهِ عَلَيْكُمْ إِذْ كُنْتُمْ أَعْدَاءً فَأَلَّفَ بَيْنَ قُلُوبِكُمْ فَأَصْبَحْتُمْ بِنِعْمَتِهِ إِخْوَانًا وَكُنْتُمْ عَلَى شَفَا حُفْرَةٍ مِنَ النَّارِ فَأَنْقَذَكُمْ مِنْهَا كَذَلِكَ يُبَيِّنُ اللَّهُ لَكُمْ آيَاتِهِ لَعَلَّكُمْ تَهْتَدُونَ
003.103 And hold fast, all together, by the rope which Allah (stretches out for you), and be not divided among yourselves; and remember with gratitude Allah's favour on you; for ye were enemies and He joined your hearts in love, so that by His Grace, ye became brethren; and ye were on the brink of the pit of Fire, and He saved you from it. Thus doth Allah make His Signs clear to you: That ye may be guided.
[3.103] และพวกเจ้าจงยึดสายเชือกของอัลลอฮ์โดยพร้อมกันทั้งหมดและจงอย่าแตกแยกกัน และจำรำลึกถึง
ความเมตตาของอัลลอฮ์ที่มีแต่พวกเจ้าขณะที่พวกเจ้าเป็นศัตรูกัน แล้วพระองค์ได้ทรงให้สนิทสนมกันระหว่าง
หัวใจของพวกเจ้า แล้วพวกเจ้าก็กลายเป็นพี่น้องกันด้วย ความเมตตาของพระองค์ และพวกเจ้าเคยปรากฏอยู่บนปากหลุมแห่งไฟนรก แล้วพระองค์ก็ทรงช่วยพวกเจ้าให้พ้นจากปากหลุมแห่งนรกนั้น ในทำนองนั้นแหละ อัลลอฮ์จะทรงแจกแจงแก่พวกเจ้าซึ่งบรรดาโองการของพระองค์ เพื่อว่าเพวกเจ้าจะได้รับแนวทางอันถูกต้อง
ดังนั้น ในวาระอันใกล้นี้ ขอให้สังคมมุสลิมของเราอย่าแตกแยกกัน เพราะปลายทางของความแตกแยกกันนั้น พระองค์ทรงกำหนดไฟนรกอันร้อนแรงไว้รอคอยกลุ่มที่มีความแตกแยกกันไว้แล้ว ขอเพียงอย่าให้พวกเราเป็นเพียงฟืนที่คอยสุมไฟนั้นเพิ่มพูนความร้อนแรงแห่งเปลวเพลิงเหล่านั้น แต่หากเรามุ่งแนวทางสมานฉันท์ร่วมกัน ความสุขแห่งสงคมและนำใจแห่งพวกเราจะลบความร้อนแรงแห่งเปลวเพลิงเหล่านั้นได้
ท่านพี่น้องผู้ศรัทธาทั้งหลาย
จากเหตุการณ์ที่ผ่านพ้นไปในสัปดาห์ที่ผ่านมา ไม่มีใครมีความสุขบนความเสียหายและหายนะของชาติ ซึ่งหากใครก็ตามได้ประโยชน์จากการสูญเสียดังกล่าวนั้น เขาผู้นั้นคือคนที่ทำลายชาติอย่างแท้จริง มีคำกล่าวหนึ่งที่ห่วงใยและอาทรต่อเหคุการณ์ดังกล่าวนั้น ว่า “คนที่เป็นพ่อเป็นแม่ จะรักลูกๆ ของเขา แม้ลูกเล่านั้นจะไม่รักพ่อแม่ ทรยศต่อพ่อแม่ หรืออกตัญญูต่อพ่อแม่ พ่อแม่ก็ยังรักลูกของเขา แต่หากลูกๆ ทะเลาะกันจนเกิดความบรรลัยแล้วพ่อแม่เสียใจมากกว่า” เป็นคำกล่าวที่สะท้อนให้เห็นถึงคนที่รัก มองดูสภาพความเสียหายของบรรยากาศต่างๆ จากความเสียหายอันเกิดจากการทะเลาะกัน อย่างขาดสติ ความยั้งคิดและความบรรลัยจากเหตุการณ์ดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงขีดความสามารถในการขจัดความขัดแย้ง ดังนั้น แม้ว่าเราจะเห็นแตกต่าง เราไม่รักกัน แต่ถ้าเรามองหารจุดร่วมและสงวนจุดต่างได้แล้ว ความยิ่งใหญ่ ความภาคภูมิใจนั้น จะตามมาในภายภาคหน้า แต่ถ้าวันนี้เรามุ่งมั่นที่จะชนะสงครามร่วมกันแล้ว ความวิบัติย่อมเกิดขึ้นจากแนวความคิดที่เป็นอันตรายเหล่านั้น ดังนั้น จากโองการอัลกุรอ่านที่ได้หยิบยกมาในสัปดาห์นี้ จึงสะท้อนได้อย่างชัดเจนได้ว่า ความยิ่งใหญ่ ความภาคภูมิใจ และความก้าวหน้าของสังคมและประเทศชาติของเรานั้น จะเป็นไปได้ถ้าประชาชนของเราสมานฉันท์กันไม่ทะเลาะกัน และความผาสุขของประเทศจะมีมาและเราทุกคนจะได้รับประโยชน์สุขร่วมกัน

إِنَّ اللَّهَ يَأْمُرُ بِالْعَدْلِ وَالإحْسَانِ وَإِيتَاءِ ذِي الْقُرْبَى وَيَنْهَى عَنِ الْفَحْشَاءِ وَالْمُنْكَرِ وَالْبَغْيِ يَعِظُكُمْ لَعَلَّكُمْ تَذَكَّرُونَ


إِنَّ اللَّهَ وَمَلائِكَتَهُ يُصَلُّونَ عَلَى النَّبِيِّ يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا صَلُّوا عَلَيْهِ وَسَلِّمُوا تَسْلِيمًا
رَبَّنَا آتِنَا فِي الدُّنْيَا حَسَنَةً وَفِي الآخِرَةِ حَسَنَةً وَقِنَا عَذَابَ النَّارِ
سُبْحَانَ رَبِّكَ رَبِّ الْعِزَّةِ عَمَّا يَصِفُونَ
وَسَلامٌ عَلَى الْمُرْسَلِينَ
وَالْحَمْدُ لِلَّهِ رَبِّ الْعَالَمِينَ

ว่าบิ้ลลาฮิเตาฟีก วั้ลฮิดายะห์
วัสสลาม
มูฮำหมัด สันประเสริฐ

อ้างอิง
Text Copied from DivineIslam's Qur'an Viewer software v2.9
อัลกุรอ่านฉบับภาษาไทย สมาคมนักเรียนเก่าอาหรับ ดำเนินการจัดพิมพ์โดยกระทรวงกิจการฮัจย์ แห่งราชอาณาจักรซาอุดิอารเบีย

วันพฤหัสบดีที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2553

เรียนรู้ตลอดชีวิต

มิมบัรออนไลน์
คุตบะห์วันศุกร์ 25 ร่อบีอุ้ลอาเคร 1431 (วันศุกร์ที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2553)
เรียนรู้ตลอดชีวิต

الْحَمْدُ لِلَّهِ رَبِّ الْعَالَمِينَ

มวลการสรรเสริญเป็นสิทธิ์ของอัลลอฮ์ ผู้ทรงอภิบาลโลกทั้งหลาย
ท่านพี่น้องผู้ศรัทธาแล้วทั้งหลาย
จงยำเกรงต่อพระองค์อัลลอฮ์และพึงสังวรด้วยว่าทุกการกระทำนั้นจะถูกตรวจสอบจากพระองค์ และผลแห่งการกระทำดังกล่าวย่อมเป็นที่ประจักษ์ต่อพระองค์ ดังนั้นไม่ว่าเราจะอยู่ที่ใด ทำอะไร คิดและปฏิบัติอย่างไร ทั้งหมดนี้เราต้องรับผิดชอบการกระทำของเราทั้งสิ้น เราจึงต้องรับรู้และตรวจสอบการกระทำต่างๆ ของเราให้อยู่ในกรอบและแนวทางที่มั่นคงต่อพระองค์ มิเช่นนั้นแล้ว ทุกๆ สิ่งที่เราต้องรับผิดชอบนั้น จะเป็นพยานแห่งการกระทำของเราในวันแห่งการตัดสิน ดังนั้น ขอให้กระผมและทุกๆ ท่าน ในที่นี้ จงตรวจสอบตนเองและจงยำเกรงต่อพระองค์
การชุมนุมของมุสลิมนั้น โดยปกติเราจะมาชุมนุมกันในทุกวันศุกร์ เพื่อตรวจสอบตนเอง และพร้อมที่จะประพฤติปฏิบัติตนในรอบสัปดาห์ต่อไป การเรียกร้องให้มาชุมนุมกันดังโองการจากอัลกุรอ่าน ซูเราะห์อัลยุมอัต Al-Qur'an, 062.009-010 (Al-Jumua [The Congregation, Friday]) ความว่า

062.009 يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا إِذَا نُودِيَ لِلصَّلاةِ مِنْ يَوْمِ الْجُمُعَةِ فَاسْعَوْا إِلَى ذِكْرِ اللَّهِ وَذَرُوا الْبَيْعَ ذَلِكُمْ خَيْرٌ لَكُمْ إِنْ كُنْتُمْ تَعْلَمُونَ
062.009 O ye who believe! When the call is proclaimed to prayer on Friday (the Day of Assembly), hasten earnestly to the Remembrance of Allah, and leave off business (and traffic): That is best for you if ye but knew!
[62.9] โอ้บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย เมื่อได้มีเสียงร้องเรียก (อะซาน) เพื่อทำละหมาดในวันศุกร์ ก็จงรีบเร่งไปสู่การ
รำลึกถึงอัลลอฮ์ และจงละทิ้งการค้าขายเสีย นั่นเป็นการดีสำหรับพวกเจ้าหากพวกเจ้ารู้

062.010 فَإِذَا قُضِيَتِ الصَّلاةُ فَانْتَشِرُوا فِي الأرْضِ وَابْتَغُوا مِنْ فَضْلِ اللَّهِ وَاذْكُرُوا اللَّهَ كَثِيرًا لَعَلَّكُمْ تُفْلِحُونَ
062.010 And when the Prayer is finished, then may ye disperse through the land, and seek of the Bounty of Allah: and celebrate the Praises of Allah often (and without stint): that ye may prosper.
[62.10] ต่อเมื่อการละหมาดได้สิ้นสุดลงแล้วก็จงแยกย้ายกันไปตามแผ่นดินและจงแสวงหาความโปรดปราน
ของอัลลอฮ์ และจงรำลึกถึงอัลลอฮ์ให้มาก ๆ เพื่อว่าพวกเจ้าจะได้รับชัยชนะ
นั่นคือการเรียกร้องเพื่อให้การชุมนุมกันตามนัยแห่งอัลอิสลาม เพื่อเรียกร้องให้ทุกๆ คนได้ปฏิบัติร่วมกัน เพื่อหาทางออกให้กับสังคม และเนื้อหาและใจความสำคัญของการเรียกร้องในวันศุกร์ เพื่อที่ทุกๆ ท่านจะพึงรับอรรถรสเพื่อสร้างความยำเกรงต่อพระองค์ และได้ใกล้ชิดต่อพระองค์ในวันแห่งการตัดสิน
พี่น้องผู้ศรัทธาทั้งหลาย
เนื่องจากช่วงนี้เป็นช่วงที่เด็กๆ มีเวลาสำหรับการหยุดเรียน เพื่อเตรียมการเลื่อนชั้นเรียนใหม่และต้อนรับการเปิดเทอมใหม่ ดังนั้น ช่วงที่เด็กๆ จะใกล้ชิดกับผู้ปกครองเช่นนี้ เป็นสิ่งที่ผู้ปกครองสมควรอย่างยิ่งที่จะให้เขาได้เรียนรู้สรรพวิทยาการทั้งหลายเพื่อที่เขาจะได้ปรับปรุงตนเองและได้รับความรู้เพิ่มเติมได้อย่างเหมาะสมทั้งแบบอย่างในทางศาสนา กิริยามารยาทต่างๆ ที่เราพึงจะถ่ายทอดให้กับเรา เพื่อสิ่งต่างๆ เหล่านี้ไม่มีสอนในโรงเรียนหรือแม้กระทั่งในโรงเรียนที่สอนศาสนา ที่สอนวิชาความรู้เพียงในตำราและตีกรอบเฉพาะเพียงเนื้อหาที่กำหนดเท่านั้น หากต้องการเรียนรู้มากกว่านี้ ต้องสอบเลื่อนชั้นไปเรียนในชั้นที่สูงกว่า โดยเฉพาะกับเนื้อหาที่ต้องการการวิเคราะห์ หรือซับซ้อนขึ้น ซึ่งการปลูกฝังวิธีคิดของเด็กๆ ในแต่ละครอบครัว จะแตกต่างกันไป ดังเช่น ในครอบครัวฐานะที่พอหาเช้ากินค่ำกับครอบครัวที่พ่อแม่ทำงานและรับเงินเดือน จะพบว่าวิธีคิดของเด็กๆในครอบครัวเหล่านั้น จะแตกต่างกันไป ทั้งนี้พบว่าเด็กๆ จะเลียนแบบพ่อแม่และคนที่เขาใกล้ชิด ความบริสุทธิ์ของพวกเขาเหล่านั้น จะสะท้อนออกมาโดยการกระทำ การพูด และการแสดงออก เราจึงควรปลูกฝังในสิ่งที่ดีๆพร้อมไปกับการพัฒนาตัวเขาไปด้วยกันด้วย การสอนให้เขาได้รับรู้เรื่องราวเกี่ยวกับศาสนา สิ่งที่เหมาะสมที่สุด คือ การทำเป็นตัวอย่าง พร้อมๆไปกับการสอนด้วยวาจาและการกระทำ เหล่านี้จะติดตัวเขาไปโดยตลอด จากฮาดีซของท่านศาสดา ความว่า “จงเรียนรู้ตั้งแต่เปลจนถึงหลุมฝังศพ” เป็นความจริงที่เป็นสากลและทันสมัยเสมอ เพราะการเรียนเรียนรู้ ไม่จำเป็นต้องจำกัดแต่เพียงห้องเรียน อาจกล่าวได้ว่า ทุกๆ ที่ คือห้องเรียน ไม่ว่าเราจะอยู่ในสถานที่ใด เวลาใด สถานการณ์ใด เราต้องเรียนรู้ปรับตัวให้เข้าทันกับทุกๆ สถานการณ์ อย่างเหมาะสม เพื่อที่เราจะตั้งรับสถานการณ์ต่างๆ เหล่านั้น เพื่อสร้างกระบวนการ วิธีคิด การวิเคราะห์ที่เหมาะสมเพื่อที่จะเอาตัวรอดได้จากสถานการณ์นั้นๆ รองรับสถานการณ์ใหม่ๆ เพื่อตั้งรับ รุก หรือเรียกร้องในสิ่งที่เราต้องการ การต่อรองในการเจรจา สิ่งต่างๆ เหล่านี้ เป็นมาตรการที่ได้มาจากการเรียนรู้แทบทั้งสิ้น และทุกๆ คนก็ต้องผ่านการเรียนรู้เพื่อเอาตัวรอดมาทุกคน ดังนั้น ไม่ว่าเราจะอยู่ในสถานการณ์ใด อยู่ ณ สถานที่ใด หากเรารู้จักที่จะเรียนรู้ และพัฒนาตนเอง แน่นอนว่า เราจะสามารถใช้ชีวิตอย่างมีความสุขได้ เช่นกัน ในเมื่อเราได้ใกล้ชิดกับเด็กๆ ในความปกครองของเราในช่วงที่เขาปิดเทอมใหญ่ในขณะนี้ เราจึงควรที่จะสร้างให้เขาได้เรียนรู้ในทุกๆ สิ่ง ที่เป็นสิ่งจำเป็น ที่เขาจะได้นำไปใช้ในชีวิตประจำวัน และเราต้องเป็นแบบอย่างให้กับเขาด้วย เพื่อที่เขาจะได้ใช้ชีวิตแบบมุสลิมอย่างเต็มภาคภูมิ

إِنَّ اللَّهَ يَأْمُرُ بِالْعَدْلِ وَالإحْسَانِ وَإِيتَاءِ ذِي الْقُرْبَى وَيَنْهَى عَنِ الْفَحْشَاءِ وَالْمُنْكَرِ وَالْبَغْيِ يَعِظُكُمْ لَعَلَّكُمْ تَذَكَّرُونَ


إِنَّ اللَّهَ وَمَلائِكَتَهُ يُصَلُّونَ عَلَى النَّبِيِّ يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا صَلُّوا عَلَيْهِ وَسَلِّمُوا تَسْلِيمًا
رَبَّنَا آتِنَا فِي الدُّنْيَا حَسَنَةً وَفِي الآخِرَةِ حَسَنَةً وَقِنَا عَذَابَ النَّارِ
سُبْحَانَ رَبِّكَ رَبِّ الْعِزَّةِ عَمَّا يَصِفُونَ
وَسَلامٌ عَلَى الْمُرْسَلِينَ
وَالْحَمْدُ لِلَّهِ رَبِّ الْعَالَمِينَ

ว่าบิ้ลลาฮิเตาฟีก วั้ลฮิดายะห์
วัสสลาม
มูฮำหมัด สันประเสริฐ

อ้างอิง
Text Copied from DivineIslam's Qur'an Viewer software v2.9
อัลกุรอ่านฉบับภาษาไทย สมาคมนักเรียนเก่าอาหรับ ดำเนินการจัดพิมพ์โดยกระทรวงกิจการฮัจย์ แห่งราชอาณาจักรซาอุดิอารเบีย